1
2สารบัญ
3ประวัติ Typographyตัวอักษร เรียกว่า character และถ้าหากตัวอักษรที่มีลักษณะเหมือนกันเป็นชุดเดียวกัน เรียกว่า font ที่เรารู้จักกันดีเช่น angsana UPC,arial, lily, cordia new, tahoma, เป็นต้น ประวัติความเป็นมาของสิ่งพิมพ์เริ่มขึ้นจากการประดิษฐ์แท่นพิมพ์โลหะ โดย Johannes Gutenberg ในปีค.ศ. 1440 ซึ่งทำให้เกิดระบบการพิมพ์เป็นจำนวนมาก การออกแบบตัวอักษรจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่นั้นมา Johannes Gutenberg แท่นพิมพ์ออกแบบโดย Johannes Gutenberg
4 ตัวอักษรโลหะที่ใช้เป็นแม่พิมพ์ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย ระบบการพิมพ์ของไทยนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณและได้พัฒนามาเรื่อยๆด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำทันสมัยในทุกๆวันนี้เป็นเรื่องง่ายดายที่จะจัดทำพิมพ์สื่อต่างๆ ในบทความนี้เราจะพูดถึงประวัติการพิมพ์ของประเทศไทยเราว่าเป็นอย่างไรเรามาดูกันเริ่มต้นที่- พ.ศ.2205 สมัยกรุงศรีอยุธยา หลุยส์ ลาโน ( Louis Laneau) บาทหลวงสังฆราช ของคณะมิชชันนารีคาทอลิกฝรั่งเศสที่เข้ามาในประเทศไทยรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้แปล แต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางคริสต์ศาสนาเป็นภาษาไทย รวม 26 เล่ม หนังสือไวยากรณ์ไทยและบาลี 1 เล่มและพจนานุกรมไทยอีก 1 เล่ม นอกจากนี้ยังสร้างศาลาเรียนขึ้นในที่พระราชทานที่ตำบล เกาะมหาพราหมณ์เหนือกรุงเก่าขึ้นไป และได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในโรงเรียนนี้- สมัยกรุงธนบุรี บาทหลวงคาทอลิก ชื่อ คาร์โบล ได้กลับเข้ามาสอนศาสนาและจัดตั้งโรงพิมพ์ พิมพ์หนังสือที่วัดซันตาครูส ตำบลกุฏิจีน จังหวัดธนบุรี หนังสือฉบับนั้นลงปีที่พิมพ์ว่าเป็นปี ค.ศ.1796 (พ.ศ.2339)- พ.ศ.2356 มีการหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก โดยนางจัดสัน ( Nancy Judson) มิชชันนารีอเมริกัน ต่อมาแม่พิมพ์ภาษาไทยชุดนี้ถูกนำไปเมืองกัลกัตตา- พ.ศ.2384 หมอบรัดเลย์ (Dr.Dan Beach Bradley) ชาวอเมริกัน ผู้ได้รับ การยกย่องว่า “บิดาแห่งการพิมพ์ในประเทศไทย” ได้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์ไทยขึ้นใหม่ให้น่าอ่านกว่าเดิม- วันที่ 3 มิถุนายน 2379 บาทหลวงชาร์ล โรบินสัน ( Reverand Robinson) มิชชันนารีอเมริกัน ได้พิมพ์หนังสือ ขึ้นเป็นครั้งแรกในไทยจากแท่นพิมพ์ที่ทำด้วยไม้และแม่พิมพ์หิน หนังสือมี 8 หน้า เนื้อหาเกี่ยวกับบัญญัติ 10 ประการ (TenCommandment)- พ.ศ.2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้างโรงพิมพ์มิชชันนารีอเมริกัน พิมพ์หมายประกาศห้ามสูบฝิ่นนับเป็นเอกสารทางราชการชิ้นแรกที่จัดพิมพ์ขึ้น
5- วันที่ 4 กรกฎาคม 2387 มีการออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในเมืองไทย ชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) โดยขณะนั้นเรียกว่า จดหมายเหตุอย่างสั้น ออกเดือนละ 2 ฉบับ- วันที่ 15 มิถุนายน 2404 หมอบรัดเลย์ได้ซื้อลิขสิทธิ์หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัย และจัดพิมพ์ขายขึ้นเป็นครั้งแรกนับเป็นการเริ่มต้นของการซื้อขายลิขสิทธิ์และการพิมพ์ หนังสือเล่มออกจำหน่าย- พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นคนไทยพระองค์แรกที่เริ่มต้นกิจการพิมพ์ของไทย เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฏและผนวชที่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงดำริสั่งเครื่องพิมพ์มาตั้งที่ วัดบวรนิเวศวิหารและแกะตัวพิมพ์เป็นอักษรอริยกะ ใช้พิมพ์หนังสือสอนศาสนา เช่น พระปาฏิโมกข์ หนังสือสวดมนต์ เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2394 หลังจากการขึ้นครองราชย์ทรงตั้งโรงพิมพ์หลวง ในพระบรมมหาราชวัง ขนานนามว่า โรงพิมพ์อักษรพิมพการ และได้พิมพ์ผลงานชิ้นแรกออกมาชื่อ หนังสือราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ.2401- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้หลายเล่ม และช่างพิมพ์ไทยพยายามแก้ปัญหาแม่พิมพ์ โดยแกะแม่พิมพ์ไม้ขี้นใช้เอง- พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือประเภทต่าง ๆ มากมาย กิจการพิมพ์ในยุคนี้เจริญก้าวหน้า มีความประณีต งดงามมากยิ่งขึ้นและโรงพิมพ์ขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามลำดับ- การศึกษาทางการพิมพ์เริ่มขึ้นประมาณ พ.ศ.2476 ในระดับอาชีวศึกษาชั้นต้นชั้นปลายที่โรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช- พ.ศ.2496 ได้มีการสอนวิชาการพิมพ์ที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ในแผนกวิชาช่างพิมพ์ทำการสอน ระดับอนุปริญญา
6ส่วนประกอบของตัวอักษร(Font Anatomy)ปัจจุบันมีองค์กรที่เรียกว่า the international standard organization (ISO) ตั้งที่ Geneva ,Switzerland มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานของตัวอักษรที่ใช้ในงานสิ่งพิมพ์ ทั้งขนาด ลักษณะของตัวอักษรที่สามารถอ่านได้ง่าย ความสูงรายละเอียดต่างๆ ตัวอักษรภายใต้ ISO เน้นประโยชน์ใช้สอยสามารถอ่านง่ายและใช้งานได้หลากหลายตัวอักษรยังมีส่วนประกอบต่างมีชื่อเรียกเฉพาะให้เป็นที่เข้าใจกันในกลุ่มนักออกแบบที่เรียกกันว่า “anatomy\"* หากคุณต้องการที่จะออกแบบตัวอักษร คุณต้องทำความเข้าใจส่วนประกอบต่างๆของตัวอักษรให้เข้าใจเสียก่อน
7การออกแบบ fontต้องคำนึงถึงระยะต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้งาน ซึ่งจะมีผลต่อการอ่าน และลักษณะเฉพาะของตัวอักษรนั้น ระยะที่ใช้ในการออกแบบ font มีหน่วยการวัดเป็น dpi(dot per inch) หมายถึงให้แบ่งย่อยระยะ 1 นิ้วออกเป็นช่องเล็กๆ ซึ่งถูกกำหนดว่า 72 dpi = 1 นิ้ว ซึ่งพัฒนาเป็นขนาดในการแสดงผลบน computer display และ web page ในเวลาต่อมา ลักษณะการแบ่งระยะออกเป็นช่องย่อยๆจำนวน 72 ช่องต่อระยะ 1 นิ้ว***นอกจากนี้ตัวอักษรยังมีระยะมาตรฐานต่างๆที่ต้องคำนึงและทำความเข้าใจก่อนการออกแบบ มี4 ระยะ ได้แก่ x- height, capline,topline, base line และ beardline ระยะต่างๆในการออกแบบตัวอักษร
8ประเภทและลักษณะของฟอนต์ประเภทและลักษณะfontแบ่งออกเป็น1.serif เป็น font ที่มีลักษณะทางการ พัฒนามาจากรูปแบบตัวอักษรที่เขียนด้วยมือ ลักษณะเด่นอยู่ที่หาง(serif)2. san serif พัฒนาจาก serif ให้มีการลดทอนตัดส่วน serif ออกจนดูทันสมัย เรียบง่าย
93. script ตัวอักษรที่มีลักษณะเหมือนเขียนด้วยมือ เป็นลายมือลักษณะต่างๆกันไปส่วนมากนิยมออกแบบให้ตัวอักษรมีลักษณะเอียงเล็กน้อย4. display ตัวอักษรที่ออกแบบเฉพาะให้มีลักษณะแปลกตาเพื่อใช้ในการสร้างหัวโฆษณา ประกาศ ไม่เน้นนำไปใช้ในการพิมพ์บทความ หรือเนื้อหาจำนวนมากลักษณะของ font (type face)
10ลักษณะของฟอนต์ 1. normal/regular ประเภทตัวธรรมดา2. bold ประเภทตัวหนา3. italic ประเภทตัวเอียง4. extra ประเภทตัวหนาพิเศษ5. light ประเภทตัวบางพิเศษ6. extended ประเภทตัวกว้างพิเศษ7 narrow ประเภทตัวแคบพิเศษ8. outline ประเภทตัวอักษรแบบมีขอบลักษณะของตัวอักษรไทย1. แบบดั้งเดิม หรือแบบมีหัว เป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทย แสดงความเป็นทางการ คล้าย serif ใช้ได้กับทั้งส่วนหัวเรื่องและเนื้อเรื่อง2. แบบหัวตัด คล้าย sanserif ดูเรียบง่ายใช้กับงานที่ดูทันสมัย3. แบบลายมือ เลียนแบบตัวอักษรที่เขียนด้วยมือ เป็นอิสระ สนุกสนาน ไร้กฎเกณฑ์ เทียบได้กับตัวอักษรแบบscript4. แบบคัดลายมือ เกิดจากการคัดลายมือด้วยตัวอักษรแบบโบราณที่มีหัวแหลม รู้สึกทางการ พิธีรีตรองแบบดั้งเดิมอนุรักษ์นิยม5. แบบประดิษฐ์ คล้ายตักอักษรแบบ display ในภาษาอังกฤษ เป็นตัวอักษรใช้ในงานต่างๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจให้ความรู้สึกหลากหลาย
11การจัดวางหน้ากระดาษ1. flush left วางตัวอักษรเสมอซ้าย2. flush right วางตัวอักษรเสมอขวา3. centered วางตัวอักษรตรงกลาง4. justified วางตัวอักษรเสมอซ้ายและขวา5. contour วางตัวอักษรให้สอดคล้องลักษณะของภาพ6. concrete วางตัวอักษรเป็นรูปร่างตามต้องการ7. direction วางตัวอักษรแบบมีทิศทาง
12เทคนิคการออกแบบตัวอักษร ตัวอักษรมีผลต่องานกราฟฟิกโดยรวม งานออกแบบที่ดีจึงต้องมีตัวอักษรที่เหมาะสมด้วย การออกแบบขึ้นกับประโยชน์ใช้สอย บางครั้งนักออกแบบต้องการตัวอักษรที่อ่านง่าย เหมาะกับงานพิมพ์ ตัวอักษรที่น่าสนใจ ตัวอักษรที่เหมาะกับการแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ก่อนจะมาดูเทคนิคต่างๆเรามาดูตัวอย่างงานที่เด่นๆของนักออกแบบกัน งานออกแบบ the wire magazine headline font ปี ค.ศ. 2004เป็นงานออกแบบสำหรับหัวหนังสือ จึงมีการคำนึงถึงการอ่านเป็นรอง แต่เน้นที่ความน่าสนใจของตัวอักษรจัดเป็นตัวอักษรแบบ display แนวความคิดการออกแบบนักออกแบบใช้ลักษณะเรขาคณิต สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมวงกลม เป็นพื้นฐานในการสร้างตัวอักษร เพื่อแสดงแนวคิด constructivism หรือโครงสร้างนิยม ตามแบบกลุ่มmodernism ในช่วงปี ค.ศ. 1920 การออกแบบไม่จำกัดระยะ x - height ตามแบบมาตรฐาน ทำให้เกิดความหลากหลายของส่วนสูงตัวอักษร
13งานออกแบบ Dazed & confused magazine headline font ออกแบบโดย Suzy Wood and Peter Stitson ปี 2004 แนวคิดการอออกแบบสร้างลักษณะเด่นของตัวอักษรโดยทดลองลักษณะต่างๆกับส่วน eye และ counter ตัวอักษรที่ได้มีลักษณะเด่น แต่ใช้งานได้หลากหลาย และสามารถใช้ได้ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เกิดจากการแก้ไขเพียงเล็กน้อยกับส่วนประกอบตัวอักษร งานออกแบบ Wood in-store design and identity ออกแบบโดย Kai and Sunny ปี 2004 ออกแบบตัวอักษรสำหรับร้านขายเสื้อผ้าชาย แนวคิดเริ่มต้นจากชื่อร้านทำให้ได้ลักษณะกลมแทนความหมาย รูปร่างของตัวอักษร นำมาเชื่อมกันแบบ inter-locking สัญลักษณ์กิ่งไม้ใช้เพื่อเติมความหมายของตัวอักษรให้ชัดเจนยิ่งขึ้น การออกแบบลักษณะนี้ไม่จำเป็นต้องออกแบบตัวอักษรทั้งหมด เนื่องจากมีการใช้เฉพาะคำเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของร้านค้า
14เทคนิดเล็กๆน้อยในการสร้างสรรค์งานตัวอักษรเมื่อพูดถึงเทคนิคต่างๆในการออกแบบนั้น มันก็แล้วแต่ผู้ออกแบบว่าเค้าใช้เทคนิคอะไร เพราะความถนัดหรือความชอบมันก็จะสื่อออกมาเป็นตัวงานนั้นๆได้ครับงานออกแบบ font เพื่อใช้เป็นหัวหนังสือไม่จำเป็นต้องออกแบบตัวอักษรทั้งหมด แต่เน้นเฉพาะกลุ่มคำ มีลักษณะคล้ายเป็นโลโก้ งานออกแบบอาจมีจุดเริ่มต้นจากแนวคิดบางอย่างที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม นักออกแบบจะพัฒนาจนสื่อสารออกมาในตัวอักษรได้ บางครั้งผู้ดูอาจไม่เข้าใจกระบวรการทั้งหมด แต่สามารถรับสารที่ถูกส่งมาได้
15ตัวอักษรโปสเตอร์งานแสดงเฟอร์นิเจอร์ ใช้ลักษณะของเฟอนิเจอร์เองสร้างเป็นตัวอักษรโดยเน้นลักษณะการใช้พื้นที่เป็นสำคัญ
16ทฤษฎีการออกแบบ emphasis หมายถึงการเน้นจุดสนใจของภาพ ทั้งงานออกแบบที่เป็น 2 มิติ และสามมิติ เพื่อให้ภาพนั้นเกิดการสื่อสารเรื่องราวเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นสำคัญ การเน้นสามารถทำได้หลายวิธีได้แก่ รูปร่าง(shape) ขนาด(size) สี(color)ผิวสัมผัส(texture) และทิศทาง(direction) unity หมายถึงการสร้างความกลมกลืนให้แก่ภาพ เมื่อมีการเน้นจุดสนใจ(emphasis) จุดหนึ่งแล้ว องค์ประกอบในส่วนที่เหลือก็ไม่ควรรบกวน จึงต้องสร้างความกลมกลืนให้กับภาพ การสร้าง emphasis โดยการจัดวางองค์ประกอบ(composition) ในการจัดวางองค์ประกอบยังสามารถสร้างเน้นจุดสนใจด้วยหลากหลายวิธี ในที่นี้จะยกตัวอย่างที่สำคัญ
17
185 เหตุผลที่เราต้องใส่ใจ “ฟอนต์”ฟอนต์ไม่ใช่แค่ฟอนต์ แต่ฟอนต์เป็นภาษาชนิดหนึ่ง! พูดกันอย่างมีหลักการนิดนึง การออกแบบตัวพิมพ์และฟอนต์เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า Typographyบางขณะอาจเรียกได้ว่าเป็น “ภาษาภาพ” หรือ visual language ซึ่งกรณีนี้ถ้ามองในส่วนตัวอักษรบนหน้าหนังสือแล้ว ก็แทบจะคาบเกี่ยวกันอย่างแยกไม่ออกกับ verbal language (ที่แปลเป็นไทยได้ว่า ‘วัจนภาษา’ หรือการสื่อสารด้วยถ้อยคำ) เพราะฟอนต์ที่เป็น “ภาษาภาพ” ทำหน้าที่สื่อสาร “ภาษาถ้อยคำ” อีกที ในที่นี้จะขอพูดเฉพาะเรื่องฟอนต์สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ (พ็อกเก็ตบุ๊คและแมกกาซีน) โดยไม่พูดถึงงานออกแบบนิเทศศิลป์อื่นๆ อย่างโปสเตอร์หรือใบประกาศโฆษณา แต่แค่สองประเภทนี้ หน้าที่ของฟอนต์ก็แตกต่างหลากหลายแล้ว ฟอนต์ในงานหนังสือมีสองส่วนที่เราเห็นกันได้ชัดๆ อย่างหนึ่งคือ “เนื้อใน” ส่วนอีกอย่างคือ “หน้าปก” หากเทียบกันแล้ว ในส่วนหน้าปกอาจเป็นจุดที่เห็นได้ชัดเจนกว่า เป็น “ประกาศโฆษณา” กลายๆ ของหนังสือแต่ละเล่มว่า ‘น่าจะ’ เป็นไปในทิศทางใด เกี่ยวกับอะไร นักออกแบบที่ชาญฉลาดจะสามารถทำให้ฟอนต์บนหน้าปกและการออกแบบโดยรวมถึงเนื้อใน “พูดแทนหนังสือทั้งเล่มได้” โดยการรักษาสมดุลระหว่างการสื่อสารถึงผู้อ่านด้วยภาพและด้วยถ้อยคำที่ใช้ แต่นอกจากหน้าที่ในการพูดแทนหนังสือทั้งเล่มแล้ว ศาสตร์การใช้ฟอนต์ยังมีความสำคัญอื่นๆ อีก เราจะขอยกตัวอย่างเหตุผลที่คุณควรใส่ใจสิ่งเหล่านี้สัก 5 ข้อ
191. ฟอนต์ “พูดได้” และเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม [ลูกค้า]หากคุณเลือกฟอนต์ได้ถูกต้อง (ไม่ว่าจะบนปกหรือเนื้อใน) สิ่งนี้จะช่วยบอกอารมณ์ของหนังสือหรือแมกกาซีนแต่ละเล่มได้เป็นอย่างดี (กรณีแมกกาซีน เช่น ออกแบบเฮดให้โฉบเฉี่ยว ให้รู้ว่าเกี่ยวกับแฟชั่น หรือถ้าเป็นหนังสือเล่ม พอผู้ชมเห็น เอฟเฟ็กต์เลือดหรือกระสุนก็จะรู้ทันทีว่าเป็นเรื่องแนวสืบสวนลึกลับ) การส่ง “สาร” ให้ถึงผู้อ่านคือหน้าที่ของฟอนต์ (และนักออกแบบ) ที่ดี และการนำเสนอทิศทางที่ถูกต้องผ่านการออกแบบเหล่านี้ก็ เป็นการแสดงถึงความประณีตของผู้ทำ อย่างน้อยในสายตาของ ลูกค้าที่สนใจหยิบดู ความใส่ใจเรื่องเล็กๆ เช่นนี้ก็ทำให้หนังสือเล่ม นั้นชนะใจในเบื้องต้นแล้ว มีใครบ้างที่ไม่ชอบหนังสือสวยๆ ดังนั้น ไม่ว่าจะบนปกหรือในเล่ม หากฟอนต์ออกมาลงตัวพอดิบพอดี ความน่าหยิบอ่านย่อมทวีคูณ2. ฟอนต์คลีนๆ ช่วยแสดงความเป็นมิตรกับผู้อ่าน การเลือกใช้ฟอนต์ที่ดีนอกจากจะสื่อสารตัวตนของหนังสือได้แล้ว (โดยเฉพาะบนหน้าปก) ฟอนต์ที่ดีก็ควรเป็นตัวอักษรที่ชวนอ่าน อ่านง่าย สบายตา ถ้าตัวเล็กเกินไปหรือเบียดเกินไป คนอ่านอาจเกิดความรู้สึกอึดอัดเหมือนถูกขังอยู่ในที่แคบๆ ยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่เนื้อหาอ่านยากอยู่แล้วและผู้อ่านยังต้องมาใช้ความพยายามในการเพ่งตัวอักษรอีก หนังสือเล่มนั้นคงถูกเขี่ยลงไปในกองหนังสือดองแน่นอน จริงอยู่ว่าการเลือกใช้ฟอนต์เป็นความชอบเฉพาะตัว แต่การคำนึงถึงคนอ่านเป็นอันดับต้นๆ ก็เป็นหน้าที่ของคนทำหนังสือ คุณไม่ผิดหรอกที่จะใส่ลูกเล่นหรือประหยัดเนื้อที่ แต่อย่าลืมเด็ดขาดว่าสำหรับคนทั่วไป มองตัวหนังสือแต่ละหน้าแล้วต้องสบายตาไว้ก่อน การคิดถึงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่นนี้จะแสดงออกผ่านการจัดรูปแบบในหน้าหนังสือและเชื่อเถอะว่าผู้อ่านแต่ละคนรับรู้ได้
203. บางทีการเลือกใช้ฟอนต์ที่มีลำดับไม่เท่ากันก็มีความหมายซ่อนอยู่กรณีนี้อาจพบได้มากที่สุดในงานวิชาการหรือสารคดีที่มีหัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง หัวข้อย่อย ศาสตร์แห่งการเลือกใช้ฟอนต์ไม่ได้มีแค่การเลือกแบบฟอนต์ แต่รวมถึง “รูปแบบ” ด้วย จะเลือกให้หัวข้อนี้ใหญ่ หัวข้อนั้นรองลงมา หรือหัวข้อย่อยไม่ต้องใหญ่กว่าเนื้อหาส่วนอื่น ทำตัวหนา(bold) ก็พอ สิ่งเหล่านี้ล้วนรวมอยู่ในศาสตร์แห่งการเลือกใช้ฟอนต์ทั้งสิ้น ผู้ที่เสกสร้างรูปแบบฟอนต์ที่มีลำดับขั้นไม่เท่ากันได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากจะเป็นการช่วยแยกแยะเนื้อหาให้แก่ผู้อ่าน (โดยเฉพาะกับผู้ที่ต้องอ่านเพื่อสรุปใจความสำคัญ หรือเพื่อแยกประเด็น) การใช้ความไม่เท่ากันนี้ยังทำให้น้ำหนักของเนื้อหาเปลี่ยนไปทำให้หัวข้อที่เราต้องการให้น้ำหนักมากมีความน่าสนใจมากขึ้น และสำหรับผู้อ่านที่ไม่มีเวลาจริงๆ รูปแบบหัวข้อที่ลำดับความสำคัญไม่เท่ากันนี้ก็ช่วยให้เขาสามารถข้ามหัวข้อเล็กๆ ที่ไม่สลักสำคัญไปได้โดยที่ยังไม่เสียใจความรวมในเล่ม คนทำหนังสือที่จัดการเรื่องนี้ได้ดี แน่นอนว่าต้องเป็นนักทำหนังสือที่ผู้อ่านสรุปงานสายวิชาการทุกคนต้องการ 4.ฟอนต์ที่มีความสม่ำเสมอจะทำให้ผู้อ่านไม่หงุดหงิดใครล่ะจะชอบหนังสือที่เปลี่ยนฟอนต์ไปเรื่อยๆ บทต่อบท แม้โดยข้อเท็จจริงแล้วการเปลี่ยนฟอนต์จะไม่มีผลในเชิงเนื้อหา(เพราะเรื่องไม่ได้เปลี่ยนไป) แต่กลับมีผลต่ออารมณ์อย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อแบบฟอนต์เปลี่ยน ผู้อ่านบางคนอาจรู้สึกถึงความ “ตัดขาด” ซึ่งถ้านั่นไม่ใช่เจตนาที่ต้องการแยกเนื้อหาบางอย่างออกจากเนื้อหาโดยรวม (เช่น ในนวนิยายที่มีการส่งจดหมาย หรือแสดงข้อความพิเศษที่ตัวละครไปพบ หรือสูตรอาหาร โน้ตย่อฯลฯ) การที่อยู่ๆ ผู้อ่านก็ถูกตัดขาดออกจากอารมณ์เดิมจะสร้างความหงุดหงิดขึ้นมา ไม่ว่าผู้อ่านนั้นๆ จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม หากการเปลี่ยนฟอนต์เกิดขึ้นอย่างจงใจ ควรมีที่มาที่ไปอย่างการเจตนาจะตัดขาดอารมณ์ตรงนั้นจริงๆและแบบฟอนต์ที่เปลี่ยนก็ไม่ควรใกล้เคียงกับของเดิมมาก (เพราะจะไม่เกิดความแตกต่าง) แต่ก็ไม่ควรแตกต่างชนิดฉีกออกไปเลย และถ้าจำเป็นต้องทำให้แตกต่าง ก็ไม่ควรมีมากกว่า 3 แบบในเล่มเดียวกัน (รวมตัวพื้นธรรมดา) มิเช่นนั้นผู้อ่านจะเริ่มรู้สึกรกหูรกตาและหงุดหงิดมากขึ้นไปอีก
215. ฟอนต์เป็นสิ่งสร้างภาพจำถ้าพูดถึงปกก็คงเข้าใจง่ายหน่อย โดยเฉพาะกับฟอนต์หัวแมกกาซีน บางทีแค่มองไปบนแผง เรายังไม่ทันประมวลผลเลยว่าสิ่งที่วางบนแผงคือนิตยสารอะไร แต่แค่เราเห็นฟอนต์โผล่ออกมานิดหน่อยเราก็รู้แล้วว่านั่นคือเล่มไหน นี่เป็นตัวอย่างของฟอนต์ที่ประสบความสำเร็จ ส่วนในพ็อกเก็ตบุ๊ค เนื่องจากฟอนต์บนปกเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามการออกแบบและความเหมาะสมจึงไม่ขอรวมในข้อนี้ แต่ส่วนเนื้อใน บางสำนักพิมพ์ก็มีฟอนต์เนื้อในอันเป็นเอกลักษณ์ซึ่งสร้างภาพจำได้ในระดับหนึ่งเช่นกัน หากลองเปิดหนังสือบนแผงดูจะเห็นว่ามีหลายสำนักพิมพ์ที่เลือกใช้อักษรแบบเดียวกันในหนังสือทุกเล่มหรือหนังสือส่วนใหญ่ (เช่น แซลมอนบุ๊คส์จะใช้ Browalia เครือ abook (ถ้าเดาไม่ผิด) คือ TF Srivichai) แน่นอนว่าแบบอักษรเหล่านี้ไม่ใช่ตัวแปลกพิสดารถึงขั้นว่ามองปุ๊บรู้เลยว่าเป็นของที่ไหน แต่ลึกๆ แล้วก็อาจปฏิเสธไม่ได้ว่านี่เป็นหนึ่งใน“ภาพจำ” ในใจผู้อ่าน กลับมาที่ข้อควรคำนึงในการเลือก/ออกแบบฟอนต์ แม้เราจะชักแม่น้ำแห่งเหตุและผลมาทั้งห้าสายแล้ว แต่สุดท้ายงานออกแบบฟอนต์ก็เป็นเรื่องของศิลปะ (กระทั่งการเลือกฟอนต์เนื้อในให้เหมาะกับเนื้อหาก็ยังอาจนับเป็นศิลปะได้) สิ่งสำคัญที่คนทำหนังสือทุกคนไม่ควรมองข้าม ก็คือการรักษาสมดุลระหว่างงานศิลปะกับงานสื่อสาร หรือระหว่างverbal language และ visual language งานหลายชิ้น (งานปก) มุ่งเพียงสื่อสารด้วยภาษาโดยไม่คำนึงถึงการสื่อสารด้วยภาพ (ความยาวของประโยคมากเกินไป การเรียงวรรคไม่เหมาะสม) ในขณะที่บางงานกลับเคร่งครัดกับการออกแบบจนส่งผลถึงสาร กระทั่งบังคับทิศทางของสระเหนือ-ใต้ตัวอักษรและวรรณยุกต์เพื่อให้สอดคล้องกับงานออกแบบ แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบใด การไม่รักษาสมดุลระหว่างสองสิ่งนี้ย่อมไม่ใช่การออกแบบที่ดี และถ้าหากนักออกแบบสามารถรักษาสมดุลของสองสิ่งนี้ได้ การส่งสารย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด “ขยับเชิง [อักษร] นิด ความรู้สึกเปลี่ยน” คงมิใช่คำกล่าวที่เกินเลยแต่อย่างใด
22
Search
Read the Text Version
- 1 - 22
Pages: