ออาาณณาาจจัักกรรสสุุโโขขททััยย ภาพโดย : sanook.com นางสาวพิศุทธินี บัวเผื่อน มัธยมศึกษาปีที่ 4/6 เลขที่22 07459 เสนอ : ผศ.ดร.อำพร ขุนเนียม วิชาประวัติศาสตร์ (ส30103)
คำนำ รายงานอาณาจักรสุโขทัยฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชาประวัติศาสตร์ (ส30103) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่ อเสนอในรูปแบบหนังสือิเล็กทรอนิกส์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การสถาปนาอาณาจักร สุโขทัย การพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งด้าน การเมือง การปกครอง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม พระมหากษัตริย์และบุคคลสําคัญที่มี อิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ผลงานและ ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆ โดยได้ศึกษาค้นคว้าจากสื่ อต่างๆ อาทิ เว็บไซต์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บทความและรายงาน ผู็จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่ สนใจทุกท่าน นำไปสร้างประโยชน์ต่อไป นางสาวพิศุทธินี บัวเผื่อน ผู้จัดทำ ภาพโดย : mgronline.com ก
สารบัญ ก ข คำนำ 1 สารบัญ การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย 2 ด้านการเมือง การปกครอง ภาพโดย : thai.tourismthailand.org ข
การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย เดิมทีสุโขทัย เป็นสถานีการค้า ภาพโดย : lopburitravel.com ของแคว้นละโว้ ของอาณาจักรขอม อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยม-น่าน โดยมีกล่าว ถึงในจารึกวัดศรีชุมว่ามีการปกครอง ก่อนโดยพ่อขุนศรีนาวนำถุม ต่อมาเมื่อ พ่อขุนศรีนาวนำถมสวรรคต ขอมสบาด โขลญลำพง ซึ่งเป็นขุนจากละโว้ เข้า ทำการยึดอำนาจการปกครองสุโขทัย จึงส่งผลให้ พ่อขุนผาเมือง (พระราชโอรสของพ่อขุนศรีนานำถุม) เจ้าเมืองราด และ พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ตัดสินพระทัยจะยึดดิน แดนคืน การชิงเอาอำนาจจากผู้ครอง เดิมคือ อาณาจักรขอม เมื่อปี พ.ศ. 1781 และสถาปนาเอกราช ให้กรุง สุโขทัยขึ้นเป็นรัฐอิสระ โดยไม่ขึ้นตรงกับ รัฐใด ต่อมาพ่อขุนผาเมือง ก็กลับยก เมืองสุโขทัย ให้พ่อขุนบางกลางหาว ครอง โดยไม่ทราบเหตุผลแต่มีแนวคิด อยู่3 อย่างคือ 1.พ่อขุนทั้งสองมีความสัมพันธ์กันแบบเครือญาติ 2.พ่อขุนบางกลางหาวรวบรวมเมืองสำคัญที่รายล้อมสุโขทัยได้ มากกว่าพ่อขุนผาเมือง 3. พ่อขุนผาเมืองพอใจกับการปกครองเมืองเดิมของพระองค์ อาณาจักรสุโขทัยก่อตั้งขึ้นประมาณ พ.ศ. 1792 โดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงพระนามเดิมว่า พ่อขุน บางกลางหาว ทรงสถาปนาสุโขทัยขึ้นมา สร้างความเป็น ปึกแผ่นให้กับชนชาติไทย โดยขยายเขตการปกครอง ออกไปอย่างกว้างขวาง 1
ด้านการเมือง การปกครอง ลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 2 ระยะคือ 1. สมัยสุโขทัยตอนต้น เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ไปถึง สิ้นสมัยของพ่อขุนรามคำแหง 2.สมัยสุโขทัยตอนปลาย ตั้งแต่สมัยพระยาเลอไทยไปถึงสมัย สุโขทัยหมดอำนาจ 1. สมัยสุโขทัยตอนต้น ในระยะแรกใช้รูปแบบการปกครองแบบ พ่อปกครองลูก(ปิตุราชาธิปไตย) เนื่ องจากกรุงสุโขทัยยังมีขนาดเล็ก ประชาชนมีน้อย การปกครองแบบนี้ทำให้ ผู้ปกครองสุโขทัยสามารถดูแลราษฎรได้ อย่างทั่วถึงและมีความใกล้ชิดกับประชาชน เปรียบเหมือนพ่อกับลูกผู้ปกครองจึง เรียกว่า “พ่อขุน” เช่น สมัยของพ่อขุน รามคำแหงมหาราช ที่มีปรากฏในศิลา จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 กล่าวถึงวิธีที่พ่อขุน รามคำแหงทรงใช้เพื่ อให้เกิดความสงบสุข แก่ราษฎร เช่น ทรงให้แขวนกระดิ่งไว้ที่ ประตูวังเพื่ อให้ประชาชนที่เดือดร้อนมาสั่น กระดิ่งร้องทุกข์ สร้างพระแท่นมนังคศิลา อาสน์ได้กลางดงตาล ในวันพระจะนิมนต์ พระสงฆ์มาเทศน์ และยังทรงอบรมสั่ง สอนขุนนางและราษฎรให้รู้บาป บุญ คุณ โทษ ภาพโดย : http://b6blogger.blogspot.com/ 2
ภาพโดย : https://sites.google.com/site /history21105/laksna- khwam-samphanth- rahwang-phra-mha-ksatriy- kab-rasdr ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ 1. รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตย พระมหากษัตริย์ทรงมี ฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด 2. พระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนเปรียบเสมือน บิดากับบุตรมีพระนามนำหน้าว่า พ่อขุน 3. ลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ ดังนี้ -ให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมตัวกันเป็น บ้าน อยู่ในความดูแลของ พ่อบ้าน ผู้อยู่ภายใต้การปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน -หลายบ้านรวมกันเป็น เมืองผู้ปกครองเรียกว่าขุน -เมืองหลายเมืองรวมกันเป็น อาณาจักร อยู่ในการปกครองของ พ่อขุน 4. พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางศาสนาในการบริหารบ้านเมือง นอกจากนี้ในสมัยสุโขทัยตอนต้นยังมีการปกครองแบบทหาร แอบแฝงอยู่ด้วยเนื่ องจากในระยะแรกตั้งสุโขทัยเป็นอาณาจักรขนาด เล็ก ทุกคนจึงต้องมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศเท่าๆกันจึงกำหนดว่า เวลาบ้านเมืองปกติประชาชนต่างทำมาหากินแต่เวลาเกิดศึกสงคราม ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพ 3
2. สมัยสุโขทัยตอนปลาย การปกครองแบบพ่อปกครองลูกเสื่ อมลงเพราะสถาบันพระมหา กษัตริย์ไม่มั่นคง พระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงตระหนักถึงความไม่มั่นคง ภายในจึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย โดยทรงทำนุบำรุงส่งเสริม พระพุทธศาสนา พอดีกับที่ต่อมาสุโขทัยได้รับพระพุทธศาสนา นิกาย เถรวาทลัทธิลังกาวงศ์จากนครพันและนครศรีธรรมราช ทำให้รับแนวคิด “ธรรมราชา” มาใช้ในการปกครอง เรียกกษัตริย์ว่า “พระมหาธรรมราชา” โดยกษัตริย์ทรงปกครองตามหลักธรรมใน พระพุทธศาสนา คือหลักทศพิธราชธรรม (หลักธรรม 10 ประการสำหรับผู้ปกครอง) และเริ่มมีการนําราชาศัพท์มาใช้ในราชสำนัก แสดงให้เห็น คติในการปกครอง ที่กษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพตามความเชื่อ ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูอีก ด้วย การปกครองแบบธรรมราชานี้ถูกนำมาใช้จนประทั่งสิ้นสุดสมัยสุโขทัย ธรรมราชา [ได้แก่ ทาน ศีล บริจาค ความซื่อตรง ความ อ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่ เบียดเบียน ความอดทน ความเที่ยงธรรม] ภาพโดย : https://sites.google.com/site/tanac hat20156/phra-mha-thrrm-racha- thi-1-li-thi 4
การปกครองแบบกระจายอำนาจ/แบ่ง เขตการปกครอง 1. เมืองหลวงหรือเมืองราชธานี เป็น ศูนย์กลางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมละ ศาสนาวัฒนธรรม มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง อาณาจักรสุโขทัยมีสุโขทัยเป็นราชธานี แต่มี บางสมัยเมืองหลวงย้ายไปที่เมืองพิษณุโลก 2. เมืองลูกหลวง/เมืองหน้าด่าน/หัวเมือง ชั้นใน เป็นเมืองที่บรรดาลูกหลวง/เชื้อพระ วงศ์ออกไปปกครอง ทำหน้าที่เป็นเมืองหน้า ด่าน เป็นที่สะสมเสบียงอาหารและกำลังคน ตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ ห่างจาก เมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้า 2 วัน เมือง ลูกหลวงประกอบด้วย เมืองศรีสัชนาลัย(สวรรคโลก) ทางเหนือ เมืองสระหลวง(พิจิตร) ทางใต้ เมืองสองแคว (พิษณุโลก) ทางตะวันออก เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) ทางตะวันตก ภาพโดย : https://th.wikipedia.org/wiki/ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย 5
3. เมืองพระยามหานคร/หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ห่างจาก เมืองลูกหลวงออกไป พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เหมาะสมไปปกครองดูแลหรือเป็นเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิม เมืองพระยามหานครมีอำนาจการปกครองตนเองแต่ขึ้นตรงต่อสุโขทัย เช่น เมืองเชียงทอง(ตาก) เมืองสุพรรณบุรี(อู่ทอง) 4. เมืองประเทศราช ได้แก่เมืองที่อยู่นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นชาว ต่างชาติ ให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมเป็นเจ้าเมืองปกครองกันเอง โดยไม่ เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปกครองภายใน ยกเว้นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ยาม ปกติเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหา กษัตริย์สุโขทัยทุก 3 ปียามสงครามต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารมา ช่วย เมืองประเทศราชในสมัยสุโขทัยเป็นไปดังนี้ ทิศเหนือ เมืองแพร่ เมืองน่าน ทิศตะวันตก เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมืองเซ่า (หลวงพระบาง ) เมืองเวียงจันทน์ ทิศใต้ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา เมืองยะโฮร์ ภาพโดย : https://sites.google.com/site/history withkrunamfon/home/intro_sukhoth ai/sukhothai/goverment? tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplat es%2Fprint%2F&showPrintDialog=1 6
การสืบสันติวงศ์ ในราชวงศ์พระร่วงที่ปกครองสุโขทัยมีพระมหา กษัตริย์ทั้งหมด 9 พระองค์ดังนี้ 1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ.ศ.1792-ไม่ปรากฏ) มีพระนามเดิมว่า \"พ่อขุนบางกลางหาว\" หรือ \"พระเจ้าโรจราช\" 2. พ่อขุนบานเมือง (ไม่ปรากฏ-พ.ศ.1822) 3. พ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ.1822-1841) ด้วยพระนาม ''รามคำแหง\" นั้น หรือ \"พญาราม ราช\" โดยชื่อรามคำแหงสันนิฐานว่ามาจากการที่ ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ได้ยกทัพมาตีเมืองตาก ของสุโขทัยพระองค์ชนช้างเอาชนะขุนสามชนได้ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงตั้งชื่อให้ท่านว่า “ พระรามคำแหง” หมายถึง รามผู้กล้าหาญ 4. พระยา(พญา)เลอไท (พ.ศ.1841-1866) พระนามของพ่อขุนเลอไท หมายความว่า \"ผู้อยู่ เหนือหมู่พวกไท\" 5. พระยา(พญา)งั่วนำถุม (พ.ศ.1866-1890) 6. พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) (พ.ศ.1890-1911) 7. พระมหาธรรมราชาที่ 2 (พ.ศ.1911-1942) 8. พระมหาธรรมราชาที่ 3 พญาไสลือไท (พ.ศ.1943-1962) 9. พระมหาธรรมราชาที่ 4 พรญาราม ราชาธิราช (บรมปาล) (พ.ศ.1962-1981) ภาพโดย : https://th.wikipedia.org/wiki/พระมหาธรรมราชาที่_1 7
กฎหมาย กฎหมายในสมัยสุโขทัยมีลักษณะเป็นแบบกฎหมายชาวบ้าน ซึ่งก็คือเป็น กฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้นจากเหตุผลธรรมดาของสามัญสำนึกของคน โดยกฎ เกณฑ์เช่นว่านี้จะมีพื้นฐานมาจากแนวความคิดทางด้านศีลธรรม เช่น กฎหมายภาษี กฎหมายทรัพย์มรดก กฎหมายสิทธิประโยชน์ในที่ดิน กฎหมายลักษณะลักพา กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายว่าด้วยวิธี พิจารณาความ ราษฎรในสมัยสุโขทัย ราษฎรมีอิสระในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ ดังที่ศิลาจารึก หลักที่ 1 ระบุว่า “ ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักค้าเงินค้า ทอง ค้า” ประชาชนต้องอยู่ภายใต้การปกครองที่มีกฎหมาย เช่น กฎหมาย ลักษณะโจรในสยามสงบประชาชนทำไร่ ไถนา ค้าขาย ในยามสงครามต้องทำ หน้าที่เป็นทหาร การเสื่อมของอาณาจักร การที่กรุงสุโขทัยต้องอ่อนแอและตกเป็นของกรุงศรีอยุธยาเกิดขึ้นจาก หลายสาเหตุ เช่น ความอ่อนแอทางด้านการทหาร การแย่งชิงอำนาจภายใน ของสุโขทัย การค้ากับต่างประเทศเริ่มตกต่ำ ทำให้อำนาจทางเศรษฐกิจหมด ไป ประกอบกับกรุงศรีอยุธยาที่อยู่ทางตอนใต้มีความเข้มแข็งทางด้าน การเมือง การทหารเพิ่มขึ้นและอยู่ในทำเลที่ตั้งดีกว่าสุโขทัย คือมีแม่น้ำหลาย สายไหลผ่านและอยู่ใกล้กับทะเล จึงทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง เศรษฐกิจแทนสุโขทัย ภาพโดย : https://travel.kapook.com/view205558.html 8
สุโขทัย จุดเริ่มต้นของความเป็นไทย... ภาพโดย : sanook.com นางสาวพิศุทธินี บัวเผื่อน มัธยมศึกษาปีที่ 4/6 เลขที่22 07459
Search
Read the Text Version
- 1 - 12
Pages: