การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จัดทำโดย นางสาวฐิ ติ วรดา ทรพิ ง ค์ เลขที่14 นางสาวรั ตนสุ ดา เอี่ ยมละออ เลขที่18 เสนอ ครูผู้สอน ค รู กายทิ พย์ แจ่มจันท ร์
ก คำนำ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิทยาการสาหรับการอนุรักษ์และการเก็บ รักษาพันธุกรรมพืช ที่มีการ พัฒนาเทคนิคในการขยายพันธุ์แบบใหม่ เพื่อให้ได้ต้นพืชปริมาณมาก ใช้ระยะเวลาอันส้ัน และมีลักษณะทาง พันธุกรรมตรงตามแม่พันธ์ุทุกประการ ซึ่งวิธีนี้จะสามารถเก็บพืชได้เป็น เวลานานโดยไม่มีการกลายพันธ์ุ หรือ อาจใช้ในการเก็บรวบรวมพันธุ์พืช โดยชะลอการเจริญเติบโตให้พืชโตช้าๆ ในขวดแก้วเล็กๆ ซึ่งการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชเช่นนี้จะใช้พ้ืนท่ีน้อยกว่าการเก็บพันธุ์พืชท่ีผลิตเป็นต้นพืช โดยตรง อีกท้ัง ยังเป็นประโยชน์ มหาศาลในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้พืช ต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชได้ดีข้ึน หรือให้ผลผลิตมากข้ึน โดยการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เป็นการนาเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช มาเพาะเลี้ยง ในอาหารวิทยาศาสตร์ที่ ประกอบด้วย แร่ธาตุ น้าตาล วิตามิน และสาร ควบคุมความเจริญเติบโต ภายใต้สภาพปลอดเชื้อจุลินทรีย์และ อยู่ใน สภาวะควบคุมอุณหภูมิ แสง และความช้ืน โดยช้ินส่วนของพืชท่ีนามาเล้ียง น้ีจะสามารถเจริญเติบโตและ พัฒนาได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะพัฒนาเป็น ส่วนอวัยวะหรือเกิดเป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า แคลลัส หรือ คัพภะ (ต้น อ่อนขนาดเล็ก) ที่เรียกว่า เอ็มบริโอ ซึ่งสามารถชักนาส่วนต่างๆ เจริญไป เป็นต้นพืชที่มีรากที่สมบูรณ์ สาหรับการนาไปปลูกลงดินต่อไปได้
สารบัญ ข เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข บรรณานุกรม ค ความหมายของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 1 ความเป็นมาของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 2 ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 3 อุปกรณ์ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 5 ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 7 เทคนิคสำหรับการทำอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 9 วิธีการเลี้ยงเนื้อเยื่อ 11 วิธีการดูแลเนื้อเยื่อระหว่างการเลี้ยง 12 ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยง 14 ข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 16 ข้อเสียของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 18
1 ความหมายของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หมายถึง การนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเนื้อเยื่อเซลล์ หรือเซลล์ไม่มีผนัง มาเลี้ยงในอาหาร เลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อจุลินทรีย์ และอยู่ในสภาพควบคุมอุณหภูมิ แสง และความชื้นเพื่อให้ซลล์พืชที่นำมาเพาะเลี้ยงนั้น ปราศจากเชื้อที่ มารบกวน และทำลายการเจริญเติบโตของพืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ นิยมใช้กับพืชที่มีปัญหาในเรื่องของการขยายพันธุ์ หรือพืชที่มีปัญหา เรื่องโรค เช่น ขิง กล้วยไม้ หรือพืชเศรษฐกิจ เช่น กุหลาบ ดาวเรือง ข้าว แครอท คาร์เนชั่น เยอร์บีร่า เป็นต้น
2 ความเป็นมาของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ค.ศ.1920 GOTTIEB HABERLAND# ประสบความสำเร็จในการ เลี้ยงเซลล์พืชบนอาหารสังเคราะห์ได้ ค.ศ.1930 ได้มีการเลี้ยงเซลล์ที่แยกมาจากรากพืชหลายชนิดใน สภาพปลอดเชื้อ ค.ศ.1938 สามารถเลี้ยงอวัยวะพืชได้หลายชนิดปัจจุบันสามารถ เลี้ยงเซลล์เดี่ยว โปรโตพลาสต์ (PROTOPLAST) และมีการนำมา ประยุคใช้ในสาขาต่างๆ
3 ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 1. การขยายพันธุ์พืช (MICROPROPAGATION) เพื่อให้ได้ต้นพืชจำนวน มากอย่างรวดเร็ว (RAPID ASEXUAL PROPAGATION 2. การผลิตพืชที่ปราศจากโรค เนื่องจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจะต้อง อยู่ ในสภาวะปลอดเชื้อ ดังนั้น พืชที่ได้จึงเป็นพืชที่ปราศจากเชื้อใดๆ 3. การปรับปรุงพันธุ์พืช (PLANT PROVEMENT) ประโยชน์มหาศาลที่ได้ จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช คือ การปรับปรุงพันธุ์พืช สามารถสร้างพันธุ์พืช ต่าง ๆ ได้ตามความประสงค์ 4. การผลิตสารทุติยภูมิ (SECONDARY METABOLITE) การเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อพืชสมุนไพรต่างๆ แบบเซลล์แขวนลอย (SUSPENSION CULTURE) สามารถผลิตสารต่างๆ ได้ เช่น ผลิตสารใช้เป็นยาฆ่าแมลงที่ใช้ทางด้าน การเกษตร ผลิตยารักษาโรคใช้ทางด้านการแพทย์ และผลิตสารที่ทำให้กุ้ง ลอกคราบที่ใช้ทางการประมง 5. การศึกษาทางชีวเคมี สรีรวิทยา และพันธุศาสตร์ เนื่องจากการเลี้ยง พืชใน อาหารสังเคราะห์สามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายและชัดเจน 6. การอนุรักษ์เชื้อพันธุ์พืช (GERMPLASM CONSERVATION, GENE BANK) เป็นการเก็บรักษาพันธุ์พืช คือ เก็บแคลลัสของพืชที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส (CRYOPRESERVATION) ควบคุมโดยใช้ไนโตรเจนเหลว สามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน และไม่มีการกลายพันธุ์
4 ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 3. พืชที่ได้จะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่ เนื่องจากการขยายพันธุ์พืช ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อจะใช้เฃลของต้นแม่น่ามาเลี้ยงจนเป็นต้น ใหม่ จึงสามารถคงคุณลักษณะที่ดีตรงตามสาย พันธุ์ของต้นแม่นั้นๆไว้ได้ เช่น สีสัน ของดอก ลวดลายของใบ ความแข็งแรงของต้น เป็นต้น สิ่ง เหล่านี้จะช่วยลด ปัญหาการกลายพันธุ์และช่วย ควบคุมคุณภาพของผลผลิตของเกษตรกรให้มี ความสม่ำเสมอมากขึ้น 4. ได้พืชที่ปราศจากโรค การขยายพันธุ์บางวิธีอาจมีเชื้อไวรัส ไฟโตพลา สม่า และเชื้อแบคทีเรีย ที่มักติดมากับหัวพันธุ์/ท่อน พันธุ์ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสีย หายได้ อย่างไรก็ตาม การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้น จะ สามารถเลือกใช้เซลต้นแม่ในส่วนที่ปลอดโรค ยกตัวอย่างเช่น ส่วนปลายยอด ซึ่งยังไม่มีท่อน้ำท่อ อาหารที่จะเป็นทางเคลื่อนย้ายของเชื้อโรค ทำให้ ได้ต้น ใหม่ที่ปลอดโรคซึ่งจะช่วยลดปัญหาความเสีย หายทางเศรษฐกิจให้กับ เกษตรกรได้
5 อุปกรณ์ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 1. พันธุ์พืชที่จะนำมาเพาะเลี้ยงควรสะอาด ปราศจากโรค และเป็นส่วนที่สำคัญที่ยังอ่อนอยู่ เช่น ตาเป็นอวัยวะที่ดีที่สุด ส่วนใบ ดอก รากก็สามารถนำมาเลี้ยงได้ 2. เครื่องแก้วต่าง ๆ ได้แก่ ฟลาสค์ บีกเกอร์ ปิเปตต์ จานเพาะเชื้อ กระบอกตวง ขวดสำหรับเลี้ยงเนื้อเยื่อ
อุปกรณ์ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 6 3. สารเคมีต่าง ๆ 3.1 สารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อที่ติดมากับผิวพืช เช่น คลอรอกซ์ เอททิล แอลกฮอล์ เมอคิวริคคลอไรด์ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3.2 สารเคมีที่ใช้เตรียมสูตรอาหารต่าง ๆ 3.3 สารเคมีที่ควบคุมการเจริญเติบโต 3.4 น้ำตาลซูโครส 3.5 วุ้น 4. เครื่องมือผ่าตัด ได้แก่ มีดผ่าตัด ปากคีบ 5. ตู้ถ่ายเนื้อเยื่อ 6. อุปกรณ์เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ 7. อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
7 ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีวิธีการทำ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การเตรียมอาหาร คือ การเตรียมอาหาร คือ การนำธาตุอาหาร หลักที่พืชต้องการในการเจริญเติบโต และธาตุอาหารรองมาผสมกับวุ้น ฮอร์โมนพืช วิตามินและน้ำตาล ในอัตราส่วนที่เหมาะสม แล้วนำไปฆ่าเชื้อ ใส่ ลงในขวดอาหารเลี้ยง บางครั้งอาจหยดสีลงไป เพื่อให้สวยงามและสังเกตได้ ชัดเจน ธาตุอาหารที่พืชต้องการ • ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรตัสเซียม แคลเซียม แมกนีเซี่ยมและกำมะถัน • ธาตุอาหารรอง ได้แก่ ธาตุอาหารที่จำเป็นน้อย เช่น เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง 2. การฟอกฆ่าเชื้อส่วนเนื้อเยื่อ คือ เป็นวิธีการใช้สารเคมีหรือวิธีการ ต่าง ๆ ที่ทำให้ชิ้นส่วนของพืชที่นำมาเลี้ยงในอาหารเลี้ยง ปราศจากเชื้อ จุลินทรีย์ต่าง ๆ
8 ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 3. การนำเนื้อเยื่อลงขวดเลี้ยง เป็นการนำเอาชิ้นส่วนของพืชที่ฟอก ฆ่าเชื้อแล้ว วางลงบนอาหารเลี้ยงที่ปลอดเชื้อ โดยใช้เครื่องมือและปฏิบัติการ ในห้องหรือตู้ย้ายเนื้อเยื่อโดยเฉพาะ 4. การนำขวดเลี้ยงเนื้อเยื่อไปเลี้ยง เป็นการนำเอาขวดอาหารเลี้ยงที่ มีชิ้นส่วนของเนื้อเยื่อไปเลี้ยงไว้บนเครื่องเขย่า เพื่อให้อากาศได้คลุกเคล้าลง ไปในอาหาร ทำให้แร่ธาตุ, ฮอร์โมนและสารอาหารต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นให้ เนื้อเยื่อที่นำมาเลี้ยงบนอาหารนั้น เกิดต้นอ่อนของพืชจำนวนมาก 5. การย้ายเนื้อเยื่อออกจากขวด เมื่อกลุ่มของต้นอ่อนเกิดขึ้น ให้แยก ต้นอ่อนออกจากกัน เพื่อนำไปเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงใหม่ จนต้นอ่อนแข็งแรง ดีแล้ว จึงนำต้นอ่อนที่สมบูรณ์ออกจากขวด ปลูกในแปลงเลี้ยงต่อไป
9 เทคนิคสำหรับการทำอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 1. การชั่งสารเคมี เครื่องชั่งสำหรับชั่งสารเคมีควรมีอย่างน้อย 3 ประเภท เพื่อชั่งสารเคมีให้เหมาะสมกับเครื่องชั่งที่มีอยู่ เพื่อความแม่นยำของสารเคมีที่ ใช้ อีกทั้ง ยังเป็นการถนอมเครื่องชั่งอีกทางหนึ่งด้วย - เครื่องชั่งที่สามารถชั่ง สารเคมี 13 – 1,000 9 - เครื่องชั่งที่สามารถชั่งสารเคมี (สองตำแหน่ง) 0.01 - 500 G เครื่องชั่งที่สามารถชั่งสารเคมี (สี่ตำแหน่ง) 0.0001 9- 0.19 2. เครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง 2.1 ควรทำการ CALIBRATE ให้เรียบร้อยก่อนใช้ซึ่งก่อนและหลังการใช้ทุก ครั้ง ต้องทำความสะอาด ด้วยน้ำกลั่นให้เรียบร้อย เช็ดให้แห้งทุกครั้ง 2.2 ควรวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง หลังจากปรับปริมาณให้ได้ตามจำนวนที่ ต้องการ ก่อนการใส่วุ้น และผงถ่าน 3. สารละลายเข้มข้น 3.1 ควรตวงสารละลายเข้มข้นในกระบอกตวง (CYLINDER) ที่เหมาะสมกับ ปริมาณที่ต้องการเท่านั้น เช่น เมื่อต้องการสารละลายเข้มข้นปริมาณ 5 มิลลิลิตร ควรใช้กระบอกตวง (CYLINDER) ขนาด 10 มิลลิลิตรมิใช่กระบอก ดวงขนาด 25 มิลลิลิตร หรือ 50 มิลลิลิตร เพื่อความแม่นยำของ ปริมาตร สารละลายเข้มข้น 3.2 ระหว่างการตวงสารละลายเข้มข้นจากขวด STOCK เพื่อทำอาหารเพาะ เลี้ยงเนื้อเยื่อสูตรต่างๆ แล้ว หากเทเกินปริมาตรที่ต้องการ ต้องหาภาชนะ รองรับเพื่อทิ้งเท่านั้น ไม่ควรเทใส่ขวด STOCK ขวดเติมเพื่อป้องกันการปน เปื้อนของสารละลายเข้มข้ม 3.3 สารละลายเข้มข้น ควรใช้ขวดสีชา และเก็บไว้ในตู้เย็น เท่านั้น 3.4 ควรมีตู้เย็นเพื่อแช่สารเคมีโดยเฉพาะเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของ สารละลาย โดยไม่ควรแช่ อาหารร่วมกับสารเคมี
10 เทคนิคสำหรับการทำอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 4. การเทอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลงขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต้องใช้บีกเกอร์ที่มีขอบปากป้องกันการหกของสารละละลาย และระหว่างการ เทอาหาร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลงขวด สิ่งที่สำคัญสำหรับขั้นตอนนี้คือ ห้ามให้ อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเลอะปาก ขวดเด็ดขาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หาก อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเลอะปากขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ควรเปลี่ยนขวดทันที ไม่ควรนำขวดดังกล่าวมาใช้ต่อ ซึ่งการเทอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้น ควรเท ให้ ห่างจากปากขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยไม่ให้บิ๊กเกอร์สัมผัสกับปากขวด เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเด็ดขาด
11 วิธีการเลี้ยงเนื้อเยื่อ 1. นำชิ้นส่วนพืชที่ต้องการมาล้างน้ำให้สะอาด 2. ตกแต่งชิ้นส่วนพืช ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก 3. นำชิ้นส่วนพืชจุ่มในแอลกอฮอล์ 95 % เพื่อลดแรงตึงผิวบริเวณ นอกชิ้นส่วนพืช 4. นำชิ้นส่วนพืชมาเขย่าในสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้นาน 10 – 15 นาที 5. ใช้ปากคีบคีบชิ้นส่วนพืช ล้างในน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อ 3 ครั้ง 6. ตัดชิ้นส่วนพืชตามขนาดที่ต้องการแล้ววางบนอาหารสังเคราะห์ 7. ลงรายละเอียด เช่น ชนิดพืช วันเดือนปี หรือรหัส ในการทำการ ฆ่าเชื้อที่ติดมากับผิวพืช และการนำไปเลี้ยงบนอาหารทำในตู้ถ่ายเนื้อเยื่อ โดยตลอด
12 วิธีการดูแลเนื้อเยื่อระหว่างการเลี้ยง 1. นำขวดเลี้ยงเนื้อเยื่อไปวางบนชั้นในห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยปรับ สภาพแวดล้อมให้เหมาะสมโดยทั่วไปปรับอุณหภูมิภายในห้องประมาณ 25 องศาเซลเซียส ระยะเวลาที่ให้แสงประมาณ 12 – 16 ชั่วโมง / วัน ความเข้มของแสง 1,000 – 3,000 LUX 2. เนื้อเยื่อพืชที่เลี้ยงควรเปลี่ยนอาหารใหม่ทุก 2 สัปดาห์ ระหว่าง การเลี้ยงตรวจดู 3. การเจริญเติบโต สังเกตุการเปลี่ยนแปลง บันทึกรายงานไว้เพื่อ เป็นข้อมูล 4. การย้ายพืชออกจากขวดเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อลงปลูกในกระถาง
13 วิธีการดูแลเนื้อเยื่อระหว่างการเลี้ยง เมื่อพืชเจริญเติบโตเป็นต้นที่สมบูรณ์แล้ว ก็นำลงปลูกในกระถางดังนี้ 1. เตรียมทราย : ถ่านแกลบ หรือ ทราย : ขุยมะพร้าว อัตราส่วน1 : 1 ใส่กระถางหรือกระบะพลาสติก 2. ใช้ปากคีบ คีบต้นพืชออกจากขวดอย่างระมัดระวัง 3. ล้างเศษวุ้นที่ติดอยู่บริเวณรากออกให้หมด 4. จุ่มยากันรา ตามอัตราส่วนที่กำหนดในสลากยา ปลูกในกระถางหรือกระบะ นำไปไว้ในตู้ควบคุมความชื้น แสง อุณหภูมิ หรือนำไว้ในกระบะพ่นหมอก เมื่อพืชเจริญตั้งตัวดีแล้วจึงย้ายลงแปลงปลูกต่อไป
14 ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยง ห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ 1. ห้องเตรียมอาหาร ควรเป็นห้องที่มีโต๊ะสำหรับเตรียมสารเคมี อ่างน้ำ ตู้เย็น สำหรับเก็บสารละลายเข้มข้น เครื่องชั่ง เครื่องวัดความเป็น กรด – ด่าง เตาหลอมอาหาร หม้อนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แบบความดันไอน้ำ 2. ห้องถ่ายเนื้อเยื่อ เครื่องมือสำคัญในห้องนี้คือ ตู้สำหรับเลี้ยงหรือ ถ่ายเนื้อเยื่อ เป็นตู้ที่มีอากาศถ่ายเทผ่านแผ่นกรอง ที่สามารถกรอง จุลินทรีย์ไว้ได้ตลอดเวลา ทำให้อากาศภายในตู้บริสุทธิ์ ช่วยให้ทำงาน สะดวกรวดเร็ว 3. ห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเลี้ยง เนื้อเยื่อจะแตกต่างกันสำหรับพืชแต่ละชนิด โดยทั่วไปมักจะปรับสภาพ แวดล้อมภายในห้องให้มีอุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส ระยะเวลา ที่ให้แสงประมาณ 12 – 16 ชั่วโมง / วัน ความเข้มของแสง 1,000 – 3,000 ลักซ์ การดูแลห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจะต้องสะอาดอยู่เสมอ หมั่นตรวจดูขวดหรือ ภาชนะที่เลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ถ้าพบว่ามีจุลินทรีย์ขึ้นปะปน จะต้องรีบนำออก ไปต้มฆ่าเชื้อและล้างทันที ไม่ให้เป็นที่ สะสมเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งอาจแพร่ กระจายภายในห้องได้
หมายเลขแสดงการจัดวางอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ 15 1. เครื่องชั่งอย่างละเอียด เครื่องชั่งอย่างหยาบ เครื่องวัด PH เครื่องคนสารละลาย 2. หม้อนึ่งความดัน 3. ชั้นวางสารเคมี 4. ตู้เย็นสำหรับสารเคมีบางชนิดที่ต้องเก็บในที่เย็น 5. ตู้ตัดเนื้อเยื่อ (จำนวนตู้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม) 6. ชั้นวางอุปกรณ์ (กระบอกฉีด ผ้าเช็ดมือ อาหาร ใบมีดตัด ฯลฯ) 7. ชั้นวางพืช และหลอดไฟฟ้าที่ให้แสงตรงตามความต้องการของพืช 8. เครื่องปรับอากาศ (ขึ้นกับขนาดพื้นที่และความเหมาะสม)
16 ข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 1. สามารถผลิตต้นไม้ใหม่ได้ครั้งละมากๆ ในเวลาอันสั้น การขยาย พันธุ์พืชด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจาก ต้นแม่เพียงหนึ่งต้นจะสามารถ ขยายพันธุ์พืชได้ หลายต้นในครั้งเดียว ยกตัวอย่างเช่น สามารถเพิ่ม ปริมาณได้ 10 เท่าจากชิ้นส่วนของต้นแม่เพียง 1 ชิ้น ต่อการย้ายเนื้อเยื่อ ลงอาหารใหม่ทุกเดือน เมื่อเวลา 3 เดือนก็จะสามารถผลิตต้นพันธุ์พืชได้ ถึง 1000 ต้น ทําให้เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิต จํานวนมากได้ใน เวลาที่จำกัด ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิต ให้กับเกษตรกรได้ 2. สามารถขยายพันธุ์พืชได้ตลอดทั้งปี โดยปกติแล้วการขยายพันธุ์พืช ตามธรรมชาติจะ ต้องรอฤดูกาลที่ต้นไม้นั้นๆผลิดอกออกผลจน กระทั่ง เกิดเป็นเมล็ดพืช แล้วจึงเก็บเกี่ยวเมล็ดพืช เหล่านั้นนำไปปลูกเป็นต้นใหม่ อย่างไรก็ตาม การ ขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสามารถ ทําได้ทุกเมื่อ จึงมีส่วนช่วยให้เกษตรกรมีผลผลิตที่ สม่ำเสมอตลอดทั้งปี
17 ข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 3. พืชที่ได้จะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นแม่ เนื่องจากการ ขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อจะใช้เฃลของต้นแม่น่ามาเลี้ยง จนเป็นต้น ใหม่ จึงสามารถคงคุณลักษณะที่ดีตรงตามสาย พันธุ์ของต้นแม่ นั้นๆไว้ได้ เช่น สีสันของดอก ลวดลายของใบ ความแข็งแรงของต้น เป็นต้น สิ่ง เหล่านี้จะช่วยลดปัญหาการกลายพันธุ์และช่วย ควบคุม คุณภาพของผลผลิตของเกษตรกรให้มี ความสม่ำเสมอมากขึ้น 4. ได้พืชที่ปราศจากโรค การขยายพันธุ์บางวิธีอาจมีเชื้อไวรัส ไฟโต พลา สม่า และเชื้อแบคทีเรีย ที่มักติดมากับหัวพันธุ์/ท่อน พันธุ์ซึ่งจะก่อให้ เกิดความเสียหายได้ อย่างไรก็ตาม การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการเพาะ เลี้ยงเนื้อเยื่อนั้น จะสามารถเลือกใช้เซลต้นแม่ในส่วนที่ปลอดโรค ยก ตัวอย่างเช่น ส่วนปลายยอด ซึ่งยังไม่มีท่อน้ำท่อ อาหารที่จะเป็นทาง เคลื่อนย้ายของเชื้อโรค ทำให้ ได้ต้นใหม่ที่ปลอดโรคซึ่งจะช่วยลดปัญหา ความเสีย หายทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรได้
18 ข้อเสียของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต้นทุนในการจัดตั้งห้องปฏิบัติการค่อนข้างสูง และขั้นตอนใน การปฏิบัติการขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก ถ้าเทียบกับ การขยายพันธุ์ไม้ดอก กล้วยไม้หรือไม้ประดับ เพราะว่าสมุนไพรในแต่ละชนิดจะมียาง ซึ่งในยาง นั้นจะมีตัวยาแตกต่าง กันไปและตัวยาในยางของสมุนไพรนี่เองที่มักจะทำ ปฏิกริยากับธาตุอาหารสังเคราะห์ที่ใช้เลี้ยงต้นพืชสมุนไพรบางครั้ง อาจทำให้พืชนั้นไม่เจริญเติบโต ไม่แตกกอ ไม่ดูดสารอาหาร และจะทำให้ พืชนั้นตายในที่สุด แต่ถ้าหากทดลองสูตร อาหารได้สูตรที่เหมาะสมกับพืช นั้นๆ ก็จะเจริญเติบโตได้ดี
ค บรรณานุกรม WWW.FIO.CO.TH/FIO/KM/DOCKM63/TISSUE.PDF WWW.KASET32FARM.COM/ARTICLE/PLANT-NEWS/PLANT- TISSUE-CULTURE/ WWW.TRUEPLOOKPANYA.COM/LEARNING/DETAIL/917 WWW.SATRIWIT3.AC.TH/FILES/1211201313292364_151104141 41951.PDF
Search
Read the Text Version
- 1 - 22
Pages: