ประวตั ิศาสตรโ์ บราณคดีจงั หวดั กระบี่ สมยั ก่อนประวตั ิศาสตร์ จังหวดั กระบ่ีพบหลักฐานทางโบราณคดีทแี่ สดงให้เห็นว่ามีมนุษยอ์ าศัยอยใู่ นพน้ื ท่ีบริเวณน้ี มา ต้ังแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่ แหล่งโบราณคดีถํ้าหลังโรงเรียน ตําบล ทับปริก อําเภอเมือง จังหวัดกระบ่ี (ภาพท่ี๑) โดย ดร.ดักลาส แอนเดอร์สัน พบหลักฐานการใช้ เคร่ืองมือหินของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายสมัย สมัยแรกเม่ือประมาณ ๓๗,๐๐๐-๒๗,๐๐๐ ปีมาแลว้ มีการใชเ้ ครือ่ งมอื หินกะเทาะทัง้ ประเภทเครอ่ื งมือแกนหินและเครอ่ื งมือสะเก็ดหิน ต่อมาสมัย ที่ ๒ เม่ือประมาณ ๙,๐๐๐-๗,๕๐๐ ปีมาแล้ว มีการใช้เคร่ืองมือหินกะเทาะชนิดที่เรียกว่า “เครื่องมือ หนิ แบบฮัวบิเนยี น” (Hoabinhian) และต่อมาในสมยั ท่ี ๓ เมอื่ ประมาณ ๖,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว จึง เริ่มมกี ารใช้เครอ่ื งมือหนิ ขดั หรอื ขวานหินขดั และใช้ภาชนะดนิ เผา ที่แหล่งโบราณคดีถํ้าหมอเขียว ตําบลกระบี่น้อย อําเภอเมือง จังหวัดกระบี่ (ภาพท่ี๒) ซ่ึงอยู่ ไม่ไกลจากแหล่งโบราณคดีถํ้าหลังโรงเรียน เป็นแหล่งโบราณคดีอีกแหล่งหนึ่งที่พบหลักฐานแสดงให้ เห็นว่ามีการอยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีการใช้เคร่ืองมือหินกะเทาะหน้าเดียว (unifacial flaked stone tool) ทาํ จากกรวดแม่นา้ํ เมือ่ ประมาณ ๒๖,๐๐๐-๒๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว และ มพี ัฒนาการการทาํ เครือ่ งมือหินเรือ่ ยมาจนกระท่ังเม่ือประมาณ ๗,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว จึงมีการทํา ขวานหินกะเทาะ (Flaked adze) และขวานหินขัดขึ้นใช้งาน นอกจากนี้ยังพบหลักฐานอื่นๆ ได้แก่ กระดูกสัตว์ และโครงกระดกู มนษุ ย์ อกี ด้วย จากหลกั ฐานที่พบทีแ่ หลง่ โบราณคดีท้ังสองแหล่ง อาจกล่าวได้ว่าในบริเวณพื้นที่จังหวัดกระบ่ี มีมนษุ ยเ์ ขา้ มาอาศัย พักพิง ตามถ้ําและเพิงผา หาของป่าล่าสัตว์ โดยใช้เครื่องมือหินรูปแบบต่างๆ มา ตั้งแต่ช่วงก่อนหน้า ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว และมีพัฒนาการในการทําเครื่องมือหินเปล่ียนแปลงมาโดย ตลอดจากเคร่อื งมือหินกะเทาะ มาจนเปน็ เครือ่ งมือหนิ ขัด ในช่วงประมาณ ๔,๐๐๐-๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ปรากฏหลักฐานตามแหล่งโบราณคดีในบริเวณ พื้นท่ีจังหวัดกระบ่ี เช่น แหล่งโบราณคดีถํ้าหลังโรงเรียน แหล่งโบราณคดีถ้ําเขาหน้าวังหมี แหล่ง โบราณคดีเขาโต๊ะช่อง แหล่งโบราณคดีถ้ําหน้าสังเมียน แหล่งโบราณคดีเขาขวาก-วัดถํ้าเสือ อําเภอ เมือง, แหล่งโบราณคดี เขางาม อําเภออ่าวลึก, แหล่งโบราณคดีถ้ําช้างสี แหล่งโบราณคดีเขาโปง อาํ เภอเขาพนม, แหลง่ โบราณคดีควนหวายแดง อําเภอคลองท่อม เป็นต้น หลักฐานที่สํารวจพบแสดง ให้เห็นว่า มนุษย์สมัยก่อนประวตั ิศาสตร์ช่วงเวลานี้ยังคงอาศัยตามถํ้าและเพิงผา มีวิถีชีวิตแบบหาของ ป่าล่าสัตว์ แต่มีพัฒนาการของเคร่ืองมือเครื่องใช้เปลี่ยนแปรไปจากเดิม เริ่มมีการใช้เครื่องมือหินขัด หรือขวานหินขัด อยา่ งแพร่หลาย มีพธิ ีกรรมการฝงั ศพ อุทิศส่ิงของแก่ผู้ตาย มีการใช้ภาชนะดินเผาที่มี รูปแบบหลากหลายเพ่ิมข้ึน โดยมีภาชนะดินเผารูปแบบเฉพาะบ่งบอกว่าเป็นกลุ่มวัฒนธรรมเดียวกัน ได้แก่ ภาชนะดนิ เผาทรงพาน (ภาพที่๓) และภาชนะดินเผาสามขา (ภาพท่ี๔) ซึ่งภาชนะดินเผาสามขา ที่พบอาจแสดงให้เห็นว่าผู้คนในสมัยน้ีมีการติดต่อกับชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์อ่ืนที่อยู่ห่างไกล
ออกไปและมวี ฒั นธรรม ความเช่อื บางอยา่ งรว่ มกัน เนื่องจากภาชนะดินเผาสามขาสามารถได้พบตาม แหล่งโบราณคดสี มัยหินใหม่ (ครอบคลมุ ช่วงเวลา ๖,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว) ต้ังแต่จังหวัดกาญจนบุรี เร่อื ยลงมาในเขตคาบสมุทรภาคใต้ของไทย เรอ่ื ยไปจนสดุ แหลมมลายใู นเขตประเทศมาเลเซยี นอกจากนี้ยังพบร่องรอยภาพเขียนสีของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีการกําหนดอายุ ไวร้ าว ๕,๐๐๐-๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ปรากฏอยู่ในถํา้ และหนา้ ผาเขาหินปนู รมิ ชายฝง่ั ทะเล ในเขตอําเภอ อ่าวลึก ได้แก่ แหล่งโบราณคดีถํ้าผีหัวโต แหล่งโบราณคดีถ้ําชาวเล (ภาพที่๕) แหล่งโบราณคดีแหลม ชาวเล แหล่งโบราณคดีแหลมไฟไหม้ และแหล่งโบราณคดีแหลมท้ายแรด ภาพเขียนสีท่ีพบ มีทั้งภาพ คน ภาพสัตว์ และภาพนามธรรม แสดงให้เห็นพัฒนาการของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ใน ช่วงเวลาน้ี ท่มี จี ินตนาการ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะไว้บนผาหิน หรืออาจเป็นบันทึกเรื่องราวรอบตัวใน รูปแบบภาพเขยี นสี เพื่อส่งตอ่ ความรู้ ความเชื่อตอ่ ไปก็เป็นได้ หลังจากช่วงเวลานี้เป็นต้นไป ชุมชนของมนุษยส์ มัยกอ่ นประวัตศิ าสตร์ในพ้ืนที่จังหวัดกระบี่ได้ มีพฒั นาการเข้าส่สู มัยแรกเร่ิมประวตั ิศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ในท่ีสุด เมื่อผู้คนจากดินแดนโพ้น ทะเล เช่น อินเดีย เมดิเตอร์เรเนียน เป็นต้น ได้เดินทางเข้ามาแสวงหาทรัพยากร บุกเบิก และตั้งถ่ิน ฐานเป็นชุมชน นําวัฒนธรรมใหม่มาหลอมรวมกับวัฒนธรรมของชุมชนดั้งเดิม จนพัฒนาไปเป็นชุมชน สมัยประวตั ิศาสตรใ์ นท่สี ุด สมัยประวัติศาสตร์ ความรุ่งเรืองของชุมชนต่างๆ ในเขตกระบ่ีมีการขาดตอนในบางช่วงของประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในยุคหลังจากวิชาการเดินเรือก้าวหน้า มีนักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่า เมืองตักโกลาท่ี ปรากฏในหนงั สอื ภูมศิ าสตรข์ องปโตเลมีอาจจะเป็นบริเวณแหล่งโบราณคดีคลองท่อม หรือควนลูกปัด ในเขตจังหวัดกระบ่ี โดยอ้างเส้นทางการเดินเรือตามลมมรสุมและการใช้เส้นทางข้ามคาบสมุทรตาม เส้นทางท่ีสะดวกไปออกแม่นํ้าหลวง แต่ก็ยังเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน ไม่มีข้อสรุปท่ีชัดเจน แต่จาก หลักฐานทางโบราณคดีพบว่า แหล่งโบราณคดีคลองท่อมเป็นแหล่งผลิตลูกปัดและเมืองท่าการค้าบน เส้นทางข้ามคาบสมุทรท่ีสําคัญอีกแห่งหนึ่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖-๙ พบหลักฐานโบราณวัตถุ ประเภทลกู ปัด (ภาพที่๖) เครื่องรางเครื่องประดับ เศษภาชนะดินเผาพื้นเมือง และเศษภาชนะดินเผา จากตา่ งชาติ เปน็ จํานวนมาก แสดงใหเ้ หน็ พฒั นาการของชุมชนโบราณในพื้นที่จังหวัดกระบี่ที่มีวิถีชีวิต และวัฒนธรรมทคี่ อ่ ยๆ เปล่ียนแปรไป จากการเขา้ มาของวัฒนธรรมตา่ งชาติ เอกสารที่กล่าวถึงชุมชนแห่งแรกท่ีเกิดข้ึนในเขตจังหวัดกระบ่ีคือทําเนียบข้าราชการเมือง นครศรีธรรมราช ซ่ึงระบุว่าในเขตกระบี่มีแขวงขึ้นเมืองนครศรีธรรมราชแห่งหนึ่ง คือ ปกาไสย ใน หนังสือภเู กต็ ของสุนยั ราชภณั ฑารักษ์ ได้กล่าวระบุไวส้ อดคลอ้ งกนั วา่ “เมืองกระบีน่ ้ีเดิมทีเม่ือแรกต้งั เมืองใหมๆ่ มชี อื่ เรยี กว่า เมอื งปกาไสย ตั้งอยู่ที่ตําบลปกา ไสยในปัจจุบัน ซ่ึงอยู่ห่างทะเลลึกเข้าไปในป่า ต่อเมื่อย้ายเมืองออกมาริมทะเลตรงปากน้ํา
กระบ่ีเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๕ แล้วจึงได้เปลี่ยนเรียกช่ือว่าเมืองกระบ่ี...เป็นการต้ังช่ือเมืองตาม ช่ือลําน้าํ ซ่งึ มีอยกู่ ่อนแล้ว...” ประทมุ ชุ่มเพ็งพนั ธ์ุ ได้กลา่ วถึงประวตั ิความเปน็ มาของเมืองปกาไสยไวย้ ่อๆ ว่า “...เมืองปกาไสยเก่ียวข้องกับประวัติศาสตร์การก่อตั้งจังหวัดกระบี่ปัจจุบัน ในฐานะท่ี เปน็ ชมุ นมุ ชนแห่งแรก หรือจังหวัดกระบี่แห่งแรก อยู่ในท้องที่บ้านปกาไสย ตําบลปกาไสย อําเภอเมืองกระบ่ี ซึ่งปลายรชั กาลที่ ๔ พระปลดั เมอื งนครศรีธรรมราช คุมกําลังคนออกไป สร้างเพนียดคล้องช้างในเขตแขวงเมืองปกาไสย พิจารณาเห็นว่าอยู่ในภูมิประเทศที่ เหมาะสมและอดุ มสมบูรณ์ สามารถติดต่อทางทะเลไดส้ ะดวก อีกประการหน่ึงมีประชาชน จากเขตเมืองนครศรีธรรมราชอพยพติดตามไปต้ังหลักแหล่งทํามาหากินเพิ่มขึ้นเร่ือยๆ พระปลัดเมืองนครศรีธรรมราช จึงขอยกฐานะข้ึนเป็นเมืองต้ังจวนเจ้าเมืองตรงบริเวณที่ เรียกกันว่า “ควนทําเนียบ” และสร้างวัดปกาไสยข้ึนเป็นวัดประจําเมืองด้วย สถานท่ีท่ี เรยี กวา่ “บา้ นนาหลวง” ก็คอื เป็นนาของเมืองปกาไสย ซงึ่ ชาวบา้ นเรยี กนาหลวง ท่ีบ้านนา หลวงยงั มที า่ เรอื ทุกวันนี้ยังพอสังเกตเห็นเป็นอ่าวเป็นบาง มีต้นจากข้ึนอยู่ บางส่วนกลาย สภาพเป็นทุ่งนาตื้นเขินไปแล้ว บรรดาข้าราชการประจําเมืองปกาไสยต่างพํานักทํามาหา กินอยู่รอบนอกกระจายกันออกไป เช่นที่บ้านคลองเสียด เป็นถ่ินที่อยู่ มีผู้รับบรรดาศักด์ิ เป็นหมื่น ขนุ และหลวง อยหู่ ลายตําบล ท่ตี ําบลคลองขนานกม็ ีอยู่เชน่ กนั ...” เมืองกระบ่ีนั้นเป็นเมืองเล็กๆ หรือมีสภาพเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่เท่านั้น ดังปรากฏหลักฐาน ในหนังสือเสด็จประพาสรอบแหลมมลายู พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้า เจา้ อยหู่ วั รชั กาลท่ี ๕ ตอนเสด็จประพาสเมืองนใี้ นปี พ.ศ.๒๔๓๓ ว่า “...ถามถึงบ้านปากลาวว่าเดิมหลวงอะไร ๒ คนตั้งเป็นหมวดหมู่ แต่บ้านอยู่กลางดอน คร้ันหลวงคนนั้นตายก็กระจัดกระจายกันไป บ้านกระบ่ีนั้นกั้นเป็นเรือนรายๆ เหมือนกัน ท่ีปกาไสยค่อยเป็นหมู่มากหน่อยหน่ึง ในบ้านเหล่านี้ทําไร่มากนาน้อย แต่ท่ีก็มีราบกว่า พังงา ท่ีไม่ใคร่ทํานาเพราะขัดกระบือ ถึงดังน้ันก็มีข้าวพอกิน นานๆ จึงจะต้องซื้อข้าวพม่า บ้าง ดบี ุกในแถบนเ้ี ปน็ ไม่มีตลอดไป...” ถึงแม้ในทางการปกครองเมืองกระบ่ีจะขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช แต่เนื่องจากอยู่ห่างไกล และติดต่อกันไมส่ ะดวก ดังน้นั หลังจากทางฝ่ายรัฐบาลแต่งตั้งคณะข้าหลวงใหญ่ออกไปประจําหัวเมือง ฝ่ายตะวนั ตกตัง้ แต่ปี พ.ศ.๒๔๑๘ เปน็ ตน้ มา กไ็ ด้มอบหมายให้เมืองกระบ่ีอยู่ในความดูแลของข้าหลวง ใหญ่ ฝ่ายทะเลตะวันตกด้วย ท้ังๆ ท่ียังถือว่าเป็นเมืองบริวารของนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเจตนาของ รัฐบาลกลางที่จะลดอิทธิพลและแหล่งที่มาของรายได้ของเมืองนครศรีธรรมราชลงไป โดยทางฝ่าย ข้าหลวงใหญ่ได้แต่งต้ังพระอิศราธิไชย ผู้ช่วยราชการเมืองตะก่ัวป่า ไปเป็นผู้ว่าราชการเมืองกระบ่ี และได้มอบหมายให้เจ้าเมืองกระบี่คนใหม่รับทําภาษีในเมืองกระบี่แบบเหมาเมืองเหมือนกับหัวเมือง ชายฝ่ังตะวันตกโดยท่ัวไป สร้างความไม่พอใจให้แก่เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเป็นอย่างมาก พระยาศรี ธรรมราช (หนูพร้อม ณ นคร พ.ศ.๒๔๑๐-๒๔๔๔) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชขณะน้ัน ไม่พอใจท่ีต้อง
สูญเสียรายได้สว่ นหน่ึงจากเมอื งกระบี่ไป จงึ คบกบั หลวงประจิมนคร (จนี เปกอ้ี) เจา้ ภาษีนายอากรจีนผู้ มีอิทธิพลและมีสมัครพรรคพวกมากคนหนึ่ง โดยเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชได้ให้สัญญาว่าถ้าหลวง ประจิมนครสามรถฆ่าพระอิศราธิไชย ผู้ว่าราชการเมืองกระบี่ได้ ก็จะมอบให้จัดการด้านภาษีเมือง กระบ่ี ซง่ึ ปรากฏวา่ หลวงประจิมนครและพรรคพวกทาํ ไดส้ าํ เร็จ แต่เรื่องราวฉาวโฉ่ข้ึนมา และทางฝ่าย ขา้ หลวงใหญไ่ ดเ้ รยี กตวั หลวงประจมิ นครไปพิจารณาโทษ แตก่ ็ทาํ อะไรไม่ได้เพราะหลวงประจิมนครได้ อา้ งว่าเป็นคนในบงั คบั อังกฤษ พรอ้ มทัง้ กล่าวโทษพระอศิ ราธไิ ชยผตู้ ายว่า “เรียกค่าธรรมเนียมผูกป้ีจีน ในอัตราสงู คนจีนทีย่ ากจนไดร้ บั ความเดอื ดรอ้ น จงึ รวมกําลังกันฆ่าพระอศิ ราธไิ ชยเสีย” หลังจากน้ันมีการแต่งต้ังพระเทพธนพัฒนา เป็นผู้ว่าราชการเมืองกระบี่ และมีการโอนเมือง กระบจ่ี ากนครศรีธรรมราชไปขึ้นกับมณฑลภูเก็ตในปี พ.ศ.๒๔๓๙ แต่ในระยะท่ีมีการแบ่งเขตปกครอง ใหม่เป็นอําเภอ ตําบลและหมู่บ้านนั้น เมืองกระบี่ต้องล่าช้ากว่าเมืองอ่ืนเพราะเจ้าเมืองอยู่ในระหว่าง ต้องคดีฉอ้ พระราชทรัพย์ของหลวงในกรุงเทพฯ จงึ ตอ้ งรอไว้กอ่ น และไม่ปรากฏหลักฐานว่า มีการแบ่ง เมืองกระบี่ออกเป็นกี่อําเภอ ตําบลและหมู่บ้านในครั้งนั้น หลักฐานเท่าท่ีปรากฏต่อมาในทําเนียบการ ปกครองท้องท่ีมณฑลภูเก็ต ร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ.๒๔๔๕) และในหนังสือภูมิศาสตร์ประเทศสยามซ่ึงตีพิมพ์ ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ ไดร้ ะบถุ ึงจังหวดั กระบี่ไวว้ ่า “จงั หวดั กระบี่ อยทู่ างทิศตะวันออกของจงั หวัดภเู ก็ตถัดจากจงั หวดั พังงาลงไปทางใต้ มีเนื้อทีป่ ระมาณ ๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๒.๕ ลา้ นไร่ แบ่งเป็น ๔ อาํ เภอ คือ อําเภอ ปากน้ํา (อําเภอเมืองกระบ่ีปัจจุบัน) อําเภอคลองท่อม อําเภออ่าวลึก และอําเภอเกาะลัน ตา มีพลเมืองกระบ่ีประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน ศาลากลางของจังหวัดอยู่ในอําเภอปากน้ําริม ทะเลใกล้ลําน้ํากระบ่ีใหญ่ หา่ งจากภูเก็ตประมาณ ๕๐ กโิ ลเมตร...” ระยะแรกที่มีการก่อต้ังมณฑลภูเก็ตน้ัน กระบ่ียังเป็นเมืองป่าเมืองดงห่างไกลความเจริญ มี บ้านเรือนราษฎรอยู่ในเมอื งเพียง ๒๐ หลงั คาเรอื น ข้าราชการทไ่ี ดรบั แต่งต้ังไปอยู่ที่กระบ่ีถึงกับปฏิเสธ ทีต่ ้องพบกบั ความกันดารทงั้ เส้นทางคมนาคมและอาหารการกิน สัตว์น้ํามีอยู่มากก็จริงแต่ขาดคนท่ีจะ จับข้ึนมา สุกรมีฆ่าวันเว้นวันหรือเว้น ๒ วัน โค กระบือเดือนหน่ึงหรือ ๒ เดือนจึงมีการฆ่าสักครั้ง อาหารท่ีหาได้ง่ายก็คือสัตว์ป่าจําพวกเก้ง กวาง และหมูป่า แต่ก็ต้องระวังเสือ ซ่ึงมีอยู่ชุกชุมมาก ทาง ทะเลก็มีโจรสลัด โรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะไข้ป่าหรือมาลาเรียมีชุกชุมมาก หมอก็ไม่มี เวชภัณฑ์ก็หา ยากมีแตย่ าควนิ นิ ทพ่ี อจะชว่ ยไดบ้ ้าง ในปี พ.ศ.๒๔๔๔ สมัยท่ีพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (คอซิมบ้ี พ.ศ.๒๔๔๔-๒๔๕๖) เป็น สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต และพระยาอุตรกิจพิจารณ์เป็นผู้ว่าราชการเมือง ได้พิจารณาเห็นว่า สถานท่ีตั้งเมืองกระบ่ีเดิมไม่เหมาะสม ไกลทะเลไม่สะดวกแก่การติดต่อค้าขายทางเรือ เรือใหญ่เข้า เทียบท่าไม่สะดวกแก่การติดต่อค้าขายทางเรือ จึงย้ายเมืองอีกคร้ังหนึ่งไปต้ังที่ตําบลปากนํ้า บนเนิน ควนสงู ทางฝ่งั ขวาของแมน่ ้ํากระบี่ อยู่ห่างจากทะเลประมาณ ๓ กิโลเมตร ซึ่งเป็นท่ีต้ังศาลากลางของ จังหวัดกระบี่ในปจั จุบนั
เอกสารอา้ งอิง กองโบราณคดี กรมศลิ ปากร. แหลง่ โบราณคดีประเทศไทย เลม่ ๕ (ภาคใต้). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๓๔. . โบราณคดภี าคใต้ อา่ วลกึ อ่าวพังงา. กรุงเทพฯ: โรงพมิ พช์ มุ นมุ สหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จํากัด, ๒๕๓๒. คณะกรรมการฝา่ ยประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ. วฒั นธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมปิ ัญญา จังหวัดกระบ่ี. กรงุ เทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพรา้ ว, ๒๕๔๔. ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. ประวัติศาสตร์อารยธรรมภาคใต้ แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สําคัญ ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สวุ ีรยิ าสาส์น, ๒๕๔๔. สนุ ัย ราชภัณฑารักษ์. ภูเก็ต. แสงการพิมพ์: กรงุ เทพฯ, ๒๕๒๘. สุรพล นาถะพินถุ. รากเหง้าบรรพชนคนไทย: พัฒนาการทางวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์. กรงุ เทพฯ: มติชน, ๒๕๕๐ สํานักศิลปากรท่ี ๑๕ ภูเก็ต. รายงานประกอบการขึ้นทะเบียน ถ้ําหลังโรงเรียนบ้านทับปริก ตําบล ทับปรกิ อําเภอเมือง จังหวัดกระบ่ี. เอกสารอัดสาํ เนา, ๒๕๕๑. . รายงานการสํารวจแหล่งโบราณคดีควนหวายแดง ตําบลพรุดินนา อําเภอคลองท่อม จงั หวดั กระบี่. ภเู ก็ต: สํานักศลิ ปากรที่ ๑๕ ภเู กต็ , ๒๕๕๕. . แหล่งโบราณคดีในเขตตําบลทับปริก อําเภอเมือง จังหวัดกระบี่. ภูเก็ต: สํานักศิลปากรที่ ๑๕ ภูเก็ต ๒๕๕๔.
ภาพท่ี๑ สภาพทั่วไปแหล่งโบราณคดีถ้าํ หลังโรงเรียน ตําบลทับปริก จังหวัดกระบี่ มลี กั ษณะเปน็ เพงิ ผาตง้ั อยบู่ นเขาหินปนู (ถา่ ยเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙) ภาพที่๒ สภาพทว่ั ไปแหลง่ โบราณคดีถาํ้ หมอเขียว ตาํ บลกระบนี่ อ้ ย อําเภอเมอื ง จังหวดั กระบี่ มีลกั ษณะ เป็นเพิงผา (ถ่ายเม่อื ปี พ.ศ.๒๕๕๔)
ภาพที่๓ ภาชนะดินเผาทรงพาน พบจากการขุดค้นท่ีแหล่งโบราณคดีถ้ําหลังโรงเรียน ตําบลทับปริก อําเภอเมอื ง จังหวัดกระบี่ จัดแสดง ณ พิพธิ ภณั ฑสถานแหง่ ชาติ ถลาง ภาพท่ี๔ ภาชนะดินเผาสามขาส่วนลําตัวถูกหินปูนเคลือบไว้ และชิ้นส่วนขาภาชนะดินเผาสามขา พบท่ี แหล่งโบราณคดีควนหวายแดง ตาํ บลพรุดินนา อาํ เภอคลองทอ่ ม จังหวดั กระบ่ี เม่ือปี พ.ศ.๒๕๕๕
ภาพที่๕ ภาพเขียนสีสมยั ก่อนประวัติศาสตร์ทแ่ี หล่งโบราณคดีถ้าํ ชาวเล เขียนดว้ ยสีแดงเป็นรปู คนกําลงั ทํากจิ กรรมตา่ งๆ ภาพที่ ๖ ภาพเขียนสีท่ีถ้ําผีหัวโต อําเภออ่าวลึก จังหวัด กระบ่ี ภาพนี้ยังคงมีความลึกลับในความหมาย และได้กลายมาเป็น สัญลกั ษณ์ของอําเภออา่ วลกึ ในปจั จุบนั
ภาพที่ ๗ ลกู ปดั แกว้ และกําไลแกว้ พบท่ีแหล่งโบราณคดคี ลองทอ่ ม จดั แสดง ณ พพิ ิธภณั ฑ์วดั คลองทอ่ ม อําเภอคลองทอ่ ม จงั หวดั กระบ่ี ภาพที่ ๘ เขาขนาบนํ้าแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และแรกเร่ิมประวัติศาสตร์ท่ีสําคัญ ต้งั อย่หู น้าเมอื งกระบใ่ี นปัจจบุ นั มีลกั ษณะเด่นแปลกตา เปน็ จดุ หมายสังเกตทส่ี ําคญั บริเวณปากนํ้ากระบี่
ภาพที่ ๙ โบสถ์วัดแก้วโกรวารามหลังเก่า ตําบลปากนํ้า อําเภอเมือง จังหวัดกระบ่ี ตามประวัติวัดน้ีสร้าง ข้นึ เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓ โดยพระยาอศิ ราธิชยั (หมี ณ ถลาง) คร้นั ดํารงตาํ แหนง่ เป็น “พระแก้วโกรพ” เจา้ เมอื งกระบี่
Search
Read the Text Version
- 1 - 10
Pages: