เรื่องที่ 2 การละลาย นอกจากน้ำตาลทรายซึ่งเป็นของแข็ง เอทานอลซึ่งเป็นของเหลวจะละลาย ในน้ำได้แล้ว แก๊ส เช่น ออกซิเจน ก็สามารถละลายในน้ำได้เช่นกัน อยากรู้ไหม ว่าการละลายของแก๊สออกซิเจนในน้ำมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่ง น้ำหรือไม่ อย่างไร การเปลี่ยนแปลงของสารนอกจากการเปลี่ยนสถานะและการละลายซึ่ง เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพแล้ว สารยังมีการเปลี่ยนแปลงแบบอื่นอีกหรือไม่ เราจะได้เรียนรู้กันต่อไป
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
มี 2 ช่วง คือช่วงเศษเทียนและขี้ผึ้งเป็นของแข็งให้ความร้อนเป็นของเหลว เรียกว่า หลอมเหลว ช่วงของเหลวมาเทใส่พิมพ์ แล้วเย็นลง เป็นของแข็งรูปต่างๆ เรียก ว่าการแข็งตัว
นำขวดใส่น้ำครึ่งขวดไปไว้กลางแดด น้ำได้รับความร้อนระเหยเป็นไอ เรียกว่า การกลายเป็นไอ และช่วงมีน้ำเกาะเกิดจากไอน้ำเป็นน้ำ เรียกว่า การควบแน่น
หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร บทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
เมื่อเรียนจบบทนี้ นักเรียนสามารถ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสาร และระบุการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ของสาร
แนวคิดสำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสารที่มีสาร ใหม่เกิดขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมื อาจสังเกตได้จากการที่สารมีสี มีกลิ่นแตก ต่างจากสารเดิม มีฟองแก๊ส มีตะกอนเกิด ขึ้น หรือมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ในเทศกาลลอยกระทงบางพื้นที่จะมีการจุดโคมลอยเพราะมีความ เชื่อว่าเป็นการปลดปล่อยความทุกข์กับโคมและทำให้พบแต่สิ่งดีงามและมี ความสุขปัจจุบันมีการรณรงค์ให้ระมัดระวังในการปล่อยโคมลอยโดยไม่ ปล่อยให้รบกวนเส้นทางการบินของเครื่องบินหรือเขตชุมชนเพราะอาจเกิด อันตรายต่อเครื่องบิน หรือถ้าโคมลอยตกลงสู่บ้านเรือนขณะที่ไฟยังดับไม่ สนิทอาจจะทำให้เกิดไฟไหม้ได้
โคมลอยในรูปทำจากกระดาษ มีเชื้อเพลิงห้อยไว้ตรงกลางเมื่อ จุดไฟที่เชื้อเพลิง จะสังเกตเห็นเปลวไฟสีเหลือง ควัน และเขม่า เมื่อ อากาศร้อนขึ้นจะทำให้ตัวโคมพองขึ้น เมื่อตัวโคมพองขึ้นเต็มที่ โคมจะ ค่อย ๆ ลอยขึ้นไปบนทีองฟ้า รู้ไหมว่า การจุดโคมลอยมีการ เปลี่ยนแปลงทางเคมีเกิดขึ้นหรือไม่และการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเป็น อย่างไร เราจะได้มาเรียนรู้กันในบทนี้
สำรวจความรู้ก่อนเรียน สำรวจความรู้ก่อนเรียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยตอบคำถามต่อไปนี้ลงในแบบ บันทึกกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงในรูปใดต่อไปนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพราะเหตุใด
คิดก่อนอ่าน การเปลี่ยนแปลงใดบ้าง เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
หลายคนคงเคยรับประทานผลไม้ที่มีรสหวาน รสหวานที่อยู่ในผลไม้ คือ รสชาติของน้ำตาล น้ำตาลเป็นสารที่เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยพืชใช้น้ำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และมี แสงช่วยทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีได้สารใหม่คือน้ำตาลและแก๊สออกซิเจน น้ำตาลเป็นอาหารชนิดหนึ่ง เมื่อเรารับประทานน้ำตาล น้ำตาลบางชนิดจะผ่านการย่อยซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้ได้สารใหม่ที่มี ขนาดเล็กลง ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ ทั้งการสังเคราะห์ด้วยแสงและการย่อยอาหารเป็นการ เปลี่ยนแปลงทางเคมี รอบ ๆ ตัวเรายังมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอีกมากมายทั้งมีประโยชน์และโทษ เช่นการเกิดสนิม เหล็ก การสุกของอาหาร การเกิดฝนกรด การเปลี่ยนแปลงทางเคมีคืออะไรและรู้ได้อย่างไรว่ามีการ เปลี่ยนแปลงทางเคมีเราจะมาทำกิจกรรมกันต่อไป
กิจกรรมที่ 1.1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีคืออะไร ทำเป็นคิดเป็น ทำกิจกรรมนี้เพื่อสังเกตและอธิบาย การการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของ สาร
สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงทางเคมีเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิด สารใหม่ซึ่งมีสมบัติแตกต่างจากสารเดิม สารบางชนิดเกิดการ เปลี่ยนแปลงเคมีเมื่อได้รับความร้อน
กิจกรรมที่ 1.2 รู้ได้อย่างไรว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
สรุปลำดับขั้นตอน กิจกรรม 1.2 รู้ได้อย่างไรว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
แผนผังการทำกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1.2 รู้ได้อย่างไรว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เมื่อนำสารสองชนิดมาผสมกันแล้วเกิดสารใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ซึ่งอาจสังเกตได้ จากการมีฟองแก๊ส หรือมีตะกอนเกิดขึ้น หรือมีสี กลิ่นและอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
รู้อะไรในเรื่องนี้ เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงทางทางเคมี
หน่วยที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของสาร
บทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้
เมื่อเรียนจบบทนี้ นักเรียนสามารถ - วิเคราะห์และระบุการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ และการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้ของสาร
บทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ แนวคิดสำคัญ เมื่อสารบางชนิดเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วสามารถทำให้กลับมาเป็นสารเดิมก่อนที่จะเกิด การเปลี่ยนแปลงได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ แต่การเปลี่ยนแปลงของสารบางชนิด เมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วไม่สามารถทำให้กลับมาเป็นสารเดิมได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้
บทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ แนวคิดสำคัญ (ต่อ) เคยสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราหรือไม่ว่า สารบางอย่างเมื่อเปลี่ยนแปลงไปแล้ว สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นเหมือน เดิมได้ เช่น น้ำเมื่อระเหยแล้วเปลี่ยนเป็นไอน้ำซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ แต่เมื่อไอน้ำเย็นลงก็สามารถควบแน่นกลับมา เป็นน้ำได้ สารอื่น ๆ เมื่อเปลี่ยนแปลงไปแล้ว จะสามารถทำให้เปลี่ยนกลับมาเป็นสารเดิมได้หรือไม่ เช่น ไข่ดิบเมื่อ ทำให้สุกเป็นไข่ดาวแล้ว เราสามารถทำไข่ดาวให้กลับมาเป็นไข่ดิบได้หรือไม่ เราจะได้มาเรียนรู้กันในบทนี้
สำรวจความรู้ก่อนเรียน สำรวจความรู้ก่อนเรียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับ ไม่ได้ โดยตอบคำถามต่อไปนี้ ลในแบบบันทึกกิจกรรม
เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ ปัจจุบันมีการใช้เชื้อเพลิงประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและแก๊สธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นเชื้อเพลิงเป็นสารที่ติดไฟง่ายหรือเผาไหม้ได้ง่าย การติดไฟหรือการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดจากเชื้อเพลิงซึ่งเป็นสารตั้งต้นทำปฏิกิริยากับแก๊ส ออกซิเจนโดยใช้ความร้อนในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง ได้สารใหม่คือแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และอาจมีเขม่าเกิดขึ้น นอกจากนั้นยังได้พลังงานความร้อนซึ่งนำไปใช้ในการทำงานของเครื่องยนต์ เครื่องจักร การหุงต้ม และการให้ความอบอุ่นสาร ใหม่ที่ได้จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นเชื้อเพลิงได้อีกเชื้อเพลิงจึงเป็นสารที่ใช้แล้วหมดไป ดังนั้น เราจำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงอย่างประหยัดเพื่อให้มีเชื้อเพลิงไว้ใช้ต่อไปเป็นเวลานานๆ
เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ แก๊สธรรมชาตินอกจากจะนำมาใช้ในการเผาไหม้แล้ว เรายังนำมาเป็นวัตถุดิบในผลิตเม็ดพลาสติก เมื่อนำเม็ด พลาสติกไปหลอมเหลวแล้วสามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีรูปทรงต่าง ๆ ได้ เช่น ถัง กะละมัง แก้ว ถุง ขวดน้ำ ผลิตภัณสติกที่ใช้แล้วเหล่านี้ บางชนิดนำกลับมาหลอมเหลวแล้วทำเป็นผลิพลาสติกเพื่อใช้ใหม่ได้อีก เช่น ถุงขยะ ถุงเพาะชำ
กิจกรรมที่ 1 ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้เป็นอย่างไร
สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สารเปลี่ยนแปลงไปแล้วสามารถเปลี่ยน กลับมาเป็นสารเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลงหรือสารตั้งต้นได้ ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับไม่ได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สารเปลี่ยนแปลงไปแล้วไม่สามารถกลับมาเป็นสารตั้งต้นได้
รู้อะไรในเรื่องนี้ เรื่องที่ 1 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ และผันกลับไม่ได้
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้และผันกลับไม่ได้
แบบทดสอบท้ายเล่ม
Thank you!
Search