Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) ต่อ การเป็นกลไกหุ้นส่วนพัฒนาจังหวัด

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) ต่อ การเป็นกลไกหุ้นส่วนพัฒนาจังหวัด

Description: สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม (สสป.) เป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่มีเป้าหมายการดำเนินงานในการส่งเสริมความเข้มแข็งภาคประชาสังคม เห็นความจำเป็นที่ภาคประชาสังคมต้องมีส่วนร่วมทางนโยบายของประเทศไทยในภาพรวม ในการติดตามประเมินผล และส่งเสริมบทบาทภาคประชาสังคม ในการสร้างพื้นที่ ที่รัฐยอมรับความเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาประเทศ และเห็นความสำคัญงานเชิงวิชาการในการศึกษาประเด็นหัวข้อ “คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) กับการดำเนินการโครงการภายใต้กรอบนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จากผลกระทบของโควิด-19 ภายใต้แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน กรอบวงเงิน 4 แสนล้านบาท “ ผ่านกรณีศึกษา 8 จังหวัด ที่เป็นพื้นที่ปฏิบัติการ สสป. ในการสนับสนุน การทำงานเชื่อมร้อยภาคีกลไกภาคประชาสังคม ได้แก่ พะเยา , ลำพูน , อำนาจเจริญ , สุรินทร์ , สุพรรณบุรี , ระยอง, สตูล, พัทลุง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. บทบาท โครงสร้าง รูปแบบ การดำเนินงาน คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) กับการเป็นกลไกในการวางแผนพัฒนาจังหวัด 2. บทบาทภาคประชาสังคมกับการเข้าไปมีส่วนร่วมในกลไก กบจ. , มีนาคม 2564

Search

Read the Text Version

Page |2 คำนำ สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม (สสป.) เป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่มีเป้าหมายการดำเนินงานใน การส่งเสริมความเขม้ แข็งภาคประชาสังคม เห็นความจำเป็นทภี่ าคประชาสังคมตอ้ งมสี ่วนร่วมทางนโยบายของ ประเทศไทยในภาพรวม ในการติดตามประเมินผล และส่งเสริมบทบาทภาคประชาสังคม ในการสร้างพื้นที่ ที่ รัฐยอมรับความเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาประเทศ และเห็นความสำคัญงานเชิงวิชาการในการศึกษาประเด็น หัวข้อ “คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบรู ณาการ (กบจ.) กับการดำเนินการโครงการภายใต้กรอบ นโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จากผลกระทบของโควิด-19 ภายใต้แผนงานฟื้นฟู เศรษฐกจิ ทอ้ งถน่ิ และชุมชน กรอบวงเงิน 4 แสนล้านบาท “ ผ่านกรณีศึกษา 8 จังหวดั ท่เี ปน็ พ้ืนทป่ี ฏิบัตกิ าร สสป. ในการสนับสนุน การทำงานเชื่อมร้อยภาคีกลไกภาคประชาสังคม ได้แก่ พะเยา , ลำพูน , อำนาจเจริญ , สุรินทร์ , สุพรรณบรุ ี , ระยอง, สตลู , พทั ลุง โดยมีวัตถปุ ระสงคเ์ พ่ือศึกษา 1. บทบาท โครงสร้าง รปู แบบ การดำเนินงาน คณะกรรมการบริหารงาน จังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) กับการเป็นกลไกในการวางแผนพัฒนาจังหวัด 2. บทบาทภาคประชาสังคมกับ การเข้าไปมีส่วนร่วมในกลไกคณะกรรมการบริหารงานจังหวดั แบบบูรณาการ (กบจ.) และ 3.แนวทางการสรา้ ง พื้นทภี่ าคประชาสังคม กับการเปน็ หุ้นส่วนการพัฒนาร่วมกับกลไกคณะกรรมการบรหิ ารงานจังหวัดแบบบรู ณา การ (กบจ.) ผลการศึกษางาน ท้ัง 8 ชน้ิ ไดช้ ใ้ี หเ้ หน็ บทบาทสำคัญ ของคณะกรรมการบริหารงานจังหวดั แบบบรู ณา การ (กบจ.) ท่ีเป็นกลไกสำคัญในระดับจังหวัด ที่ภาคประชาสังคมจะต้องเข้าไปมีบทบาทและสร้างพื้นที่กับ การเข้าไปเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา จึงได้มอบหมายให้ นางสาวบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ นักวิชาการสถาบัน ส่งเสริมภาคประชาสังคม ร่วมกับอาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์ อาจารย์วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ จ.สงขลา สังเคราะห์รายงานการศึกษาออกมาเป็นงานเอกสารเรื่อง “คณะกรรมการ บริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) ต่อการเป็นกลไกหุ้นส่วนพัฒนาจังหวัด” ซึ่งใช้เป็นเอกสาร ประกอบการประชุมเชิงปฏบิ ตั ิการ “ประชาสังคมจงั หวดั ห้นุ ส่วนการพฒั นาอยา่ งยง่ั ยนื ” ครั้งนี้ งานสังเคราะห์ข้อมูล ได้ชี้ให้เห็นว่า กลไกการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ เป็นหลักการที่ดีและ จะเป็นกลไกในการสนับสนุนให้การ ปฏิบัติราชการในส่วนภูมิภาคเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งข้ึน ช่วยให้ริเริ่มพัฒนาและแก้ไขปัญหาให้เป็นไปตามความ ต้องการในพื้นที่ได้ด้วยตนเอง โดยทุกภาคส่วนใน จังหวัดมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ที่จะช่วยลดความซ้ำซ้อน ทำให้มีทิศทาง และเปา้ หมายในการปฏบิ ัตงิ านรว่ มกนั ที่ชดั เจน กลไกการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ จึงเป็นการปรับระบบราชการให้ทำงานตอบสนองกับ ปัญหาและความต้องการของประชาชนมากขึ้น อย่างไรก็ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการยกระดับคุณภาพใน การดำเนินกลไกการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ ในประเด็นสำคัญคือ ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจใน บทบาทของประชาชน หรือภาคประชาสังคม เพื่อให้เห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วมจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด

Page |3 การส่งเสริมศักยภาพขบวนการภาคประชาสังคมที่มีการทำกิจกรรมทางสังคมให้สามารถเชื่อมต่อกับ กระบวนการจัดทำแผนพฒั นาจงั หวดั ของราชการ ระบบการบรหิ ารงานจังหวดั แบบบูรณาการ เปน็ หลักการท่ดี ี และจะเป็นกลไกการสนับสนุนให้การปฏิบัติราชการในส่วนภูมิภาคเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากเป็น ระบบบริหารราชการแผน่ ดินทเี่ น้นประชาชนเปน็ ศนู ย์กลาง สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม 8 จังหวัด และ ภาคประชาสังคมจังหวัดอื่นๆ จะนำบทสังเคราะห์งานการศึกษาครั้งนี้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับการวางแผน แนวทางการทำงานในระดับจังหวัด โดยให้ความสำคัญกับกลไกนี้ อย่างเข้าใจและมีความหมาย ในการร่วม สรา้ งนยิ ามความหมาย “ความเป็นห้นุ ส่วนภาคประชาสังคมกับการพัฒนาทย่ี ั่งยนื ” ต่อไป สถาบนั สง่ เสรมิ ภาคประชาสงั คม มีนาคม 2564

สารบัญ Page |4 หน้า บทนำ 5 9 1 กฎหมาย ระเบยี บทเ่ี กีย่ วข้องของการเกดิ ขน้ึ มาของ กบจ. เป็นอปุ สรรค 12 หรือหนนุ เสรมิ ภาคประชาสังคมจงั หวดั 13 2 ข้อจำกัดหรอื อปุ สรรคตอ่ การเขา้ ไปมสี ว่ นรว่ มของภาคประชาสังคมจงั หวดั 15 ใน กบจ. 3 กลไก ONE PLAN เปน็ อุปสรรคหรือหนนุ เสรมิ ภาคประชาสงั คมจังหวดั 4 ขอ้ เสนอต่อการทำให้กลไก กบจ. เออื้ ต่อการทำงานของภาคประชาสังคม ในจังหวัด 5 ข้อเสนอตอ่ การมกี ลไกอนื่ ๆในระดบั จงั หวดั เพอ่ื ทำหน้าท่ีค่ขู นานไปกับ 18 กลไก กบจ. ภาคผนวก ระเบยี บกระทรวงมหาดไทยว่าดว้ ยการจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพ้นื ที่ ในระดบั อำเภอและตำบล พ.ศ. 2562

Page |5 คณะกรรมการบรหิ ารงานจงั หวดั แบบบรู ณาการ (กบจ.) ตอ่ การเป็นกลไกหุ้นส่วนพัฒนาจงั หวัด” บทนำ สืบเนื่องจากมาตรา 52 วรรค 3 , มาตรา 53/1 และมาตรา 53/2 ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี 2550 กำหนดให้ “จังหวัด” เป็นหน่วยงานที่เสนอขอตั้ง งบประมาณไดต้ ง้ั แตป่ งี บประมาณ 2552 เป็นต้นไป โดยต้องผ่านกระบวนการจัดทำ “แผนพัฒนาจังหวัด” ที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมในระดับชาติ / ความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประชุมหารือ รว่ มกับ หวั หน้าส่วนราชการ ผ้บู ริหารองค์กรปกครองท้องถ่ิน รวมท้ังภาคประชาสังคม/ผู้แทนภาคเอกชน ทั้งนี้ การสรรหาใหเ้ ปน็ ไปตามท่ีพระราชกฤษฎกี ากําหนด จากมาตราดังกล่าวจึงนำมาสู่การตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่ม จังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ.2551 ขึ้นมา เพื่อกำหนดสาระสำคัญเกี่ยวกับบทบาทหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระบวนการ และวธิ กี ารดำเนนิ งานในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวดั โดยมหี ลักการทส่ี ำคญั 2 เรอ่ื ง คอื 1. เพื่อการบริหารแบบบูรณาการในลักษณะยึดพื้นท่ี (Area Base Approach) เป็นหลักในการ พัฒนา เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ของตนเองผ่าน แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และกําหนดให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสามารถจัดทำคําของบประมาณได้ เอง ดังนั้นแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจึงเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการบูรณาการความร่วมมือ ของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการพัฒนาของพื้นที่ให้ไปในทิศทางเดี ยวกัน ตอบสนองต่อ ศกั ยภาพ และความตอ้ งการของประชาชนในพ้ืนที่ ทั้งน้ีมีประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 เรื่อง การจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและ กำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงาน เชงิ พ้นื ทีแ่ บบบูรณาการ พ.ศ. 2560 กำหนดให้มีการแบ่งพื้นท่ีการพัฒนาออกเป็น 6 ภาค 18 กลุ่มจังหวดั 2. เป็นการจัดการความสัมพันธ์แนวดิ่งระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น โดยทุกภาค ส่วนจะมีการดำเนินการท่ีสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กฎหมายจึงกำหนดให้ “ผู้ว่า ราชการจังหวัด” เป็นผู้ประสานเพื่อบูรณาการการดำเนินการของฝ่ายต่างๆ ให้สัมพันธ์และเชื่อมโยงกับ แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด เรียกว่า คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) โดยมีผวู้ ่าราชการจงั หวดั เป็นประธาน และหัวหนา้ สำนกั งานจังหวดั เปน็ กรรมการและเลขานุการ

Page |6 มีระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ในระดับอำเภอและ ตำบล พ.ศ. 2562 กำหนดกลไกการจัดทำแผนพฒั นาต้ังแตร่ ะดับอำเภอลงไปส่รู ะดบั หมู่บา้ น/ชุมชน เพอื่ ให้เกิด ความเชื่อมโยงระหวา่ งแผนพัฒนาอำเภอทสี่ ง่ ต่อไปยังแผนพัฒนาจงั หวดั - กลไกคณะกรรมการบริหารงานอำเภอแบบบูรณาการ (ก.บ.อ.) มีนายอำเภอเป็นประธาน ทำ หน้าทีจ่ ดั ทำแผนพัฒนาส่งต่อให้ กบจ. - กลไกคณะกรรมการบริหารงานตำบลแบบบรู ณาการ (ก.บ.ต) มปี ลดั อำเภอเป็นประธาน ทำหน้าที่ จัดทำแผนพัฒนาตำบลสง่ ตอ่ ให้ ก.บ.อ. - กลไกคณะกรรมการหมู่บ้านและคณะกรรมการชุมชน รับผิดชอบจัดทำเวทีประชาคมหมู่บ้าน/ ชุมชน เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ถึงปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำมา จัดทำเป็นแผนพัฒนาหมู่บ้าน/แผนชุมชน ส่งต่อให้ ก.บ.ต. หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน พื้นที่ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2552 และตามระเบียบ กระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเป็นกรรมการหมู่บ้าน โดยมีสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอและองค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถิ่นในพ้นื ทใ่ี ห้การสนบั สนุน กล่าวได้ว่าเป็นการดำเนินการแบบแผนรวม (Comprehensive Plan) เป็นการนำแผนหมู่บ้าน/ ชุมชน , แผนพัฒนาท้องถิ่น , แผนพัฒนาอำเภอและแผนพัฒนาจังหวัด บูรณาการในลักษณะของแผน เดียว (One plan) เป็นแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับพื้นที่ แบบล่างขึ้นบน (Bottom – up Approach) โดยภาคประชาสังคมสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ทุกข้ันตอน ดังแผนภาพ ด้านล่างน้ี ระดับ กลไก แผนพฒั นา แผนองคก์ ารบรหิ าร แผนพฒั นาจงั หวดั ส่วนจงั หวดั (อบจ.) จงั หวดั คณะกรรมการบริหารงาน แผนพฒั นาอำเภอ จงั หวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) แผนพัฒนาตำบล คณะกรรมการ ประสานแผนทอ้ งถนิ่ อำเภอ คณะกรรมการบริหารงานอำเภอ แบบบรู ณาการ (ก.บ.อ.) ระดับจังหวัด คณะกรรมการ ตำบล คณะกรรมการบริหารงานตำบล ประสานแผนท้องถน่ิ หมู่บ้าน แบบบรู ณาการ (ก.บ.ต.) ระดบั อำเภอ คณะกรรมการหมู่บา้ น แผนอบต. / เทศบาล คณะกรรมการชุมชน (กม./คกก.ชุมชน) แผนพัฒนาหมบู่ ้าน แผนชุมชน จัดประชมุ ประชาคมรว่ มกนั

Page |7 อย่างไรกต็ ามในเชิงหลกั การแม้ได้กำหนดแนวทางการบรู ณาการจดั ทำแผนพัฒนาจงั หวดั ท่ีชัดเจน และภาคประชาสังคมสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นหุ้นส่วนจังหวัดในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดร่วมกัน ทกุ ระดับ แต่ก็ยังพบปญั หาเร่ือง - การบูรณาการการทํางานร่วมกันยังไม่เพียงพอ ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ จดั ทาํ แผนพฒั นาจังหวัดไม่มากนกั แม้ว่าจะเป็นองค์กรท่ีทำงานอยู่ในระดบั พน้ื ทหี่ มู่บา้ น-ตำบล-อำเภอโดยตรง - การประชุมรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนเป็นเพียงการเข้ามารับรู้ว่าจังหวัดได้มีการจัดทํา แผนพัฒนาจังหวัดเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนร่วมในการกําหนดทิศทางการพัฒนาจังหวัด กําหนดแผนงาน โครงการ เพื่อการแกไ้ ขปญั หาของจงั หวัดอยา่ งแท้จรงิ

Page |8 - เมื่อขาดการบูรณาการ การทํางานท่ีดีร่วมกัน จึงทําใหง้ บประมาณที่มีอยู่อยา่ งจํากัดถูกใช้ไป อย่าง ไรท้ ิศทาง ส่งผลกระทบตอ่ การขบั เคล่ือนการพฒั นาจังหวัด - ประชาชนและชุมชนยังมีส่วนร่วมค่อนข้างน้อย และมีระยะเวลาในการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัด กระช้ันชิด ทําให้การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน และบทบาทของจังหวัดไม่สนองตอบความต้องการ และสะท้อน ปญั หาของประชาชนเท่าทีค่ วร - การจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดส่วนใหญ่ เน้นท่ีการแก้ไขปัญหามากกว่าการใช้ศักยภาพของพ้ืนที่มา เป็นจุดเน้นการพัฒนา ทําให้การจัดทําแผน ไม่สามารถสะท้อนประเด็นปัญหา และความต้องการของพื้นที่ได้ อย่างแท้จริง โครงการส่วนมากจะเป็นไปในลักษณะการอบรมให้ความรู้ หน่วยงานไม่ริเร่ิมโครงการใหม่ ที่เป็น การตอบโจทย์ของจังหวัด เน้นการพัฒนาโครงสร้างพัฒนาพื้นฐานแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่า การ เสริมสร้างศักยภาพในการประกอบอาชีพ การสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และการสร้างความ เขม้ แข็งของชุมชน จากสถานการณ์ดังที่กล่าวมาจึงเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องมีการวิเคราะห์ให้เห็นว่ากลไกการจัดทำ แผนพัฒนาจังหวัดผ่านกลไกคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) จะสามารถสร้าง ความเป็นหุ้นส่วนพฒั นาจังหวัดไดม้ ากนอ้ ยอยา่ งไร เพ่อื ทำให้ภาคประชาสังคมกลมุ่ ต่างๆที่ทำงานในระดับ จังหวัดอยู่แล้วสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมและกำหนดทิศทางการพัฒนาจังหวัดได้สอดคล้องกับความ ตอ้ งการของประชาชนในพื้นทอี่ ย่างแทจ้ ริง

Page |9 คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) เกิดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการ บริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ.2551 มาตรา 10 ที่ได้กำหนดให้ในจังหวัดหนึ่ง ให้มี คณะกรรมการบรหิ ารจงั หวดั แบบบูรณาการคณะหน่งึ ประกอบดว้ ย (1) ผวู้ ่าราชการจงั หวัด เป็นประธานกรรมการ (2) รองผู้ว่าราชการจังหวดั ทกุ คน เป็นกรรมการ (3) ผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการที่มีสำนักงานอยู่ในจังหวัดไม่ว่าจะมีฐานะเป็นราชการบริหารส่วน ภูมภิ าคหรือราชการบรหิ ารส่วนกลาง เป็นกรรมการ (4) ผู้แทนรฐั วิสาหกจิ ทีด่ ำเนินกจิ การอยใู่ นจงั หวดั เปน็ กรรมการ (5) ผแู้ ทนหัวหนา้ หน่วยงานอ่นื ของรัฐทมี่ สี ำนกั งานอยู่ในจงั หวัด เปน็ กรรมการ (6) ผู้แทนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ เปน็ กรรมการ (7) ผู้แทนภาคประชาสังคม เปน็ กรรมการ (8) ประธานกรรมการหอการคา้ จงั หวัด และประธานสภาอตุ สาหกรรมจังหวัด เป็นกรรมการ ใหห้ วั หนา้ สำนักงานจังหวดั เป็นกรรมการและเลขานกุ าร กรรมการตาม (3) (4) และ (5) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แตง่ ตั้งตามจำนวนหลักเกณฑ์และวิธกี ารที่ ก.น.จ. กำหนด อยใู่ นวาระคราวละ 3 ปี กรรมการที่เป็นผู้แทนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม (6) และผู้แทนภาคประชาสังคมตาม (7) ให้เป็นไปตามที่ ก.น.จ. กำหนดโดยให้คำนึงถึงสัดส่วนของหญิงชายท่ีใกล้เคียงกัน อยู่ในวาระคราวละ 3 ปี เชน่ กนั ▪ คำส่ังจงั หวดั แตล่ ะจังหวดั โดยตรง ▪ ประกอบด้วยผู้แทนจาก 3 ภาคส่วนหลัก ได้แก่ 1) ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจหรือ หนว่ ยงานในสังกัดของรัฐ 2) ผู้แทนประชาสงั คมจากแต่ละอำเภอ และ 3) ผแู้ ทนภาคเอกชน ▪ ประกาศ ก.น.จ. เรื่อง การกำหนดองค์กรภาคประชาสังคมอื่น และการกำหนดจำนวนหลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซ่ึงผ้แู ทนฝา่ ยต่างๆ ใน กบจ. (5) กรรมการผู้แทนภาคประชาสงั คม จำนวนอยา่ งนอ้ ย 4 คน แต่ไม่เกิน 12 คน ข้อ 4 กรรมการตามข้อ 2 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งต้ังตามจำนวนที่กำหนด การแต่งตั้งกรรมการ ผ้แู ทนภาคประชาสังคม ตามขอ้ 2 (5) ใหผ้ ูว้ า่ ราชการจังหวัดคำนงึ ถงึ สัดส่วนหญงิ และชายที่ใกลเ้ คียงกัน

P a g e | 10 ข้อ 6 กรรมการผู้แทนภาคประชาสังคม ตามข้อ 2 (5) จะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) เป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลตามกฎหมายว่าด้วย สภาองค์กรชุมชนหรือองค์กรภาค ประชาสังคมอื่นตามขอ้ 1 (2) มคี ณุ สมบตั ิและไมม่ ีลกั ษณะตอ้ งหา้ มตามมาตรา 22 และ มาตรา 23 ทง้ั น้ีบทบาทหนา้ ท่ีตามกฎหมายไดก้ ำหนดไว้ในแต่ละจังหวดั มกั คล้ายคลงึ กัน คอื 1. วางแนวทางการปฏิบัติและอำนวยการให้การบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการในจังหวัดให้เป็นไป ตามหลักการ นโยบาย และระบบตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบ บรู ณาการ (ก.น.จ.) กำหนด 2. จดั ทำแผนพฒั นาจังหวดั และเสนอต่อทปี่ ระชุมเพอ่ื รับฟังความคดิ เหน็ 3. ส่งเสรมิ ประสานความร่วมมอื การพัฒนาระหว่างภาครฐั ภาคประชาสังคม และภาคธรุ กจิ เอกชน 4. จัดทำบันทึกความเข้าใจกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการ ดำเนนิ การตามแผนพฒั นาจังหวดั และแผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีของจงั หวดั 5. วิเคราะห์ บูรณาการ และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและคำของบประมาณ จงั หวดั ก่อนเสนอต่อ ก.น.จ. 6. กำกับใหค้ ำแนะนำ ตดิ ตามและประเมนิ ผลการปฏบิ ตั ติ ามแผนพฒั นาจังหวดั และแผนพัฒนาจังหวัด และแผนปฏิบตั ริ าชการประจำปีของจังหวัด และรายงาน ก.น.จ. กล่าวได้ว่า กบจ. ถือเป็นความพยายามของระบบราชการที่ต้องการเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาสังคม ได้ร่วมออกแบบทิศทางการพฒั นาจังหวดั งบพัฒนาจงั หวดั จะถกู ใช้ไปตามความตอ้ งการของพ้นื ท่ีมากขึ้น หากมกี ระบวนการเร่ิมตน้ ทด่ี ี มสี ่วนรว่ ม และมีประสทิ ธิภาพ บนหลักการทว่ี า่ คณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ ทำหน้าที่จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดท่ี เน้นกระบวนการมสี ว่ นร่วมจากทุกภาคสว่ นในจงั หวดั มิใชต่ า่ งคนตา่ งทำ หรอื มงุ่ เน้นยดึ ตดิ กับงานแต่ละด้าน ท่หี น่วยงานต้นสังกดั กำหนดเพียงอยา่ งเดียว กำหนดใหม้ เี จา้ ภาพรับผดิ ชอบดำเนนิ การตามยุทธศาสตร์ กล่าวคอื เมื่อจังหวดั กำหนดเปา้ หมาย ที่ต้องการบรรลุและยุทธศาสตร์เพื่อดำเนินการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ต้องกำหนดผู้รับผิดชอบหลัก และ ผู้รับผิดชอบร่วม เพื่อบูรณาการการดำเนินงาน วิธีการทำงานเช่นนี้เป็นการยึดเป้าหมายรวมของจังหวัด ยทุ ธศาสตร์ ภารกิจของจงั หวัดเป็นตวั ต้งั มิใช่ต่างหนว่ ยต่างทำ จัดสรรทรัพยากรตามยุทธศาสตร์จังหวัด กล่าวคือ หากยุทธศาสตร์ของจังหวัดมุ่งเนน้ ไปด้านใด ส่วนราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องกำหนดแผน/โครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัด มิใช่ การเกลีย่ งบประมาณให้ทุกหน่วยงานเท่า ๆ กนั ยึดประชาชนเป็นเป้าหมาย มีการสร้างกลไกหรือช่องทางรวบรวมปัญหาความต้องการและความ คาดหวังของประชาชน แล้วย้อนกลับมาดูยุทธศาสตร์ มาตรการ แผนงาน โครงการและทรัพยากรของจังหวัด วา่ เหมาะสม หรือตอ้ งปรับปรุงในเรอื่ งใด เพอ่ื แก้ปญั หาและตอบสนองความตอ้ งการของประชาชน ทำงานเชิงรุก ใช้เวทีการประชุมคณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ที่เข้ามากระทบการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ หรือภาวะที่กระทบต่อประชาชน เพื่อ

P a g e | 11 ชี้ให้เห็นโอกาส ภัยอุปสรรค หรือความเสี่ยง เพื่อกำหนดและดำเนินการกลยุทธ/มาตรการฉกฉวยโอกาส หรือ ดำเนนิ กลยุทธ์เพอื่ ป้องกนั ปญั หาลกุ ลาม ทำงานอย่างมีพันธมิตร การบริหารงานของจังหวัดกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียหลายกลุ่ม หลักการ ทำงานจะต้องสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทำให้ทุกกลุ่มเห็นว่า จังหวัดกำลังจะไปที่ไหนอย่างมีทิศทาง และยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ประชาชน ชุมชนจะได้อะไร และหากไม่ทำจะส่งผล อยา่ งไร ทั้งนี้พบว่าในบางจังหวัดที่มีตวั แทนองคก์ รภาคประชาสังคมเข้าไปเป็นกรรมการ กบจ. ได้สร้างให้ เกดิ การเปล่ยี นแปลงในหลายๆเรื่อง ไมว่ ่าจะเปน็ บทบาทภาคประชาสังคมได้รับการยอมรับจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ในการ ทำงานร่วมกันในพื้นท่ี ทั้งด้านความรู้ความสามารถการพัฒนาชุมชน การมีข้อมูล ชุดความรู้ รูปธรรมงาน และ เครือข่ายในพื้นท่ี มโี ครงการภาคประชาสังคมบางโครงการถูกบรรจอุ ย่ใู นแผนพฒั นาจังหวัดและได้รบั งบประมาณมา สนับสนนุ การทำงาน ภาคราชการต่างๆในจังหวัดเห็นความสำคัญและเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมใน คณะทำงานตา่ งๆในประเดน็ ตา่ งๆมากขึน้ เกิดการบรู ณาการงานในพน้ื ท่ี เป็นเวทีกลางที่ทำให้เห็นสถานการณ์การเคลื่อนไหวแผนงานในการพัฒนาจังหวัดในมิติต่างๆ ท่ี เห็นภาพรวม หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง การพิจารณา อนุมัติโครงการต่างๆ ตามแผนพัฒนาจังหวัด การ วางแผนการใชง้ บประมาณจงั หวัด โครงการตา่ งๆท่จี ะเขา้ ไปดาเนินงานการพัฒนาในพ้ืนที่ ตลอดจนการทำงาน พัฒนาระดับนโยบายในพืน้ ที่ ตัวแทนภาคประชาสังคมที่เป็นคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) บางคนได้ ร่วมงานกับภาคประชาสังคมและภาครัฐมาอย่างต่อเนื่องมีความสัมพันธ์ที่ดี มองเห็นจุดแข็งและข้อจำกัดทั้ง สองฝ่าย กล้าแสดงความคิดเห็น มีข้อมูล วางตัวเป็นกลาง สามารถทำหน้าที่ประสานสร้างเวทีกลางให้ทั้ง 2 ฝา่ ยทำงานรว่ มกนั ได้ สามารถแสดงความคดิ เห็นในประเดน็ ทเี่ กยี่ วขอ้ งได้ เชน่ การจัดการน้ำ ปา่ ชมุ ชน เกษตร อนิ ทรีย์ กลุม่ อาชพี กลมุ่ สวัสดิการ การศึกษาทางเลอื ก กลมุ่ ผ้เู ปราะบาง และตำบลจดั การตนเอง เป็นต้น

P a g e | 12 ข้อจำกัดหรืออุปสรรคต่อการเขา้ ไปมสี ่วนร่วมของภาคประชาสังคมจังหวัดใน กบจ. มักพบว่าเปน็ กรณีของการเขา้ ไปเป็น กบจ. แล้วไม่สามารถสร้างให้เกิดการมีส่วนรว่ มในการจดั ทำแผนพัฒนาจงั หวดั ได้ โดยพบว่า ➢ แม้ว่า กบจ. จะมีโครงสร้างของทุกภาคส่วนในจังหวัดตามที่กฎหมายกำหนดมา แต่การจัดทำ แผนพัฒนาจังหวัดสว่ นใหญ่ยังเป็นบทบาทของหน่วยงานราชการในพื้นที่ต่างๆ อำเภอ และท้องถิ่น ที่การ มีส่วนร่วมของประชาชน และภาคประชาสังคมยังมีน้อย การมีส่วนร่วมของกระบวนการจัดทำแผนพัฒนา จังหวดั ยงั อยใู่ นวงจำกดั เฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะกบั ส่วนราชการ ส่วนของภาคประชาชนหรอื ภาคประชาสังคมยัง เป็นเพียงไม้ประดับ หรือองค์ประกอบของกลไกดังกล่าว ความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องนี้ระหว่างหน่วยงาน ราชการและตัวแทนภาคประชาชนที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลไกก็ยังมีอยู่น้อย แม้แต่สัดส่วนของ คณะกรรมการ กบจ.ภาคประชาสังคมที่ได้กำหนดไว้ว่าต้องมีตวั แทนของสภาองค์กรชุมชนในระดับจังหวัดร่วม ด้วยก็ยังไม่เปน็ ท่รี บั รู้ ➢แผนยงั มีความซ้ำซอ้ น ทงั้ ประเด็นและพื้นที่ดำเนนิ การ หรอื มลี ักษณะแผนที่เหมือนหรือคล้ายกนั ยังมีลักษณะต่างคิดต่างทำของหน่วยงาน ภาคประชาสังคมยังเป็นเพียงตัวประกอบ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติ ไม่ ค้นุ เคยกับการบูรณาการ จึงเห็นได้แค่การบรู ณาการในเชิงรูปแบบ และมกั เกิดขน้ึ ปลายทาง (เวที กบจ.) ➢บทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธานคณะ กบจ. มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจสูง หน่วยงานขาดการวิเคราะห์หรือวิพากษ์ ผู้ดำเนินงานแผนต้องเป็นหน่วยงานตามระบบราชการเท่านั้น ประชาชนขาดความรู้สึกความเป็นเจ้าของแผนงาน และอยู่ในฐานะผู้รับการช่วยเหลือ ขาดบรรยากาศใน ประชมุ มกั มลี กั ษณะเปน็ การแจง้ เพือ่ ทราบ ขาดการถกแถลงพูดคุย ➢หน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการน้อย เช่น การ ไม่เข้าร่วมประชุม การมอบหมายให้ผู้ไม่มีอำนาจตัดสินใจเข้าร่วมประชุมแทนหัวหน้าส่วนราชการ สำนักงาน จังหวัด มักได้บทบาทเป็นผู้ยกร่างการจัดทำแผน หน่วยงานที่เป็นเจ้าของงานไม่ได้คิดออกแบบงานของตัวเอง อย่างสรา้ งสรรคไ์ ด้เตม็ ท่ี แผนงานและโครงการทนี่ ำเสนอสว่ นใหญ่มลี กั ษณะเปน็ การพฒั นาโครงสร้างพน้ื ฐาน ➢กระบวนการติดตามประเมินผล ส่วนใหญ่จะดูจากความถูกต้องของระบบการจัดการ เอกสาร หลกั ฐาน ขาดการประเมนิ ผลในเชงิ คุณภาพ จงึ ไมม่ ีการนำบทเรียนมาปรับแก้ หรือปรบั ปรงุ สำหรับอนาคต ➢ แม้มีแผนภาคประชาสังคมอยู่ในแผนพัฒนาจังหวัดแต่งบประมาณยังต้องผ่านหน่วยงานรัฐ เท่าน้ัน ภาคประชาสงั คมไมส่ ามารถบริหารงบประมาณไดด้ ้วยตนเอง

P a g e | 13 3 ONE PLAN กลไก ONE PLAN เปน็ ได้ท้งั อปุ สรรคหรอื จะหนุนเสรมิ ภาคประชาสงั คมจังหวดั ทั้งนสี้ ืบเน่ืองจากท่ี ในปัจจุบันมีระบบการจัดทำแผนบูรณาการในระดับตำบล-อำเภอ-จังหวัด ผ่านระเบียบกระทรวงมหาดไทยวา่ ด้วยการจัดทำและประสานแผนระดับอำเภอและตำบล พ.ศ.2562 ภายใต้การจัดระบบบริหารราชการแผ่นดนิ ทเี่ รียกวา่ “ONE PLAN” เพ่อื ใหท้ ุกจงั หวดั มแี ผนพฒั นาแผนเดียว ตามท่ไี ด้กลา่ วไปแล้วในหัวข้อที่ 1 กล่าวได้ว่าเป็นการ ทำให้พื้นที่มีแผนพัฒนารองรับการจัดสรรทรัพยากรและดำเนินงานอย่างเป็น ระบบและมีเอกภาพ แต่อย่างไรก็ตามยังมีช่องว่างทั้งระหว่างท้องที่กับท้องถิ่น และท้องที่-ท้องถิ่น กับส่วน ราชการสว่ นกลาง ทย่ี งั ไมส่ ามารถบรู ณาการรว่ มกันได้ บางครั้ง ONE PLAN จึงกลายเป็นเพยี งพิธีกรรมหรือรูปแบบการทำแผนของฝ่ายราชการโดยภาคส่วน อืน่ ยังมีส่วนรว่ มนอ้ ย โดยเฉพาะภาคประชาสงั คมในจังหวดั นนั้ ๆที่แทบจะไมม่ ีส่วนร่วมเลย อย่างไรกต็ ามในอีกด้านหน่งึ ก็พบว่า เม่ือวนั ที่ 6 ตลุ าคม 2563 คณะรฐั มนตรีไดม้ มี ติเห็นชอบ ร่างพระ ราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. ..... และยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 เพื่อเป็นเครื่องมือในการกำกับการปฏิบัติงานใน พื้นที่ที่มีประสิทธิภาพและสามารถแก้ไขปัญหาได้จริง ตรงกับความต้องการของพื้นที่ และเกิดการบูรณาการ ขับเคล่ือนการพัฒนาเชงิ พ้ืนท่ไี ดอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพ ความสำคญั ของร่างฉบับน้ี คอื การกำหนดเร่อื งการจัดทำและให้ความเห็นชอบแผนพฒั นาจังหวัดและ กลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาภาค แผนปฏิบัติราชการประจำของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด การจัดทำและบริหาร งบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จะต้องปฏิบัติตามนโยบาย หลักเกณฑ์วิธีการ และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัด แบบบูรณาการ (ก.น.จ.) ตามพระราชกฤษฎีกาฯดังกล่าว ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนงานในระดับ ตำบล อำเภอ และจงั หวัดที่ตอ้ งสมั พนั ธ์และสอดคล้องกัน หรือหากมองจากยุทธศาสตร์การจัดงบประมาณแผ่นดิน ปี 2565 พบว่า รัฐบาลได้มีการจัดสรร งบประมาณแบบบรู ณาการในประเดน็ หลกั ๆ ทม่ี คี วามสำคญั ในแผนยทุ ธศาสตรช์ าติและแผนปฏิรปู ประเทศ เช่น แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ , แผนงานบูรณาการบริหารจัดการ ทรพั ยากรน้ำ , แผนงานบรู ณาการรฐั บาลดิจิทัล , แผนงานบรู ณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติด ยาเสพติด , แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เป็นต้น โดยให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับ แผนงานบรู ณาการตามท่ีไดร้ บั มอบหมาย

P a g e | 14 การจัดสรรงบประมาณแบบบูรณาการนี้ จะเน้นเรื่องเฉพาะและมีตัวชี้วัดในเชิงบูรณาการที่ชัดเจน และมีการเชื่อมโยงและบูรณาการแผนระดับนโยบายสู่แผนในระดับพื้นที่ (One Plan) ที่เรียกว่า แผนพัฒนา จังหวัด ซึ่งงบประมาณในส่วนน้ีจะส่งตรงลงมายังจังหวัดโดยตรง นอกเหนือจากงบประมาณที่ส่งลงมาตาม กระทรวง กรม ซ่ึงเปน็ หนว่ ยงานส่วนกลางทเ่ี รยี กว่า “งบฟังกช์ ั่น” ตามระบบงบประมาณปกติ ดังนั้นด้วยบทบาทการทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัด ในการเป็นประธานคณะกรรมการบริหารงาน จังหวดั แบบบรู ณาการ (กบจ.) จงึ สามารถเขา้ มาสนบั สนุนไดเ้ ปน็ อย่างดี โดยเฉพาะการสนบั สนนุ ให้หนว่ ยงานที่ เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนต้องเข้าไปสนับสนุนให้เกิดการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำของคนในตำบล และช่วยสนับสนุน ให้การรวมตัวมีความเข้มแข็งจนสามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานและพัฒนาต่อยอดตามความต้องการของคนใน ตำบลนั้น ๆ ได้ ซึ่งภาคประชาสงั คมจะมีบทบาทสำคญั มากในสว่ นนี้ สำหรับบทบาทของนายอำเภอนั้น พบว่า ปัจจุบันในระดับอำเภอ นอกจากกลไกคณะกรรมการ บริหารงานอำเภอแบบบูรณาการ (กบอ.) แล้ว ยังมีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) มี นายอำเภอ เป็นประธานกรรมการ และสาธารณสุขอำเภอเป็นกรรมการและเลขานุการ ตามระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561 รองรับอยู่แล้ว ดังนั้นการสนับสนุนที่ สำคัญของนายอำเภอ คอื การสรา้ งให้ประชาชนในตำบลเกดิ ความผกู พนั มคี วามเช่ือมโยงกนั โดยต้องสนับสนุน ให้ประชาชนในตำบลได้ร่วมคิดจัดทำแผนตำบล และนำมาเชื่อมโยงกับแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน แผนอำเภอ และแผนจงั หวัดต่อไป ดังนั้นการทำให้คณะกรรมการบริหารงานอำเภอแบบบูรณาการ และคณะกรรมการบริหารงาน ตำบลแบบบูรณาการ ต้องมีตัวแทนภาคประชาสังคมจากสภาองค์กรชุมชนตำบล และเครือข่ายประเด็น งานในพื้นท่ีเพื่อทำหน้าที่เชื่อมร้อยงานของคณะกรรมการบริหารงานอำเภอแบบบูรณาการ และ คณะกรรมการบริหารงานตำบลแบบบูรณาการ กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ และ คณะกรรมการพัฒนาคณุ ภาพชีวติ ตำบลเขา้ ดว้ ยกัน

P a g e | 15 4 ข้อเสนอต่อการทำให้กลไก กบจ. เอื้อต่อการทำงานของภาคประชาสังคมในจังหวัดนั้น จะต้องอยู่ บนการมุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดโดยยึดพื้นที่เป็นหลัก (Area-based Approach) โดย ตอ้ งปรับระบบบริหารราชการแผน่ ดนิ ลดการรวมศูนยอ์ ำนาจ ไม่ว่าจะในรปู แบบใดๆลง เน้นการจัดการบริหาร ราชการทเ่ี พม่ิ หน้าที่ อำนาจ บทบาท และทรพั ยากรให้ชุมชนท้องถิ่นตง้ั แต่หมู่บ้าน ตำบล อำเภอจัดการกันเอง ใหม้ คี วามคลอ่ งตวั (Autonomy) บนหลักคิด A - F - P (Area – Function – Participation) ถา่ ยทอดอำนาจ และทรพั ยากรของราชการสว่ นกลางภายใตก้ ฎหมายต่าง ๆ ใหอ้ งคก์ รไดด้ ำเนนิ การได้เอง ประกอบดว้ ย 5 เร่ืองดังน้ี 1) การสร้างความเขา้ ใจกับภาคประชาสงั คมใหเ้ ห็นความสำคัญและเขา้ มามบี ทบาทใน กบจ. มาก ข้ึน สร้าง mindset แบบใหม่เรื่องการเป็นหุ้นส่วนรัฐในการพัฒนาสังคม เนื่องจาก กบจ. เป็นหน่วยหนึ่งที่ ทำหน้าท่ีเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาจังหวัด ที่มีองค์ประกอบหลากหลายจากภาคส่วนต่างๆ รัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ในการร่วมคิด รว่ มวางแผน การพฒั นาจงั หวัด ทีม่ าจากคนในพ้ืนท่ี และการเป็นตวั แทนเข้า ไปร่วมในกลไกนี้เพื่อผลักดันข้อเสนอทางนโยบาย ในการร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาจังหวัด โดยเฉพาะ ความเข้าใจในกฎหมาย ระเบียบต่างๆ ในการบริหารราชการ แผ่นดินมากขึ้น เพราะจะเป็นประโยชน์ในการ ทำงานในท้องถน่ิ ทเี่ ปดิ พน้ื ทใ่ี หภ้ าคประชาชนเขา้ ไปมีสว่ นรว่ มในการพฒั นา แม้ว่าการเข้าไปเปน็ ตัวแทนในกลไกนี้ เป็นโครงสรา้ งความสัมพนั ธท์ ี่เป็นรูปแบบเป็นทางการ แต่ก็เป็น สิ่งที่ละเลยไม่ได้ เพราะเป็นโครงสร้างหรือหน่วยจดั การระดบั นโยบายในจงั หวดั ทีค่ อ่ นขา้ งมีความสำคัญ ที่ภาค ประชาสังคมจะต้องเข้าไปสร้างพื้นที่ภาคประชาสังคม ให้ปรากฏ เป็นที่ยอมรับ จึงต้องอาศัยการปรับเปลี่ยน โครงสร้างและอำนาจ ในกระบวนการเปลย่ี นผ่าน ตอ้ งอาศยั ระยะเวลาที่อาจยาวนาน 2) เกณฑก์ ารคดั เลอื กภาคประชาสังคมเข้าไปเป็นกลไก กบจ. ควรมีเกณฑแ์ ละวิธีการคัดเลือกภาค ประชาสังคมทชี่ ดั เจน ไมใ่ ช่ยดึ เฉพาะผู้แทนจากสภาองค์กรชมุ ชนเทา่ นน้ั ทำให้ตวั แทนภาคประชาสงั คมยังมี จำนวนน้อย กระบวนการสรรหามรี ูปแบบเดยี ว และยังไมส่ ามารถเป็นตวั แทนของภาคประชาสงั คมส่วนใหญ่ได้ นอกจากการปรับเกณฑ์แล้วควรเพิ่มภาคประชาสังคมใน กบจ.ให้ครบ 12 คนในทุกจังหวัด โดยมาจากการ เลือกกันเองจากพื้นที่ 6 คน และเครือข่ายประเด็น 6 คน มีกระบวนการกล่ันกรองมากกว่าให้อำเภอเป็นผู้คัด สรรเอง รวมทั้งควรมีค่าใช้จ่ายสนับสนุนให้กับภาคประชาสังคมในการเดินทางเข้าร่วมการประชุม เช่น ค่า น้ำมันรถเดินทาง 3) จะต้องมีการดำเนินงานและพัฒนากลไกคู่ขนานในส่วนภาคประชาสังคมจังหวัด ที่จะช่วยใน การขับเคลื่อนกลไก กบจ. ให้เกิดการบูรณาการได้จริงและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในประเด็นนโยบาย

P a g e | 16 สาธารณะ (collaborative Government ) ร่วมของจังหวัด เพื่อการขับเคลื่อนภารกิจร่วมกนั ที่ประกอบด้วย ภาคส่วนรัฐ ธรุ กจิ และภาคประชาสังคม / ประชาชน ในรูปแบบการสรา้ งภาคีหุน้ สว่ น โดยเฉพาะการมอี งค์กร ประสานงานภาคประชาสังคมระดับจังหวัดในการเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงคนทำงานประชาสังคม หรือภาคประชา สังคมเองต้องพัฒนาเป็นเจ้าภาพหลักในการสร้างกลไกบูรณาการระดับจังหวัด เพื่อให้การจัดทำแผนและ ประสานแผนพฒั นาระดับตำบล-อำเภอ-จังหวดั สอดคลอ้ งกันไดอ้ ย่างแท้จริง 4) การเสริมความเข้มแข็งภาคประชาสังคมในจังหวัด ที่เข้าไปทำหน้าที่ในกลไก กบจ.เตรียม พัฒนาบคุ ลากร ทีมีทกั ษะ ความรู้ ความสามารถ ทีจ่ ะเปน็ ตวั แทนภาคประชาสังคม ในการเขา้ ไปเปน็ กรรมการ ในระดับต่างๆ เป็นผู้มีความสามารถในการเป็นผู้ประสานเชื่อมโยง และสร้างเครือข่าย ทั้งในระดับบุคคล และ ประสานความร่วมมือองค์กรต่างๆในจังหวัด มีการทำงานข้อมูลแบบมืออาชีพ ในการติดตามสถานการณ์ใน พื้นที่ให้เท่าทัน และสามารถจัดการความรู้ ประเด็นงานด้านต่างๆ ที่ตนเองทำ ที่พร้อมที่จะจัดทำรายงาน สถานการณ์การพฒั นาในพ้นื ท่ี มีรูปธรรมปญั หาชัดเจน พรอ้ มท่ีจะเสนอและบรรจุในแผนพฒั นาจงั หวัด ดงั นั้น ภาคประชาสังคมต้องเป็นตวั จริงเสยี งจรงิ ต้องมขี ้อมลู เทจ็ จริงของพ้ืนท่ี นำเสนอใหท้ ี่ประชมุ เกิดการเรียนรู้เพื่อ หาทางออกทดี่ ีกว่าเป็นสำคัญ มากกวา่ การใชข้ ้อมูลความร้สู กึ ในการนำเสนอทีป่ ระชุม โดยหลักการแล้วการเสริมสร้างศักยภาพตัวแทนภาคประชาสังคมที่อยู่ในคณะกรรมการ กบจ. ให้ สามารถมีบทบาทเปน็ ตวั แทนเชิงประเด็นอยา่ งลกึ ซ้งึ และครอบคลุมพ้นื ทข่ี องจังหวัด สามารถจดั ทำชุดนโยบาย ภาคประชาชนที่จะประกอบด้วย วิสัยทัศน์-พันธกิจ-ยุทธศาสตร์-โครงการ-แผนงานและกิจกรรมที่ตอบสนอง ทั้งประเด็นการทำงานและพื้นที่ของจังหวัดได้น้ัน จะสามารถทำได้โดยด้วยการใช้เครื่องมือ 4 ด้าน ประกอบด้วย • การกำหนดตำแหน่งการพัฒนาและวิสัยทัศน์ในประเด็นการทำงาน เพื่อให้ได้ข้อมูล “Function-Based” • การวิเคราะห์พื้นทช่ี มุ ชนเพ่อื ใหไ้ ด้ขอ้ มลู ในเชิง “Area-Based” • การประเมินศักยภาพทางยุทธศาสตร์ของพื้นที่ เช่นการประเมินโดยใช้เครื่องมือ SWOT Analysis เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและศักยภาพในการแก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วง ตามเปา้ หมาย • การวิเคราะห์ปัญหาของพื้นที่โดยใช้เครื่องมือ “ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบช้ี เป้า” (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) เพื่อสามารถใช้ทรัพยากรใน การปฏบิ ตั กิ ารได้อยา่ งมีประสทิ ธิภาพและประสทิ ธิผลต่อกลมุ่ เปา้ หมายสำคัญได้อย่างชดั เจน

P a g e | 17 เมื่อตัวแทนภาคประชาสังคมใน กบจ. มีข้อมูลและชุดนโยบายของตัวเองอย่างชัดเจนแล้ว การ นำเสนอยุทธศาสตร์ในการพัฒนาจงั หวัดร่วมกับภาคส่วนอื่น ๆ ใน กบจ. ก็จะมีน้ำหนักมากขึ้น ทั้งในเชิงข้อมลู วชิ าการทผ่ี า่ นการวเิ คราะห์อยา่ งมีระบบ และในเชิงการรับฟงั ขอ้ มูลจากภาคประชาชน ชมุ ชน องคก์ รเครือขา่ ย ต่าง ๆ ในระดับพื้นที่ ทำให้การเป็นตัวแทนภาคประชาสังคมในสัดส่วนที่ กบจ. ได้กำหนดไว้นั้น เป็นตัวแทน ของทั้งเชิงประเด็น (Function-Based) และตัวแทนเชิงพื้นที่/ตัวแทนภาคประชาชน (Area-Based) ของ จังหวัดอย่างแท้จรงิ เมื่อถงึ จดุ นนั้ แล้ว ในลำดบั ต่อไปจะเป็นการดำเนนิ บทบาทของการกำหนดเป้าหมายในการ พฒั นาจังหวดั อยา่ งมสี ่วนรว่ มของภาคประชาสังคม ภาคราชการ และภาคเอกชนร่วมกัน 5) กบจ. ตอ้ งสนบั สนนุ ให้เกดิ กระบวนการรวมตวั ของคนในชมุ ชนเพ่ือการจัดทำแผนหมบู่ ้าน แผน ตำบล และแผนอำเภอรว่ มกัน มกี ารแลกเปลยี่ นเรียนรู้ ร่วมคดิ ร่วมทำอยา่ งเป็นระบบ โดยอาจใชก้ ระบวนการ แผนแม่บทชุมชนเป็นเครื่องมือขบั เคลือ่ นไปพร้อม ๆกับการให้คนในชุมชนเป็นผู้ออกแบบโครงการชีวิตของคน ในชุมชนเอง 6) นอกเหนือจากการเข้าไปเป็น กบจ. แล้ว การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดเพื่ออำนวยความสะดวกในการประสานความร่วมมือกัน โดยเฉพาะการเข้าพบ หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาสังคมเป็นการเฉพาะ เช่น สำนักงานจังหวัด ผู้อำนวยการแผน และยุทธศาสตร์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด สำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด พลังงานจังหวัด เกษตรจังหวัด เป็นต้น จะนำไปสู่ความร่วมมือที่ดี ระหว่างองค์กร การดำเนินงานของภาคประชาชนที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นที่รับรู้และเป็นที่ยอมรับต่อ หน่วยงานตา่ ง ๆ

P a g e | 18 5 ข้อเสนอเรอ่ื งการมกี ลไกอืน่ ๆในระดับจังหวัด เพ่ือทำหน้าท่คี ู่ขนานไปกบั กลไก กบจ.นน้ั จะเกิดข้ึน ได้และมีประสิทธิภาพจริง ก็ต่อเมื่อตัวแทนภาคประชาสังคมในคณะกรรมการ กบจ. สามารถจัดทำชุด นโยบายภาคประชาชน ที่จะประกอบด้วย วิสัยทัศน์-พันธกิจ-ยุทธศาสตร์-โครงการ-แผนงานและกิจกรรมที่ ตอบสนองท้งั ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์ในการทำงานและสภาพพ้ืนท่ขี องจงั หวัดได้ การจะเข้าไปมีบทบาทอย่างชัดเจนในการกำหนดแผนพัฒนาจังหวัด ก็จำเป็นต้องมีพื้นท่ีและตัวตนท่ี ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากภาครัฐ เฉกเช่นเดียวการที่ภาคเอกชนสามารถเข้าร่วมกำหนดนโยบาย การพัฒนาประเทศได้ด้วยการมีกลไกคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือ กรอ. (Joint Public and Private Sector Consultative Committee) ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่มีอยู่ทั้ง ระดบั ประเทศและระดับจงั หวดั ด้วยเหตนุ ้ี กลไกภาคประชาสังคมแบบหน่ึงท่ีนา่ สนใจ และควรมีเช่นเดยี วกับท่ี กรอ. ไดด้ ำเนนิ การ ไว้คือ กลไก กรส. หรือ คณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคประชาสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคม สิง่ แวดลอ้ มและเศรษฐกิจฐานรากระดบั จงั หวดั โดยมบี ทบาทหนา้ ที่ ดงั นี้ • ใหค้ ำปรกึ ษาและข้อเสนอแนะในการตดั สนิ ใจและกำหนดนโยบายการพฒั นาจังหวดั • ประสานและจัดทำแผนปฏบิ ัติการรายประเดน็ ตามบริบทแตล่ ะจงั หวดั • ส่งเสริมบทบาทภาคประชาสังคม การจะมีกลไก กรส. เกิดขึ้นได้นั้น อาจต้องใช้เวลาและพื้นที่ในการทดลองเพื่อสร้างการแลกเปลี่ยน เรียนรู้และพัฒนาการกำหนดและก่อรูปนโยบายอย่างมีส่วนร่วมระหว่างภาคประชาสังคมด้วยกันให้สำเร็จ เสียก่อน แล้วจึงขับเคลื่อนไปสู่การสามารถกำหนดนโยบายจังหวัดผ่านแผนพัฒนาจังหวัดอย่างมีส่วนร่วมได้ ทัง้ นี้ต่อไป โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่า การหนุนเสริมภาคประชาสังคมจังหวัดให้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมกำหนด แผนพัฒนาจังหวัดผ่านกลไกคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการฯ นั้น จะต้องเริ่มด้วยการทำการ เสริมศักยภาพให้กับภาคประชาสังคมในจังหวัดให้สามารถทำงานเชิงประเด็นและเชิงพื้นที่อย่างลึกซึ้งและ ครอบคลุมได้ จนตัวแทนภาคประชาสังคมเหล่านั้นที่เข้าไปมีที่นั่งใน กบจ. สามารถมีส่วนร่วมในการกำหนด แผนพฒั นาจงั หวดั รว่ มกบั หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพน้ื ที่จงั หวัดได้ อย่างไรก็ดี การมีที่นั่งและมีชุดนโยบายของภาคประชาสังคมเพื่อนำเสนอในกลไก กบจ. อาจไม่ใช่ พื้นท่ีเดียวที่จะสามารถใช้ในการกำหนดแผนพัฒนาจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของ กบจ. เป็นการพิจารณาการจัดทำแผนในระดับจังหวัดให้สอดคล้องกับกรอบนโยบายที่กำหนดมาจากระดับ

P a g e | 19 บนสุดคือ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และระดับล่างสุดคือแผนพัฒนาหมู่บ้าน ให้มีเนื้อหาเป็นทิศทางสอดคล้อง ตอ้ งกัน แต่หากบริบทในการพัฒนาของภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดมีความแตกต่างกับกรอบนโยบาย แผนงาน โครงการภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมกันกำหนดมาก่อนหน้าแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ว่า การจัด แผนพัฒนาจังหวัดของภาคประชาสังคมอาจต้องถูกบริบทของ กบจ. ทำให้สิ่งที่แตกต่างนั้นต้องปรับปรุงให้ สอดคลอ้ งไปโดยปรยิ าย ดังนั้นเพื่อให้เกิดพื้นที่ในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสามารถกำหนดนโยบายที่มาจากปัญหาและ ความต้องการของภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดได้จริง จึงจำเป็นต้องพัฒนากลไกร่วมในการพัฒนานโยบาย ระหวา่ งภาครัฐและภาคประชาสังคม โดยเสนอกลไกต้นแบบที่ชื่อว่า “คณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคประชาสังคมเพื่อแก้ไขปัญหา ทางสงั คม ส่ิงแวดล้อมและเศรษฐกจิ ฐานรากระดับจงั หวดั ” เพอื่ ใหเ้ กิดกลไกอย่างเปน็ ทางการท่ีรองรับและมี อำนาจหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและองค์คณะผู้กำหนดนโยบาย ระดับจังหวัดผ่าน แผนพัฒนาจังหวัด ตลอดจนการประสานและจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดในประเด็นที่ภาคประชาสังคมในพื้นท่ี จังหวัดต้องการ รวมถึงการมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาสังคมใน จังหวดั ตอ่ ไป

P a g e | 20 ภาคผนวก เอกสารสำหรับใช้ในการสังเคราะห์ จำนวน 8 เรอ่ื ง ดังน้ี 1) รายงานเรื่อง การประเมินประสิทธิภาพคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) ตอ่ การเป็นกลไกพฒั นาจังหวดั และฟนื้ ฟเู ศรษฐกิจด้วยเงินกู้ 4 แสนลา้ นบาท โดย นายปรชี า สงั ข์เพ็ชร 2) รายงานเรื่อง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ.2551 สู่การทำงานเชงิ บรู ณาการแก้ปญั หาจังหวัดระยองรว่ มกนั โดย นายสทุ ธิธรรม เลขวิวฒั น์ 3) รายงานเรอ่ื ง การศึกษาคณะกรรมการบริหารงานจงั หวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) กบั การดำเนนิ การ โครงการภายใต้กรอบนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จากผลกระทบของโควิด-19 ภายใต้ แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน กรอบวงเงิน 4 แสนล้านบาท กรณีศึกษา : คณะกรรมการ บรหิ ารงานจงั หวดั แบบบูรณาการ จังหวดั ลำพูน โดย นายจรญู คำปนั นา 4) รายงานเร่ือง การศึกษาคณะกรรมการบรหิ ารงานจังหวัดแบบบรู ณาการ (กบจ.) กับการดำเนินการ โครงการภายใต้กรอบนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จากผลกระทบของโควิด-19 ภายใต้ แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน กรอบวงเงิน 4 แสนล้านบาท กรณีศึกษา : คณะกรรมการ บรหิ ารงานจังหวัดแบบบรู ณาการ จังหวดั อำนาจเจรญิ โดย นางสาวอนสุ รณ์ ไชยพาน 5) รายงานเร่ือง ภาคประชาสังคมสตูล บทบาทการมีส่วนร่วมการพัฒนาจังหวัดและแผนการฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคมในสถานการณ์ไวรัสโควิด 19 ภายใต้กลไกคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ จังหวัดสตลู (กบจ.) โดย นายสมบูรณ์ คำแหง 6) รายงานเรื่อง ผลการศึกษาการประเมินประสิทธิภาพคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณา การ (กบจ.) ต่อการเป็นกลไกฟืน้ ฟเู ศรษฐกิจดว้ ยเงินกู้ 4 แสนล้านบาท โดย นายทองใบ สงิ สีทา 7) รายงานเรื่อง การประเมินประสิทธิภาพคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กบจ.) จังหวดั พะเยา ต่อการเปน็ กลไกฟนื้ ฟูเศรษฐกิจดว้ ยเงนิ กู้ 4 แสนล้านบาท พนื้ ทีศ่ ึกษาจงั หวัดพะเยา โดย ผศ.ดร. ฉัตรทพิ ย์ ชยั ฉกรรจ์ และ ผศ.ดารารตั น์ คำเปง็ 8) รายงานเรื่อง บทบาทภาคประชาสังคมจังหวัดในการมีส่วนร่วมกำหนดแผนพัฒนาจังหวัดผ่าน กลไกคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและ กลมุ่ จังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ.2551 โดย อ.เทพรัตน์ จันทพันธ์ และนายเจรญิ พงศ์ พรหมศร

หน้า ๑ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๒ เล่ม ๑๓๖ ตอนพเิ ศษ ๑๔๙ ง ราชกจิ จานุเบกษา ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าดว้ ยการจดั ทาแผนและประสานแผนพฒั นาพน้ื ทีใ่ นระดับอาเภอและตาบล พ.ศ. 2562 โดยท่ีมาตรา ๕๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ กาหนดให้จังหวัดจัดทาแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในระดับชาติและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด ประกอบกับตามยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ ถึง พ.ศ. ๒๕๘๐ ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร จัดการภาครัฐ ข้อ 4.2 กาหนดใหภ้ าครฐั บรหิ ารงานแบบบูรณาการโดยมยี ทุ ธศาสตรช์ าติเป็นเปา้ หมาย และเชื่อมโยงการพัฒนาในทุกระดับ ทุกประเด็น ทุกภารกิจ ทุกพื้นที่ จึงสมควรกาหนดแนวทาง เพอ่ื บูรณาการในการจดั ทาแผนและประสานแผนพฒั นาในระดบั พื้นท่หี มบู่ ้าน ชมุ ชน ตาบล และอาเภอ ให้เกิดความเช่ือมโยงสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด ภาค และประเทศ ไปในทิศทางเดยี วกนั ได้อย่างมีประสิทธภิ าพ เกิดความคุ้มค่า นาไปสู่ความมัน่ คง มัง่ ค่งั และยงั่ ยืน อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และในฐานะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติ องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสภาตาบลและองค์การบริหารส่วนตาบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัตริ ะเบยี บบรหิ ารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรวี า่ การกระทรวงมหาดไทย จงึ ออกระเบียบไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบน้ีเรียกว่า “ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทาแผนและประสาน แผนพัฒนาพื้นทีใ่ นระดบั อาเภอและตาบล พ.ศ. 2562 ขอ้ ๒ ระเบียบนี้ใหใ้ ชบ้ ังคบั ต้ังแต่วนั ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือสั่งการหรือคาส่ังอื่นใดในส่วนท่ีกาหนดไว้แล้ว ในระเบียบนีห้ รือซ่งึ ขัดหรือแยง้ กับระเบยี บน้ีให้ใช้ระเบียบน้ีแทน ขอ้ 4 ในระเบียบน้ี “แผนพัฒนาในระดับพื้นท่ี” หมายความว่า แผนพัฒนาหมู่บ้าน แผนชุมชน แผนพัฒนา ตาบล แผนพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาอาเภอ และแผนพัฒนาของส่วนราชการหรือหน่วยงานอ่ืน ท่ีดาเนนิ การในพืน้ ท่ีอาเภอ “การจัดทาแผนและประสานแผนพัฒนาในระดับพื้นที่” หมายความว่า การจัดทาแผน และประสานแผนพัฒนาหมู่บ้าน แผนชุมชน แผนพัฒนาตาบล แผนพัฒนาท้องถิ่น แผนพัฒนาอาเภอ และแผนพัฒนาของส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น รวมทั้งองค์กรภาคเอกชนและประชาชน

หน้า ๒ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๒ เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๔๙ ง ราชกจิ จานเุ บกษา ทีด่ าเนินการในพนื้ ท่ีให้มคี วามเช่ือมโยงและสอดคลอ้ งในทกุ ระดับเป็นแผนเดยี วกนั เพ่อื ใหส้ ะทอ้ นปัญหา และความตอ้ งการของประชาชนในพื้นท่ี และสอดคล้องกบั แนวทางตามแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนา กล่มุ จังหวดั และแผนพัฒนาภาค ที่เป็นการบรู ณาการการทางานของทุกหน่วยงานในพ้ืนท่ี “หม่บู า้ น” หมายความวา่ หมบู่ า้ นตามกฎหมายวา่ ดว้ ยลกั ษณะปกครองท้องที่ “ชุมชน” หมายความวา่ ชุมชนทไ่ี มม่ ตี าแหน่งกานนั ผใู้ หญบ่ า้ น และอย่ใู นพืน้ ทค่ี วามรบั ผิดชอบ ขององคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถน่ิ “องคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถิน่ ” หมายความว่า องคก์ ารบรหิ ารส่วนจังหวดั เทศบาล องคก์ าร บริหารส่วนตาบล เมืองพัทยา และราชการส่วนท้องถ่ินอื่นตามท่ีมีกฎหมายกาหนดแต่ไม่รวมถึง กรุงเทพมหานคร “คณะกรรมการชมุ ชน” หมายความวา่ คณะกรรมการของชุมชนท่อี ยูใ่ นพืน้ ทีค่ วามรบั ผดิ ชอบ ขององคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถนิ่ ในเขตเทศบาลและเมอื งพัทยา “คณะกรรมการหมู่บา้ น” หมายความว่า คณะกรรมการหมู่บา้ นตามกฎหมายว่าดว้ ยลักษณะ ปกครองท้องที่ และคณะกรรมการกลางหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเองตามกฎหมายว่าด้วย จดั ระเบียบบริหารหม่บู า้ นอาสาพฒั นาและป้องกันตนเอง “แผนพัฒนาอาเภอ” หมายความว่า แผนพัฒนาที่รวบรวมรายการโครงการและแผนงานต่าง ๆ ของอาเภอท่ีสะท้อนถึงปัญหาและความต้องการของประชาชน ตลอดจนความต้องการของทุกภาคส่วน ในพื้นท่ีอาเภอโดยแผนพัฒนาอาเภอจาเป็นต้องจัดทาเพ่ือให้เป็นเคร่ืองมือในการดาเนินงานตามวัตถุประสงค์ และทิศทางการพัฒนาของอาเภอในอนาคต “แผนความต้องการระดับอาเภอ” หมายความว่า รายการเกี่ยวกับโครงการและแผนงานต่าง ๆ ที่จาเป็นต้องดาเนินการในพื้นท่ีอาเภอในแต่ละปีงบประมาณที่ระบุถึงปัญหาและความต้องการของ ประชาชนในพื้นท่ีอาเภอและเป็นไปตามลาดับความสาคัญ ที่มาจากแผนพัฒนาหมู่บ้าน แผนชุมชน แผนพฒั นาตาบล แผนพัฒนาท้องถน่ิ และแผนของส่วนราชการหรือหนว่ ยงานอ่ืน ทีด่ าเนินการในพื้นที่ โดยจัดกลุ่มของปัญหาและความต้องการออกเป็นหมวดหมู่และส่งไปยังจังหวัดหรือหน่วยงานท่ีเก่ียวขอ้ ง เพ่ือประกอบการจัดทาแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจาปีของจังหวัดหรือแผนปฏิบัติ ราชการประจาปขี องส่วนราชการ “แผนปฏิบัติงานประจาปีของอาเภอ” หมายความว่า แผนพัฒนาท่ีรวบรวมโครงการหรือกิจกรรม ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอ่ืนของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินที่ได้รับการจัดสรร งบประมาณรายจ่ายประจาปีท่ีต้องดาเนินการในพ้ืนท่ีอาเภอ และรายงานให้คณะกรรมการบริหารงาน จังหวัดแบบบรู ณาการทราบ “แผนพัฒนาท้องถิ่น” หมายความว่า แผนพัฒนาท้องถิ่นตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย วา่ ด้วยการจัดทาแผนพัฒนาขององค์กรปกครองสว่ นท้องถิ่น

หน้า ๓ ๑๑ มถิ นุ ายน ๒๕๖๒ เล่ม ๑๓๖ ตอนพเิ ศษ ๑๔๙ ง ราชกิจจานุเบกษา “แผนพัฒนาตาบล” หมายความว่า แผนพัฒนาท่ีรวบรวมรายการแผนงานหรือโครงการ หรือกจิ กรรม ทีจ่ าเปน็ ตอ้ งทาเพ่อื การพฒั นาแก้ไขปญั หาและความตอ้ งการของประชาชนในพืน้ ที่ระดับตาบล ที่มาจากแผนพัฒนาหมู่บ้าน แผนชุมชน แผนพัฒนาท้องถ่ิน และแผนของส่วนราชการหรือหน่วยงานอ่ืน ทด่ี าเนนิ การในพนื้ ท่ี “แผนพัฒนาหมู่บ้าน” หมายความว่า แผนพัฒนาท่ีกาหนดแผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรม ที่มาจากกระบวนการเรียนรู้เพ่ือจัดการตนเองท่ีคณะกรรมการหมู่บ้านและประชาชนในหมู่บ้านร่วมคิด วิเคราะห์ปัญหา ศักยภาพความพร้อมของหมู่บ้าน ภายใต้เวทีประชาคมหมู่บ้าน และข้อมูลที่คน ในหมู่บ้านจัดเก็บ รวมถึงข้อมูลจากแผนชนิดต่าง ๆ ท่ีมีอยู่ในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นแผนท่ีส่วนราชการ หนว่ ยงาน องค์กรต่าง ๆ ให้การสนับสนุน หรือจดั ทาข้นึ เพอื่ รวบรวมใหเ้ ปน็ กรอบแนวทางการปอ้ งกนั แก้ไขปญั หา และพฒั นาหมูบ่ ้านให้สอดคล้องกบั ปญั หาและความต้องการทีแ่ ท้จริงของหม่บู ้าน “แผนชุมชน” หมายความว่า แผนชุมชนตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทา แผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “การจัดทาเวทีประชาคมหมู่บ้านและชมุ ชน” หมายความว่า การจัดทาเวทีประชาคมร่วมกนั ระหว่างประชาชน คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการชุมชน และส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น ท่ีดาเนินการในพ้ืนที่ เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ปัญหา และความต้องการของประชาชนในพ้ืนท่ี เพ่ือใช้ ประกอบการจัดทาแผนพัฒนาหมู่บา้ น แผนพัฒนาท้องถิ่น และแผนของส่วนราชการหรือหน่วยงานอ่ืน ที่ดาเนินการในพื้นที่ ข้อ ๕ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรกั ษาการตามระเบยี บน้ี และมีอานาจตีความ วินิจฉัยปญั หา กาหนดหลักเกณฑ์และวธิ ีปฏบิ ตั ิเพื่อดาเนินการใหเ้ ป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด 1 การจดั ทาแผนและประสานแผนพฒั นาหมูบ่ า้ นและแผนชมุ ชน ขอ้ 6 ในการจัดทาแผนและประสานแผนพัฒนาหมู่บ้านและแผนชุมชน ให้เป็นไปตามแนวทาง ดังนี้ (1) จัดทาเวทีประชาคมหมู่บ้านและชุมชน เพ่ือรวบรวมข้อมูลปัญหาความต้องการต่าง ๆ ของหมบู่ า้ นและชุมชน ท้งั ในด้านเศรษฐกจิ สังคมและคณุ ภาพชวี ติ ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม ความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย และการบริหารจัดการ หรอื อื่น ๆ (2) บรู ณาการจดั ทาแผนพฒั นาหมบู่ ้านและแผนชมุ ชน ให้นาข้อมูลจากเวทปี ระชาคมหมบู่ า้ น และชุมชน ข้อมูลความจาเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค) มาใช้เป็น ขอ้ มูลพื้นฐานในการจัดทาแผนพัฒนาหมบู่ า้ นและแผนชุมชน พรอ้ มทง้ั จัดลาดับความสาคญั เพอ่ื รองรบั การพัฒนาและแก้ไขปัญหาในพื้นท่ี รวมท้ังตอบสนองนโยบายสาคัญเร่งด่วนที่จะแก้ไขปัญหา และ พัฒนาระดบั หมู่บ้านและชมุ ชนของรฐั บาล

หน้า ๔ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๒ เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๔๙ ง ราชกิจจานุเบกษา (3) ส่งแผนพัฒนาหมู่บ้านและแผนชุมชนตาม (2) ให้ ก.บ.ต. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพอื่ เป็นข้อมูลในการจดั ทาแผนพัฒนาตาบล และแผนพัฒนาทอ้ งถิ่น (4) ประสานจัดทาโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน เพื่อขอรับการสนับสนุน งบประมาณจากหน่วยงานภาครฐั ภาคเอกชน องค์กรปกครองสว่ นท้องถน่ิ และหน่วยงานอืน่ ๆ (5) ตดิ ตามผลการดาเนินงานตามแผนพฒั นาหมบู่ า้ นและแผนชมุ ชนให้เปน็ ปัจจบุ ัน (6) ทบทวนการจัดทาแผนพัฒนาหมู่บ้านและแผนชุมชนทุกปี เพื่อให้แผนงานหรือโครงการ ระดับหมู่บ้านและชุมชน เป็นปัจจุบัน และมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนา ของประชาชนในหมบู่ า้ นและชุมชน ในการจัดทาแผนตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นองค์กรหลักท่ีรับผิดชอบ ในการบูรณาการจัดทาแผนพัฒนาหมู่บ้าน หรือให้คณะกรรมการชุมชน หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ชว่ ยดาเนินการบรู ณาการจัดทาแผนพฒั นาหมู่บา้ นและแผนชุมชนกไ็ ด้ ข้อ 7 ให้นายอาเภอและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดาเนินการพัฒนาศักยภาพ คณะกรรมการหมู่บ้าน และคณะกรรมการชุมชน หรือหน่วยงานอ่ืนที่เก่ียวข้องในการบูรณาการ และประสานงานในการจดั ทาแผนพัฒนาหมบู่ า้ นและแผนชุมชน ขอ้ 8 เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการจัดทาแผนพัฒนาหมู่บ้านและแผนชุมชน ให้อาเภอ และองคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถิน่ เปน็ หน่วยงานหลกั รว่ มกันในการจัดทาแผนพัฒนาหมู่บ้านและแผนชมุ ชน ให้สานักงานพัฒนาชุมชนอาเภอ เป็นหน่วยงานสนับสนุนในการจัดทาแผนพัฒนาหมู่บ้าน และแผนชุมชน ทง้ั น้ี แนวทางการจดั ทาแผนพัฒนาหมบู่ ้านและแผนชมุ ชน ใหเ้ ป็นไปตามทีก่ ระทรวงมหาดไทย กาหนด หมวด 2 การจดั ทาแผนและประสานแผนพัฒนาตาบล ข้อ 9 ในตาบลหน่ึง ให้มีคณะกรรมการบริหารงานตาบลแบบบูรณาการ ขึ้นคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า ก.บ.ต. โดยประกอบดว้ ย (๑) ปลัดอาเภอผู้รับผดิ ชอบประจาตาบลที่นายอาเภอมอบหมาย ประธานกรรมการ (2) ปลดั องค์กรปกครองสว่ นท้องถ่ินในตาบล กรรมการ (3) ขา้ ราชการทป่ี ฏิบตั งิ านในตาบลท่ีนายอาเภอแตง่ ต้งั จานวนไมเ่ กนิ สามคน กรรมการ (4) กานัน ผู้ใหญบ่ า้ นในตาบล กรรมการ (5) ผ้ทู รงคณุ วฒุ ทิ น่ี ายอาเภอแตง่ ตัง้ จานวนไมเ่ กนิ ห้าคน กรรมการ (6) พัฒนากรผรู้ ับผิดชอบตาบล กรรมการและเลขานกุ าร

หน้า ๕ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๒ เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๔๙ ง ราชกจิ จานุเบกษา ในการแต่งต้ังผู้ทรงคุณวุฒิตาม (5) ให้คานึงถึงผู้มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการพัฒนา ชุมชนในระดับตาบล หรอื มปี ระสบการณ์ในการจดั ทาแผนพัฒนาในระดบั ตาบล องค์ประชุมและการประชุมของ ก.บ.ต. ให้นาหมวด 5 คณะกรรมการทมี่ ีอานาจดาเนนิ การ พิจารณาทางปกครองตามกฎหมายวา่ ดว้ ยวธิ ปี ฏิบตั ริ าชการทางปกครอง มาใช้บังคบั โดยอนุโลม ข้อ 10 ให้ ก.บ.ต. มีอานาจหน้าท่ี ดังตอ่ ไปน้ี (1) รวบรวมข้อมูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกรมการพัฒนาชุมชน ได้แก่ ขอ้ มูลความจาเป็นพนื้ ฐาน (จปฐ.) ขอ้ มูลพืน้ ฐานระดบั หมบู่ า้ น (กชช.2ค) และข้อมลู อื่น ๆ เพ่ือใช้เป็น ขอ้ มูลในการจดั ทาแผนพัฒนาตาบล (2) รวบรวมแผนพัฒนาหมู่บ้าน แผนชุมชน และแผนพัฒนาท้องถ่ินในตาบล เพื่อใช้ ประกอบการจดั ทาแผนพฒั นาตาบล (3) จัดทาแผนพัฒนาตาบล ให้นาข้อมูลจาก (1) และ (2) มาวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ กล่ันกรอง ประมวลผล เพ่ือกาหนดทิศทางการพัฒนาตาบล และจัดลาดับความสาคัญของแผนงาน หรือโครงการระดับตาบล รวมทั้งจัดทาแผนงานหรือโครงการในการแก้ไขปัญหาในพ้ืนท่ี ท่ีมีความ คาบเกี่ยวต้ังแต่สองหมู่บ้านหรือสองชุมชนข้ึนไป เพ่ือรองรับการพัฒนาและตอบสนองนโยบาย สาคัญเรง่ ด่วนในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาในตาบล (4) จาแนกแผนงานหรือโครงการระดับตาบลท่ีสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาขององค์กร ปกครองสว่ นท้องถ่ินในพ้ืนที่ระดับตาบล และจัดทาบัญชปี ระสานโครงการพัฒนา ส่งให้องค์กรปกครอง สว่ นทอ้ งถ่ินพจิ ารณาบรรจไุ วใ้ นแผนพฒั นาทอ้ งถ่ิน (5) จัดส่งแผนพัฒนาตาบล ให้ ก.บ.อ. ใช้ประกอบการจัดทาแผนพัฒนาอาเภอ และแผน ความต้องการระดับอาเภอ (6) ทบทวนการจัดทาแผนพัฒนาตาบลทุกปี เพ่ือให้แผนงานหรือโครงการระดับตาบล เป็นปจั จุบัน ข้อ 11 ให้สานักงานพัฒนาชุมชนอาเภอเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทาแผนพัฒนาตาบล และดาเนนิ การพัฒนาศักยภาพ ก.บ.ต. ในการจดั ทาแผนและประสานแผนพัฒนาตาบล ท้งั นี้ แนวทางในการจดั ทาแผนพัฒนาตาบล ใหเ้ ปน็ ไปตามท่ีกระทรวงมหาดไทยกาหนด หมวด 3 การจดั ทาแผนและประสานแผนพัฒนาอาเภอ ข้อ 12 ในอาเภอหน่ึง ให้มีคณะกรรมการบริหารงานอาเภอแบบบูรณาการ ข้ึนคณะหน่ึง เรียกโดยยอ่ ว่า ก.บ.อ. โดยประกอบดว้ ย (๑) นายอาเภอ ประธานกรรมการ (๒) ปลัดอาเภอหวั หน้ากลมุ่ งานหรอื ปลดั อาเภอ รองประธานกรรมการ หวั หนา้ ฝ่ายบริหารงานปกครอง (๓) พัฒนาการอาเภอ กรรมการ

หน้า ๖ ๑๑ มถิ ุนายน ๒๕๖๒ เล่ม ๑๓๖ ตอนพเิ ศษ ๑๔๙ ง ราชกจิ จานุเบกษา (4) ท้องถ่นิ อาเภอ กรรมการ (5) หัวหนา้ สว่ นราชการ รฐั วสิ าหกจิ หรือหนว่ ยงานอื่นของรัฐ ในระดบั อาเภอ กรรมการ ท่นี ายอาเภอแต่งต้งั จานวนไม่เกินสบิ สองคน (6) ผแู้ ทนผบู้ รหิ ารองคก์ รปกครองสว่ นท้องถ่นิ ในอาเภอซึ่งคดั เลอื กกนั เอง กรรมการ ประเภทละหนง่ึ คน ยกเวน้ องคก์ ารบรหิ ารสว่ นจงั หวัด และเมอื งพทั ยา (7) ผูท้ รงคณุ วุฒทิ นี่ ายอาเภอแตง่ ต้ังจานวนไมเ่ กนิ หา้ คน กรรมการ (8) ปลัดอาเภอผรู้ ับผดิ ชอบสานกั งานอาเภอ กรรมการและเลขานุการ (9) ขา้ ราชการสานกั งานส่งเสรมิ การปกครองทอ้ งถนิ่ จังหวดั กรรมการและผูช้ ว่ ยเลขานุการ ทท่ี อ้ งถ่นิ จังหวัดมอบหมายจานวนหนงึ่ คน (10) ขา้ ราชการในสานกั งานพฒั นาชมุ ชนอาเภอ กรรมการและผชู้ ว่ ยเลขานกุ าร ทน่ี ายอาเภอแตง่ ตงั้ จานวนหน่ึงคน กรรมการตาม (5) (6) และ (7) มวี าระอยู่ในตาแหนง่ คราวละห้าปี ในการแตง่ ตง้ั ผ้ทู รงคุณวฒุ ิตาม (7) ใหน้ ายอาเภอแตง่ ตง้ั โดยคานงึ ถงึ ผทู้ ่ีมีความรคู้ วามสามารถ เก่ียวกับการพัฒนาระดับอาเภอ ด้านการศึกษา หรือมีประสบการณ์ในการจัดทาแผนพัฒนาอาเภอ รวมทั้งดา้ นภาคประชาสังคมและเอกชน องค์ประชุมและการประชุมของ ก.บ.อ. ให้นาหมวด 5 คณะกรรมการที่มีอานาจดาเนินการ พจิ ารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าดว้ ยวิธีปฏบิ ัติราชการทางปกครอง มาใชบ้ ังคบั โดยอนุโลม ขอ้ 13 ให้ ก.บ.อ. มอี านาจหนา้ ท่ี ดังตอ่ ไปนี้ (1) วางแนวทางปฏิบตั แิ ละอานวยการการบรหิ ารงานแบบบูรณาการในอาเภอ รวมทงั้ กาหนด กรอบแนวทางปฏิบัติในการประสานแผนพัฒนาพื้นที่ของภาคส่วนต่าง ๆ ในพ้ืนที่อาเภอให้เป็นไป ตามหลักการ นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวขอ้ ง (2) จัดทาแผนพัฒนาอาเภอและแผนความต้องการระดับอาเภอ โดยกาหนดทิศทาง การพัฒนาอาเภอ การประสานและรวบรวมข้อมูลจากปัญหาและความต้องการของประชาชน แผนพัฒนาหมู่บา้ น แผนชุมชน แผนพัฒนาตาบล แผนพฒั นาท้องถนิ่ และแผนพัฒนาของสว่ นราชการ หรอื หน่วยงานอน่ื ที่ดาเนินการในพื้นท่ีอาเภอ (3) จัดทาแผนปฏิบัติงานประจาปีของอาเภอ โดยรวบรวมโครงการหรือกิจกรรมของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ รายจ่ายประจาปีที่ต้องดาเนินการในพ้ืนที่อาเภอ และรายงานให้ คณะกรรมการบริหารงานจังหวัด แบบบรู ณาการ (ก.บ.จ.) ทราบ (4) ประสานกับทุกภาคส่วนในพ้ืนที่ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินเพ่ือนาแผนพัฒนา อาเภอไปสูก่ ารปฏบิ ัติ รวมท้ังกากบั ตดิ ตามผล และใหค้ าแนะนาหน่วยงานต่าง ๆ ทีด่ าเนนิ งานพัฒนา พ้นื ทร่ี ะดบั อาเภอในดา้ นตา่ ง ๆ เพือ่ การพฒั นาและการแกไ้ ขปญั หาในพ้ืนท่อี ยา่ งยัง่ ยนื

หน้า ๗ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๒ เล่ม ๑๓๖ ตอนพเิ ศษ ๑๔๙ ง ราชกจิ จานุเบกษา (5) ตรวจสอบความซ้าซ้อนของแผนงานหรือโครงการของหน่วยงานต่าง ๆ และองค์กร ปกครองส่วนท้องถ่ินท่ีดาเนินการในพื้นที่อาเภอ หากตรวจพบความซ้าซ้อนของแผนงานหรือโครงการ ให้ ก.บ.อ. เรง่ แจง้ ข้อเท็จจรงิ พร้อมท้ังเสนอความเหน็ ประกอบไปยงั หนว่ ยงานท่เี กี่ยวขอ้ งเพอ่ื พจิ ารณา ดาเนินการตอ่ ไป (6) ปฏิบัติหน้าท่ีอ่ืน ๆ ตามท่ีคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) มอบหมาย (7) แตง่ ตัง้ คณะอนกุ รรมการเพ่อื ปฏิบตั หิ นา้ ทีต่ ่าง ๆ ตามท่ี ก.บ.อ. มอบหมาย คณะอนุกรรมการตาม (7) อย่างน้อยต้องประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการภายในอาเภอ ผ้แู ทนจากองคก์ รปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้แทนภาคประชาสงั คม ขอ้ 14 ให้ ก.บ.อ. นากรอบทิศทางการพัฒนาอาเภอและยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด มาเป็นแนวทางในการจัดทาแผนพัฒนาอาเภอ และแผนความต้องการระดับอาเภอ โดยกาหนดให้ แผนพัฒนาอาเภอมีระยะเวลาสอดคล้องกบั หว้ งเวลาของแผนพัฒนาจงั หวัด การกาหนดโครงร่างแผนพัฒนาอาเภอ และแผนความต้องการระดับอาเภอ ให้เป็นไปตามที่ กระทรวงมหาดไทยกาหนด ขอ้ 15 ให้ ก.บ.อ. นาแผนพัฒนาอาเภอ ตามข้อ 14 เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา ใหค้ วามเห็นชอบ เม่ือผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาอาเภอตามวรรคหน่ึงแล้ว ให้ ก.บ.อ. ประกาศใช้แผนพัฒนาอาเภอและจัดส่งแผนพัฒนาอาเภอให้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ รวมท้ังองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินในพื้นที่ เพื่อให้ทุกภาคส่วนนาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาพ้ืนท่ี ระดบั อาเภอในทศิ ทางการพัฒนาอาเภอเดียวกัน ขอ้ 16 ให้ ก.บ.อ. จาแนกแผนงานหรือโครงการระดับอาเภอในความรบั ผิดชอบขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และจดั ทาบัญชีประสานโครงการพฒั นา สง่ ใหอ้ งค์กรปกครองส่วนท้องถนิ่ ข้อ 17 ให้ ก.บ.อ. จัดส่งแผนความต้องการระดับอาเภอ ให้ ก.บ.จ. หรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพ่ือเป็นข้อมูลในการจัดทาแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจาปีของจังหวัด หรือแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานน้ัน ๆ ขอ้ 18 ให้อาเภอเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนการจัดทาแผนพัฒนาอาเภอ และ ดาเนินการพัฒนาศักยภาพของ ก.บ.อ. ในการจดั ทาแผนและประสานแผนพฒั นาอาเภอ ทง้ั น้ี การจดั ทาแผนพฒั นาอาเภอ ใหเ้ ป็นไปตามแนวทางท่ีกระทรวงมหาดไทยกาหนด ขอ้ 19 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจารณาโครงการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินขอรับ การประสานโครงการตามบัญชีประสานโครงการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือโครงการท่ี คณะกรรมการบริหารงานจงั หวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) เพ่ือบรรจุไวใ้ นแผนพฒั นาขององค์การบรหิ าร ส่วนจังหวัด พร้อมทั้งตรวจสอบโครงการดังกล่าวเพื่อไม่ให้โครงการซ้าซ้อนกับแผนพัฒนาจังหวัด

หน้า ๘ ๑๑ มถิ นุ ายน ๒๕๖๒ เล่ม ๑๓๖ ตอนพเิ ศษ ๑๔๙ ง ราชกจิ จานุเบกษา และแผนปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานอ่ืน และให้จัดทาบัญชีประสานโครงการพัฒนา เพ่ือจัดสง่ ให้หนว่ ยงานท่ีเก่ยี วขอ้ งพิจารณาดาเนินการ ข้อ 20 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ความสาคัญกับการสร้างและพัฒนาศักยภาพ ในการจัดทาแผนและประสานแผนพัฒนาท้องถ่ิน โดยในการจัดทาแผนพัฒนาท้องถิ่นให้เป็นไป ตามระเบยี บกระทรวงมหาดไทยวา่ ดว้ ยการจดั ทาแผนพัฒนาขององค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ หมวด ๔ การบรู ณาการและประสานแผนพัฒนาในระดบั พน้ื ท่ี ขอ้ 21 เพ่ือให้เกิดการบูรณาการและประสานแผนพัฒนาในระดับพ้ืนท่ี ให้ดาเนินการ ตามแนวทาง ดงั น้ี (๑) จัดทาเวทีประชาคม เพอื่ ให้ทุกภาคสว่ นมีส่วนรว่ มในการระดมความคิดเหน็ ของประชาชน เพ่ือให้ได้มาซงึ่ ปญั หา และความตอ้ งการจากประชาชนในพื้นท่ี (๒) ให้มีการประสานแผนในระดับพ้ืนท่ี โดยการรวบรวมและจัดลาดับความสาคัญของปัญหา และความต้องการของประชาชนในพ้ืนท่ี ผ่านกลไกการจัดทาแผนพัฒนาหมู่บ้าน แผนชุมชน แผนพัฒนาตาบล แผนพัฒนาท้องถน่ิ และแผนความต้องการระดับอาเภอ เพื่อให้แผนมคี วามเช่ือมโยง สอดคลอ้ งกันในทกุ ระดับเปน็ แผนเดียวกนั (๓) ในกรณีแผนงานหรือโครงการ หรอื พ้ืนท่ี มีความซา้ ซ้อนกันในการจดั ทาแผนระดบั อาเภอ กับแผนพฒั นาท้องถ่ิน ใหห้ ารอื รว่ มกันระหวา่ งคณะกรรมการบริหารงานอาเภอแบบบรู ณาการกบั องคก์ ร ปกครองส่วนทอ้ งถ่ินท่เี ก่ยี วข้อง (4) บูรณาการการงบประมาณ และประสานความร่วมมอื เพื่อขอรบั การสนบั สนุนงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนพัฒนาในระดบั พ้ืนท่ี โดยการแสวงหาความร่วมมอื และการบรู ณาการจากทุกภาคส่วน ข้อ 22 ในการดาเนินการตามข้อ ๒1 (๑) ให้นายอาเภอกาหนด วัน เวลา และสถานท่ี ในการจัดทาเวทีประชาคมร่วมกันของหมู่บ้าน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นท่ี และอาจประสานให้ส่วนราชการหรือหนว่ ยงานอืน่ ทด่ี าเนนิ การในพ้ืนทเี่ ขา้ รว่ มเวทีประชาคมดว้ ยก็ได้ การจัดทาเวทีประชาคมตามวรรคหน่ึงในเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน ให้นายกเทศมนตรี หรือนายกเมืองพัทยากาหนด วัน เวลา และสถานท่ีในการจัดทาเวทีประชาคมของชุมชน และเมืองพัทยา และอาจประสานส่วนราชการหรอื หนว่ ยงานที่ดาเนินการในพื้นทเ่ี ขา้ ร่วมเวทปี ระชาคมดว้ ยก็ได้ ขอ้ 23 ปฏิทินการจัดทาแผนและประสานแผนพัฒนาตามระเบียบน้ี ให้เป็นไปตามที่ กระทรวงมหาดไทยกาหนด ข้อ ๒4 ให้จังหวัดจัดทาแผนพัฒนาจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจาปีของจังหวัด โดยนาแผนพัฒนาอาเภอ แผนความต้องการระดับอาเภอ แผนพัฒนาท้องถ่ินระดับจังหวัด มาประกอบการจดั ทาแผนพัฒนาท่บี รู ณาการร่วมกนั

หน้า ๙ ๑๑ มถิ ุนายน ๒๕๖๒ เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๔๙ ง ราชกิจจานุเบกษา หมวด ๕ การสนบั สนนุ การดาเนนิ การ ข้อ 25 การดาเนินการของคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการชุมชน ก.บ.ต. และ ก.บ.อ. หรอื การดาเนินการอืน่ ใดที่เป็นไปภายใตร้ ะเบยี บนี้ ให้หน่วยงานหลักซึง่ รบั ผิดชอบในการจัดทาแผน ในแตล่ ะระดับและหน่วยงานท่ีเกย่ี วข้องสนบั สนุนงบประมาณตามความเหมาะสม ขอ้ 26 ให้สานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รวมท้ัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนทางวิชาการ วสั ดุอุปกรณ์ และพัฒนาบคุ ลากรทเ่ี กย่ี วข้องตามความเหมาะสม ขอ้ 27 จังหวัด ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณา นาโครงการหรือกิจกรรมท่ีอยู่ในแผนพัฒนาอาเภอ แผนความต้องการระดับอาเภอ แผนงานโครงการ ระดับตาบล แผนงานหรือโครงการระดับหมู่บ้านและชุมชน ไปประกอบการจัดตั้งคาของบประมาณ หรือจัดทางบประมาณรายจ่ายประจาปีตามอานาจหนา้ ท่ี โดยใหค้ วามสาคญั เปน็ ลาดบั ตน้ เน่ืองจากเปน็ แผนงานโครงการทผ่ี า่ นกระบวนการประชาคมของประชาชนในพนื้ ที่ หมวด ๖ การกากับดูแล ข้อ ๒8 ใหน้ ายอาเภอมีหน้าท่กี ากบั ดูแล และใหค้ าแนะนาในการประสานแผนพัฒนาหมบู่ า้ น แผนชุมชน แผนพัฒนาตาบล แผนพัฒนาท้องถ่ิน แผนพัฒนาอาเภอ ที่ดาเนินการในพื้นที่อาเภอ เพอ่ื ใหก้ ารดาเนินการตามระเบียบนี้เกดิ ผลสัมฤทธ์ิ ข้อ 29 เพื่อให้การประสานแผนพัฒนาในระดับพ้ืนที่เกิดผลสัมฤทธ์ิ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอานาจหน้าที่กากับดูแล และให้คาแนะนาทีเ่ ป็นประโยชนต์ ามหลกั เกณฑ์ ดังนี้ (1) บูรณาการการจัดทาแผนพัฒนาในระดับพ้ืนท่ีกับทกุ ภาคส่วน และสอดคล้องเช่ือมโยงกบั แผนพัฒนาจงั หวดั (2) ประเมินประสิทธิภาพ ประสทิ ธิผล และผลกระทบ ที่เกิดขนึ้ จากการประสานแผนพัฒนา ในระดบั พืน้ ที่ (3) การมีสว่ นรว่ มของประชาชน และการบริหารกจิ การบา้ นเมอื งท่ีดี (4) พิจารณาให้หนว่ ยงานใดเป็นผูด้ าเนินการ ในกรณีที่มีความซา้ ซ้อนกนั ในเรื่องงบประมาณ ระยะเวลาดาเนนิ การ ผดู้ าเนนิ การ หรือโครงการ ขอ้ ๓0 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอาเภอกากับดูแล และให้คาแนะนาเพ่ือให้องค์กร ปกครองสว่ นทอ้ งถน่ิ ดาเนินการจัดทาแผนพฒั นาท้องถน่ิ และการประสานแผนพัฒนาทอ้ งถนิ่ ให้สอดคลอ้ ง กับแผนพัฒนาในระดับจังหวัด เพ่ือให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครอง

หน้า ๑๐ ๑๑ มถิ นุ ายน ๒๕๖๒ เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๔๙ ง ราชกจิ จานเุ บกษา ส่วนท้องถ่ิน และกฎหมายว่าด้วยการกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครอง สว่ นท้องถิ่น ขอ้ ๓1 ให้สานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับกรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ติดตามและประเมินผลคุณภาพแผนพัฒนาหมู่บ้าน แผนชุมชน แผนพัฒนาตาบล แผนพัฒนาท้องถ่ิน และแผนพัฒนาอาเภอ เป็นประจาทุกปี เพื่อปรับปรุงคุณภาพ ใหส้ อดคล้องกบั ความต้องการและปัญหาของประชาชนในพื้นท่ี บทเฉพาะกาล ขอ้ ๓2 ในวาระเร่ิมแรก ให้คณะกรรมการบริหารงานอาเภอ (กบอ.) ที่นายอาเภอ แต่ละอาเภอมีคาส่ังแต่งต้ังตามหนังสือกรมการปกครอง ด่วนท่ีสุด ท่ี มท ๐๓๐๕.๑/ว ๙๗๔๕ ลงวันท่ี ๑๘ เมษายน ๒๕๖๒ เรื่อง การจัดทาแผนพัฒนาอาเภอ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๕) ฉบับทบทวนในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ปฏิบัติหน้าทค่ี ณะกรรมการบริหารงานอาเภอแบบบรู ณาการ (ก.บ.อ.) ตามระเบียบน้ีไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งต้ังคณะกรรมการบริหารงานอาเภอแบบบูรณาการ (ก.บ.อ.) ตามระเบยี บนี้ แตท่ ้ังนี้ ตอ้ งไมเ่ กินสามปนี ับแต่วนั ท่รี ะเบียบน้ใี ช้บงั คับ ประกาศ ณ วนั ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ พลเอก อนพุ งษ์ เผ่าจนิ ดา รัฐมนตรวี า่ การกระทรวงมหาดไทย