Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ปุ๋ยชีวภาพ

Description: ปุ๋ยชีวภาพ.

Search

Read the Text Version

คาํ นํา ดนิ เปน ทรพั ยากรธรรมชาตทิ ี่มคี วามสําคัญตอการผลิตพืชเน่ืองจากเปน แหลงของธาตุอาหาร น้ํา และอากาศสําหรับพืช ปจจุบันความตองการใช ทรัพยากรดินมีแนวโนมเพ่ิมสูงข้ึนตามจํานวนประชากร และการขยายตัวทาง เศรษฐกจิ ของประเทศ จึงทําใหมีการใชทรัพยากรดินอยางมากในการผลิตพืช ขาดการบํารุงดูแลรักษาและฟนฟูดิน ทําใหดินเกิดความเส่ือมโทรม ขาดความ อดุ มสมบรู ณสงผลใหปริมาณและคุณภาพผลผลิตพืชลดลง การจัดการดินและ การใชปุยท่ีถูกตองและเหมาะสมจะชวยแกไขปญหาดังกลาวได โดยการใช เทคโนโลยดี า นปยุ ชีวภาพรวมกับปุยเคมแี บบผสมผสาน เพ่อื เปนแนวทางหนง่ึ ใน การลดตนทุนการผลิตพืชใหแกเกษตรกร อีกท้ังยังเปนการเพ่ิมความอุดม สมบรู ณของดินอยา งย่ังยืนตามนโยบายหลกั ของรัฐบาล กองวิจัยพัฒนาปจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร มี บทบาทหนา ท่ีสาํ คญั ในการดําเนนิ งานวิจยั พัฒนาเทคโนโลยกี ารผลิตและการใช ปยุ ชีวภาพในการผลติ พชื หลายชนิด เพ่ือใชเปนปจจัยการผลิตอีกแนวทางหนึ่ง ในการลดการใชปุยเคมี ซ่ึงไดแก ปุยชีวภาพไรโซเบียมสําหรับพืชตระกูลถ่ัว ปยุ ชวี ภาพพีจพี ีอารสําหรบั ขา ว ขาวโพด ขาวฟาง พืชผักและพืชสมุนไพร ออย และมันสําปะหลัง ปุยชีวภาพอารบัสคูลารไมคอรไรซาสําหรับไมผล ไมยืนตน และพืชผัก และปุยชีวภาพละลายฟอสเฟตสําหรับไมผล ไมยืนตน พืชไร ไมดอกไมประดบั และพืชผัก เปนตน ดังน้ันจึงไดรวบรวมและสรุปผลงานวิจัย ดานปุยชีวภาพในการผลิตพืชเปนเอกสารคําแนะนําการใชปุยชีวภาพท่ีมีความ ถกู ตอ งตามหลกั วิชาการ เพื่อจะไดเ ปนองคความรูสาํ หรบั นกั วิชาการและบุคคล ทวั่ ไปใหส ามารถนาํ ไปใชประโยชนต อไป i

สารบัญ หนา คาํ นํา i สารบญั ปยุ ชวี ภาพ ii ปุย ชีวภาพไรโซเบยี ม ปยุ ชีวภาพพีจพี อี าร 1 ปยุ ชวี ภาพอารบ สั คูลารไมคอรไรซา 5 ปยุ ชีวภาพละลายฟอสเฟต 10 บรรณานุกรม 17 22 29 ii

ปุยชวี ภาพ “ปุยชีวภาพ”ตามพระราชบัญญัติปุย พ.ศ. 2518 ฉบับแกไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550 หมายความวา ปุยท่ีไดจากการนําจุลินทรียที่มีชีวิตที่สามารถสราง ธาตุอาหารหรือชวยใหธาตุอาหารเปนประโยชนกับพืช มาใชในการปรับปรุง บํารงุ ดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ หรือทางชีวเคมี และใหหมายความรวมถึง หวั เชอ้ื จุลินทรีย นอกจากความหมายของปุยชีวภาพแลว ยังมีคํานิยามที่เก่ียวของกับ ปยุ ชีวภาพทคี่ วรทราบเพิ่มเติมในการทีจ่ ะใช ซื้อ หรือจําหนา ยปุยชวี ภาพ ดังนี้ “ชนิดของจุลินทรีย” หมายความวา กลุมหรือสกุลของจุลินทรียเปน ภาษาทางวิทยาศาสตรของจุลนิ ทรีย “หวั เชอื้ จุลนิ ทรีย” หมายความวา จุลินทรียชีวภาพท่ีมีจํานวนเซลลตอ หนว ยสงู ซง่ึ ถกู เพาะเลย้ี งโดยกรรมวธิ ที างวทิ ยาศาสตร “วัสดรุ องรับ” หมายความวา สิง่ ทน่ี ํามาใชใ นการผสมกับหวั เชอ้ื จุลินทรยี  ในกระบวนการผลติ ปยุ ชวี ภาพ “ปริมาณจุลินทรียรับรอง” หมายความวา ปริมาณขั้นตํ่าที่ผูผลิตหรือ ผูนําเขารับรองถึงจํานวนเซลลรวม หรือจํานวนสปอรรวม หรือจํานวนตามที่ หนวยวัดอื่นทร่ี ฐั มนตรกี ําหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาของจุลินทรียที่ มีชีวติ ท่ีมีอยใู นปยุ ชวี ภาพหรอื หวั เชื้อจลุ นิ ทรียท ่ีตนผลติ หรือนาํ เขา แลวแตก รณี “จุลินทรียท่ีเปนเช้ือโรค” หมายความวา จุลินทรียท่ีกอใหเกิดโรคตอ มนุษย สตั วหรือพืชและใหหมายความรวมถึงจุลินทรียที่ทําลายจุลินทรียที่เปน ประโยชนไ มว า ดวยประการใด ๆ 1

ประเภทของปยุ ชวี ภาพ ปุยชีวภาพสามารถแบงตามลักษณะการใหธาตุอาหารแกพืช ได 2 ประเภท คือ 1. ปุยชวี ภาพทป่ี ระกอบดวยจุลินทรียสรางธาตอุ าหารพืช จุลินทรยี ท ่สี ามารถสรา งธาตอุ าหารพืชไดใ นปจ จุบนั พบเพียงกลุมเดียว คือ กลุมจุลินทรียตรึงไนโตรเจน ประกอบดวยแบคทีเรียและแอคติโนมัยซีท จลุ นิ ทรียในกลุมนม้ี ีชุดยีนท่คี วบคุมการสรางเอนไซมไ นโตรจีเนส (nitrogenase enzyme) และควบคุมกระบวนการตรึงไนโตรเจนจากอากาศที่มีประสิทธิภาพ เปนองคประกอบในจีโนม ปุยชีวภาพประเภทน้ีสามารถแบงตามลักษณะ ความสัมพันธกับพืชอาศัยได 2 กลมุ คือ กลมุ ที่ 1 ปุยชีวภาพท่ีประกอบดวยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนท่ีอาศัยอยู รวมกับพืชแบบพึ่งพาอาศัยซ่ึงกันและกัน (symbiotic nitrogen fixation) ปยุ ชีวภาพกลุมนี้มีแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนสูงมากเปน สวนประกอบ สามารถทดแทนปุยเคมีไนโตรเจนใหกับพืชอาศัยไดมากกวา 50–100 เปอรเซน็ ต ท้ังน้ขี นึ้ อยกู ับชนดิ และสายพนั ธขุ องจุลินทรีย ชนิดของพืช อาศัย รวมท้ังระดับความอุดมสมบูรณของดิน สวนใหญมีการสรางโครงสราง พิเศษอยกู ับพชื อาศัยและตรึงไนโตรเจนทางชีวภาพจากอากาศ ไดแก การสราง ปมของแบคทเี รยี ไรโซเบียมกับพืชตระกูลถั่วชนิดตาง ๆ การสรางปมท่ีรากสน ของแฟรงเคีย (Frankia) การสรา งปมทีร่ ากปรงของสาหรายสีเขียวแกมนํ้าเงิน สกุลนอสทอค (Nostoc) การอาศัยอยูในโพรงใบแหนแดงของสาหรายสีเขียว แกมน้ําเงินสกุลอะนาบีนา (Anabaena) เปนตน ในกลุมนี้พืชอาศัยจะไดรับ ไนโตรเจนที่ตรงึ ไดทางชีวภาพจากจลุ ินทรยี ไ ปใชโดยตรง สามารถนาํ ไปใชในการ สรา งการเจรญิ เตบิ โต เพ่มิ ผลผลติ และคุณภาพพชื ไดอ ยา งมปี ระสิทธภิ าพ กลมุ ท่ี 2 ปุยชีวภาพท่ีประกอบดวยแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนท่ีอาศัยอยู รวมกับพืชแบบอิสระ (non-symbiotic nitrogen fixation) แบคทีเรียกลุมน้ีมี ประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนต่ํา จึงสามารถทดแทนปยุ ไนโตรเจนใหกับพืช 2

ทีอ่ าศัยระหวาง 5–30 เปอรเซ็นต ขึ้นอยกู ับสกุลของจุลินทรยี  ชนดิ ของพชื อาศัย และระดับความอุดมสมบรู ณของดิน สามารถแบง ได 3 กลุมคอื 2.1 แบคทีเรียที่อาศัยอยูอยางอิสระในดินและบริเวณรากพืช ไดแก สกุลอะโซโตแบคเตอร (Azotobacter) และสกุลไบเจอริงเคีย (Beijerinckia) เปน ตน 2.2 แบคทเี รียทีพ่ บอาศยั อยูไดทงั้ ในดนิ บริเวณรากพืช และภายในราก พืชช้ันนอก ไดแก สกุลอะโซสไปริลลัม (Azospirillum) และสกุลบาซิลลัส (Bacillus) เปนตน 2.3 แบคทเี รียท่ีพบอาศยั อยภู ายในตนและใบพชื ไดแก กลูคอนอะซโี ต แบคเตอรไ ดอะโซโตรฟคัส (Gluconacetobacter diazotrophicus) ที่พบใน ออยและกาแฟ สกลุ เฮอบาสไปรลิ ลมั (Herbaspirillum) ท่ีพบในขาว ออยและ พืชเสนใยบางชนิด และสกุลอะโซอารคัส (Azoarcus) ท่ีพบในขาวและหญา เปนตน 2. ปุยชีวภาพท่ปี ระกอบดว ยจุลินทรียท ี่ทาํ ใหธาตุอาหารเปนประโยชนกบั พืช ปุยชีวภาพในกลุมน้ีจะชวยเพ่ิมความเปนประโยชนของธาตุอาหารพืช บางชนิดที่ถูกตรึงอยูในดิน ในรูปท่ีพืชไมสามารถนําไปใชประโยชนไดใหเปน ประโยชนก บั พืชไดม ากข้นึ โดยจลุ นิ ทรียกลมุ น้จี ะสรางกรดอินทรียหรือเอนไซม บางชนิด เพอื่ ละลายธาตุอาหารทีถ่ ูกตรงึ อยใู นดินสามารถแบงไดเปน 3 กลุม คือ กลุมที่ 1 ปยุ ชีวภาพไมคอรไ รซา ประกอบดวยกลุมราไมคอรไรซาที่ชวย เพิ่มศกั ยภาพในการดูดใชธ าตุอาหารใหแกพืช โดยจะสรางเสนใยเขาไปในราก และเสน ใยบางสว นจะเจรญิ อยูใ นดนิ บรเิ วณรอบรากพืช ชวยดูดธาตุอาหารตาง ๆ และละลายฟอสฟอรัสที่ถกู ตรงึ อยูในดนิ แลวสง ผานธาตุอาหารไปทางเสนใยรา เขาสูรากพืช ทําใหพืชไดรับธาตุอาหารเพ่ือใชในการเจริญเติบโตและสราง ผลผลติ อยางเพียงพอ ปุยชีวภาพไมคอรไรซาท่ีมีการนํามาใชทางการเกษตรมี 2 กลุม คอื 1) อารบ ัสคลู ารไ มคอรไ รซา (Arbuscular mycorrhiza) ใชกับพืชสวน พชื ไร พชื ผัก และไมด อกไมประดับ และ 2) เอ็คโตไมคอรไ รซา (Ectomycorrhiza) ใชกบั ไมผ ล ไมป า และไมโตเรว็ 3

กลมุ ที่ 2 ปุย ชวี ภาพละลายฟอสเฟต ประกอบดวยจุลินทรียที่ชวยเพิ่ม ความเปน ประโยชนข องฟอสฟอรสั โดยการสรา งและปลดปลอยกรดอินทรียและ กรดอนนิ ทรียอ อกมานอกเซลล เพือ่ ละลายสารประกอบอนินทรียฟอสเฟตท่ีไม เปนประโยชนต อพชื และสะสมในดนิ นอกจากนี้ยังสรา งและปลดปลอยเอนไซม บางชนดิ ออกมานอกเซลลเพ่ือยอยสลายสารประกอบอินทรียฟอสเฟตท่ีอยูใน ดิน ยกตัวอยา งเชน การสรางเอนไซมไฟเตส (phytase) ในการยอ ยสลายไฟเตท phytate) และปลดปลอยโมโนไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน (HPO42-) และ ไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (H2PO4-) ออกมาในสารละลายดิน ซ่ึงพืชจะนําไปใชเพื่อ การเจริญเติบโตและสรางผลผลิตตอ ไป กลุมที่ 3 ปุยชีวภาพละลายโพแทสเซียม ประกอบดวยจุลินทรียชวย เพมิ่ ความเปนประโยชนข องโพแทสเซียม ไดแก สกุลบารซิลลัส (Bacillus) สกุล คลาโดสปอรอิ อยเดส (Cladosporioides) สกุลคลาโดสปอเรียม (Cladosporium) สกุลคลอสทริเดียม (Clostridium) สกุลเพนนิซิลเลียม (Penicillium) และสกุล ไทโอบารซ ิลลัส (Thiobacillus) เปน ตน โดยจลุ ินทรียกลุมนี้จะสรางกรดอินทรีย และอนินทรียออกมาละลายโพแทสเซียมออกจากการตรึงของแรดินเหนียวบาง ชนดิ จงึ สามารถใชเ ปนจลุ นิ ทรยี สําหรบั ผลิตปุยชีวภาพได สามารถใชไดผลดีท้ัง ในพชื สวนและพืชไร 4

ปุยชวี ภาพไรโซเบยี ม ปุยชีวภาพไรโซเบยี ม คือ ปุยชีวภาพท่ีประกอบดวยแบคทีเรียแกรมลบ ตระกูลไรโซเบียม (Rhizobiaceae) ซึ่งเปนแบคทีเรียในดินที่สามารถเขาสราง ปมรากกับพืชตระกูลถ่ัวได และเจริญอยูภายในปมรากแบบพึ่งพาอาศัยซ่ึงกัน และกัน (symbiosis) โดยปมรากท่ีมีไรโซเบียมอาศัยอยูเปรียบเสมือน โรงงานผลติ ปุยไนโตรเจนทางชีวภาพ เนื่องจากไรโซเบียมสามารถตรึงไนโตรเจน โดยใชเอนไซมไนโตรจีเนส (nitrogenase enzyme) ในการควบคุมปฏิกิริยา การเปล่ียนกาซไนโตรเจนท่ีมีอยูในบรรยากาศถึง 78 เปอรเซ็นตโดยน้ําหนัก ใหเปน สารประกอบไนโตรเจนเพื่อใหพ ชื ใชในการเจรญิ เติบโตได ในขณะที่พชื จะ ใหแหลงอาหารคารบอนท่ีไดจากการสังเคราะหแสงแกไรโซเบียม และสราง โปรตนี ชือ่ เลกฮโี มโกลบนิ (leghaemoglobin) ซง่ึ สามารถเห็นเปน สีแดงเมือ่ ผา ปมท่ีสมบูรณ (ภาพที่ 1) สารเลกฮีโมโกลบินถูกสรางข้ึนเพื่อควบคุมปริมาณ อ อ ก ซิ เ จ น ภ า ย ใ น ป ม ร า ก ใ ห เ ห ม า ะ ส ม ต อ ก ร ะ บ ว น ก า ร ต รึ ง ไ น โ ต ร เ จ น (Alexander, 1977) ภาพที่ 1 การติดปมของถ่ัวเหลอื งเมอ่ื ใชปุยชวี ภาพไรโซเบียม(ซาย) และปมราก ถ่ัวท่มี ปี ระสทิ ธภิ าพจะมสี ีแดงของเลกฮโี มโกลบนิ (ขวา) 5

ประโยชนท่ีไดจ ากการใชปยุ ชวี ภาพไรโซเบียมในการผลิตพชื ตระกลู ถ่วั ดนิ ทีไ่ มเ คยทําการเพาะปลกู ถั่วมากอ นหรือเลกิ รา งเปนเวลานาน หรือดิน ท่ีมีความอุดมสมบูรณต่ํา มักจะไมพบหรือพบเชื้อไรโซเบียมในปริมาณนอย หากไมมีการใสปุยเคมีหรือปุยชีวภาพไรโซเบียม จะทําใหลําตนถั่วแคระแกร็น ใบสเี หลอื งและใหผ ลผลติ ต่าํ การใสป ยุ ชวี ภาพไรโซเบยี มทมี่ ีประสทิ ธภิ าพในการ ตรงึ ไนโตรเจนพรอมกับการปลกู ถวั่ สามารถชวยแกป ญ หาดังกลา วได การใชปุยชีวภาพไรโซเบียมรวมกับการปลูกพืชตระกูลถ่ัว สามารถ สงเสริมการเจริญเติบโตของตนถั่วและทําใหปริมาณไนโตรเจนในลําตนถั่ว เพิ่มขนึ้ (ภาพท่ี 2) ชว ยเพม่ิ ผลผลิตและปรับปรุงคณุ ภาพของเมล็ดถว่ั ได โดยทํา ใหมีปริมาณโปรตนี เพ่ิมขึน้ ในเมลด็ สามารถทดแทนการใชปุยเคมีไนโตรเจนได 50 ถงึ 100 เปอรเซน็ ต (กรมวชิ าการเกษตร, 2553; พรพรรณ และคณะ, 2554) นอกจากน้ีไรโซเบียมยังมีบทบาทสําคัญในระบบเกษตรยั่งยืน เน่ืองจาก สารประกอบไนโตรเจนทไี่ รโซเบียมตรึงไดจ ะถกู สะสมในตนถั่ว และเมือ่ ไถกลบก็ จะถูกยอยสลายและปลดปลอยธาตุไนโตรเจนลงสูดิน เกษตรกรจึงนิยมใชพืช ตระกูลถ่ัวหลายชนิดเปนปุยพืชสด ทําใหดินคงความอุดมสมบูรณอยูไดนาน เหมาะแกการเพาะปลูกพืชอืน่ ตอ ไป ภาพท่ี 2 การเจริญเติบโตของถัว่ ที่ใสปยุ ชีวภาพไรโซเบียมและไมใสปุยชีวภาพ ไรโซเบียม 6

ผลิตภัณฑป ยุ ชีวภาพไรโซเบยี ม ปุยชีวภาพไรโซเบียมประกอบดวยแบคทีเรียสกุลแบรดดีไรโซเบียม (Bradyrhizobium) (ภาพท่ี 3) มลี กั ษณะเปน ผง มีปรมิ าณจุลินทรียรับรองไมนอย กวา 1×106 โคโลนตี อ ปยุ ชีวภาพ 1 กรมั มีขนาดบรรจุภัณฑ 200 กรัม (ภาพท่ี 4) × 1,000 ภาพท่ี 3 ลักษณะโคโลนีของแบรดดีไรโซเบียม (Bradyrhizobium sp.) ท่ี เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ (ซาย) และลักษณะของเซลลภายใตกลอง จุลทรรศน (ขวา) ภาพที่ 4 ผลิตภณั ฑป ยุ ชีวภาพไรโซเบยี มสาํ หรับถั่วเขียว 7

วิธกี ารใชปุยชวี ภาพไรโซเบียม การทพ่ี ชื จะไดรับประโยชนจากปุย ชีวภาพไรโซเบียมไดสูงสุด จะตองทํา ใหไ รโซเบียมทคี่ ลุกกับเมล็ดเขาสูราก เพ่ือสรางปมรากใหไดมากท่ีสุด เม่ือราก ถัว่ งอกออกมา ไรโซเบียมที่ติดอยูกับเมล็ดก็จะเขาสูรากไดทันที (กรมวิชาการ เกษตร, 2548) วิธีการนําเมล็ดมาคลุกกับปุยชีวภาพไรโซเบียมกอนปลูกจึง จําเปนจะตองใชวิธีพรมดวยน้ําเปลา เพื่อชวยใหปุยชีวภาพไรโซเบียมติดกับ เมล็ด โดยมีขนั้ ตอนการคลกุ เชอื้ ไรโซเบียมกับเมลด็ (ภาพที่ 5) ดงั น้ี 1. นาํ เมล็ดถ่วั ท่ีตองการปลกู ใสล งในภาชนะ 2. พรมดว ยนาํ้ เปลาใหท ั่ว 3. โรยปยุ ชวี ภาพไรโซเบียมสําหรบั ถว่ั ชนดิ นั้น ๆ ลงบนเมล็ดถั่วในอัตรา 1 ถุงตอ เมลด็ ถ่ัวเขียว 3–5 กโิ ลกรัม ถั่วเหลือง 10–12 กโิ ลกรัม ถั่วลิสง 10–15 กโิ ลกรัม หรือตามอตั ราแนะนําทรี่ ะบุบนบรรจุภัณฑ 4. คลกุ เคลาผงปุย ชีวภาพไรโซเบียมใหติดอยา งสมํ่าเสมอทวั่ ทกุ เมลด็ และ นาํ ไปปลกู ใหห มดทันที รวมกับการใชปุยเคมี 8-24-24 อัตรา 38 กโิ ลกรัมตอ ไร ภาพท่ี 5 วิธีการคลุกเมลด็ ถั่วกบั ปุยชวี ภาพไรโซเบียม 8

การเก็บรกั ษา เก็บรักษาปุยชีวภาพไรโซเบียมในท่เี ยน็ ไมโดนแสงแดด ควรเกบ็ ในตูเย็น ท่ีอุณหภูมิ 8–10 องศาเซลเซยี ส ขอ ควรระวงั 1. ควรเลือกปุยชีวภาพไรโซเบียมใหตรงกับชนิดของถั่วที่ตองการปลูก ซ่งึ ปยุ ชวี ภาพไรโซเบยี มแตละชนิดเหมาะสมกบั ชนิดถั่วทรี่ ะบไุ วบ นถุงบรรจภุ ณั ฑ เทา นน้ั (ภาพท่ี 6) 2. เลือกใชผ ลิตภณั ฑปยุ ชวี ภาพไรโซเบยี มท่ยี งั ไมหมดอายุ ซ่ึงจะระบุอยู บนถุงผลติ ภัณฑ (ภาพท่ี 6) 3. ควรปลกู ถ่ัวในขณะท่ีดินมคี วามชนื้ เหมาะสม หรอื ปลกู แลวมกี ารใหนํา้ ทนั ที ภาพที่ 6 รายละเอียดบนบรรจภุ ณั ฑของปุยชวี ภาพไรโซเบยี มทค่ี วรพิจารณา กอ นซ้ือ 9

ปุยชวี ภาพพจี พี อี าร “ปุยชีวภาพพีจีพีอาร หรือ ปุยชีวภาพแบคทีเรียสงเสริมการเจริญ เติบโตของพืช (Plant Growth Promoting Rhizobacteria: PGPR)” เปน ปุ ย ชี ว ภ าพ ท่ี ป ร ะก อ บ ด วย แ บ ค ที เ รี ย ที่ อ าศั ย อ ยู ใน ดิ น บ ริ เ ว ณ ร อบ ร า ก พื ช (rhizosphere) และชว ยสงเสรมิ การเจรญิ เติบโตของพืชได โดยแบคทีเรียกลุมนี้ มคี วามสามารถในการตรงึ ไนโตรเจน เพม่ิ ความเปนประโยชนข องธาตุอาหารพืช สรางสารซิเดอโรฟอร (siderophores) ซ่ึงมีสมบัติเพิ่มการนําธาตุเหล็กเขา สูเซลลพืช โดยการแยงจับธาตุเหล็กบริเวณรอบรากพืช ทําใหเช้ือราโรคพืช ไมสามารถนําธาตุเหล็กไปใชได นอกจากน้ียังสามารถสรางฮอรโมนพืช (phytohormones) เชน ฮอรโมนกลมุ ออกซิน (auxins) ซ่ึงกระตุนการยืดตัวของ เซลล การแบงเซลล และการเปลี่ยนสภาพของเซลล สรางเอนไซมไคติเนส (chitinase) และลามินาริเนส (laminarinase) ยอยเสนใยเชื้อราโรคพืช สราง สารปฏิชวี นะท่ีมีฤทธ์ิตานเช้ือราสาเหตุโรคพืชได เปนตน (หนึ่ง, 2548; ธงชัย, 2550 และ Gliek et al., 1999) ซึง่ ในแบคทีเรยี บางสกุลมีความสามารถหลาย อยางรวมกนั เชน แบคทีเรียสกุลอะโซสไปรลิ ลมั (Azospirillum) บางสายพันธุ มีความสามารถในการตรงึ ไนโตรเจน ชว ยละลายฟอสเฟต ผลติ ฮอรโมนสงเสริม การเจริญของพชื และชวยเพมิ่ ประสิทธภิ าพการดดู ธาตุอาหารของพืช ปจจุบนั การผลิตปุยชวี ภาพพจี ีพีอารน ยิ มใชแบคทีเรียสกุลอะโซสไปริลลัม (Azospirillum) รว มกับแบคทเี รยี สกุลอ่ืน ๆ เชน อะโซโตแบคเตอร (Azotobacter) ไบเจอรงิ เคยี (Beijerinckia) เบอรโ คลเดอเรยี (Burkholderia) และกลูคอนอะซิโต แบคเตอร (Gluconacetobacter) เปนตน เพ่ือชวยเพ่ิมประสิทธิภาพของปุย ชวี ภาพพจี พี อี ารในการสง เสริมการเจริญเตบิ โตของพชื ไดด ยี ่งิ ข้ึน 10

ประโยชนทไ่ี ดจ ากการใชป ยุ ชวี ภาพพจี พี อี ารในการผลติ พืช ปยุ ชวี ภาพพีจพี อี ารส ามารถสง เสรมิ การเจริญเติบโตของพืชโดยชวยเพิ่ม ปริมาณรากไดอยางนอย 20 เปอรเซ็นต (ภาพท่ี 7) เน่ืองจากจุลินทรียใน ปุย ชวี ภาพพจี พี อี ารส ามารถสรางฮอรโมนพืช ทําใหระบบรากพืชแข็งแรง เพิ่ม ประสทิ ธภิ าพในการดดู น้ําและปยุ ทาํ ใหต นพืชแขง็ แรง ตานทานโรค นอกจากน้ี ยังชวยเพ่มิ ผลผลิตพชื ไดอยา งนอย 10 เปอรเ ซน็ ต สามารถชว ยลดการใชปยุ เคมี ในการปลูกพชื ไดอ ยางนอย 25 เปอรเ ซน็ ต ของอัตราแนะนาํ ตามคาวเิ คราะหดนิ (ภาพที่ 8) ภาพที่ 7 ผลการใชป ยุ ชวี ภาพพจี ีพอี ารตอการเพิ่มปรมิ าณรากของขาวโพด (บน) และขา ว (ลา ง) 11

ภาพท่ี 8 ผลการใชปุยชีวภาพพีจีพีอารตอการเพ่ิมปริมาณรากและการเจริญ เติบโตของออย ผลติ ภัณฑป ยุ ชีวภาพพีจพี อี าร 1. ปุยชีวภาพพีจีพีอาร-วัน ประกอบดวย แบคทีเรีย 3 ชนิด ไดแก Azospirillum brasilense, Azotobacter vinelandii, Beijerinckia mobilis (ภาพท่ี 9) มีปริมาณ จลุ ินทรียร บั รองไมน อยกวา 1×106 โคโลนตี อ ปุย ชวี ภาพ 1 กรมั ใชส ําหรับขา วโพด ขา วฟา ง พืชผัก และพชื สมนุ ไพร 2. ปุย ชวี ภาพพีจีพีอาร- ทู ประกอบดว ยแบคทีเรยี 2 ชนิด ไดแก Azospirillum brasilense, Burkholderia vietnamiensis มีปรมิ าณจลุ ินทรียร บั รองไมนอย กวา 1×106 โคโลนีตอ ปุยชวี ภาพ 1 กรมั ใชสําหรบั ขา ว (ภาพท่ี 10) 3. ปุยชวี ภาพพีจพี อี าร- ทรี ประกอบดว ย แบคทีเรีย 2 ชนดิ ไดแ ก Azospirillum brasilense, Gluconacetobacter diazotrophicus (ภาพท่ี 11) มีปริมาณ จลุ นิ ทรียร บั รองไมน อยกวา 1×106 โคโลนีตอ ปุยชีวภาพ 1 กรัม ใชสําหรับออย และมนั สาํ ปะหลงั 12

X1,000 x1,000 x1,000 Azospirillum brasilense Azotobacter vinelandii Beijerinckia mobilis ภาพที่ 9 ลักษณะเซลลข องแบคทเี รยี ในปยุ ชวี ภาพพีจพี ีอารภ ายใตก ลอ งจลุ ทรรศน ภาพที่ 10 ผลติ ภณั ฑป ุยชีวภาพพจี พี ีอาร- ทู Azospirillum brasilense DASF04008 Gluconacetobacter diazotrophicus BR11281 ภาพท่ี 11 ลกั ษณะโคโลนีของแบคทีเรยี ในปยุ ชวี ภาพพจี ีพอี าร- ทรี ท่ีเจริญบน อาหารวนุ แข็ง 13

วธิ กี ารใชป ยุ ชวี ภาพพจี ีพอี าร 1. ปยุ ชีวภาพพจี ีพีอาร- วนั • คลกุ เมลด็ กอนปลกู ใชปยุ ชีวภาพพีจพี อี าร- วนั จาํ นวน 1 ถุง ผสมนํ้าใหขน แลวนําเมล็ด ขา วโพด 3–4 กโิ ลกรัม หรือขา วฟา ง 2–3 กิโลกรัม คลุกเคลาจนเน้ือปุยเคลือบ ติดผวิ เมล็ด (ภาพที่ 12) แลว จงึ นําไปปลูกทันที • ใชรองกนหลุม ใชปุย ชวี ภาพพจี พี อี าร- วัน จํานวน 1 ถุง ละลายในนํ้าสะอาด 20 ลิตร ราดกองปุยท่ีหมักสมบูรณแลว ประมาณ 250 กิโลกรัม (ภาพที่ 13) ปรับความช้ืนในกองปุยหมักใหไดประมาณ 50–60 เปอรเซ็นตโดยนํ้าหนัก คลุกเคลาใหเขากันแลวบมไว 1 สัปดาห ใชรองกนหลุมกอนปลูก อัตรา 250 กิโลกรมั ตอ ไร ภาพท่ี 12 ตัวอยา งเมลด็ พันธุท่คี ลุกดว ยปยุ ชวี ภาพพีจีพอี าร 2. ปุย ชวี ภาพพจี พี ีอาร- ทู • คลุกเมลด็ กอนปลูก - หวา นขา วแหงพรมน้าํ ลงบนเมลด็ ขาว 10–15 กโิ ลกรัม ใหพอเปยก โรยปยุ ชีวภาพพจี ีพีอาร- ทู จํานวน 1 ถงุ คลุกเคลา จนเนื้อปุยเคลือบติดผิวเมล็ด แลว จงึ นําไปหวา น (ภาพที่ 12) - หวา นขา วงอก ใชปุย ชีวภาพพจี พี ีอาร- ทู จาํ นวน 1 ถงุ คลกุ เคลากับ เมล็ดขาว 10–15 กิโลกรัม ท่ีแชไวแลวจนเน้ือปุยเคลือบติดผิวเมล็ดแลวจึง 14

นําไปหวา น • ใชร วมกบั ปุย หมกั รองพน้ื ใชปุยชีวภาพพีจีพีอาร-ทู จํานวน 1 ถุง ผสมกับปุยหมักประมาณ 250 กโิ ลกรัมตอไร รองพื้นพรอ มปลูก (ภาพที่ 13) ภาพที่ 13 การคลุกปยุ ชีวภาพพจี พี ีอารก ับปยุ หมกั 3. ปุยชวี ภาพพีจพี ีอาร- ทรี • ฉดี พนทอนพนั ธุอ อ ย ใชป ยุ ชีวภาพพีจีพีอาร-ทรี ละลายกับนํ้าสะอาดอัตราสวน 1 : 100 (ปยุ ชีวภาพพีจีพีอาร- ทรี 1 กิโลกรมั ตอนํา้ 100 ลิตร) ฉีดพนเปนฝอยละเอียดลง บนทอนพนั ธแุ ลว จงึ กลบทบั ดวยดนิ ทนั ที • แชทอ นพันธมุ ันสาํ ปะหลัง ใชปุยชีวภาพพีจีพีอาร-ทรี ละลายกับนํ้าสะอาดอัตราสวน 1 : 20 (ปุยชวี ภาพพีจีพีอาร- ทรี 1 กิโลกรัม ตอนํา้ 20 ลติ ร) หลงั จากนั้นนาํ ทอนพนั ธุล ง ไปแชเปนเวลา 30 นาที แลวจงึ นําไปปลูกทันที (ภาพท่ี 14) • ใชกับปุยหมกั ใชปุยชีวภาพพีจีพีอาร-ทรี จํานวน 1 ถุง ผสมกับปุยหมักประมาณ 250 กโิ ลกรัมตอ ไร แลว จึงนําไปหวานทันที 15

ภาพที่ 14 การใชป ยุ ชวี ภาพพจี ีพีอาร- ทรแี ชท อนพนั ธมุ นั สาํ ปะหลัง วิธกี ารเกบ็ รกั ษา เก็บรกั ษาปยุ ชวี ภาพพีจพี ีอารใ นท่ีเยน็ ไมโดนแสงแดดหากเก็บรกั ษาในที่ อณุ หภมู ิต่ํากวา 25 องศาเซลเซยี ส จะชวยยืดอายกุ ารเก็บรักษาได ขอควรระวังในการใช 1. ควรเลือกปุยชีวภาพพีจีพีอารใหตรงกับชนิดของพืชท่ีตองการปลูก ปุยชีวภาพพีจีพีอารแตละชนิดเหมาะสมกับชนิดพืชที่ระบุไวบนถุงบรรจุภัณฑ เทา นัน้ 2. เลอื กใชผลติ ภัณฑปุยชีวภาพพีจีพีอารท่ียังไมหมดอายุ ซ่ึงจะระบุอยู บนถุงผลติ ภณั ฑ 3. เม่ือเปดใชแ ลวควรใชใหหมดทนั ที 16

ปุยชวี ภาพอารบ สั คูลารไมคอรไรซา ปุยชีวภาพอารบัสคูลารไมคอรไรซา คือ ปุยชีวภาพที่ประกอบดวย ราอารบัสคูลารไมคอรไรซาท่ีมีชีวิตและมีประสิทธิภาพในการสงเสริมการ เจรญิ เติบโตของพชื โดยราอารบัสคลู ารไมคอรไรซาจะสรางเสนใยอยูบริเวณรอบ รากแลวเจริญเขาไปอยูระหวางเซลลและภายในเซลลรากพืช (ภาพที่ 15) รา อารบ ัสคลู ารไ มคอรไรซาจะชวยดดู ธาตุอาหารจากภายนอกราก แลวสงผานไป ทางเสน ใยราเขาไปภายในรากพืช ทาํ ใหพืชไดร บั ธาตุอาหารและเจรญิ เติบโตไดด ี ยง่ิ ข้นึ ภาพท่ี 15 ลักษณะโครงสรางของราอารบ สั คลู ารไมคอรไรซาทอ่ี ยบู ริเวณรอบราก (ซา ย) และในรากพืช (ขวา) (ท่ีมา: Peterson et al., 2004) ประโยชนของปยุ ชวี ภาพอารบสั คลู ารไ มคอรไรซา 1. ชว ยเพ่ิมการดูดธาตุอาหารใหแ กพืช โดยเฉพาะอยางยิง่ ธาตฟุ อสฟอรสั จึงสามารถลดการใชป ยุ ฟอสเฟตได 25–50 เปอรเซ็นต 17

2. ชวยเพิ่มพ้นื ทผี่ วิ รากพืช (ภาพท่ี 16) เสน ใยราอารบัสคูลารไมคอรไรซา ท่ีเจริญอยูรอบรากชวยเพิ่มพื้นท่ีผิวในการดูดซับธาตุอาหารและนํ้า ทําใหพืช เจรญิ เติบโตและทนแลงไดด ี และชวยทาํ ใหรากพชื แตกแขนงไดมากขน้ึ ภาพท่ี 16 ผลของปยุ ชีวภาพอารบสั คูลารไมคอรไรซาตอการเจริญเตบิ โตของ รากพืช (ภาพบน); เสน ใยและโครงสรางของราอารบสั คลู ารไมคอร- ไรซาในรากพชื (ซา ยลา ง), รากพชื ทไ่ี มมรี าอารบ สั คลู ารไ มคอรไรซา (ขวาลา ง) 3. ชวยละลายธาตุอาหารท่ีถูกตรึงไวในดินซ่ึงไมเปนประโยชนตอพืช โดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัสท่ีถูกตรึงโดยเหล็ก อะลูมินัม หรือแคลเซียม แลว สง ผา นใหแ กพชื ทางผนงั เสนใยของราอารบสั คลู ารไ มคอรไ รซา 4. ชว ยใหพ ชื มคี วามแข็งแรง ปองกันการเขาทําลายของเช้ือสาเหตุโรค รากเนา หรอื โคนเนา จากเชอ้ื ราในดนิ 5. เพมิ่ ปริมาณและคณุ ภาพผลผลติ ใหแกพืช 18

ผลติ ภัณฑปุยชวี ภาพอารบสั คูลารไมคอรไ รซา ปุยชีวภาพอารบัสคูลารไมคอรไรซา ประกอบดวย ราอารบัสคูลาร- ไมคอรไรซาที่มปี ระสทิ ธภิ าพ และมีปริมาณจุลินทรียร ับรองไมต ่าํ กวา 25 สปอร ตอปยุ ชีวภาพ 1 กรมั มีขนาดบรรจภุ ณั ฑ 500 กรมั (ภาพท่ี 17 และ 18) สามารถ ใชไดก บั พชื เศรษฐกจิ หลายชนิด เชน ยางพารา ปาลมนํ้ามัน กลวย มะมวง ขนุน มะละกอ ทเุ รียน มังคุด สม มะนาว มะขามหวาน ลําไย สับปะรด ลองกอง กาแฟ กระเจ๊ียบเขยี ว หนอ ไมฝรงั่ พรกิ เปน ตน ภาพที่ 17 สปอรข องราอารบสั คูลารไมคอรไรซา ภาพท่ี 18 ผลิตภณั ฑปยุ ชวี ภาพอารบ ัสคลู ารไ มคอรไรซา 19

การใชปยุ ชวี ภาพอารบัสคลู ารไ มคอรไ รซา 1. ไมผล ไมย ืนตน เชน ยางพารา ปาลมน้าํ มัน ผักหวาน มะมว ง ทเุ รยี น มงั คดุ สม มะนาว ลาํ ไย กาแฟ เปนตน • การเพาะกลาหรอื การชํากง่ิ พนั ธุ ใสปยุ ชวี ภาพอารบ สั คลู ารไมคอรไ รซา 3 กรัมตอถงุ จากนัน้ หยอดเมลด็ หรอื ปกชาํ กงิ่ พนั ธลุ งในถงุ เพาะ • การรองกนหลมุ ใสป ยุ ชวี ภาพอารบ ัสคลู ารไมคอรไ รซา 10 กรมั ตอ หลมุ รองกนหลมุ กอ นปลกู พืช (ภาพที่ 19) • การโรยรอบทรงพมุ แบง ตามอายพุ ืช ดงั นี้ - สาํ หรบั ไมผ ล ไมยนื ตน ท่มี อี ายุ 1–3 ป ใชปุยชีวภาพอารบัสคูลาร- ไมคอรไรซา 30–40 กรัมตอ ตน โรยรอบทรงพมุ แลว กลบดนิ ทันที (ภาพที่ 20) - สําหรับไมผลท่ีมีอายุ 3 ปข้ึนไป ใชปุยชีวภาพอารบัสคูลารไมคอร- ไรซา 40–50 กรัมตอ ตน โรยรอบทรงพุมแลว กลบดนิ ทันที ภาพที่ 19 การใชป ยุ ชีวภาพอารบสั คูลารไมคอรไรซา โดยวธิ ีการรองกน หลุม ภาพที่ 20 การใชป ุยชวี ภาพอารบ สั คลู ารไมคอรไรซา โดยวิธีการโรยรอบทรงพุม 20

2. พืชผกั เชน กระเจยี๊ บเขยี ว หนอไมฝร่ัง พริก เปนตน • การเพาะกลา ในกระบะเพาะชาํ ใชป ุยชวี ภาพอารบัสคูลารไมคอรไรซา 300 กรัมตอกระบะเพาะ ผสมกบั วัสดุเพาะใหเ ขากนั แลว หยอดเมล็ด • การรองกนหลุม ใชปุยชวี ภาพอารบ ัสคูลารไ มคอรไรซา 10 กรัมตอตน รองกน หลุมพรอ มปลูก การเก็บรกั ษา เก็บรกั ษาปยุ ชวี ภาพอารบัสคูลารไมคอรไรซาในที่เย็นไมโดนแสงแดด ควรเก็บในตูเย็นทอ่ี ณุ หภมู ิ 4–10 องศาเซลเซยี ส ขอ ควรระวัง 1. ไมควรใชปุยชีวภาพอารบัสคูลารไมคอรไรซารวมกับสารปองกัน กาํ จัดเช้อื ราโรคพชื เชน ฟอสอีทลิ (fosetyl) เมทาแลกซลิ (metalaxyl) แมนโคเซบ (mancozeb) เปนตน เน่ืองจากเปนสารเคมีท่ียับย้ังการเจริญเติบโตของรา อารบสั คลู ารไ มคอรไรซา 2. หลีกเล่ียงการผสมปุยชีวภาพอารบัสคูลารไมคอรไรซากับปุยเคมี โดยตรง 21

ปยุ ชีวภาพละลายฟอสเฟต ปยุ ชีวภาพละลายฟอสเฟต ประกอบดวยจุลินทรียละลายฟอสเฟตที่มี ประสิทธิภาพสูงในการละลายสารประกอบอนินทรียและอินทรียฟอสเฟต ฟอสฟอรัสที่สะสมในดินสวนใหญอยูในรูปสารประกอบอินทรียฟอสเฟต เชน ไฟเตท (phytate) และสารประกอบอนนิ ทรยี ฟ อสเฟต เชน อลมู ิเนียมฟอสเฟต (AlPO4) เฟอรริกฟอสเฟต (FePO4) แคลเซียมไฮโดรเจนฟอสเฟต (CaHPO4) และแคลเซียมฟอสเฟต (Ca3(PO4)2) โดยปกติจุลินทรียในดินจะสรางเอนไซม ไฟเตส (phytase) เพ่ือยอยสลายไฟเตทและปลดปลอยฟอสฟอรัสซ่ึงพืช สามารถนําไปใชเพื่อการเจริญเติบโต (ภาพท่ี 21) จุลินทรียบางกลุมมี ความสามารถละลายสารประกอบอนินทรียฟอสเฟตโดยสรางและปลดปลอย กรดอนิ ทรีย เชน กรดฟอรม ิก กรดอะซิตกิ กรดโพรพโิ อนกิ เปนตน (Whitelaw, 2000; Maliha et al., 2004) และกรดอนินทรีย ไดแก กรดไนตริกและกรด ซัลฟูรกิ (Azam and Memon, 1996) ออกมานอกเซลลเพื่อละลายสารประกอบ อนนิ ทรยี ฟ อสเฟตที่อยูในดินใหเปนฟอสฟอรัสท่ีละลายอยูในสารละลายดินใน รปู โมโนไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน (HPO42-) และไดไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน (H2PO4-) (ภาพที่ 21) ทําใหพ ชื สามารถใชป ระโยชนไดซง่ึ เปน การชวยลดการใส ปยุ เคมฟี อสเฟตและทําใหตน ทนุ การเพาะปลูกพชื ลดลงดว ย ปจจุบันการผลิตปุยชีวภาพละลายฟอสเฟตนิยมใชจุลินทรียในสกุล บาซิลลัส (Bacillus) แอสเพอรจิลลัส (Aspergillus) และเพนนิซิลเลียม (Penicillium) เน่ืองจากเปนจุลินทรยี ท ม่ี ปี ระสิทธภิ าพสงู ในการละลายฟอสเฟต และสามารถสรา งสปอรท ําใหม คี วามคงทนตอ สภาพแวดลอ มทมี่ กี ารเปลยี่ นแปลง ไดดี 22

ภาพที่ 21 การละลายฟอสเฟตในดินโดยจลุ นิ ทรยี  ประโยชนทไี่ ดจากการใชป ยุ ชีวภาพละลายฟอสเฟตในการผลติ พชื 1. ชวยละลายฟอสเฟตที่ถูกตรึงไวในดินซึ่งไมเปนประโยชนตอพืช จึงสามารถลดการใชปุย ฟอสเฟตได 25–50 เปอรเ ซน็ ต 2. ชว ยเพม่ิ ความเปน ประโยชนของหินฟอสเฟต 3. ชว ยใหพ ืชมีความแข็งแรง ปองกันการเขาทําลายของเช้ือสาเหตุโรค รากเนา หรือโคนเนาจากเชอ้ื ราในดนิ 4. เพม่ิ ปริมาณและคณุ ภาพผลผลติ พชื (ภาพท่ี 22) 23

ภาพที่ 22 ตน กลา พริกในวัสดุเพาะที่ผสมปยุ ชีวภาพละลายฟอสเฟต (ซา ย) และไมผสมปยุ ชวี ภาพละลายฟอสเฟต (ขวา) ผลติ ภัณฑปยุ ชวี ภาพละลายฟอสเฟต ผลิตภัณฑป ุย ชวี ภาพละลายฟอสเฟตของกรมวิชาการเกษตรประกอบดวย รา Talaromyces aff. macrosporus (ภาพท่ี 23) มีปริมาณจุลินทรียรับรอง ไมนอยกวา 1×107 โคโลนีตอปุยชีวภาพ 1 กรัม สวนแบคทีเรียมีปริมาณ จุลินทรียรับรองไมนอยกวา 1×108 โคโลนีตอปุยชีวภาพ 1 กรัม มีขนาดบรรจุ- ภณั ฑ 500 กรมั (ภาพที่ 24) เหมาะสําหรับดินที่มีปญหาการตรึงฟอสเฟต เชน ดินกรด ดินดาง สามารถใชกับพืช ไดแก ปาลมนํ้ามัน ยางพารา พืชไร ไมผล พชื ผัก ไมดอกไมประดับ ขาวไร เปนตน × 1,000 ภาพท่ี 23 เสน ใยรา Talaromyces aff. macrosporus ที่เจรญิ บนอาหารเล้ียงเชือ้ (ซา ย) และลกั ษณะของเสนใยและสปอรภ ายใตก ลอ งจุลทรรศน (ขวา) 24

ภาพท่ี 24 ผลิตภัณฑปยุ ชวี ภาพละลายฟอสเฟต วธิ กี ารใชปยุ ชวี ภาพละลายฟอสเฟต 1. ไมผล ไมยืนตน เชน มะมวง ลําไย ทุเรียน ลองกอง สมเขียวหวาน สมโอ มะละกอ มะพรา ว ยางพารา ปาลมนาํ้ มัน เปนตน • การเพาะกลา หรือการชํากง่ิ พนั ธุ ใสป ยุ ชวี ภาพละลายฟอสเฟต 10 กรัม ตอ ถงุ เพาะ จากนัน้ หยอดเมลด็ หรือปกชํากง่ิ พนั ธลุ งในถงุ เพาะ • การรองกนหลมุ ใสป ยุ ชวี ภาพละลายฟอสเฟต 10 กรมั ตอหลุม รองกน หลมุ กอนปลูกพชื • การโรยรอบทรงพุม (ภาพท่ี 25) แบง ตามอายพุ ชื ดงั น้ี - สําหรับไมผลที่มอี ายุ 1–3 ป ใชป ยุ ชวี ภาพละลายฟอสเฟต 50–100 กรัมตอ ตน คลุกผสมกบั ปยุ อินทรียโ รยรอบทรงพมุ แลว กลบดนิ ทนั ที - สําหรบั ไมผลท่ีมีอายุ 3 ปข้ึนไป ใชปุยชีวภาพละลายฟอสเฟต 100–200 กรมั ตอตน คลกุ ผสมกับปุยอนิ ทรียโ รยรอบทรงพุมแลว กลบดนิ ทนั ที 25

ขดุ ดนิ รอบทรงพมุ ผสมปยุ ชวี ภาพกบั ปุย อินทรีย โรยปุย ชีวภาพที่ผสมปยุ กลบดินทนั ที อินทรยี รอบทรงพมุ ภาพที่ 25 การใชปุยชีวภาพละลายฟอสเฟตโดยวิธกี ารโรยรอบทรงพุม 2. พืชไร เชน ขา วโพด มนั สาํ ปะหลงั ออ ย ถัว่ เหลือง ถ่วั ลสิ ง งา เปน ตน • การคลกุ เมล็ด เชน ขาวโพด ถ่ัวลิสง ถ่ัวเหลือง นําเมล็ดพืชท่ีตองการ ปลูก 5 กิโลกรัม ใสลงในภาชนะ จากนั้นพรมดวยนํ้าเปลาใหท่ัว แลวจึงโรย ปุยชีวภาพละลายฟอสเฟต 1 ถงุ และคลุกเมล็ดใหทั่วกอนนําไปปลกู (ภาพที่ 26) • การรองกนหลุม เชน มันสําปะหลงั ออย ใชปุย ชวี ภาพละลายฟอสเฟต 5 กโิ ลกรัมตอไร คลุกผสมกับปุย อินทรีย 100 กิโลกรัม ใหเขากันแลวใชรองกน หลมุ พรอมปลูก 26

ภาพที่ 26 การใชปยุ ชวี ภาพละลายฟอสเฟตคลุกเมล็ดขาวโพดกอ นปลกู 3. พืชผัก เชน พริก มะเขือ มะเขอื เทศ กระเจย๊ี บเขยี ว เปน ตน • การเพาะกลาในกระบะเพาะชํา ใชปุยชีวภาพละลายฟอสเฟต 1 ถุง คลุกกับวัสดุเพาะ 50 กิโลกรัม ผสมกับวัสดุเพาะใหเขากัน แลวนําใสกระบะ เพาะ แลว จงึ หยอดเมลด็ • การรองกนหลุม ใชปุยชีวภาพละลายฟอสเฟต 5 กิโลกรัมตอไร คลุก ผสมกับปุยอินทรีย 100 กิโลกรัม ใหเขากันแลวใชรองกนหลุมพรอมปลูก (ภาพท่ี 27) ผสมปุย ชีวภาพกบั รองกนหลุม นาํ ตน กลา มาปลูก ปุยอินทรีย ภาพท่ี 27 การใชป ุยชีวภาพละลายฟอสเฟตรองกนหลุม 27

การเก็บรกั ษา เก็บรักษาปุย ชีวภาพละลายฟอสเฟตในทเ่ี ยน็ ไมโ ดนแสงแดด ควรเก็บใน ตเู ยน็ ทอี่ ุณหภูมิ 4–10 องศาเซลเซยี ส ขอ ควรระวัง 1. เลือกใชผ ลิตภณั ฑป ยุ ชวี ภาพละลายฟอสเฟตทย่ี ังไมหมดอายุ 2. ไมควรใชปุยชีวภาพละลายฟอสเฟตรวมกับสารปองกันกําจัดเช้ือรา โรคพืช เชน ฟอสอีทิล (fosetyl) เมทาแลกซิล (metalaxyl) แมนโคเซบ (mancozeb) เปนตน เน่อื งจากเปน สารเคมีทย่ี บั ย้งั การเจริญเตบิ โตของรา 3. ไมค วรคลุกผสมปยุ ชวี ภาพละลายฟอสเฟตกับปุยเคมีโดยตรง 28

บรรณานกุ รม กรมวชิ าการเกษตร. 2535. การใชเ ชือ้ ไรโซเบียมเพื่อเพ่ิมผลผลิตใหแกพชื ตระกลู ถั่ว. กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ กรงุ เทพฯ. กรมวชิ าการเกษตร. 2548. ปยุ ชีวภาพและผลิตภัณฑปุยชีวภาพ. กรมวิชาการ เกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ กรุงเทพฯ. ธงชัย มาลา. 2550. ปุยอินทรียและปุยชีวภาพ : เทคนิคการผลิตและการใช ประโยชน. มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร กรงุ เทพฯ. 300 หนา . พรพรรณ สุทธิแยม อัจฉรา นันทกิจ ศิริลักษณ จิตรอักษร จิติมา ยถาภูธานนท และสมชาย ผะอบเหลก็ . 2554. การใชเ ช้ือไรโซเบียมรวมกับปยุ เคมีและ ปยุ อนิ ทรียเพอ่ื เพมิ่ ผลผลติ และโปรตีนในถว่ั เหลือง. แกนเกษตร 39 ฉบับ พเิ ศษ 3: 113–122. หน่ึง เตียอาํ รงุ . 2548. ความรูทั่วไปเก่ียวกับแบคทีเรีย PGPR (plant growth promoting rhizobacteria). วารสารเทคโนโลยสี รุ นารี 12(3): 249–258. Azam, F. and G.H. Memon. 1996. Soil organisms, 200–232 pp. In: E. Bashir and R. Bantel., (eds.) Soil science. National Book Foundation, Islamabad. Maliha, R.; K. Samina; A. Najma; A. Sadia and L. Farooq. 2004. Organic acids production and phosphate solubilization by phosphate solubilizing microorganisms under in vitro conditions. Pakistan Journal of Biological Sciences 7: 187–196. Peterson, R.L.; H.B. Massicotte and L.H. Melville. 2004. Mycorrhizas: Anatomyand Cell Biology. NRC Research Press, Ottawa. 173 p. Whitelaw, M.A. 2000. Growth promotion of plants inoculated with phosphate solubilizing fungi. Advances in Agronomy 69:99– 151. 29



ทปี่ รกึ ษา ผูอํานวยการกองวิจยั วิจัยพฒั นาปจ จยั นางสาวลมยั ชเู กยี รติวฒั นา การผลิตทางการเกษตร ขา ราชการบาํ นาญกรมวชิ าการเกษตร นางภาวนา ลกิ ขนานนท ผจู ดั ทาํ นางสาวศุภกาญจน ลวนมณี ผอู ํานวยการกลมุ วิจยั ปฐพีวทิ ยา นางสปุ รานี มัน่ หมาย นกั วชิ าการเกษตรชํานาญการพิเศษ นางสาวศริ ลิ กั ษณ แกว สุรลขิ ติ นักวชิ าการเกษตรชํานาญการพเิ ศษ นางประไพ ทองระอา นกั วิชาการเกษตรชาํ นาญการพิเศษ นางสาวกลั ยกร โปรง จันทึก นักวิชาการเกษตรชํานาญการพิเศษ นางสาวนศิ ารตั น ทวนี ุต นักวิชาการเกษตรชํานาญการ นายมนตช ยั มนัสสลิ า นักวิชาการเกษตรชํานาญการ นางสาวจติ รา เกาะแกว นกั วิชาการเกษตรชาํ นาญการ นางสาวกนกอร บญุ พา นกั วิชาการเกษตรชํานาญการ นายอธปิ ตย คลงั บญุ ครอง นักวิชาการเกษตรชํานาญการ นายอาํ นาจ เอี่ยมวจิ ารณ นกั วิชาการเกษตรชํานาญการพเิ ศษ นางสาวบุณฑริก ฉิมชาติ นักวชิ าการเกษตรชํานาญการ นางสาวอมรรตั น ใจยะเสน นกั วชิ าการเกษตรชาํ นาญการ นายสนธยา ขําตบ๊ิ นกั วิชาการเกษตรชาํ นาญการ 30


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook