Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore E-book รายงานสื่อการสอน

E-book รายงานสื่อการสอน

Published by katoon_9876, 2022-08-10 09:30:45

Description: E-book รายงานสื่อการสอน แผนการเรียน หนังสือชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2 (เป็นหนังสือประกอบการเรียนรายวิชาการสร้างสื่อการเรียนการสอนทางชีววิทยา Bio 2601-62)

Search

Read the Text Version

Biology HIGH SCHOOL 4 ชีววิทยา มัธยมศึ กษาปีที่ 4 เล่มที่ 2



คำนำ หนังสือเล่มนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ในการประกอบการเรียน และเรียบเรียงขึ้นเพื่อนำเสนอความรู้ แก่อาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่รับผิดชอบ ปัญหาใน การสอน และการสร้างสื่อการเรียนเพื่อแก้ไขปัญหา มีเนื้อหาเป็นไปตามการนำเสนอภายในชั้นเรียน ก่อนหน้า หนังสือเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการนำเสนอแผนการสอนหนังสือรายวิชาเพิ่มเติม วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ ๔ เล่มที่ ๒ ในรายวิชา BIO 2601-62 การสร้างสื่อการเรียน การสอนทางชีววิทยา ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ให้แก่ตัวนักศึกษาและเป็นส่วน สำคัญในการใช้สื่อการเรียนการสอนทางชีววิทยาเพื่อพัฒนาคุณภาพ และความสามารถในตัวผู้เรียน ต่อไป และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันไม่มากก็น้อย ทั้งนี้หากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้อง ขออภัยมา ณ ที่นี้ ผู้จัดทำ นางสาวตติยา ปราณี นางสาวจิรัชยา ขันแหลม นางสาวทิพยมนตร์ ยะกัน นางสาวอรนิช อมรใฝ่ศรีศักดิ์ (นักศึกษาคณะครุศาสตร์ ชีววิทยา Sec.51) BIOLOGY ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2 preface

สารบัญ หน้า เนื้อหา 1 แผนการเรียนการสอนและปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในบทเรียนและวิธีแก้ปัญหา 2 บทที่ 4 โครโมโซมและสารพันธุกรรม 2 ผังมโนทัศน์ บทที่4 โครโมโซมและสารพันธุกรรม 3 สาระสำคัญ 3 เวลาที่ใช้ในการสอน ผลการเรียนรู้ 4 ปัญหาทีอาจจะเกิดขึ้น และ วิธีแก้ปัญหา 5 บทที่ 5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม 6 ผังมโนทัศน์ บทที่ 5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม 6 สาระสำคัญ 7 เวลาที่ใช้ในการสอน ผลการเรียนรู้ 8 ปัญหาทีอาจจะเกิดขึ้น และ วิธีแก้ปัญหา 9 บทที่ 6 เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ 10 ผังมโนทัศน์ บทที่ 6 เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ 10 สาระสำคัญ 10-11 เวลาที่ใช้ในการสอน ผลการเรียนรู้ 12 ปัญหาทีอาจจะเกิดขึ้น และ วิธีแก้ปัญหา 13 13 บทที่ 7 วิวัฒนาการ 14 ผังมโนทัศน์ บทที่ 7 วิวัฒนาการ 14 สาระสำคัญ 15 เวลาที่ใช้ในการสอน ผลการเรียนรู้ ปัญหาทีอาจจะเกิดขึ้น และ วิธีแก้ปัญหา Power point นำเสนอในคาบเรียน อ้างอิง contents BIOLOGY ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2

แผนการจัดการเรียนรู้ ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาที่ จะเกิดขึ้นในบทเรียน

บทที่4 โครโมโซมและสารพันธุกรรม ผังมโนทัศน์ บทที่4 โครโมโซมและสารพันธุกรรม 1 BIOLOGY ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2

สาระสำคัญ โครโมโซมของสิ่งมีชีวิตแจ่ละสปีชีส์มีจำนวนคงที่ โครโมโซมประกอบด้วย DNA และโปรตีนนัก วิทยาศาสตร์ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า DNA เป็นสารพันธุกรรมทั้งหมด ส่วนของ DNA ที่ ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตเรียกว่า ยีน และสารพันธุกรรมทั้งหมดที่อยู่ในสิ่งมีชีวิต เรียก ว่า จีโนม DNA เป็นพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายบิดเกลียวเวียนขวา แต่ละสายเกิดจากนิวคลีโอไทด์ต่อ กันเป็นสายยาว นิวคลีโอไทด์ประกอบด้วยน้ำตาลดีออกซีไรโบส หมู่ฟอสเฟต และไนโตรจีนัสเบสซึ่ง DNA แต่ละโมเลกุลมีจำนวนและลำดับของนิวคลีโอไทด์ที่แตกต่างกัน DNA สามารถจำลองตัวเองขั้นได้ใหม่โดยมีโครงสร้างทางเคมีและลำดับของนิวคลีโอไทด์เหมือน เติม DNA ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนโดยถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมให้แก่ mRNA เพื่อกำหนดลำดับ ของกรดแอมิโนในโมเลกุลของโปรตีนเกี่ยวข้องกับการแสดงลักษณะทางพันธุกรรม เช่น เอนไซม์ที่ ทำงานในกระบวนการเมเทบอริซึมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต มิวเทชันเป็นการเปลี่ยนแปลงของลำดับหรือจำนวนนิวคลีโอไทด์ใน DNA ซึ่งอาจจำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างและกรทำงานของโปรตีนซึ่งเกิดได้ทั้งในระดับและระดับโครโมโซม มิวเทชัน สามารถเกิดได้ทั้งเซลล์ร่างกายและเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งมิวเทชันที่เกิดในเซลล์สืบพันธุสามารถถ่ายทอด ไปยังรุ่นต่อไปได้ จึงอาจก่อให้เกิดลักษณะใหม่ในสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อไป มนุษย์ประยุกต์ใช้การเกิดมิวเท ชันในการชักนำให้สิ่งมีชีวิตมีลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิมโดยการใช้รังสีและสารเคมีต่างๆ เวลาที่ใช้ 1 ชั่วโมง บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 18 ชั่วโมง 4 ชั่วโมง 4.1 โครโมโซม 4.2 สารพันธุกรรม 4.3 สมบัติของสารพันธุกรรม 3 ชั่วโมง 6 ชั่วโมง 4.3.1 การจำลองดีเอ็นเอ 4 ชั่วโมง 4.3.2 การควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของ DNA 18 ชั่วโมง 4.4มิวเทชัน รวม BIOLOGY ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2 2

ผลการเรียนรู้ 1.สืบค้นข้อมูล อธิบายสมบัติและหน้าที่ของสารพันธุกรรม โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของ DNA และสรุปการจำลองดีเอ็นเอ 2.อธิบายและระบุขั้นตอนในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนและหน้าที่ของ DNA และ RNA แต่ละชุด ในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน 3.สืบค้นข้อมูลและอธิบายการเกิดมิวเทชันระดับยีนและระดับโครโมโซมสาเหตุการเกิดมิวเทชัน รวม ทั้งยังยกตัวอย่างโรคและกลุ่มอาการที่เป็นผลของการเกิดมิวเทชัน ปัญหาทีอาจจะเกิดขึ้นใน บทที่ 4 โครโมโซมและสารพันธุกรรม 1.เป็นบทที่มีเนื้อหาค่อนข้างซับซ้อน นักเรียนอาจจะเกิดความสับสนในเนื้อหาบทเรียน ค่อนข้าง เข้าใจได้ยากในเนื้อหาไม่สามารถเข้าใจการทำงานของสารพันธุกรรมและองค์ประกอบของ DNA ได้ 2.นักเรียนอาจจะไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาในหนังสือได้ มองภาพในการทำงานเป็นภาพนิ่งในหนังสือ ได้ วิธีแก้ปัญหาทีอาจจะเกิดขึ้น 1.เข้าสู่บทเรียนโดยการสร้างสื่อที่นักเรียนสามารถเข้าใจได้ง่าย และนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อให้นักเรียน เกิดความสนใจเรียนในบทเรียนนี้มากขึ้น ประกอบกับการสร้างสื่อที่ประกอบด้วยภาพ และวีดีโอเพื่อ ให้นักเรียนเห็นกระบวนการทำงานของสารพันธุกรรมที่ชัดเจนขึ้นประกอบการดูหนังสือเรียน ประกอบ ทำเกมส์เป็นแบบฝึกหัดชวนคิดให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนกระตือรือร้น สนุกสนานใน บทเรียน 2.ให้นักเรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมทางอินเทอร์เน้ตเพื่อเสริมความเข้าใจของตนเองมาก ขึ้น เื่อจะทำให้นักเรียนเกิดการวิเคราะห์เนื้อหา และสรุปตามความเข้าใจของตัวนักเรียน 3.มีการยกตัวเองประกอบของแต่ละหัวข้อเพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ สามารถนำเอาไปเปรียบ เทียบ วิเคราะห์กับการพบเห็น หรือพบเจอสิ่งที่อยู่รอบๆตัวของนักเรียนที่เจอในชีวิตประจำวัน 3 BIOLOGY ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2

บทที่ 5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ผังมโนทัศน์ บทที่ 5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม BIOLOGY ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2 4

สาระสำคัญ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะซึ่งสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งได้เมน เดลศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมโดยการผสมพันธุ์ถั่วลันเตา จนสรุปเป็นกฎการแยก และกฎการรวมกลุ่มอย่างอิสระ กฎการแยกมีใจความว่าแอลลีลที่อยู่เป็นคู่จะแยกออกจากกันใน ระหว่างการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยเซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์จะมีเพียงแอลลีลใดแอลลีลหนึ่งกฎการ รวมกลุ่มอย่างอิสระมีใจความว่า หลังจากคู่ของแอลลีลแยกออกจากกัน แต่ละแอลลีลจะจัดกลุ่ม อย่างอิสระกับแอลลีลอื่น ๆ ที่แยกออกจากคู่เช่นกันในการเข้าไปอยู่ในเชลล์สืบพันธุ์ การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะให้อัตราส่วนที่แตกต่างจากผลการศึกษาของ เมนเดล เรียกลักษณะเหล่านี้ว่า ลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นส่วนขยายของพันธุศาสตร์เมนเดล เช่น ความเด่นไม่สมบูรณ์ ความเด่นร่วม มัลติเพิลแอลลีล ลักษณะควบคุมด้วยยืนหลายคู่ การถ่ายทอด ยีนบนโครโมโซมเพศ ลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะมีความแตกต่างกันชัดเจน เช่น การมีติ่งหูหรือไม่มีติ่งหู ซึ่ง เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่มีการแปรผันไม่ต่อเนื่อง แต่บางลักษณะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยและ ลดหลั่นกันไป เช่น ความสูงและสีผิวของมนุษย์ถูกควบคุมโดยยีนหลายคู่ ซึ่งเป็นลักษณะทาง พันธุกรรมที่มีการแปรผันต่อเนื่องและสิ่งแวดล้อมอาจมีผลต่อการแสดงลักษณะนั้น โครโมโซมภายในเซลล์ร่างกายแบ่งเป็นออโตซมและโครโมโซมเพศ ยีนบนโครโมโซมจะถ่ายทอด สู่รุ่นถัดไปผ่านเซลล์สืบพันธุ์ ลักษณะทางพันธุกรรมส่วนใหญ่ถูกควบคุมด้วยยีนบนออโตโซมซึ่งยีนที่ ควบคุมลักษณะต่าง ๆ จะอยู่กันเป็นคู่ บางลักษณะถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซมเพศ ซึ่งทำให้ โอกาสในการแสดงลักษณะในเพศชายและเพศหญิงแตกต่างกัน เมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์บนโครโมโซมเดียวกันที่อยู่ใกล้กันมักจะถูกถ่ายทอดไปด้วยกันแต่ การเกิดครอสซิงโอเวอร์ในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสอาจทำให้ยืนบนโครโมโซมเดียวกันแยกจากกัน ได้ ส่งผลให้รูปแบบของเซลล์สืบพันธุ์ที่ได้แตกต่างไปจากกรณีที่ไม่เกิดครอสซิงโอเวอร์ 5 BIOLOGY ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2

เวลาที่ใช้ 7 ชั่วโมง บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 18 ชั่วโมง 8 ชั่วโมง 5.1 การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล 1 ชั่วโมง 5.2 ลักษณะทางพันุกรรมที่เป็นส่วนขยายของพันธุศาสตร์เมนเดล 5.3 ยีนบนโครโมโซมเดียวกัน 16 ชั่วโมง รวม ผลการเรียนรู้ 1.สืบค้นข้อมูล อธิบายและสรุปผลของการทดลองของเมนเดล 2.สรุปความสัมพันธ์ระหว่างสารพันธุกรรม แอลลีล โปรตีน ลักษณธทางพันธุกรรม และเชื่องโยงกับ ความรู้เนื่องพันธุศาสตร์เมนเดล 3.อธิบานและสรุปกฎแห่งการแยกและกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ และนำกฎของเมนเดลนี้ไปอิ บายการถ่ายทอดลักษระทางพันธุกรรม และการใช้การคำนวณโอกาสในการเกิดฟีโนไทป์และ จีโนไทป์แบบต่างๆ ของรุ่น F1และ F2 4.สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อธิบาย เกี่ยวกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่เป็นส่วนขยายของพันธุ ศาสตร์เมนเดล 5.สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ และเปรียบเทียบลักษณะทางพันธุกรรรมที่มีการแปรผันไม่ต่อเนื่องและ ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีการแปรผันต่อเนื่อง 6.อธิบายการถ่ายทอดยีนบนโครโมโซม และยกตัวอย่างลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมด้วยยีน บนออโตโซมและยีนบนโครโมโซมเพศ BIOLOGY ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2 6

ปัญหาทีอาจจะเกิดขึ้นใน บทที่ 5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ในบทนี้จะมีเนื้อหาที่ซับซ้อนสำหรับนักเรียน และยากสำหรับนักเรียนบางคน ซึ่งจะต้องใช้ความ เข้าใจในเนื้อหาเป็นอย่างมาก และต้องใช้ความจำมากพอสมควรสำหรับในเนื้อหาในแต่ละหน่วย ซึ่ง จะแยกปัญหาออกเป็นข้อๆดังนี้ 1. เนื้อหาค่อนข้างซับซ้อนและเข้าใจยาก 2. นักเรียนไม่สามารถแยก กฎการแยกและกฎการรวมกลุ่มอย่างอิสระได้ วิธีแก้ปัญหาทีอาจจะเกิดขึ้น 1.ประดิษฐ์สื่อและประยุกต์วิธีการสอน ให้เด็กเกิดการจดจำและเข้าใจได้มากที่สุด เช่น เปิดวิดีโอที่ เกี่ยวกับเนื้อหาในแค่ละบทให้เด็กดู 2.ให้เด็กทำแผนผังความรู้ตามความคิดของตัวเองแล้วออกมานำเสนอแชร์ความคิดให้เพื่อนๆในห้อง แล้วท้ายคาบก็นำมาสรุปอภิปราย ในการทำแผนผังความคิดนี้เพื่อที่จะให้เด็กเกิดเรียนรู้ด้วยตนเอง 7 BIOLOGY ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2

บทที่6 เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ผังมโนทัศน์ บทที่6 เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ BIOLOGY ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2 8

สาระสำคัญ ในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอในด้านต่าง ๆ เช่นใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมตัดต่อและ ถ่ายยีนที่ ต้องการจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ได้เป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมการ สร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปร พันธุกรรมสามารถทำได้ทั้งในจุลินทรีย์ พืช และสัตว์ การเพิ่มจำนวนของ DNA ที่เหมือน ๆ กันนั้นเรียกว่า การ โคลนดีเอ็นเอและถ้า DNA บริเวณ ดังกล่าวเป็นยืนเรียกว่า การโคลนยีน การเพิ่มจำนวน DNA อาจทำได้โดยใช้พ ลาสมิดของแบคทีเรีย และเทคนิคพอลิเมอเรสเชนรีแอกชันหรือ PCR การโคลนยีนโดยใช้พลาสมิดของแบคที่เรียเพื่อ สร้างดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์ อาจทำได้โดยใช้ เอนไซม์ตัดจำเพาะตัดสาย DNA ที่มียีนที่ต้องการและตัดพลาสมิดที่ จุดตัดจำเพาะ เมื่อตัดสาย DNA ต่างโมเลกุลกันด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะชนิดเดียวกัน ปลายสาย DNA จะมีลำดับ เบสที่เข้าคู่กันได้ และเชื่อมต่อกันได้ด้วยเอนไซม์ดีเอ็นเอไลเกสทำให้ได้เป็นดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์ จากนั้นถ่ายดีเอ็น เอ รีคอมบิแนนท์เข้าสู่เซลล์เจ้าบ้านเพื่อเพิ่มจำนวน การเพิ่มจำนวน DNA ด้วยเทคนิค PCR สามารถ เพิ่มปริมาณ ของ DNA บริเวณที่ต้องการจากดีเอ็นเอแม่แบบที่มีปริมาณน้อยผ่านกระบวนการ จำลองดีเอ็นเอซ้ำกันหลาย ๆ รอบในหลอดทดลอง ผลิตภัณฑ์ DNA ที่ได้จาก PCR สามารถตรวจสอบผลการเพิ่มปริมาณ DNA และหาขนาดของ โมเลกุล DNA ด้วยวิธีเจลอิเล็กโทรฟอรีชิส ซึ่งเป็นเทคนิคการแยกโมเลกุล DNA ที่มีขนาดแตกต่าง กันในสนาม ฟ้าผ่านตัวกลางที่เป็นวุ้นแล้วเปรียบเทียบกับการเคลื่อนที่ของโมเลกุลดีเอ็นเอมาตรฐาน ที่ทราบขนาดและสามารถวิเคราะห์หาลำดับนิวคลิโอไทด์ด้วยเครื่องหาลำดับนิวคลีโอไทด์แบบ อัตโนมัติ เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ สามารถนำไป ประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ในการวินิจฉัยโรค และใช้ ในการสร้างผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม การประยุกต์ในด้าน การเกษตรในการสร้างพืชหรือสัตว์ที่มี สมบัติตามต้องการ รวมทั้งประยุกต์ใช้ในด้านอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม ในด้านนิติวิทยาศาสตร์ สามารถใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอในการพิสูจน์ตัวบุคคลและหาความสัมพันธ์ทางสายเลือด อย่างไรก็ตาม การใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอต้องคำนึงถึงความปลอดภัยทางชีวภาพและชีวจริยธรรม 9 BIOLOGY ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2

เวลาที่ใช้ 5 ชั่วโมง บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 12 ชั่วโมง 1 ชั่วโมง 6.1 พันธุวิศวกรรมและการโคลนยีน 4 ชั่วโมง 6.2 การหาขนาดของ DNA และการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ 2 ชั่วโมง 6.3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ 6.4 เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอกับความปลอดภัยทางชีวภาพ และชีวจริยธรรม 12 ชั่วโมง รวม ผลการเรียนรู้ 1. อธิบายหลักการสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมโดยใช้ดีเอ็นเอรีคอมบิแนนท์ 2. สืบค้นข้อมูล ยกตัวอย่าง และอภิปรายการนำเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอไปประยุกต์ ทั้งในด้านสิ่ง แวดล้อม นิติวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การเกษตร และอุตสาหกรรม และข้อควรคำนึงถึงด้านชีว จริยธรรม ปัญหาทีอาจจะเกิดขึ้นใน บทที่ 6 เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ การเรียนเทคโนโลยีDNAอาจจะเป็นปัญหาสำหรับนักเรียนหลายคน เด็กแต่ละคนมีพื้นฐานการเรียน ที่ไม่ เหมือนกันความสามารถในการเรียนรู้ที่ต่างกัน เวลาเรียนชีววิทยา เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรามองไม่ เห็น และจับต้องไม่ได้ อีกทั้งมีคำศัพท์เฉพาะมากมายที่สร้างความสับสนให้แก่นักเรียน จึงทำให้ เข้าใจเนื้อหาได้ยาก และอาจเข้าใจ คลาดเคลื่อน ในเทคโนโลยีDNAได้ 1. เตรียมแผนการเอาไว้ล่วงหน้า แล้วเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน 2. สอนยังไงให้นักเรียนเข้าใจและเห็นภาพได้ง่ายขึ้น 3. อุปกรณ์ในการทดลองไม่เพียงพอ 4. เสียงบรรยากาศในการเรียนรู้ครูไม่ควรใช้โทนเสียงเดียวในการสอนเพราะจะทำให้นักเรียนง่วง BIOLOGY ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2 10

วิธีแก้ปัญหาทีอาจจะเกิดขึ้น 1.เตรียมแผนการสอนไว้ล่วงหน้าแล้วถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น ติดกิจกรรมโรงเรียนอาจจะ เปลี่ยนให้นักเรียนไปสืบหาข้อมูลโดยครูกำหนดหัวข้อให้แล้วทำงานส่งเพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ มากขึ้นและเพื่อความ ราวเร็วในการสอนเพราะบทนี้มีเนื้อหาเยอะ 2.การจัดการเรียนการสอนในบทนี้เริ่มจากให้ครูทำ PowerPoint และสื่อภาพประกอบเพื่อให้ นักเรียนจะได้เห็นภาพประกอบและเกิดการเข้าใจได้ง่ายให้นักเรียนฝึกทำแบบฝึกหัดจะได้เข้าใจ เนื้อหาและมีการทำการทดลองเพื่อจะได้เห็นสิ่งที่เรียนมาได้ชัดเจนโดยการแบ่งกลุ่มให้ทำการ จำลองDNA และให้เขียนแผนผังสรุปความรู้ เพื่อวัดความเข้าใจของนักเรียน โดยให้นักเรียนได้มีการ ออกแบบเอง 3.อุปกรณ์ในการทดลองไม่เพียงพอแก้ปัญหาโดยให้นักเรียนทำการออกแบบการทดลองโดยใช้พืชใน ท้องถิ่น และทำการสร้างแบบจำลองตามสิ่งที่ออกแบบไว้ จากนั้นนำเสนอผลการออกแบบและสร้าง แบบจำลองที่ออกแบบ เพื่อให้นักเรียนเกิดจิตนาการความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย 4.เสียงบรรยากาศในการเรียนรู้ในห้องเรียนอย่างที่ทราบดีอยู่แล้วว่าโทนเสียงนั้นก็เป็นส่วนสำคัญ อย่างมาก ครูควรจะใช้โทนเสียงที่หลากหลายและอาจจะมีการเล่านอกเรื่องบ้างเพื่อให้นัเรียนรู้สึกตื่น เต้นไม่น่าเบื่อ 11 BIOLOGY ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2

บทที่ 7 วิวัฒนาการ ผังมโนทัศน์ บทที่ 7 วิวัฒนาการ BIOLOGY ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2 12

สาระสำคัญ สิ่งมีชีวิตในปัจจุบันเป็นลูกหลานที่มีลักษณะที่แตกต่างจากบรรพบุรุษในอดีต โดยผ่านการ เปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมทีละเล็กทีละน้อย มีการสะสมลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมใน ขณะนั้นๆเป็นเวลานานหลายชั่วรุ่นการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตจากอดีตจนถึงปัจจุบันเรียกว่า วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต หลักฐานที่บ่งบอกว่าสิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการศึกษาได้จากซากดึกดำบรรพ์กายวิภาคเปรียบเทียบ วิทยาเอ็มบริโอ ชีววิทยาโมเลกุลและการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญ ได้แก่แนวคิดของชองลามาร์กและ ชาลส์ ดาร์ วิน โดยลามาร์กเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการโดยอาศัยกฎการใช้และไม่ใช้ และกฎการถ่ายทอด ลักษณะที่เกิดขึ้นมาใหม่ส่วนดาร์วินเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ความรู้ทางพันธุศาสตร์ประชากรในการอธิบายการเกิดวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิตและปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่แอลลีลในประชากร ได้แก่ เจเนติกดริฟท์ แบบสุ่ม การถ่ายเทยีน การผสมแบบไม่สุ่ม มิวเทชัน และการคัดเลือกโดยธรรมชาติ โดยปัจจัยดัง กล่าวทำให้ยีนพูลในประชากรเปลี่ยนแปลงหรือเกิดวิวัฒนาการและทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีสใหม่ขึ้น สิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันจะมีกลไกในการป้องกันการผสมพันธุ์ต่างสปีชีส์สิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่เป็นผล มา จากการแยกกันทางการสืบพันธุ์ ซึ่งมี 2 แนวทาง คือ กำเนิดสปีชีส์แบบแอลโลพาทริก และกำเนิด สปีชีส์แบบซิมพาทริก เวลาที่ใช้ 2 ชั่วโมง บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 14 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง 7.1 หลักฐานและขอ้มูลที่ใช้ในการศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต 4 ชั่วโมง 7.2 แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต 2 ชั่วโมง 7.3 พันธุศาสตร์ประชากร 3 ชั่วโมง 7.4 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล 7.5 กำเนิดสปีชีส์ 14 ชั่วโมง รวม 13 BIOLOGY ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2

ผลการเรียนรู้ 1. สืบค้นข้อมูลและอธิบายเกี่ยวกับหลักฐานที่สนับสนุนและข้อมูลที่ใช้อธิบายการเกิดวิวัฒนาการของ สิ่งมีชีวิต 2. อธิบายและเปรียบเทียบแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตของชองลามาร์กและทฤษฎีเกี่ยว กับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตของชาลส์ดาร์วิน 3. ระบุสาระสำคัญและอธิบายเงื่อนไขของภาวะสมดุลของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก ปัจจัยที่ทำให้เกิด การ เปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลในประชากร พร้อมทั้งคำนวณหาความถี่ของแอลลีล และจีโนไทป์ ของประชากรโดยใช้หลักของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก 4. สืบคน้ข้อมูลอภิปรายและอธิบายกระบวนการเกิดสปีซีส์ใหม่ของสิ่งมีชีวิต ปัญหาทีอาจจะเกิดขึ้นใน บทที่ 7 วิวัฒนาการ 1.ภาพตัวอย่างของซากดึกดำบรรพ์ในหนังสือเรียน มีภาพที่น้อยเกินไปทำให้นักเรียนอาจจะ ไม่เห็น ภาพของ หลักฐานในการศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต 2.ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาอาจจะทำให้นักเรียนหลุดโฟกัสในการเรียนได้ง่าย วิธีแก้ปัญหาทีอาจจะเกิดขึ้น 1.หารูปภาพเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลอื่นๆนอกตำราเรียนมาประกอบการสอนเพื่อทา ให้นักเรียนเห็น ภาพแล เข้าใจง่ายขึ้น 2.หาวิดีโอการหาซากดึกดำบรรพ์มาประกอบการสอนเพื่อให้นักเรียนได้รู้ถึงวิธีการค้นหา ซากดึกดำบรรพ์ 3.ให้นักเรียนเกิดกิจกรรมภายในชั้น เรียนโดยการสร้างเเบบจำลองซากดึกดำบรรพ์ มาคนละ 1 ชิ้น 3.1) โดยให้นักเรียนไปขึ้นรูปมาก่อน (กำหนดวันในการส่ง) โดยวิธีการทำครูจะอธิบายในห้องเรียน ผ่านสไลด์เเละมีคิวอาร์โค้ดลิงค์คลิปวิดีโอการทำซากดึกดำบรรพ์เพื่อให้นักเรียนสแกนเพิ่มเติม 3.2) พอขึ้นรูปเสร็จก็นำมาระบายสีพร้อมกันภายในชั้นเรียน 3.3) ระหว่างที่รอเเบบจำลองขึ้นรูป ครูจะอธิบายเนื้อหาไปก่อน พร้อมกับมีรูปประกอบการสอน BIOLOGY ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2 14

สแกน QR Code เพื่อดูสไลด์ที่นำเสนอภายในคาบเรียน Power point แผนการเรียน ชีววิทยา มัธยมทศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2 Power point ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในบทเรียน BIOLOGY ชีววิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่มที่ 2 15

อ้างอิง

Thank you ขอบคุณทุกท่านที่อ่านจนจบ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook