Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore planedu-nfe-Full

planedu-nfe-Full

Published by Napaporn Nitthiyanon, 2021-06-01 06:40:26

Description: planedu-nfe-Full

Search

Read the Text Version

(พ.ศ. 2560 - 2579)

คาํ นํา รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กําหนดใหมียุทธศาสตรชาติ เปนเปาหมายการพัฒนาประเทศอยางย่ังยืน ตามหลักธรรมาภิบาลเพ่ือใชเปนกรอบในการจัดทํา แผนตางๆ ใหสอดคลองและบูรณาการกัน เพื่อใหเกิดเปนพลังผลักดันรวมกันไปสูเปาหมายในการ พัฒนาประเทศ สํานักงาน กศน. ในฐานะหนว ยงานท่ีจัด สงเสริมการศึกษานอกระบบและการศกึ ษา ตามอัธยาศัยจึงจําเปนตองจัดทําแผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของสํานักงาน กศน. พ.ศ.2560-2579 เพื่อใหสอดคลองกับยุทธศาสตรชาติ และแผนแมบทภายใต ยุทธศาสตรชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 12 เพื่อรวมพัฒนาและแกไขปญหา สําคัญของประเทศ สํานักงาน กศน. ไดจัดทําแผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย ของสํานักงาน กศน. พ.ศ.2560-2579 สําหรับเปนแผนระดับหนวยงาน เพื่อวางกรอบ เปาหมายและทิศทางการจัดการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัย ของ สํานักงาน กศน. ใหสามารถขับเคลื่อนการดําเนินงานดานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยไปสูการ ปฏิบัติอยางมปี ระสิทธิภาพ โดยมุงจัดการศึกษาใหคนไทยทุกคนสามารถเขาถึงโอกาสและความเสมอ ภาคในการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ พัฒนากําลงั คน ใหม สี มรรถนะในการทาํ งานทสี่ อดคลอ งกับความตอ งการของตลาดงานและการพฒั นาประเทศ กระบวนการจัดทําแผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของสํานักงาน กศน.พ.ศ. 2560-2579 ไดมีการจัดทําคําส่ังแตงตั้งคณะกรรมการอํานวยการและ คณะทํางานจัดทําแผนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมีหนาที่กําหนดกรอบ แนวทางการรา งแผนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2560 – 2579 จัดประชุม เชิงปฏิบัติการจัดทํารางแผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และจัดประชุม พิจารณารางแผนดังกลาวจากผูบริหารภายใน สํานักงาน กศน. และผูทรงคุณวุฒิจากหนวยงาน ภายนอก พรอมทั้ง เผยแพรรา งแผนดังกลาวทาง www.nfe.go.th เพ่ือรับฟงขอเสนอแนะพรอมท้ัง ปรับแกและเสนอรางแผนดังกลาวตอคณะกรรมการสงเสริมสนับสนุน และประสานความรวมมือ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในคราวประชุมคณะกรรมการสงเสริมสนับสนุน และประสานความรวมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย คร้ังท่ี 2/2560 เมื่อวันท่ี 29 พฤศจิกายน 2560 ที่ประชุมไดมีขอเสนอแนะใหสํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษาพิจารณา ใหคําปรึกษา ขอเสนอแนะ หรือขอคิดเห็นตอรางแผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย ของสาํ นกั งาน กศน. พ.ศ. 2560 - 2579

สํานักงาน กศน. ขอขอบคุณคณะผูบริหาร ผูทรงคุณวุฒิหนวยงานท้ังภาครัฐและ เอกชน รวมท้ังผูมีสวนเกี่ยวของทุกทานที่ใหความรวมมือเปนอยางดีย่ิง ทําให “แผนพัฒนาการศกึ ษา นอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัย ของสํานักงาน กศน. พ.ศ. 2560-2579”ฉบับน้ีเสร็จสมบูรณ สํานักงาน กศน. หวังเปนอยางย่ิงวาหนวยงาน/สถานศกึ ษา สังกัดสํานักงาน กศน. จะนําแผนพัฒนา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของสํานักงาน กศน. พ.ศ. 2560 - 2579 เปนกรอบ เปาหมายและทิศทางการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัยใหเกิดผลสัมฤทธสูงสดุ นายกฤตชัย อรณุ รตั น เลขาธิการ กศน.

สารบัญ บทที่ 1 สภาวการณแ ละแนวโนม บรบิ ทสงั คมโลกและสงั คมไทย หนา ท่ีมีผลกระทบตอ การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 1 1.1 ดานสังคม 1 1.2 ดา นเศรษฐกิจ 2 1.3 ดานสงิ่ แวดลอม 3 1.4 ดานเทคโนโลยี 4 1.5 ดา นการเมือง 5 1.6 ดานประชากร 6 1.7 แนวโนมของการศึกษาและการเรยี นรูในศตวรรษท่ี 21 7 1.8 ทศิ ทางการพฒั นาประเทศตามยุทธศาสตรช าติระยะ 20 ป 11 1.9 ทศิ ทางการพฒั นาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบบั ที่ 12 14 1.10 ทิศทางการศกึ ษาตามแผนการศกึ ษาแหง ชาติ พ.ศ. 2560 -2579 16 1.11 ยุทธศาสตรก ารจดั สรรงบประมาณเพือ่ การพัฒนาพื้นที่ระดับภาค 21 1.12 สถานการณท ี่เก่ยี วของกับการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั 22 บทท่ี 2 สภาพการดําเนินงานการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัยท่ีผานมา 25 และประเด็นทต่ี องเรงพัฒนา 2.1 ดานประสทิ ธิภาพการจดั การศึกษาและการเรียนรู 25 2.2 ดา นการประเมินภายนอกในภาพรวมของสถานศกึ ษา 31 2.3 ดานการจัดสรรงบประมาณรายจายประจําปเพื่อสนับสนุนการจัดการศกึ ษา 31 และการเรยี นรู 31 33 2.4 ดา นบคุ ลากรที่เกย่ี วของกับการจัดการศกึ ษา 2.5 ประเด็นท่ีตองเรง พัฒนา บทที่ 3 การวิเคราะหต ําแหนงยุทธศาสตรของ สํานักงาน กศน. 34 3.1 ผลการวิเคราะหป จจัยภายในของ สํานกั งาน กศน. 34 3.2 ผลการวิเคราะหป จจยั ภายนอกของ สํานักงาน กศน. 34

สารบญั (ตอ ) หนา บทที่ 4 วิสยั ทัศน จดุ เนน เปาหมาย ยทุ ธศาสตร และกลยทุ ธ 36 ของแผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัย 4.1 วสิ ยั ทศั น 36 4.2 จุดเนน 36 4.3 เปา หมายหลัก 36 4.4 ยทุ ธศาสตร 36 4.5 เปาหมายตมยุทธศาสตร และแนวทางการพัฒนา 37 4.6 ตัวชีว้ ดั ตามยุทธศาสตรข องแผนพัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษา 42 ตามอธั ยาศยั 4.7 ระยะเวลาของการดําเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษา 47 ตามอธั ยาศยั บทที่ 5 แนวทางการขบั เคล่ือนแผนพัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั 45 พ.ศ. 2560 - 2579 สูก ารปฏิบัติ 5.1 ความเชื่อมโยงระหวา งแผนพัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั 60 กับและแผนระดบั ตางๆ ทเี่ กย่ี วของสูการปฏิบัติ 5.2 ระบบและกลไกเพ่ือการขับเคล่อื นแผนสกู ารปฏบิ ัติ 57 5.3 การติดตามประเมนิ ผลการขบั เคลอ่ื นแผนพฒั นาการศกึ ษาฯ ไปสกู ารปฏบิ ัติ 58 5.4 ปจจยั และเงอ่ื นไขความสําเร็จ 58

บทท่ี 1 สภาวการณและแนวโนม บริบทสังคมโลกและสงั คมไทย ทีม่ ีผลกระทบตอการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั การศึกษาเปนปจจัยพ้ืนฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษยในการสรางความไดเปรียบเชิง เปรียบเทยี บ เพ่ือใหแตละประเทศสามารถแขงขันกัน และเปนกลไกท่ีสง ผลตอการพัฒนาประเทศทั้งดานเศรษฐกิจ และสงั คมในการขับเคลอ่ื นประเทศ ภายใตร ะบบเศรษฐกิจและสงั คมทเี่ ปนพลวัต ประเทศไทยอยใู นชว งเวลาท่ีตอ ง เผชญิ กับสถานการณท างเศรษฐกิจ สังคม การเมอื งเทคโนโลยี พลังงานและส่งิ แวดลอมทเ่ี ปลี่ยนแปลงอยา งรวดเร็ว และสงผลกระทบอยางรุนแรงมากขึ้นกวาชวงท่ีผานมา ซ่ึงผลกระทบเหลานี้ลวนสงผลตอการแกไขปญหาและ พัฒนาประเทศ สํานักงาน กศน. จึงไดวิเคราะหบริบทดังกลาว เพ่ือนํามาจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยท่ีสอดรับกับสภาพความเปลี่ยนแปลง และบริบทที่เปลี่ยนไปใหกับประชาชน โดยไดวิเคราะหใน ประเด็นตา งๆ ดังตอไปนี้ 1.1 ดานสังคม การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกภายใตสังคมท่ีเปนพลวัต สงผลตอพฤติกรรมของประชากร ที่ปรับเปลี่ยนไปตามกระแสสังคมโลก ทัศนคติ ความเช่ือ คานิยม วัฒนธรรม การเล่ือนไหลของกระแสวัฒนธรรม โลกที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมทองถ่ิน ทําใหเกิดการเปล่ียนแปลงวิถีชีวติ ทัศนคติ ความเช่ือ ความสัมพันธระหวาง บคุ คล การเรยี นรูและการบริโภคในรูปแบบตางๆ อาทิ การใชส่อื ออนไลนเ ปนชอ งทางในการซื้อขาย รวมถึงการทํา ธุรกรรมตางๆ การแลกเปล่ียนเรียนรูและการมีปฏิสัมพันธระหวางกันผานเครือขายสังคมออนไลน โดยไม จําเปนตองรูจักตัวตนซ่ึงกันและกัน การบริโภคส่ือหลายชองทางในชวงเวลาเดียวกัน สงผลใหคนไทยเขาถึงขอมูล ไดอ ยางไรข ีดจํากัด เกิดการสรางวัฒนธรรมรว มสมัย แมจ ะเพม่ิ โอกาสสําหรับการซื้อขายสนิ คาและบริการเพือ่ สราง มูลคาเพ่ิมใหกับประเทศ แตอาจกอใหเกิดปญหา เนื่องจากขาดการคัดกรองและเลือกรับวัฒนธรรมที่ดีจนทําให คนไทยละเลยอัตลักษณ มีพฤตกิ รรมที่เนนบริโภคนิยมและคานยิ มที่ฟุงเฟอ ใชชีวิตแบบเรงรีบไมเคารพในสิทธิคน อ่ืน ขาดความเอ้ือเฟอเก้ือกูล ซึ่งนําไปสูการสูญเสียคุณคาทางวัฒนธรรมดั้งเดิมและพฤติกรรมท่ีไมพึงประสงค ในสังคมไทย เนื่องจากวิถีชีวิตท่ีเปลี่ยนไป ทําใหสถาบันครอบครัวสถาบันการศึกษา และสถาบันศาสนา มีบทบาท ในการอบรมเล้ียงดู ใหความรู ปลูกฝงศีลธรรมใหเด็กและเยาวชนมีคุณธรรมและจริยธรรมลดนอยลงอีกดวยโลก สังคมไรพรมแดนสงผลใหการเลื่อนไหลของคน ทุน ความรู เทคโนโลยี สินคาและบริการท่ีเช่ือมโยงกันท่ัวโลก กระตุนใหเกิดการเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็วในทุกพื้นท่ี สงผลท้ังเชิงบวกและเชิงลบ โดยสังคมไทยสามารถที่จะ เขาถึงขอมูลขาวสารและความรูอยางกวางขวางผานส่ือเทคโนโลยี เปนการสรางโอกาสทางการศึกษาใหกับ สังคมไทยสามารถเรียนรูไดจากแหลงขอมูลท่ัวโลก และเสริมสรางการกาวเขาสูสังคมฐานความรูในอนาคต อีกท้ัง แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สํานักงาน กศน. 1

ยังเปดโอกาสในการพัฒนาและถายทอดวิทยาการและแหลงเทคโนโลยีสมัยใหม ขณะเดียวกันสังคมไทยยังขาด ภูมิคุมกันในการบริโภคผานส่ือเทคโนโลยีและมีแนวโนมของการเปนสังคมวัตถุนิยมสูงข้ึนประชาชนมีความตื่นตัว ทางการเมืองและใหความสําคัญกับความรับผิดชอบตอสังคม รวมทั้ง ความขัดแยงทางการเมือง ความไมสงบใน จงั หวัดชายแดนภาคใตยังคงอยู และสงผลตอเศรษฐกิจของประเทศการดํารงชีวติ ของประชาชน และความเช่ือม่ัน ของนานาประเทศ รวมท้ังความสงบสุขของสังคมไทย ขณะที่ภาครัฐมีการเปล่ียนแปลงในภาพรวมที่ดีขึ้น แตขีด ความสามารถในการปองกันการทุจริตตองปรับปรุงจากการมีโครงสรางประชากรท่ีวัยสูงอายุเพิ่มข้ึน สงผลให ประเทศไทยกาวสูสังคมผูสูงอายุ วัยเด็ก และวัยแรงงานลดลง คนไทยไดรับการพัฒนาศักยภาพทุกชวงวัย แตมี ปญหาคุณภาพการศึกษาและระดับสติปญญาของเด็ก พฤติกรรมเสี่ยงตอสุขภาพ และผลิตภาพแรงงานตํ่า ประชาชนไดรับการคุมครองทางสังคมเพิ่มข้ึนและมีการจัดสวัสดิการทางสังคมในหลายรูปแบบ แตกลุม ผูดอ ยโอกาสยังไมสามารถเขา ถึงบริการทางสังคมไดอ ยางทวั่ ถึง ความเหล่ือมล้ําทางรายไดข องประชากรและโอกาส การเขาถึงทรัพยากรยังเปนปญหาตอการพัฒนาประเทศ สังคมไทยเผชิญวิกฤตความเส่ือมถอยดานคุณธรรมและ จริยธรรม และมีการเปล่ียนแปลงทางวัฒนธรรมที่หลากหลายรวมถึงเผชิญปญหาการแพรระบาดของยาเสพติด และการเพ่ิมขึ้นของการพนันโดยเฉพาะในกลุมเด็กและเยาวชนแนวโนมการพัฒนาคนในวัยทํางาน (ชวงอายุ ระหวาง 15 – 59 ป) เพ่ิมข้ึนอยางตอเน่ือง สําหรับการพัฒนาคุณภาพคนดานการศกึ ษามกี ารขยายตัวเชิงปริมาณ อยางรวดเรว็ ระดับการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยมแี นวโนม สูงข้ึน โดยจํานวนปการศกึ ษาเฉลีย่ ของประชากรวัย 15 ป ขึ้นไป เพิ่มขึ้นอยางตอเนื่องจาก 8.9 ป ในป 2552 เปน 10.00 ป ในป 2558 แตยังมคี วามเหล่ือมล้ําระหวางเมอื ง กบั ชนบท การขยายโอกาสการเรยี นรูต ลอดชีวติ มมี ากขนึ้ แตค วามสามารถในการเรยี นรแู ละการประยกุ ตใ ชความรู เช่ือมโยงนําความรูไปปรับใชของคนไทยยังอยูในระดบั ต่ํา ดังนั้น คณุ ภาพการศกึ ษาจึงยังไมเพียงพอตอ การปรับตวั เทาทันการเปล่ียนแปลงและเขาสูสังคมเศรษฐกิจฐานความรูซึ่งเปนประเด็นท่ีตองใหความสําคัญอยางเรงดวน 1.2 ดานเศรษฐกจิ การเปล่ียนแปลงของบริบทเศรษฐกิจและสังคมโลกอันเนื่องจากการปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution) การเปล่ียนแปลงสูอุตสาหกรรม 4.0 (The Fourth Industrial Revolution) การบรรลุขอตกลง เปาหมายการพัฒนาแหงสหัสวรรษ 2558 (Millennium Development Goals : MDGs 2015) และเปาหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนขององคการสหประชาชาติ 2573 (Sustainable Development Goals : SDGs 2030) การเปดเสรีทางการคา บริการ แรงงาน การลงทุน และการเงิน โดยมีกลไกสําคัญ อาทิ เขตการคาเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) เขตการลงทุนเสรี (ASEAN Investment Area : AIA) และความตองการ กําลังคนท่ีมีทักษะในศตวรรษที่ 21 การเกิดประชาคมใหมจากการรวมตัวของกลุมเศรษฐกิจ (New Economic Communities) ASEAN และ ASEAN+6 (จีน เกาหลีใต ญี่ปุน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด และอินเดีย) การเคลื่อนยาย เงินทุน สนิ คาและบริการ รวมทั้ง คนภายในกลุมประเทศสมาชกิ จะมีความคลองตัวมากข้ึนในอนาคต ประกอบกับ การกอตัวของเศรษฐกิจใหมท่ีมีจีนและอินเดียเปนตัวจักรสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก สงผลใหประเทศ แผนพัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นกั งาน กศน. 2

ไทยตองดําเนินนโยบายการคา ในเชงิ รุก ท้งั การหาตลาดเพมิ่ และการผลักดันใหผูผลิตในประเทศปรบั ตัวใหสามารถ แขงขันไดบนฐานความรูและฐานทรพั ยากรธรรมชาติท่ีม่ันคง นอกจากน้ันการเกิดประชาคมใหมจะสงผลใหมีการ เดินทางทง้ั เพื่อการทองเที่ยวและการทําธรุ กิจระหวางประเทศมากขึ้น รฐั บาลไดใหความสําคัญเกี่ยวกับเศรษฐกิจ แบบดิจิทัล (Digital Economy) โดยการนําเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเขามาใชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสราง มูลคาเพิ่มใหกับผลผลิตมวลรวมของประเทศใหทันกับโลกในยุคปจจุบัน ตั้งแตเศรษฐกิจบนพ้ืนฐานของความรู (Knowledge Economy) และเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) ท่ีวางเปาหมายในการเพิ่มมูลคาทาง เศรษฐกิจ ใหกับสินคาและการบริการผานทางนวัตกรรมและความคิดสรางสรรค ปจจุบันคนไทยจํานวนมากใช เทคโนโลยีดจิ ิทัล ท้ังการใช Smartphone และ Tablet แตส ่ิงที่พบมากท่ีสุดคอื การใชเ พอื่ ความบันเทิง ดังนั้น การ เรงพัฒนาความรู การสรา งความตระหนักดานการใชเ ทคโนโลยีดิจิทัลใหกับทุกภาคสวนน้ันเปนสิ่งสําคัญ ท้ังภาค ธุรกิจ การศึกษา ราชการ เกษตรกรรมการทองเท่ียว การขนสง และอุตสาหกรรม จึงเปนสิ่งสําคัญเพ่ือผลักดันให ประเทศไทยเขาสูเศรษฐกิจแบบดิจิทัล โดยเนนการปฏิรูปการศึกษาใหเยาวชนไทยมีความสามารถทางดาน วิทยาศาสตรและเทคโนโลยมี ากขึ้น 1.3 ดา นสง่ิ แวดลอ ม การเปล่ียนแปลงทางธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดลอมทวีความรุนแรงมากขึ้น สภาวะโลกรอนกอใหเกิด ภัยธรรมชาติท่ีมคี วามรุนแรงเพ่ิมมากข้ึน การขยายตัวของเศรษฐกิจและชุมชนเมืองสงผลใหทรัพยากรถูกทําลาย และเสื่อมโทรมอยางรวดเร็ว สรางมลพิษตอสิ่งแวดลอม รวมทั้ง การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติมีความรุนแรง มากข้ึน นํามาซ่ึงความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมที่ประมาณคามิได ทุกประเทศตองใชทรัพยากรใน การแกปญหาและผลกระทบท่ีตอเนื่องอยางไมมีท่ีสิ้นสุด และสรา งภาระกับสังคมและงบประมาณของรัฐในระยะ ยาว การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดข้ึนเหลาน้ี สงผลใหระบบการศึกษาตองปรับเปลี่ยนหลักสูตร วิธีการ จัดการเรียนการสอน เพื่อใหผูเรียนสามารถคิดวิเคราะหเพ่ือปูองกันภัยธรรมชาติ บริหารจัดการ พัฒนา และ รกั ษาสิ่งแวดลอมเพ่ือคุณภาพชีวิตและสังคมที่เปนมิตรกับส่ิงแวดลอม ในอดีตทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม ของประเทศไทยไดถูกนํามาใชเพื่อตอบสนองการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเปนหลัก ความเสื่อมโทรมของปาไม กอใหเกิดปญหานํ้าทวม น้ําแลงและภัยธรรมชาติที่บอยครั้งและรุนแรง ทําใหทรัพยากรทางทะเลและชายฝงลด ความอุดมสมบูรณลง อีกทั้งยังมีปญหาแหลง ปะการงั และหญาทะเลเส่ือมโทรม ความหลากหลายทางชีวภาพกําลัง ถูกทาํ ลายอยางรวดเร็ว สาเหตุมาจากการดาํ เนนิ กิจกรรมของมนษุ ยท่ีทําลายถิ่นทอ่ี ยูอาศัยของส่ิงมชี วี ิตชนิดตางๆ และสงผลตอการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ ทําใหอัตราการสูญพันธุของส่ิงมีชีวิตเพิ่มข้ึน นอกจากน้ีอัตราการ ขยายตัวของจาํ นวนประชากร และแบบแผนการดํารงชีวิตท่ีไมเหมาะสมในชวงที่ผานมา ทรัพยากรธรรมชาติและ สภาพแวดลอมของประเทศมีแนวโนมเส่ือมโทรมลงอยางรุนแรง จากการเปลี่ยนแปลงท้ังในดานกายภาพ การใช ประโยชน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสงผลใหสถานการณและแนวโนมความเสื่อมโทรมของ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมทวีความรนุ แรง โดยเฉพาะน้ําทวม ภัยแลง การใชท รัพยากรอยางสิ้นเปลือง ไม แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นักงาน กศน. 3

คุมคา และปริมาณของเสียที่เพิ่มข้ึน นําไปสูความเส่ียงตอการสูญเสยี ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงการ กัดเซาะชายฝงอยางตอเน่ือง ขณะที่ภัยพิบัติเกิดข้ึนบอยครั้ง จะสงผลกระทบตอฐานการผลิตภาคเกษตร ความมั่นคงดานอาหาร พลังงาน สุขภาวะและคุณภาพชีวิตของประชาชนการใชเคร่ืองมือทางเศรษฐศาสตร และกฎหมายท่ีเก่ียวของ ยังมีอยูจํากัด รวมท้ังมีความซ้ําซอน มีชองวางและขาดการบังคับใชอยางจริงจังจาก สถานการณสิ่งแวดลอมและพลังงานโลกท่ีสงผลกระทบถึงประเทศไทย การใหการศึกษาแกประชาชน เพื่อใหมี ความรแู ละปรับตวั รองรับผลกระทบดานสง่ิ แวดลอมและพลงั งานของโลกและประเทศไทยในอนาคต ควรมงุ เนน ใน 2 หลักการ ดังน้ี (1) กระบวนการใหความรูพ้ืนฐานและความเขาใจท่ีถูกตองดานพลังงานและสิ่งแวดลอม จะเปน ปจจัยท่ีทําใหนักเรียนนักศึกษาไดเขาใจและตระหนักถึงสภาวะและสถานการณดานสิ่งแวดลอมและพลังงานที่ ถูกตอง ทําใหสามารถคิดวิเคราะห และสังเคราะหขอมูลขาวสารไดดวยตนเอง (2) กระตุนจิตสํานึก ใหเกิดการ อนุรักษ พัฒนา ปกปอง และปรับตัวจากความรู ความเขาใจที่ถูกตอง จะทําใหเกิดการมองภาพรวมของพลังงาน และผลกระทบของส่ิงแวดลอมไดโดยมีกิจกรรมหรือแผนงานที่สอดคลองและสามารถกระตุนจิตสํานึกใหมีการ อนรุ กั ษส ง่ิ แวดลอ มและพลงั งานของชาติอยางตอเน่ือง 1.4 ดานเทคโนโลยี ความเปล่ียนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลกับการดํารงชีวิต นวัตกรรมและความกาวหนาของ เทคโนโลยีดิจิทัลอยางกาวกระโดด กอใหเกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอยางฉับพลัน ซ่ึงนอกจากจะสงผล กระทบตอระบบเศรษฐกิจแลว ยังสงผลกระทบตอการดํารงชีวิตของประชาชนในประเทศตาง ๆ ทั่วโลกท่ีตอง เผชิญกับเทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจําวันมากมาย ท้ังดานการเรียนการสอนในสถานศึกษา การจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ การเดินทาง การใชขอมูลขาวสารเพ่ือการบริหารและการจัดการ การทํางาน เทคโนโลยี สารสนเทศจึงเกี่ยวของกับทุกเร่ืองในชีวิตประจําวัน ดังนั้น จึงควรเรียนรูและเขาใจเก่ียวกับเทคโนโลยีดิจิทัล เพอ่ื ใหรูเทา ทนั และนาํ ไปใชใหเ กิดประโยชนตอตนเอง สังคม และประเทศตอ ไป ในปจ จุบันการพัฒนาวิทยาศาสตร เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไดกอใหเกิดกระแสการพัฒนารูปแบบใหมอยางตอเน่ือง ซึ่งจะมีการหลอมรวมของ ศาสตรตางๆ เขาดวยกัน ทั้งน้ี ประเทศไทยยังขาดการเตรียมพรอมเขาสูยุคเศรษฐกิจในอนาคต ใหทันตอ การเปลี่ยนแปลงของโลกและรองรับการแขง ขนั ในอนาคต โดยยังขาดทง้ั ฐานความรู ความตระหนัก ขอมูลขา วสาร บุคลากรการวิจัย โครงสรางพื้นฐาน และปจจัยเอ้ือ จึงจําเปนตองเรงปรับตัวโดยสรางขีดความสามารถในการ แขงขันของประเทศใหมีภูมิคมุ กัน ยืดหยุน และรองรับกับการเปล่ียนแปลงทางดานวิทยาศาสตร เทคโนโลยีและ นวัตกรรมหลัก ทง้ั 4 สาขา ไดแ ก เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยวี ัสดุ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร และนํา เทคโนโลยี ที่มีการวิจัยและพัฒนาดานการวิจัยพื้นฐาน การวิจัยประยุกต การวิจัยเชิงทดลองอยางเปนระบบการ เกิดนวัตกรรมแบบกาวกระโดด (Leapfrog Innovation) ความกาวหนาอยางรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุ และนาโนเทคโนโลยี จะสรางความเปล่ียนแปลงทั้งดาน เศรษฐกิจและสังคมท้ังในดานโอกาสและอุปสรรค ดังน้ัน ประเทศไทยจึงจําเปนตองเตรียมพรอมใหทันตอการ แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นักงาน กศน. 4

เปลี่ยนแปลงของยุคเศรษฐกิจโมเลกุล (Molecular Economy) ในอนาคต โดยจะตองมีการบริหารจัดการองค ความรูอยางเปนระบบ ท้ังการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการประยุกตใชวิทยาศาสตร เทคโนโลยี และนวัตกรรมท่ี เหมาะสมมาผสมผสานรว มกับจุดแข็งของประเทศไทย เชน การสรางความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม และภมู ิปญญา ทองถ่นิ เพื่อสรางคณุ คาและมูลคาเพ่ิมใหกับผลิตภัณฑและบริการ มีการบรหิ ารจัดการทรพั ยสินทางปญ ญาอยา งมี ประสิทธิภาพ รวมทั้ง การแบงปนผลประโยชนท่ีเปนธรรมความกาวหนาทางเทคโนโลยีมีบทบาทสําคัญตอการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งตอบสนองตอการดํารงชีวิตของประชาชนมากยิ่งข้ึน ท้ังเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการทํางานของสมองและจิต ท่ีเปนทั้ง โอกาสหรือภัยคุกคามในการพัฒนา อาทิ การจารกรรมขอมูลธุรกิจหรือขอมูลสวนบุคคล ประเทศท่ีพัฒนา เทคโนโลยไี ดช าจะกลายเปน ผูซอื้ และมีผลติ ภาพต่ํา ไมส ามารถแขงขันกบั ประเทศอื่นๆ และการเขา ถึงเทคโนโลยีที่ ไมเทาเทียมกันของกลุมคนในสังคมจะทําใหเกิดความเหลื่อมล้ําในการพัฒนา จึงเปนความทาทายในการเพ่ิมขีด ความสามารถในการแขง ขันและลดความเหลอ่ื มล้ําปจ จุบันรฐั ไดใหความสําคญั กับโครงขายอินเทอรเ น็ตความเรว็ สูง และบรกิ ารสาธารณะพื้นฐานผานทางส่ือดิจิทลั และนําดิจิทัลมาใชเพ่ือการพัฒนาในดา นตางๆ โดยเฉพาะอยางยิ่ง ดานการเรียนรูแ ละการใชดิจิทัลเปนเคร่ืองมือในการพัฒนาครู หลักสูตร และสงเสริมการเรียนรูดวยตนเอง มีส่ือ การเรียนรตู ลอดชีวิตท่ีมีเนื้อหาเหมาะสมกับสภาพแวดลอมและวิถีชีวิตของชาวบานเพ่ือสงเสริมการเรียนรูตลอด ชีวิต รวมทั้งใหความสําคัญกับการสงเสริมใหประชาชนทุกกลุมไดมีชองทางในการเรียนรูตลอดชีวิตรูปแบบใหม โดยผานระบบการเรยี นรใู นระบบเปดสาํ หรบั มหาชนท่ีเรียกวา MOOCs (Massive Open Online Courses) 1.5 ดานการเมือง แนวโนมความขัดแยงและความรุนแรงดานการเมือง การไมยอมรบั ในความคิดเห็นที่แตกตางกัน ความขัดแยงในเชงิ ความคดิ เห็นของคนในสงั คมมมี ากข้ึน สงผลใหเกิดความไมสงบ ประชาชนมีความหวาดระแวง และขาดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพยสิน ประเทศขาดความมั่นคงและความสงบสุข ระบบการศกึ ษาในฐานะ กลไกหลกั ในการพัฒนาคุณภาพคนของประเทศจึงจําเปนตองปรบั เปลย่ี นวธิ ีการจัดการเรียนการสอนใหประชาชน สามารถคิดวิเคราะห มีเหตุมีผล เขาใจและยอมรับความคิดเห็นท่ีแตกตางจากเหตุการณอันเกี่ยวเนื่องกับกระแส ประชาธิปไตยและเหตุการณทางการเมืองทเ่ี กิดขึ้นจะเปน บทเรียนสาํ คัญสําหรบั รฐั ดังน้นั ผูรบั ผิดชอบจัดการศึกษา จึงตองใหความสาํ คญั กับการปลูกฝง แนวคิดประชาธิปไตยทถี่ ูกตองแกเยาวชนผานหลักสูตรและกระบวนการเรียน การสอน ในสว นของการกระจายอาํ นาจใหแกองคก รปกครองสวนทอ งถิน่ จะกอใหเกิดความเขมแข็งและการมีสวน รวมของประชาชน การใหความสําคัญตอการศึกษาขององคกรปกครองสวนทองถิ่นจึงมีความสําคัญอยางยิ่ง ไมเ ชนน้ันจะสงผลใหเ กิดการบริหารงานท่ขี าดประสิทธิภาพ ในสวนของวิกฤตการณจังหวัดชายแดนภาคใตเ ปน ผล จากการเมอื งการปกครองทีส่ งผลกระทบโดยตรงตอการศกึ ษา ซง่ึ พบวา กลุม เยาวชนที่กอเหตุสวนใหญเ ปน นกั เรียน นักศึกษา และเยาวชนในสถาบันการศึกษาและสถาบันสอนศาสนาท่ีถูกปลูกฝงและบิดเบือนคําสอนศาสนาให กระทํารุนแรง ดังนั้นหากไมมีการแกไขอยางตรงประเด็นอาจทวีความรุนแรงมากยิ่งข้ึนตามสถานการณและ แผนพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นกั งาน กศน. 5

ววิ ัฒนาการการกอการรา ยของโลกท่ีเชื่อมโยงถึงกัน ดังนั้น การศกึ ษาจะตองเขาไปมีบทบาทตอการเปนผนู ําในการ แกป ญ หาวิกฤตการณ ดังกลาว 1.6 ดานประชากร ทุกประเทศตางใหความสําคัญกับการสาธารณสุขและการวางแผนครอบครัวของท่ัวโลก โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแลวและกําลังพัฒนา ประกอบกับความเจริญกาวหนาทางวิทยาศาสตรและการแพทย สง ผลใหอตั ราการเติบโตของประชากรโลกลดลง และเขาสูการเปลี่ยนแปลงสถานการณส ังคมสูงวัยในประเทศไทย สํ า นั ก งา น ค ณ ะ ก ร รม ก า ร พั ฒ น า ก า ร เศ ร ษ ฐ กิ จ แ ล ะ สั งค ม แ ห งช า ติ ได ป ระ ม าณ ก า ร สั ด ส ว น ผู สู งวั ย ไว ว า ในป 2558 จะมปี ระชากรอายุ 60 ปข้ึนไป รอยละ 13.8 ซง่ึ ถือวาเปนการเขาสูสงั คมสงู วัยอยางสมบูรณ (ประชากร อายุ 60 ปขึ้นไป รอยละ 14) และในป 2563 จะมีประชากรอายุ 60 ปขึ้นไปเพิ่มข้ึนเปนรอยละ 19.1 หรือเขาใกล สังคมสูงวัยระดับสูงสุด นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีการลดลงของภาวะเจริญพันธุหรือการเกิดนอยลง จากขอมูล อัตราเจริญพันธุรวม พบวาจํานวนบุตรโดยเฉล่ียตอสตรีหน่ึงคนตลอดชวงวยั เจริญพันธุไดลดลงเปนลําดับจาก 4.9 คน ในป 2517 เหลือประมาณ 1.6 คน ในป 2556 และ 1.3 คน ในป 2576 สงผลใหประชากรวัยเด็กหรือ ประชากรวัยเรียนมีแนวโนมลดลงอยางตอเน่ือง การเปนสังคมสูงวัยสงผลใหอัตราการพึ่งพิงสูงขึ้น กลาวคือ วัยแรงงานตองแบกรับภาระการดูแลผูสูงวัยเพ่ิมสูงขึ้น ดังน้ัน การพัฒนาประเทศจึงตองวางแผนและพัฒนา ทรัพยากรมนุษยของประเทศใหมีทักษะและสมรรถนะสูง และปรับหลักสูตรการเรียนการสอนใหบูรณาการกับ การศึกษาและการเรียนรูตลอดชีวิต เพ่ือพรอมรับการพัฒนาประเทศอยางตอเนื่องอัตราการเกิดท่ีลดลงสงผลให จํานวนนักเรียนที่อยูในวัยเรียนมีแนวโนมลดลงอยางตอเน่ืองทําใหสงผลกระทบตอการจัดการศึกษา และการ บริหารสถานศึกษา การวางแผนอัตรากําลังครู ผูบริหาร และบุคลากรทางการศึกษา การจัดหลักสูตร การจัดการเรียน การสอน การวัดและประเมินผล การบริหารจัดการหองเรียน การจัดโครงสรางพ้ืนฐาน ตลอดจนการบริหารจัดการ ทรัพยากรและการเงนิ เพ่ือการศึกษาท่ีมีอยูใหเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดงั นั้น จึงจําเปนตองใหความสําคัญกับการ เรียนรูตลอดชีวิตเพ่ือรองรับสังคมผูสูงวัยตองสงเสริมและจัดการเรียนรูใหประชากรกลุมดังกลาว เกิดการเรียนรู ตลอดชีวิต และดึงศักยภาพของผูสูงวัยมาใชประโยชนใหมากขึ้น ขณะเดียวกันการเคล่ือนยายประชากรจากสงั คม ชนบทเขาสูเมอื งทง้ั ดานแรงงานและการศึกษาหรอื การเคล่อื นยา ยแรงงานไปทํางานยังตา งประเทศ ทํานองเดียวกับ การเคลื่อนยายของชาวตางชาติเขามาในประเทศไทยท้ังท่ีหลบหนีเขาเมืองและถูกกฎหมายและสวนใหญเปน แรงงานขามชาติท่ีลวนแลวแตที่รัฐจะตองรับผิดชอบท้ังส้ิน ทั้งดานการแพทย สาธารณสุข และการศึกษา นอกจากนั้นการยายถิ่นของพอแมที่สวนใหญมักฝากบุตรหลานไวกับปูยาตายาย ในทางบวกเด็กจะไดรับการ ปลูกฝงเล้ียงดูตามขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม แตสว นหน่ึงในทางตรงขามเดก็ กลุมหน่ึงขาดการดูแลอยางทว่ั ถึง อาจเปนเพราะความเจริญของผูปกครองท่ีวัยหางกันมาอาจตามไมทันเรื่องความคิด สังคม เทคโนโลยี ซึ่งเหลานี้ การศกึ ษาจําเปนตองเตรยี มการและเขาไปเยียวยา รวมท้ังจัดการศกึ ษารปู แบบใหมท ี่เขา ถึงกลุมเดก็ ทุกประเภททั้ง ตางสัญชาติ กลุมเดก็ ทไ่ี มไดอยูกับบิดามารดา รวมทง้ั การศกึ ษาสาํ หรบั ผยู า ยถ่นิ ฐานและไมม ีทะเบยี นราษฎร แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สํานักงาน กศน. 6

1.7 แนวโนม ของการศกึ ษาและการเรียนรใู นศตวรรษที่ 21 1) แนวโนมการศกึ ษาไทย 1.1) แนวโนมดานบวก (1) หลักสูตรใหมเกิดขึ้นจํานวนมาก จากการเปล่ียนแปลงและการแขงขันในดานเศรษฐกิจและ อตุ สาหกรรม ทําใหค นในสังคมตองการเพ่ิมความรูความสามารถใหท นั ตอ การเปลย่ี นแปลง จึงหนั มาสนใจศึกษาตอ ในหลักสูตรท่ีตอบสนองตอการเปล่ียนแปลงของเศรษฐกิจ ดังนั้น เพ่ือตอบสนองตอความตองการของคนในสงั คม สถาบันการศึกษาจึงมุงพัฒนาหลักสูตรใหม ๆ อาทิ หลักสูตรท่ีบูรณาการระหวางสองศาสตรข้ึนไป เชน ระดับ อาชีวศึกษาหลักสูตรเดียวจะมีหลายสาขาวิชา เรียนชางยนตจะผนวกการตลาดและการบัญชีเขาไปดวย เปนตน หลักสูตรที่ใหปริญญาบัตร 2 ใบ และมีการพัฒนาหลักสูตรใหทันสมัยตลอดเวลา รวมถึงหลักสูตรนานาชาติมี แนวโนมมากข้ึน เน่ืองจากสภาพยุคโลกาภิวัตนท่ีมีการเชื่อมโยงดานการคาและการลงทุน ทําใหตลาดแรงงานใน อนาคตตองการคนที่มีความสามารถดานภาษาตางประเทศ สงผลใหความตองการการศึกษาที่เปนภาษาสากลมี มากข้ึน ท่สี ําคัญการเปดเสรที างการศึกษา ยังเปนโอกาสใหสถาบันการศึกษาจากตางประเทศเขามาจัดการศึกษา ในประเทศไทย และเปดหลักสูตรภาษาตางประเทศ เชน ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุน ซึ่งมีสวนกระตุนให หลักสูตรการศึกษานานาชาติมีแนวโนมไดรับความนิยมมากข้ึน แตเน่ืองจากหลักสูตรนานาชาติมีคาใชจายสูง ดังน้นั การเรียนในหลักสตู รน้ีจึงยังคงจํากัดอยใู นกลมุ ผเู รียนท่มี ีฐานะดี (2) การจัดการศึกษามคี วามเปนสากลมากข้ึน สังคมยุคดิจิทัลท่ีมีการเชื่อมโยงในทุกดานรวมกัน ทั่วโลก สงผลใหเกิดการเคล่ือนยายองคความรู กฎกติกา การดําเนินการดานตาง ๆ ทั้งการคา การลงทุน การศึกษา เศรษฐกจิ สงั คม และวฒั นธรรมที่เช่ือมตอถงึ กัน ประกอบกบั การเปดเสรีทางการศึกษา สง ผลใหเ กิดการ หลั่งไหลหลักสูตรการเรียนการสอน บุคลากรดานการสอน หลักสูตร จากสถาบันการศึกษาตางประเทศเขาสูไทย อันมผี ลทําใหเกิดการเปรียบเทียบและผลักดันใหสถาบันการศึกษาของไทยตองพัฒนาการจัดการศึกษาท่ีมีความ เปนสากลใหเปนท่ียอมรับ อีกทั้งการเปดเสรีทางการคาและการลงทุนกับนานาประเทศของไทย ไดสงผลใหเกิด ความตอ งการการศึกษาท่มี ีคุณภาพทัดเทยี มกนั ในระดบั สากล (3) ความเหล่ือมล้ําดา นโอกาสทางการศกึ ษาลดลง เน่ืองจากสภาพการเรยี กรองสทิ ธิมนุษยชนที่ เปนกระแสระดับโลกเกิดขึ้นควบคูกับคล่ืนประชาธิปไตยที่แผขยายวงกวางถึงไทย รฐั ธรรมนูญแหงราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2560 สงเสริมการเพิ่มสิทธิเสรีภาพแกประชาชน อีกท้ังสภาพการใชเทคโนโลยีสงเสริมการเรยี น การสอน ทําใหเกิดชองทางการเผยแพรขอมูลขาวสารท่ีเขาถึงคนไดอยางกวางขวาง อยางไรก็ตาม อาจเปนไดวา ความเหล่ือมล้ําดานโอกาสทางการศึกษาจะลดลงในกลุมสถาบันการศึกษาของรัฐ สวนการจัดการศึกษาโดย สถาบันการศึกษาเอกชน ผูเรียนท่ีครอบครัวมีรายไดนอ ยอาจเขารับบริการทางการศกึ ษาไดลดลง เนื่องจากคา เลา เรยี นแพง ดงั น้ัน โอกาสรบั บริการทางการศึกษาทม่ี ีคุณภาพเพิ่มข้ึน เมอ่ื เปดเสรีทางการศกึ ษาจะกอเกิดการแขงขัน ในการจัดการศึกษาท้ังจากสถาบันการศึกษาท้ังในและตางประเทศมากขึ้น หากพิจารณาในแงบวก การเปดเสรี แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นกั งาน กศน. 7

ทางการศกึ ษา เปนการสรางโอกาสใหคนไทยไดรับการศึกษาท่ีมีคุณภาพ เน่ืองดวยสถาบันการศึกษาแตละแหงจะ แขงขันดานคุณภาพมากข้ึน โดยเฉพาะอยางย่ิงสถาบันอุดมศึกษา ทําใหคุณภาพการศึกษาเพ่ิมขึ้นคอนขางมาก เน่ืองจากการเปดเสรีทางการศึกษาไดเ ปดโอกาสใหสถาบนั อุดมศกึ ษาตา งชาตเิ ขามาเปดการเรยี นการสอน จึงเปน แรงกดดันใหสถาบนั อดุ มศกึ ษาไทยตองพัฒนาคณุ ภาพการศกึ ษาใหส งู ขึ้น 1.2) แนวโนม ดา นลบ (1) การเพ่ิมชอ งวางดา นคณุ ภาพในการจัดการศึกษา แมว าสภาพการแขง ขันทางการศึกษาจะเปน แรงผลักดันใหสถาบันการศึกษาตางๆ เรงพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น แตเน่ืองจากทรัพยากร ต้ังตนของแตละสถาบันการศึกษามีความแตกตางกัน ไมวาจะเปนความรูความสามารถและปริมาณของบุคลากร การศึกษา งบประมาณ เงินทุน เทคโนโลยี สถานท่ี ความมีช่ือเสียง และสงผลใหโอกาสในการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาแตกตางกันดวย โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาขนาดเล็ก หรือสถาบันการศึกษาท่ียังไมมีความพรอม/มี ทรัพยากรต้งั ตนไมมาก ยอมไมมีศกั ยภาพเพียงพอในการพัฒนาคุณภาพมากนัก การผลิตบัณฑติ เกนิ ความตองการ ของตลาด เน่ืองจากความตองการศกึ ษาตอ ในระดับอุดมศกึ ษามสี ูงขึ้น และการพัฒนาไปสูการเปนมหาวทิ ยาลยั ใน กํากับของรัฐที่ตองหาเล้ียงตนเอง มีอิสระในการบริหารและเปดหลักสูตรเพื่อหาผูเรียนเขาเรยี นใหไดจํานวนมาก ส่งิ เหลาน้ีจะสงผลกระทบระยะยาวคือ มีบัณฑิตจบเปนจํานวนมากเขาสูตลาดแรงงานแตไ มสามารถรองรบั ไดห มด โดยกลุมแรงงานระดับอุดมศึกษาท่ีไมมีคุณภาพหรือไมจบจากสาขาท่ีตลาดแรงงานตองการ จะถูกผลักสูแรงงาน นอกระบบ หรือหาทางออกโดยเรียนตอระดับสูงขึ้น ซึ่งอาจกอเกิดภาวะแรงงานระดับปริญญาโทและเอกไมมี คณุ ภาพและลนตลาดตามมาเชน กัน การสอนทักษะการคดิ และทักษะทางอารมณย ังไมมคี ณุ ภาพ สภาพเศรษฐกจิ ท่ี มุงแขงขัน ทําใหการจัดการศึกษามุงพัฒนาทางวิชาการเปนสําคัญ ในขณะท่ีระบบการศึกษาไทยยังไมสามารถ พัฒนาทักษะการคดิ ของผูเรียนไดเทาที่ควร เนื่องจากการเรียนการสอนยังมุงสอนใหผูเรยี นคิดตามสิ่งทีผ่ ูสอนปอน ความรูม ากกวาการคิดสง่ิ ใหม ๆ ประกอบกับครผู ูสอนมภี าระงานมาก จนสงผลตอการพัฒนาบุคคลในดานอ่ืน เชน การพัฒนาเชิงสังคม รวมถึงการพัฒนาทักษะทางอารมณ นอกจากนี้ การใชเ ทคโนโลยีในกิจวัตรประจําวันหรือใช ในการเรียนการสอนทําใหการปฏิสัมพันธระหวางครูกับศิษยลดลง สงผลใหชองทางการพัฒนาทักษะทางอารมณ และทกั ษะทางสังคมของผเู รียนลดลงดวย (2) การสอนคณุ ธรรมจริยธรรมยังไมมีคณุ ภาพ แนวคิดของทุนนิยมที่มุงแขงขันไดแพรกระจายไป ท่ัวโลก สงผลใหผคู นตา งมงุ แขง ขัน และพัฒนาความรคู วามสามารถ เพอื่ ความกาวหนาในหนาท่ีการงานและมีชีวิต ความเปนอยูท่ีดีขึ้น ประกอบกับสถาบันการศึกษาจํานวนมากตางมุงพัฒนาความรูทางวิชาการ และประเมินผล การเรียนทีค่ วามสามารถทางวชิ าการ จนอาจละเลยการพฒั นาผเู รียนใหมคี ุณธรรม จริยธรรม นอกจากน้ี การไมไ ด มผี ูสอนทร่ี เู ชี่ยวชาญดานการสอนคุณธรรมจริยธรรมโดยตรงหรอื มคี ุณภาพ ยอมสงผลตอคุณภาพการสอนของวิชา คณุ ธรรมจริยธรรมได แผนพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นักงาน กศน. 8

(3) การสอนภาษาตางประเทศยังไมมีคุณภาพ ยิ่งกาวสโู ลกไรพรมแดนมากขึ้นเทาใด ผูมีความรู ดานภาษาตา งประเทศ เชน ภาษาองั กฤษ หรือภาษาจีนท่ผี ูคนสวนใหญใ นโลกใชตดิ ตอสื่อสาร เจรจาตอรองการคา การศึกษา ยอมมีความไดเปรียบ ท้ังในเรื่องการติดตอส่ือสารและความกาวหนาในหนาท่ีการงาน อยางไรก็ตาม ปญ หาท่พี บคอื การสอนภาษาองั กฤษ และภาษาตา งประเทศของไทยยังไมม ีคุณภาพเทาที่ควร เน่ืองจากครผู ูสอนมี ความสามารถดานภาษาตางประเทศคอนขางต่ํา โดยเฉพาะครูผูสอนในระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน ครูสวนใหญ ไมไ ดจ บเอกภาษาองั กฤษโดยตรง และมีแนวโนมวา ในอกี 5 ปขา งหนา การพฒั นาการสอนทกั ษะภาษาตางประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษในปจจุบันจะตื่นตัวมากข้ึน แตก็ยังไมกาวหนาไปมากเทาท่ีควร เพราะทรัพยากรดาน บคุ ลากรสอนภาษาตา งประเทศนข้ี าดแคลนมาก (4) ผลกระทบของโลกไรพรมแดนตอการศึกษาไทยมที ้ังดานบวกและดานลบ ซ่ึงหลีกเล่ียงไดยาก แตการพัฒนาระบบการศึกษาไทยใหพรอมตอสภาพไรพรมแดนไดนั้น จําเปนตองเตรียมพรอมในเชิงรุก ตั้งแตวันน้ี โดยรัฐควรเนนการบริหารจัดการในสวนที่ไทยไดรับผลกระทบมากที่สุด โดยพัฒนาศักยภาพของ บคุ ลากรภายในสถาบันการศึกษา สนับสนนุ ทุนวจิ ัยเพ่ือพัฒนาการศึกษา และสรา งเครอื ขายภาคประชาชนเพ่ือให เกิดความรวมมือในการพัฒนาการศึกษารองรับโลกไรพรมแดนและสังคมแหงการเรียนรู (ท่ีมา http:// www.kriengsak.com/node/77) 2) ทกั ษะของประชากรในศตวรรษท่ี 21:ท่วั โลกตง้ั เปา หมายสรา งใหไ ดและไปใหถึงความตองการกําลังคนยุค 4.0 ทักษะของประชากรในศตวรรษที่ 21 : ทั่วโลกตั้งเปาหมายสรางใหไดและไปใหถึงความตองการ กําลังคนยุค 4.0 ผลจากการเปล่ียนแปลงระบบเศรษฐกิจ สังคม และสถานการณสังคมสูงวัยไดสงผลใหทุก ประเทศทั่วโลกกําหนดทิศทางการผลิตและพัฒนากําลังคนของประเทศตนใหมีทักษะและสมรรถนะระดับสูง มีความสามารถเฉพาะทางมากข้ึน สวนความตองการกําลังแรงงานที่ไรฝมือและมีทักษะตํ่าจะถูกแทนท่ีดวย หุนยนตและเทคโนโลยีใหม ๆ มากข้ึน การจัดการศึกษาในปจจุบันจึงตองปรับเปลี่ยนใหตอบสนองกับทิศทางการ ผลิตและการพัฒนากําลังคนดังกลาว โดยมุงเนนการจัดการเรียนการสอนเพ่ือใหผูเรียนมีทักษะในศตวรรษ ที่ 21 เพื่อใหไดท้ังความรูและทักษะที่จําเปนตองใชในการดํารงชีวิต การประกอบอาชีพ และการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศทามกลางกระแสแหงการเปล่ียนแปลง ทักษะสําคัญจําเปนในโลกศตวรรษที่ 21 ประกอบดวย ทกั ษะทีเ่ รยี กตามคํายอวา 3Rs + 8Cs 3Rs ประกอบดวย - อานออก (Reading) - เขียนได (WRiting) - คิดเลขเปน (ARithmetics) แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นักงาน กศน. 9

8Cs ประกอบดวย - ทักษะดานการคดิ อยางมวี ิจารณญาณ และทักษะในการแกปญหา (Critical Thinking and Problem Solving) - ทกั ษะดานการสรา งสรรค และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) - ทกั ษะดานความเขาใจตา งวัฒนธรรม ตางกระบวนทัศน (Cross – cultural Understanding) - ทักษะดานความรวมมือ การทํางานเปนทีม และภาวะผูนํา (Collaboration Teamwork and Leadership) - ทั ก ษ ะดาน ก ารส่ื อ ส าร ส ารส น เท ศ แ ล ะรูเท าทั น ส่ือ (Communications, Information and Media Literacy) - ทักษะดานคอมพิวเตอร และเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร (Computing and ICT Literacy) - ทักษะอาชพี และทักษะการเรียนรู (Career and Learning Skills) - ความมีเมตตา กรุณา วินยั คุณธรรม จรยิ ธรรม (Compassion) 3) การเรยี นรใู นศตวรรษที่ 21 ประเทศสหรัฐอเมริกา มีแนวคิดเร่ือง “ทักษะแหงอนาคตใหม : การเรียนรูในศตวรรษท่ี 21” ทกั ษะดงั กลา วเกดิ จากภาคสว นทางการศกึ ษา ประกอบดวย บริษัทเอกชนขนาดใหญ องคกรวิชาชพี ระดบั ประเทศ และสํานักงานดานการศึกษาของรัฐ มีความกังวลและเห็นความจําเปนท่ีเยาวชนตองมีทักษะสําหรับการออกไป ดํารงชีวิตในโลกแหงศตวรรษที่ 21 จงึ รวมตัวและกอต้ังเปนเครือขายองคกรความรวมมือเพ่ือทักษะการเรียนรใู น ศตวรรษท่ี 21 หรือเรียกยอวา เครือขาย P21 ซ่ึงเด็กและเยาวชนควรไดเรียนรูในความรูและทักษะท่ีสําคัญ สอดแทรกไวในทกุ วชิ าหลัก ไดแก ความรูเรอ่ื งโลก (Global Awareness) เรอ่ื ง การเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจและการ เปนผูประกอบการ (Financial,Economic,Business and Entre – preneurial Literacy) เรื่องการเปนพลเมือง ทด่ี ี (Civic Literacy) เรือ่ งสุขภาพ (Health literacy) และเรอื่ งสิ่งแวดลอม (Environmental literacy) ซ่ึงทักษะ การเรยี นรูประกอบดว ย 3.1) ทักษะการเรียนรูและนวัตกรรม ไดแก ความคิดสรางสรรคและนวัตกรรม การคิดอยางมี วจิ ารณญาณและการแกป ญ หา และการส่อื สารและความรวมมือ 3.2) ทักษะสารสนเทศ สือ่ และเทคโนโลยี ไดแ ก สารสนเทศ ส่อื เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสื่อสาร 3.3) ทักษะชีวิตและอาชีพ ไดแก ความยืดหยุนและความสามารถในการปรับตัว และการริเริ่ม และกาํ กบั ดูแลตนเองได 3.4) ทักษะดานสังคมและทักษะขามวัฒนธรรม การมีผลงานและความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได และการมภี าวะผูนาํ และความรบั ผิดชอบดงั นั้น ภาคการศึกษาจึงตองพฒั นาระบบการศึกษาและการบริหารจัดการ แผนพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สํานกั งาน กศน. 10

ใหสอดคลองเช่ือมโยงกับสภาพความเปล่ียนแปลงของสังคมในอนาคต ท้ังสังคมแหงการแขงขันที่ตองใชความรู เทคโนโลยีและนวัตกรรมเปนฐาน สังคมพอเพียงเพ่ือสรางภูมิคุมกันและสังคมสิทธิมนุษยชน เปนสิทธิท่ีเด็กทุกคน ตองไดรับสิทธิพ้ืนฐานเสมอกัน ไมวาจะเด็กไทยหรือตางชาติ รวมถึงสิทธิในการใชภาษาท้ังภาษาไทยและภาษาถิ่น นอกจากนั้น การบริหารจัดการศึกษาตองคํานึงถึงในเร่ืองของการปรับเปล่ียนโครงสรางประชากรที่จะมีผูสูงอายุ เพ่ิมมากข้นึ เด็กลดลง การอพยพถ่ินและเสรมิ สรางใหเดก็ และเยาวชนมีจติ สํานึก คณุ ธรรม จริยธรรม มีทักษะการ เรยี นรนู วัตกรรม ทกั ษะสารสนเทศ สือ่ และเทคโนโลยี ตลอดจนทกั ษะชีวิตและอาชีพ 1.8 ทศิ ทางการพฒั นาประเทศตามยุทธศาสตรชาติระยะ 20 ป (พ.ศ. 2560 – 2579) 1) วิสัยทศั น “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เปนประเทศพัฒนาแลว ดวยการพัฒนาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกจิ พอเพยี ง” เพ่อื ใหประเทศไทยสามารถยกระดบั การพัฒนาใหบรรลุตามวสิ ยั ทศั น “ประเทศไทยมคี วามมั่นคง ม่ังค่ัง ยั่งยืน เปนประเทศพัฒนาแลว ดวยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และเปาหมาย การพัฒนาประเทศขางตน จึงจําเปนตองกําหนดยุทธศาสตรการพัฒนาประเทศระยะยาวที่จะทําใหประเทศไทยมี ความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีภมู ิคมุ กนั ตอการเปลี่ยนแปลงจากปจ จยั ภายในและภายนอกประเทศในทกุ มิติ ทุกรูปแบบและทุกระดบั ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการของประเทศไดร บั การพัฒนายกระดับ ไปสูการใชเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสรางมลู คาเพม่ิ และพัฒนากลไกท่ีสําคัญในการขับเคล่ือนเศรษฐกิจใหม ท่ีจะสรางและเพ่ิมศักยภาพในการแขงขันของประเทศ เพื่อยกระดับฐานรายไดของประชาชนในภาพรวมและ กระจายผลประโยชนไปสูภาคสวนตาง ๆ ไดอยางเหมาะสม คนไทยไดรับการพัฒนาใหเปนคนดี เกง มีวินัย คํานึงถึงผลประโยชนสวนรวม และมีศักยภาพในการคิดวิเคราะห สามารถ “รู รับ ปรับใช” เทคโนโลยีใหมได อยางตอเนอื่ ง สามารถเขาถึงบริการพ้ืนฐาน ระบบสวัสดิการ และกระบวนการยุตธิ รรมไดอยางเทา เทยี มกัน โดยไม มีใครถกู ทิ้งไวขา งหลัง การพัฒนาประเทศในชวงระยะเวลาของยุทธศาสตรชาติ จะมุงเนนการสรางสมดุลระหวางการ พัฒนาความม่ันคง เศรษฐกิจ สังคม และส่ิงแวดลอม โดยการมีสวนรวมของทุกภาคสวนในรูปแบบ “ประชารัฐ” โดยประกอบดวย 6 ยุทธศาสตร ไดแก (1) ยุทธศาสตรชาติดานความม่ันคง (2) ยุทธศาสตรชาติดานการสราง ความสามารถในการแขงขัน (3) ยุทธศาสตรชาติดานการพัฒนาและเสริมสรางศักยภาพทรัพยากรมนุษย (4) ยุทธศาสตรชาติดา นการสรางโอกาสและความเสมอภาคทางสงั คม (5) ยุทธศาสตรชาตดิ านการสรา งการเติบโต บนคณุ ภาพชีวิตท่ีเปนมติ รกับส่ิงแวดลอม และ (6) ยุทธศาสตรชาติดา นการปรบั สมดุลและพฒั นาระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ แผนพฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นักงาน กศน. 11

2) ยทุ ธศาสตรต ามยุทธศาสตรช าติระยะ 20 ป (พ.ศ. 2560 – 2579) โดยแตล ะยุทธศาสตรม เี ปาหมายและ ประเดน็ การพฒั นา ดงั นี้ (1) ยทุ ธศาสตรช าติดานความมนั่ คง มีเปาหมายการพัฒนาที่สําคัญ คือ ประเทศชาติม่ันคงประชาชนมีความสุข เนนการบริหาร จัดการสภาวะแวดลอมของประเทศใหมีความม่ันคง ปลอดภัย เอกราชอธิปไตย และมีความสงบเรียบรอยในทุก ระดับ ตั้งแตร ะดบั ชาติ สงั คม ชมุ ชน มงุ เนนการพัฒนาคน เครื่องมือ เทคโนโลยี และระบบฐานขอมูลขนาดใหญใ ห มีความพรอมสามารถรับมือกับภัยคุกคามและภัยพิบัติไดทุกรูปแบบ และทุกระดับความรุนแรง ควบคูไปกับการ ปองกันและแกไขปญหาดา นความม่ันคงที่มีอยูในปจจุบัน และท่ีอาจจะเกิดข้ึนในอนาคต ใชกลไกการแกไขปญหา แบบบูรณาการทั้งกับสวนราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม และองคกรท่ีไมใชรัฐ รวมถึงประเทศเพื่อนบานและ มิตรประเทศท่ัวโลกบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เพ่ือเอื้ออํานวยประโยชนตอการดําเนินการของยุทธศาสตร ชาติดานอนื่ ๆ ใหสามารถขับเคลอื่ นไปไดต ามทิศทางและเปาหมายท่กี ําหนด (2) ยุทธศาสตรช าตดิ านการสรา งความสามารถในการแขง ขนั มีเปาหมายการพฒั นาที่มุงเนน การยกระดับศกั ยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพน้ื ฐาน แนวคิด 3 ประการ ไดแก (1) “ตอยอดอดีต” โดยมองกลับไปท่ีรากเหงาทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเดนทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความไดเปรียบเชิงเปรียบเทียบของ ประเทศในดานอื่น ๆ นาํ มาประยุกตผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพ่ือใหสอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจ และสังคมโลกสมัยใหม (2) “ปรบั ปจจุบัน” เพื่อปูทางสูอนาคต ผานการพัฒนาโครงสรา งพ้ืนฐานของประเทศในมิติ ตาง ๆ ท้ังโครงขา ยระบบคมนาคมและขนสง โครงสรา งพ้ืนฐานวิทยาศาสตร เทคโนโลยี และดิจิทัล และการปรับ สภาพแวดลอมใหเอ้ือตอการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต และ (3) “สรางคุณคาใหมในอนาคต” ดวย การเพิ่มศักยภาพของผูประกอบการ พัฒนาคนรุนใหม รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ เพ่ือตอบสนองตอความตองการ ของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตรท่ีรองรับอนาคต บนพ้ืนฐานของการตอยอดอดีตและปรับปจจุบัน พรอ มท้ัง การสง เสรมิ และสนับสนุนจากภาครัฐใหป ระเทศไทยสามารถสรางฐานรายไดแ ละการจา งงานใหม ขยายโอกาสทาง การคาและการลงทุนในเวทีโลก ควบคูไปกับการยกระดับรายไดและการกินดีอยูดี รวมถึงการเพ่ิมข้ึนของคน ชัน้ กลางและลดความเหล่อื มลาํ้ ของคนในประเทศไดใ นคราวเดยี วกนั (3) ยุทธศาสตรช าติดานการพฒั นาและเสรมิ สรา งศกั ยภาพทรพั ยากรมนุษย มเี ปาหมายกรพัฒนาท่ีสําคัญเพ่ือพัฒนาคนในทกุ มิติและในทุกชวงวัยใหเปนคนดี เกง และมี คุณภาพ โดยคนไทยมีความพรอมทั้งกายใจ สติปญญา มีพัฒนาการท่ีดีรอบดานและมีสุขภาวะท่ีดีในทุกชวงวัย มจี ิตสาธารณะ รบั ผดิ ชอบตอ สังคมและผูอ่ืน มัธยัสถ อดออม โอบออมอารี มวี ินัย รกั ษาศลี ธรรม และเปนพลเมอื ง ดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกตอง มีทักษะที่จําเปนในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 และ แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สํานกั งาน กศน. 12

อนุรกั ษภ าษาทอ งถิน่ มีนิสัยรกั การเรียนรูแ ละการพฒั นาตนเองอยางตอเน่ืองตลอดชวี ติ สกู ารเปนคนไทยทม่ี ที ักษะ สูง เปน นวัตกร นกั คดิ ผปู ระกอบการ เกษตรกรยคุ ใหมและอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนดั ของตนเอง (4) ยทุ ธศาสตรชาติดานการสรา งโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มีเปา หมายการพัฒนาท่ีสําคัญท่ีใหความสําคัญการดงึ เอาพลังของภาคสวนตา ง ๆ ท้ังภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนทองถ่นิ มารวมขับเคล่ือน โดยการสนับสนนุ การรวมตัวของประชาชนในการรวมคิดรว มทําเพ่ือ สวนรวม การกระจายอํานาจและความรับผิดชอบไปสูกลไกการบริหารราชการแผนดินในระดับทองถิ่น การ เสริมสรางความเขมแข็งของชุมชนในการจัดการตนเอง และการเตรียมความพรอมของประชากรไทยทั้งในมิติ สุขภาพ เศรษฐกิจ สงั คม และสภาพแวดลอมใหเปนประชากรท่ีมคี ุณภาพ สามารถพึ่งตนเองและทําประโยชนแก ครอบครวั ชมุ ชน และสังคมใหน านที่สุด โดยรัฐใหหลักประกนั การเขา ถึงบรกิ ารและสวัสดิการท่ีมีคุณภาพอยา งเปน ธรรมและทัว่ ถึง (5) ยุทธศาสตรชาติดานการสรา งการเติบโตบนคุณภาพชวี ติ ทเี่ ปนมติ รกบั สิ่งแวดลอ ม มีเปาหมายการพัฒนาท่ีสําคัญเพื่อนาํ ไปสูการบรรลุเปาหมายการพัฒนาท่ียั่งยืนในทกุ มิติ ทั้งมิติ ดานสังคม เศรษฐกิจ ส่ิงแวดลอม ธรรมาภิบาล และความเปนหุนสวนความรวมมือระหวางกันท้ังภายในและ ภายนอกประเทศอยางบูรณาการ ใชพื้นที่เปนตัวต้ังในการกําหนดกลยุทธและแผนงาน และการใหทุกฝายท่ี เกี่ยวของไดเขามามีสวนรวมในแบบทางตรงใหมากที่สุดเทาที่จะเปนไปได โดยเปนการดําเนินการบนพื้นฐาน การเติบโตรวมกัน ไมวาจะเปนทางเศรษฐกิจ ส่งิ แวดลอม และคณุ ภาพชีวิต โดยใหความสําคญั กับการสรางสมดุล ท้ัง 3 ดาน อนั จะนาํ ไปสคู วามยง่ั ยนื เพอื่ คนรนุ ตอ ไปอยางแทจ ริง (6) ยุทธศาสตรช าติดานการปรบั สมดลุ และพฒั นาระบบการบริหารจัดการภาครฐั มีเปาหมายการพัฒนาที่สําคัญเพ่ือปรับเปล่ียนภาครัฐที่ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชนเพ่ือ ประชาชนและประโยชนสวนรวม” โดยภาครัฐตองมีขนาดท่ีเหมาะสมกับบทบาทภารกิจ แยกแยะบทบาท หนวยงานของรัฐที่ทําหนาที่ในการกํากับหรือในการใหบริการในระบบเศรษฐกิจท่ีมีการแขงขนั มขี ีดสมรรถนะสูง ยึดหลักธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการทํางานใหมุงผลสัมฤทธ์ิและผลประโยชนสวนรวม มีความทันสมัย และ พรอมท่จี ะปรบั ตวั ใหทันตอการเปลี่ยนแปลงของโลกอยตู ลอดเวลา โดยเฉพาะอยา งย่ิงการนํานวัตกรรม เทคโนโลยี ขอมูลขนาดใหญ ระบบการทํางานท่ีเปนดิจิทัลเขามาประยุกตใชอยางคุมคา และปฏิบัติงานเทียบไดกับ มาตรฐานสากล รวมท้ังมีลักษณะเปดกวาง เช่ือมโยงถึงกันและเปดโอกาสใหทุกภาคสวนเขามามีสวนรวมเพื่อ ตอบสนองความตองการของประชาชนไดอยางสะดวก รวดเร็ว และโปรง ใส โดยทุกภาคสวนในสังคมตองรวมกัน ปลูกฝงคานิยมความซ่ือสัตยสุจริต ความมัธยัสถ และสรางจิตสํานึกในการปฏิเสธ ไมยอมรับการทุจริตประพฤติ มิชอบอยางสน้ิ เชิง นอกจากนั้น กฎหมายตองมคี วามชัดเจน มีเพียงเทาที่จําเปน มีความทันสมัย มีความเปนสากล มีประสิทธิภาพ และนําไปสูการลดความเหล่ือมล้ําและเอ้ือตอการพฒั นา โดยกระบวนการยุตธิ รรมมีการบริหารท่ีมี ประสทิ ธิภาพ เปนธรรม ไมเลือกปฏบิ ัติ และการอาํ นวยความยุติธรรมตามหลกั นิตธิ รรม แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นักงาน กศน. 13

1.9 ทศิ ทางการพฒั นาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 12 1) ยทุ ธศาสตรการเสริมสรางและพัฒนาศกั ยภาพทนุ มนษุ ย ทุนมนุษยของประเทศไทยยังมีปญหาในดานคุณภาพคนในแตละชวงวัย โดยผลลัพธทาง การศึกษาของเด็กวัยเรียนคอนขางตํ่า การพัฒนาความรูและทักษะของแรงงานไมตรงกับตลาดงาน ในขณะที่คน ไทยจํานวนไมนอยยังไมสามารถคัดกรองและเลือกรับวัฒนธรรมไดอยางเหมาะสม ซ่ึงสงผลตอวิกฤตคานิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมในการดาํ เนินชีวิต การพัฒนาในระยะตอไป จึงตองใหความสําคัญกับการวางรากฐานการ พัฒนาคนใหมีความสมบูรณ เพื่อใหคนไทยมีทัศนคติ และพฤติกรรมตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม ไดร บั การศกึ ษา ที่มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานสากล และสามารถเรียนรูดวยตนเองอยางตอเนื่อง มีสุขภาวะที่ดีข้ึนคนทุกชวงวัยมี ทักษะ ความรู และความสามารถเพิ่มข้ึน รวมท้ังสถาบันทางสังคมมีความเขมแข็งและมีสวนรวมในการพัฒนา ประเทศเพิ่มขึ้น 2) ยุทธศาสตรการสรางความเปนธรรมและลดความเหลอ่ื มลํ้าในสังคม การพัฒนาในชวงทผี่ านมาทําใหสงั คมไทยกาวหนาไปหลายดา น แตก ารแกปญหาความเหล่ือมล้ํา และสรางความเปนธรรม ในสังคมไทยมีความคืบหนาชา ทั้งเร่ืองความแตกตางของรายไดระหวางกลุมประชากร ความแตกตางของคุณภาพการบริการภาครัฐ รวมทง้ั ขอ จํากัดในการเขา ถึงกระบวนการยุติธรรมและเทคโนโลยีของ กลุมผูดอ ยโอกาสและกลุมที่อยูในพื้นที่หางไกล ดังนั้น การพัฒนาในระยะตอไป จึงจําเปนตองมุงลดปญหาความ เหล่ือมลํ้าดานรายไดของกลุมคนท่ีมีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมที่แตกตางกัน แกไขปญหาความยากจน เพ่ิมโอกาส การเขา ถึงบริการพ้ืนฐานทางสังคมของภาครัฐ รวมทัง้ เพ่ิมศกั ยภาพชมุ ชนและเศรษฐกิจฐานรากใหมี ความเขม แข็ง เพ่ือใหชุมชนพึ่งพาตนเองและไดร ับสวนแบง ผลประโยชนทางเศรษฐกิจมากขน้ึ 3) ยุทธศาสตรการสรางความเขมแข็งทางเศรษฐกจิ และแขงขนั ไดอ ยา งยัง่ ยืน เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ํากวาศักยภาพอยางตอเน่ืองเปนเวลาหลายป ทั้งจากผลกระทบของ เศรษฐกิจโลกซบเซา และขอจํากัดภายในประเทศเองท่ีเปนอุปสรรคตอการเพ่ิมผลิตภาพและขีดความสามารถใน การแขง ขัน รวมทง้ั ฐานเศรษฐกิจภายในประเทศขยายตวั ชา 4) ยทุ ธศาสตรก ารเตบิ โตที่เปนมิตรกบั สง่ิ แวดลอมเพอ่ื การพัฒนาทีย่ งั่ ยนื ปจจุบันสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอมกําลังเปนจุดออนสําคัญตอการรักษาฐานการ ผลิตและการใหบริการ รวมทั้งการดํารงชีวิตของคนไทย ซึ่งปญหาดังกลาวเกิดจากการลดลงของพ้ืนท่ีปาไม ทรัพยากรดินเสื่อมโทรม ความหลากหลายทางชีวภาพถูกคุกคาม ความเสี่ยงในการขาดแคลนทรัพยากรน้ําใน อนาคต ปญหาสิ่งแวดลอมเพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและชุมชนเมือง การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติมีความผนั ผวนและรุนแรงมากขึ้น และขอ ตกลงระหวางประเทศเก่ียวกับการ เปลี่ยนแปลงสภาพภมู ิอากาศทวีความเขม ขน ซงึ่ จะสง ผลตอ แนวทางการพฒั นาประเทศในอนาคต แผนพัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นักงาน กศน. 14

5) ยุทธศาสตรก ารเสรมิ สรา งความมัน่ คงแหงชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสคู วามมั่งค่ังและยั่งยืน กระแสโลกาภิวัตนและความกาวหนาทางเทคโนโลยีในปจจุบัน มีแนวโนมสงผลกระทบตอ ความมั่นคงและเสถียรภาพของประเทศไทยในหลายมิติ ท้ังภัยคุกคามภายนอก ในเร่ืองการขยายอิทธิพลและการ เพิ่มบทบาทของประเทศมหาอํานาจในภูมิภาคตางๆ ของโลก อาชญากรรมขามชาติและการกอการราย และภัย คุกคามภายในประเทศ ไดแก ความเห็นตางทางความคิดและอุดมการณของคนในชาติ การสรางสถานการณใน จงั หวัดชายแดนภาคใต และการคุกคามทางเศรษฐกิจโดยอาชญากรรมคอมพวิ เตอร 6) ยุทธศาสตรก ารบรหิ ารจัดการในภาครัฐ การปองกนั การทุจริตประพฤตมิ ชิ อบ และธรรมาภิบาล ในสังคมไทยระบบการบริหารจัดการในภาครัฐที่ขาดประสิทธิภาพเปนอุปสรรคที่สําคัญตอ การพัฒนาประเทศมาอยา งตอเน่ือง ท้ังการใหบ ริการประชาชนยังไมไดม าตรฐานสากล การบังคบั ใชก ฎหมายทีข่ าด ประสิทธภิ าพ การบรหิ ารจดั การและการใหบรกิ ารของทองถ่ินขาดความโปรง ใส ระบบและกระบวนการยตุ ิธรรมไม สามารถอํานวยความยุตธิ รรมไดอ ยางเสมอภาคและเปน ธรรม รวมทงั้ การทจุ ริตประพฤติมิชอบในสังคมไทย 7) ยทุ ธศาสตรก ารพฒั นาโครงสรา งพนื้ ฐานและระบบโลจสิ ติกส ท่ีผานมาการพัฒนาโครงสรางพื้นฐานและระบบโลจิสติกสของประเทศประสบปญหาดาน ความตอเน่ืองในการดาํ เนินการ และปญหาเชิงปริมาณคุณภาพ และการบรหิ ารจัดการการใหบริการท่ีสอดคลอง กบั มาตรฐานสากล ทาํ ใหมขี อจํากัดในการสนบั สนนุ การพัฒนาประเทศใหม ีประสทิ ธิภาพ 8) ยุทธศาสตรการพฒั นาวิทยาศาสตร เทคโนโลยี วจิ ยั และนวตั กรรม การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในชวงระยะเวลาที่ผานมาอาศัยการเพิ่มประสิทธิภาพจาก ปจจัยความไดเปรยี บดา นแรงงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และการนําเขา เทคโนโลยีสําเร็จรูปจากตางประเทศมากกวา การสะสมองคค วามรูเพ่ือพฒั นาเทคโนโลยขี องตนเอง ทาํ ใหสวนแบงผลประโยชนท างดานเทคโนโลยีซงึ่ มีมลู คา เพิ่ม สูงตกอยูก ับประเทศผูเ ปนเจาของเทคโนโลยี อีกทั้งการลงทุนดานการวิจัยและพัฒนายังไมเ พียงพอท่ีจะขับเคลื่อน ประเทศสูส งั คมนวตั กรรม 9) ยุทธศาสตรการพฒั นาภาค เมืองและพืน้ ทเ่ี ศรษฐกจิ ในชวงแผนพัฒนาฯ ฉบับท่ี 12 ประเทศไทยตองใชประโยชนจากศักยภาพและภูมิสังคมเฉพาะ ของพ้ืนท่ี และการดําเนินยุทธศาสตรเ ชิงรุกเพื่อเสริมจุดเดนในระดบั ภาคและจังหวัดในการเปนฐานการผลิตและ บริการที่สําคัญ ประกอบกับการขยายตัวของประชากรในเขตเมืองจะเปนโอกาสในการกระจายความเจริญและ ยกระดบั รายไดของประชาชนโดยการพัฒนาเมอื งใหเปนเมืองนาอยูและมีศักยภาพในการรองรบั การคาการลงทุน รวมทั้งลดแรงกดดันจากการกระจุกตัวของการพัฒนาในกรุงเทพฯ และภาคกลางไปสูภูมิภาค นอกจากน้ี การเปน สวนหน่ึงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังสรางโอกาสในการเปดพ้ืนที่เศรษฐกิจใหมบริเวณชายแดนเช่ือมโยง การคา การลงทนุ ในภมู ิภาคของไทยกบั ประเทศเพื่อนบานอีกดว ย แผนพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นักงาน กศน. 15

10) ยุทธศาสตรค วามรว มมอื ระหวา งประเทศเพ่อื การพัฒนา การพัฒนาความรว มมือระหวางประเทศของไทยในชวงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยึดหลักคิดเสรี เปดเสรี และเปด โอกาส โดยมุง เนนการพัฒนาและขยายความรว มมือท้ังดานเศรษฐกจิ สงั คม ความมน่ั คง และอ่ืนๆ กบั มิตรประเทศและเปนการขับเคลื่อนตอเนื่องจากการดําเนินการภายใตแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 โดยกําหนดเปน แนวทางการดําเนินนโยบายการคาและการลงทุนท่ีเสรีเปดกวาง และเปนธรรม ดําเนินยุทธศาสตรเชิงรุกในการ แสวงหาตลาดใหมๆ สง เสริมใหผูป ระกอบการไทยไปลงทนุ ในตางประเทศ และสงเสริมความรว มมือเพ่ือการพัฒนา กับประเทศในอนุภูมภิ าคและภูมิภาครวมทัง้ ประเทศนอกภูมิภาค 1.10 ทิศทางการศกึ ษาตามแผนการศกึ ษาแหงชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 1) วสิ ยั ทัศน “คนไทยทุกคนไดรับการศึกษาและเรียนรูตลอดชีวิตอยางมีคุณภาพ ดํารงชีวิตอยางเปนสุข สอดคลอ งกบั หลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง และการเปลีย่ นแปลงของโลกศตวรรษท่ี 21” 2) ยุทธศาสตรตามแผนการศกึ ษาแหงชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 2.1) การจัดการศกึ ษาเพื่อความมั่นคงของสงั คมและประเทศชาติ (1) เปาหมาย (1.1) คนทุกชวงวัยมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข มีตัวช้ีวัดที่สําคัญ เชน การจัดกิจกรรมของสถานศึกษาท่ี สง เสรมิ การเรียนรูทีส่ ะทอนความรักและการธํารงรักษาสถาบันหลักของชาติ และการยึดมั่นในการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข การจัดการเรียนการสอน/กิจกรรมเพ่ือเสริมสรางความเปน พลเมอื ง (Civic Education) และสงเสริมการอยรู ว มกันในสงั คมพหุวัฒนธรรม เปนตน (1.2) คนทุกชวงวัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใตและพื้นท่ีพิเศษไดรับ การศึกษาและเรียนรอู ยางมีคุณภาพ มีตัวช้วี ัดที่สําคญั เชน นักเรยี นในเขตพัฒนาพิเศษ เฉพาะกิจจังหวัดชายแดน ภาคใตและพ้ืนที่พิเศษมีคะแนนผลการทดสอบทางการศกึ ษาระดับชาตขิ ั้นพื้นฐาน (O-NET) แตละวิชาผานเกณฑ คะแนนรอยละ 50 ข้ึนไปเพ่ิมขึ้น สถานศึกษาจัดการศึกษาสําหรับกลุมชนตางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและ วัฒนธรรม กลมุ ชนชายขอบ และแรงงานตางดา วเพิ่มข้ึน และสถานศึกษาในพ้ืนทีพ่ ิเศษท่จี ดั อยูในมาตรการจูงใจ มี ระบบเงินเดอื น คา ตอบแทนที่สงู กวาระบบปกติเพิ่มขึน้ เปนตน (1.3) คนทุกชวงวัยไดรับการศึกษา การดูแลและปองกันจากภัยคกุ คามในชีวิตรูปแบบใหม มี ตัวชี้วัดท่ีสําคัญ เชน สถานศกึ ษาท่จี ัดกระบวนการเรียนรูแ ละปลูกฝง แนวทางการจัดการความขัดแยงโดยแนวทาง สันติวิธีเพิ่มขึ้น มกี ารจัดการเรยี นการสอน/กิจกรรม เพ่ือเสรมิ สรา งความรูความเขาใจทถี่ ูกตองเกี่ยวกับภัยคุกคาม ในรูปแบบใหมเพิ่มขึ้นมีระบบ กลไก และมาตรการทเ่ี ขมแข็งในการปองกันและแกปญหาภยั คกุ คามในรูปแบบใหม เปนตน แผนพฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สํานกั งาน กศน. 16

(2) แนวทางการพฒั นา พัฒนาการจัดการศึกษาเพ่ือเสริมสรางความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข ยกระดับคุณภาพและสงเสริมโอกาสในการเขาถึง การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใตและพ้ืนท่ีพิเศษ ท้ังที่เปนพื้นท่ีสูง พื้นท่ีตามแนว ตะเข็บชายแดน และพื้นท่ีเกาะแกงชายฝงทะเลทั้งกลุมชนตางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม กลุมชนชายขอบ และแรงงานตางดาว พัฒนาการจัดการศึกษาเพ่ือการจัดระบบการดูแลและปองกันภัยคุกคามในรูปแบบใหม อาทิ อาชญากรรมและความรุนแรงในรูปแบบตางๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหมภัยจาก ไซเบอร เปน ตน และมีแผนงานและโครงการสําคัญ เชน โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษ เฉพาะกจิ จังหวดั ชายแดนภาคใตแ ละพื้นทีพ่ ิเศษ เปนตน 2.2) การผลิตและพัฒนากําลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสรางขีดความสามารถในการแขงขันของ ประเทศ (1) เปาหมาย (1.1) กําลังคนมีทักษะที่สําคัญจําเปน และมีสมรรถนะตรงตามความตองการของตลาดงาน และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มีตัวชี้วัดท่ีสําคัญ เชน มีฐานขอมูลความตองการกําลังคน (Demand) จําแนกตามกลุมอุตสาหกรรมอยางครบถวน สดั สวนผูเรียนอาชีวศกึ ษาสูงขน้ึ เม่ือเทียบกับผเู รยี นสามัญ ศึกษา และสดั สวนผูเรียนวิทยาศาสตรสุขภาพ วิทยาศาสตร และเทคโนโลยีสูงขึ้นเม่ือเทียบกับผูเรียนสงั คมศาสตร กําลังแรงงานในสาขาอาชพี ตา ง ๆ ทไี่ ดร ับการยกระดบั คุณวฒุ วิ ชิ าชพี เพิม่ ข้นึ เปนตน (1.2) สถาบนั การศึกษาและหนว ยงานที่จัดการศึกษาผลิตบัณฑิตท่ีมีความเชี่ยวชาญและเปน เลศิ เฉพาะดาน มตี ัวช้ีวัดท่ีสาํ คญั เชน สัดสวนการผลิตกาํ ลังคนระดับกลางและระดับสูงจําแนกตามระดับ/ประเภท การศึกษาในสาขาวิชาท่ีสอดคลองกับความตองการของตลาดงานและการพัฒนาประเทศเพ่ิมข้ึนรอยละของ สถาบันการศึกษาจัดการศึกษารูปแบบทวิภาคี/สหกิจศึกษา/หลักสูตรโรงเรยี นในโรงงานตามมาตรฐานที่กําหนด เพิ่มขึ้น ภาคีเครือขายความรวมมือระหวางรัฐเอกชน สถานประกอบการ สมาคมวิชาชีพและหนวยงานที่จัด การศึกษาเพม่ิ ข้นึ เปนตน (1.3) การวิจัยและพัฒนาเพ่ือสรางองคความรู และนวัตกรรมท่ีสรางผลผลิต และมูลคาเพิ่ม ทางเศรษฐกิจ มตี วั ชี้วัดท่ีสําคัญ เชน สัดสวนเงินลงทุนวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน เมื่อเทียบกับภาครัฐเพิ่มขึ้น สัดสวนคาใชจายการลงทุนเพ่ือการวิจัยและพัฒนาเม่ือเทียบกับผลิตภัณฑมวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของ ประเทศเพ่มิ ขึน้ โครงการ/งานวจิ ัยเพ่ือสรา งองคค วามร/ู นวตั กรรมท่นี าํ ไปใชป ระโยชนใ นการพฒั นาประเทศเพิม่ ขึ้น บุคลากรดานการวิจัยและพัฒนาตอประชากร 10,000 คนเพิ่มขึ้น นวัตกรรม/สิ่งประดิษฐที่ไดจดสิทธิบัตรและ ทรัพยสินทางปญญาเพิ่มข้ึน และผลงานวิจัยที่ไดรับการตีพิมพในระดับนานาชาติเพิ่มขึ้น เปนตน โดยไดกําหนด แนวทางการพัฒนา คือ ผลิตและพัฒนากําลังคนใหมีสมรรถนะในสาขาที่ตรงตามความตองการของตลาดงานแล แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สํานักงาน กศน. 17

การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สงเสริมการผลิตและพัฒนากําลังคนที่มีความเช่ียวชาญและเปนเลิศ เฉพาะดาน สงเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสรางองคความรู และนวัตกรรมที่สรางผลผลิตและมูลคาเพิ่มทาง เศรษฐกิจ และมีแผนงานและโครงการสําคัญ เชน โครงการจัดทําแผนผลิตและพัฒนากําลังคนใหตรงกับความ ตองการของตลาดงานในกลุม อุตสาหกรรมเปาหมาย เปน ตน 2.3) การพฒั นาศกั ยภาพคนทกุ ชวงวยั และการสรางสังคมแหงการเรยี นรู (1) เปาหมาย (1.1) ผูเรยี นมีทักษะและคุณลักษณะพ้ืนฐานของพลเมืองไทย ทักษะ และคุณลกั ษณะท่ีจําเปนใน ศตวรรษท่ี 21 มีตัวช้ีวัดที่สําคัญ เชน ผูเรียนที่มคี ุณลักษณะและทักษะการเรียนรใู นศตวรรษที่ 21 เพิ่มขึ้น ผูเรียน ทุกระดับการศึกษามีพฤติกรรมท่ีแสดงออกถึงความมีวินัย และมีจิตสาธารณะเพิ่มขึ้น สถานศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนตนหรือเทียบเทาขึ้นไปที่จัดกิจกรรมสะทอนการสรางวินัย จิตสาธารณะ และคุณลักษณะที่พึง ประสงคเ พิม่ ขึ้น เปนตน (1.2) คนทุกชวงวัยมีทักษะ ความรคู วามสามารถ และสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและ มาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตไดต ามศักยภาพ มตี ัวชี้วัดทสี่ าํ คัญ เชน นักเรียนมีคะแนนผลการทดสอบ ทางการศกึ ษาระดับชาติขั้นพ้ืนฐาน (O-NET) แตละวิชาผานเกณฑคะแนนรอยละ 50 ขึ้นไป ผูสูงวัยท่ไี ดรบั บริการ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและทักษะชีวิตเพิ่มขึ้นและมีสาขาและวิชาชีพที่เปดโอกาสใหผูสูงวัยไดรับ การสง เสริมใหท าํ งานและถายทอดความรู/ประสบการณเพิ่มขึน้ เปนตน (1.3) สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาสามารถจัดกิจกรรม/กระบวนการเรยี นรูตามหลักสูตร อยางมีคุณภาพและมาตรฐาน มตี ัวช้ีวดั ทส่ี ําคัญ เชน สถานศึกษาในระดบั การศึกษาขั้นพ้ืนฐานทจ่ี ัดการศึกษาตาม หลกั สูตรท่มี ุงพัฒนาผูเรยี นใหม ีคณุ ลักษณะและทักษะการเรยี นรูในศตวรรษที่ 21 เพ่มิ ขึ้น และสถาบันการศึกษาใน ระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาท่ีจัดการศึกษาตามหลักสูตรท่ีมุงพัฒนาผูเรียนใหมีสมรรถนะท่ีสอดคลองกับ ยทุ ธศาสตรประเทศไทย 4.0 เพิ่มข้ึน เปนตน (1.4) แหลงเรียนรู สื่อ ตําราเรียน นวัตกรรม และสื่อการเรียนรู มีคุณภาพและมาตรฐาน รวมท้ังประชาชนสามารถเขาถึงไดโดยไมจํากัดเวลาและสถานที่ มีตัวช้ีวัดท่ีสําคัญ เชน แหลงเรียนรูที่ไดรับการ พัฒนาใหสามารถจัดการศึกษา/จัดกิจกรรมการเรียนรูตลอดชวี ิตที่มีคุณภาพเพ่ิมข้ึน ส่ือสารมวลชนท่ีเผยแพรห รือ จัดรายการเพ่ือการศึกษาเพิ่มข้ึน สื่อ ตําราเรียนและส่ือการเรียนรูท่ีผานการรับรองมาตรฐานคุณภาพจาก หนวยงานทีร่ บั ผิดชอบ และไดร ับการพฒั นาโดยการมีสว นรวมจากภาครฐั และเอกชนเพิ่มขึน้ เปน ตน (1.5) ระบบและกลไกการวัด การติดตาม และประเมินผลมีประสิทธิภาพ มีตัวช้ีวัดที่สําคัญ เชน มีระบบและกลไกการทดสอบการวัดและประเมินความรูทักษะและสมรรถนะของผูเรยี นทุกระดบั การศึกษา และทุกกลุมเปาหมายท่ีมีประสิทธิภาพ มีระบบติดตามประชากรวัยเรียนที่ขาดโอกาสหรือไมไดรับการศึกษา และผเู รียนทีม่ แี นวโนมจะออกกลางคนั เปนตน แผนพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สํานกั งาน กศน. 18

(1.6) ระบบการผลิตครู อาจารย และบุคลากรทางการศึกษา ไดมาตรฐานระดับสากลมี ตัวชี้วัดที่สําคัญ เชน มีฐานขอมลู ความตองการใชครู แผนการผลิตครูอาจารยและบุคลากรทางการศึกษาในระยะ 10 ป (พ.ศ. 2560 - 2569) จําแนกตามสาขาวชิ า ขนาดสถานศกึ ษา และจังหวัด สัดสว นของการบรรจุครูทม่ี าจาก การผลิตครูในระบบปดเพ่ิมขึ้น มีหลักเกณฑและเงื่อนไขที่เอ้ือใหผูสําเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาอื่นและพัฒนา เพมิ่ เติมเพื่อเขาสูวิชาชพี ครู เปน ตน (1.7) ครู อาจารย และบุคลากรทางการศึกษา ไดรับการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานมี ตัวช้ีวัดที่สําคัญ เชน ครูอาจารยและบุคลากรทางการศึกษาทุกระดบั และประเภท การศึกษาไดรบั การพัฒนาตาม มาตรฐานวิชาชีพ และสามารถปฏิบัติงานไดอยางมีประสิทธิภาพ รวมทั้งไดรับการพัฒนาใหสอดคลองกับความ ตองการและยุทธศาสตรของหนว ยงานเพิ่มข้ึน และระดับความพึงพอใจของครูอาจารยและบคุ ลากรทางการศกึ ษา ที่มีตอการพัฒนา และการใชประโยชนจากการพัฒนาเพิ่มข้ึน เปนตน โดยไดกําหนดแนวทางการพัฒนา คือ สงเสริมและพัฒนาแหลงเรียนรู สื่อ ตําราเรียน และส่ือการเรียนรูตางๆ ใหมีคุณภาพมาตรฐานและประชาชน สามารถเขาถึงแหลงเรียนรูไดโดยไมจ าํ กัดเวลา และสถานที่สรางเสริมและปรับเปลีย่ นคา นิยมของคนไทยใหมีวนิ ัย จิตสาธารณะ และพฤตกิ รรมทพ่ี งึ ประสงค และพัฒนาระบบและกลไกการตดิ ตามการวัดและประเมนิ ผลผเู รยี นใหม ี ประสิทธิภาพ และมีแผนงานและโครงการทส่ี ําคญั เชน โครงการผลติ ครเู พื่อพฒั นาทองถิ่น เปนตน 2.4) การสรา งโอกาส ความเสมอภาค และความเทา เทยี มทางการศึกษา (1) เปาหมาย (1.1) ผูเรียนทุกคนไดร ับโอกาสและความเสมอภาคในการเขาถึงการศึกษาท่มี ีคุณภาพ มตี ัวชี้วัดที่ สําคัญ เชน ดัชนคี วามเสมอภาคของอัตราการเขาเรยี นระดบั การศึกษาขนั้ พ้ืนฐานตามฐานะทางเศรษฐกจิ และพนื้ ที่ ลดลง ความแตกตางระหวางคะแนนเฉล่ยี ผลการทดสอบทางการศกึ ษาระดบั ชาติข้นั พื้นฐาน (O-NET) ของนักเรยี น ระหวา งพน้ื ท/่ี ภาคการศกึ ษาในวิชาคณิตศาสตรและภาษาองั กฤษลดลง เปนตน (1.2) การเพ่ิมโอกาสทางการศึกษาผานเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสําหรับคนทุกชวงวัยมี ตัวช้ีวัดท่ีสําคัญ เชน มรี ะบบเครือขายเทคโนโลยดี ิจิทลั เพ่ือการศกึ ษาที่ทนั สมัยสนองตอบความตอ งการของผูเ รียน และผูใชบรกิ ารอยางทั่วถึง มีประสิทธิภาพ และสถานศึกษาทุกแหงมีอินเทอรเน็ตความเร็วสูงและมคี ุณภาพ เปน ตน (1.3) ระบบขอมูลรายบุคคลและสารสนเทศทางการศึกษาที่ครอบคลุมถูกตองเปนปจจุบันเพ่ือ การวางแผนการบริหารจัดการศึกษาการติดตามประเมิน และรายงานมีตัวชี้วัดท่ีสําคัญ เชน มีระบบฐานขอมูล รายบุคคลที่อางอิงจากเลขท่ีบัตรประจําตัวประชาชน 13 หลัก ที่สามารถเชื่อมโยงและแลกเปล่ียนฐานขอมูล รวมท้ังใชประโยชนรวมกันระหวางกระทรวงศึกษาธิการและหนวยงานอื่นดานสาธารณสุข สังคมสารสนเทศ แรงงานและการศึกษา มีระบบสารสนเทศดานการศึกษาและดานอื่นท่ีเกี่ยวของท่ีเปนระบบเดียวกันท้ังประเทศ ครอบคลุมถูกตอง และเปนปจจบุ ันสามารถอา งองิ ได เปน ตน แผนพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นกั งาน กศน. 19

(2) แนวทางการพัฒนา เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคในการเขาถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อ การศึกษาสําหรับคนทุกชวงวัย พัฒนาฐานขอมลู ดานการศกึ ษาที่มีมาตรฐานเช่ือมโยงและเขาถึงไดและมีแผนงาน โครงการสําคญั เชน โครงการจัดทําฐานขอ มูลรายบคุ คลทกุ ชวงวัยทั้งดา นสาธารณสขุ และการศกึ ษา เปน ตน 2.5) การจดั การศกึ ษาเพ่ือสรางเสริมคณุ ภาพชีวติ ที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอ ม (1) เปา หมาย (1.1) คนทุกชวงวัยมีจิตสํานึกรักษส่ิงแวดลอม มีคุณธรรมจริยธรรม และนําแนวคิดตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสูการปฏิบัติ มีตัวชี้วัดท่ีสําคัญ เชน ครู/ บุคลากรทางการศึกษาไดรับการอบรม พัฒนาในเรือ่ งการสรางเสริมคณุ ภาพชีวติ ที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอมเพ่ิมข้ึน ผูเรยี นทุกระดับการศึกษามีพฤติกรรมที่ แสดงออกถงึ ความตระหนกั ในความสําคัญของการดํารงชวี ติ ท่ีเปนมติ รกับส่ิงแวดลอ ม มีคณุ ธรรมจริยธรรมและการ ประยกุ ตใ ชหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียงในการดําเนินชีวติ เพมิ่ ขึ้น (1.2) หลักสูตรแหลงเรียนรู และสื่อการเรียนรูที่สงเสริมคุณภาพชีวิตที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม คุณธรรมจริยธรรม และการนําแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสูการปฏิบัติ มีตัวช้ีวัดท่ีสําคัญ เชน สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเพ่ือปลูกฝงคุณธรรมจริยธรรม และการนําแนวคิดตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงสูการปฏิบัติเพิ่มขึ้น และส่ือสารมวลชนที่เผยแพรหรือใหความรูเก่ียวกับการสรางเสริม คณุ ภาพชวี ติ ทีเ่ ปนมติ รกับสงิ่ แวดลอมเพ่มิ ขน้ึ เปน ตน (1.3) การวิจัยเพื่อพัฒนาองคความรูและนวัตกรรมดานการสรางเสรมิ คุณภาพชีวิตทเ่ี ปนมิตรกับ ส่ิงแวดลอม มีตัวชี้วัดที่สําคัญ เชน มีฐานขอมูลดานการศึกษาที่เกี่ยวของกับการเปล่ียนแปลงภูมิอากาศในสาขา ตางๆ เพิ่มขึ้น เปนตน โดยไดกําหนดแนวทางการพัฒนา คือ สงเสริมสนับสนุนการสรางจิตสาํ นึกรักษส่ิงแวดลอม มีคุณธรรมจริยธรรม และนาํ แนวคิดตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงสูการปฏิบัติในการดําเนินชีวิต สงเสริม และพัฒนาหลักสูตรกระบวนการเรียนรูแหลงเรียนรูสื่อการเรียนรูตางๆ และพัฒนาองคความรูงานวิจัยและ นวัตกรรมดานการสรางเสริมคุณภาพชีวิต ที่เปนมิตรกับส่ิงแวดลอม และมีแผนงานและโครงการสําคัญ เชน โครงการนอมนําศาสตรพระราชาสูการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพคนทุกชวงวัย โครงการโรงเรียนคุณธรรม โครงการ โรงเรียนสเี ขยี ว เปนตน 2.6) การพฒั นาประสิทธิภาพของระบบบรหิ ารจดั การศึกษา (1) เปาหมาย (1.1) โครงสราง บทบาท และระบบการบริหารจัดการการศึกษามีความคลองตัว ชัดเจน และ สามารถตรวจสอบไดมีตัวช้ีวัดท่ีสําคัญ เชน มีการปรับปรุงโครงสรางและระบบบริหารราชการสวนกลาง สวน ภูมิภาค และสถานศึกษาใหมีเอกภาพสอดคลองกับบริบทของพื้นที่ และการบรหิ ารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล เปน ตน แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นกั งาน กศน. 20

(1.2) ระบบการบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสงผล ตอคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษามีตัวชี้วัดที่สําคัญ เชน สถานศึกษาขนาดเล็ก/สถานศึกษาทต่ี องการความชวยเหลือและพัฒนา เปนพิเศษอยางเรงดวน ที่ไมผานเกณฑการประเมินคุณภาพภายนอกลดลง คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทาง การศึกษาระดับชาติข้ันพ้ืนฐานของผเู รียนท่เี รยี น ในกลุมสถานศึกษาทเี่ ขาสรู ะบบการบริหารจัดการแนวใหมสงู ข้ึน เปน ตน (1.3) ทุกภาคสวนของสังคมมีสวนรวมในการจัดการศึกษาท่ีตอบสนองความตองการของ ประชาชนและพ้ืนทีม่ ีตัวช้ีวัดท่ีสําคัญ เชน จํานวนองคกรสมาคมมูลนิธหิ รอื หนวยงานอื่นท่ีเขามาจัดการศกึ ษาหรือ รว มมอื กบั สถานศึกษาท้ังของรฐั เอกชนและองคกรปกครองสว นทองถ่ินเพ่มิ ขึ้น และสัดสวนการมสี วนรวมสนบั สนุน การศึกษาของภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคีเครือขา ยเมื่อเทยี บกบั รัฐจาํ แนกตามระดบั การศกึ ษาสูงขึ้น (1.4) กฎหมายและรูปแบบการบริหารจัดการทรพั ยากรทางการศึกษารองรับลักษณะที่แตกตาง กันของผูเรียน สถานศึกษา และความตองการกําลังแรงงานของประเทศ มีตัวชี้วัดท่ีสําคัญ เชน มีกฎหมาย กฎระเบียบและระบบการจัดสรรเงินเพื่อการศกึ ษาท่ีเออ้ื และสนองตอบคณุ ลักษณะที่แตกตางกันของผูเรียน ความ ตองการกําลงั แรงงาน และสภาพปญหาท่ีแทจริงของประเทศ มีรปู แบบ/แนวทางกลไกการจัดสรรงบประมาณผาน ดานอปุ สงคและอปุ ทานในสดั สวนทเ่ี หมาะสม เปนตน (1.5) ระบบบรหิ ารงานบุคคลของครู อาจารย และบุคลากรทางการศึกษา มคี วามเปนธรรม สรา ง ขวัญกําลังใจ และสงเสริมใหปฏิบัติงานไดอ ยางเต็มตามศกั ยภาพ มีตัวชี้วัดท่ีสําคญั เชน สถานศึกษาท่ีมคี รูเพียงพอ ตอ การจัดการเรียนการสอนเพ่ิมข้ึนครู/ผูทรงคณุ วุฒิจากภาคเอกชน/ผูป ระกอบการที่ปฏิบัติงานสนับสนุนการเรยี น การสอนเพิ่มข้ึน และสถานศึกษามีบุคลากรทางการศึกษาทําหนาท่ีปฏิบัติงานสนับสนุนการเรียนการสอนเพิ่มข้ึน เปนตน โดยกาํ หนดแนวทางการพัฒนา คอื ปรับปรุงโครงสรางการบริหารจัดการศึกษา (2) แนวทางการพฒั นา เพม่ิ ประสทิ ธิภาพการบริหารจัดการสถานศกึ ษา สงเสริมการมีสวนรวมของทกุ ภาคสวนในการจัด การศึกษา ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบการเงินเพ่ือการศึกษา พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลของครูอาจารย และบุคลากรทางการศกึ ษา และมีแผนงานและโครงการสําคัญ เชน โครงการเพ่ิมประสทิ ธิภาพการบรหิ ารจัดการ โรงเรียนขนาดเล็ก โครงการพัฒนาระบบจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษา และโครงการทดลองนํารองระบบ การจดั สรรเงินผานดานอุปสงคแ ละอปุ ทาน เปนตน 1.11 ยุทธศาสตรก ารจัดสรรงบประมาณเพ่อื การพัฒนาพื้นทรี่ ะดับภาค แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับท่ี 12 ไดกําหนดจุดเนนการพัฒนาพ้ืนท่ีระดับภาค (Area) ไวในประเด็นยุทธศาสตรการจัดสรรงบประมาณรายจาย ประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2562 ท่ีเก่ียวของ กลาวคือ ยุทธศาสตรท่ี 2 : ดานการสรางความสามารถในการแขงขันของประเทศ ยุทธศาสตรท่ี 3 : ดานการ พัฒนาและเสริมสรางศักยภาพคน ยุทธศาสตรที่ 4 : ดานการแกไขปญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ําและ แผนพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นักงาน กศน. 21

สรางการเติบโตจากภายใน และยุทธศาสตรท่ี 5 : ดา นการจัดการนํ้าและสรา งการเติบโตบนคณุ ภาพชีวติ ทีเ่ ปนมิตร กับสง่ิ แวดลอมอยางยัง่ ยนื มากําหนดเปนจุดเนน การพัฒนาพ้ืนที่ระดับภาค (Area) ในแตละภาค รวม 6 ภาคไดแก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใตและภาคใตชายแดน และกําหนด ยุทธศาสตรช้ีนาํ ทเี่ ปนมิติบูรณาการ (Agenda) และมิติกระทรวง/หนวยงาน (Function) เพื่อสนับสนุนการพัฒนา พื้นที่ระดับภาคใหมีความสมบูรณ ครบถวนมากย่ิงข้ึน โดยไดระบุหัวขอของจุดเนนการพัฒนาทั้ง มิติ Area Agenda และ Function โดยกําหนดไว 6 ยุทธศาสตร ดังน้ี 1) ยทุ ธศาสตรการจดั สรรงบประมาณภาคเหนือ 2) ยุทธศาสตรก ารจดั สรรงบประมาณภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ 3) ยุทธศาสตรการจดั สรรงบประมาณภาคกลาง 4) ยุทธศาสตรก ารจดั สรรงบประมาณภาคตะวนั ออก 5) ยุทธศาสตรการจดั สรรงบประมาณภาคใต 6) ยุทธศาสตรก ารจดั สรรงบประมาณภาคใตชายแดน 1.12 สถานการณท เ่ี กยี่ วของกับการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั 1) อตั ราการไมรูหนังสอื อัตราการไมรูหนังสือของประชากรอายุ 15 ปข้ึนไป จากขอมูลของ IMD พบวา มีแนวโนมลดลงจาก รอยละ 5.9 ในป 2550 เปน รอยละ 3.3 ในป 2558 (อันดับท่ี 45 จาก 58 ประเทศ) โดยในป 2557 มีอัตรรการไมรู หนังสือนอยกวาประเทศจีน ฟลปิ ปนส สิงคโปร มาเลเซีย และอินโดนีเซีย แสดงใหเห็นวาประเทศไทยสามารถลด อตั ราการไมร หู นงั สอื ของผูใ หญไ ดค อ นขางมาก หลังจากมีอตั ราการไมรหู นังสือสูงถึงรอยละ 5.9 ในป 2550 (ที่มา : แผนการศกึ ษาแหงชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 (สํานักงานเลขาธิการสภาการศกึ ษา, 2560)) 2) การศึกษาข้นั พื้นฐาน ผูเรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ในชวงปการศึกษา 2552 - 2558 ใน ภาพรวม มีจํานวนเพ่ิมขึ้นจาก 5.609 ลานคน ในป 2552 เปน 6.932 ลานคน ในป 2558 สืบเน่ืองจากนโยบาย การเพ่ิมโอกาสทางการศึกษาของรัฐบาล ท าใหมีจํานวนผูเรียนทุกประเภทการศกึ ษาเพิ่มขึ้น จะเห็นไดจากขอมูล ตามตาราง หนวย : ลานคน ระดับการศึกษา 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 สายสามัญศึกษา 2.072 2.619 2.338 2.446 1.684 2.225 2.447 ระดบั ประถมศึกษา 0.146 0.172 0.141 0.277 0.191 0.211 0.197 ระดับมธั ยมศึกษา 1.926 2.447 2.197 2.146 1.493 2.014 2.250 • มัธยมศึกษาตอนตน 0.752 0.883 0.790 0.901 0.623 0.833 0.937 แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สํานักงาน กศน. 22

ระดับการศึกษา 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 • มัธยมศึกษาตอนปลาย 1.175 1.564 1.407 1.245 0.870 1.181 1.313 - สายสามญั ศกึ ษา 1.151 1.531 1.378 1.197 0.839 1.144 1.276 - สายอาชวี ศกึ ษา 0.024 0.033 0.029 0.048 0.032 0.037 0.037 สายอาชพี 3.407 4.128 3.812 3.293 4.594 3.104 3.786 ตารางที่ 1-1 จาํ นวนผูเรียนการศึกษานอกระบบ ปการศึกษา 2552 - 2558 ทมี่ า : สถติ กิ ารศึกษาของประเทศไทย ปก ารศกึ ษา 2558 (สาํ นักงานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา, 2559) 3) ระดบั การศึกษาของประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15 – 59 ป) ระดับการศึกษาของประชากรวัยแรงงานท่ีมีอายุ 15 - 59 ป ท้ังทีอ่ ยูในวัยเรียนและที่อยูในกําลัง แรงงาน พบวา ในชวงป 2552 - 2558 ประชากรในกลมุ อายุดงั กลา ว ไดรับการศกึ ษาเพ่ิมข้ึน ซึ่งเห็นไดจ ากจํานวน ปการศกึ ษาเฉลี่ยของประชากรที่มีแนวโนมเพ่ิมขึ้นจาก 8.9 ป ในป 2552 เปน 10.0 ป ในป 2558 ซึ่งเทียบไดกับ ระดับมัธยมศึกษาตอนตน โดยมีสัดสวนของประชากรวัยแรงงานท่ีมีอายุ 15 ปขึ้นไปท่ีสําเร็จการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนตน ขึ้นไป เพ่ิมข้นึ จากรอยละ 44.40 เปนรอยละ 42.25 ในชวงเวลาเดียวกัน ในขณะทรี่ อ ยละของ กําลงั แรงงานที่สาํ เร็จการศกึ ษาระดบั ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนตนคอนขางคงท่ีสวนระดบั มธั ยมศึกษาตอน ปลายและอุดมศึกษามีแนวโนมเพิ่มข้ึน แสดงใหเห็นวาการดําเนินงานเพ่ือยกระดับการศึกษาใหแกแรงงานยังไม สามารถดําเนินการไดอยางท่ัวถึง (ที่มา : แผนการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2560 – 2579, สํานักงานเลขาธิการสภา การศกึ ษา, 2560) 4) อตั ราการอา นของประชากรไทย สํานักงานสถิติแหงชาติดําเนินการสํารวจการอานของประชากร คร้ังแรกในป 2546 เฉพาะ ประชากรที่มีอายุต้ังแต 6 ปขึ้นไป และตั้งแตป 2551 ไดเพ่ิมเร่ืองการอานของเด็กเล็ก (อายุต ากวา 6 ป) สําหรับ การสํารวจป 2558 ไดขยายคํานิยามการอาน ใหรวมการอานขอความในสื่อสังคมออนไลน/SMS/E-mail ดวย โดยในการสาํ รวจ 3 คร้ังลาสุด (ป 2554 – 2558) สรุปผลการสาํ รวจทสี่ าํ คัญไดด ังนี้ ตารางท่ี 1-2 เวลาเฉลยี่ ท่ีใชอ า นนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทํางานของประชากรอายุ 15 ปข้นึ ไป ชว งอายุ เวลาเฉลยี่ ท่ีใชอา นนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทํางาน (นาท)ี 2554 2556 2558 วยั เยาวชน (อายุ 15 – 24 ป) 43 50 94 วยั ทํางาน (อายุ 25 – 59 ป) 31 33 61 วัยสูงอายุ (อายุ 60 ปข ้นึ ไป) 32 31 44 แผนพฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สํานกั งาน กศน. 23

โดยผลสํารวจดานเน้ือหาสาระท่ีผูอานชอบอานมากท่ีสุด จากการสํารวจเม่ือป 2558 พบวาวัย เยาวชน (อายุ 15 – 24 ป) ชอบอานขอความในส่ือสังคมออนไลนมากที่สุด ลําดับรองลงมาไดแก หนังสือพิมพ ตํารา /หนังสือความรู นวนิยาย/การตูน แบบเรียน/ตําราเรียน และวารสาร/เอกสารอื่นๆ ตามลําดับ สวนวัยทํางาน (อายุ 25 – 59 ป) ชอบอานหนังสือพิมพมากท่ีสุด ลําดับรองลงมาไดแก ขอความในส่ือสังคมออนไลน วารสาร/ เอกสารอื่นๆ ตํารา/หนังสือความรู นิตยสาร และหนังสือ/เอกสารคําสอนทางศาสนา ตามลําดับ และวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปขึ้นไป) ชอบอานหนังสือ/เอกสารคําสอนทางศาสนามากท่ีสุด ลําดับรองลงมาไดแก หนังสือพิมพ วารสาร/เอกสารอ่ืนๆ ตํารา/หนงั สือความรู และนิตยสาร ตามลําดับ (ท่ีมา : สํารวจการอานหนังสือของประชากร ป 2558 ของสาํ นักงานสถิตแิ หงชาติ) แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นกั งาน กศน. 24

บทท่ี 2 สภาพการดําเนนิ งานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัยท่ผี า นมา และประเดน็ ทตี่ อ งเรง พฒั นา แผนพัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2560 - 2579 จัดทําขน้ึ ภายใต กรอบทิศทางของแผนการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 โดยสอดคลองกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แหงชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564 และยุทธศาสตรช าติ ระยะ 20 ป ตลอดจนสภาพปญหาจากการจัดและ พัฒนาการศึกษาของสํานักงาน กศน. ในระยะที่ผานมา โดยในป พ.ศ. 2557 - 2559 สํานักงาน กศน. มีผลการ ดาํ เนนิ งาน ดงั น้ี 2.1 ดา นประสทิ ธภิ าพการจัดการศึกษาและการเรียนรู ตารางที่ 2-1 จํานวนผรู ับบริการท่ลี งทะเบียนกิจกรรมการศกึ ษานอกระบบจาํ แนกตามประเภทกจิ กรรม (ไมร วมการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน) หนว ย : คน ประเภทการศึกษา จํานวนผูรับบรกิ าร 2557 2558 2559 1. การศกึ ษาตอเนื่อง 1) การศกึ ษาเพื่อพัฒนาอาชีพ 354,461 306,631 763,393 2) การศกึ ษาเพ่ือพฒั นาทักษะชวี ิต 642,456 455,600 824,055 3) การศึกษาเพ่ือพฒั นาสงั คมและชุมชน 402,764 472,784 442,546 2. การสง เสรมิ การรูห นงั สือ 462,888 295,775 163,485 3. โครงการพฒั นาการศกึ ษาในเขตพัฒนา 32,926 49,639 50,499 พเิ ศษเฉพาะกจิ ชายแดนภาคใต 4. การจดั กระบวนการเรยี นรตู ามแนว 378,833 267,445 378,553 ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สํานกั งาน กศน. 25

ตารางท่ี 2-2 จํานวนผูร บั บริการทจ่ี บหลักสูตรกิจกรรมการศกึ ษานอกระบบจาํ แนกตามประเภทกจิ กรรม (ไมร วมการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน) หนวย : คน ประเภทการศึกษา จํานวนผูรบั บริการ 2557 2558 2559 1. การศกึ ษาตอเนื่อง 1) การศึกษาเพ่ือพัฒนาอาชีพ 298,029 173,141 763,393 2) การศึกษาเพ่ือพัฒนาทักษะชีวิต 583,258 430,572 543,940 3) การศกึ ษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน 360,427 452,289 442,546 2. การสงเสริมการรูห นงั สือ 270,741 126,815 93,202 3. โครงการพัฒนาการศึกษาในเขตพฒั นา 32,926 49,639 50,499 พเิ ศษเฉพาะกจิ ชายแดนภาคใต 4. การจดั กระบวนการเรยี นรตู ามแนวปรัชญา 322,200 260,818 322,455 เศรษฐกิจพอเพยี ง ตารางที่ 2-3 จํานวนนกั ศึกษาที่ลงทะเบยี นเรียนการศึกษานอกระบบระดับการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐาน (ระบบ MIS) หนว ย : คน ประเภทการศกึ ษา จาํ นวนผูรบั บรกิ าร 2557 2558 2559 1. ระดับประถมศกึ ษา 123,768 112,481 92,614 2. ระดับมัธยมศึกษาตอนตน 436,838 471,313 470,509 3. ระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย 629,295 639,902 639,660 4. หลักสูตรประกาศนยี บัตรวิชาชีพ 36,403 36,367 33,306 รวม 1,226,304 1,260,063 1,236,089 แผนพฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นกั งาน กศน. 26

ตารางที่ 2-4 จํานวนนกั ศึกษาทจ่ี บการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน ประเภทการศึกษา 2557 จํานวนผูร บั บริการ หนวย : คน 14,179 2558 1. ระดับประถมศกึ ษา 94,539 11,190 2559 2. ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน 159,683 85,969 9,961 3. ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนปลาย 137,993 110,086 4. หลักสูตรประกาศนยี บัตรวิชาชีพ 2,283 3,219 144,428 270,684 238,371 1,399 รวม 265,874 ตารางที่ 2-5 จํานวนผูรบั บรกิ ารการศึกษาตามอัธยาศยั จําแนกตามประเภทกจิ กรรม หนว ย : คน ประเภทกจิ กรรม 2557 จาํ นวนผูรบั บรกิ าร 2559 3,600,051 3,600,051 1. บรกิ ารรายการวทิ ยุเพื่อการศกึ ษา 6,499,548 2558 7,364,160 2. บรกิ ารรายการโทรทัศนเ พ่ือการศึกษา 4,745,952 3,600,051 2,822,184 3. บรกิ ารส่อื เพ่ือการศกึ ษา 3,192,259 6,765,120 2,517,346 4. บริการนิทรรศการทางวิทยาศาสตรเพื่อการศึกษา 6,114,262 2,819,448 3,251,463 5. บรกิ ารกิจกรรมทางวทิ ยาศาสตรเ พื่อการศึกษา 5,880,289 2,433,063 6,302,626 6. บริการสง เสริมการอานในหองสมดุ ประชาชน 2,338,430 6,276,205 ตารางที่ 2-6 ผลการดําเนนิ งานตามเปาหมายการใหบริการของหนว ยงาน ตวั ชี้วดั หนวยนบั ผลการดาํ เนินงาน 2558 2559 1. จาํ นวนผเู รียนการศกึ ษานอกระบบระบบระดัการศึกษา คน 1,260,063 1,236,089 ขั้นพนื้ ฐานท่ไี ดร ับการสนบั สนนุ คา ใชจา ยตามสิทธทิ ี่ รอ ยละ กาํ หนดไว 100 100 2. รอ ยละของผูเรยี นการศึกษานอกระบบระดับการศกึ ษา ขนั้ พ้นื ฐานมคี วามพึงพอใจตอ การไดร บั การสนับสนนุ คาใชจายตามสิทธิท่ีกําหนดไว แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นักงาน กศน. 27

ตวั ชี้วัด หนวยนบั ผลการดาํ เนนิ งาน 2558 2559 3. จาํ นวนประชาชนกลมุ เปาหมายทไ่ี ดรบั บริการ/เขารวม คน 700,000 4,295,592 กิจกรรมการเรยี นรูดา นภาษาองั กฤษและภาษาในประเทศ อาเซยี น รอ ยละ 80 80 4. รอ ยละของประชาชนกลมุ เปาหมายท่ีไดรับบริการ คน 306,631 763,393 มีความพึงพอใจตอการเขารว มกิจกรรมการเรยี นรูดาน รอยละ 80 80 ภาษาองั กฤษในประเทศอาเซยี น คน 7,982,438 22,161,480 5. จํานวนประชาชนกลมุ เปาหมายที่ลงทะเบียนเรยี นใน แหง 1,787 1,787 ทุกหลกั สูตร/กิจกรรมการศกึ ษาตอ เนื่อง รอ ยละ 80 80 6. รอ ยละของประชาชนกลุมเปาหมายท่ีลงทะเบียนมี ความพงึ พอใจตอหลักสตู ร/กิจกรรมการศกึ ษาตอ เนื่อง คน 627,000 - รอยละ 80 - 7. จาํ นวนประชากรกลมุ เปาหมายท่ไี ดรบั บรกิ าร/เขา รว ม 2,522,210 กจิ กรรมการเรียนรูตามอธั ยาศยั คน 2,300,000 80 รอ ยละ 80 18,837 8. จาํ นวนแหลงการเรียนรใู นระดบั ตําบลที่มีความพรอม 6,376 ในการใหบ ริการการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตาม คน อัธยาศัย (กศน.ตําบล) 9. รอ ยละของประชาชนกลุมเปาหมายท่ไี ดร บั บรกิ ารมี ความพงึ พอใจตอการบริการ/เขารวมกจิ กรรมการเรยี นรู การศกึ ษาตามอธั ยาศยั 10. จาํ นวนผูร บั บรกิ ารการสงเสริมการเรยี นรบู านหนงั สอื อัจฉรยิ ะ 11. รอ ยละของผูมารับบรกิ ารมคี วามพึงพอใจตอการ สง เสรมิ การเรยี นรบู า นหนังสืออจั ฉริยะ 12. จาํ นวนนักเรียนนักศึกษาที่ไดรับบริการติวเขมเต็ม ความรู 13. รอยละของนักเรยี น นักศึกษามีความพึงพอใจตอ การรบั บริการตวิ เขมเตม็ ความรู 14. จํานวนผูร ับบริการในพ้นื ท่เี ปาหมายไดร บั การสงเสรมิ การรหู นังสือและการพัฒนาทักษะชีวิต แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นักงาน กศน. 28

ตัวชว้ี ัด หนว ยนบั ผลการดาํ เนนิ งาน รอยละ 2558 2559 15. รอยละของประชาชนกลมุ เปาหมายท่ีไดร บั บริการมี 80 80 ความพงึ พอใจตอ การบริการ/เขารว มกจิ กรรมสง เสรมิ คน การรูหนังสือและการพัฒนาทักษะชวี ิต 28,215 - 16. จํานวนผูร ับการประเมนิ เทยี บระดบั การศึกษาและ รอ ยละ การเทยี บโอนความรแู ละประสบการณต ามหลกั สูตร 80 - การศึกษานอกระบบระดับการศกึ ษาข้นั พื้นฐาน 17. รอยละของผรู บั การประเมนิ เทยี บระดับการศกึ ษา และการเทียบโอนความรูและประสบการณตามหลักสูตร การศกึ ษานอกระบบระดับการศกึ ษาข้ันพนื้ ฐานที่ มคี วามพึงพอใจในการประเมิน ตารางท่ี 2-7 ผลคะแนนเฉล่ียระดับประถมศึกษาของนักศึกษาทั่วประเทศในวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร และวิทยาศาสตร (ปการศกึ ษา) รายวชิ า คะแนนเตม็ 2557 คะแนนเฉลยี่ 2559 2558 ภาษาไทย 60 29.18 29.47 34.81 ภาษาอังกฤษ 60 28.99 28.31 30.37 คณิตศาสตร 60 27.95 26.27 31.6 วิทยาศาสตร 60 26.64 26.91 33.79 ตารางท่ี 2-8 ผลคะแนนเฉลยี่ ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน ของนักศกึ ษาท่วั ประเทศในวชิ าภาษาไทย ภาษาองั กฤษ คณติ ศาสตร และวิทยาศาสตร (ปการศกึ ษา) รายวิชา คะแนนเต็ม 2557 คะแนนเฉลย่ี 2559 2558 ภาษาไทย 60 54.01 50.65 55.34 ภาษาอังกฤษ 60 42.81 43.59 40.85 คณิตศาสตร 60 39.53 41.74 42.26 วิทยาศาสตร 60 46.58 45.63 45.00 แผนพัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สํานักงาน กศน. 29

ตารางท่ี 2-9 ผลคะแนนเฉล่ยี ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลายของนกั ศกึ ษาทวั่ ประเทศในวิชาภาษาไทย ภาษาองั กฤษ คณติ ศาสตร และวทิ ยาศาสตร (ปการศึกษา) รายวิชา คะแนนเตม็ 2557 คะแนนเฉล่ีย 2559 56.31 56.52 ภาษาไทย 60 38.82 2558 38.19 ภาษาอังกฤษ 60 41.83 58.56 43.19 คณิตศาสตร 60 50.32 40.58 42.40 วทิ ยาศาสตร 60 42.31 48.69 ตารางท่ี 2-10 ผลคะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ดานการศกึ ษานอกระบบโรงเรยี น (N-NET) ดา นทักษะการเรียนรู ความรูพื้นฐาน การประกอบอาชพี ทักษะการดําเนนิ ชีวิต และการพัฒนาสังคม สาระการเรยี นรู 1/2557 2/2557 ปก ารศึกษา 1/2559 2/2559 45.81 42.82 37.13 39.80 ทักษะการเรยี นรู 39.85 35.55 1/2558 2/2558 35.77 35.47 ความรพู ืน้ ฐาน 46.70 39.89 40.66 36.68 43.79 38.41 การประกอบอาชีพ 55.82 49.79 35.86 32.52 48.09 53.61 ทกั ษะการดําเนนิ ชีวิต 46.05 50.23 39.85 39.92 44.66 43.79 การพัฒนาสังคม 46.85 43.66 48.27 45.84 41.89 42.22 เฉล่ียรวม 5 สาระ 43.64 43.19 41.66 39.63 จากการประเมินผลการดําเนินงาน สํานักงาน กศน. ที่ผานมา ในปงบประมาณ พ.ศ. 2557 - 2559 ไดร บั ความรวมมือเปนอยางดีจากหนวยงาน/สถานศกึ ษา ในการขับเคล่ือนการดําเนินงานจดั การศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพ่ือใหบรรลุผลสําเร็จตามเปาหมายของแผนท่ีสํานักงาน กศน. ไดกําหนดไว โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการศึกษาขั้นพ้ืนฐานของการศึกษานอกระบบ จากผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติดานการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) สาระทักษะการเรียนรู สาระความรูพื้นฐาน สาระ การประกอบอาชพี ทกั ษะการดําเนินชวี ิต และสาระการพัฒนาสังคม พบวา สวนใหญมคี ะแนนเฉล่ียตํา่ กวา รอยละ 50 และคะแนนมแี นวโนมลดลง โดยเฉพาะดา นความรพู นื้ ฐานมคี ะแนนคอ นขางตา่ํ มาก แผนพัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สํานักงาน กศน. 30

2.2 ดานการประเมินคณุ ภาพของสถานศึกษาในภาพรวม ผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554 - 2558) ของสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องคการมหาชน) พบวา สถานศึกษาระดับกอนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และการศึกษานอกโรงเรียนระดับ อําเภอ ไดร ับการรับรองมาตรฐานรอยละ 96.81 77.47 79.49 และ 98.81 ตามลําดับ หากพิจารณาสถานศกึ ษาท่ี ผานการรับรอง พบวา ผลการประเมินท่ีสะทอนคณุ ภาพผูเรยี นยังไมเปนที่นา พึงพอใจ เห็นไดจากผลการประเมิน ตามตวั บง ช้ีทม่ี ีคา เฉลี่ยระดับพอใชในระดับประถมศกึ ษาถึงระดบั มัธยมศกึ ษา ไดแ ก ตัวบง ช้ีดา นผลสัมฤทธ์ิทางการ เรียนของผูเรยี น สวนประเภทอาชีวศึกษา ไดแ ก ตัวบงช้ดี านผลงานทเี่ ปน โครงงานทางวชิ าชพี หรือส่ิงประดิษฐข อง ผูเรียนทไี่ ดนําไปใชประโยชน ดานผลงานที่เปนนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ งานสรา งสรรคหรอื งานวิจัยของครทู ี่นาํ ไปใช ประโยชน และดานผเู รยี นผานการทดสอบมาตรฐานทางวิชาชพี จากองคก รท่ีเปน ท่ียอมรบั 2.3 ดานการจัดสรรงบประมาณรายจา ยประจําปเ พื่อสนบั สนุนการจดั การศกึ ษาและการเรียนรู ตารางท่ี 2-11 การจดั สรรงบประมาณรายจายประจําป ประเภทงบประมาณ การจดั สรรงบประมาณรายจายแยกตามปงบประมาณ (ลานบาท) 2557 2558 2559 งบบุคลากร 5,241.8342 5,258.9488 5,333.9282 งบดาํ เนินงาน 1,418.1072 1,472.6071 1,381.4723 งบลงทนุ 241.5438 203.7618 200.9157 งบอุดหนนุ 4,473.0328 4,473.0328 4,473.0370 งบรายจา ยอื่น 1,481.0009 1,205.9659 827.7942 รวม 12,855.5189 12,614.3164 12,217.1474 2.4 ดานบคุ ลากรที่เกี่ยวของกบั การจดั การศึกษาและการเรยี นรู ในชวงปงบประมาณ พ.ศ. 2557 – 2559 จํานวนบุคลากรท่ีปฏิบัติงานจริงเมื่อเปรียบเทียบกับกรอบ อัตรากําลังมีแนวโนมลดลง โดยขาราชการพลเรือน ขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีจํานวนลดลง เน่ืองจากบางสวนเกษียณอายุราชการ และยังไมไดสรรหาบุคลากรมาแทนท่ีในอัตราเดิม สวนบุคลากรประเภท พนกั งานราชการที่ปฏบิ ตั ิงานในพ้ืนทบี่ างสวนลาออกเนื่องจากสอบบรรจเุ ขารับราชการในหนว ยงานอ่ืน แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สํานักงาน กศน. 31

ตารางที่ 2-12 รายละเอียดจํานวนบุคลากรแตล ะประเภทเทียบกับกรอบอัตรากําลังจาํ แนกตามปง บประมาณ ประเภทบุคลากร กรอบอัตรากาํ ลัง จํานวนบคุ ลากร จาํ นวนบุคลากร 2557 2558 2559 ขา ราชการพลเรอื น 385 391 322 - ผบู รหิ าร กศน. (คน) - บคุ ลากร 391 3,238 3,233 2,864 3,236 ขาราชการครแู ละบุคลากรทางการศกึ ษา 14,285 14,285 14,155 - ผอู าํ นวยการ/รองผูอาํ นวยการ 14,285 945 939 866 สํานักงาน กศน.จงั หวัด/กทม. 945 6,124 N/A N/A - ผูอาํ นวยการ/รองผอู าํ นวยการ N/A 24,977 18,848 18,207 18,857 สถานศกึ ษาสงั กัดสว นกลาง - ผูอ าํ นวยการสถานศกึ ษา (กศน. อาํ เภอ/เขต) - บคุ ลากร (ครูและบุคลากร ทางการศกึ ษา ตามมาตรา 38ค (2)) พนักงานราชการ - ครอู าสาสมัคร - ครู กศน.ตาํ บล/แขวง (หัวหนา กศน. ตาํ บล และครู กศน.ตําบล) - ตําแหนง อื่นๆ (ทดแทนตาํ แหนง ลูกจางประจาํ ) ลูกจา งประจํา (กรอบอัตราลดลงตาม จาํ นวนบคุ ลากรท่ีเกษียณอายุราชการ) ครศู นู ยการเรียนชมุ ชน (ไดร ับคา ตอบแทนจากเงนิ อดุ หนนุ ) รวม แผนพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นกั งาน กศน. 32

2.5 ประเดน็ ท่ีตองเรง พัฒนา จากการนิเทศผลการดําเนินงานการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีขอเสนอแนะ เพ่ือการพัฒนางาน กศน. ดงั นี้ 1) ควรมีการจัดอบรมใหความรแู กครแู ละบุคลากรทางการศึกษาของสํานกั งาน กศน. จังหวัด ใน เรื่องอาเซียนศึกษาในทุกมิติ ท้ังมิติดานสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม เพ่ือใหครู กศน.ซ่ึงเปนผูสอน หนังสือโดยตรงแกนักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา คือ ผูรับผิดชอบงานอาเซียนในสํานักงาน กศน.จังหวัด ซ่ึงทําหนาที่เผยแพรความรูดานอาเซียนแกผูเก่ียวของ และศึกษานิเทศกในฐานะผูสนับสนุนและนิเทศติดตามผล เพ่ือประสานความรวมมือในการดําเนนิ งานดา นอาเซยี น 2) อบรมใหความรูภาษาอังกฤษ ซึ่งเปนภาษากลางในการสื่อสารในอาเซียนแกครู และบุคลากร ทางการศึกษาทุกระดับ โดยแบงตามระดับพ้ืนฐานความรู เปนขั้นตน ข้ันกลาง และข้ันสูง เพื่อใหสามารถใช ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเพ่ือประโยชนของตนเอง และเพ่ือการจัดการเรียนการสอนอันจะเปนประโยชนตอ สว นรวม 3) อบรมใหความรหู รือสนับสนุนใหเขารับเกี่ยวกับความรภู าษาของเพ่ือนบานแกครู กศน. ที่อยู ในสํานักงาน กศน.จังหวัด ท่ีอยูตามชายแดนประเทศตา งๆ เพ่ือนนําความรไู ปใชในการสอนใหกับพอคาประชาชน ทีส่ นใจอยา งกวางขวาง 4) ดานการศึกษาข้ันพื้นฐาน พบวา กศน.อําเภอสวนใหญ จัดใหมีการปรับพ้ืนฐานความรูดาน ICT และวชิ าหลัก 4 วิชา (คณิตศาสตร วิทยาศาสตร ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย) แตครู กศน. สวนใหญยังไมมี ความเขาใจเกยี่ วกบั การจดั ทําหลักสูตรสถานศกึ ษาและแผนการจัดการเรยี นรู อกี ทงั้ แผนการจัดการเรียนรูดังกลา ว มิไดนําไปสูการปฏิบัติอยางจริงจัง ซ่ึงสงผลตอการจัดกิจกรรมการเรียนรูและบันทึกหลังการสอน อันนําไปสู การวจิ ัยเพ่ือการพัฒนาการเรียนการสอน - พฒั นาหลักสตู รการศกึ ษาตลอดชวี ิต - พฒั นาโครงสรา งการบรหิ ารจัดการของหนว ยงาน/สถานศึกษา - พฒั นาระเบียบ การกระจายอํานาจใหส อดคลองกบั การพฒั นาในปจจุบัน แผนพฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นกั งาน กศน. 33

บทท่ี 3 การวเิ คราะหตําแหนงยุทธศาสตรของ สาํ นกั งาน กศน. 3.1 ผลการวเิ คราะหส ถานการณขององคก รเพ่ือกาํ หนดยทุ ธศาสตร (SWOT) การวิเคราะหสถานการณ (สภาพแวดลอมภายในและภายนอก) ของสํานกั งาน กศน. ใชเ ทคนิค SWOT Analysis ท่ี ป ระ ก อ บ ด วย 4 M’s (Man Money Method and Material) แ ล ะ PESTEL Politics (การเมืองการปกครอง) Economic (ระบบเศรษฐกิจ) Socio-culture (สังคม-วัฒนธรรม) Technology (เทคโนโลยี) Environment (สภาพแวดลอ ม) และLaw (กฎหมายทเ่ี กีย่ วขอ ง) โดยผลการวิเคราะหปจจัยภายใน (จุดแข็งและจุดออน) เบ้ืองตน กลาวโดยสรุป ดังนี้ ผูบรหิ ารมี ความรูความเขาใจเชิงนโยบายทําใหสามารถดําเนินการไดอยางเปนเอกภาพ และบุคลากร กศน. มีความรู ความสามารถในการปฏิบัติงานท่ีหลากหลายตอบสนองตอบตอความตองการของกลุมเปาหมาย แตพบวาจํานวน อัตรากําลังไมเพียงพอตอการดําเนนิ งานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หนวยงานในระดบั พื้นท่ี ไดรับจัดสรรงบประมาณอยางท่ัวถงึ แตการจัดสรรงบประมาณดงั กลาวไมเ พียงพอตอการจัดการศึกษานอกระบบ และการศกึ ษาตามอัธยาศัยทีม่ ปี ระสทิ ธภิ าพ จากการวิเคราะหยังพบวาหลักสูตการศึกษานอกระบบ พุทธศักราช 2551 ไมเอื้อตอการจัด การศึกษาใหสอดคลองตามบรบิ ทของพื้นที่นั้นๆ และยังพบปญหาในการจัดการศึกษานอกระบบ อาทิ เกณฑการ เทียบโอนของสถานศึกษาที่ขาดประสิทธิภาพ คูมือการจัดกิจกรรมขาดความชัดเจน ขาดการพัฒนาแนวทางการ จัดการเรยี นรูภมู ปิ ญญาใหมคี วามสอดคลอ งกับความตอ งการ จากการวิเคราะหปจจัยภายนอก (โอกาสและอุปสรรค) เบ้ืองตน กลาวโดยสรุป ดังนี้ ทิศทางการพัฒนาประเทศตามแนวทางยุทธศาสตรชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ แผนการศึกษาชาติ และรฐั บาลไดใหความสําคัญกับการจัดศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอยางท่วั ถงึ และมีคุณภาพ โดย สนับสนุนคาใชจายในการจัดการศึกษาต้ังแตระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงการขับเคลื่อนตาม นโยบายไทยแลนด 4.0 ที่สงผลตอการทํางานเชิงรุก แตเนื่องดวยกฎหมายเก่ียวกับการศึกษานอกระบบและ การศกึ ษาตามอธั ยาศัยสงผลกระทบตอ การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั ทําใหข าดเอกภาพ 3.2 สภาพแวดลอ มทตี่ องเผชิญในระยะ 20 ป ขา งหนา ประเทศไทยในเชิงสังคมมีแนวโนมการเปล่ียนแปลงของบริบทโลกที่สําคัญมากขึ้นในอนาคต ไดแก การเปลี่ยนแปลงโครงสรางประชากรซึ่งนับวาเปนความเส่ียงและความทาทายสําคัญสําหรับนานาประเทศ ประเทศที่พัฒนาแลวและกําลังพัฒนาจํานวนไมนอยตองเผชิญกับความเส่ียงที่เกิดจากโครงสรางประชากรสูงวัย เพ่ิมขึ้นตามลําดับ ซ่ึงเปนความเส่ียงจากการขาดแคลนแรงงานและภาระดานงบประมาณท่ีสูงขึ้น รวมทั้ง ผลกระทบตอคุณภาพชีวิตผูสูงอายุ แตในขณะเดียวกันไดรับโอกาสทางการตลาดของผลิตภัณฑและบริการท่ี แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นักงาน กศน. 34

สามารถตอบโจทยสังคมสูงวัยหลากหลายข้ึน และเปนความทาทายตอการวิจัยและพัฒนาเพ่ือยกระดับคุณภาพ ชวี ิตของผูสูงวัยใหดีข้ึน จากวิวัฒนาการและปจ จัยดงั กลาวไดสงผลใหภ ูมิทัศนของโลกเปลี่ยนแปลงไปอยางรวดเร็ว ในทุกดาน โดยเฉพาะอยางยิ่งในดานการพัฒนาและการใชวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีในการตอบโจทยการ ดาํ รงชวี ติ และการดําเนินธุรกิจรูปแบบใหม ๆ ขณะเดียวกันแนวโนมของการยา ยถิ่นฐานของประชากรทีเ่ พ่ิมขึ้นจาก การแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจและความกดดันภายในประเทศจะสง ผลกระทบตอ การผสมผสานทางวัฒนธรรม และกฎเกณฑทางสงั คม นอกจากนี้ รูปแบบการดําเนินชีวิตและความสัมพันธของคนจะเปลี่ยนแปลงไป อันเปนผล มาจากอิทธิพลของโลกาภิวัตนและความกา วหนา ทางเทคโนโลยี ดังนั้น การสรางภูมิคุมกันและความเขาใจถึงการผสมผสานและการเล่ือนไหลทางวัฒนธรรม รวมท้งั การเพ่ิมทักษะหลากหลายและเรียนรูอยา งตอเนื่อง จะเปนเง่อื นไขสาํ คัญตอการดาํ รงชีวติ อยางมีคณุ ภาพใน โลกเทคโนโลยีและไรพรมแดน นอกจากน้ี ยงั มีปจจยั จากภาวะโลกรอ นและการเปลย่ี นแปลงของสภาพภมู อิ ากาศท่ี สงผลกระทบตอสุขภาพและความเปนอยูของคน แตคนไทยจํานวนไมนอยยังขาดทัศนคติท่ีพึงประสงค เม่ือประกอบกับบริการทางสังคมที่มีคณุ ภาพยังไมสามารถกระจายไปไดครอบคลุมท่ัวถึง จึงติดกับดักทักษะระดับ ต่ําและรายไดตํ่า ทําใหสังคมไทยจึงมีความลักล่ันระหวางความกาวหนาทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีกับ ความกาวหนาทางคุณภาพของสังคม การเลื่อนไหลและผสมผสานทางสังคมและวัฒนธรรมขาดการกล่ันกรองและ ภูมิคุมกันท่ีเหมาะสม จึงตองเรงพัฒนาการศึกษาใหประชาชนมีจิตสาธารณะและรับผิดชอบตอสังคม การคิด วิเคราะหแ ละสรางสรรค ความกระตือรอื รน และขยัน เปนตน สําหรับประเทศไทยการพัฒนาทางสังคมกาวหนามาตามลําดับซึ่งจะสงผลใหคนไทยโดยเฉลี่ย มีการศึกษาและสุขภาพดีข้ึน และระบบเกื้อกูลในครอบครัวไทยเขมแข็งเปนทุนทางสังคมที่สําคัญ นอกจากนั้น กลาวไดวาระบบการศึกษา ระบบสาธารณสุขและสวัสดิการ และโครงสรางพ้ืนฐานในทุกดานก็มีการพัฒนา กาวหนาไปตามลําดับ แตหากเม่ือเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแลว กลุมประเทศกําลังพัฒนาดวยกันนับวา ประเทศไทยพัฒนาไปไดชากวาหลายๆ ประเทศ การพัฒนาประเทศไทยในชว งระยะเวลาถัดไปจะเผชิญกับความ ทาทายในหลายดา น ทง้ั การเปลยี่ นแปลงดานประชากรท่ีประเทศไทยจะเขาสูสังคมสูงวัยระดับสุดยอดในป 2579 โดยจะมสี ดั สว นของผสู งู อายถุ งึ รอ ยละ 30 ขณะทส่ี ัดสวนวัยเดก็ และวัยแรงงานมีสัดสวนลดลงอยา งตอ เนอ่ื ง โดยวัย เด็กมีสัดสวนคิดเปนรอยละ 14 ขณะท่ีวัยแรงงานคดิ เปนรอยละ 56 นอกจากน้ัน สถาบันครอบครัวมขี นาดเล็กลง และมีรปู แบบท่ีหลากหลายมาก แผนพัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สํานักงาน กศน. 35

บทที่ 4 วสิ ยั ทัศน จุดเนน เปาหมายหลัก ยุทธศาสตร เปาหมายตามยทุ ธศาสตร และแนวทางการพัฒนา 4.1 วสิ ยั ทัศน “คนไทยไดรับโอกาสการศึกษาและการเรียนรูตลอดชีวิตอยางมีคุณภาพ สามารถดํารงชีวิตท่ี เหมาะสมกบั ชว งวยั สอดคลอ งกับหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง และมที กั ษะทีจ่ ําเปน ในโลกศตวรรษที่ 21” 4.2 จุดเนน “สงเสริม สนับสนุน และใหบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและ การเรียนรูตลอดชวี ิตอยา งทว่ั ถึงและมีคุณภาพ มสี าระการเรียนรูท่เี ปนปจจุบันและตรงกบั ความตอ งการของผูเรยี น และสังคม โดยนอมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และใชส่ือเทคโนโลยีที่หลากหลายและทันสมัยมาเปน กลไกในการจัดรวมท้ังพัฒนาครูใหเปนผูจัดการศึกษาและการเรียนรูมืออาชีพ เนนพัฒนากระบวนการคิดและ การวิจัยใหกับกลุมเปาหมาย ใชกลยุทธการบริหารจัดการเชิงรุก โดยใหชุมชนและทุกภาคสวนมีสวนรว มภายใต การบรหิ ารจดั การตามหลกั ธรรมาภิบาล เพ่อื สรา งสังคมแหง การเรียนรตู ลอดชีวิตอยางยงั่ ยนื ” 4.3 เปาหมายหลัก 1) คนไทยสามารถเขาถึงบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมท้ัง การเรียนรตู ลอดชีวิตทมี่ ีคุณภาพ และมาตรฐานอยางทว่ั ถึง 2) คนไทยมีสมรรถนะและทักษะในการดาํ รงชวี ิตทเ่ี หมาะสมกบั ชวงวัย สอดคลองกับหลักปรชั ญา ของเศรษฐกจิ พอเพยี ง และพรอ มรับการเปลย่ี นแปลงของโลกในศตวรรษท่ี 21 3) หนวยงานและสถานศึกษามีระบบเทคโนโลยีท่ีทันสมัย และมีประสิทธิภาพเพ่ือใหบริการ การศกึ ษาและการเรียนรตู ลอดชีวิตใหก ับประชาชนอยางท่วั ถงึ และมีประสทิ ธิภาพ 4) หนวยงานและสถานศึกษามีระบบบริหารจัดการท่ีมีประสิทธิภาพ ภายใตการบริหารจัดการ ตามหลักธรรมาภิบาล 5) ทุกภาคสวนมีบทบาทและมีสวนรวมในการสงเสริม สนับสนุน และจัดการศึกษาและ การเรียนรูต ลอดชีวติ 4.4 ยุทธศาสตร 1) เพม่ิ และกระจายโอกาสในการเขา ถงึ บรกิ ารการศึกษาและการเรยี นรทู ี่มีคุณภาพ 2) พฒั นาและเสรมิ สรางศกั ยภาพคนทุกชวงวัยใหมสี มรรถนะและทกั ษะเหมาะสม มคี ณุ ภาพชวี ิตท่ีดี 3) สงเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยดี จิ ทิ ลั เพ่ือการศกึ ษาสําหรับคนทุกชวงวยั 4) พฒั นาระบบบรหิ ารจัดการศึกษาและสงเสรมิ ใหทกุ ภาคสว นมีบทบาทและมีสว นรวมในการจัดการศกึ ษา แผนพัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สํานักงาน กศน. 36

4.5 เปาหมายตามยุทธศาสตรและแนวทางการพัฒนา ยทุ ธศาสตรท่ี 1 เพิม่ และกระจายโอกาสในการเขาถงึ บริการการศกึ ษาและการเรยี นรูท่มี ีคุณภาพ เปาหมายตามยทุ ธศาสตร 1) คนไทยไดรับโอกาสและความเสมอภาคในการเขาถึงการศึกษาและการเรียนรูตลอดชีวิต ท่ีมีคณุ ภาพและมาตรฐาน 2) แหลง เรียนรู ส่ือและนวัตกรรมการเรียนรูมีคุณภาพและมาตรฐาน ประชาชนสามารถเขาถึงได โดยไมจ าํ กัดเวลาและสถานที่ 3) คนไทยทุกชว งวัยในเขตพฒั นาพิเศษเฉพาะกิจชายแดนใต และพื้นท่ีพิเศษไดรับการศกึ ษานอก ระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัยทมี่ คี ณุ ภาพ แนวทางการพัฒนา การศกึ ษานอกระบบ 1) ประกันโอกาสการเขารับบริการทางการศึกษาระดับการศึกษาข้ันพื้นฐานใหแกผูเรียน ในทกุ พน้ื ท่ี ครอบคลุมผูทม่ี คี วามตองการจําเปนพเิ ศษ 2) สงเสริมใหมีการบูรณาการ การศึกษานอกระบบเพื่อใหผูเรียนสามารถเขาถึงโอกาสทาง การศึกษาทีม่ คี ุณภาพ สอดคลองกบั วัย สภาพรางกายและสุขภาพ ความจําเปน ความตองการและความสนใจ และ สามารถนําผลท่ีไดจากการศึกษาและการเรียนรูไปเทียบระดับ เทียบโอน เชื่อมโยงสงตอระหวางการศึกษาทุก รปู แบบทกุ ระดบั ได 3) สงเสริมการจัดการศึกษานอกระบบท่ีสอดคลองกับความสนใจและวิถีชีวิตของผูเรียนทุก กลุมเปา หมาย 4) สงเสริมโอกาสในการเขาถึงการศึกษานอกระบบของคนทุกชวงวัยในพื้นท่ีพิเศษ และเขต พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใตใหเหมาะสมกับภูมิสังคม อัตลักษณ และความตองการของชุมชนและ พ้นื ท่ี 5) จัดทํา SMART CARD ทางการศึกษาสําหรับทุกกลุมเปาหมายโดยเฉพาะกลุมเปาหมายพิเศษ เพอื่ ขอรบั บรกิ ารทางการศกึ ษา 6) พัฒนาระบบ E-exam และระบบการสอบอิเล็กทรอนิกสใหมีมาตรฐานและยกระดับ สถานศึกษาทุกแหงใหเปนศูนยทดสอบดวยระบบอิเล็กทรอนิกสเพื่อเพ่ิมโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานท่ีมี คณุ ภาพใหแ กประชาชน 7) พัฒนาระบบการเทียบโอนและการเทียบระดับการศึกษา ใหมีมาตรฐานและสามารถเช่ือมโยง การศึกษาและการเรียนรทู ุกระดับ ทกุ รูปแบบ แผนพัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นกั งาน กศน. 37

การศกึ ษาตามอัธยาศยั 1) พัฒนาแหลงเรียนรูในชุมชนใหมีมาตรฐานตามประเภทแหลงการเรียนรู และสอดคลองกับ ความสนใจและวถิ ีชีวติ ของผูรบั บรกิ ารแตละกลมุ เปาหมาย รวมท้ัง สามารถใหบ รกิ ารไดอ ยางท่วั ถงึ 2) พัฒนาหองสมดุ พิพธิ ภัณฑ และจัดแหลงเรียนรูทห่ี ลากหลาย กระจายอยูทุกพื้นท่ีใหเ ปนกลไก ในการแสวงหาความรขู องประชาชน 3) เพิ่มโอกาสในการเขาถึงการศกึ ษาตามอัธยาศัยของคนทุกชวงวัยในพื้นที่พิเศษ และเขตพัฒนา พิเศษเฉพาะกิจจังหวดั ชายแดนใตใหเ หมาะสมกับภูมสิ งั คม อัตลักษณ และความตองการของชมุ ชนและพืน้ ที่ 4) พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู สือ่ เพื่อการเรียนรู และการใหบรกิ ารเทคโนโลยีสารสนเทศ ทุกรปู แบบ ตลอดจนขยายเครอื ขา ยอนิ เทอรเ น็ตความเรว็ สูงในสถานศึกษาทกุ แหง ครอบคลมุ ทุกพืน้ ทแี่ ละเพียงพอ กับผูเรียน เพ่อื เออ้ื ตอ การเรยี นรดู ว ยตนเอง และการเรยี นรแู บบมสี ว นรว ม ยุทธศาสตรท่ี 2 พัฒนาและเสริมสรางศักยภาพคนทุกชวงวยั ใหมีสมรรถนะ และทักษะเหมาะสม มคี ณุ ภาพชวี ติ ท่ดี ี เปา หมายตามยุทธศาสตร 1) คนทกุ ชวงวัยมีทักษะ ความรู ความสามารถตามมาตรฐานการศกึ ษา และพัฒนาคณุ ภาพชีวิต ไดต ามศกั ยภาพ 2) คนไทยไดร ับการพัฒนาสมรรถนะและทักษะในการดํารงชีวิตที่เหมาะสมกบั ชวงวยั และพรอม รบั การเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 รวมพื้นท่ชี ายแดนใตแ ละพ้ืนทพ่ี เิ ศษ 3) ระบบการวดั ผลและประเมนิ ผลและการเทียบโอนการศึกษาที่มปี ระสทิ ธิภาพ 4) คนไทยมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดม่ันการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริยท รงเปน ประมุข 5) สถานศึกษาสามารถจัดกจิ กรรม กระบวนการเรียนรตู ามหลกั สตู รไดอ ยางมคี ณุ ภาพ มาตรฐาน 6) ครู และบุคลากรทางการศกึ ษาไดรับการพฒั นาสมรรถนะอยา งตอเนื่อง 7) กลุมผูดอยโอกาส กลุมผูพลาดโอกาส และกลุมผูขาดโอกาส ไดรับโอกาสในการพัฒนา สมรรถนะและทักษะในการดํารงชวี ติ เพ่ือการมีคณุ ภาพชวี ิตทีด่ ี 8) ผูเรียน ผูรับบริการ ไดรับโอกาสและความเสมอภาคในการเขารับการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยอยางมคี ณุ ภาพ แนวทางการพัฒนา การศึกษานอกระบบ 1) ปฏิรูปหลักสูตร ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการจัดการเรียนรูใหทันตอ ความเปลี่ยนแปลง เหมาะสมและสอดคลองกบั สภาพของกลุมเปาหมาย แผนพฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นกั งาน กศน. 38

2) พัฒนากระบวนการเรยี นการสอนเพอ่ื ยกระดบั คะแนนเฉล่ียของการทดสอบคณุ ภาพการศกึ ษา นอกระบบระดบั ชาติ (N-NET) 3) พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษานอกระบบใหเช่ือมโยงกับระบบคุณวุฒิวิชาชีพท่ีนําไปสู เสนทางอาชีพ โดยมีกลไกการวัดและประเมินผลเพ่ือเทียบโอนความรูและประสบการณ และพัฒนาใหมีระบบการ สะสมและเทียบโอนหนวยการเรยี น (Credit Bank System) 4) พัฒนาหลักสูตร และกระบวนการเรียนรูใหสอดคลองกับสภาวการณการพัฒนาประเทศ และเปนไปตามสภาพและความตองการของกลุมเปาหมาย โดยคํานึงถึงการพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน เสริมสรา ง ความตระหนักในคุณคา ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความรูเรื่องทกั ษะที่จาํ เปน ในศตวรรษท่ี 21 5) พัฒนารูปแบบและวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรูท่ีมีคุณภาพและมาตรฐาน สามารถวัด และประเมนิ ไดตรงตามวัตถุประสงค และนําผลการประเมินไปใชไ ดจ รงิ 6) สงเสริมใหมีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู สื่อเพ่ือการเรียนรู และการ ใหบริการเทคโนโลยีสารสนเทศทุกรปู แบบทไี่ ดม าตรฐาน 7) พัฒนาหลกั สูตรการศึกษานอกระบบและหลักสูตรการอบรมแกกลุมผสู ูงวัยใหมีคุณภาพและ ชีวิตทดี่ ี 8) พัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษสําหรับประชาชนเพ่ือยกระดับทักษะการใชภาษาอังกฤษของ คนไทย และภาษาตา งประเทศอ่นื ๆ ทีเ่ ปน ไปตามความตองการของพ้ืนท่ีและประชาชน 9) สงเสริมใหมีการจัดทําแผนการเรียนรูตลอดชีวิตของชุมชน/รายบุคคล เพ่ือเปนเครื่องมือ ในการกาํ หนดทศิ ทางและสรา งแรงจูงใจในการเรยี นรูตลอดชวี ติ ของประชาชน 10) สงเสริมใหสถานประกอบการจัดการศึกษานอกระบบ ซ่งึ อาจจัดเองหรือรวมจัดโดยสามารถ นาํ คาใชจ ายในการจดั การศกึ ษาไปลดหยอ นภาษไี ด 11) พฒั นาหลักสตู รอาชพี เพ่ือเสรมิ สรา งการพฒั นาอาชีพใหกบั ประชาชนในชุมชนแบบครบวงจร ซ่ึงเปนกระบวนการตนทางถงึ ปลายทางตัง้ แตกระบวนการผลติ การแปรรูป การจัดจําหนาย การตลาด และการดาํ เนนิ การ ในเชงิ ธุรกิจ 12) สงเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรูท่ีสรางเสริม และปรับเปล่ียนคานิยมของคนไทยใหมีวินัย จติ สาธารณะ และพฤตกิ รรมท่ีพึงประสงค 13) พัฒนาสมรรถนะครูใหมศี ักยภาพในการจดั การเรียนรู สามารถใชเทคโนโลยี และประสานภูมิ ปญ ญาทอ งถิ่นเพ่ือประโยชนในการจัดการเรยี นรู เปนครมู ืออาชีพ และมีมาตรฐานคณุ ภาพตามท่ีสํานกั งานรับรอง มาตรฐานและประเมนิ คุณภาพ (องคก รมหาชน) กาํ หนด 14) พฒั นาศกั ยภาพและขีดความสามารถของบุคลากรใหตรงกบั สายงานหรือความชํานาญเพ่อื ให สามารถจัดการศึกษาและสง เสริมการเรียนรตู ลอดชีวติ อยางมีคุณภาพ แผนพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นักงาน กศน. 39

15) สง เสรมิ ใหแ รงงานไดรับโอกาสยกระดับคณุ วุฒิทางการศึกษาและทักษะความรทู สี่ ูงขน้ึ การศึกษาตามอัธยาศยั 1) พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรูที่ปลูกจิตวิทยาศาสตรใหกับประชาชนผาน STEM Education สาํ หรับประชาชน อันจะนําไปสูก ารใชค วามคิดวเิ คราะห ความคิดสรางสรรค และการใชเหตุผลในการ ดาํ เนนิ ชวี ติ 2) สงเสริมการสรางสรรคความรูใหม ๆ ท้ังจากภูมิปญญาทองถ่ินท่ีมีอยูเดิมและความรูดาน นวัตกรรมใหมๆ 3) จัดกิจกรรม สอ่ื และนิทรรศการทม่ี ชี ีวติ และกระตนุ ความคดิ สรา งสรรค ในแหลง เรยี นรู ยทุ ธศาสตรที่ 3 สงเสรมิ และพฒั นาระบบเทคโนโลยีดิจทิ ัลเพ่ือการศกึ ษาสําหรับคนทุกชวงวัย เปา หมายตามยุทธศาสตร 1) โครงสรางพ้ืนฐานดานเทคโนโลยีดิจิทัลเพ่ือการศึกษาของหนวยงานและสถานศึกษามีความ ทนั สมัย และมคี ณุ ภาพ 2) ระบบฐานขอ มูลรายบุคคลและสารสนเทศทางการศึกษาครอบคลุม ถูกตอง เปนปจจุบนั และ ระบบเชอื่ มโยงกบั หนว ยงานอืน่ เพอ่ื ประโยชนใ นการจดั และบรกิ ารการศึกษาได แนวทางการพฒั นา 1) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา การจัดการเรียนการสอน การจัด กระบวนการเรียนรูท ่มี คี วามยดื หยนุ หลากหลาย สามารถเขา ถงึ ไดโ ดยไมจ าํ กดั เวลาและสถานท่ี 2) พัฒนาสถานีวิทยุโทรทัศนเพ่ือการศึกษา (ETV) ใหเปนสถานีวิทยุโทรทัศนเพื่อการศึกษา สาธารณะ (Free ETV) 3) สงเสริมใหมกี ารจัดต้งั สถานีโทรทศั นส าธารณะแบบดิจิทลั และการผลิตรายการเพ่อื การศึกษา 4) พัฒนากระบวนการเผยแพร ICT เพ่ือการศึกษาใหมีรูปแบบที่หลากหลาย ทันสมัย เปนปจจุบัน และสอดรบั กบั ความตอ งการของสังคม 5) สงเสริมและสนับสนุนใหมีการวิจัย เพ่ือพัฒนารูปแบบ แนวทางในการใชเทคโนโลยีเพื่อ การศึกษาในการจดั และสงเสริมการจัดการศกึ ษา 6) ใหมีและบังคับใชมาตรการทางกฎหมายเพ่ือสนับสนุนใหเกิดการใชเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อยางมีประสิทธิภาพ 7) สง เสรมิ ใหม สี ่ือดิจทิ ัลเพือ่ พัฒนาเศรษฐกจิ ชมุ ชนและการสงเสรมิ การมีอาชีพเพมิ่ ขนึ้ 8) จดั และสนับสนนุ สถานศกึ ษา แหลงการเรยี นรู กศน.ตําบล ใหมีความพรอมเก่ียวกบั โครงสราง พ้นื ฐานดา น ICT และเทคโนโลยเี พอ่ื การศกึ ษาอน่ื ท่เี หมาะสมกับพื้นท่ี แผนพัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นักงาน กศน. 40

9) พัฒนาระบบฐานขอมูลรายบุคคลและสารสนเทศทางการศึกษาใหครอบคลุมถูกตอง เปน ปจจุบัน และเช่ือมโยงทุกหนวยงานท่ีเก่ียวของ เพ่ือการวางแผน การบริหารจัดการ การติดตาม ประเมิน และ รายงานผล ใหมีมาตรฐานที่ครอบคลุม ถูกตอง เปนปจจุบัน และตรงกับความตองการในการใชงานท่ีเชื่อมโยงกับ หนว ยงานทั้งภายในและภายนอกองคก รอยา งเปน ระบบ 10) พัฒนาเทคโนโลยีเพ่ือการศึกษา ทง้ั โครงสรางพ้ืนฐาน อปุ กรณ เน้ือหา และวิชาการ เพ่ือชวย ในการเรยี นรูด ว ยตนเองสาํ หรบั ประชาชน 11) พฒั นาประสิทธิภาพเทคโนโลยีเพ่อื การศกึ ษาทางไกล และการศกึ ษาในระบบเปด อาทิ ETV E-learning MOOC เพ่ือเปนเคร่ืองมอื ในการขยายการใหบรกิ ารในรปู แบบตา งๆ ยทุ ธศาสตรท ี่ 4 พัฒนาระบบบรหิ ารจดั การศึกษา และสงเสริมใหทุกภาคสวนมบี ทบาท และมีสว นรว มในการจดั การศกึ ษา เพื่อสรางสังคมแหงการเรียนรู เปาหมายตามยุทธศาสตร 1) ระบบบริหารจัดการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สงผลตอคุณภาพและมาตรฐานการจัด การศกึ ษาและการเรยี นรตู ลอดชวี ิต 2) ระบบบรหิ ารงานบุคคล มีความเปนธรรม สรางขวัญและกาํ ลังใจ และสงเสริมใหปฏิบัติงานได เต็มตามศกั ยภาพ 3) บุคลากรทุกประเภททุกระดับไดรบั การพัฒนาความรู ทักษะ ตามมาตรฐานตําแหนง รวมท้ัง บทบาทภารกจิ ท่ไี ดร ับมอบหมาย 4) กฎหมายและระเบียบที่เก่ียวของ รองรบั การปฏิบัติงานไดอยางมีประสิทธิภาพและสอดคลอง กับบริบทของสภาพสังคม 5) ระบบและกลไกการวัด ติดตาม และประเมนิ ผลการศึกษาและการเรียนรมู ปี ระสิทธภิ าพ 6) ทุกภาคสวนมีบทบาทและมีสวนรวมในการจัดการศึกษาและการเรียนรูท่ีตอบสนองตอความ ตอ งการของประชาชนในพน้ื ท่ี เพ่อื สรา งสังคมแหง การเรยี นรใู หเกดิ ขนึ้ ในพน้ื ที/่ ชมุ ชน แนวทางการพัฒนา 1) พัฒนาคุณภาพการบรหิ ารจัดการที่เนนการกระจายอํานาจลงสูพื้นท่ีภาค การมีสวนรวมของ ทกุ ภาคสว น และมีระบบบริหารจดั การตามหลกั ธรรมาภิบาล 2) กําหนดใหมีมาตรการจูงใจทั้งดานภาษี และสิทธิประโยชนตางๆ ใหกับภาคีเครือขายท่ีเขา มารวมจัดการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั 3) ผลักดันใหเกิดกองทุนเพ่ือการพัฒนาสําหรับการศึกษานอกระบบ เพื่อเปนกลไกในการสราง โอกาสทางการศกึ ษา แผนพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นกั งาน กศน. 41

4) สงเสริม สนับสนุนใหทุกภาคสวนเขามามีสว นรวมในการเปน ภาคเี ครือขาย และสรางแรงจูงใจ ในรปู แบบตางๆ ใหภาคเี ครอื ขา ยรวมจัดและสงเสริมการจัดการเรยี นรใู นชุมชนอยา งตอเน่ืองและย่งั ยนื 5) สรางเครือขายความรวมมือดานการศึกษากับองคกรหรือหนวยงานท้ังในและตางประเทศ โดยเนน การทาํ งานในลกั ษณะบรู ณาการการวิจยั และพฒั นา 6) วิเคราะห วิจัย ปรบั ปรุงกฎ ระเบียบตางๆ ทส่ี อดคลอ งกับการพัฒนาการศกึ ษานอกระบบและ การศกึ ษาตามอัธยาศัยใหเอ้ือตอการบริหารจดั การ 7) สง เสริมการสรางสภาพแวดลอมของชุมชน ทอ งถ่นิ สังคม เพอ่ื เอ้อื ตอการศึกษาและการเรยี นรู และสนบั สนนุ การสรา งกลไกการขบั เคลื่อนชุมชนไปสูสังคมแหงการเรียนรู 8) วิเคราะหและจัดทําแผนอัตรากําลังตามบทบาท หนาที่ และภารกิจ ของหนวยงานและ สถานศึกษาในสังกัดโดยใชรูปแบบการวิจัย เพ่ือใหการเกลี่ยอัตรากําลัง/บรรจุแตงตั้งบุคลากรตามอัตรากําลังมี ความเหมาะสม 9) พัฒนาบุคลากร กศน. ทุกระดับ ใหมีความรูและทักษะตามมาตรฐานตําแหนง ใหตรงกับสาย งานหรอื ความชาํ นาญ 4.6 ตัวชี้วัดตามยุทธศาสตรของแผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (พ.ศ. 2560 – 2579) ตัวชี้วดั ขอ มลู คาเปา หมาย ปจ จุบนั ปท ี่ 1- 5 ปท ี่ 6 - 10 ปท ่ี 11 - 15 ปท่ี 16 - 20 เพม่ิ และกระจายโอกาส ในการเขา ถึงบรกิ ารการศกึ ษาและการเรยี นรทู ่มี คี ุณภาพ 1) ประชากรวัยแรงงาน (อายุ15 - 59 ป) 9.4 10.15 10.90 11.70 12.50 มีปการศึกษาเฉลย่ี เพ่ิมขนึ้ 2) รอยละของกําลงั แรงงาน ท่ีสาํ เรจ็ N/A 60 85 100 100 การศกึ ษาระดบั มธั ยมตอนตนหรอื เทยี บเทา ไดร ับการศึกษาระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเทา 3) รอยละของแรงงานท่ขี อเทียบโอน N/A 20 25 30 40 ความรูและประสบการณเพ่ือยกระดับ คุณวุฒิการศึกษาเพมิ่ ข้ึน 4) รอยละของแหลง เรียนรูท่ไี ดร บั N/A 50 75 100 100 แผนพัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นกั งาน กศน. 42

ตัวชีว้ ดั ขอ มูล คาเปา หมาย ปจ จบุ ัน ปที่ 1- 5 ปที่ 6 - 10 ปท ่ี 11 - 15 ปท่ี 16 - 20 การพฒั นาใหสามารถจดั บริการทาง การศึกษาและมกี ารจดั กจิ กรรมการเรียนรู ตลอดชีวิตท่มี คี ณุ ภาพเพ่ิมข้นึ 5) ผูเรียนระดับการศกึ ษาข้นั พืน้ ฐานทุกคน N/A 100 100 100 100 ไดรับการสนบั สนุนคา ใชจ า ยในการศกึ ษา 15 ป 6) รอยละของประชาชนกลมุ เปา หมายท่ี N/A 80 80 80 80 ลงทะเบียนเรียนในทกุ หลกั สตู ร/กจิ กรรม การศึกษาตอเน่อื งเทียบกบั เปาหมาย 7) จํานวนผูรบั บริการในพ้ืนที่เปาหมาย 16,884 16,884 16,884 16,884 16,884 ไดร บั การสง เสริมดา นการรูหนงั สอื และ การพฒั นาทกั ษะชีวิต 8) รอ ยละของผเู ขา รวมกิจกรรมท่สี ามารถ 80 100 100 100 100 อา นออกเขยี นไดและคิดเลขเปนตาม จุดมุงหมายของกจิ กรรม 9) จาํ นวนนกั เรยี น นักศึกษาท่ไี ดร ับ 2,000,000 2,000,000 2,000,000 2,000,000 2,000,000 บริการตวิ เขม เต็มความรู 10) รอยละของผูเรียนพิการไดร ับ N/A 100 100 100 100 การพัฒนาสมรรถภาพและบริการทาง การศึกษาทเี่ หมาะสม 11) รอ ยละของผูเรียนการศึกษาภาคบงั คบั N/A 100 100 100 100 ไดรับการอุดหนนุ และการชว ยเหลือ คา ใชจายตงั้ แตร ะดบั อนุบาลจนจบ การศึกษาภาคบงั คับ พฒั นาและเสรมิ สรา งศักยภาพคนทุกชว งวัยใหม ีสมรรถนะ และทกั ษะเหมาะสม มีคุณภาพชวี ิตท่ดี ี 1) รอยละของผลการทดสอบระดบั ชาติ N- นอยกวา 50 51 52 53 Net แตล ะระดับ/สาระการเรียนรผู า น รอยละ เกณฑร อ ยละ 50 ขนึ้ ไป 50 แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นักงาน กศน. 43

ตัวชี้วดั ขอ มลู คา เปา หมาย ปจจบุ ัน ปที่ 1- 5 ปที่ 6 - 10 ปที่ 11 - 15 ปท ่ี 16 - 20 2) รอ ยละการอานของคนไทยเพิม่ ขนึ้ 77.7 85 90 95 100 3) รอยละของผูผานการฝกอบรม/พฒั นา 60 65 70 75 80 ทักษะอาชีพระยะส้นั สามารถนาํ ความรไู ป ใชในชีวติ ประจาํ วัน และพัฒนาตนเองได 4) รอยละของสถานศกึ ษาทมี่ ีงานวจิ ัย N/A 10 20 30 40 และ/หรือนวตั กรรมการจดั การเรยี นรู 5) รอ ยละของสถานศึกษาทีจ่ ัดการศึกษา 5 30 60 90 95 โดยบูรณาการองคความรูแบบสะเต็มศกึ ษา เพ่ิมขึ้น 6) รอ ยละของชุมชนท่ีนาํ ความรูไปใช N/A 50 70 90 100 ตอยอดในการพฒั นาชมุ ชนอยางยงั่ ยนื 7) รอ ยละของแหลงเรียนรูทีม่ ีนทิ รรศการ N/A 100 100 100 100 สือ่ กิจกรรม เพือ่ ปลกู ฝงกระบวนการ เรียนรตู ลอดชวี ติ 8) รอ ยละของผูเ รยี นทเี่ ขารวมกิจกรรมการ N/A 30 60 90 100 เรียนรหู ลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง พฒั นาแนวคิดไปสกู ารปฏิบตั ิ 9) รอ ยละของสถานศึกษาทเี่ ขารับการ 70 80 90 100 100 ประเมินมีคณุ ภาพตามเกณฑป ระกนั คณุ ภาพเพิ่มขน้ึ สงเสรมิ และพัฒนาระบบเทคโนโลยดี จิ ิทลั เพ่ือการศึกษาสําหรบั คนทุกชวงวัย 1) รอยละของสถานศึกษาทมี่ กี ารจัด N/A 100 100 100 100 การเรียนการสอนผานเทคโนโลยดี ิจิทัล 2) จาํ นวนระบบเครอื ขา ยเทคโนโลยี N/A 1 1 1 1 ดจิ ทิ ัลเพ่อื การศกึ ษาท่ที นั สมยั สนองตอบ ความตองการของผเู รียนและผใู ชบ ริการ อยางทัว่ ถึงและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นกั งาน กศน. 44

ตัวชี้วดั ขอ มูล คาเปาหมาย ปจ จบุ ัน ปที่ 1- 5 ปที่ 6 - 10 ปท ี่ 11 - 15 ปที่ 16 - 20 3) รอยละของสถานศึกษาไดรับบรกิ าร N/A 98 100 100 100 อินเทอรเน็ตความเร็วสูง ครอบคลุมทกุ พื้นท่ี ขน้ั ต่ํา 30 mbps ใน 5 ปแรก และ 100 mbps ภายใน 20 ปเพ่ิมข้ึน 4) รอยละของนักเรยี นในเขตพฒั นา ต่าํ กวา 50 53 53 60 เศรษฐกจิ ชายแดนใต และพ้นื ท่พี เิ ศษทม่ี ี รอยละ50 คะแนนผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติ การศึกษานอกระบบโรงเรยี น (N-Net) แตละสาระวิชารอยละ 50 เพ่ิมขึ้น พัฒนาระบบบรหิ ารจดั การศึกษา และสง เสริมใหทุกภาคสว นมีบทบาทและมสี วนรว มในการจดั การศกึ ษา 1) รอ ยละของบุคลากรที่บรรจุตามกรอบ 30 40 50 60 70 อัตรากําลงั เพ่ิมขน้ึ 2) รอ ยละของบคุ ลากรทไ่ี ดร ับการพฒั นา 10.68 20 25 30 35 เพมิ่ ขึ้น 3) รอ ยละหนว ยงาน/สถานศึกษาท่ีไดร บั 58 65 70 80 90 การสนบั สนุนเคร่อื งมอื วัสดุ อปุ กรณ และ เทคโนโลยที ่ที นั สมัย เพม่ิ ขน้ึ 4) รอ ยละของหนวยงาน/สถานศึกษา N/A 60 62 80 100 ทไี่ ดร ับการจัดสรรงบประมาณตาม แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย 5) มีกฎ ระเบยี บทีส่ ามารถนําไปปฏบิ ตั งิ าน N/A มี มี มี มี ไดอยา งมีประสทิ ธิภาพ 6) จาํ นวนภาคีเครือขา ยทร่ี วมระดม 3,017 3,050 3,100 3,150 3,200 ทนุ และทรพั ยากรทางการศึกษา 7) จาํ นวนภาคเี ครอื ขายท่รี วมจดั กิจกรรม/ 57 60 65 70 75 แหลง เรียนรู แผนพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย พ.ศ. 2560-2579 ของ สาํ นกั งาน กศน. 45


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook