AZURA ขนมอาซูรอ $12 ตำบลกำพวน อำเภสุขสำราญ จังหวัดระนอง
ประเพณี กวนข้าว/ขนมอาซูรอ อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน คือการนําสิ่งของที่ รับประทานไดหลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน มีทั้งชนิดคาวและหวาน หาก เป็นอาหารคาวจะเรียกว่า ข้าวอาซูรอ แต่หากส่วนผสมเป็นอาหารหวานจะเรียก ว่า ขนมอาซูรอ สำหรับประเพณีกวนข้าวหรือขนมอาซูรอเป็นกิจกรรมที่ชาวไทยมุสลิม ยัง คงปฏิบัติสืบทอดกันมา โดยในสมัยก่อนเมื่อใกล้จะถึงวันกวนข้าว อิหม่ามจะ ประกาศให้ชาวบ้านได้รับทราบโดยทั่วกัน และเชิญชวนให้ผู้ที่มีอาหารที่ใช้สําหรับ กวน เช่น กระเทียม ก้านพลู ไก่ ข้าวสาร ข้าวเหนียว ขิง งาดํา ถั่วดํา ถั่วลิสงซีก นมสด ใบกระวาน เปลือกอบเชย แป้งสาลี เผือก พริกไทยดํา มะพร้าว มันเทศ มันสําปะหลัง ยี่หร่า ลูกกระวาน ลูกผักชี ลูกเอ็น สาเก หอมแดง ให้นํามารวมกัน ที่ศาลาเลี้ยง ปัจจุบันยังได้มีการจะประกาศเชิญชวนให้ชาวบ้านได้รับทราบโดยการติด ประกาศตามกำแพงหรือพื้นที่ที่เหมาะสมในหมู่บ้าน รวมถึงอาศัยสื่อออนไลน์ เพื่อให้คนในชุมชนรับทราบอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ยังได้กำหนดวิธีเกี่ยวกับการ มีส่วนร่วมรูปแบบใหม่ นั่นคือ สามารถร่วมทำบุญด้วยการสมทบเงินได้อีกทาง หนึ่งด้วย ซึ่งจะสะดวกกว่าสมัยก่อน และยังเป็นเป็นการช่วยทำให้การจัดหาส่วน ผสมของอาหารเหมาะสมขึ้นอีกด้วย กล่าวคือ พ่อครัวหรือแม่ครัวหรือผู้ปรุง อาหาร สามารถนำเงินบริจาคเหล่านั้นไปจัดซื้อวัตถุดิบเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ เมื่อกวน เสร็จแล้ว ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมก็จะได้รับการแบ่งปัน โดยอาจจัดแบ่งให้ตาม สัดส่วนของเงินที่ได้บริจาคไว้
อุปกรณ์ที่ใช้ ไม้พาย กระทะ ตะหลิว กระบวย
ถั่วเขียว มันเทศ ฟักทอง ถั่วราชมาด ถั่วแดง เผือก (ถั่วแดงเล็ก) ถั่วดำ ใบเตย ถั่วเหลืองซีก น้ำตาลมะพร้าว กระทิ งาดำ
ขั้นตอน เตรียมวัตถุดิบที่ใช้ในการทำขนมอาซูรอ โดยพืชประเภทถั่วจะนำไปแช่น้ำสะอาด การทำขนม เป็นเวลา ๑ คืน หรือ ๑๒ ชั่วโมง ก่อนนำมา กวนขนม เพื่อให้ถั่วเปื่ อยเร็วขึ้นในขณะกวน หั่นวัตถุดิบที่มีขนาดใหญ่ เช่น มันเทศ เผือก และฟักทองให้มีขนาดเล็กลง ประมาณ ๒-๔ เซนติเมตร นำกระทะใบใหญ่ตั้งไฟ จากนั้นใส่น้ำเปล่า ประมาณ ๓ ลิตร นำเมล็ดธัญพืชที่แช่น้ำใส่ลงไป
กวนเมล็ดธัญพืช โดยใช้ความร้อนไฟระดับ ปานกลาง กวนไปเรื่อย ๆ โดยเน้นให้ไปใน ทิศทางเดียวกัน และไม้พายจะต้องลงไปสุดถึง ก้นกระทะเพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดธัญพืชไหม้ หรือจับตัวกันเป็นก้อน รอจนกว่าเมล็ดธัญพืช จะเปื่ อยหรือแตกยุ่ย ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ ๒ - ๓ ชั่วโมง และหากปริมาณน้ำลดลง ก็จะ ต้องเติมน้ำเปล่าลงไป เมื่อเมล็ดธัญพืชเปื่ อยแล้ว จึงใส่มันเทศ ฟักทอง เผือก และน้ำกะทิที่ผสมกลิ่นใบเตยลง ไป พร้อมกวนต่อไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้ สามารถเติม น้ำเปล่าเพิ่มได้อีกหากเห็นว่า ขนมมีความหนืด มากเกินไป หลังจาก มันเทศ ฟักทอง เผือก เปื่ อยแล้วใส่ แป้งข้าวเจ้าที่ผสมกับน้ำ แล้วกวนต่อไป กวนจนกระทั่งน้ำเริ่มแห้ง
ขนมจับกันเป็นตัว จึงใส่ถั่วลิสงป่น ใช้ใบตองทดสอบความหนืดของขนม (หากกดลงไปแล้วขนมไม่ติดใบตอง ถือว่า ขนมที่กำลังกวนอยู่นั้น สามารถรับประทานได้ แล้ว) ตักขนมใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ แล้วโรยด้วย งาดำ ตัดขนมออกเป็นชิ้นตามขนาดที่เหมาะสม (ควรตัดในขณะที่กำลังร้อนหรืออุ่น โดยหากปล่อยให้เย็นจะทำให้ตัดยาก เนื่องจาก ขนมจะจับตัวแข็ง)
๐๗๗-๘๖๒๐๘๒ ผู้ให้ข้อมูล นางล่อมาขวัญ กำพวน ประธานกลุ่มเครือข่ายสตรีมุสลิม จังหวัดระนอง ลงพื้ นที่เก็บข้อมูล สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง เรียบเรียงข้อมูล นายสุรพันธ์ นะแก้ว นายอนุสรณ์ แซ่ขอ นางสาวปิยะธิดา เขียวไข่กา บันทึกภาพ นายสุรพันธ์ นะแก้ว นายอนุสรณ์ แซ่ขอ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๕
Search
Read the Text Version
- 1 - 8
Pages: