Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รามเกียรติ์ 2

รามเกียรติ์ 2

Published by Ciraphanakhamul, 2022-11-16 05:57:28

Description: สื่อการเรียนการสอนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก

Search

Read the Text Version

รามเกียรติ์ ตอน น า ร า ย ณ์ ป ร า บ น น ท ด จัดทำโดย นายธีรพงษ์ เกษี เลขที่7 นางสาวจิราภา นาคำมูล เลขที่18 นางสาวนิตยา พลทัน เลขที่27 นางสาวนิภาพร ขำปิ่ น เลขที่28

ประวัติความเป็นมาของบท ละครเรื่องรามเกียรติ์ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่สำคัญและมี อิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนไทยมาอย่าง ยาวนาน น้อง ๆ หลายคนก็คงจะรู้จักและเคยเห็นผ่าน ตากันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ แต่ทราบไหมคะว่า วรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาอย่างไร และทำไมถึงมาเป็นบท ละคร มีความสำคัญอย่างไรจึงมาอยู่ในบทเรียนวิชา ภาษาไทย รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลและมี เค้าโครงเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวา ลมีกิ ชาวอินเดียเป็นคนแต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต แม้จะไม่ปรากฏปีที่วรรณคดีเรื่องดังกล่าวเข้ามา เผยแผ่ในไทยอย่างแน่ชัด แต่ด้วยจากหลักฐาน ท า ง ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ก็ ทำ ใ ห้ นั ก วิ ช า ก า ร ค า ด ก า ร ณ์ ว่ า เป็นช่วงสมัยอยุธยา และในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินได้ทรงประพันธ์เพื่อให้ละครหลวง เล่น ก่อนที่ต่อมาสมเด็จพระพุ ทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ได้พระราชนิพนธ์รามเกียรติ์เพื่อ รวบรวมให้สมบูรณ์

ประวัติผู้ประพันธ์ รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟู วรรณคดีของไทยขึ้นมา ใหม่ ผลงานที่พระองค์ได้พระราชนิพนธ์ได้แก่ บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ดาหลัง อิเหนา อุณรุธ นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดน กฎหมายตราสามดวง นิราศอิหร่านราชธรรม และการชำระ พระราชพงศาวดาร (ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ) จุดประสงค์ในการแต่งบทละคร เรื่องรามเกียรติ์ สมเด็จพระพุ ทธยอดฟ้าจุฬา โลกมหาราช ทรงเกรงว่า ว ร ร ณ ค ดี อั น ท ร ง คุ ณ ค่ า นี้ จ ะ หายไป เพราะรามเกียรติ์เป็น วรรณคดีที่แทรกข้อคิด มากมาย นอกจากนี้ยังใช้บท ประพันธ์เพื่อเล่นโขนอีกด้วย

ลักษณะคำประพันธ์ ลักษณะคำประพันธ์ของบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ คือ กลอนบทละคร มีลักษณะ บังคับเหมือนกลอนสุภาพ แต่วรรคแรกมักขึ้น ด้วย เมื่อนั้น บัดนั้น มาจะกล่าวบทไป เป็นต้น จำนวนคำไม่กำหนดตายตัว คำขึ้นต้นบทประพันธ์ เมื่อนั้น ใช่กับตัวละครสำคัญหรือ ตัวเอกในตอนนั้น บัดนั้น ใช้กับตัวละครที่ไม่ใช่ตัวเจ้าเเต่ เป็นยักษ์หรือทหาร มาจะกล่าวบทไป เล่าเรื่องใหม่

เรื่องย่อบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก มีเนื้อหากล่าวถึงอดีต ชาติของพระรามและทศกัณฐ์ โดยที่ทศกัณฐ์เคยเกิดเป็นยักษ์ชั้นต่ำหรือยักษ์ ที่มีบุญน้อยชื่อ นนทก ทำหน้าที่ล้างเท้าให้เหล่าเทวดาที่มาเข้าเฝ้าพระอิศวร อยู่ที่เขาไกรลาสแต่เพราะรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดจึงถูกเหล่าเทวดากลั่นแกล้ง นนทกจึงไปเข้าเฝ้าพระอิศวรแล้วกราบทูลว่าตนเป็นยักษ์ที่ทำหน้าที่รับใช้มา นานแต่ไม่เคยได้อะไรตอบแทนเลย พระอิศวรจึงประทานนิ้วเพชร ที่เมื่อชี้ใคร ไปก็จะทำให้คนนั้นตาย เมื่อนนทกได้รับพลังนั้น แทนที่จะใช้ปกป้องตัวเอง กลับเอาไปไล่ฆ่าเทวดาจนล้มตายกันจำนวนมาก พระอิศวรจึงให้พระ นารายณ์ไปปราบนนทก ก่อนตาย นนทกตัดพ้อว่าตนถูกเอาเปรียบเพราะ พระนารายณ์มี มีถึง 4 มือแต่ตนเป็นยักษ์มีแค่ 2 มือ พระนารายณ์จึงท้า ให้นนทกไปเกิดใหม่แล้วมี 20 มือ แล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มี เพียง 2 มือ เพื่อสู้กัน หลังจากที่พระนารายณ์พูดจบก็ตัดศีรษะนนทก ต่อ มานนทกไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ ยักษ์ที่มี 20 มือ ส่วนพระนารายณ์อวตารลง มาเกิดเป็นพระราม

ตัวละครในเรื่อง นนทก เ ป็ น ยั ก ษ์ ที่ ทำ ห น้ า ที่ ล้ า ง เ ท้ า เ ท ว ด า อ ยู่ ที่ เ ชิ ง เ ข า ไ ก ร ล า ส ถู ก พ ว ก เ ท ว ด า แ ก ล้ ง ต บ หั ว บ้ า ง ถ อ น ผ ม บ้ า ง จ น หั ว โ ล้ น น น ท ก มี ค ว า ม แ ค้ น ม า ก จึ ง เ ข้ า เ ฝ้ า พ ร ะ อิ ศ ว ร ทู ล ข อ พ ร ใ ห้ มี นิ้ ว เ ป็ น เ พ ช ร ส า ม า ร ถ ชี้ ใ ห้ ผู้ ใ ด ต า ย ก็ ไ ด้ จ า ก นั้ น น น ทุ ก ก็ ใ ช้ นิ้ ว เ พ ช ร ชี้ ใ ห้ เ ท ว ด า พ ญ า ค รุ ฑ ค น ธ ร ร พ์ ต า ย เ ก ลื่ อ น ก ล า ด พ ร ะ น า ร า ย ณ์ จึ ง ต้ อ ง ไ ป ป ร า บ ก่ อ น ต า ย น น ทุ ก ต่ อ ว่ า พ ร ะ น า ร า ย ณ์ ว่ า ต น เ อ ง มี เ พี ย ง ส อ ง มื อ เ ท่ า นั้ น จ ะ ช น ะ พ ร ะ น า ร า ย ณ์ ที่ มี ถึ ง สี่ ก ร ไ ด้ อ ย่ า ง ไ ร พ ร ะ น า ร า ย ณ์ จึ ง ป ร ะ ท า น พ ร ใ ห้ แ ก่ น น ทุ ก ไ ป เ กิ ด เ ป็ น ยั ก ษ์ มี สิ บ ห น้ า ยี่ สิ บ มื อ แ ล้ ว พ ร ะ อ ง ค์ จ ะ ไ ป เ กิ ด เ ป็ น ม นุ ษ ย์ มี เ พี ย ง ส อ ง มื อ เ พื่ อ ป ร า บ น น ท ก ใ น ช า ติ ใ ห ม่ ใ ห้ ห ม ด สิ้ น ทั้ ง ว ง ศ์ ยั ก ษ์ น น ท ก จึ ง ก ลั บ ช า ติ ม า เ กิ ด เ ป็ น ท ศ กั ณ ฐ์

พระนารายณ์ พระนารายณ์ เป็นเทวดาผู้เป็นใหญ่ฝ่ายปราบปราม มีกายสีดอกตะแบก มี 4 กร ซึ่งกรทั้ง 4 นั้นถืออาวุธต่างๆ กัน คือ คฑา ตรี จักร สังข์ประทับอยู่กลางเกษียรสมุทรบนหลัง พญานาค ชื่อ อนันตนาคราช พระมเหสีของพระองค์คือ พระลักษมี ทรงใช้ครุฑเป็นพาหนะ พระนารายณ์มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น พระทรงครุฑ พระสี่กร พระทรงสังข์ พระวิษณุ พระ ธราธร พระสังขกร เป็นต้น ในเรื่องรามเกียรติ์นั้น หลังจากพระนารายณ์ปราบหิรันตยักษ์แล้ว เมื่อชำระร่างกาย ก็ เกิดมีดอกบัวผุดขึ้นมา และมีกุมารอยู่กลางดอกบัว กุมารนั้นมีชื่อว่า อโนมาตัน ต่อมาได้สร้าง เมืองอยุธยาให้ครอบครอง ซึ่งก็คือราชวงศ์ของพระรามนั่นเอง พระนารายณ์ยังเป็นผู้ปราบยักษ์ตนหนึ่งที่ชื่อ นนทก หรือนนทุก ซึ่งเป็นยักษ์หัวล้าน มีหน้าที่ตักน้ำล้างเท้าแก่เทวดาที่จะขึ้นเฝ้าพระอิศวร เหล่าเทวดาชอบที่จะลูบศีรษะนนทุกเสมอ ทำให้นนทุกน้อยใจ จึงไปเข้าเฝ้าพระอิศวรเพื่อขอพรให้มีนิ้วเพชร สามารถชี้ใครๆ ให้ตายได้ ซึ่งพระอิศวรก็โปรดประทานพร ทำให้นนทุกมีใจกำเริบชี้นิ้วฆ่าเทวดาล้มตายเป็นจำนวนมาก เทวดาจึงได้ขอร้องให้พระนารายณ์ไปปราบนนทุก พระนารายณ์จึงทำอุบายแปลงตนเป็นนาง อัปสร มายั่วให้นนทุกหลงรัก และชวนให้ฟ้อนรำตามตน นนทุกไม่รู้กลอุบายก็หลงรำตาม นางอัปสรรำท่าชี้นิ้วเข้าหาตนเอง นนทุกก็รำตามจึงหมด กำลังล้มลง พระนารายณ์ก็กลับคืนรูปตามเดิม

พระอินทร์ พระอินทร์ คือ เทวดาผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กายสีเขียว มีพระเนตร ถึงพันดวง ใช้วัชระ (สายฟ้า) เป็นอาวุธ มีช้างเอราวัณเป็นพาหนะ พระองค์มี มเหสี ๔ องค์ คือ สุจิตรา สุธรรมา สุนันทา และสุชาดา พระอินทร์เป็นผู้ดูแล ทุกข์สุขของมนุษย์โลก ยามใดที่มีเรื่องเดือดร้อนขึ้นบนโลกมนุษย์ อาสนะของ พระองค์ที่เคยอ่อนนุ่มก็จะแข็งกระด้าง หรือบางครั้งก็ร้อนจนไม่สามารถประทับ อยู่ได้ พระอินทร์มีชื่อเรียกอย่างอื่น เช่น ท้าวสหัสนัยน์ ท้าวโกลีย์ ท้าวสักกะ เทวราช อมรินทร์ ศักรินทร์ มัฆวา เพชรปาณี

พระอิศวร เทวดาผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ มีกายสีขาว แต่พระศอเป็นสีดำเพราะเคยดื่ม ยาพิษ มีพระเนตรถึง ๓ ดวง ดวงที่ ๓ อยู่กลางพระนลาฎ ซึ่งตามปกติจะ หลับอยู่ เนื่องจากพระเนตรดวงที่ ๓ นี้ มีอานุภาพร้ายแรงมาก หากลืมขึ้น เมื่อใดจะเผาผลาญทุกอย่างให้มอดไหม้ได้ พระมเหสีของพระองค์ คือ พระ อุมา มีพระราชโอรสด้วยกัน ๒ พระองค์ คือ พระขันทกุมาร เทพเจ้าแห่ง สงคราม และพระพิฆเณศวร์เทพเจ้าแห่งศิลป พระอิศวร มีนาคเป็นสังวาล มีพระจันทร์เป็นปิ่น อาวุธประจำพระองค์ คือ ตรีศูล (หลาวสามง่าม) พาหนะของพระองค์ คือ โคอุศุภราช พระ อิศวรมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น พระศุลีพระศิวะ พระภูเตศวร พระตรีเนตร พระสยมภู พระมเหศวร ชาวฮินดูนับถือพระอิศวรนี้ว่า เป็นเทพเจ้าสูงสุดใน บรรดาเทพทั้งสาม ได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม โดยถือว่า พระอิศวรเป็นเทพเจ้าแห่งการทำลาย นะ

ประโยชน์จากวรรณคดี สะท้อนค่านิยม และความเชื่อของสังคมไทย โดยมีแก่นเรื่องคือ การผูกใจเจ็บ แค้น ไม่ยอมให้อภัย ย่อมนามาซึ่งความเดือดร้อน สะท้อนสภาพความเป็นจริงของสังคมและมนุษย์ท่ีเต็มไปด้วยรัก โลภ โกรธ หลง ให้ข้อคิด ที่ควรนามาพิจารณาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของคนใน สังคมปัจจุบัน ผู้อ่านได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน และสามารถนาข้อคิดท่ีแฝงไว้ ในบทประพันธ์มา ประยุกต์ใช้ในการดาเนินชีวิตประจาวันได วรรณคดีไม่ใช่เรื่องไกลตัว แม้ตัวละคร/ฉากเป็นเรื่องสมมติ แต่ พฤติกรรมของ ตัวละครคล้ายคลึงกับพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม วรรณคดีมีคุณค่า เป็นเครื่องมือสะท้อนความจริง ทาให้ผู้อ่านได้เรียนรู้ ปัญหาและ แนวทางการแก้ไขปัญหาผ่านวรรณคด


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook