Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน

Published by thitima0624872384, 2023-03-24 03:36:44

Description: หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน-2

Search

Read the Text Version

หน่วยที่ 2 แรงและพลังงาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

บทที่1 แรงลัพธ์ และแรงเสียดทาน

เมื่อเรียนจบบทนี้ นักเรียนสามารถ 1.อธิบายการหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงในแนวเดียวกัน ที่กระทำต่อวัตถุในกรณีที่วัตถุอยู่นิ่ง 2.อธิบายและเขียนแผนภาพแสดงขนาดและทิศทางของ แรงที่กระทำต่อวัตถุในแนวเดียวกัน 3. วัดขนาดของแรงที่กระทำต่อวัตถุโดยใช้เครื่องชั่งสปริง 4.อธิบายแรงเสียดทานที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการ เคลื่อนที่ของวัตถุ

เมื่อมีแรงหลายแรงมากระทำต่อ วัตถุหนึ่งๆผลรวมของแรงเหล่า นั้นคือ แรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุ

การหาแรงลัพธ์ต้องพิจารณาทั้งขนาดและทิศทาง ของแรงทั้งหมดที่กระทำต่อวัตถุนั้น 5 นิวตัน 3 นิวตัน

ถ้าแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่นิ่งมีค่าเป็นศูนย์ วัตถุก็จะอยู่นิ่งต่อไป ถ้ามีแรงมากระทำต่อวัตถุเพื่อ ให้วัตถุเคลื่อนที่ 5 นิวตัน 5 นิวตัน

หมายเลขใดจะผลักกล่องได้ไกลและใช้แรงน้อยกว่ากัน





สำรวจความรู้ก่อนเรียน หน้าที่ 27 อ่านสถานการณ์และตอบคำถามต่อไปนี้ 1. เด็กชาย ก และเด็กชาย ข ออกแรง คนละ 2 นิวตัน ดึงวัตถุที่อยู่บนพื้นลื่นไปทางขวา มือ ในขณะที่เด็กหญิง ค ออกแรง 4 นิวตัน ดึงวัตถุนี้ไปทางซ้ายมือ แรงลัพธ์ที่กระทำต่อ วัตถุนี้เป็นเท่าใด วัตถุนี้จะเคลื่อนที่หรือไม่ อย่างไร เขียนแผนภาพแสดงขนาดและ ทิศทางของแรงทั้งหมดที่เด็กกระทำต่อวัตถุนี้ได้อย่างไร

สำรวจความรู้ก่อนเรียน หน้าที่ 27 2. เด็กชาย ง ออกแรงดึงวัตถุที่อยู่บนพื้นลื่นไปทางขวามือด้วยแรง 8 นิวตัน ถ้าเด็กหญิง จ ต้องการให้วัตถุนี้อยู่นิ่ง เด็กหญิง จ ต้องออกแรงดึงวัตถุนี้ด้วยแรง ขนาดเท่าใด และในทิศทางใด เขียนแผนภาพแสดงขนาดและทิศทางของแรง ทั้งหมดที่เด็กกระทำต่อวัตถุนี้ได้อย่างไร

สำรวจความรู้ก่อนเรียน หน้าที่ 27 3. เด็กชาย ก และเด็กชาย ข ช่วยกันเปิดหนังสือ 2 เล่ม ให้ซ้อนสลับกันทีละหน้า จนหมดเล่ม ดังรูป ก แล้วออกแรงดึงที่สันหนังสือทั้งสองเล่ม ดังรูป ข พบว่าดึงหนังสือ ทั้งสองเล่มให้แยกออกจากกันได้ยาก สถานการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับแรง อะไรบ้าง เพราะเหตุใด

กิจกรรมที่1 หาแรงลัพธ์ที่กระทำ ต่อวัตถุได้อย่างไร จุดประสงค์ 1. อธิบายความหมายของแรงลัพธ์ 2. เขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ในแนวเดียวกันเมื่อวัตถุอยู่นิ่ง 3. ใช้เครื่องชั่งสปริงในการวัดแรงที่กระทำต่อวัตถุ

กิจกรรมที่1 หาแรงลัพธ์ที่กระทำ ต่อวัตถุได้อย่างไร อุปกรณ์ 1. ถุงทราย 2. เครื่องชั่งสปริง 3. ถุงพลาสติกมีหูหิ้ว

สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการหาแรงลัพธ์ การเขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทำต่อวัตถุ เขียน แทนด้วยลูกศรโดยความยาวของลูกศรแสดงขนาดของ แรง และหัวลูกศรแสดงทิศทางของแรงที่มากระทำ การหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงที่กระทำต่อวัตถุหนึ่ง ในแนวเดียวกัน สามารถพิจารณาจากขนาดและ ทิศทางของแรงนั้นๆโดยถ้าแรงที่มากระทำมีทิศทาง เดียวกัน แรงลัพธ์จะเท่ากับผลบวกของแรงทุกแรงที่ กระทำต่อวัตถุ

สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการหาแรงลัพธ์ แต่ถ้าแรงที่มากระทำมีทิศทางตรงข้ามกันแรงลัพธ์ จะเท่ากับผลต่างของแรงเหล่านั้น และเมื่อออกแรง กระทำต่อวัตถุแล้ววัตถุยังคงอยู่นิ่ง แรงลัพธ์ที่ กระทำต่อวัตถุมีค่าเป็นศูนย์

เคยสังเกตไหมว่า ขณะที่ออกแรงเพื่อทำให้วัตถุบางอย่างเคลื่อนที่ เช่น การผลักตู้ให้เคลื่อนที่ แต่ตู้ยัง ไม่เคลื่อนที่ เราอาจรู้สึกถึงแรงต้านการเคลื่อนที่ของตู้ หรือเรียกว่า แรงเสียดทาน

ซึ่งเป็นแรงที่มีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่ต้องการให้ตู้เคลื่อนที่ และเกิดขึ้นระหว่างผิวของตู้ กับพื้นบริเวณที่สัมผัสกับตู้ และเมื่อออกแรงกระทำให้ตู้เคลื่อนที่ไปบนพื้นผิว ก็ยังคงมีแรงเสียด ทานกระทำในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของตู้เพื่อต้านการเคลื่อนที่เช่นเดียวกัน

กิจกรรมใดบ้างในชีวิตประจำวันที่ เกี่ยวข้องกับแรงเสียดทาน

กิจกรรมที่2 แรงเสียดทานมีผล ต่อวัตถุได้อย่างไร จุดประสงค์ 1. วัดขนาดของแรงและอธิบายแรงเสียดทานที่มีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ 2. เขียนแผนภาพแสดงแรงเสียดทานและแรงที่กระทำต่อวัตถุ ในแนวเดียวกัน

กิจกรรมที่2 แรงเสียดทานมีผล ต่อวัตถุได้อย่างไร อุปกรณ์ 1. ถุงทราย 2. เครื่องชั่งสปริง

สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการหาแรง เมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุให้เคลื่อนที่ไปบนพื้น จะมีแรงเสียดทานต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ แรง เสียดทานจะเกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุกับพื้นในทิศตรงกันข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ ของวัตถุ เมื่อออกแรงกระทำต่อวัตถุแล้ววัตถุยังคงอยู่นิ่ง แรงเสียดทานจะมีขนาดเท่ากับแรง ที่มากระทำต่อวัตถุนั้น และสำหรับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ ก็มีแรงเสียดทานกระทำต่อวัตถุเช่นกัน โดยแรงเสี่ยดทานจะมีผลทำให้วัตถุเคลื่อนที่ข้าลงจนหยุดนิ่ง

เกร็ดน่ารู้ แรงเสียดทานกับพื้นรองเท้า กีฬาแต่ละประเภทมีวิธีการเล่นที่แตกต่างกัน จึงมีการออกแบบ รองเท้าที่ใช้เล่นกีฬาให้เหมาะสมกับการใช้งานตามประเภทของ กีฬานั้นๆเช่น รองเท้าสำหรับวิ่งจะมีพื้นเป็นร่องหยักเพื่อเพิ่มแรง เสียดทาน ทำให้ยึดเกาะพื้นได้ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้นักวิ่งวิ่งได้ดีโดยไม่ ลื่นไถล รองเท้าฟุตบอลก็จะมีลักษณะพื้นรองเท้าแตกต่างออกไป ลองคิดดูสิว่า ความแตกต่างของพื้นรองเท้านี้มีประโยชน์กับ นักกีฬาแต่ละประเภทอย่างไร

เกร็ดน่ารู้ นอกจากแรงเสียดทานจะต้านการเคลื่อนที่ ของวัตถุแล้ว ยังทำให้วัตถุเกิดการสั่นและ เกิดเสียงได้อีกด้วย เช่น การสีไวโอลิน เสียงที่ เกิดขึ้นนั้นเกิดจากแรงเสียดทานระหว่างคันชัก และสายไวโอลิน ทำให้สายไวโอลินเกิดการสั่น และเกิดเสียง

บทที่ 2 เสียง

เมื่อเรียนจบบทนี้ นักเรียนสามารถ 1. อธิบายการเคลื่อนที่ของเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงจนถึงหูผู้ฟัง 2. อธิบายการเกิดเสียงสูง เสียงต่ำ 3. อธิบายการเกิดเสียงดัง เสียงค่อย 4. วัดระดับเสียงโดยใช้เครื่องมือวัดระดับเสียง 5. เสนอแนะแนวทางในการหลีกเลี้ยงและลดมลพิษทางเสียง

แนวคิดสำคัญ เสียงเป็นพลังงานที่เกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง เสียงเคลื่อนที่จาก แหล่งกำเนิดเสียง โดยอาศัยตัวกลางจนถึงหูผู้ฟัง เสียงที่ได้ยินมีทั้งเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงดัง เสียงค่อย โดยเสียงสูง เสียงต่ำขึ้นกับความถี่ในการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง ส่วนเสียงดัง เสียงค่อย ขึ้นกับพลังงานในการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและระยะห่างจากแหล่งกำเนิดเสียง ถึงหูผู้ฟัง ความดังของเสียงวัดได้ด้วยเครื่องมือวัดระดับเสียง มีหน่วยเป็นเดซิเบล เสียงดัง มาก ๆ ที่เป็นอันตรายต่อการได้ยินและเสียงต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความรำคาญ จัดเป็น มลพิษทางเสียง

ก า ร ร ะ เ บิ ด ข อ ง ด า ว

สำรวจความรู้ก่อนเรียน เปิดหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 1 ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551หน้าที่ 49

เรื่องที่ 1 เสียงกับการได้ยิน คิดก่อนอ่าน 1. เราได้ยินเสียงลักษณะใดบ้างจากแหล่งกำเนิด เสียงรอบตัวเรา 2. ความถี่คืออะไร

เสียงสูง เสียงต่ำ เกิดจากการ ความถี่ คือ จำนวนรอบ สั่นของแหล่งกำเนิดเสียงที่มี ของการสั่นในหนึ่งวินาที หน่วยเป็นเฮิรตซ์ (Hz) ความถี่แตกต่างกัน

เสียงเกิดจาก --> การสั่นของวัตถุ สิ่งที่ให้เสียงได้ --> แหล่งกำเนิดเสียง เสียงเคลื่อนที่ --> จากแหล่งกำเนิดเสียงไปทุกทิศทาง รอบตัวเรามีทั้ง เสียงสูง เสียงต่ำ เสียงดังและเสียงค่อย

กิจกรรมที่ 1.1 เสียงเคลื่อนที่ได้อย่างไร ทำเป็นคิดเป็น จุดประสงค์ เพื่อสังเกต สืบค้นข้อมูลและอธิบายการเคลื่อนที่ของเสียงจาก แหล่งกำเนิดเสียงไปยังหูผู้ฟัง

สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเคลื่ อนที่ของเสียง เสียงเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดเสียงไปยังหูผู้ฟังได้ ต้องอาศัยตัวกลางของ เสียง เช่น อากาศ น้ำ แก้วพลาสติกและเส้นเอ็น ซึ่งมีสถานะเป็นแก๊ส ของเหลว และของแข็ง การสั่นของตัวกลางของเสียงทำให้เสียงเคลื่อนที่ไป ได้

เกร็ดน่ารู้! ครอบแก้วสูญญากาศ ครอบแก้วสูญญากาศเป็นอุปกรณ์สาธิตที่แสดงให้เห็นว่าเสียงต้องอาศัย อากาคซึ่งเป็นตัวกลางของเสียงในการเคลื่อนที่ โดยเมื่อนาซิกาปลุกที่อยู่ใน ครอบแก้วเกิดเสียง เราจะได้ยินเสียงนั้น แต่ถ้าเราค่อย ๆ สูบอากาศภายใน ครอบแก้วออก เราจะได้ยินเสียงนาฬิกาปลูกค่อยลง จนไม่ได้ยินเสียง นั่น เป็นเพราะในครอบแก้วไม่มีอากาศหรือเป็นสูญญากาศ ทำให้ไม่มีตัวกลาง ของเสียง เสียงจึงไม่สามารถเคลื่อนที่ไปถึงหูผู้ฟังได้



เกร็ดน่ารู้! ส่วนประกอบของหู การได้ยินเสียงต้องมีองค์ประกอบ คือ แหล่งกำเนิดเสียง ตัวกลางของเสียง และหู โดยเมื่อแหล่ง กำเนิดเสียงสั่น ทำให้ตัวกลางของเสียงสั่นต่อเนื่องกันไป เมื่อเสียงเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงมา ถึงหู ใบหูจะรวมเสียงเข้าสู่รูหู รูหูทำหน้าที่เป็นทางเดินของเสียงเมื่อเสียงระทบเยื่อแก้วหูทำให้เยื่อ แก้วหูสั่น และจะทำให้กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลนสั่นต่อเนื่องกันไป เนื่องจากกระดูก โกลนอยู่ติดกับท่อคล้ายกันหอยหรือคอเคลีย ซึ่งมีของเหลวและเซลล์ขนอยู่ภายใน จึงทำให้ ของเหลวภายในท่อและเซลล์ขนสั่นเกิดเป็นสัญญาณไปที่สมองทำให้เราได้ยินและเข้าใจความหมาย ของเสียง



กิจกรรมที่ 1.2 เสียงสูง เสียงต่ำ เกิดได้อย่างไร ทำเป็นคิดเป็น จุดประสงค์ เพื่อทดลองและอธิบายการเกิดเสียงสูง เสียงต่ำ

กิจกรรมที่ 1.2 เสียงสูง เสียงต่ำ เกิดได้อย่างไร

กิจกรรมที่ 1.2 เสียงสูง เสียงต่ำ เกิดได้อย่างไร

กิจกรรมที่ 1.2 เสียงสูง เสียงต่ำ เกิดได้อย่างไร

กิจกรรมที่ 1.2 เสียงสูง เสียงต่ำ เกิดได้อย่างไร

กิจกรรมที่ 1.2 เสียงสูง เสียงต่ำ เกิดได้อย่างไร

กิจกรรมที่ 1.2 เสียงสูง เสียงต่ำ เกิดได้อย่างไร

กิจกรรมที่ 1.2 เสียงสูง เสียงต่ำ เกิดได้อย่างไร

สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเกิดเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงสูง เสียงต่ำ เกิดจากความถี่ในการ สั่นที่แตกต่างกันของแหล่งกำเนิดเสียง โดยแหล่งกำเนิดเสียงที่มีมวลมาก จะมี ความในการสั่นน้อย เสียงที่ได้อนจึงเป็น เสียงต่ำ ส่วนแหล่งคำเนิดเสียงที่มีมวล น้อย จะมีความถี่ในการสั่นมาก เสียงที่ ได้ยินจึงเป็นเสียงสูง

เกร็ดน่ารู้! เสียงที่อยู่รอบตัวเราจะมีเสียงสูง เสียงต่ำ แตกต่างกัน ขึ้น อยู่กับความถี่ในการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง โดยมนุษย์ ได้ยินเสียงในช่วงความถี่ประมาณ20-20,000 รอบต่อ วินาทีหรือเฮิรตซ์ (Hz) สัตว์บางชนิด เช่น โลมา ค้างคาว สื่อสารกันด้วยความถี่เสียงที่สูงกว่าความถี่ที่หูมนุษย์ ได้ยิน

กิจกรรมที่ 1.3 เสียงดัง เสียงค่อย ขึ้นอยู่กับอะไร ทำเป็นคิดเป็น จุดประสงค์ ทำกิจกรรมนี้เพื่อทดลอง สืบค้นข้อมูลและอธิบายการเกิด และการได้ยินเสียงดัง

กิจกรรมที่ 1.3 เสียงดัง เสียงค่อย ขึ้นอยู่กับอะไร


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook