Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ภาษาไทย (1)

ภาษาไทย (1)

Published by Duckky Thunyakul, 2022-03-01 05:54:19

Description: ภาษาไทย (1)

Search

Read the Text Version

ร ร ณ ค ดี เ กี่ ย ว กั บ ป ร ะ เ พ ณี แ ล ะ พิ ธี ก ร ร มภาษาไทย ว ร ร ณ ค ดี บั น ทึ ก ก า ร เ ดิ น ท า ง ว ร ร ณ ค ดี แ ล ะ ว ร ร ณ ก ร ร ม ว ร ร ณ ค ดี สุ ภ า ษิ ต คำ ส อ น ว ร ร ณ ค ดี เ พื่ อ ค ว า ม บั น เ ทิ ง

วรรณคดีเเละ วรรณกรรม วรรณคดีไทยจำแนกตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ วรรณกรรมคือเรื่องแต่ง หรืองานประพันธ์ทุก ๑. วรรณคดีพระพุทธศาสนา มุ่งแสดงหลักคำสอนให้ ประเภท ไม่ว่าจะเป็นสารคดีที่มุ่งให้ความรู้หรือ เห็นถึงผลของการทำดีทำชั่ว เช่น ไตรภูมิพระร่วง ร่าย บันเทิงคดีที่มุ่งให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านเป็นหลัก ยาวมหาเวชสันดรชาดก ส่วนวรรณคดีคือวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าแต่ง ๒. วรรณคดีสุภาษิต คำสอน มุ่งแสดงแนวทางในการ ได้ดีทรงคุณค่ากล่าวคือ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ ปฏิบัติตนในสังคม เช่น สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ ภาษาได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ สื่อความหมายได้ อิศรญาณภาษิต ชัดเจน มีศิลปะการประพันธ์ที่งดงาม ทั้งด้านการใช้ ๓. วรรณคดีเกี่ยวกับประเพณี และพิธีกรรม เช่น คำ ถ้อยคำและโวหาร ใช้ภาษาที่ไพเราะ ทำให้ผู้อ่านเกิด ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง อารมณ์คล้อยตาม เกิดความสะเทือนใจ หรือความ ๔. วรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เช่น ลิลิตตะเลง ยินดี ซาบซึ้ง ดื่มด่ำ ซึ่งต้องเป็นความรู้สึกฝ่ายสูง คือ พ่าย ราชาธิราช สามก๊ก ทำให้เกิดอารมณ์ความนึกคิดในทางที่ดีงาม ๕. วรรณคดีเพื่อความบันเทิง แต่งเพื่อเป็นมหรสพ ต่างๆ เช่น อิเหนา รามเกียรติ์ มโนราห์ ๖. วรรณคดีบันทึกการเดินทาง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศพระบาท นิราศเมืองเพชร นิราศนรินทร์

วรรณกรรม คือ งานศิลปะในรูปแบบการประพันธ์ การเขียน การนำ เสนอ การบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ทั้งสารคดี และบันเทิงคดี วรรณคดี คือ วรรณกรรมที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาช้านาน เป็นงานที่ทรง คุณค่า ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี วรรณคดีแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ๑. วรรณคดีมุขปาฐะ คือ วรรณคดีที่เล่าสืบทอดต่อๆ กันมา เช่นเพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก ๒. วรรณคดีลายลักษณ์ เป็นวรรณคดีที่จดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ใน รูปแบบของสมุดไทย ใบลาน หรือสิ่งพิมพ์ในรูปแบบหนังสือ

วรรณกรรมท้องถิ่น คือ เรื่องราวต่างๆ ในท้องถิ่นที่เป็นภาษาพูด ภาษา เขียน ที่ถ่ายทอดในเรื่องความเชื่อ ความรู้ ความคิดของคนในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น นิทานพื้นบ้าน ภาษิต ปริศนา และเพลงกล่อมเด็ก วรรณกรรมท้องถิ่น แบ่งเป็น 2 ประเภทเช่นกัน คือ ๑. ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยคนในท้องถิ่นจะสืบทอดความเชื่อ ความ คิด ด้วยการบอกเล่า สั่งสอนสืบต่อกันมา ๒. เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นวรรณกรรมที่จดบันทึก สืบทอดกันมา วรรณกรรมท้องถิ่นแบ่งได้เป็น 4 ท้องถิ่น คือ ภาษาถิ่นเหนือ ภาษาถิ่น กลาง ภาษาถิ่นใต้ และภาษาถิ่นอีสาน วรรณกรรมแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะ เด่นในตัวเอง คือ - ลักษณะภาษา ถ้อยคำ และการแต่งคำประพันธ์ - เนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น - คำสอน ข้อเตือนใจ หรือแนวทางปฏิบัติของคนในท้องถิ่นที่ยอมรับว่าดี งาม ขั้นตอนการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี ๑. อ่านอย่างช้าๆ ละเอียดถี่ถ้วน ถ้าเป็นบทร้อยกรอง ควรอ่านออกเสียง เพื่อรับรสคำ และพยายามใส่ความรู้สึกนึกคิดลงไปในการอ่านด้วย ๒. ค้นหาความหมายของคำศัพท์ เพื่อหาความหมายที่ซ่อนเร้น ๓. ศึกษากลวิธีในการแต่ง ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง เช่น การใช้คำที่ แฝงนัยหลายความหมาย การเล่นคำ สัมผัสอักษร สัมผัสสระ ทำให้เกิด ความไพเราะ การใช้อุปมาโวหาร หรือการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ การใช้ พรรณนาโวหาร และอติพจน์ เพื่อกระตุ้นเร้าอารมณ์ความรู้สึก

คุ ณ ค่ า ข อ ง ว ร ร ณ ค ดี แ ล ะ วรรณกรรม วรรณคดีเป็นศิลปะแห่งการประพันธ์เรื่องราว จากความ หมายของวรรณคดี เราจะเห็นได้ว่าคุณค่าโดยตรงของ วรรณคดีก็คือ คุณค่าทางอารมณ์ คุณค่าทางภาษา และ คุณค่าทางวัฒนธรรม วรรณคดีมีคุณค่าทางอารมณ์ก็เพราะ ว่าวรรณคดีเป็นงานศิลปะ จึงมุ่งให้เกิดความเพลิดเพลิน ทางอารมณ์เป็นหลัก มีคุณค่าทางภาษาก็เพราะวรรณคดี อยู่ในรูปแบบภาษา ใช้ภาษาในการถ่ายทอด และช่วย พัฒนาการใช้ภาษาในเวลาเดียวกัน และมีคุณค่าทาง วัฒนธรรมก็เพราะวรรณคดีเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ของชนชาติ และในทางกลับกัน วัฒนธรรมของชนชาติก็ถูก จารึกอยู่ในวรรณคดีด้วยเช่นกัน โดยทั่วไปยอมรับกันว่าคุณค่าของวรรณคดีมีหลากหลายด้าน ดัง ต่อไปนี้ ๑. คุณค่าทางอารมณ์ จุดหมายหลักของวรรณคดีคือความเพลิดเพลินอารมณ์ ดั่งเช่น งานศิลปะอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกทางอารมณ์แก่ผู้รับรู้ วรรณคดีที่ยิ่งใหญ่ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดอารมณ์ร่วมแก่ผู้อ่าน ไม่ ว่าจะเป็นความสุข ความเศร้า ความยินดี ความโกรธ ความตื่น เต้น หรือแม้แต่ความสงบ การมีอารมณ์ร่วมไปกับบทประพันธ์ ของผู้อ่าน ขึ้นอยู่กับทักษะในการประพันธ์เรื่องของกวีผู้รจนา

๒. คุณค่าทางปัญญา วรรณคดีแทบทุกเรื่อง ล้วนมีเนื้อหาที่เป็นความรู้สอดแทรก อยู่เสมอ ทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้ในเรื่องต่างๆ โดยปริยาย ทำให้เกิดปัญญาหากผู้อ่านขบคิดใคร่ครวญอย่างละเอียด ถี่ถ้วน วรรณคดีที่ให้ความรู้ในเรื่องศาสนา เช่น รามเกียรติ์ ไตรภูมิพระร่วง ลิลิตโองการแช่งน้ำ มหาเวสสันดรชาดก วรรณคดีที่ให้ความรู้เรื่องการศึกสงคราม เช่น สามก๊ก ราชาธิราช วรรณคดีที่ให้ข้อคิดเตือนใจ เช่น โคลงโลกนิติ เป็นต้น ๓. คุณค่าทางศีลธรรม หรือคุณค่าในการจรรโลงสังคม เมื่อคนมีความ ประพฤติอยู่ในศีลในธรรม หรือแม้จารีตประเพณี อันดี ก็ทำให้สังคมเกิดความผาสุก วรรณคดีส่วน มาก โดยเฉพาะวรรณคดีเก่าแก่ มักจะเชิดชู คุณธรรมความดีของตัวละคร เพื่อให้ผู้อ่านซึมซับ ความดีนั้นๆ และประพฤติปฏิบัติตาม หรือแม้แต่ ความประพฤติของตัวละครที่บางครั้งเลวทราม ก็ ยังสามารถยกเป็นตัวอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติตามได้ เพราะตัวละครนั้นๆ มักประสบชะตากรรมที่ไม่ดี ๔. คุณค่าทางวัฒนธรรม วรรณคดีเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของแต่ละ ชนชาติ และยังเป็นบันทึกทางวัฒนธรรมที่บอก เล่าความรู้เกี่ยวกับคนรุ่นก่อน ทั้งวิถีชีวิต ความ เป็นอยู่ ความเชื่อ ประเพณี ค่านิยม ที่ผู้อ่าน สามารถสืบสาวหรือเชื่อมโยงอดีตหรือรากเหง้า ของตนเองได้

๖. คุณค่าทางจิตนาการ เนื่องจากวรรณคดีเป็นเรื่องแต่งขึ้น โดยอาจจะอิงมา จากเรื่องจริงหรือไม่ก็ได้ ทำให้ผู้แต่งต้องใส่จินตนาการที่ กว้างไกลลงไปในงานประพันธ์ เมื่อผู้อ่านได้อ่าน วรรณคดีเรื่องนั้นๆ ก็จะซึมซับจินตนาการของผู้แต่ง และอาจจินตนาการต่อยอดออกไปได้อีกด้วย ซึ่ง จินตนาการเป็นทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เราควรมี วรรณคดีไทยที่ได้รับการยอมรับว่าโดดเด่นด้าน จินตนาการ ได้แก่ พระอภัยมณีของสุนทรภู่ ๗. คุณค่าทางทักษะเชิงวิจารณ์ การอ่านวรรณคดีมาก จะทำให้เราพัฒนาทักษะในการ วิพากษ์วิจารณ์ เช่น เราเกิดความไม่เห็นด้วยกับเนื้อ เรื่องหรือแนวคิดบางอย่างที่วรรณคดีหนึ่งๆ เชิดชูว่าถูก ต้อง อาจเป็นเพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้ความเชื่อ หรือค่านิยมของคนในสังคมหนึ่งๆ เปลี่ยนแปลงไปด้วย ๘. คุณค่าทางการใช้ภาษา วรรณคดีถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นด้วยภาษา นอกจาก คุณค่าด้านอื่นๆ ที่จะถูกถ่ายทอดสู่คนรุ่นถัดไปแล้ว การ ใช้ภาษาในการประพันธ์ที่งดงามก็ได้รับการถ่ายทอดไป สู่คนรุ่นใหม่ด้วยเช่นกัน การอ่านวรรณคดีมาก จะทำให้ เราจดจำกลวิธีการร้อยเรียงถ้อยคำที่สวยงาม คมคาย และนำมาใช้พัฒนางานเขียนของตนเองได้ต่อไป ๙. คุณค่าที่เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการสร้าง วรรณกรรม และศิลปกรรมด้านต่างๆ วรรณคดีที่แพร่หลายในสังคมชนชาติหนึ่งๆ มาเป็น เวลายาวนาน อดไม่ได้ที่จะส่งผลต่อวรรณกรรมเรื่อ งอื่นๆ ที่มีผู้แต่งตามอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการอ้างอิงพื้น หลังของเรื่อง

คุณค่าด้านภาษาและอารมณ์ รวมทั้ง วัฒนธรรมของวรรณคดี แสดงออกมาได้ดีด้วย บทร้อยกรองที่สละสลวย งดงาม ความ ไพเราะของเสียงอักษร และสระที่ได้รับการ บรรจงเรียงร้อยเข้าด้วยกันอย่างเหมาะเจาะ ชักนำอารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน ให้ดำดิ่งลึก ลงไปกับภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และบทร้อยกรองที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ ก็ถูก ถ่ายทอดออกมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า จากรุ่นสู่รุ่นจน กลายเป็นบทอาขยานในที่สุด ลักษณะบทร้อย กรองที่มีคุณค่า ๑. ให้คุณค่าด้านอารมณ์ คำประพันธ์ที่ ๓. ให้คุณค่าด้านสังคม คำประพันธ์ที่มีคุณค่าจะช่วย ไพเราะจะใช้คำได้เหมาะสมลึกซึ้งกินใจ ทำให้ พัฒนาจิตใจผู้ฟังผู้อ่าน เพราะผู้แต่งสอดแทรกคุณธรรม ผู้อ่านผู้ฟังเกิดอารมณ์และจินตนาการตาม และคติธรรมไว้ ทำให้ผู้อ่านได้เข้าใจชีวิต เข้าใจผู้คนใน สังคม มีความรักและภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของ ๒. ให้คุณค่าด้านความรู้ต่างๆ เช่น ความรู้ บรรพบุรุษ รวมทั้งเกิดความเข้าใจวิถีชีวิตของคนรุ่นก่อน ทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภาษา มากขึ้น วัฒนธรรม และประเพณีต่างๆ ซึ่งสอดแทรก อยู่ในเนื้อเรื่อง ด้วยความที่บทร้อยกรองมีฉันทลักษณ์ชัดเจน มีจังหวะที่ลงตัว มีความไพเราะของเสียงสัมผัสสระ และสัมผัสอักษร ทำให้ง่ายต่อการท่องจำมากกว่าบทร้อยแก้ว ทั้งยังเป็นเสียงเสนาะน่าฟัง การ ประพันธ์วรรณคดีเป็นร้อยกรองจึงได้รับความนิยมมาก และการท่องบทอาขยานจากบทร้อยกรอง ที่ทรงคุณค่าก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน

อ้างอิง P L O O K T E A C H E R . ภ า ษ า ไ ท ย มั ธ ย ม ศึ ก ษ า ปี ที่ 2 . สื บ ค้ น เ มื่ อ 1 4 กุ ม ภ า พั น ธ์ 2565.จากHTTPS://WWW.TRUEPLOOKPANYA.COM/BLOG/CO NTENT/86899/-BLOG-TEAMAT-


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook