Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ครูเรฟบทที่ 7

ครูเรฟบทที่ 7

Published by natnicha180245, 2021-07-17 03:47:33

Description: บทที่ 7

Keywords: การศึกษา,ครูเรฟ

Search

Read the Text Version

7 โลกนี้แสนมหศั จรรย์ บางทแี ซม คกุ (Sam Cooke) อาจจะไมร่ ดู้ ว้ ยซำ้�ว่าทเ่ี ขา และนกั รอ้ งอนื่ ๆ อกี หลายคนครวญว่า “Don’t know much about history…”1 น้นั เป็นความจริงอย่างที่สุด... เนอ้ื เพลงปอ๊ ปทต่ี ิดปากน้ี บอกไดถ้ กู เผงเลยวา่ เดก็ ๆ ของเรารเู้ รอื่ งราวประวตั ศิ าสตรแ์ ละความ สำ�คัญของประวัติศาสตร์ต่อชีวิตประจำ�วันของเราน้อยขนาดไหน เรอ่ื งนเ้ี ขา้ ใจไดเ้ มอ่ื ดจู ากสภาพทเ่ี ปน็ อยใู่ นปจั จบุ นั ของโรงเรยี นของเรา ลองพิจารณาสิง่ ต่อไปนด้ี ู 1เนื้อร้องท่อนหน่งึ ในเพลง “Wonderful World” ของแซม คุก 145โลกน้แี สนมหัศจรรย์

• โรงเรียนประถมหลายแห่งให้ความสำ�คัญกับคะแนนการ อา่ นและคะแนนคณติ ศาสตรม์ ากถงึ ขนาดทค่ี รใู ชเ้ วลาทง้ั วนั เพียงเพื่อสอนสองวิชานี้ บางห้องเรียน ถ้าจะมีการสอน ประวตั ิศาสตรบ์ า้ ง กส็ อนกนั นอ้ ยเตม็ ที • เมอ่ื ถงึ วนั หยดุ เรยี นครง้ั ตอ่ ไป ลองถามนกั เรยี นคนไหนดกู ไ็ ด้ วา่ ท�ำ ไมเราถงึ ตอ้ งเฉลมิ ฉลองวนั หยดุ นด้ี ว้ ย ทปี่ ระหลาดคอื เดก็ จะตอบไมไ่ ด้ วนั ชาตหิ รอื เปลา่ วนั ทรี่ ะลกึ ทหารผา่ นศกึ ม้งั การทเี่ ด็กไม่รูอ้ ะไรเลยเกยี่ วกับวาระสำ�คญั เหล่านีบ้ อก อะไรเราบ้าง แต่ผมมีคำ�ถามท่ีเด็ดกว่านั้นอีก: เราจะโทษ เด็กนักเรียนของเราท่ีไม่รู้เร่ืองพวกนี้ได้เต็มปากเชียวหรือ ทโ่ี รงเรยี นประถมของผม พวกครเู พงิ่ โหวตใหเ้ ลกิ จดั กจิ กรรม วนั มาร์ตนิ ลูเทอร์ คงิ จูเนียร์ (Martin Luther King Jr.) เพราะเสียเวลามากเกนิ ไป แตใ่ หน้ ำ�เร่อื งราวของ ดร. คิง ไปสอนเปน็ ส่วนหนึง่ ของ “วนั พหุวฒั นธรรม” (Multicul- tural Day) ของเราตอนสิ้นปีแทน • ไม่มีวิชาอื่นใดที่จะได้รับความสนใจน้อยนิดสุดเท่ากับวิชา สังคมอีกแล้ว เรามี “เดือนแห่งประวัติศาสตร์ของคน ผวิ ดำ�” (Black History Month) นี่หมายความวา่ อกี 11 เดือนท่ีเหลือของปี ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันไม่มี ประวัติศาสตร์เลยหรือ หลายปีก่อน ทอม เลห์เรอร์ซ่ึง เปน็ ครคู ณิตศาสตรแ์ ละนักแต่งเพลงนอกเวลา เขียนเพลง ขำ�ๆ ล้อเลียนสัปดาห์ภราดรภาพแห่งชาติ (National Brotherhood Week)2 เพลงล้อเลียนของเขากลายเป็น เคร่ืองเตือนความจำ�ที่น่าเศร้าว่า ทุกวันน้ี เวลาท่ีเด็ก นักเรียนพิจารณาถ้อยแถลงของประธานาธิบดีต่อสภา นิติบัญญัติเกี่ยวกับสภาวการณ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา (State of the Union) เด็กสว่ นใหญ่ไม่รู้ดว้ ยซำ�้ ไปวา่ เรา มี ประเทศ 2เป็นเพลงท่ีประชดว่าในโลกน้ีมีแต่การเกลียดชังกัน ให้หยุดเกลียดกันสักสัปดาห์เถอะ เพราะสัปดาห์ 146 ภราดรภาพแห่งชาติ มเี พียงสัปดาหเ์ ดียวในรอบปี ครนู อกกรอบ กับ หอ้ งเรยี นนอกแบบ

• ขณะทกี่ �ำ ลงั เขยี นน้ี ประเทศของเราเขา้ รว่ มในสงครามอริ กั มาสามปแี ล้ว วันกอ่ นผมสมุ่ ถามนกั เรยี นเกรด 7 จำ�นวน 25 คนในโรงเรียนแห่งหนึ่งท่ีผมไปเป็นผู้นำ�การพัฒนา ทีมงานครู ผมเอาแผนที่โลกท่ีมีช่ือประเทศทุกประเทศให้ พวกเขาดู คณุ เดาถูกแลว้ ไมม่ ีใครหาประเทศอิรักเจอเลย ตอนปลายปี นักเรียนทุกคนในห้อง 56 สามารถติดป้ายช่ือ ประเทศอย่างนอ้ ย 150 ประเทศลงบนแผนท่ีโลกว่างๆ ไดถ้ กู ตอ้ ง พวก เขาสามารถเลา่ ประวตั ศิ าสตรข์ องสหรฐั อเมรกิ าได้ สามารถเรยี งล�ำ ดบั เหตกุ ารณน์ บั ตง้ั แตข่ อ้ ตกลงมสิ ซรู ไี ปถงึ สมรภมู เิ กตทสี เบริ ก์ จนถงึ คดวี อ เตอร์เกต เดก็ ๆ สามารถแยกแยะระหวา่ งทโี อดอร์ รูสเวลตแ์ ละแฟรง กลนิ รูสเวลต์ได้ (ทุกวนั นนี้ ักเรียนสว่ นมากไมเ่ คยไดย้ นิ ชือ่ ของรสู เวลต์ ทง้ั สองคนด้วยซ�้ำ ไป!) ต่อไปน้ีเปน็ วิธงี า่ ยๆ ทผ่ี มใช้กับหอ้ ง 56 เพือ่ ชว่ ย ให้นกั เรยี นของผมเปน็ เซยี นวชิ าสังคม ตะลอนรอบโลก หลายปีที่ผ่านมาน้ี อินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นทรัพยากรที่มี ค่าสำ�หรับการสอนวิชาภูมิศาสตร์ มีเว็บไซต์หลายแห่งที่มีแผนท่ีดีๆ เว็บไซต์โปรดของผมคือ www.worldatlas.com เว็บไซต์ง่ายๆ น้ีมี แผนทเ่ี คา้ โครงของสว่ นตา่ งๆของโลกทพ่ี มิ พอ์ อกมาได้ และมแี ผนทที่ ใ่ี ส่ ตวั เลขก�ำ กบั ไวแ้ ทนการระบชุ อื่ ประเทศ พรอ้ มแบบทดสอบทส่ี มั พนั ธก์ นั ให้ฝกึ ท�ำ ดว้ ย ในแต่ละวันเราจะใชเ้ วลา 10-15 นาทใี ชป้ ระโยชน์จาก เครอ่ื งมือตา่ งๆ บนเวบ็ ไซตน์ ้ี เราใช้เวลามากบ้างน้อยบ้างในการเรียนรู้ส่วนต่างๆ ของโลก ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของภูมิภาคที่เราเรียน ทวีปอเมริกาใต้น้ันค่อน ข้างงา่ ย ส่วนทวีปแอฟรกิ าและทวีปเอเชยี ยากกวา่ อยา่ งเหน็ ได้ชดั เรา อาจใชเ้ วลาเพยี งสปั ดาหเ์ ดยี วเรยี นเรอื่ งอเมรกิ าใต้ แตใ่ ชเ้ วลาเรยี นเรอ่ื ง แอฟริกานานเปน็ เดือน 147โลกน้แี สนมหศั จรรย์

หลงั จากนกั เรยี นไดเ้ รยี นรชู้ อื่ ประเทศตา่ งๆ ในโลก รวมทงั้ การ สะกดช่ือให้ถูกต้องแล้ว เราจะเล่นเกมท่ีเรียกว่าเทเบิลพอยส์ (Table Points) เดก็ ๆ ชอบเลน่ เกมน้ี พวกเขาจะนง่ั บนโตะ๊ ของตวั เองเปน็ กลมุ่ ๆ ละประมาณ 6-8 คนโดยไม่มแี ผนทอ่ี ยู่ตรงหนา้ ตอนแรก ผมจะเดนิ ไป รอบๆ จากกลมุ่ หนงึ่ ไปอกี กลมุ่ แลว้ ถามค�ำ ถามงา่ ยๆ ทมี่ คี า่ หนง่ึ คะแนน เชน่ ให้บอกช่อื รฐั ที่อยูต่ ดิ ทางใตข้ องรัฐโอคลาโฮมา (เทกซัส) ให้บอก ช่ือรัฐห้ารัฐที่อยู่รอบชายฝ่ังมหาสมุทรแปซิฟิก (อะแลสกา วอชิงตัน โอเรกอน แคลิฟอร์เนยี และฮาวาย) ใหบ้ อกชอ่ื รฐั สองรฐั ท่อี ยูต่ ิดกบั ฟลอรดิ า (จอรเ์ จยี และแอละแบมา) เมอื่ ไดฟ้ งั ค�ำ ถามแลว้ เดก็ นกั เรยี น จะปรึกษากันเพ่ือหาคำ�ตอบก่อนจะตอบในนามกลุ่ม นี่เป็นการปลูกฝัง การทำ�งานเป็นทมี ทกั ษะการฟงั และการประนีประนอม การทีผ่ มกะ เกณฑ์ให้เดก็ ๆ นึกภาพของโลกโดยไมม่ ีแผนท่ี ช่วยให้พวกเขาเร่มิ มอง เห็นภาพของโลกในความคดิ แทนทจ่ี ะเอาแตอ่ า่ นชอ่ื ประเทศต่างๆ บน แผนท่ีปาวๆ เม่อื ทีมหนึ่งท�ำ ได้ถึง 20 คะแนน เดก็ ๆ จะได้เงิน “โบนัส” (ซ่ึงจะได้พูดถึงต่อไปในบทที่ 11) ข้อดีอย่างหนึ่งของเกมง่ายๆ นี้คือ แม้จะมที ีมหนง่ึ ไดโ้ บนัส แตท่ ีมอื่นก็ยังมโี อกาสได้เหมือนกนั แต่ละทมี ที่สามารถท�ำ คะแนนถึง 20 จะสะสมรางวลั ไว้ และเริ่มเล่นใหม่ ทีม อน่ื กจ็ ะตอบค�ำ ถามตอ่ ไปจนกวา่ ทมี ตวั เองจะไดค้ ะแนนถงึ 20 วธิ นี ที้ �ำ ให้ เด็กๆ ไม่ตอ้ งลนุ้ ใหท้ มี อ่นื แพ้ แต่ละทีมเพยี งแคพ่ ยายามหาคำ�ตอบที่ถกู ตอ้ งเทา่ นนั้ ค�ำ ตอบทถี่ กู มกั ไดร้ บั เสยี งปรบมอื จากฝา่ ยตรงขา้ ม เกมนจี้ ะ สะสมคะแนนทงั้ ปี เกมจงึ ด�ำ เนนิ ไปไดเ้ รอื่ ยๆ เชน่ เดยี วกบั ประวตั ศิ าสตร์ เมื่อแต่ละกลุ่มได้ตอบคำ�ถามที่มีค่าหน่ึงคะแนนไปแล้ว 2-3 ค�ำ ถาม เราอาจเพ่มิ ความทา้ ทายใหเ้ กมนไี้ ดส้ องวธิ ี วธิ ีแรก ดว้ ยการตง้ั ค�ำ ถามใหย้ ากขน้ึ เชน่ ใหบ้ อกชอื่ รฐั ทตี่ ดิ ชายแดนแคนาดาอยา่ งนอ้ ย 12 รฐั บอกชื่อรัฐ 6 รัฐท่ีลอ้ มรอบรฐั เนแบรสกา บอกชอื่ ประเทศที่อยูท่ าง ตะวนั ตกของอาร์เจนตินา จำ�ไวว้ ่า นกั เรยี นไม่มแี ผนทอี่ ยู่ตรงหน้า อีก วธิ หี นงึ่ คอื ตง้ั ค�ำ ถามโดยแทนทจี่ ะชใี้ หท้ มี ใดทมี หนง่ึ ตอบ กใ็ หใ้ ครกไ็ ดใ้ น ช้นั ตอบ ใครท่ี “ยกมอื ขึน้ กอ่ น” จะเปน็ ผไู้ ดต้ อบค�ำ ถาม อยา่ งไรก็ตาม ผมเพิม่ ลกู เลน่ เข้าไปในคำ�ถาม ผมอธบิ ายวา่ นี่เป็นคำ�ถาม “4 แลก 7” 148 ครนู อกกรอบ กบั หอ้ งเรียนนอกแบบ

หมายความว่า ทีมจะได้ 4 คะแนนถ้าลูกทีมคนหน่ึงตอบถูก แต่จะ เสีย 7 คะแนนถา้ เดาผดิ น่ีท�ำ ให้นกั เรยี นตอ้ งคิดก่อนพูด เราทุกคนก็ คงเคยเหน็ เดก็ ทชี่ อบตะโกนตอบทงั้ เพอ่ื เรยี กรอ้ งความสนใจและเพราะ อยากเปน็ คนแรกทไี่ ดต้ อบ การเรยี นรทู้ จี่ ะคดิ กอ่ นพดู เปน็ ทกั ษะทจ่ี ะเปน็ ประโยชนก์ บั เด็กๆ ในทุกดา้ นท้งั ทโ่ี รงเรยี นและในชีวิต ทุม่ เกนิ ร้อย จริงๆ แล้วก็ทุกวิชานั่นแหละ แต่วิชาสังคมศึกษาจะน่า เบ่ือหรือน่าท่ึงได้เป็นพิเศษแล้วแต่ครูผู้สอน บทเรียนประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่เร่ิมต้นท่ีตำ�ราอะไรบางอย่าง แต่แม้กระทั่งตำ�ราดีๆ ก็ยัง ไม่อาจครอบคลุมเรื่องราวทุกแง่ทุกมุมและเชื่อมโยงกันได้อย่างลึกซึ้ง ตน่ื เตน้ และสนกุ สนานอยา่ งท่เี ราอยากใหเ้ ดก็ ของเรารู้สึกเม่ือพวกเขา เรยี นประวัติศาสตร์ ครแู ละพ่อแมท่ ด่ี จี ึงใช้สอื่ อย่างอื่นๆ เสรมิ หนงั สือ ประวตั ิศาสตรด์ ว้ ย อยา่ งเชน่ ภาพยนตร์ สามารถเปน็ เครอื่ งมอื ทท่ี รงพลงั ไดใ้ นการ ชว่ ยใหน้ กั เรยี นของเรารกั และเขา้ ใจประวตั ศิ าสตร์ เดก็ นกั เรยี นหอ้ ง 56 แทบจะเรยี นรทู้ มี่ าของวนั หยดุ ทงั้ หมดจากจอหนงั ภาพยนตรท์ เ่ี ราดดู ว้ ย กนั ไมไ่ ดม้ าแทนทบี่ ทเรยี นในแตล่ ะวนั แตเ่ ราจะฉายภาพยนตรด์ กู นั หลงั เลิกเรยี นแลว้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพ่อื เสริมความร้ขู องเดก็ ๆ ในประเด็น ตา่ งๆ ทไ่ี ดเ้ รยี นไปแลว้ ในหอ้ ง เชน่ เดยี วกบั การใชห้ นงั สอื เสยี ง การฉาย หนังไม่ใชข่ ้ออา้ งเพ่ือครูจะได้พกั หลายวันก่อนที่จะฉายหนงั ผมจะเร่มิ สร้างความต่ืนเต้นด้วยการแจ้งช่ือหนังไว้บนกระดานประกาศรายช่ือ “ภาพยนตร์ทีจ่ ะฉายเรว็ ๆ นี้...” ในห้องของเรา ผมเตรยี มความพรอ้ ม ให้เด็กๆ ด้วยการพูดคุยถึงเร่ืองราวตอนต่างๆ ในภาพยนตร์ที่อาจจะ ยากเกินความเข้าใจของเด็กๆ ผมส่งผ่านความต่ืนเต้นของผมท่ีจะได้ดู หนังไปถึงเด็กๆ และไดส้ าวกกอ่ นเริม่ ฉายดวี ีดเี สียอีก ครทู สี่ อนชน้ั สงู ขน้ึ ไปมปี ญั หาในการฉายภาพยนตรม์ ากกวา่ เรา เพราะในแตล่ ะคาบของการเรยี นมีเวลาไมม่ ากพอใหเ้ ดก็ ๆ ดหู นงั จนจบ 149โลกน้ีแสนมหศั จรรย์

ครบู างคนท�ำ งานไดส้ ดุ ยอดดว้ ยการฉายภาพยนตรเ์ สรมิ บทเรยี นในเวลา เรียน แต่มักจะเปล่าประโยชน์เพราะตอ้ งแบง่ ดูหลายวนั ผมขอแนะน�ำ ให้ฉายภาพยนตร์หลังเลิกเรียน แม้ว่ามันไม่ได้ทำ�ให้ชีวิตคุณสบายขึ้น แต่มันได้ผลดกี วา่ เพราะเด็กๆ ได้นั่งดูหนงั รวดเดยี วต้งั แตต่ น้ จนจบ ทง้ั ยังเปดิ โอกาสใหเ้ ด็กๆ พดู คุยแลกเปลี่ยนกันทั้งในระหว่างทกี่ ำ�ลังดหู นัง และเมอื่ ดหู นงั จบแล้วดว้ ย ขอผมยกตวั อยา่ งวา่ ผมใชภ้ าพยนตรเ์ สรมิ บทเรยี นปกตขิ องเรา อยา่ งไร เนอ่ื งจากผมสอนในโรงเรยี นทเ่ี ปดิ สอนตลอดทง้ั ปี (year-round school)3 โดยเรม่ิ เรียนในเดือนกรกฎาคม นักเรียนของผมท้งั หมดจึงมี วันหยุดเนื่องในวันแรงงาน โดยท่ัวไปเด็กๆ ในสหรัฐอเมริกาแทบจะ ไมร่ อู้ ะไรเลยเกยี่ วกบั วนั แรงงาน ถา้ จะใหพ้ ดู แบบไมห่ วอื หวา ผมกเ็ ดา ว่าร้อยละ 99 ของเด็กนักเรยี นในโรงเรียนผม (และรอ้ ยละ 99 ของ พ่อแมด่ ้วย แตน่ ค่ี นละเรื่องกนั ) ไม่รวู้ ่าทำ�ไมเราเฉลมิ ฉลองวนั แรงงาน ผมคิดว่าเดก็ ๆ ควรจะรู้ เพราะฉะน้ัน นอกจากจะให้อ่านหนังสือเก่ียวกับประวัติ ความเป็นมาของวันแรงงานและเรียนรู้เกี่ยวกับสหภาพแรงงานแล้ว เรายังดูภาพยนตร์ทุกประเภทท่ีเกี่ยวข้อง บางเรื่องเราดูด้วยกันหลัง เลกิ เรียน บางเร่อื งผมใหเ้ ด็กยืมไปดทู ่ีบ้านได้ ภาพยนตรค์ ลาสสกิ เร่ือง Norma Rae4 ของมารต์ นิ ริตต์ (Martin Ritt) Matewan5 ของจอห์น เซลส์ (John Sayles) และ On the Waterfront 6 งานช้ินเอกของ อีเลีย เคอแซน (Elia Kazan) ล้วนแล้วแต่เป็นภาพยนตร์ท่ีชวนให้ เด็กๆ คิดเก่ียวกับเร่ืองแรงงานทง้ั ในแง่ความสำ�คัญทางประวัติศาสตร์ และความเก่ียวข้องกับชีวิตเราในทุกวันน้ีด้วย หรือถ้าคุณอยากลอง 3โรงเรียนประถมหรือมัธยมโดยเฉพาะอย่างย่ิงในสหรัฐอเมริกาท่ีทำ�การเรียนการสอนตลอดปีโดยไม่มีการ ปดิ เทอมในฤดูรอ้ นเป็นเวลาหลายเดือน 4Norma Rae (1979) เป็นเรอ่ื งราวของแรงงานหญิงที่ได้คา่ แรงข้นั ตำ่�ซึ่งตอ่ มาเขา้ ร่วมในสหภาพแรงงาน และสามารถกอ่ ตั้งสหภาพในโรงงานสง่ิ ทอทต่ี นท�ำ งานจนสำ�เร็จ 5Matewan (1987) เปน็ ภาพยนตร์ชีวติ อเมรกิ นั เขียนและกำ�กับโดยจอหน์ เซลส์ แสดงเหตกุ ารณป์ ระท้วง ของคนงานเหมืองถ่านหนิ และความพยายามจัดต้ังสหภาพในปี 1920 ในเมืองเมทวานซง่ึ เปน็ เมอื งเลก็ ๆ บนเทือกเขาเวสต์เวอรจ์ เิ นีย 6On the Waterfront (1954) เป็นภาพยนตรช์ ีวติ เกยี่ วกบั ความรุนแรงของมอ็ บและการทจุ ริตฉ้อราฎร์ บังหลวง 7Modern Times (1936) เปน็ ภาพยนตรต์ ลกทกี่ ลา่ วถงึ การตอ่ สดู้ นิ้ รนเพอ่ื เอาชวี ติ รอดในโลกอตุ สาหกรรม 150 สมยั ใหม่ ซึ่งอยู่ในช่วงการตกตำ�่ ทางเศรษฐกิจครงั้ ใหญ่ รฐั ขาดแคลนงบประมาณ คนตกงานมาก ครนู อกกรอบ กับ ห้องเรียนนอกแบบ

หนังแนวอ่ืน การฉายภาพยนตร์เร่ือง Modern Times7 ของชาร์ลี แชปลินก็เป็นการแนะนำ�เด็กให้รู้จักอัจฉริยภาพของแชปลินได้อย่าง วิเศษ (เด็กสว่ นมากไมร่ ้หู รอกวา่ เขาคอื ใคร) ท้งั ยงั สอนพวกเขาให้เห็น ด้านลบของการปฏวิ ัติอตุ สาหกรรมดว้ ยในเวลาเดียวกนั วันแรงงานเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง การใช้ภาพยนตร์อย่าง รอบคอบเพ่ือสร้างสีสันให้ประวัติศาสตร์เป็นวิธีท่ีทรงพลังมากสำ�หรับ เดก็ นกั เรยี นทจ่ี ะเรยี นรเู้ กยี่ วกบั อดตี The Grapes of Wrath ภาพยนตร์ อกี เรอ่ื งทเ่ี ดก็ ๆ ทก่ี �ำ ลงั เรยี นเรอ่ื งภาวะเศรษฐกจิ ตกต�ำ่ ครงั้ ใหญ่ (Great Depression) ตอ้ งดู สว่ น The Front และภาพยนตรเ์ รอื่ ง Goodnight and Good Luck ที่เพ่งิ สรา้ งเม่ือเรว็ ๆ นีเ้ ป็นเคร่อื งมือทจ่ี ะช่วยเสริม หน่วยการเรยี นรเู้ รื่องราวเกี่ยวกบั ยุคแมกคาร์ท8ี ได้เป็นอย่างดี ทุกวัน น้ีเดก็ นักเรียนจำ�นวนมากไดด้ ูภาพยนตร์ชั้นยอดอย่าง Saving Private Ryan ของสตเี วน สปลี เบริ ก์ แตค่ รทู มี่ คี วามคดิ สรา้ งสรรคอ์ าจลองฉาย ภาพยนตรเ์ มือ่ ปี 1946 เร่ือง The Best Years of Our Lives9 ให้เดก็ นกั เรยี นดดู ว้ ย ภาพยนตรเ์ รอื่ งนที้ �ำ ใหเ้ ดก็ ๆ เขา้ ใจประเดน็ ทหารผา่ นศกึ ในมุมมองใหม่ได้อยา่ งมพี ลงั เสมอ ทั้งหมดนัน่ เป็นเพยี งตัวอยา่ งเลก็ ๆ น้อยๆ เท่าน้ัน อนั ตราย อย่างหน่ึงตรงน้ีคือการนำ�ภาพยนตร์ไปใช้ในทางที่ผิด น่าเสียดายที่ครู จำ�นวนมากใหน้ ักเรียนดูภาพยนตรเ์ พ่อื ตัวเองจะไดไ้ ม่ตอ้ งสอน พอ่ แม่ และครูควรจำ�ไว้ว่า การดูภาพยนตรก์ เ็ หมือนกบั กจิ กรรมอื่นๆ พวกเขา จะตอ้ งสร้างบรรยากาศและคอยชีแ้ นะเดก็ ๆ ภาพยนตรส์ ารคดี กใ็ หโ้ อกาสในการเรยี นรไู้ ดเ้ ปน็ อยา่ งดี ทกุ ปี นักเรียนหอ้ ง 56 จะได้ชมภาพยนตร์เรอื่ ง The Civil War ผลงานชิน้ เอกของเคน เบินส์ (Ken Burns) เมื่อเราเรยี นเรอ่ื งสงครามระหวา่ ง รฐั เดก็ นกั เรยี นไมเ่ พยี งแตจ่ ะเรยี นรเู้ รอ่ื งราวมากมายในประวตั ศิ าสตร์ เทา่ นน้ั แตส่ ารคดชี ดุ นย้ี งั น�ำ เสนอดนตรยี อ้ นยคุ ชนั้ ยอดซง่ึ เดก็ นกั เรยี น น�ำ มาหดั เลน่ กนั ดว้ ย นอกจากนช้ี อ่ ง History Channel และสารคดชี ดุ 8โจเซฟ อาร์. แมกคาร์ที (Joseph R. McCarthy) เปน็ สมาชกิ วุฒสิ ภาสหรัฐฯ พรรครพี บั ลิกัน (ปี 1947- 1957) ที่ใช้วิธกี ล่าวหาและความรนุ แรงกับผทู้ ่ีสงสัยว่านิยมคอมมิวนสิ ต์ในระหวา่ งสงครามเย็น 9ภาพยนตรป์ ี 1946 เป็นเรอื่ งของทหารผ่านศึกที่กลบั จากการสู้รบในสงครามโลกครัง้ ท่สี องและพยายาม ใชช้ ีวิตให้เป็นปกตเิ หมอื นคนทัว่ ไป 151โลกนแ้ี สนมหัศจรรย์

Biography ของเครือขา่ ยสถานีโทรทัศน์เอแอนดอ์ ี (A&E Television Network) ยังมีภาพยนตร์สารคดดี ๆี มาเสนอใหช้ มอกี มากมายนับไม่ ถ้วน ผมมีหนังสารคดีพวกนี้เกือบท้ังหมดเพ่ือให้นักเรียนยืมกลับไปดูท่ี บ้าน เด็กๆ ของเราควรจะได้เรียนรู้เรื่องราวของประธานาธิบดี นัก ประดษิ ฐ์ นกั ส�ำ รวจ และบคุ คลทนี่ า่ สนใจในแวดวงตา่ งๆ บอ่ ยครงั้ เหลอื เกินท่ีนักเรียนกลับบ้านหลังเลิกเรียนแล้วเสียเวลาไปกับการดูรายการ โชว์ปัญญาอ่อนทางทีวีหรือไม่ก็แชตเร่ือยเปื่อยทางออนไลน์ เราน่าจะ ให้โอกาสพวกเขาได้ใช้เวลาสักช่ัวโมงกับพ่ีน้องตระกูลไรต์หรือมาร์ติน ลูเทอร์ คิง สารคดเี หลา่ นส้ี รา้ งแรงบันดาลใจ ให้ข้อมูล และเป็นแบบ อย่างทดี่ ีแกเ่ ดก็ ๆ ของเรา วิธีที่สนุกอีกวิธีหนึ่งในการทำ�ให้ประวัติศาสตร์มีชีวิตชีวาขึ้น มาคือการให้เด็กๆ ฟังคำ�ปราศรัยสำ�คัญๆ ซ่ึงหาได้จากซีดีหรือบน อินเตอร์เน็ต ถ้าเรากำ�ลังเรียนเร่ืองรัฐบาลของเคนเนดี เราอาจเสริม เน้ือหาในหนังสือเรียนด้วยคำ�ปราศรัยครั้งแรกอันโด่งดังของเคนเนดี ซึ่งหาได้ง่ายๆ ผมพบค�ำ ปราศรัยนโ้ี ดยใช้กเู กิลเสริ ์ชและท�ำ สำ�เนาไว้ให้ นกั เรยี นฟัง การไดฟ้ ังเสยี งของประธานาธบิ ดีเคนเนดีท�ำ ให้ถอ้ ยคำ�ของ เขามีความขลังข้ึนมากสำ�หรับเด็กๆ ไม่มีตำ�ราไหนเทียบได้กับของจริง ไมว่ ่าจะเป็นสุนทรพจน์ของเอฟดีอาร์. (แฟรงกลนิ ดี. รูสเวลต์) ดร. คงิ ค�ำ ปราศรยั อ�ำ ลาจากต�ำ แหนง่ ของประธานาธบิ ดไี อเซนฮาวรท์ ก่ี ลา่ ว เตอื นถงึ ภยั ของอตุ สาหกรรมสงคราม (military-industrial complex)10 หรือประกาศลาออกจากต�ำ แหนง่ ของประธานาธบิ ดีนิกสนั การใชก้ าร บันทึกเสียงเป็นวิธีท่ีช่วยเติมเต็มการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ในอดีตได้ งา่ ยๆ และสนุก ผมยังใช้วรรณกรรมเข้ามาช่วยนักเรียนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ในฐานะที่เป็นครูประถม ผมรู้สึกว่ามีความจำ�เป็นที่จะสอนนักเรียน ของผมเก่ียวกับชนพ้นื เมืองของอเมรกิ า เรือ่ ง Bury My Heart at 10ไอเซนฮาวร์ เห็นว่าหากอุตสาหกรรมสงครามเติบโตต่อไปโดยไม่มีขอบเขต และปราศจากทิศทางทาง จรยิ ธรรม และไมม่ กี ารควบคมุ โดยขบวนการของประชาชนทต่ี น่ื ตวั และมคี วามรู้ กจ็ ะกลบั กลายเปน็ อนั ตราย ต่อสิทธิเสรีภาพภายในของอเมริกาเอง และเป็นศัตรูต่อสันติภาพของโลก ถึงกับจะนำ�มหันตภัยสงคราม มาสู่มนุษยชาติได้ (อ้างจาก “คำ�เตือนขุนศึก: ระวัง military-industrial complex” โดยปราโมทย์ นาครทรรพ. นสพ. เดลินิวส์ 26 ตุลาคม 2547 152 ครนู อกกรอบ กบั ห้องเรยี นนอกแบบ

Wounded Knee ของดี บราวน์ (Dee Brown) เปน็ การเปดิ ฉาก โศกนาฏกรรมทเี่ กดิ จากสงครามระหวา่ งคนผวิ ขาวกบั ชาวอนิ เดยี นแดง (Indian Wars) ใหเ้ ดก็ ๆ ไดร้ ับรู้ ยงั มหี นงั สอื ดๆี อกี มากมายทั้งทีเ่ ปน็ สารคดีและที่เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าเรื่องราวของ เส้นทางสายนำ้�ตา (Trail of Tears)11 การสังหารหมู่อินเดียนแดง เผ่าลาโกตาทวี่ นู เดดนี (Wounded Knee) รฐั ดาโกตา และหัวหน้า เผา่ ท่ยี ิง่ ใหญ่อย่างเรดคลาวด์ (Red Cloud) และเครซีฮอร์ส (Crazy Horse) งานนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ดีๆ มีให้นักเรียนทุกระดับได้ อ่าน เป็นหน้าที่ของเราในฐานะครูและพ่อแม่ที่จะเอาหนังสืออย่าง Johnny Tremain, Across Five Aprils, Killer Angels และ The March ใสม่ อื เดก็ ทอี่ ยากรอู้ ยากเหน็ เราตอ้ งบม่ เพาะความหลงใหล ในประวตั ศิ าสตรแ์ ละท�ำ หนา้ ทจ่ี ดุ ประกายความหลงใหลนนั้ ดว้ ยการแนะ น�ำ เด็กๆ ให้รจู้ กั หนังสือทีอ่ า่ นได้เพลิดเพลินและให้ความรู้ ไอเดยี ดีๆ ส�ำ หรับพ่อแม่ นี่เป็นไอเดียสำ�หรับพ่อแม่ผู้ปกครองท่ีชอบพาเด็กๆ เดินทาง ทอ่ งเทยี่ ว ยอ้ นกลบั ไปในชว่ งทศวรรษที่ 1980 ส�ำ นกั งานบรกิ ารอทุ ยาน แหง่ ชาติ (National Park Service) ไดพ้ ิมพห์ นังสือเล่มเลก็ ๆ ชดุ หนึง่ ชือ่ Passport to Your National Parks หากจะใหค้ วามรูเ้ ดก็ ๆ เก่ยี ว กบั ประวตั คิ วามเปน็ มาของสถานทตี่ า่ งๆ ระหวา่ งการเดนิ ทาง ผมยงั ไม่ เห็นเครือ่ งมือไหนดไี ปกวา่ น้ี หนงั สือเลม่ บางนรี้ าคาประมาณเล่มละ 10 ดอลลาร์ และหา ซือ้ ได้ตามอทุ ยานแหง่ ชาตแิ ละอนุสรณ์สถานท้ังหลาย ท้งั ยังอาจส่งั ซอื้ ไดท้ างโทรศพั ท์ (877-NAT-PARK) และอินเตอร์เนต็ (www.eparks. 11เหตุการณ์ท่ีทางการสหรัฐฯ บังคับให้อินเดียนแดงเผ่าเชโรกีอพยพเคล่ือนย้ายจากถ่ินท่ีอยู่ในรัฐจอร์เจีย ไปยังโอคลาโฮมาระหว่าง ค.ศ. 1838-39 ความอดอยากและความยากล�ำ บากในการเดินทางไกลท�ำ ให้มี ผู้เสียชวี ิตราว 4,000 คน 153โลกน้ีแสนมหัศจรรย์

com) ดว้ ย หนังสอื แบ่งเนือ้ หาออกตามภมู ิภาค แต่ละภมู ิภาคจะมีราย ชื่ออนุสรณ์สถานและอุทยานแห่งชาติทุกแห่งที่อยู่ในพ้ืนที่น้ันๆ ของ สหรัฐอเมริกา เด็กๆ ยังสามารถซื้อแสตมป์พิเศษที่มีคำ�อธิบายสั้นๆ เก่ียวกับอุทยานและสถานที่สำ�คัญทางประวัติศาสตร์แล้วติดแสตมป์ น้นั ลงในหนงั สอื ส่วนที่มีเน้ือหาตรงกนั นอกจากน้นั ที่สถานีผพู้ ทิ กั ษป์ า่ ในอุทยานแห่งชาติทุกแห่งยังมีตราประทับแบบพาสปอร์ตเพ่ือให้เด็กๆ ประทบั ช่อื สถานทแ่ี ละวนั ที่เขา้ เย่ียมชมลงในหนงั สืออกี ด้วย เด็กๆ ทุกวัยชอบหนังสือท่ีว่าน้ี นักเรียนของผมเอาออกมา อา่ นเสมอเวลาทเ่ี ราอยบู่ นเครอื่ งบนิ หรอื อยใู่ นรถ ซงึ่ ชว่ ยใหเ้ ดก็ ๆ จดจ�ำ สถานทที่ เ่ี คยไป ขณะเดยี วกนั กใ็ หข้ อ้ มลู เกยี่ วกบั สถานทอ่ี นื่ ๆ ทพี่ วกเขา อยากไปดว้ ย หนงั สอื เล่มหน่งึ ๆ มีจำ�นวนหน้าสำ�หรบั บันทึกการเดินทางได้ หา้ ปี หลงั จากจบจากหอ้ ง 56 ไปแลว้ นกั เรยี นของผมยงั คงใชห้ นงั สอื ดงั กลา่ วเพอื่ บนั ทกึ การไปเทย่ี วชมบา้ นของเฟรเดอรกิ ดกั ลาสส์ (Frederick Douglass)12 ไชโลห์ (Shiloh)13 อทุ ยานแหง่ ชาตแิ กรนดท์ ที อน (Grand Teton National Park) หรอื โพรมอนทอรพี อยต์ (Promontory Point) ซง่ึ เปน็ จดุ ทป่ี กั หมดุ ยดึ รางรถไฟตวั สดุ ทา้ ย (Golden Spike) สญั ลกั ษณ์ แหง่ การเสร็จสนิ้ การกอ่ สร้างทางรถไฟขา้ มทวปี อเมริกาเหนอื ลกู ศษิ ย์ เก่าของผมท่ีโตเป็นผู้ใหญ่แล้วหลายคนซ้ือหนังสือพวกน้ีให้ลูกๆ ของ พวกเขาอ่าน เหนอื สิง่ อน่ื ใด Passport to Your National Parks ชว่ ยสอนเดก็ ๆ ใหร้ ้วู ่าประวตั ิศาสตร์นนั้ มีชวี ติ และด�ำ เนินตอ่ ไปเร่อื ยๆ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงอดีต ปัจจุบันและอนาคตของ เราอย่างไม่มีวันส้นิ สุด 12นกั ปฏิรูปสังคม นักพูด รัฐบุรษุ เคยหลบหนจี ากการเป็นทาสและเขา้ รว่ มในขบวนการประทว้ งเพ่อื ยุติ การเปน็ ทาส 13เป็นสถานที่ท่ีเคยเป็นสมรภูมิสงครามกลางเมืองอเมริกาครั้งสำ�คัญที่สุด ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ เทนเนสซี 154 ครนู อกกรอบ กับ หอ้ งเรยี นนอกแบบ

โครงงานสุดจา๊ บ ทุกๆ ปีเมื่อห้อง 56 เรียนเรื่องสงครามประกาศอิสรภาพ จบลง พวกเด็กๆ ก็จะรู้ว่ายอร์กทาวน์ไม่ใช่อวสานแต่เป็นเพียงการ เรมิ่ ตน้ เมอ่ื บรรพบรุ ษุ ผกู้ อ่ ตงั้ สหรฐั อเมรกิ าพบกนั ทเ่ี มอื งฟลิ าเดลเฟยี ใน ฤดรู ้อนปี 1787 เพือ่ ปรับแกบ้ ทบญั ญตั แิ หง่ สมาพนั ธรฐั (Articles of Confederation) พวกเขาโยนบทบัญญัตินั้นทิ้งและจัดทำ�รัฐธรรมนูญ ของเราขนึ้ มาแทน นกั เรยี นผใู้ ฝห่ าวชิ าความรอู้ ยา่ งจรงิ จงั ทกุ คนสมควร อย่างย่ิงที่จะศึกษารัฐธรรมนูญท่ีนำ�มาซึ่งความเปล่ียนแปลงอย่างใหญ่ หลวงฉบับน้ี คนทฉ่ี ลาดกว่าผมมากได้คาดการณไ์ ว้ว่าในอกี หลายพันปี นับจากน้ีไป โลกจะสดุดีสหรัฐอเมริกาที่ได้มอบสามส่ิงท่ีมีเอกลักษณ์ เฉพาะตวั ไวใ้ หโ้ ลกใบนี้ นัน่ คือ เบสบอล แจ๊ซ และรัฐธรรมนญู ของเรา ย้อนกลับไปในปี 1976 เม่ือสหรัฐอเมริกาเฉลิมฉลองวาระ ครบรอบ 200 ปี เราจัดให้มีกจิ กรรมสารพัดเพอ่ื รำ�ลึกถึงประวตั ศิ าสตร์ ของเรา มีคนเจ้าความคิดคนหน่ึงเกิดไอเดียที่ผมนำ�มาใช้กับห้อง 56 เพ่ือช่วยให้เด็กๆ เข้าใจคำ�ปรารภแห่งรัฐธรรมนูญ14 (Preamble to the Constitution) คนๆ น้ไี ปตดิ ต่อกรมยานยนต์ (Department of Motor Vehicles) ของแตล่ ะรฐั รวมทง้ั ท่ีดิสทรกิ ต์ออฟโคลัมเบียซง่ึ เป็น ท่ตี ั้งของกรงุ วอชงิ ตนั ดี.ซ.ี เขาได้สั่งท�ำ ปา้ ยทะเบยี นรถสว่ นตวั มา 51 อนั ปา้ ยแตล่ ะอนั มตี วั อกั ษรซง่ึ เมอื่ น�ำ ปา้ ยดงั กลา่ วมาเรยี งกนั ตามล�ำ ดบั อักษรของช่ือรัฐแล้ว จะอ่านออกเสียงได้เหมือนข้อความในคำ�ปรารภ แห่งรัฐธรรมนูญ งานศิลปะสุดสร้างสรรค์ชิ้นน้ีถูกนำ�ไปจัดแสดงท่ีสถาบัน สมทิ โซเนยี นในกรุงวอชิงตนั ดี.ซ.ี หากเขา้ ไปท่เี ว็บไซต์ www.allpost- ers.com และดูท่ีคำ�ว่า “Preamble” เราก็จะสั่งซ้ือโปสเตอร์แบบท่ี แสดงอยทู่ ส่ี มทิ โซเนียนไดใ้ นราคาราว 10 ดอลลาร์ 14“We the people of the United States, in order to form a more perfect union, establish justice, insure domestic tranquility, provide for the common defense, promote the general welfare, and secure the blessings of liberty to ourselves and our posterity, do ordain and establish this Constitution for the United States of America.” 155โลกน้แี สนมหัศจรรย์

โปสเตอร์น้แี ขวนอยู่ในหอ้ ง 56 ของเรา ทกุ ๆ ปีเดก็ ๆ จะท�ำ ปา้ ยทะเบยี นของตวั เอง (ฮา! ปา้ ยทะเบยี นรถในสหรฐั อเมรกิ าสว่ นใหญ่ เป็นฝีมือของนักโทษในเรือนจำ�ของรัฐ) วิธีทำ�ป้ายที่ว่านี้คือเราจะตัด กระดาษสีเนอื้ หยาบเปน็ รปู ส่ีเหลยี่ มผืนผ้าขนาด 4x9 นิว้ จากน้นั เราก็ ใชป้ ากกามารเ์ กอร์ ดนิ สอสี และตวั อักษรไวนลิ ขนาดต่างๆ กันเอามา ท�ำ ใหห้ นา้ ตาเหมอื นปา้ ยทะเบยี นรถในโปสเตอร์ เดก็ ๆ สค่ี นอาจชว่ ยกนั ท�ำ ปา้ ยรัฐแคลฟิ อรเ์ นีย ขณะทอี่ ีกสามคนทำ�ปา้ ยรฐั เมน โครงงานนใ้ี ช้ เวลา 2-3 สปั ดาห์จงึ จะแลว้ เสร็จ ถึงตอนน้นั เดก็ ๆ จะรจู้ กั รัฐทง้ั หมด รวมทั้งคำ�ขวัญประจำ�รัฐ พวกเขาจะเข้าใจทุกวลีในคำ�ปรารภแห่ง รัฐธรรมนญู อย่างแจม่ แจ้ง เดก็ ๆ จะจ�ำ คำ�พดู ทวี่ า่ “สง่ เสริมสวสั ดกิ าร ท่ัวไป (promote the general welfare) หรอื “สรา้ งความเปน็ ธรรม” (establish justice) ไดข้ น้ึ ใจ ผมเคยเห็นนกั เรียนมัธยมปลายทำ�งาน ศิลปะแบบนี้อย่างช�ำ นิชำ�นาญจากวัสดุหลายๆ อยา่ งต้ังแต่ไมไ้ ปจนถึง โลหะ นจ่ี งึ เปน็ กจิ กรรมท่พี ลาดไมไ่ ด้ ระหวา่ งการเดนิ ทางไปวอชงิ ตนั ด.ีซ.ี เมอ่ื ไมน่ านมาน้ี เดก็ ๆ คณะ ละครเชกสเปียร์แห่งโฮบาร์ตโชคดีท่ีได้กลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ดเป็นมัคคุเทศก์ให้ เด็กหนุ่มสาวพวกนี้เข้าร่วมโครงการ สแตนฟอรด์ ในกรงุ วอชงิ ตนั ซง่ึ เปดิ โอกาสใหพ้ วกเขาฝกึ ท�ำ งานทกุ ชนดิ ใน เมอื งหลวงของประเทศ บางคนท�ำ งานใหว้ ฒุ สิ มาชกิ ของแคลิฟอร์เนีย และนำ�เด็กๆ เทีย่ วชมอาคารรัฐสภา ขณะที่เด็กๆ เดนิ ดูสถานทีต่ า่ งๆ อยู่น้ัน นักศึกษาสแตนฟอร์ดแสดงอาการแปลกใจที่เห็นนักเรียนของ ผมสงบเสงีย่ ม พวกเขาถงึ กบั อ้ึงเมื่อนักเรียนเกรด 5 สามารถบอกได้ ว่าเหตุการณ์ในภาพวาดและภาพสลักเป็นแนวยาวรอบโดมของอาคาร เปน็ เหตกุ ารณอ์ ะไร นกั ศกึ ษาเหลา่ นต้ี งั้ ขอ้ สงั เกตวา่ นกั ทอ่ งเทย่ี วทอี่ ายุ มากกวา่ น้ีและ “มีอภิสทิ ธ”์ิ มากกวา่ นย้ี ังไม่มีกริ ิยามารยาทหรอื ความรู้ อย่างนักประวัติศาสตร์ตวั นอ้ ยเหลา่ นีเ้ ลย เดก็ พวกนไ้ี มใ่ ชเ่ ดก็ อจั ฉรยิ ะ พวกเขาเปน็ เดก็ ธรรมดาเชน่ เดยี ว กับครูของพวกเขา แต่พวกเขากลายเป็นเด็กพิเศษข้ึนมาได้ด้วยการ เรียนหนักและร่วมทำ�กิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากท่ีหลักสูตรกำ�หนด เมื่อเราเข้าไปในห้องท�ำ งานผนู้ ำ�เสยี งขา้ งนอ้ ยของวุฒสิ ภา เด็กคนหน่งึ 156 ครนู อกกรอบ กับ ห้องเรยี นนอกแบบ

ท�ำ ใหม้ คั คเุ ทศกจ์ ากสแตนฟอรด์ ตอ้ งทง่ึ เพราะสงั เกตเหน็ ภาพหนงึ่ บนฝา ผนังและพดู ว่า “ดสู ”ิ โซล อาห์รอ้ ง “นน่ั แฮรี ทรูแมน” เราตอ้ งการ เดก็ สบิ ขวบแบบนอี้ กี มากๆ ยงิ่ เมอื่ กลบั ถงึ โรงแรม สาวนอ้ ยคนเดยี วกนั นบ้ี อกกบั ผมวา่ “หนเู กอื บจะตะโกนวา่ ‘เลน่ งานพวกนน้ั ใหห้ มอบไปเลย แฮรี!’ (Give’em Hell, Harry!)15 แลว้ ละ แต่หนไู มอ่ ยากรบกวนทา่ น วฒุ ิสมาชกิ ” เธออายแุ ค่สิบขวบเองนะครับ ใครจะไปรู้ สักวนั หน่งึ เธอ อาจจะกลับมาท่ีวุฒิสภาแห่งนี้อีกแล้วเล่นงานเพ่ือนวุฒิสมาชิกด้วยกัน จนหมอบเสยี เองกไ็ ด้ ค�ำ ปรารภแห่งรฐั ธรรมนูญจากปา้ ยทะเบยี นรถยนต์ ผลงานของไมก์ วลิ กินส์ ในพพิ ิธภัณฑศ์ ลิ ปะแหง่ ชาติสถาบันสมิทโซเนยี น 15ในการหาเสียงชิงตำ�แหน่งประธานาธิบดีที่เมืองแฮริสเบิร์ก รัฐอิลลินอยส์ เม่ือปี 1948 ขณะที่แฮรี ทรูแมนปราศรัยโจมตพี รรครพี บั ลิกัน ผู้สนบั สนนุ คนหนง่ึ ตะโกนบอกเขาว่า “Give ‘em Hell, Harry!” คำ�พดู นีไ้ ด้กลายเปน็ สโลแกนประจ�ำ ของกลุ่มผสู้ นบั สนุนทรแู มนในเวลาตอ่ มา 157โลกนี้แสนมหัศจรรย์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook