Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

คู่มือการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

Description: คู่มือการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

Search

Read the Text Version

การเสรมิ สร้างวินยั คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ วชิ าชีพ การสง่ เสรมิ คณุ ธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนวังมะเด่ือ เป็นสิ่งสำคัญที่สถานศึกษาต้องดำเนินการตามแนวทางของคุรุสภา ตามแบบแผน พฤติกรรมที่พึงประสงค์ ตามจรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่อย่าง มีประสิทธิภาพ ตระหนกั ถงึ ความรบั ผดิ ชอบจึงได้จัดทำคู่มือปฏิบัตงิ านเสริมสร้างวินัย คุณธรรมงาม เป็นตัวอย่างท่ีดีแก่คนในชุมชน วิชาชีพครูได้รับการยกย่องและจัดเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่มีความจ ำเป็นต่อสังคมเป็นอาชีพที่ช่วยสร้างสรรค์จรรโลง สังคมให้ไปในทิศทางที่ปรารถนา ฉะนั้นกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพครูจึงต้องมี ความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับสูง เช่นกนั ยง่ิ สงั คมยกยอ่ งเคารพและไว้วางใจผูป้ ระกอบวชิ าชีพครูมากเท่าใดผปู้ ระกอบวิชาชพี ครูก็ต้องประพฤติปฏิบัติ ตนให้เหมาะสมกับความเคารพเช่ือถือไว้วางใจเพียงน้ัน การกำหนดจรรณยาบรรณครหู รอื จรรณยาวชิ าชพี ครจู ึงเป็น มาตรการหนึ่งทใ่ี ชค้ วบคุมความประพฤติปฏิบัตติ นของผู้ประกอบวชิ าชีพครูอาจกล่าวไดว้ ่าเป็นการประกันคุณภาพ ของครูใหก้ ับสงั คมประการหน่ึงดว้ ยเป็นการยนื ยันกบั สงั คมวา่ ในวงการครนู น้ั จะควบคมุ สอดส่องดูแลความประพฤติ ของกล่มุ ครดู ว้ ยกนั ตลอกเวลามีการลงโทษทางกฎหมายและทางสังคมการควบคุมความประพฤติหรือการปฏิบัติตน ของครูนั้น วิธีการที่ดี ที่สุดคือการสร้างจิตสำนึกหรือการ ควบคุมทางจิตใจ ครูมีจรรยาบรรณย่อมมีคุณธรรมสูง คุณธรรมเป็นมาตราวัดมาตรฐานความเป็นครูของผู้ประกอบ วิชาชีพครูที่สำคัญยิ่ง ครูที่มีคุณธรรมย่อมเป็นครูท่ี มีจรรยาบรรณที่ดี นั่นเอง เพื่อให้การดำเนินการทางวินัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดท ำ คู่มือปฏิบัติงานเสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ ดำเนินการทางวนิ ยั กบั บคุ ลากรในสังกัด วัตถปุ ระสงค์ เพอ่ื ให้ครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษาของโรงเรยี นวงั มะเดื่อ มวี นิ ยั ในตนเองและพัฒนาตนเองประพฤติ ปฏบิ ตั ติ นอยู่บนพืน้ ฐานของศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของวิชาชพี มีความประพฤตดิ ี สำนกึ ในหน้าท่แี ละเปน็ ที่ยอมรับของบุคคลทว่ั ไป 1. เพื่อใหค้ รแู ละบคุ ลากรทางการศึกษาโรงเรยี นเมืองเชลียง รกั ศรัทธา และซื่อสัตยส์ ุจรติ รบั ผิดชอบต่อ วชิ าชีพ 2. เพ่ือให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา รัก เมตตา เอาใจใส่ ชว่ ยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแกศ่ ิษย์ และรับ บรกิ าร ดว้ ยความจริงใจและเสมอภาค 3. เพือ่ ให้ครแู ละบุคลากรทางการศึกษาได้ชว่ ยเหลอื เกื้อกูลซึ่งกนั และกนั อยา่ งสร้างสรรค์ โดยยดึ มั่น ในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคใี นหมคู่ ณะ 4. เพอ่ื ให้ผปู้ ระกอบวิชาชีพทางการศึกษาเปน็ ต้นแบบในการประพฤติปฏบิ ตั ิตนด้านศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของวิชาชพี และเผยแพรค่ วามรดู้ ้านศีลธรรม คณุ ธรรม จริยธรรมและ จรรยาบรรณของ วิชาชีพ

การสง่ เสริมมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ “วิชาชพี ” หมายความวา่ วิชาชพี ทางการศกึ ษาท่ีทำหนา้ ที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการ ส่งเสริมการเรยี นรขู้ องผู้เรียนดว้ ยวธิ ีการตา่ ง ๆ รวมทัง้ การรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา ปฐมวัย ข้นั พื้นฐาน และอุดมศกึ ษาทตี่ ่ำกว่าปริญญา ทง้ั ของรัฐ และเอกชน และการบรหิ ารการศกึ ษานอก สถานศึกษาในระดบั เขตพื้นที่การศกึ ษาตลอดจนการสนบั สนุนการศึกษาให้บริการหรือปฏิบตั งิ านเกย่ี วเน่ืองกบั การจัดกระบวนการเรยี นการสอน การนเิ ทศและการบรหิ ารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ “ผปู้ ระกอบวิชาชพี ทางการศึกษา” หมายความวา่ ครู ผ้บู ริหารสถานศึกษา ผบู้ รหิ ารการศึกษาและ บคุ ลากรทางการศึกษาอ่ืน ซง่ึ ได้รบั ใบอนญุ าตเป็นผปู้ ระกอบวิชาชพี ตามพระราชบัญญัติสภาครแู ละบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. 2546 “ครู” หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลกั ทางด้านการเรยี นการสอนและการส่งเสริมการ เรยี นรู้ของผูเ้ รียนดว้ ยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ข้ันพนื้ ฐาน และอดุ มศึกษาท่ีต่ำกวา่ ปริญญา ทั้งของรัฐ และเอกชน “ผู้บริหารสถานศึกษา” หมายความวา่ บุคคลซ่ึงปฏิบัตงิ านในตำแหนง่ ผูบ้ รหิ ารสถานศึกษาภายใน เขตพนื้ ทกี่ ารศึกษา และสถานศึกษาอ่ืนทีจ่ ดั การศึกษาปฐมวัย ขนั้ พื้นฐาน และอุดมศกึ ษาตำ่ กว่าปรญิ ญา ทั้งของรัฐ และเอกชน “บุคลากรทางการศึกษาอื่น” หมายความว่า บุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือ ปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงาน การศึกษาต่างๆ ซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา ผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานความรู้ มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง มาตรฐานวิชาชีพครู ประกอบด้วยมาตรฐาน 3 ด้าน คือ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติ งาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน (จรรยาบรรณของวิชาชีพ) โดยจรรยาบรรณของวิชาชีพได้มีการกำหนดแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณ ของวิชาชีพ เพื่อ ประมวลพฤติกรรมที่เป็นตัวอย่างของการประพฤติปฏิบัติ ประกอบด้วย พฤติกรรมที่พึงประสงค์ และพฤติกรรมท่ีไม่พงึ ประสงค์ วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง เป็นวิชาชีพที่นอกจากจะต้องการผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการที่จะ ถ่ายทอดวิชาการไปสู่ ผู้เรียนแล้ว สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่อาชีพครูจะต้องยึดถือ คือ การมีวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ วิชาชีพ เพื่อเป็นแม่แบบให้แก่ลูกศิษย์ ซึ่งเรื่องของวินัยข้าราชการครูบุคลากรทาง การศึกษา นั้น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 มาตรา 82 ก็ได้ กำหนดไว้ชัดเจน ว่า \"ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องรักษาวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติ โดยเครง่ ครัด อยเู่ สมอ\" ขอ้ ห้ามและข้อปฏบิ ัตดิ งั กลา่ ว ไดแ้ ก่

1. ต้องสนับสนนุ การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริยท์ รงเป็นประมุข ตามรฐั ธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจกั รไทยด้วยความบรสิ ทุ ธใ์ิ จ 2. ต้องปฏิบัตหิ นา้ ท่ีราชการด้วยความซอื่ สัตย์ สจุ ริต เสมอภาคและเท่ยี งธรรม มคี วามวิริยะ อุตสาหะ ขยันหม่ันเพยี ร ดูแลเอาใจใส่ รักษาประโยชน์ของทางราชการ 3. หา้ มมิให้อาศัยหรือยอมใหผ้ ้อู ื่นอาศัยอำนาจและหนา้ ท่ี ราชการของตนไม่ว่าทางตรงหรือทางออ้ ม ไป หาผลประโยชน์ใหแ้ กต่ นเองหรือผู้อืน่ 4. ต้องปฏิบัติตามคำสงั่ ผบู้ งั คบั บัญชา ซ่งึ สัง่ ในหนา้ ที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบ ของ ทางราชการ 5. ตอ้ งตรงต่อเวลา อุทศิ เวลาใหแ้ ก่ทางราชการและผู้เรียน ไม่ละทิง้ หรอื ทอดทงิ้ หนา้ ท่รี าชการ โดยไมม่ เี หตุอนั ควร 6. ต้องประพฤติเป็นแบบอย่างทดี่ แี กผ่ ู้เรยี น ชุมชน สังคม มคี วามสภุ าพเรียบร้อย รกั ษาความ สามัคคีชว่ ยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรยี นและระหวา่ งผู้ปฏบิ ัตงิ านด้วยกนั 7. ต้องให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรยี นและประชาชนผมู้ าติดต่อราชการ 8. ตอ้ งไม่กล่ันแกล้ง ดหู มน่ิ เหยียดหยาม กดขห่ี รือข่มเหงผู้เรยี นหรอื ประชาชน 9. ตอ้ งไม่กลั่นแกล้งกล่ าวหาหรือร้องเรยี นผู้อ่ืนโดยปราศจากความเปน็ จริง 10. ตอ้ งไมค่ ัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อ่ืนโดยมิชอบ หรือนำผลงานของผู้อ่นื หรอื จ้างวานใช้ผ้อู ื่นทำผลงานเพือ่ ใช้ในการเล่อื นตำแหนง่ เลือ่ นวิทยฐานะหรือการได้รบั เงินเดือนใน ระดบั ทส่ี งู ข้ึน 11. ตอ้ งไม่เป็นกรรมการผจู้ ัดการหรือผ้จู ดั การ หรือดำรงตำแหน่งทีม่ ลี ักษณะงานคล้ายคลงึ กนั ในห้าง หนุ้ ส่วนหรือบรษิ ัท 12. ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง ไม่อาศัยอำนาจหนา้ ท่ีแสดงการฝักใฝ่ สง่ เสรมิ เกื้อกลู สนบั สนุน บคุ คลหรอื พรรคการเมืองใด และต้องไม่เข้าไปเกี่ยวขอ้ งการดำเนินการในลักษณะ เป็นการทจุ รติ โดย การซ้อื สทิ ธิ หรอื ขายเสียงในการเลือกต้ัง 13. ตอ้ งไม่เสพยาเสพตดิ หรือสนบั สนุนให้ผอู้ ่นื เสพ 14. ตอ้ งไม่เลน่ การพนันเป็นอาจิณ 15. ต้องไม่กระทำการลว่ งละเมิดทางเพศต่อผเู้ รยี นหรือนักศกึ ษา ทงั้ น้ี หากข้าราชการครแู ละ บคุ ลากรทางการศึกษาไม่รักษาวินัย หรือฝ่าฝืนวินยั ดังกลา่ วก็จะได้รบั โทษ ทางวินัย ซงึ่ อาจถงึ ขัน้ ปลดออก หรอื ไล่ออกจากราชการได้

จรรยาบรรณวิชาชพี ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวงั มะเดือ่ 1. จรรยาบรรณต่อตนเอง 1.1 ครแู ละบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนแมส่ อด ตอ้ งมวี ินัยในตนเอง หมนั่ ศึกษาพฒั นาตนเอง ด้านวิชาการ การวิจัย วิชาชีพ บุคลิกภาพและวสิ ัยทัศน์ใหท้ ันต่อการเปลยี่ นแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยูเ่ สมอ แนวปฏิบตั ิ 1) ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพ และเป็นแบบอยา่ งทด่ี แี ก่ศษิ ย์ 2) ปฏบิ ตั งิ านตามหนา้ ที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จอย่างมคี ุณภาพตามเป้าหมายท่ีกำหนด 3) มีความใส่ใจศกึ ษาค้นควา้ องค์ความรู้ใหม่ท่ีเกย่ี วกับวชิ าชีพอยู่เสมอ ดงั น้ี 3.1 ศกึ ษาค้นควา้ ความรูจ้ ากเอกสาร ตาราและสื่อต่างๆ 3.2 จัดทาผลงานทางวชิ าการ เช่น เอกสาร ตารา หนงั สอื และเผยแพรค่ วามรผู้ า่ นสอ่ื ตา่ งๆ 3.3 วิจยั และนาเสนองานวจิ ัย ลงตีพมิ พ์ในวารสารงานวิจัยในระดับต่าง ๆ 3.4 เขา้ ร่วมประชมุ อบรม สมั มนา อภปิ รายทางวิชาการ 3.5 วางแผนการพฒั นาตนเองและพฒั นางานอยเู่ สมอ 4) มีความรอบรู้ ทนั สมยั ทันเหตุการณ์ สามารถนามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ กำหนดเปา้ หมาย แนวทางการพัฒนาตนเองและวชิ าชพี ทันตอ่ การเปลยี่ นแปลงทางดา้ นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การอาชพี และ เทคโนโลยดี ังน้ี 4.1 การนาเทคโนโลยที เ่ี หมาะสมมาใชป้ ระกอบการเรียนการสอน 4.2 การตดิ ตามขา่ วสารเหตกุ ารณ์ ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม 4.3 การวางแผนพฒั นาตนเองและพฒั นางาน 1.2 ครแู ละบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนแมส่ อด ต้องมีวินยั ซื่อสัตย์สุจริต เสยี สละ อดทน และ เคารพผลงานวชิ าการของผูอ้ ืน่ แนวปฏบิ ตั ิ 1) มีวินัย ดงั น้ี 1.1 เข้าออกชั้นเรียนตามตารางกำหนด 1.2 จัดกจิ กรรมการเรียนการสอนตามแผนการสอน 1.3 จดั การสอบระหวา่ งภาค – ปลายภาคตามกำหนดเวลา 1.4 จัดการเรยี นการสอนครอบคลมุ หลกั สูตรทั้งเน้ือหาและเวลา 1.5 ประเมินผลการเรียนตามกำหนดเวลา 1.6 ตรงเวลานัดหมาย เชน่ นดั สอนซ่อมเสรมิ นัดสอบ นดั ประชมุ 1.7 เคารพมติท่ปี ระชุม 1.8 ละเว้นจากอบายมขุ

1.9 ใช้จ่ายทรพั ยส์ ินอยา่ งมีสติ 1.10 ปฏิบตั งิ านในกรอบหน้าท่ี ไมก่ ้าวกา่ ยงานของผู้อน่ื 1.11 ปกปิดข้อมลู ท่ีเป็นความลบั ของสว่ นราชการ 2) ซอื่ สัตย์ สจุ ริต ดงั นี้ 2.1 นำเสนอข้อมลู อยา่ งถูกต้อง 2.2 ไมน่ ำวสั ดุหรอื ครภุ ณั ฑ์ของทางราชการไปใชเ้ พ่ือประโยชนส์ ่วนตน หรือพวกพ้อง 2.3 รักษาและปกป้องสมบตั ิของทางราชการ 3) เสียสละ อดทน ดังนี้ 3.1 อทุ ศิ เวลาให้กับราชการ 3.2 แบ่งปันโอกาสหรือทรัพย์สินแก่ผ้ดู ้อยกวา่ 3.3 อภยั ในความบกพร่องของผไู้ มร่ ู้ 3.4 ยอมหยุดหรือถ้อยในบางโอกาสเพอ่ื ความสงบสุขของส่วนรวม 3.5 รบั ฟังความคดิ เห็นทแ่ี ตกต่าง 3.6 รับร้ปู ญั หาของนักศึกษาและเพื่อนรว่ มงาน 3.7 ให้คำปรึกษานักศกึ ษาหรือเพื่อนร่วมงาน 3.8 ไมแ่ สดงกริ ยิ ากา้ วร้าวหรือเบื่อหนา่ ยในสถานการณ์ท่ีไมถ่ ูกใจ 4) เคารพผลงานทางวชิ าการของผู้อน่ื ดงั น้ี 4.1 กล่าวถึงผลงานของผอู้ ่ืนเฉพาะส่วนทด่ี ี 4.2 ชืน่ ชมความรูค้ วามสามารถของผอู้ น่ื 4.3 อ้างอิงทุกครัง้ เม่ือนาผลงานของผู้อื่นไปใช้ ทง้ั การพดู และการเขยี น 4.4 ใชข้ อ้ มูลของผู้อนื่ ตรงความหมาย 4.5 ไมล่ อกเลียนงานของผู้อนื่ มาเป็นสมบตั ขิ องตน 4.6 สรา้ งผลงานทางวิชาการด้วยความรู้ ความสามารถทางวิชาการของตนเอง 2. จรรยาบรรณตอ่ ผู้รบั บรกิ าร 2.1 ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวังมะเดือ่ พึงให้บริการทางวิชาการและวิชาชพี รกั เมตตา เอาใจ ใส่ ช่วยเหลอื ส่งเสรมิ ใหก้ ำลงั ใจแก่ศิษย์และหรือผ้รู ับบริการตามบทบาทหนา้ ที่ ไม่เรียกรบั หรือ ยอมรบั ผลประโยชน์ จากการใช้ตำแหน่งหนา้ ท่ีโดยมิชอบ แนวปฏิบตั ิ 1) สร้างความร้สู ึกเป็นมิตร เป็นทพี่ งึ่ พาและไวว้ างใจได้ของศิษยท์ ุกคน ดงั นี้ 1.1 ให้ความเป็นกนั เองกบั ศิษย์และผรู้ ับบริการ

1.2 รบั ฟังปญั หาและให้ความช่วยเหลือศิษยแ์ ละผ้รู บั บริการ 1.3 ร่วมทำกจิ กรรมกบั ศิษย์เปน็ ครัง้ คราวตามความเหมาะสม 1.4 สนทนาไต่ถามทุกขส์ ขุ ของศิษย์ 2) ตอบสนองข้อเสนอและการกระทำของศิษย์ในทางสร้างสรรคต์ ามสภาพปญั หาตามความ ต้องการ และศักยภาพของศษิ ยห์ รอื ผูร้ ับบริการ ดงั น้ี 2.1 สนใจคำถามและคำตอบของศิษยห์ รอื ผรู้ ับบริการทุกคน 2.2 ใหโ้ อกาสศิษย์แตล่ ะคนได้แสดงออกตามความสามารถความถนดั และความสนใจ 2.3 ชว่ ยแกไ้ ขข้อบกพร่องของศษิ ย์ 2.4 รบั การนัดหมายของศษิ ย์เกยี่ วกบั การเรยี นรู้กอ่ นงานอน่ื 3) ไมร่ ับหรือแสวงหาอามสิ สินจ้างหรือผลประโยชนอ์ ันมิควรจากศษิ ย์ ดังน้ี 3.1 การหารายได้จากการนำสนิ คา้ มาขายใหศ้ ษิ ยห์ รือผู้รบั บริการในทางมชิ อบ 3.2 การตัดสนิ ผลงานหรือผลการเรียน โดยมีส่ิงแลกเปลีย่ น 3.3 การบังคบั หรือสรา้ งเงื่อนไขให้ศษิ ย์มาเรียนพเิ ศษเพื่อหารายได้ 4) ไมใ่ ชศ้ ษิ ย์เป็นเครื่องมอื หาประโยชนใ์ ห้กับตนโดยมิชอบ ดังน้ี 4.1 การนำผลงานของศิษยไ์ ปแสวงหาผลประโยชนส์ ว่ นตนโดยมิชอบ 4.2 การใชห้ รือจา้ งวานศิษยไ์ ปทำสิ่งผิดกฎหมาย 2.2 ครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษาโรงเรยี นวงั มะเดอ่ื ต้องต้ังใจเสียสละและอุทศิ ตนในการปฏบิ ัติหนา้ ท่ี เพื่อใหศ้ ษิ ย์และผ้รู บั บริการ ได้รับการพฒั นาตามความสามารถ ความถนดั และความสนใจของแตล่ ะบุคคล แนวปฏิบัติ 1) อบรมสงั่ สอน ฝกึ ฝนและจัดกจิ กรรมการเรียนการสอนเพอ่ื พัฒนาศิษย์อย่างมุ่งม่ันและตงั้ ใจ ดังน้ี 1.1 สอนเต็มเวลา ไมเ่ บียดบังเวลาของศิษย์ไปหาผลประโยชน์ส่วนตน 1.2 เอาใจใส่ อบรม สง่ั สอนศิษยจ์ นเกดิ ทักษะในการปฏิบตั ิงาน 1.3 อุทศิ เวลาเพ่อื พฒั นาศิษย์ตามความจ าเป็นและเหมาะสม 1.4 ไมล่ ะทิง้ ชนั้ เรยี นหรอื ขาดการสอน 2) อบรมสั่งสอน ฝึกฝนและจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอนเพ่ือพฒั นาศิษยอ์ ยา่ งเต็มศักยภาพ ดงั นี้ 2.1 เลอื กใช้วธิ ีการที่หลากหลายในการจดั การเรียนการสอนใหเ้ หมาะสมกบั สภาพของศิษย์ 2.2 ให้ความรโู้ ดยไมป่ ิดบัง 2.3 สอนเตม็ ความสามารถ 2.4 เปดิ โอกาสให้ศิษยไ์ ดฝ้ กึ ปฏิบตั อิ ยา่ งเตม็ ความสามารถ

2.5 จัดกิจกรรมทีน่ าไปสู่การพัฒนาศักยภาพของศษิ ย์ 2.6 ประเมิน ปรับปรุงให้ไดผ้ ลเชงิ ประจกั ษ์ 3) อบรมสงั่ สอน ฝกึ ฝนและจัดกจิ กรรมการเรียนการสอนเพ่อื พัฒนาศิษย์ด้วยความบริสุทธ์ิใจ ดงั นี้ 3.1 อบรมสง่ั สอนศิษย์โดยไม่เลือกท่ีรักมักทีช่ งั 3.2 มอบหมายงานและตรวจผลงานดว้ ยความยตุ ธิ รรม 2.3 ครแู ละบุคลากรโรงเรียนแมส่ อด ต้องประพฤตปิ ฏิบัตติ นเป็นแบบอยา่ งทีด่ แี กศ่ ิษยแ์ ละบคุ คลทัว่ ไป ทงั้ กาย วาจาและใจ แนวปฏบิ ตั ิ 1) มีความตระหนกั ว่าพฤติกรรมของตนมผี ลต่อการพัฒนาพฤติกรรมของศิษยแ์ ละบุคคลทวั่ ไป ดังน้ี 1.1 ระมดั ระวงั ในการพูดและการกระทำของตนเองอย่เู สมอ 1.2 ไมโ่ กรธงา่ ยหรือแสดงอารมณ์ฉนุ เฉียวต่อหนา้ ศิษย์ 1.3 มองโลกในแงด่ ี 2) พูดจาสภุ าพและสรา้ งสรรคโ์ ดยคำนึงถึงผลที่จะเกดิ ขึ้นกับศษิ ยแ์ ละสังคม ดงั นี้ 2.1 ไม่พูดคำหยาบหรือกา้ วรา้ ว 2.2 ไมน่ ินทาหรือพูดจาสอ่ เสียด ให้ร้ายผู้อนื่ ทงั้ ต่อหน้าและลบั หลัง 2.3 พดู ชมเชยให้กำลงั ใจศิษย์ดว้ ยความจรงิ ใจ 3) กระทำตนเปน็ แบบอยา่ งท่ีดี ตามแบบแผนวฒั นธรรมประเพณีของสงั คม ดังน้ี 3.1 ปฏิบัตติ นให้มสี ขุ ภาพและบคุ ลกิ ภาพทด่ี ีอยู่เสมอ 3.2 แตง่ กายสะอาดเรียบรอ้ ยเหมาะสมกบั กาลเทศะ 3.3 แสดงกิริยามารยาทสภุ าพเรยี บรอ้ ยอยู่เสมอ 3.4 ตรงตอ่ เวลา 3.5 แสดงออกซงึ่ นสิ ัยทีด่ ใี นการประหยดั ซื่อสัตย์ อดทน สามัคคีมวี นิ ยั 2.4 ครูและบุคลากรโรงเรียนแม่สอด ต้องไมก่ ระทำตนเป็นปฏปิ ักษ์ ตอ่ ความเจรญิ ทางรา่ งกาย สตปิ ญั ญา จิตใจ อารมณแ์ ละสังคมของศิษยแ์ ละผู้รับบริการ แนวปฏบิ ัติ 1) ละเวน้ การกระทาที่เปน็ อันตรายต่อสขุ ภาพและรา่ งกายของศิษย์และหรือผรู้ ับบรกิ าร ดงั นี้ 1.1 ไมล่ งโทษเกนิ กว่าระเบยี บกำหนด 1.2 ไม่จัดหรอื ปล่อยปละละเลยใหส้ ภาพแวดลอ้ มเปน็ อนั ตรายต่อศิษยแ์ ละหรือผู้รบั บรกิ าร 1.3 ไม่ใช้ศิษยท์ ำงานเกินกำลงั ความสามารถ 2) ละเวน้ การกระทำทีส่ ง่ ผลเสยี ต่อการพฒั นาการ ทางสติปญั ญา อารมณ์จิตใจ และสงั คมของศิษย์ ดังนี้

2.1 ไม่ขดั ขวางโอกาสใหศ้ ษิ ย์ไดแ้ สดงออกอย่างสรา้ งสรรค์ 2.2 ไม่ต้ังฉายาในทางลบใหแ้ กศ่ ษิ ย์ 2.3 ไมพ่ ูดจาดหู มิ่นเหยยี ดหยามหรือกระทำใดๆทเ่ี ป็นการซ้ำเตมิ ปัญหาหรอื ข้อบกพรอ่ ง ของ ศษิ ย์และหรือผู้รบั บรกิ าร 2.4 ไม่แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อศิษย์และหรือผรู้ ับบรกิ าร 2.5 ไมเ่ ปรียบเทยี บฐานะความเปน็ อยขู่ องศิษยแ์ ละหรือผรู้ ับบรกิ าร 3. จรรยาบรรณตอ่ ผู้ร่วมประกอบวชิ าชีพ 3.1 ครแู ละบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนแม่สอด พึงชว่ ยเหลือเกื้อกูลซึง่ กนั และกันอย่าง สร้างสรรค์ โดยยึดม่นั ในคณุ ธรรม ปฏิบตั ติ นต่อผู้บงั คับบัญชาและผใู้ ต้บังคบั บญั ชาอย่าง เหมาะสม สร้างความ สามัคคีในหมู่คณะและมีสว่ นร่วมในการพฒั นาการศกึ ษา 1) ให้ความร่วมมือ แนะนำปรึกษาแก่เพ่ือนครตู ามโอกาสและความเหมาะสม ดังน้ี 1.1 ให้คำปรึกษาการจดั ทำผลงานทางวิชาการ 1.2 ให้คำปรกึ ษาในเร่ืองการจัดการเรียนการสอน 1.3 ให้ความช่วยเหลอื แก่ครอบครวั ในกรณที ่ีเกิดปญั หา 2) ใหค้ วามช่วยเหลือด้านทนุ ทรพั ย์และส่งิ ของแกเ่ พื่อนครูตามโอกาสอันควร ดงั น้ี 2.1 ร่วมงานการกุศลของเพ่ือนครู 2.2 ให้ความร่วมมือในการจัดตัง้ กองทนุ สวัสดิการเพอื่ ชว่ ยเหลอื เพ่ือนครทู ่ีมปี ัญหาทาง เศรษฐกจิ 3) สร้างความสามัคคีในหมคู่ ณะ ดงั นี้ 3.1 พูดและกระทำในสิง่ ท่ีมปี ระโยชน์ตอ่ เพ่ือนครู 3.2 เมือ่ มผี ้เู ขา้ ใจผิดเกย่ี วกับเรอ่ื งใดๆ ในองคก์ ารต้องพยายามทาความเขา้ ใจให้ถูกต้อง 3.3 ยดึ มน่ั ในหลักคาสอนของศาสนาเพื่อความสงบสุขของสังคมและประเทศชาติ 4) มีส่วนรว่ มในการพัฒนาโรงเรยี นวงั มะเดื่อ ดงั น้ี 4.1 เขา้ รว่ มกจิ กรรมท่ีโรงเรยี นวังมะเด่ือจดั ทกุ คร้งั 4.2 เอาใจใสด่ แู ลผลประโยชน์ของโรงเรียนวงั มะเดื่อ ตามหนา้ ท่แี ละความรับผิดชอบ 4.3 ปฏิบัติงานตามหน้าท่ีอยา่ งเต็มกำลังและความสามารถ 4.4 เห็นประโยชน์ส่วนรวมสำคญั กวา่ ประโยชน์ส่วนตน 4.5 ทำตนเองใหเ้ ปน็ ผมู้ ีจิตสาธารณะ 5) การปฏิบัตติ นต่อผ้บู ังคบั บัญชา ดังน้ี 5.1 เคารพต่อการตัดสนิ ใจของผบู้ งั คับบัญชา

5.2 ปฏบิ ตั ิตามคำสงั่ ท่ีได้รบั มอบหมายจากผบู้ ังคับบญั ชาอยา่ งเตม็ ความสามารถ 5.3 ให้ความร่วมมือต่อผบู้ ังคับบัญชาในการบริหารงานของโรงเรียนวงั มะเด่ือ 6) การปฏบิ ตั ิตนต่อผู้ใตบ้ งั คับบญั ชา ดงั นี้ 6.1 ให้ขวญั กำลงั ใจต่อผใู้ ตบ้ งั คบั บญั ชาในการปฏบิ ตั ิหน้าท่ี 6.2 อำนวยความสะดวกในการปฏบิ ตั ิหนา้ ทที่ ไ่ี ด้รับมอบหมายใหป้ ระสบความสำเร็จ 6.3 รบั ฟังความคดิ เห็นและปัญหาของผู้ใต้บงั คบั บญั ชา และพร้อมให้ความชว่ ยเหลือ 6.4 ใหค้ วามเป็นธรรมแก่ผู้ใต้บงั คับบญั ชา 4. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ 4.1 ครแู ละบคุ ลากรทางการศกึ ษาโรงเรียนเมืองเชลยี งตอ้ งมีความรักศรัทธาซื่อสัตยส์ จุ รติ รบั ผดิ ชอบ ต่อ วิชาชพี เปน็ สมาชกิ ทดี่ ขี ององค์กรวิชาชีพ และอุทศิ ตนให้กับทางราชการ แนวปฏิบัติ 1) เชอ่ื มน่ั ชน่ื ชมภมู ิใจในอาชพี และองค์กรวชิ าชพี วา่ มคี วามสำคัญและจำเปน็ ต่อสงั คม ดังน้ี 1.1 ชนื่ ชมในเกยี รติและรางวัลทีไ่ ดร้ ับและรกั ษาไวเ้ สมอตน้ เสมอปลาย 1.2 ยกย่องชมเชยเพ่ือนรว่ มวชิ าชีพทป่ี ระสบผลสำเรจ็ เกี่ยวกับการสอนและพฒั นาผลงาน ทางวชิ าการ 1.3 เผยแพร่ผลงานท่ีสำเรจ็ ของตนเองและเพ่ือนรว่ มวิชาชีพ 2) เป็นสมาชิกที่ดขี ององค์กรวชิ าชีพ หรือเขา้ ร่วมกิจกรรมพัฒนาวิชาชพี ดังนี้ 2.1 ปฏบิ ัติตามระเบียบและข้อกำหนดขององค์กร 2.2 ร่วมกิจกรรมท่ีองคก์ รจัดขนึ้ 2.3 เป็นกรรมการหรือคณะทำงานขององคก์ ร 3) รบั ผดิ ชอบตอ่ หน้าที่และอุทศิ ตนให้กบั ทางราชการ ตวั อย่างเชน่ 3.1 รับผิดชอบต่อบทบาทหน้าทีแ่ ละภารกจิ ของความเปน็ ครู 3.2 รับผดิ ชอบต่องานหรือกิจกรรมท่ีได้รับมอบหมายทง้ั ในและนอกเวลา ราชการ 3.3 มสี ่วนรว่ มในการพัฒนาองค์กร หนว่ ยงานเพอื่ เพม่ิ ศักยภาพขององคก์ ร 5. จรรยาบรรณตอ่ สังคม 5.1 ครูและบคุ ลากรโรงเรียนเมอื งเชลียง พงึ ปฏบิ ตั ิปฏบิ ตั ิตนเป็นผนู้ ำในการอนุรักษ์และพฒั นาทาง เศรษฐกิจ สงั คม ศาสนา ศลิ ปวัฒนธรรมภมู ปิ ัญญาสงิ่ แวดล้อมและรกั ษาผลประโยชนข์ องสว่ นรวม แนวปฏบิ ัติ 1)

การเปน็ นักวิชาการ ดังนี้ 1.1 เปน็ ผนู้ ำหรอื นักวิชาการด้วยความสามารถของตนเอง 1.2 เผยแพร่ผลงานทางวิชาการของตนเองดว้ ยความบรสิ ุทธ์ิใจและถกู ต้องตามหลักวชิ าการ 1.3 ไม่นำผลงานทางวชิ าการของตนเองและผอู้ น่ื ไปแสวงหาผลประโยชน์จากศิษย์และ บคุ คลอ่นื โดยมิชอบ 1.4 ไม่ใชค้ วามรู้ทางวิชาการไปในทางทผี่ ิดต่อศลี ธรรม คุณธรรม 2) การบริการทางวชิ าการ ดงั น้ี 2.1 ไม่บดิ เบือนความรู้ขอ้ เทจ็ จริงทางวชิ าการโดยยอมรับผลประโยชน์ 2.2 ไมร่ ับหรือแสวงหาอามิสสนิ จ้าง หรอื ผลประโยชนจ์ ากศษิ ย์ และเพ่ือนร่วมงานและ บคุ คลภายนอก 2.3 ใหค้ ำปรกึ ษาและบริการความรู้ทางวิชาการดว้ ยความเต็มใจ 2.4 ตัดสนิ ผลงานหรอื ผลการเรียนของศษิ ยด์ ว้ ยความยตุ ธิ รรม 2.5 ไม่สรา้ งเงื่อนไขหรอื บังคบั ใหศ้ ษิ ย์ทำงานเพ่ือผลประโยชนท์ างวิชาการของตนเอง 2.6 ไมส่ ร้างความเดอื ดร้อนให้สังคมด้วยความรทู้ างวิชาการของตน 5.2 ครูและบคุ ลากรโรงเรยี นแมส่ อด พงึ ปฏิบตั ิตนเป็นผ้นู ำดา้ นความรู้เก่ียวกับการเมืองการ ปกครอง เศรษฐกจิ สังคมและรกั ษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยดึ มั่นในการปกครองระบอบประชาธปิ ไตย อนั มี พระมหากษัตรยิ ์เป็นประมุข แนวปฏิบัติ 1) ประพฤติตนเป็นผูน้ ำดา้ นความรูเ้ กย่ี วกับการเมืองการปกครอง ดังน้ี 1.1 จดั กจิ กรรมการเรียนการสอนที่สง่ เสรมิ การเรยี นรูป้ ระชาธปิ ไตยอยา่ งหลากหลาย 1.2 จัดกจิ กรรมการเรยี นรู้ เวทีสมั มนาประชาธิปไตยแก่นักเรยี นและประชาชนทงั้ ในและ นอกโรงเรียนวงั มะเดื่อ 2) ประพฤติตนเปน็ ผู้นำด้านความรเู้ ก่ยี วกับการพฒั นาเศรษฐกิจ ดงั นี้ 2.1 จดั กจิ กรรมการเรยี นการสอนทสี่ ง่ เสริมการพฒั นาเศรษฐกิจของตนเอง ครอบครัวและ ชมุ ชน 2.2 เสนอแนวความคิดในการแก้ปญั หาเศรษฐกจิ ท้ังระดับจุลภาคและมหภาค 2.3 ดำรงตนตามหลักปัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง 3) ประพฤติตนเปน็ ผู้นำทางวิชาการในสังคม ดังนี้ 3.1 จัดกจิ กรรมการเรียนรู้ เวทสี ัมมนาและอภปิ รายประเด็นปัญหาสังคม 3.2 วเิ คราะหแ์ ละสงั เคราะหป์ ระเดน็ ปญั หาของสังคม พร้อมทงั้ เสนอแนวทางในการแก้ไข ปญั หาของสังคมอย่างเป็นระบบ

4) ประพฤตติ นเป็นผูน้ ำด้านความรเู้ กี่ยวกบั การสง่ เสริมศิลปวฒั นธรรม ดังน้ี 4.1 จัดงานเทศกาลรว่ มกบั สถานศกึ ษาตา่ ง ๆ และหนว่ ยงานตา่ ง ๆ ท้ังภาครัฐและเอกชน 4.2 เขา้ รว่ มกิจกรรมในการส่งเสรมิ สบื สานและอนุรกั ษศ์ ลิ ปวฒั นธรรมในโอกาสตา่ ง ๆ อยา่ งสมำ่ เสมอ 4.3 เปน็ วทิ ยากรในการเผยแพรใ่ หค้ วามรูเ้ กย่ี วกบั การสง่ เสรมิ และอนรุ กั ษ์ ขนบธรรมเนยี ม ประเพณีและภมู ิปัญญาท้องถิ่น ความผิดทางจรรยาบรรณ 1. ประเภทของความผิดทางจรรยาบรรณ แบง่ ออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.1 ความผิดจรรยาบรรณที่ไมเ่ ปน็ ความผิดวนิ ยั 1.2 ความผิดจรรยาบรรณที่เป็นความผิดวนิ ยั ไมร่ ้ายแรง 1.. ความผดิ จรรยาบรรณทีเ่ ป็นความผดิ วินยั อยา่ งร้ายแรง 2. ลกั ษณะของการกระททีเ่ ป็นความผิดจรรยาบรรณท่เี ปน็ ความผดิ วนิ ัยอย่าง ร้ายแรง 2.1 การนำเอาผลงานทางวิชาการของผอู้ ื่นทำเปน็ ของตนเองโดยมชิ อบ 2.2 การล่วงละเมดิ ทางเพศ หรือมคี วามสัมพันธ์ทางเพศกบั นกั เรยี นซึง่ มใิ ช่คสู่ มรสของตน 2.3 การเรียก รบั หรือยอมจะรบั ทรัพยส์ ินหรอื ประโยชน์อ่นื ใดจากนกั เรียนหรือผู้รับบริการ เพือ่ กระทำ การหรือละเว้นไม่กระทำการใด 2.4 การเปิดเผยความลบั ของนักเรยี น ท่ีไดม้ าจากการปฏบิ ตั ิหน้าท่ี หรอื ความไว้วางใจ ท้งั นี้โดยมชิ อบ จนก่อให้เกิดความเสยี หายตอ่ นกั เรียนหรือผู้รบั บริการ 2.5.การสอนหรืออบรมนักเรียน เพ่อื ให้กระทำการที่รู้วา่ ผดิ กฎหมายหรือฝ่าฝืนศีลธรรมอันดขี อง ประชาชนอยา่ งรา้ ยแรง 2.6 การกระทำความผดิ อื่นตามทส่ี ภาคุรสุ ภากำหนดตามสภาพและความรา้ ยแรงของการกระทำ 3. การดำเนนิ การเมอื่ มีการประพฤติผดิ จรรยาบรรณ 3.1 การดำเนินการเม่ือมีการประพฤตผิ ิดจรรยาบรรณทไี่ มเ่ ปน็ ความผิดวนิ ัย 1. ในกรณที เี่ ปน็ ความผดิ จรรยาบรรณคร้ังแรก ให้ทำการตักเตือน 2. หากยงั ประพฤติผิดจรรยาบรรณในเรือ่ งเดิมท่ีถกู ตักเตือนแล้ว ตามข้อ 1 ให้ออก คำส่งั ให้ ดำเนนิ การให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด 3. สำหรบั ผ้ทู ฝ่ี ่าฝนื คำสัง่ ตามข้อ 2 ให้ทำทัณฑ์บนไว้เปน็ หนงั สอื และเกบ็ รวบรวมไวใ้ นสมดุ ประวตั ิ ประจำตวั หรือเอกสารอ่นื ทบ่ี นั ทึกประวัติของขา้ ราชการครูและบุคลากรทางการศกึ ษา

3.2 การดำเนินการเมือ่ มีการประพฤติผดิ จรรยาบรรณที่เป็นความผดิ วนิ ยั เมือ่ ปรากฏวา่ ข้าราชการครแู ละ บคุ ลากรทางการศึกษาประพฤตผิ ิดจรรยาบรรณและพฤติการณ์แหง่ การกระทำผดิ จรรยาบรรณดงั กล่าว เปน็ การกระทำผดิ วนิ ยั ให้ผู้บงั คับบญั ชาดำเนินการทางวนิ ยั กับขา้ ราชการครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษาผู้น้นั ตาม หลักเกณฑ์วา่ ดว้ ยการดำเนนิ การทางวินัยทใ่ี ช้บังคบั สำหรับข้าราชการครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษา ความรเู้ บือ้ งตน้ เกย่ี วกับวินยั ขา้ ราชการครูและบุคลากรทางการศกึ ษา บทบัญญัติในหมวด 6 (วินัยและการรักษาวินัย) และหมวด 7 (การด ำเนินการทางวินัย) แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นท้ัง หน้าที่และเครื่องมือของผู้บังคับบัญชาในการบริหารงานบุคคล กล่าวคือ ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นโดยเฉพาะ ในระดับ สถานศึกษา มีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้ใต้บังคับบัญชามวี นิ ัย ป้องกันมิให้ผู้ใต้บังคับบญั ชา กระทำ ผิดวินัยและดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระท ำผิดวินัย โดยเฉพาะการดำเนินการ ทางวินัยจัดได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้บังคับบัญชาใช้ควบคุมความ ประพฤติของผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัยเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม การใช้อ ำนาจการ บริหารงานบุคคลเช่นนี้ตามกฎหมาย บริหารงานบุคคลปัจจุบัน ผู้บังคับบัญชาในระดับสถานศึกษา “ผู้ทรง อำนาจ” มิใช่ “ผู้รับมอบอำนาจ” ให้ปฏิบัติราชการการแทนตามที่เคยปฏิบัติมาแต่ก่อน เพราะถือหลักการ กระจายตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และท่แี กไ้ ขเพ่ิมเตมิ (ฉบบั ที่ 2) พ.ศ. 2551 ในการดำเนินการทางวินยั ผ้บู ังคบั บัญชาจงึ มีความจำเป็นต้องมีความรู้ความเขา้ ใจบทบัญญัติของ กฎหมายทีเ่ กีย่ วกบั วินัยและการรกั ษาวินัย เพราะการดำเนินการทางวินยั ไมใ่ ชจ่ ะสิน้ สดุ ที่ กศจ. หรอื ก.ค.ศ. เทา่ น้ัน บางกรณอี าจมกี ารใช้สิทธิฟอ้ งคดตี อ่ ศาลปกครอง ต้งั แต่ศาลปกครองชัน้ ตน้ จนถึงศาลปกครองสูงสุดซึ่ง ใชเ้ วลา ยาวนานเป็นปหี รือหลายปี เม่อื ผู้บงั คบั บัญชาเป็น “ผทู้ รงอำนาจ” แล้ว จงึ จำเป็นต้องใช้อำนาจนัน้ ให้ ถกู ต้อง เหมาะสม และเปน็ ธรรม ความหมายของคำวา่ “วนิ ยั ” และวินัยขา้ ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คำว่า “วินัย” มีความหมายว่าอย่างไร ในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ตั้งแต่มาตรา 4 อันเป็นบทนิยามศัพท์หรือในหมวด 6 และหมวด 7 ก็ไม่มี คำนิยามว่า “วินัย” มีความหมายว่าอย่างไร รวมทั้งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 หรือ ฉบับก่อน ๆ ก็ไม่มีบัญญัติไว้จึงต้องอาศัยความหมายในทางตำราหรือความคิดความเห็นของผู้รู้ เช่น “วินัย คือ กฎข้อบังคับทต่ี ้องปฏบิ ตั ิตาม หากฝา่ ฝนื ต้องรับโทษ” หรือ

“วินัย คือ การควบคุมความประพฤติของคนในองค์กรให้เป็นไปตามแบบแผนที่พึงประสงค์” หรือ “วินัย คอื สหสมั พนั ธร์ ะหว่างการประพฤติปฏิบตั ิตนของคนในองคก์ รกับระเบียบขอ้ บังคับที่กำหนดไว้ หากคนสว่ น มากประพฤตติ นสอดคลอ้ งกบั ระเบยี บข้อบังคับกเ็ รยี กว่าคนในองคก์ รน้ันมีวินัยในระดับสูง หากการ ประพฤติ ปฏิบัติตนของคนส่วนมาก ไม่สอดคล้อง มีความบกพร่องมาก ก็เรียกว่าคนในองค์กรนั้นมีวินัยใน ระดับต่ำ” ซึง่ เป็นการนิยามในเชงิ ปฏบิ ตั ิการเพอื่ การวิจยั “วินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” หมายถึงข้อบัญญัติท่ีกำหนดเป็นข้อห้ามและข้อ ปฏิบัติตามหมวด 6 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 82 - 97 ความสำคัญของวนิ ยั ข้าราชการครแู ละบุคลากรทางการศึกษา ในทางกฎหมายบทบัญญัติเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย (ส่วนที่เป็นสารบัญญัติ) ในมาตรา 82-94 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มีศักดิ์หรือฐานะเป็น กฎหมาย ในระดับพระราชบัญญัติ ซึ่งศักดิ์ของกฎหมายจะมีระดับสูงสุดไปหาต่ าสุดคือ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หนังสือเวียน ฯลฯ ดังนั้น บทบัญญัตินี้ได้ผ่านขั้นตอนการตราเป็นกฎหมายโดยคำแนะนำและยินยอมจากสมาชิกรัฐสภา และประกาศใช้เป็นกฎหมายมีผลบังคับใช้เป็นการทั่วไป เมื่อผู้บังคั บบัญชาจะดำเนินการใดโดย อาศัย อำนาจตามบทบัญญัตินั้น ๆ ต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดจะเลือกปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติมิได้ ความสำคัญในทางสังคม วินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีผลโดยตรงทั้งต่อบคุ คลเป็นการ เฉพาะตัว และสถาบันข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จะเป็นที่เชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไปเช่นเดียวกับ หน่วยงานอื่นของรัฐ เช่น ความเชื่อถือ ศรัทธาต่อผู้พิพากษาและสถาบันตุลาการ ความเชื่อ ถือ ศรัทธาต่อ นักการเมือง ความเชื่อถือ ศรัทธาต่อ ข้าราชการตำรวจ เป็นต้น......................................................................... หากว่าเฉพาะในวงการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ถ้าโรงเรียนแห่งใดมีระดับความ มีวินัยสูง บรรยากาศความสมั พันธ์ระหว่างบคุ คลย่อม จะเปน็ ไปดว้ ยความราบร่นื สงบรม่ เย็น เตม็ ไปดว้ ยความเปน็ มิตรไมตรี บทบญั ญัตเิ ก่ยี วกบั วนิ ัยข้าราชการครแู ละบุคลากรทางการศกึ ษา บทบัญญัติในหมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย มีทั้งที่เป็น “ข้อห้าม” และ “ข้อปฏิบัติ” หรือถ้าเป็น พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า “การกระทำการ” และ “ไม่กระทำการ” ซึ่งข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ โดยมีข้อกฎหมายและคำอธิบาย ประกอบพอสังเขป ดงั น้ี

มาตรา 82 “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องรักษาวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อ ปฏิบัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ” เป็นบทบัญญัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแต่ละ คนมีหน้าที่ต้อง รักษาวินัยโดยไม่ฝ่าฝืนข้อห้าม และต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ ขอบเขต ของวินัยใช้บังคับกับ บุคคลซึ่งมีฐานะเป็น ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนั้น การกระทำใด ๆ ก่อนที่ยังไม่ได้เป็น ข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา จะนำมาเป็นข้ออ้างในการลงโทษทางวินัยไม่ได้ กรณีบทบัญญัติใน มาตราใดได้บัญญัติว่าการกระทำ เช่นนั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ก็ถือว่าความผิดตามที่บัญญัติไว้นั้น เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง นอกจากนี้หากองค์ประกอบความผิดในฐานความผิดนั้นมีหลายข้อเป็น องค์ประกอบความผิดการปรับข้อเท็จจริงกับข้อ กฎหมายว่าการกระทำใด จะเป็นความผิดทางวินัยต้องมี องคป์ ระกอบความผิดครบทกุ ข้อ มาตรา 83 “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องสนบั สนุนการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ และมีหน้าท่ี วางรากฐานใหเ้ กิดระบอบการปกครองเชน่ ว่านั้น” มาตราน้ีมีจดุ มุ่งหมายเพ่ือให้ข้าราชการครูและบคุ ลากรทางการศึกษาไดใ้ ห้ความร่วมมือร่วมใจในการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอนั มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย ไม่ละเลยหนา้ ที่ท่กี ฎหมายบัญญตั ิ มาตรา 84 “ขา้ ราชการครูและบคุ ลากรทางการศึกษาต้องปฏิบตั หิ น้าทรี่ าชการด้วยความซอื่ สตั ย์ สจุ รติ เสมอภาคและเทยี่ งธรรม มีความวิรยิ ะอุตสาหะ ขยนั หม่นั เพียร ดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทาง ราชการและ ตอ้ งปฏบิ ตั ติ นตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครดั ห้ามมิให้อาศยั หรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจและหน้าท่รี าชการของตน ไม่วา่ จะโดยทางตรงหรอื ทางออ้ ม หาประโยชนใ์ ห้แกต่ นเองหรอื ผู้อ่นื การปฏบิ ัตหิ รอื ละเว้นการปฏบิ ัตหิ นา้ ท่รี าชการโดยมิชอบเพือ่ ให้ตนเองหรือผู้อื่นไดร้ บั ประโยชนท์ มี่ ิ ควรได้เป็นการทจุ ริตตอ่ หน้าท่ีราชการ เปน็ ความผิดทางวินัยอย่างรา้ ยแรง” การกระทำท่ีมีพฤติการณ์อย่างไร จึงจะเปน็ ความผดิ ทางวนิ ัยอยา่ งรา้ ยแรงตามนัยบทบญั ญัตใิ นวรรค ท้าย มอี งค์ประกอบทคี่ วรพิจารณา 3 ประการ คือ 1. ตอ้ งมหี น้าท่รี าชการทจี่ ะต้องปฏบิ ตั ิ 2. ได้ปฏิบตั ิหนา้ ที่ราชการโดยมชิ อบหรือละเวน้ การปฏิบตั ิหนา้ ทรี่ าชการโดยมชิ อบ 3. มีเจตนาพิเศษเพื่อให้ตนเองหรือผอู้ นื่ ไดป้ ระโยชน์ทมี่ ิควารไดห้ รือกระทำโดยทุจริต องคป์ ระกอบ ความผดิ ดงั กลา่ ว แยกพิจารณาไดด้ งั นี้ 1. ตอ้ งมหี น้าทรี่ าชการทีจ่ ะต้องปฏิบัติ ซ่ึงจะมบี ทบัญญตั ิของกฎหมายระบุไวห้ รือมีคำส่งั ผู้บังคับบัญชา สงั่ ให้ปฏบิ ัตหิ น้าทร่ี าชการ

2. ได้ปฏิบัตหิ น้าทีร่ าชการไปโดยมิชอบหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าทรี่ าชการโดยมชิ อบ คำวา่ “ปฏบิ ตั หิ นา้ ที่ราชการ” หมายความว่า ไดม้ ีการปฏิบัตหิ นา้ ทร่ี าชการไปแลว้ หรือมกี ารกระทำตาม หนา้ ที่ไปแล้ว “ละเวน้ การปฏิบตั หิ นา้ ท่ีราชการ หมายความว่า มีหนา้ ท่ีราชการทีต่ อ้ งปฏบิ ัติ แตไ่ ม่ ปฏบิ ตั ิหรอื งดเวน้ ไมก่ ระทำ ตามหนา้ ท่ี เพ่ือใหเ้ กิดผลอยา่ งหนงึ่ อยา่ งใดขนึ้ คำว่า “มิชอบ” หมายความว่า ไม่เป็นไปตามกฎหมายระเบียบของทางราชการ คำสั่งของ ผู้บังคับบัญชา มติคณะรัฐมนตรี แบบธรรมเนียมของทางราชการหรือทำนองคลองธรรม 3. มีเจตนาพิเศษ (เจตนาท สง่ิ หนึ่งเพื่อใหเ้ กิดผลอกี อย่างหน่ึง) เพอื่ ให้ตนเองหรือผู้อ่นื ได้ ประโยชนท์ ีม่ คิ วรได้หรือโดยมีเจตนาทุจริต คำวา่ “ประโยชน”์ หมายถงึ ส่ิงที่ไดร้ บั อนั เปน็ คณุ แก่ผู้ไดร้ บั ซงึ่ อาจเปน็ ทรพั ย์สนิ หรือประโยชนอ์ ย่างอ่นื ที่มใิ ช่ ทรพั ย์สิน เช่น การได้รับบริการ ไดร้ ับ ความสะดวก หรือไดร้ บั สิทธิพิเศษอ่ืน ๆ รวมท้ัง เปน็ ประโยชน์ท่ี “มิควรได้” ซึ่งหมายถึงไม่มีสิทธิ์โดยชอบธรรมที่จะได้รับประโยชน์ใดตอบแทนเช่นเดียวกัน“โดยทุจริต”ตามความหมายใน ประมวล กฎหมายอาญามาตรา 1 อนุมาตรา (1) “เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับตนเองหรือผอู้ น่ื ” การที่จะพจิ ารณาว่าการกระทำใดเป็นการทจุ รติ ต่อหนา้ ที่ราชการหรอื ไม่ ต้องพจิ ารณาถึง เจตนาของ ผู้กระทำด้วยว่ามเี จตนาทุจริตในการปฏบิ ัตหิ นา้ ที่ราชการหรือละเวน้ การปฏบิ ัติหน้าที่ ราชการโดยมุง่ ทจ่ี ะใหต้ นเอง หรือผูอ้ ืน่ ได้รับประโยชน์ท่มี ิควรไดเ้ ปน็ สำคญั ตามหลัก “กรรมเปน็ เครือ่ งชี้เจตนา” มาตรา 85 “ขา้ ราชการครูและบคุ ลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัตหิ น้าที่ราชการให้เปน็ ไปตามกฎหมาย ระเบยี บแบบแผนของทางราชการ และหน่วยงานการศึกษา มตคิ ณะรฐั มนตรีหรือนโยบายของรฐั บาลโดยถือ ประโยชนส์ งู สดุ ของผเู้ รยี น และไม่ใหเ้ กิดความเสียหายแก่ทางราชการ การปฏิบตั ิหนา้ ที่ราชการโดยจงใจไมป่ ฏบิ ตั ติ ามกฎหมาย ระเบยี บแบบแผนของทางราชการและ หนว่ ยงาน การศกึ ษา มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาล ประมาทเลนิ เล่อหรอื ขาดการเอาใจใส่ ระมดั ระวังรักษา ประโยชน์ของทางราชการอันเปน็ เหตุให้เกิดความเสยี หายแก่ราชการอยา่ งรา้ ยแรงเปน็ ความผิดวินัยอย่างรา้ ยแรง บทบญั ญัติตามมาตรานี้ มีคำที่ควรรคู้ วามหมายคือ “ประมาทเลินเล่อ” หมายความว่า ขาดความ ระมัดระวังในการปฏบิ ตั หิ นา้ ที่ ไม่รอบคอบในสิง่ ท่ีควรกระทำ ซง่ึ มีความหมายเชน่ เดยี วกบั “กระทำโดย ประมาท” ตามประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติว่า ได้แก่ การกระทำความผดิ มิใช่เจตนา แต่กระทำโดย ปราศจากความระมัดระวังซง่ึ บุคคลในภาวะเช่นนัน้ จกั ต้องมีตามวสิ ยั และพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใชค้ วาม ระมัดระวงั เช่นว่านน้ั ได้แตห่ าได้ใช้ให้เพียงพอไม คำวา่ “วสิ ยั ” หมายถึงที่เปน็ อยูข่ องผู้กระทำหรือสภาพทางกายภาพในตวั ผู้กระทำ เช่น เด็ก วัยรนุ่ ผใู้ หญ่ หรือเปน็ ผู้บกพร่องทางกายหรอื จติ ใจ เปน็ ตน้ รวมทัง้ คณุ ลักษณะความรู้ความสามารถ ความเปน็ ผู้มี วิชาชีพ หรือ ประสบการณ์ของบคุ คลนั้นดว้ ย

คำว่า “พฤตกิ ารณ”์ หมายถงึ สภาพภายนอก สภาพแวดล้อมอันเปน็ ข้อเท็จจรงิ ประกอบการกระทำ เชน่ ความมืด ความสวา่ ง ความม่งั คงแขง็ แรงของสภาพอาคารสถานที่ ภาวะความกดดันของสถานการณ์ใน ขณะน้ัน ระดับความเงยี บหรือความดังของเสียง เป็นตน้ ดังน้ัน คำว่า “ต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ ตอ้ งนำทงั้ สองสว่ นมาประกอบการพิจารณา เช่น ขณะ สอน วชิ าเคมีครไู ดห้ ยบิ ขวดบรรจสุ ารเคมผี ิด นำไปผสมกบั สารเคมอี ่ืนทำให้เกดิ การระเบดิ ทรัพยส์ ินในห้อง เคมเี สียหาย แม้ครูเป็นผูม้ ีวิสัย เป็นผู้มีความรู้ความวิชาเคมี แต่ในขณะนั้นเกิดไฟฟ้าในห้องเคมีดับ แสงสว่างไม่ เพียงพออันถือ เป็นพฤติการณ์ขณะหยิบขวดบรรจุสารเคมีที่จะถือว่าพฤติการณ์อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่า นั้นได้หรือไม่ เป็นตน้ ส่วนการพิจารณาความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงเพียงใดหรือไม่นั้นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็น เรื่อง ๆ ไป และความเสียหายดังกล่าวเปน็ ความเสียหายเกีย่ วกับทรพั ย์สินเงินทอง ซึ่งสามารถคิดคำนวณ ออกมา เป็นจำนวนเงินได้ หรืออาจเป็นความเสียหายแก่ภาพพจน์ชื่อเสียงของทางราชการ หรือเสียหายในด้าน ความเช่ือถือ ท่ปี ระชาชนมีต่อทางราชการกไ็ ด้ มาตรา 86 “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งใน หน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการ ปฏิบตั ติ ามคำสง่ั นั้นจะทำให้เสียหายแกร่ าชการ หรอื เป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะเสนอ ความเห็น เป็นหนังสือภายในเจ็ดวัน เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทวนค ำสั่งนั้นก็ได้ และเมื่อเสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บงั คับบัญชา ยนื ยนั เปน็ หนงั สอื ให้ปฏิบตั ติ ามคำสง่ั เดมิ ผู้อยู่ใต้บงั คบั บญั ชาจะต้องปฏิบตั ิตาม การขัดคำสัง่ หรอื หลกี เลย่ี งไม่ปฏบิ ตั ิตามคำสัง่ ของผู้บังคับบัญชา ซง่ึ สั่งในหนา้ ทร่ี าชการโดยชอบดว้ ย กฎหมายและระเบยี บของทางราชการ อนั เปน็ เหตใุ ห้เสยี หายแก่ราชการอยา่ งรา้ ยแรง เป็นความผดิ วินยั อยา่ ง รา้ ยแรง” “คำสั่ง” เป็นทั้งเครื่องมือและวิธีการที่ผู้บังคับบัญชาใช้ในการบริหารจัดการ คำสั่งอาจอยู่ในรูปของ หนังสือ หรือโดยวาจาที่ผู้บังคับบัญชาอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ เมื่อ ผู้ใต้บังคับบัญชา รับทราบแล้วมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ในกรณีที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นว่า การปฏิบัติตามคำสั่งจะ ทำให้ “เสียหาย” หรือ “ไม่รักษาประโยชน์” ของทางราชการ ผู้ใต้บังคับบัญชาจะเสนอความเห็นต่อ ผู้บังคับบัญชาก็ได้ แต่ต้องเสนอความเห็นเป็น “หนังสือ” ต่อผู้บังคับบัญชา จะเสนอความเห็นเป็น “วาจา” หรือพฤติการณ์อื่นใดไม่ได้ เพราะข้อกฎหมายให้เสนอความเห็น ได้ทางเดียว โดยทำเป็นหนังสือเท่านั้น การที่ จะพจิ ารณาวา่ ขา้ ราชการผใู้ ดกระทำผดิ ตามมาตรานี้หรือไม่ มอี งคป์ ระกอบท่ีควรพิจารณา ดงั นี้ 1. มคี ำส่ังของผบู้ งั คบั บัญชา 2. ผูส้ ัง่ เปน็ ผู้บังคับบญั ชาตามกฎหมาย 3. สั่งในหนา้ ทร่ี าชการ 4. เปน็ คำสงั่ ท่ชี อบด้วยกฎหมายและระเบยี บของทางราชการ

5. ผรู้ บั คำสั่งมีเจตนาขัดขืนหรือหลกี เลย่ี ง มาตรา 87 “ขา้ ราชการครูและบคุ ลากรทางการศึกษาต้องตรงตอ่ เวลา อทุ ิศเวลาของตนให้แกท่ าง ราชการ และผู้เรียน จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้การละทิ้งหน้าที่หรือ ทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่าง ร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าท่ี ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือ โดยมีพฤติการณ์อัน แสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง” ถ้อยคำที่ทำความ เข้าใจให้ตรงกันในมาตรานี้คือคำว่า “ละทิ้ง” หรือ “ทอดทิ้ง” ซึ่งไม่มีบทนิยามโดยตรง หรือความหมาย ใน พจนานุกรมก็มีความหมายใกลเ้ คียงกนั แต่เม่ือกฎหมายบัญญัติไว้แยกกนั ย่อมจะตอ้ งมีความหมายท่แี ตกต่างกัน “ละทิ้ง” หมายความว่า ไม่อยู่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ ซึ่งอาจไม่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการเลยหรือมาลงชื่อ ปฏิบัติงานแล้ว แต่ไม่อยู่ทำงานในจุดที่กำหนดให้ปฏิบัติงาน “ทอดทิ้ง” หมายความว่า ข้าราชการอยู่ทำงานแต่ ไม่ทำงาน ไม่เอาใจใส่ไม่เอาเป็นธุระ ปล่อยให้งานใน หน้าที่คั่งค้างล่าช้า มีกรณีที่ปรากฏเป็นความผิดวินัย บ่อยครั้งเกิดขึ้นเป็นการทั่วไปคือ กรณีละทิ้งหน้าที่ราชการเป็นเวลานาน ติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกิน กว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความ จงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของ ทางราชการ ซึ่งถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง โดยไม่ต้องพิจารณาผล ของการกระทำว่าเกิดความเสยี หายอยา่ งร้ายงแรงหรอื ไม่ มาตรา 88 “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพ เรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเก้ือกูลต่อผู้เรยี นและระหว่างข้าราชการ ด้วยกันหรอื ผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ การกลั่นแกล้ง ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงผู้เรียน หรือประชาชนผู้มาติดต่อราชการ อย่าง ร้ายแรง เปน็ ความผดิ วนิ ยั อย่างรา้ ยแรง” บทบัญญัติมาตรานี้มุ่งหมายเพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีความประพฤติที่ดี สุภาพเรียบร้อย ซึ่งพิจารณาได้จากพฤติกรรมทางวาจา คือคำพูดและพฤติกรรมกิริยาทางกายอาจแสดงออกใน ลกั ษณะการแต่งกายที่เหมาะสมกับกาละเทสะการเคลื่อนไหว เช่น การเดิน การนงั่ การเขียน หรืออาการที่ ส่ือสาร ในลักษณะอื่น เป็นต้น คำว่า “ดูหมิ่น เหยียดหยาม” หมายความว่า ดูถูกเหยียดหยามคนอื่น ทำให้เขา ได้รับความอับอาย หรือ เสียหายต่อชื่อเสียง คำว่า “กดขี่” หมายความว่า ข่มให้อยู่ในอำนาจตน ใช้อำนาจ บังคับ แสดงอำนาจ คำว่า “ข่มเหง” หมายความว่า ใช้กำลังรังแก แกล้งทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ดังน้ัน การดดุ า่ วา่ ร้ายคนอนื่ การดูหมิน่ ใส่ความคนอน่ื แม้เรอ่ื งทกี่ ลา่ วถงึ น้นั เปน็ ความจรงิ ก็เปน็ ความผดิ วินยั มาตรา 89 “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องไม่กลั่นแกล้งกล่าวหาหรือร้องเรียนผู้อื่นโดย ปราศจากความเป็นจริง การกระทำตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเป็น ความผิดวินัยอย่าง ร้ายแรง” การกลั่นแกล้งกล่าวหาหรือร้องเรียนผู้อื่น การกระทำอาจปรากฏในลักษณะทำ เป็นหนังสือหรือโดยวาจา ภาษาที่ใช้สื่อความหมายไม่จ าเป็นต้องใช้ภาษาไทยก็ได้ แต่ข้อความหรือถ้อย คำท่ี

ผู้รับเมื่อได้รับทราบแล้ว ทำให้ผู้ถูกกลั่นแกล้งนั้นได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง คำว่า “ผู้อื่น” ก็คอื อาจเป็นข้าราชการครแู ละ บคุ ลากรทางการศกึ ษาดว้ ยกันหรือประชาชนทั่วไป มาตรา 90 “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องไม่กระทำการ หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการ หาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน การกระทำตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกระทำโดยมีความการมุ่งหมายจะให้เป็นการซื้อขาย หรือให้ได้รับ แต่งตั้ง ให้ เป็นความรู้สึก เป็นนามธรรมตามความคิดเห็นของความรู้สึก ของระทำอันมีลักษณะเป็นการให้หรือ ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือสทิ ธปิ ระโยชน์อื่น เพื่อให้ตนเองหรอื ผูอ้ ื่นได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง โดยมิชอบหรือเสื่อมเสยี ความเที่ยงธรรม เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง” ข้อความในบทบัญญัติมาตรานี้ แสดงถึงระดับมาตรฐาน ทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษาให้เห็นว่าอยู่ระดับสูง คำว่า “เสื่อมเสีย” เป็นความรู้สึก เป็นนามธรรมตามความคิดเห็นของความรู้สึกของ วิญญูชน เช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 94 ที่ข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศกึ ษาเปน็ ผมู้ ี “เกียรตศิ ักด์ิ” ในตำแหนง่ หนา้ ทรี่ าชการของตน วินัยตามมาตราน้มี ีองค์ประกอบสำคญั 2 ประการ คือ 1. กระทำการหรอื ยอมใหผ้ ู้อื่นกระทำการหาประโยชน์ ซ่ึงประโยชนห์ มายถงึ ส่งิ ที่ไดร้ ับอันเปน็ คณุ แก่ ผรู้ ับอาจรเปน็ ทรพั ยส์ นิ หรือประโยชนอ์ ย่างอ่ืนที่เป็นสทิ ธิบางอยา่ งที่ตัวขา้ ราชการเองไดร้ บั โดยตรงหรอื บคุ คล อื่นไดร้ ับ 2. อาจทำให้เสยี ความเทยี่ งธรรมหรือเส่อื มเสยี เกยี รติศักดข์ิ องตำแหนง่ หน้าทรี่ าชการ แยกพิจารณา ดังน้ี 2.1 อาจทำใหเ้ สียความเที่ยงธรรม จะต้องพจิ ารณาโดยคำนึงถึงหน้าท่แี ละความรับผิดชอบของ ตำแหนง่ หนา้ ทรี่ าชการท่ขี ้าราชการผ้นู ้นั ดำรงอยู่ว่าจะมที างอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมไดห้ รือไม่ หากมีทาง อาจทำให้เสยี ความเท่ียงธรรมไดก้ ็ต้องด้วยบทบัญญตั นิ ี้ 2.2 อาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนคำว่า “เกียรติศักดิ์” หมายความ ว่า ฐานะที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญ ดังนี้ การที่จะพิจารณาว่าการกระทำอย่างใดเป็นการหา ประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของ ตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาคำนึง ถึงตำแหน่งหน้าที่ราชการที่ผู้นั้นดำรงอยู่ว่าอยู่ในฐานะที่ควรได้รับการยกย่องสรรเสริญเป็นที่นับถือของประชาชน เพยี งใด ขา้ ราชการท่ีดำรงตำแหนง่ สงู หรือ ขา้ ราชการช้ันผู้ใหญ่ย่อมอย่ใู นฐานะท่ีได้รบั การยกยอ่ งสรรเสริญ มากกวา่ ข้าราชการชน้ั ผนู้ ้อย ซงึ่ ขา้ ราชการครูและ บคุ ลากรทางการศกึ ษาตำแหน่งหรอื ผู้บริหารสถานศึกษา ที่ปรากฏเป็นทีย่ อมรับนับถือว่าเป็น “ปูชนียบุคคล” การกระทำที่เป็นความผิดตามมาตราน้ีอาจถือเป็นความผิดทำ ให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิข์ องตำแหน่งหนา้ ที่ ราชการอันเป็นความผดิ วินัยฐานกระทำการอันได้ชื่อ ว่าเป็นผู้ประพฤติ ชั่วตามมาตรา 94 ด้วย ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปและอาจเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงก็ได้ ส่วน การกระทำอันอาจทำใหเ้ สือ่ มเสียเกียรติศกั ดิ์ของ ตำแหน่งหนา้ ท่ีราชการทีไ่ ม่ใชเ่ ป็นการหาประโยชน์หรือ ผู้กระทำ ไม่ได้รับประโยชน์ จะไม่เป็นความผิดตามมาตรา 90 นี้ แต่จะเป็นความผิดตามมาตรา 94 ในส่วนการ ทำ

ตามบทบัญญัติในวรรคสอง ที่การกระทำมุ่งหมายจะให้เป็นการซื้อขายหรือให้ได้รับ แต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่ง หรือให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือมีลักษณะเป็นการให้หรือได้มา ซึ่งทรัพย์สิน หรือสทิ ธิประโยชน์อน่ื เพ่อื ตนเองหรือผอู้ นื่ เป็นความผิดวนิ ยั อย่างร้ายแรง มาตรา 91 “ข้าราชการครุและบุคลากรทางการศึกษาต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการ ของ ผู้อื่นโดยมิชอบ หรือนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่น หรือจ้างวาน ให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ ในการ เสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนวิทยฐานะหรือการให้ได้รับเงินเดือน ในระดบั ท่ี สงู ขนึ้ การฝ่าฝืนหลกั ดงั กลา่ วน้ีเป็นความผิดวนิ ัยอย่างรา้ ยแรง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ร่วมดำเนินการคัดลอก หรือลอกเลียนผลงานของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือรับจัดทำผลงานทางวิชาการไม่ว่าจะมีค่า ตอบแทนหรือไม่ เพื่อให้ผู้อื่นนำผลงานนั้นไปใช้ประโยชน์ในการ ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เป็นความผิด วินัยอย่างร้ายแรง” บทบัญญัตินี้มีความจ าเพาะเจาะจงที่ใช้บังคับกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งที่ต้อง อาศัยการทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนตำแหน่ง วิทยฐานะ หรือแม้กระทั่งนำผลงานทาง วิชาการไปประกอบ เสนอขอปรบั ปรงุ การกำหนดตำแหนง่ บคุ คลผูต้ ้องรับผิดตามบทบญั ญัตินีต้ อ้ งเปน็ ขา้ ราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาอยู่ในขณะกระทำความผิด หากไม่ใช่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่ว่า กระทำก่อนหรือภายหลังเป็นข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา ก็ไม่ตกอยู่ในบังคับนี้ส่วนวรรคสอง เป็นการร่วมกระทำความผิดโดยมีผู้กระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป เช่น มีเพื่อน ข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาห้าคนช่วยนายสมชายทำผลงานทางวิชาการดังกล่าว แม้เพื่อนทั้งห้าคนจะ ไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ เลยก็ตาม ก็เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง เป็นต้น ส่วนคำว่า “รับจัดทำผลงานทางวิชาการ ไม่ว่าจะมี ค่าตอบแทนหรอื ไม”่ ก็เปน็ ความผดิ ทางวนิ ัยอยา่ งรา้ ยแรงเช่นเดียวกัน มขี อ้ สังเกตประการสำคญั สำหรบั ความผิด ตามมาตรานี้ ความผิดทางวินัยจัดเป็นความผิดในระดับความผิด วินัยอย่างร้ายแรงทั้งสิ้น ซึ่งสถาน โทษคือ ปลดออกหรอื ไลอ่ อก มาตรา 92 “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการ หรือ ดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท” บทบัญญัตินี้เป็นข้อห้าม เด็ดขาด ไม่ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการในห้างหุน้ สว่ น จำกัดหรือบริษทั จำกดั หรือเป็นการดำรงตำแหนง่ อน่ื ใดทม่ี ลี กั ษณะงานคล้ายคลึงกนั ซง่ึ ตำแหนง่ เหลา่ นอ้ี าจมี ข้นึ ได้ตามวิวฒั นาการ หรือการเปล่ยี นแปลงทางกฎหมาย เชน่ อาจกระทำหน้าที่เป็นผ้แู ทน ผู้จัดการหา้ งหุ้นส่วนจำกดั ในการทำนิตกิ รรม สัญญาต่าง ๆ การพิจารณาว่ากิจการนั้นเป็นห้างหุ้นส่วนจ ากัดหรือบริษัท หรือไม่ ต้องพิจารณาจากหลักฐานการ จดทะเบียนและหนังสือบรคิ ณหส์ นธิ มาตรา 93 “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง ในการปฏิบัติ หน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน โดยต้องไม่อาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตน แสดง การฝักใฝ่ ส่งเสริม เกื้อกูล สนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล หรือพรรคการเมืองใด ข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินการใดๆ อันมีลักษณะเป็น การทุจริต โดยการซื้อ

สิทธิหรือขายเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือ การเลือกตั้งอื่นที่มี ลักษณะเป็นการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งจะต้องไม่ให้การส่งเสริม สนับสนุน หรือ ชักจูงให้ผู้อื่นกระทำการในลักษณะเดียวกัน การดำเนินการที่ฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้เป็นความผิด วินัยอย่าง ร้ายแรง” การวางตัวเป็นกลางทางการเมือง พิจารณาเฉพาะพฤติการณ์ที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการและ ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนเท่านั้นไม่ได้มีความหมายครอบคลุมถึงความนิยมชมชอบนักการเมือง เป็นการ ส่วนตัว หรือสิทธิพื้นฐาน ทางการเมืองหรือการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง คงห้ามแต่การเป็น กรรมการพรรค การเมืองและการเป็นเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง บทบัญญัติในวรรคสอง ถ้าหากจะวางหลักใน การพิจารณาให้ครอบคลุมเพื่อถือปฏิบัติก็คงมีความสั้น ๆ ว่าการกระทำความผิดตามกฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยองค์ประกอบ ความผิดอีกหลายประการ มาตรา 94 “ข้าราชการครูและบุคลาการทางการศึกษาต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของ ตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ ประพฤติชั่ว การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจ าคุก หรือโทษที่หนักกว่าจ าคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้ จ าคุก หรือให้รับโทษท่ีหนักกวา่ จ าคุก เวน้ แตเ่ ปน็ โทษสำหรบั ความผดิ ที่ได้กระทำโดยประมาท หรอื ความผิดลหุ โทษ หรือกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสพยาเสพติดหรือสนับสนุนให้ผู้อื่นเสพยาเสพติด เล่นการพนัน เป็น อาจิณ หรือกระทำการลว่ งละเมิดทางเพศต่อผเู้ รียนหรือนกั ศึกษา ไม่วา่ จะอยใู่ นความดูแลรับผิดชอบของตน หรือไม่ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง” บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง มีข้อความใกล้เคียงกับมาตรา 90 ตามที่กล่าว มาแลว้ แตม่ ุง่ หมายในสว่ นคำวา่ “ประพฤติช่ัว” ซึ่งมีความหมายกว้าง กระทำอย่างใดจะเป็นการประพฤติชว่ั หรือไม่ จะตอ้ งนำองค์ประกอบในการ พิจารณาเรอ่ื งการประพฤติช่วั 3 ประการ คือ 1. เกียรติของข้าราชการ 2. ความรู้สกึ ของสังคม 3. เจตนาที่กระทำ กรณีใดจะถือว่าเปน็ การประพฤติช่วั อย่างรา้ ยแรง จะต้องพิจารณาข้อเทจ็ จริงตามพฤตกิ ารณ์แห่งกรณี เป็น เรอื่ ง ๆ ไปโดยถือความรา้ ยแรงของแต่ละองค์ประกอบทั้ง 3 ประการดงั กล่าว เปน็ แนวทางพิจารณา ดังน้ี 1. การกระทำใหเ้ สือ่ มเสียเกยี รติศักดข์ิ องตำแหนง่ หนา้ ทีร่ าชการ แต่ไมจ่ าเปน็ ต้องเปน็ เร่ือง หาประโยชน์ 2. การกระทำนนั้ เปน็ ทีร่ ังเกยี จของสงั คม โดยพจิ ารณาจากความรู้สกึ ค่านยิ ม ความเช่อื เหตุผล ทางจรยิ ธรรมอาจเปลย่ี นแปลงไปตามยุคสมยั กาลเวลาดว้ ยเหตุผลทางเศรษฐกจิ หรือเหตุผล อน่ื 3. เจตนาในการกระทำถ้าการกระทำนนั้ เกิดจากเจตนาช่ัวร้าย กถ็ อื ว่าการกระทำนั้นเป็น การประพฤตชิ ว่ั ตามหลกั “กรรมเปน็ เคร่ืองชเี้ จตนา” บทบัญญตั มิ าตราน้ีเป็นความผิดวนิ ัยอย่าง ร้ายแรง แยกพจิ ารณา 2 กรณี คือ

3.1 การกระทความผดิ อาญาตนไดร้ บั โทษจ าคุก บทบญั ญัติมาตราน้ที ่ีเป็นความผิด ทางวินัยอย่างร้ายแรง แยกพิจารณา 2 กรณี หรือโทษที่หนักกว่าจุกคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้ จำคุกหรือให้รับโทษหนักกว่าจ าคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุ โทษ คำว่า “โทษจำคุก” ตีความโดยเคร่งครัดต้องเป็นโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลเท่านั้น และเป็น คำ พิพากษาถึงที่สุด โดยไม่มีการรอการลงโทษ คือต้องจำคุกจริง ๆ เว้นแต่โทษจำคุกที่เกิดจากการกระทำโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษที่บัญญัติไว้ในภาค 3 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 367-398 ส่วนโทษที่หนัก กวา่ โทษจำคกุ คอื โทษประหารชีวติ ตามมาตรา 18 แหง่ อนมุ าตรา (1) ประมวลกฎหมายอาญา 3.2 บทบญั ญัตใิ นวรรคสาม เป็นความผดิ วนิ ัยอยา่ งรา้ ยแรงในความผดิ เสพยาเสพตดิ หรือสนบั สนุน ให้ผู้อื่นเสพยาเสพติด อะไรคือยาเสพติด ก็ต้องพิจาณาตามกฎหมายยาเสพติด ส่วนการเสพก็มีหลายวิธี เช่น สูบ สูดไอ ระเหย ใช้แผ่นแปะตามผิวหนัง เป็นต้น หากข้อเท็จจริงพบว่าเป็นผู้ค้าขายยาเสพติดก็อาจเป็นความผิด สนับสนุนให้ผู้อื่นเสพยาเสพติด หรือเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง การเล่นการพนัน การพนันก็ต้องนิยาม ตามกฎหมายการพนัน ซึ่งการพนันมีหลายประเภท การกระทำบางอย่างในทางสังคมถือเป็น การพนัน เช่น ล็อตเตอรี่ ไม่ถือเป็นการพนันตามกฎหมายนี้คำว่า “เล่นการพนันเป็น “อาจิณ” มีความหมายว่า เป็นปกติ ติด เป็นนิสัยเสมอ ๆ เนือง ๆ คำว่า “ล่วงละเมิดทางเพศ” หมายถึง การกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย โดยมี เจตนาเพื่อสนองความใคร่ ของตนหรือผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนเสียหายไม่ว่าเป็นการกระทำที่มี กฎหมายกำหนดไว้ว่าเป็นผิดทาง อาญา เช่น การข่มขืน กระทำชำเรา การอนาจาร การสนองความใคร่ของ ผู้อ่ืน หรือมิได้มีกฎหมายกำหนดไว้ก็ตาม ไม่ว่ากระทำต่อเพศเดียวกันหรือต่างเพศไม่ว่าเป็นการกระทำทางกาย หรือทางวาจา หรือการบีบคั้นทางจิตใจ และ ไม่ว่าผู้ถูกกระทำยินยอมหรือไม่ก็ตาม ส่วนการกระทำใดจะเป็น การล่วงละเมิดทางเพศหรือไม่จะตอ้ งพิจารณาจาก พฤตกิ ารณข์ องการกระทำเป็นกรณีไป คำว่า “ผูเ้ รียน” หมายถึง ผู้เข้ารับการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและ/หรือการศึกษาตามอัธยาศัย ในทุกระดับการศึกษา ทั้งท่ี จัดการศึกษาโดยรัฐหรือเอกชน หรือองค์กร หรือสถาบันอื่นใด หรือโดยครอบครัว ดังนั้นผู้เรียนจึงมีความหมาย รวมถงึ นักเรยี นและนักศกึ ษาดว้ ย คำวา่ “นักศึกษา” หมายถึง ผ้มู คี วามรสู้ อบไล่ได้ไมต่ ่ำกวา่ มัธยมศกึ ษาตอนปลายตามหลักสูตร กระทรวงศกึ ษาธกิ าร ซ่ึงเข้ารับการศึกษาในสถาบนั อดุ มศึกษา มาตรรา 95 “ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย ป้องกันมิให้ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผดิ วินยั และดำเนินการทางวนิ ัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึง่ มีกรณีอันมีมูลที่ควร กล่าวหา ว่ากระทำผิดวินัย การเสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย ให้กระทำโดยการปฏิบัติตน เป็นแบบอย่างที่ดีการ ฝึกอบรม การสร้างขวัญและกำลังใจ การจูงใจ หรือการอื่นใดในอันที่จะเสริมสร้างและ พัฒนาเจตคติจิตสำนึก และพฤติกรรมของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปในทางที่มีวินัย การป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้ บังคับบัญชากระทำผิดวนิ ยั ใหก้ ระทำโดยการเอาใจใส่ สงั เกตการณ์ และขจดั เหตทุ ี่ อาจกอ่ ใหเ้ กดิ การกระทำผิดวินัย ในเรื่องอันอยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการป้องกันตามควรแก่กรณีได้เมื่อปรากฏกรณีที่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่า

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยทันทีเมื่อมีการกล่าวหาโดยปรากฏตัวผู้กล่าวหา หรือกรณีเป็นที่สงสัยว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา ผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยยังไม่มีพยานหลักฐาน ให้ผู้บังคับบัญชารีบ ดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาใน เบื้องต้นว่า กรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ถ้าเห็นว่า กรณไี ม่มีมลู ทค่ี วรกลา่ วหาวา่ กระทำ ผิดวนิ ัย จึงจะยตุ เิ รื่องได้ ถ้าเหน็ ว่ากรณมี ลู ท่ีควรกล่าวหาว่ากระทำผดิ วนิ ยั กใ็ ห้ ดำเนินการทางวินัยทันทีการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่า กระทำ ผิดวินัย ให้ดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 7 ผู้บังคับบัญชาผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา นี้ และตามหมวด 7 หรือมีพฤติกรรมปกป้อง ช่วยเหลือ เพื่อมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาถูกลงโทษทางวินัย หรือ ปฏบิ ตั หิ น้าท่ีดังกล่าวโดยไมส่ จุ รติ ให้ถอื วา่ ผนู้ ้นั กระทำผิดวินยั ” ผลจากการกระทำความผดิ วนิ ยั บทบัญญตั มิ าตรา 96 “ข้าราชการครแู ละบุคลากรทางการศึกษา ผฝู้ ่าฝืนขอ้ หา้ มหรือไม่ปฏบิ ตั ิตามข้อ ปฏิบัติทางวนิ ยั ตามทบ่ี ัญญตั ไิ วใ้ นหมวดน้ี ผ้นู ั้นเปน็ ผู้กระทำผิดวินยั จักต้องไดร้ บั โทษทางวนิ ัย เว้นแตม่ เี หตอุ นั ควร งดโทษตามที่บญั ญตั ไิ วใ้ นหมวด 7 โทษทางวนิ ยั มี 5 สถาน คอื (1) ภาคทัณฑ์ (2) ตัดเงนิ เดือน (3) ลดขั้นเงินเดอื น (4) ปลดออก (5) ไล่ออก ผใู้ ดถูกลงโทษปลดออกให้ผนู้ ้ันมีสิทธไิ ดร้ ับบ าเหน็จบ านาญเสมอื นว่า เป็นผู้ลาออกจากราชการ” สถานโทษทางวนิ ยั จะเรียงจากลำดบั โทษเบาไปหาโทษหนักไม่เหมือนกับโทษทางอาญาในประมวล กฎหมาย อาญามาตรา 18 ทล่ี ำดับจากโทษหนกั ลงไปหาโทษเบา สถานโทษทางวินัยมผี ลท้งั ต่อสทิ ธเิ กี่ยวกบั เงนิ เดอื น และฐานะของข้าราชการครแู ละบุคลากรทางการศกึ ษา การสืบสวนข้อเท็จจริง วิธีการและเทคนิคการสบื สวน วิธกี ารสืบสวน ไมม่ กี ฎหมาย หรอื ระเบยี บใดกำหนดวิธกี าร หรอื แนวทางปฏบิ ตั ิไวโ้ ดยตรง ดงั นน้ั การ สบื สวนจะดำเนนิ การดว้ ยวธิ ีการใดก็ได้ ท้ังนี้ขึน้ อยู่กับเรือ่ งและความ เหมาะสมวา่ จะแสวงหาข้อเท็จจริงได้อยา่ งไร โดยอาจแบ่งได้ 2 วธิ ีการใหญ่ ๆ คอื 1. การสบื สวนในทางลับ ไดแ้ ก่ การดำเนินการโดยมใิ ห้ผู้กระทำผิดหรอื ผ้ตู ้องสงสยั รู้ตัวเก่ียวกบั เร่อื งที่ ถูก สืบสวน กรณที ่ีไม่มีข้อมลู ใด ๆ หรอื ยังไม่มีพยานหลักฐานปรากฏชดั เพราะอาจเป็นการรอ้ งเรยี นกลั่นแกลง้ กนั เชน่ รอ้ งเรียนวา่ ครูมีความสัมพันธท์ างชู้สาว ถา้ หากแต่งตั้งคณะกรรมการสบื สวนอาจเปน็ เร่ืองเสียหายต่อ ช่อื เสียง กำลังใจของผ้ถู ูกร้องเรยี น

2. การสืบสวนเป็นทางการ ได้แก่ การสืบสวนโดยแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงเป็นทางการ ผู้ถูกร้องเรียนหรือผู้ถูกสงสัยมีโอกาสได้ทราบข้อกล่าวหา หรือทราบเรื่อง หรือทราบถึงประเด็นถูกกล่าวหา กระบวนการสืบสวนอาจจะให้ผู้ถูกร้องเรียนชี้แจงข้อเท็จจริง เป็นต้น ใช้ในกรณีที่ปรากฏมีผู้ร้องเรียนและมี หลักฐาน พอเชื่อได้ว่ามีมูลความจริง เช่น มีการร้องเรียนว่าเบิกถอนเงินค่าใช้จ่ายรายหัวของนักเรียนไปจาก ธนาคารเพื่อซื้อรถยนต์ส่วนตัวมิได้ใช้เพื่อการเรียนการสอน โดยปรากฏหลักฐานทางการเงินและการพัสดุว่าไม่ ถูกต้อง เป็นต้น ก็จะต้องมีการสืบสวนเป็นทางการต่อไป การสอบปากคำและบันทึกถ้อยคำพยาน ต้องคำนึงถึง สถานที่เหมาะสม เช่น เป็นสถานที่ที่คนไม่พลุกพล่าน เงียบพอที่จะมีสมาธิ ไม่มีคนอื่นอยู่เพราะพยานอาจไม่ กล้าให้ถ้อยคำต่อหน้าคนบางคน หรือให้ถ้อยคำที่จะเอาใจคน บางคน การเลือกสถานที่อาจเลือกห้อง ผู้อำนวยการโรงเรียน ห้องสมุด เป็นต้น การจัดลำดับพยานบุคคล การ เตรียมการล่วงหน้า สร้างบรรยากาศ เป็นกันเองเพื่อสร้างความไว้วางใจ คุมประเด็นสอบถามได้ตรงประเด็นอาจจะ ถามนอกประเด็นบ้างแต่ในที่สุด ต้องเป็นสิ่งที่ต้องการในประเด็น ถ้าไปสืบสวนหลายคน คนหนึ่งเป็นคนถามคนหนึ่ง กำหนดถ้อยคำที่ต้องจด และคนจดถ้อยคำ ถ้าพบว่าเป็นพยานขัดกันต้องซักให้ละเอียด อย่าพยายามถามนำ คำถามนำ คือ คำถามท่ี ตอ้ งการคำตอบจากผถู้ ูกถามว่าใช่ หรือไมใ่ ช่เท่านั้น และใช้คำถามทีเ่ ขา้ ใจง่าย ๆ ลกั ษณะของพยานท่ผี สู้ ืบสวนต้อง คำนึงให้มาก คือ พยานที่ไม่รูเ้ ห็นเหตุการณ์ แต่พยายามที่จะบอกว่า รู้เห็น พยานประเภทแคน้ เคือง พยานขี้เหล้า พยานช่างพูด พยานเท็จเหล่านี้ต้องสังเกตให้ดี ซักถามให้ละเอียด กลับไป กลับมา ถ้าเป็นพยานเท็จจะพูดเรื่อง เดยี วกนั ไม่เหมอื นกนั เป็นตน้ การถามเพ่อื เอาความจริงจากผถู้ ูก กลา่ วหาไม่ต้องม่งุ หวงั วา่ จะไดค้ วามจรงิ เพราะมี กระบวนการทจ่ี ะพสิ จู นค์ วามจรงิ ในการสอบสวนอยแู่ ลว้ เพราะบางครัง้ อาจไม่ใชผ่ ถู้ กู กล่าวหากไ็ ด้ เขาอาจถูกใส่ ร้ายต้องทำใจให้เป็นกลาง ต้องพยายามหาพยานอื่น ประกอบ การบันทึกถ้อยคำ ต้องใช้ภาษาง่าย ๆ หากเป็นภาษาถ่นิ ตอ้ งบนั ทึกแปลความหมายทเ่ี ป็นภาษากลาง ไวด้ ้วยเพราะผูพ้ จิ ารณาอาจแปลความหมาย ผิดเพี้ยน อ่านทบทวนคำให้การที่บันทึกให้ผู้ให้ถ้อยคำฟัง ว่า ถูกต้องตามที่ ให้การหรือไม่ เมื่อมีการแก้ไข ตกเติมถ้อยคำพยาน ต้องให้ผู้ให้ถ้อยคำ และผู้บันทึกถ้อยคำลง ลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคำ ไม่ยอมลงลายมือชื่อ ก็ให้กรรมการสืบสวนบันทึกไว้ว่า ผู้ให้ถ้อยคำไม่ ยอมลงลายมือชื่อ ในกรณีการสอบปากคำ ผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็ก(อายุไม่เกนิ 18 ปีในวันที่ใหถ้ ้อยคำ) รวมทั้งผู้มีปัญหาในการสื่อสาร นำกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. 2550 มาใช้โดยอนุโลม การรายงานผลการสืบสวน การรายงานการสืบสวน ตอ้ งนนำขอ้ เทจ็ จรงิ ท่ีไดจ้ ากการแสวงหาพยานหลักฐานต่าง ๆ มาวเิ คราะหเ์ พื่อ พสิ จู นข์ อ้ เทจ็ จริงตามขอ้ กล่าวหา หรือไม่ เมื่อพิจารณาชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานดังกล่าวแล้ว ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูล หรือการกระ ทำ ของผู้ถูกกล่าวหา ไม่เป็นความผิดทางวินัยก็เสนอให้ยุติเรื่อง หากมีมูล เป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง หรอื มมี ลู เปน็ ความผดิ วนิ ัยอย่างร้ายแรง ก็เสนอผสู้ งั่ แตง่ ต้ังกรรมการสบื สวน พจิ ารณาดำเนนิ การต่อไป

การพิจารณาความผิดและกำหนดโทษ การพิจารณาความผิดและกำหนดโทษ หมายถึง การพิจารณาวินิจฉัยว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิด วินัยหรือไม่ หากกระทำผิดเป็นความผิดกรณีใด ตามมาตราใด และควรจะลงโทษในสถานใดหรือไม่ การพิจารณาความผิด และกำหนดโทษ เป็นกระบวนการที่จะต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมาย กำหนด และจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ทราบข้อเท็จจริงของเรื่องที่กล่าวหาโดยกระจ่างชัดเพียงพอที่จะพิจารณา วินิจฉัยความผิด และกำหนดโทษได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสอบสวน เว้นแต่กรณีที่เป็น ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ตามที่กฎ ก.ค.ศ. กำหนดข้อเท็จจริงอาจได้จากการสืบสวนหรือจากการรวบรวม ข้อเท็จจรงิ แล้วแต่กรณีผูม้ ีอำนาจพิจารณาความผดิ และกำหนดโทษ ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาความผิด และ กำหนดโทษ ได้แก่ 1. ผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือผู้อำนวยการสำนักงานเขตพืน้ ที่การศกึ ษา หรือเลขาธิการ คณะกรรมการ การศึกษาขน้ั พนื้ ฐาน 2. กศจ. 3. ก.ค.ศ. กรณคี วามผิดวนิ ยั ไม่ร้ายแรง ผูม้ ีอำนาจพิจารณาความผดิ และกำหนดโทษ ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจส่ังลงโทษตามกฎ ก.ค.ศ. ว่าดว้ ยอำนาจการลงโทษ ภาคทัณฑ์ ตัดเงนิ เดอื น หรอื ลด ข้นั เงินเดือน พ.ศ. 2549 ซ่ึงกำหนดไว้ดงั น้ี 1. ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรอื ตำแหน่งท่ีเรียกช่อื อยา่ งอ่นื ที่มฐี านะเทียบเทา่ มีอำนาจสง่ั ลงโทษ ภาคทัณฑ์ หรือตัดเงนิ เดือนครง้ั หนึ่งไม่เกิน 5% ของอัตราเงินเดือนและเป็นเวลาไม่เกนิ 1 เดือน 2. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพืน้ ทก่ี ารศกึ ษา หรือตำแหนง่ ทเี่ รยี กช่อื อย่างอื่นท่ีมีฐานะเทียบเท่า มอี ำนาจ ส่ังลงโทษภาคทณั ฑ์ ตัดเงินเดือนครั้งหนงึ่ ไม่เกนิ 5% ของอตั ราเงินเดือน และเปน็ เวลาไมเ่ กิน 2 เดือน หรือ ลดขั้นเงินเดือนคร้ังหนึ่งไมเ่ กิน 1 ขน้ั 3. นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหนา้ รัฐบาล รฐั มนตรีเจา้ สังกัด ปลัดกระทรวง เลขาธิการ อธบิ ดี อธิการบดหี รือผู้ดำรงตำแหน่งเทยี บเทา่ มีอำนาจลงโทษภาคทณั ฑ์ ตดั เงินเดือนครง้ั หน่ึงไมเ่ กิน 5% ของอตั รา เงินเดอื น และ เป็นเวลาไมเ่ กิน 3 เดือน หรือลดข้นั เงนิ เดอื นครั้งหน่งึ ไม่เกิน 1 ขัน้ กรณีความผิดวินยั อย่างรา้ ยแรง ผูม้ ีอำนาจพจิ ารณาความผิดและกำหนดโทษ ได้แก่ 1. ก.ค.ศ. สำหรบั ตำแหนง่ ผู้อำนวยการสำนกั งานเขตพืน้ ที่การศกึ ษา อธิการบดี ศาสตราจารย์ ตำแหนง่ ซงึ่ มีวิทยฐานะเช่ยี วชาญพิเศษ และผ้ซู งึ่ กระทำผิดวินยั อย่างร้ายแรงร่วมกนั กบั ผู้ดำรงตำแหน่ง ดงั กล่าว 2. กศจ. สำหรับตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศกึ ษาทุกตำแหนง่ ยกเวน้ ตำแหน่งตามข้อ 1 หลกั การพิจารณาความผดิ การพจิ ารณาความผดิ มหี ลักในการพิจารณา ดงั นี้ 1. หลกั นติ ิธรรม ไดแ้ ก่ การพจิ ารณาโดยยดึ กฎหมายเป็นหลกั การกรทำใดจะเป็นความผิดทางวนิ ยั ตอ้ งมีกฎหมายบญั ญตั วิ า่ การกระทำนั้นเปน็ ความผดิ ถ้าไมม่ ีกฎหมายบัญญตั วิ ่าการกระทำเชน่ น้ันเป็นความผิด

ทางวนิ ยั กไ็ ม่สามารถลงโทษเพราะเหตุอนั เน่ืองมาจากการกระทำนั้นได้ ในการพิจารณาว่าการกระทำใดเปน็ ความผิด วนิ ยั กรณใี ดจะต้องเข้าองคป์ ระกอบของการกระทำความผิดกรณนี นั้ ด้วย 1.1 หลกั นติ ิธรรม คอื การคำนงึ ถึงระดับโทษตามที่กฎหมายกำหนด กรณคี วามผดิ วินัยอยา่ งรา้ ยแรง จะต้องพิจารณาลงโทษ ปลดออก หรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่ง กรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อน อาจ ลดหย่อนโทษได้แต่ต้องไม่ต่ ากว่าปลดออก กรณีความผิดวินัยไม่ร้ายแรง จะต้องพิจารณาโทษภาคทัณฑ์ตัด เงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อน จะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้กรณี ความผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษโดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือ หรือว่า กล่าวตักเตือน ก็ได้ในการลดหย่อนโทษ ผู้บังคับบัญชาต้องวางโทษก่อนว่าควรลงโทษสถานใด แต่มีเหตุอันควรลดหย่อน โทษ อย่างไร จึงให้ลงโทษสถานใด หรือให้ลดหย่อนเป็นสถานใด เหตุลดหย่อนโทษ ได้แก่ เป็นความผิดครั้งแรก ไมเ่ กดิ ความเสียหาย บรรเทาความเสียหาย ร้เู ท่าไมถ่ งึ การณ์ คุณความดี เป็นต้น ทง้ั นี้ กรณีทุจรติ ต่อหนา้ ที่ราชการ ซง่ึ มติคณะรัฐมนตรใี หไ้ ลอ่ อกจาก ราชการ เท่านนั้ การนำเงินทท่ี จุ รติ ไปแล้วมาคืนกไ็ มเ่ ป็นเหตลุ ดหยอ่ นโทษ 2. หลักมโนธรรม ไดแ้ ก่ การพิจารณาใหเ้ ปน็ ไปโดยถูกต้องเท่ยี งธรรมตามความเปน็ จริง ตามเหตแุ ละ ผล ทคี่ วรจะเป็น หมายถึง การพิจารณาความผิดไม่ควรคำนึงถงึ แต่ความถูกผิดตามกฎหมายเท่านัน้ แต่ควร คำนึงถึง ความยตุ ธิ รรมด้วย “ความยตุ ธิ รรม” ได้แก่ เร่ืองท่ีบคุ คลในสังคมซ่งึ เปน็ บุคคลท่ีมเี หตผุ ล มีความรูส้ กึ ผิดชอบเชือ่ มนั่ ว่าเปน็ เรื่องท่ีชอบธรรม หลักการพิจารณาการกำหนดโทษ การพจิ ารณากำหนดโทษมีหลักท่ี ควร คำนงึ ถึง ดังนี้ 2.1 หลกั มโนธรรม คอื การพิจารณากำหนดโทษใหเ้ หมาะสมตามควรแก่กรณี เช่น ความผดิ อยา่ ง ร้ายแรง ก็ตอ้ งกำหนดโทษอย่างรา้ ยแรง ความผดิ ไม่ร้ายแรงกต็ ้องกำหนดโทษไมร่ ้ายแรง ใหเ้ หมาะสมกับกรณี ความผดิ 3. หลกั ความเป็นธรรม คือ ต้องพิจารณากำหนดโทษโดยเสมอหนา้ กนั ใครทำผดิ ก็ต้องถูกลงโทษ ไม่มี การยกเวน้ ไมเ่ ลือกที่รักมักท่ีชงั กระทำผดิ อย่างเดียวกันควรตอ้ งลงโทษเทา่ กัน อยา่ งไรก็ดแี มจ้ ะเป็นความผิด อย่าง เดยี วกนั แตพ่ ฤติการณแ์ หง่ การกระทำหรือเหตุผลซง่ึ อาจใช้ดุลยพนิ ิจวางโทษหนกั เบาแตกต่างกนั ตามควร แกก่ รณีโดยนำเหตผุ ลบางประการมาประกอบการพิจารณา เช่น – ลกั ษณะของการกระทำผิด - ผลแหง่ การ กระทำผดิ - คุณความดี– การรหู้ รอื ไม่ร้วู า่ การกระทำนนั้ เป็นความผดิ - การให้โอกาสแก้ไขความประพฤติ– เหตุเบื้องหลงั การกระทำผดิ – สภาพของผกู้ ระทำผิด 4. นโยบายของทางราชการ ผู้บังคับบัญชาควรจะได้รับทราบนโยบายของทางราชการในการลงโทษ ข้าราชการที่กระทำผิดวินัยกรณีต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นหลักในการใช้ดุลยพินิจกำหนดระดับโทษให้ได้มาตรฐานท่ี ทาง ราชการกำหนดไว้ นโยบายของทางราชการนั้นอาจมีปรากฏอยู่ในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา มติคณะรัฐมนตรี มติ ก.พ. มติ ก.ค. หรือ มติ ก.ค.ศ. เช่น นโยบายด้านยาเสพติด การทุจริตคอรัปชั่น ละเมิด สิทธิเด็ก การล่วงละเมิดทางเพศ ทุจริตการสอบ เป็นต้น การลงโทษ การลงโทษ เป็นมาตรการหนึ่งในการ

รักษาวินยั นอกเหนือจาการสง่ เสรมิ ใหข้ า้ ราชการมีวินยั โดยมวี ัตถุประสงคเ์ พอ่ื เปน็ การป้องปรามมิให้มีการ กระทำ ผดิ วนิ ยั และเพือ่ ประสิทธิภาพในการปฏบิ ัติราชการ การลงโทษ ทางวินัยมีผลดีในแงเ่ ป็นการปรามไว้ ไม่ให้ผู้อื่นกล้ากระทำผิด เพราะกลัวถูกลงโทษแม้วว่าการลงโทษจะเป็น มาตรการที่พึงใช้เป็นลำดับสุดท้ายใน การรักษาวินัยก็ตาม แต่ก็เป็นมาตรการที่สำคัญและจ าเป็น ทั้งนี้ การลงโทษ ทางวินัยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ เป็นการตอบโต้หรือแก้แค้นผู้กระทำผิดวินัย ดังจะเห็นได้จากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและ บคุ ลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 97 บญั ญัติวา่ “การลงโทษข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาให้ ทำเป็นคำสั่ง วิธีการออกคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษให้เป็นไปตามระเบียบ ของ ก.ค.ศ. ดำ ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดและมิให้เป็นไปโดยพยาบาท โดยอคติ หรือโดย โทสจริต หรือ ลงโทษผู้ท่ไี มม่ ีความผิด ในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผถู้ ูกลงโทษกระทำผิดวนิ ยั ในกรณใี ด ตาม มาตราใด และมเี หตุผล อย่างใดในการกำหนดสถานโทษเช่นนั้น” จุดมุ่งหมายในการลงโทษทางวินัย การดำเนินการลงโทษทางวินัย ขา้ ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามจี ุดมงุ่ หมายท่ีสำคญั ดงั นี้ 1. เพือ่ รักษาความศกั ด์ิสิทธขิ องกฎหมายหรือระเบยี บแบบแผนของทางราชการ 2. เพื่อรักษามาตรฐานความประพฤติ ขวัญกำลงั ใจ และสมรรถภาพของข้าราชการ 3. เพ่อื จงู ใจใหข้ า้ ราชการปรับปรงุ ตนเองให้ดีขึน้ 4. เพื่อรักษาชื่อเสียงของทางราชการและความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อทางราชการ ผู้มีอำนาจสั่ง ลงโทษ ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษต้องเป็นผูบ้ ังคับบญั ชาตามกฎหมาย หมายถึง มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็น ผู้บังคับบัญชา ไดแ้ ก่ ผู้อำนวยการสำนกั งานเขตพื้นทกี่ ารศกึ ษา (มาตรา ๒๔) ผู้อำนวยการสถานศึกษา (มาตรา ๒๗) และมีอำนาจ สั่งลงโทษตามกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วนอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลด ขั้นเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๔๙ การสั่งลงโทษวนิ ยั อย่างร้ายแรง หรอื การสง่ั ลงโทษตามมติ กศจ. หรือ ก.ค.ศ. ผู้มี อำนาจส้ังลงโทษตามมติแล้วกรณี คือ ในกรณีที่ กศจ. หรือ ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วมีมติกำหนดโทษประการ ใด แม้ว่าโทษดังกล่าวจะเกินกว่าอำนาจ ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 53 หรือผู้สั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวนตามท่ีกำหนดไว้ในกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลด ขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2549 ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและ แต่งตั้งตามมาตรา 53 หรือผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน แล้วแต่กรณี ก็สามารถสั่งลงโทษได้ข้อควร คำนึงในการสั่งลงโทษ การลงโทษข้าราชการที่กระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาจะต้องคำนึงถึงขั้นตอนในการ ดำเนินการก่อนการสั่ง ลงโทษ และอำนาจในการสั่งลงโทษตามที่ กฎหมายกำหนดไว้ ไม่กระทำการนอกเหนือ อำนาจของตน การสั่งลงโทษ ที่มิได้กระทำตามขั้นตอนตามที่ กฎหมายกำหนดเป็นการสั่งลงโทษที่ไม่ถูกต้อง ตอ้ งเพกิ ถอนคำสงั่ ลงโทษเสยี ก่อน และดำเนนิ การใหมใ่ ห้ ถูกต้อง เชน่ 1. การสัง่ ลงโทษเกนิ อำนาจในกรณที ี่กฎ ก.ค.ศ. ว่าดว้ ยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตดั เงินเดือน หรือ ลดขน้ั เงนิ เดอื น พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้อำนาจผู้อำนวยการสถานศึกษาสงั่ ลงโทษภาคทณั ฑ์หรือตัดเงินเดอื น 5% ของ อัตราเงินเดือนเป็นเวลาไม่เกิน 1 เดอื น ถ้าสง่ั ลงโทษเกนิ อำนาจทกี่ ฎหมายกำหนดไว้ ย่อมเปน็ คำสั่งทีไม่ชอบ ด้วย กฎหมาย เวน้ แตก่ ารลงโทษตามมติ กศจ. หรอื ก.ค.ศ.

2. ต้องเป็นโทษที่กฎหมายกำหนด หมายถึง โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดต้องเป็นโทษที่กำหนดไว้ และไม่เกินอัตราโทษตามที่กฎหมายกำหนด ไม่เกินกฎหมายกำหนด เช่น โทษตัดเงินเดือนกฎหมายกำหนดไว้ ใหต้ ดั เงินเดือนครง้ั หนึง่ ไมเ่ กนิ 5% ของอัตราเงินเดือนเป็นเวลาสูงสุดไม่เกนิ 3 เดือน ตามอำนาจของบงั คับ บัญชา แต่ละระดับ หรือลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งได้ไม่เกิน 1 ขั้น ไม่อาจลงโทษนอกเหนือกว่าที่กฎหมาย กำหนด หรือเกิน กว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดได้ เช่น ลงโทษตัดเงินเดือน 10% ของอัตราเงินเดือน หรือ ลดขั้นเงินเดือน 2 ขั้น เพราะกฎหมายมิได้กำหนดอัตราโทษดังกล่าวไว้ในกรณีที่เป็นการสั่งตามมติ กศจ. ก็ เช่นเดียวกัน แม้จะเป็นมติของ กศจ. ก็ต้องเป็นโทษและอัตราโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ไม่อาจมีมติ นอกเหนือไปจากที่กฎหมายกำหนด ไว้ได้ มิฉะนั้นจะเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคำสั่งที่สั่งตามมตินั้น ก็ ไมช่ อบด้วยกฎหมาย 3. ผูส้ งั่ ลงโทษมใิ ช่ผู้บังคบั บญั ชา ในการปฏิบัติงานอาจมีข้าราชการจากหลายหน่วยงานมาทำงาน รว่ มกนั เชน่ ข้าราชการครูโรงเรยี น ก. ไปชว่ ยปฏิบตั ิราชการโรงเรยี น ข. ผูบ้ รหิ ารโรงเรียน ข. มิใช่ ผบู้ ังคบั บญั ชาของ ข้าราชการทไ่ี ปช่วยราชการ จึงไม่มีอำนาจส่งั ลงโทษ มีเพยี งอำนาจการบังคับบัญชาเท่านัน้ 4. การส่ังลงโทษโดยไม่ไดต้ ัง้ กรรมการสอบสวน เวน้ แตเ่ ปน็ กรณคี วามผิดทีป่ รากฏชดั แจ้งตามกฎ ก.ค.ศ. หรือมิได้นำเสนอองค์คณะพิจารณา ในกรณที ่ีคณะกรรมการสอบสวนหรือผสู้ งั่ แต่งตัง้ คณะกรรมการ สอบสวนเห็นว่า เป็นความผิดวินัยร้ายแรง 5. การส่งั ลงโทษต้องไมย่ ้อนหลงั เวน้ แต่กรณที ่มี ีการพักราชการ หรือให้ออกจากราชการไว้กอ่ น หรือ เปน็ กรณที ใ่ี ห้ย้อนไดต้ ามระเบยี บ ก.ค.ศ. วา่ ดว้ ยวธิ กี ารออกคำส่งั เกย่ี วกบั ออกคำสง่ั ลงโทษทางวนิ ยั ข้าราชการ ครูและ บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2548 6. สภาพการเป็นขา้ ราชการ การส่งั ลงโทษจะมีผลใช้บงั คบั ไดแ้ ต่เม่ือผู้นั้นยังมีสภาพเป็นข้าราชการอยู่ แต่ สำหรับกรณีที่มีการกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูก ฟ้อง คดีอาญาอยู่ก่อนที่ผู้นั้นจะออกจากราชการ แม้ผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้วมาตรา 102 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ก็ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทาง วินัยแก่ผู้นั้นต่อไปได้เว้นแต่จะเป็นการออกจากราชการเพราะตาย ถ้าผลการสอบสวนปรากฏข้อเท็จจริงว่า เป็นความผิดวินัยอย่าง ร้ายแรง ผู้บังคับบัญชายังมีอำนาจสั่งลงโทษปลดออก ไล่ออกย้อนหลังได้ เว้นแต่ปรากฏ ข้อเท็จจริงว่าเป็นความผิด วินัยไม่ร้ายแรงเมื่อผู้นั้นออกจากราชการไปแล้ว กฎหมายให้งดโทษเสียได้ สำหรับ ในกรณีที่ผู้นั้นตายในระหว่างการ สอบสวนต้องงดการสอบสวนพร้อมรายงานผู้บังคับบัญชาหรือผู้มี อำนาจสั่ง แต่งตัง้ คณะกรรมการสอบสวนเพือ่ พิจารณายุติเร่ือง