Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ระบบโครงร่าง

ระบบโครงร่าง

Published by GG Style, 2022-02-24 06:57:54

Description: ระบบโครงร่าง

Search

Read the Text Version

ระบบโครงร่าง (Skeleton system) เป็นระบบที่เปน็ ทีย่ ึดเกาะของระบบกล้ามเนือ้ (Muscular system) เพื่อช่วยในการค้ำจุนร่างกาย ปกป้องอวัยวะภายใน รักษาร่างกายให้คงตัว ช่วยในการเคลื่อนไหวในทุก ๆ ด้าน อาทิ นั่ง นอน เดิน หยิบจับ ออกกำลัง เป็นต้น เป็นแหล่งสะสมแร่ธาตุ โดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส นอกจากน้ีไขกระดูกซึง่ เป็นเน้ือเยื่อกระดูกชัน้ ในจะสร้างเม็ดเลือดแดง รวมถงึ เมด็ เลอื ดขาวชนิดลิมโฟไซต์ ในระบบ ภูมคิ ้มุ กนั อีกดว้ ย อวัยวะที่เกี่ยวข้อง กระดูก (Bone) เป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา โดยมีการ พัฒนาให้มีรูปแบบของกระดูกท่ีแตกต่าง และสอดคล้องกันกับการทำงานของร่างกาย เช่น กะโหลกศีรษะ (skull) มีลกั ษณะแบนแตแ่ ข็งแรงมาก กระดกู ตน้ ขา มลี ักษณะเปน็ แกนยาว มีจดุ ยดึ เกาะของกล้ามเนื้อ เปน็ ต้น ผู้ใหญ่จะมี กระดกู จำนวน 206 ชน้ิ แบง่ ออกตามตำแหนง่ ในรา่ งกายเปน็ 2 ประเภท ดงั นี้ กระดูกแกนลำตัว (Axial skeleton) มีจำนวน 80 ชิ้น ได้แก่ กระดูกกะโหลกศีรษะจำนวน 29 ช้ิน กระดูกสนั หลงั 51 ชิ้น กระดกู สาขาของรา่ งกาย (Appendicular skeleton) มีจำนวน 126 ช้ิน เปน็ กระดกู ทแ่ี ยกออกมาจาก กระดูกแกนลำตัว ประกอบด้วย กระดูกแขน 60 ช้นิ กระดูกขา 60 ชน้ิ กระดูกสะบกั 2 ชนิ้ เชิงกราน 2 ช้นิ และ ไหปลาร้า 2 ชิน้ นอกจากน้ี หากดูตามรปู รา่ งของกระดูกยังสามารถแบ่งไดเ้ ป็น กระดูกแบบยาว เช่น กระดูกแขนขา หนา้ แขง้ กระดูกแบบสั้น เช่น กระดกู ขอ้ มือ ขอ้ เทา้ กระดูกแบบแบน เชน่ กระดกู ศีรษะ กระดกู อก กระดูกรูปร่างไม่แน่นอน เชน่ กระดูกสันหลงั กระดกู อุ้งเชิงกราน และกระดกู แบบส้ันฝังตวั อยใู่ นเอ็น เชน่ กระดกู สะบ้าโครงสรา้ งภายในของ กระดกู โดยเฉพาะกระดูกแบบยาว ด้านนอกจะเป็นเนื้อเยื่อกระดูกในส่วนที่อัดแน่น (Compact bone) ส่วน ปลายจะเปน็ เน้ือเยื่อกระดูกในส่วนทโี่ ปร่ง (Spongy bone) โดยปลายดา้ นท่เี ป็นข้อต่อจะมีกระดกู อ่อน (Articular cartilage) อยู่ที่ผวิ ส่วนแกนกลางของกระดูก จะมีโพรงกระดูกที่มีหลอดเลือดและไขกระดูก (Bone marrow) อยู่ โดยไข กระดูกนี้จะทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ให้กับร่างกาย ที่ผิวด้านนอกของกระดูก ยกเว้นด้านข้อต่อ จะมีเยื่อหุ้มกระดูก (Periosteum) เป็นช่องทางทางในการนำเลือด สารอาหาร มาเลี้ยงเซลล์ กระดกู ตลอดจนเปน็ ทางผา่ นของเส้นประสาทท่ีมายังกระดกู ด้วย

กระดกู อ่อน (Cartilage) เป็นเนื้อเย่อื เกยี่ วพันที่มีโปรตีนหลายชนิด เชน่ คอลาเจน เป็นสวนประกอบท่ีมี ความอ่อนนุ่มกวา่ กระดกู แต่แข็งกว่ากล้ามเนือ้ สามารถเป็นเน้ือเยื่อในระบบโครงร่างได้ พบในบริเวณข้อต่อตา่ งๆ ของร่างกาย รวมถึงโครงร่างของ ใบหู จมูก และหลอดลม กระดูกอ่อนไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยง โดยเซลล์ของ กระดูกอ่อนจะแลกเปลี่ยนสารอาหารโดยแพร่ผ่านคอลลาเจนสู่เส้นเลือดด้านนอก ทั้งนี้กรณีเซลล์กระดูกอ่อนถูก ทำลายจะซอ่ มแซมตวั เองได้แตช่ า้ เน่ืองจากมีเมตาบอลิซึมท่ีต่ำข้อต่อและเอ็นเชื่อมกระดูก (Joint & Ligament) ข้อต่อจะเป็นบริเวณที่กระดูก 2 ชิ้นมาต่อกัน โดยมีเอ็นและองค์ประกอบอื่น ๆ รวมถึงกล้ามเนื้อช่วยยึด เสริมความแขง็ แรง แบง่ เปน็ 3 ประเภท ได้แก่ ข้อต่อเส้นใย (Fibrous joints) มีเน้อื เยอื่ เกีย่ วพันยึดกระดกู เขา้ ไว้อย่างแน่นหนา ไม่มชี ่องว่างระหว่างข้อ ต่อ เปน็ ข้อตอ่ ท่เี คล่อื นไหวไมไ่ ด้ ไดแ้ ก่ ขอ้ ต่อกะโหลกศีรษะ ข้อต่อกระดูกอ่อน (Cartilage joints) มีกระดูกอ่อนขั้นระหว่างกระดูกทั้งสองข้างที่มาต่อกัน ไม่มี ช่องวา่ งระหวา่ งข้อต่อ ขอ้ ตอ่ ประเภทนี้เคลือ่ นไหวไดเ้ ล็กน้อย ไดแ้ ก่ ข้อตอ่ กระดกู สันหลงั ขอ้ ตอ่ กระดกู เชิงกราน ข้อต่อชนดิ ซลิ โนเวียล (Sylnovial joint) เป็นขอ้ ต่อทมี่ ีแคปซลู หุ้มข้อ ภายในแคปซูลจะมีเยื้อหุ้มข้อ ถัด จากเยื่อหุ้มข้อจะเป็นโพรงข้อต่อ ภายในโพรงจะมีน้ำไขข้อ (Sylnovial fluid) ที่สร้างจากเนื้อเยื่อรอบแคปซูลหุ้ม ข้อ เพ่อื ชว่ ยให้ข้อต่อเคลอ่ื นทีไ่ ด้สะดวก นอกจากน้ี ผวิ ของกระดูกทีม่ าเชื่อมกันเป็นข้อต่อชนิดนี้ จะมสี ่วนท่ีเรียกว่า กระดูกอ่อนผิวข้อ (Articular cartilage) ร่วมอยู่ด้วยเราสามารถแบ่งชนิดของข้อต่อชนิดซิลโนเวียล (Sylnovial joint) ตามลักษณะการเคลื่อนไหว ได้เป็นข้อต่อแบบวงรี เคลื่อนไหวได้ 2 ทาง เช่น ข้อต่อบริเวณคอ ข้อต่อแบบ เดือยเคลื่อนไหวโดยหมุนรอบแกน เช่น ข้อต่อต้นคอกับฐานกะโหลกศีรษะ ข้อต่อแบบลูกกลมในเบ้ากระดูก เช่น ข้อต่อหัวไหล่ ข้อต่อแบบอานม้า ลักษณะโค้งเว้าสอดคล้องกันพอดี เช่น ข้อต่อนิ้วมือกับกระดูกฝ่ามือ ข้อต่อแบน ราบ เช่น ข้อต่อท่ีกระดูกข้อมอื และสุดทา้ ยขอ้ ต่อแบบบานพบั มีการเคล่ือนไหวคล้ายบานพับประตู เชน่ ข้อศอก สำหรับเอ็นกระดูก (Ligament) เป็นกลุ่มหรือมัดของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดเส้นใย (Fibrous tissue) ที่ช่วยยึด กระดูกและกระดูกชิ้นอื่นเข้าไว้ เพื่อประกอบขึ้นเป็นข้อต่อ (Joint) โดยจะมีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นต่างจากเอ็น กลา้ มเนอ้ื (Tendon) ซง่ึ ไม่มคี วามยืดหยุ่น แต่หากเอน็ กระดูกเจอแรงดึงมากเกนิ ไป อาจจะไมส่ ามารถกลับสู่สภาพ เดิมได้ ทั้งนี้ในข้อต่อชนิดซิลโนเวียลจะมีเอ็นแคปซูล (Capsular ligament) เป็นส่วนของแคปซูลข้อต่อ โดยเอ็น นอกแคปซูล (Extra-capsular ligament) ทำหน้าที่เชื่อมกระดูกเข้าด้วยกันและช่วยรักษาเสถียรภาพของข้อต่อ เอ็นในแคปซูล (Intra-capsular ligaments) ทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพของข้อ และทำให้ข้อต่อมีพิสัยการ เคล่อื นไหวกว้างขึ้น

โรคระบบโครงสรา้ งที่พบบ่อย โรคข้อเสอ่ื ม โรครมู าตอยด์ โรคเกาต์ โรคขอ้ อกั เสบจากการตดิ เชอ้ื โรคกระดูกพรุน โรคหมอน รองกระดูกทบั เส้นประสาท โรคขอ้ เสอื่ ม เป็นโรคทเ่ี กิดจากความเสอื่ มของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรปู รา่ ง โครงสรา้ ง การทำงาน ของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ พบได้บ่อยที่ข้อเข่า โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่ าวไม่สามารถกลับสู่ สภาพเดิมและอาจมีความเสอื่ มทีร่ ุนแรงขน้ึ โรครูมาตอยด์ เปน็ โรคท่มี กี ารอักเสบของสว่ นต่าง ๆ รา่ งกาย ไม่ใช่เพยี งที่ข้อ โดยเกดิ จากระบบภูมิคุ้มกัน ในร่างกายทำงานผิดปกติและไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายตัวเอง เช่น ผิวหนัง ดวงตา ปอด หัวใจ และ หลอดเลอื ด เป็นตน้ โรคเกาต์ เป็นโรคทม่ี กี ารอักเสบจากการมีกรดยรู ิคในเลือดสูง จนเกดิ การตกผลึกของกรดยรู ิคตามข้อต่าง ๆ เป็นเหตุให้ข้อมีการอักเสบ ปวด ร้อน บวม แดง และเจ็บเมื่อถูกสัมผัส พบบ่อยตามข้อต่อขนาดเล็ก เช่น ข้อ กระดกู ฝา่ เท้า และขอ้ กระดูกฝา่ มือ มีปัจจยั เสยี่ งจากหลายสาเหตุ อาทิ กินอาหารมสี ารพิวรนี สงู ตอ่ เนื่องเป็นประจำ ด่ืมเครือ่ งด่ืมแอลกอฮอล์ รวมถงึ การเป็นโรคเรือ้ รงั ตา่ ง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสงู เปน็ ต้น โรคข้ออักเสบจากการติดเช้ือ การติดเชื้ออาจทำให้เกิดการอักเสบที่ขอ้ ต่อ ทั้งแบบข้อเดียวหรอื หลายขอ้ เฉียบพลันหรือเรื้อรัง มักพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเบาหวาน โรคตับ โรคมะเร็ง หรือกินยากดภูมิต้านทานกรณีท่ี รกั ษาช้า หรือไม่ไดร้ ับยาทเ่ี หมาะสม อาจทำใหเ้ สียชวี ิตได้ โรคกระดูกพรุน กระดูกเริ่มเสื่อมและบางลงเนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก โดยจะเกิด ความเสยี่ งจากการแตกหรือหักของกระดูก พบได้บอ่ ยบริเวณกระดูกสนั หลัง สะโพก หรือขอ้ มอื รวมทั้งยังสามารถ เกิดไดก้ ับกระดูกส่วนอ่ืน ๆ ของรา่ งกายอีกดว้ ย โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากหมอนรองกระดกู ที่รองรับแรงกระแทกจากการใช้งานของ กระดูกสันหลังเสื่อมลง ทำให้ขาดความยืดหยุ่น พร้อมทั้งไปกดทับเส้นประสาท จนมีอาการปวดตามแนวของ เสน้ ประสาทนน้ั พบไดบ้ ่อยตรงข้อต่อด้านล่างของกระดูกเอว และข้อต่อบรเิ วณคอ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook