Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หน่วยที่ 3

หน่วยที่ 3

Published by konnarak_book_x1, 2022-01-20 06:01:26

Description: หน่วยที่ 3

Search

Read the Text Version

แนวทางการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาของสถานศกึ ษาในฝนั ของทา่ น การศึกษาเป็นกลไกหลักในการพัฒนา ส่งเสริม ปลูกฝังแนวความคิดและความรู้ให้กับเยาวชน พลเมอื งโดยรวมที่เป็นตัวแปรหลักของความสามารถในการแข่งขันระยะยาว ซึ่งการออกแบบการศึกษา จึงเป็นข้อต่อสาคัญของการพัฒนาในทุกด้าน อันเป็นเป้าหมายในการสร้างความมั่นคงและขีด ความสามารถ การพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทาง สังคม การปรับสมดุลพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อการสร้างสังคมแห่งคุณธรรมและสังคมแห่ง การเรียนรู้ การสร้างนวัตกรรมและการนาเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ อันเป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายของการพัฒนาที่เป็นภารกิจสาคัญใน การจัดระบบ ทิศทางการพัฒนาการจัดการศกึ ษา แนวทางการพัฒนาสถานศึกษา 1. สร้างโอกาสทางการศึกษา เป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาของประชากรวัย เรียนทุกคนให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างท่ัวถึงและเสมอภาคทั้งในเด็กปกติ เด็กด้อยโอกาสและ เด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างทั่วถึง โดยการสามะโนประชากรวัยเรียน การติดตามการรับนักเรียน และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในระดับสถานศึกษาต้องมีความเข้มแข็งรวมถึงระบบการติดตาม ผู้เรียนต้องเป็นปัจจุบันด้วยการประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการ ศึกษาได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศกึ ษาและผู้นาชุมชนให้เกิดผลสัมฤทธิเ์ ชิงประจักษ์และมีความ ต่อเนอ่ื งเปน็ ระบบ 2. พัฒนาสิ่งแวดล้อม เป็นการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เกิดแรงบันดาลใจใฝ่ เรียนรู้ทั้งในด้านสภาพแวดล้อมบริบทของสถานศึกษา และสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนให้มีสภาพ น่าดู น่าอยู่ น่าเรียนซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สามารถกระตุ้นการใฝ่รู้ใฝ่เรียนให้เกิดแก่ผู้เรียน โดยการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาสภาพแวดล้อม บริบทของสถานศึกษาและจัดการแหล่ง เรียนรู้ภายในสถานศึกษาให้มีคุณภาพ พัฒนาห้องปฏิบัติการพิเศษเพื่อการเรียนรู้ ได้แก่ ห้องสมุดและ ศูนย์การเรียนรู้ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และการจัดมุมประสบการณ์หรือมุมค้นความประจาห้องเรียนเพื่อให้เกิดเป็นสิ่งเร้าเพื่อการพัฒนานิสัย ใฝ่เรยี นรู้ให้เกิดแก่ผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมตามวยั 3. น้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงมาใช้ในสถานศึกษา สามารถดาเนินการได้ท้ังในด้านหลักสูตรสถานศึกษาและการจัด กระบวนการเรียนรู้ในช้ันเรียน และสามารถนาหลักปฏิบัติไปสู่การดาเนินชีวิ ตประจาวันภายใน

สถานศึกษาได้ โดยเน้นการฝึกฝนการมีความพอประมาณ มีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีภายใต้ เงือ่ นไขคณุ ธรรมและความรอบรู้ท้ังในห้องเรียนและนอกห้องเรียนอย่างตอ่ เนือ่ ง 4. เคียงคู่บวร เป็นกระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษาทีเ่ น้นการมีส่วนร่วมจากทกุ ภาค ส่วนให้นาไปสู่ทิศทางการพัฒนาสถานศกึ ษาจากผู้มีสว่ นได้ส่วนเสียกับการจดั การศกึ ษา ได้แก่ บ้าน (บ) ประกอบด้วยบิดา มารดา ผปู้ กครองและนักเรียน มีสว่ นร่วมในการเสนอแนวคิดเพื่อการ พัฒนาสถานศึกษา ทั้งในด้านหลักสูตรสถานศึกษา ความต้องการทางการศึกษาของชุมชนและท้องถิ่น การสนับสนุนด้านภูมิปัญญา และการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา สามารถประสานความ ร่วมมือด้วยการเข้าถึงภาคประชาชนและการร่วมประชุมวางแผนระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง นกั เรียนผ่านคณะกรรมการสถานศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน ผนู้ าชุมชน ผปู้ กครองนักเรียนและศษิ ย์เก่าเป็นต้น วัด (ว) เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของบุคคลในหมู่บ้าน ชุมชน และสังคมไทย ตลอดจน ผู้ปกครอง และนักเรียน การประสานความร่วมมือกับวัดสามารถดาเนินการได้ในรูปของ คณะกรรมการสถานศึกษาฝ่ายสงฆ์และสามารถบูรณาการการเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม ที่พึงประสงค์แก่ผู้เรียน ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่ม สาระ กิจกรรมลดเวลาเรยี นเพิ่มเวลารู้ และกิจกรรมวันสาคญั ทางพระพทุ ธศาสนา และวัดสามารถเป็น แหลง่ เรียนรทู้ ี่สาคญั ซึง่ ถือได้ว่าเปน็ หวั ใจของประชาชนชาวพุทธ โรงเรียน (ร) เป็นสถานศกึ ษาทีใ่ ห้บริการแก่ทกุ ภาคส่วนในการขอรบั บริการทั้งในด้านอาคารสถาน ที่ บคุ ลากรและภูมปิ ัญญา ซึ่งจาเปน็ ต้องประสานความร่วมมอื กบั ทุกฝ่ายโดยการเข้าถึงบ้านและวดั ซึ่ง ประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายท้ังในรูปคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และคณะสงฆ์ โรงเรียนต้องให้ความร่วมมือและเข้าร่วมกิจกรรมตามโอกาสให้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเพื่อให้สามารถ นามาสู่การพฒั นาสถานศกึ ษาและคุณภาพของผู้เรยี นได้เปน็ อย่างดี 5. จดั การสอนเน้นผเู้ รียนเป็นสาคัญ สถานศกึ ษาสามารถจดั การเรียนการสอนที่เน้นผเู้ รียนเปน็ สาคัญ ได้หลากหลายวิธี โดยอาศัยการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถพัฒนา หลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญและกระบวนวัดและประเมินผลที่ หลากหลายสอดคล้องกบั พัฒนาการของผเู้ รียนโดยเน้นให้เกิดคุณลักษณะ เก่ง ดี มีสขุ แก่ผู้เรยี นทุกคน โดยมีพื้นฐานสาคัญด้านการอ่านออกเขียนได้ คิดคานวณได้ และมีกระบวนการแก้ปัญหาในการเรียน และการดารงตนในชีวิตประจาวนั ได้อย่างมีความสุข โดยผู้บริหารสถานศึกษาจาเป็นต้องสนับสนุนด้าน การพัฒนาบคุ ลากร งบประมาณ สื่อการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์ตอ่ พฒั นาการของ ผเู้ รียนอย่างต่อเนอ่ื ง 6. ก้าวทันเทคโนโลยี เป็นกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนรูปแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยี ให้มีบทบาทต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนผ่านสื่อที่หลากหลาย ได้แก่ การประยุกต์ใช้ ICT ให้มีบทบาท

ต่อการจัดการเรียนการสอน การเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV, DLIT การเรียนรู้ผ่านระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นและการเรียนรู้ สถานศึกษาต้องจัดระบบ การศึกษาโดยใช้ ICT โดยต้องพัฒนาระบบห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย พัฒนาครูและ บุคลากรในด้านการใช้งานเพื่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและนักเรียนได้ เรียนรู้ผ่าน กระบวนการและการใชง้ านอย่างมคี ุณธรรม 7. เสริมสร้างคนดีสู่สังคม สามารถดาเนินการพัฒนาผู้เรียนในด้านคุณธรรม จริยธรรมและ การฝึกฝนให้เกิดเป็นค่านิยมที่พึงประสงค์ โดยใช้กระบวนการพัฒนาท้ังในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ด้วยกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรภายในสถานศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนาไปปฏิบัติได้ในครอบครัว ชุมชน และสงั คมได้ต่อไป กลยุทธ์การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของผเู้ กี่ยวข้อง ผู้บริหารต้องตระหนักว่า สถานศึกษาคือชุมชนแห่งการเรียนรู้ จึงจาเป็นต้องมีทีมงานในการ บริหารจัดการส่งิ ตา่ ง ๆ ผบู้ ริหารตอ้ งมมี มุ มองและแนวคิดต่อสถานศกึ ษาที่เปน็ ระบบ เนือ่ งจากการมอง งานในสถานศึกษาแยกส่วนแล้ว อาจทาให้ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาได้ เน่ืองจากขาด ความเชื่อมโยง ความต่อเนื่อง และความสอดคล้องที่จะให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนรู้สึกถึง ความเป็นเจ้าของร่วม (Sense of belonging) และความเป็นหนึ่งเดียว (Unity) สถานศึกษาในฐานะชุมชน แห่งการเรียนรู้จะสามารถพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าสถานศึกษาที่ ทาหนา้ ที่เพียงบอก สอน และผลติ เพียงผสู้ าเร็จการศกึ ษาเท่าน้ันการประสานงานร่วมมือกันในส่วนการ บริหารต่าง ๆ ย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะให้ชุมชนเข้ามาร่วมพัฒนาได้ท้ังนี้สถานศึกษาจะต้องช่วยเหลือ ชุมชนเป็นการตอบแทนเช่นกัน เช่น อาจดึงปราชญ์ชาวบ้านมาร่วมในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน ขณะเดียวกันก็อาจจะมีการนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นภูมิปัญญามาขายในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้คนที่มีภูมิ ปัญญาเหล่าน้ันอยู่ได้ หรือจัดงาน (Event) ต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลสาคัญเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่าง โรงเรียนกับชมุ ชน เปน็ ต้น การพัฒนาสถานศึกษาในดา้ นต่าง ๆ แม้ว่าการบริหารงานแบบร่วมมือทุกส่วนจะสาคัญ แต่ผู้บริหารต้องไม่ละเลยที่จะพัฒนา สถานศึกษาในส่วนของระบบงานต่าง ๆ ด้วย เน่ืองจากแต่ละด้านย่อมมีความแตกต่างในบริบทการ บริหารสถานศกึ ษา รวมถึงรายละเอียดทีผ่ ู้บริหารและผทู้ ีเ่ กีย่ วข้องในด้านต่าง ๆ จะพิจารณา ด้านการบริหาร ผู้บริหารจะต้องเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของครู นักเรียน และชุมชน ผู้บริหารที่มีดีควรรับฟัง ความคิดเห็นของสมาชิกในองค์กรและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ

เน้นการมีสว่ นร่วมทั้งทางความคิดและการปฏิบัติ ไม่ใช้เพียงคาสั่งให้ผใู้ ต้บังคบั บัญชาปฏิบัติตามเท่านั้น โดยผู้บริหารจะต้องเป็นผนู้ าการเปลี่ยนแปลงและการพฒั นา โดยเริม่ จากทศั นคตขิ องคนในสถานศึกษา ก่อนต้องชี้ให้เห็นถึงความสาคัญในการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษา ชี้ให้เห็นความสาคัญของการร่วมมือ กันพฒั นาชีใ้ ห้เห็นความสาคัญของการสร้างนกั เรียนที่มีคุณภาพ ดงั นนั้ ผู้บริหารยคุ ใหม่จะต้องเปิดกว้าง ยอมให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ ยอมรับความคิดเห็นใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา องค์กร และตระหนักเสมอว่า ทกุ ปญั หานั้นตอ้ งให้ทุกฝา่ ยได้รว่ มเสนอแนวทางแก้ไข ด้านวิชาการ ภารกิจหลกั และสาคัญของสถานศึกษาคงหนีไม่พ้นด้านงานวิชาการหากแต่ผลงานทางวิชาการ โดยเฉพาะผลการประเมินในรูปแบบต่าง ๆ กลับกลายเป็นปัญหาระดับชาติ ทุกคร้ังที่มีการสอบวัด ความรู้คะแนนเฉลี่ยในภาพรวมจะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่า ผู้บริหารต้องเรียนรู้ที่จะนาแนวทางของ ข้อสอบแต่ละครั้งมาสร้างเป็นคลังข้อสอบภายในสถานศึกษาเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ อาจให้มี การรว่ มเฉลยระหว่างครแู ละนักเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน แตท่ ั้งนภี้ าระงานของครูน้ันควรเน้นไปที่ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้มากกว่างานด้านอื่น ๆ เพื่อให้ครไู ด้สามารถพัฒนานักเรียนได้อย่างเตม็ ที่ ให้ ครูมีเวลาในการสืบค้นหาข้อมูลใหม่ ๆ มากกว่าการที่ต้องพิจารณางานเอกสารของสถานศึกษา นอกจากนี้การส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขนั ทางวิชาการในรายการต่าง ๆ กเ็ ป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ ครูและนักเรียนได้พัฒนาทักษะและกระบวนการในการเรียนรู้เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถของ องค์กรตอ่ ไป ด้านการจดั การเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้เป็นส่วนหน่ึงของงานด้านวิชาการ แตก่ ระนนั้ กเ็ ป็นหน่งึ ในกระบวนการที่ทาให้ นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษา ต้องการอย่างแท้จริง ดงั นน้ั การจดั การเรียนรู้จะต้องมุ่งเน้นกระบวนการใหน้ ักเรียนเกิดการเรียนรู้และมี ส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ซึ่งองค์ความรู้ที่ครูถ่ายทอดควรเป็นองค์ความรู้ที่สามารถ นามาประยุกต์ใช้ในชีวิตแระจาวันของนักเรียนได้ จะทาให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น โดยผู้บริหารและครูควรมีบทบาทในการสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ที่เหมาะสม ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกันทั้งในและนอกห้องเรียน ท้ังกิจกรรมวิชาการ กิจกรรมนันทนาการ รวมไปถึงกิจกรรมอ่นื ๆ ที่โรงเรียนหรือชุมชนจดั ข้ึน ด้านอาคารสถานทแ่ี ละสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม นับว่าเป็นอีกปัจจัยสาคัญอย่างหนึ่งที่จาเป็นจะต้องพัฒนา โดยอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมต้องมีความปลอดภัย และส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน โดย อาคารสถานที่สาหรับนักเรียนระดับปฐมวัย ต้องมีที่ที่เด็กได้ลงมือทา มีพื้นที่วิ่งเล่น มีเคร่ืองเล่น มีของ เล่น ที่ต้องมีมาตรฐานและปลอดภัย ลักษณะอาคารต้องน่าดึงดูด เป็นส่วนตัว มีส่วนที่เป็นที่รับรอง ผปู้ กครอง และส่วนทีค่ รจู ะต้องดูแลนักเรียนโดยปราศจากบุคคลภายนอกหอ้ งน้าต้องมสี ุขภัณฑ์สาหรับ

เด็กเลก็ หอ้ งเรียนต้องเต็มไปด้วยผลงานนักเรียน ขณะทีใ่ นระดบั ประถมศกึ ษา จะต้องเริ่มมีหอ้ งสมุด มี ห้องให้นักเรียนได้อ่านหนังสือมากขึ้น สถานที่ก็จะมุ่งเน้นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทีเ่ ป็นระเบียบ มากขึ้น เริ่มมีมุมที่นักเรียนสามารถแสดงผลงานของตัวเองได้ด้วยการออกแบบ ส่วนระดับมัธยมศึกษา จะต้องเป็นทางการมากขึ้น ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างดี มีอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่มากกว่า ระดับช้ันอืน่ มีห้องปฏิบตั ิการในบางรายวิชา มีห้องสมดุ ที่มากขึ้นเพื่อสง่ เสริมนิสยั การค้นคว้าหาความรู้ ตวั อย่างลักษณะของการวางอาคารสถานที่เพื่อความเหมาะสม ต้องพิจารณาองค์ประกอบด้าน ภูมิศาสตร์เป็นสาคัญ เช่น การสร้างอาคารต่าง ๆ ควรให้มีลมหมุนเวียน จึงต้องพิจารณาลมของ ประเทศไทยทีจ่ ะมีลมประจาอยู่สองด้าน คือ ลมจากด้านตะวนั ออกเฉียงเหนอื และลมจากด้านตะวันตก เฉียงใต้ ดังน้ันการสร้างให้อาคารสร้างให้สามารถเปิดรับลมจากด้านเหล่านี้ย่อมทาให้สิ้นเปลือง พลังงานในการเปิดพัดลมและเคร่ืองปรับอากาศค่อนข้างน้อยกว่าอาคารที่มีลักษณะทึบ และอับลม รวมถึงการใช้แสงธรรมชาติมาช่วยให้เกิดความสว่างในห้อง หน้าต่างไม่ควรเป็นทิศตะวันออกและทิศ ตะวันตก เน่ืองจากจะทาให้แดดส่องเข้ามาแรงเกินไป ทิศทางการตั้งโต๊ะ ก็ไม่ควรที่จะหันหน้าหรือหัน หลังให้หน้าต่าง เพราะการหันหน้าให้หน้าต่างจะเกิดแสงที่มากเกิน การหันหลังจะทาให้เกิดเงาจนมอง ไม่เหน็ หรอื ถ้ามีคอมพิวเตอร์จะทาให้หน้าจอเกิดการสะท้อน จงึ ควรจดั โต๊ะให้หันข้างเพื่อรับแสงได้อย่าง เหมาะสม ทั้งนี้การบริหารอาคารสถานที่ที่ดคี ือ การบริหารจัดการให้มีการใช้ประโยชน์จากพืน้ ทีต่ ่าง ๆ ของอาคารสถานทีอ่ ย่างมปี ระสิทธิภาพและตอบสนองการใชง้ านได้หลายรูปแบบ ด้านการบริหารทรพั ยากรบุคคล คนยังเป็นส่วนสาคัญของการพัฒนาในทุกด้าน อัตรากาลัง รวมถึงคุณภาพในแต่ละคน ย่อม เปน็ สิง่ สาคญั ในการพัฒนาสถานศกึ ษา ดงั นน้ั ฝ่ายบริหารทรพั ยากรบคุ คลจงึ ถือเป็นอีกหน่วยงานที่ต้อง สร้างแนวคิดทุกเร่ืองที่กล่าวมาให้เกิดประโยชน์ เป้าหมายของการบริหารทรัพยากรบุคคล ( Human Resource Management : HRM) มีวัตถุประสงค์หลัก 4 วัตถุประสงค์ คือ การสรรหา การพัฒนา การ รักษาไว้ และการใช้ประโยชน์ ทั้งสี่ข้อนี้จาเป็นต้องทาอย่างเป็นระบบ ต่อเน่ือง เพื่อให้เกิดการพัฒนา อย่างแท้จริง ทรพั ยากรบุคคลของโรงเรียน ไม่ใช่มีเพียงครเู ท่าน้ัน แตร่ วมถึงบุคลากรทางการศกึ ษา นกั เรียน ผปู้ กครอง และชุมชน ทีส่ ามารถกลายเปน็ ทรพั ยากรทีส่ าคัญในการขับเคลือ่ นส่วนต่าง ๆ ได้เปน็ อย่างดี ฉะนั้นขั้นตอนการสรรหาต้องพิจารณาดูจากงานที่จะให้ เช่น ด้านวิชาการก็สรรหาผู้ ที่มีความรู้ ความสามารถในเร่ืองน้ัน ๆ ด้านงบประมาณอาจหาจากผู้ที่อาวุโสหรือเป็นที่รู้จักในชุมชน ติดต่อ หนว่ ยงานตา่ ง ๆ ได้ ในหลายครั้งงบประมาณภายนอกได้จากบุคคลทีอ่ ยู่ดา้ นศาสนา เนือ่ งจากมีผู้ตดิ ต่อ เข้ามาทาบุญ

ปัญหา อปุ สรรคและแนวทางแกไ้ ขในการพัฒนาสถานศึกษา งบประมาณ นับว่าเป็นสิ่งที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาอย่างมาก ผู้บริหาร สถานศกึ ษาเกือบทุกท่านเมือ่ พูดถึงการพัฒนาจะจบลงทีป่ ัญหาทีว่ ่า ไม่มงี บประมาณหรอื ไม่มคี นทา แต่ แท้จริงแล้ว หลายคร้ังผู้บริหารสถานศึกษาสามารถประยุกต์สิ่งรอบตัวมาใช้ในการพัฒนาได้ เช่น โรงเรียนไม่มีสระว่ายน้า ก็อาจติดต่อกับหน่วยงานเช่น ห้างสรรพสินค้าเวลาเรียนว่ายน้า อาจไปเวลาที่ คนไม่มาก มีสัดสว่ นกท็ าให้สามารถดาเนินการจัดกิจกรรมตามที่ตั้งไว้ หรอื การประยุกต์อปุ กรณ์ใกล้ตัว มาใช้ เช่น การนาเสนออย่างมืออาชีพ ผู้บรรยายจะไม่ใช้มือชี้ ครูก็ไม่จาเป็นต้องใช้เลเซอร์ (Laser Pointer) ในการชีไ้ ปทีค่ อมพิวเตอร์ อาจใชป้ ากกาที่ไม่ใชแ้ ล้ว พนั ปลายให้มสี ีที่เด่นชัดในการทดแทนได้ เร่ืองอาคารสถานที่ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มักจะกล่าวว่า สร้างไปแล้วทาอะไรไม่ได้ หรือสถานทีม่ ี จากัด ในที่นี้ก็อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนสถานที่ให้เข้ากับบริบทมากขึ้น อาจมีการรวมห้องบางห้อง ขยับขยาย หรือเปลี่ยนห้องเพื่อความเหมาะสมในการสร้างสภาพแวดล้อม หรือแม้แต่ปัญหาที่ว่า แสงแดดเข้าอาคารเรียนมากเกินไป ปรับทิศอาคารไม่ได้ ก็อาจใช้วิธีการปลูกต้นไม้ใหญ่ทีใ่ ห้ร่มเงาแทน ก็ได้ แต่ท้ังนี้ต้องพิจารณาความปลอดภัยของต้นไม้ที่ปลูกว่ารากน้ันทาลายโครงสร้างอาคารหรือไม่ กิ่ง ไม้เปราะหักง่ายหรือไม่ เป็นต้นไม้ที่ทาลายดินหรือพืชอื่นหรือไม่ รวมถึงเมอ่ื มีลมพายุพดั แรง จะหักแล้ว ทาให้อาคารเกิดความเสียหายหรือไม่ หลายคร้ังงบประมาณภายนอกได้จากบุคคลที่อยู่ด้านศาสนา เนือ่ งจากมีผู้ตดิ ต่อเข้ามาทาบุญ ฉะนั้นการบริหารจัดการเหล่านี้อาจนาหลักเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้ได้ กล่าวคือ การ บริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัดไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด เพื่อตอบสนองความต้องการและ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการจากสถานศึกษา โดยทรัพยากรเหล่านี้มิได้หมายถึงสิ่งที่ ไม่มชี ีวติ อย่างเดียว แตร่ วมถึงทรพั ยากรทีม่ ชี ีวติ ด้วยเช่นกัน หลกั การสาคญั ของการจัดการศึกษา การจดั การศกึ ษายึดหลกั ที่สอดคล้องกบั อุดมการณ์ ดังน้ี 1. หลักการพัฒนาผู้เรียนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ท้ังร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และ คุณธรรม เปน็ ผู้ทีม่ จี รยิ ธรรมในการดาเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกบั ผอู้ ื่นได้อย่างมีความสุข ใฝ่รู้ มีทักษะ ในการแสวงหาความรู้ทีพ่ อเพียงต่อการพัฒนางานอาชีพและคุณภาพชีวิตส่วนตน สามารถเผชิญความ เปลี่ยนแปลงได้อย่างเท่าทันและชาญฉลาด และมีความเปน็ ประชาธิปไตย 2. หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทย ให้มีความรัก และภาคภูมิใจในท้องถิ่นและ ประเทศชาติ มีความรู้และทักษะพื้นฐานสาหรับการประกอบอาชีพสุจริต มีความมุ่งมั่น ขยัน ชื่อสัตย์ ประหยัด อดทน มีลักษณะนิสัยและทัศนคติที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีทั้งของครอบครัว ชุมชน สงั คมไทยและสังคมโลก

3. หลักแห่งความเสมอภาค คนไทยท้ังปวงตอ้ งมสี ิทธิ์เสมอกนั ในการรบั การศกึ ษาขั้นพืน้ ฐาน ไม่น้อยกว่า 12ปี อย่างทั่วถึงเท่าเทียม ควบคู่ไปกับความมคี ณุ ภาพ โดยไม่แบ่งชนช้ันหรอื ความเตกต่าง ทางสังคมวัฒนธรรม 4. หลกั การมีสว่ นร่วม องค์กรปกครองสว่ นท้องถิน่ และภาคเอกชนมีสว่ นรว่ มในการบริการและ การจดั การศกึ ษาร่วมกบั คณะกรรมการสานกั งานเขตพืน้ ทีก่ ารศกึ ษา และสถานศึกษาเพื่อเสริมสรา้ ง เอกลักษณ์ ศักดิศ์ รแี ละตอบสนองความต้องการของท้องถิน่ ตามนยั ของรัฐธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจกั ร ไทย พทุ ธศักราช 2550 เกี่ยวกบั การกระจายอานาจ 5. หลักแห่งความสอดคล้อง อุดมการณ์และมาตรฐานในการจัดการศึกษาต้องสอดคล้องกับ สาระบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 นโยบายการศึกษาของ รัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา สอดคล้องกบั มาตรฐานการศกึ ษาของชาติ และสมั พนั ธ์เชื่อมโยงกบั มาตรฐาน การอาชีวศกึ ษา และมาตรฐานการอุดมศกึ ษา ทิศทางการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา 1. พฒั นาครใู ห้มคี วามก้าวหน้าในวิชาชีพ โดยอบรม ดงู านและพฒั นาใหม้ ีวทิ ยฐานะสงู ข้ึน 2. พัฒนาระบบบริหารงานของผู้บริหารใหม้ ีความชดั เจน ให้มกี ารตดิ ตามงาน นิเทศและสัง่ การ อย่างเป็นระบบและสร้างทีมงาน 3. เพิ่มมาตรการและแนวทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองมาก ขนึ้ 4. ส่งเสริม สร้างขวัญ กาลงั ใจและให้รางวลั แก่ครมู อื อาชีพ 5. ส่งเสริมให้ครูทาวิจัยและพัฒนาการศึกษาที่หลากหลายและพัฒนาระบบการทางานให้เป็น ระบบทีมที่ชดั เจน 6. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการ ประเมินผลที่หลากหลาย โดยมีการประเมินร่วมกันระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครอง พร้อมท้ังนาผลมา ปรบั ปรงุ พัฒนาผเู้ รียนใหม้ ีประสิทธิภาพสงู ขึน้ 7. พัฒนาด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ข้อมูล การสรุปความคิดรวบยอด ขาด ความเข้าใจ และทกั ษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสารสนเทศโดยจัดกิจกรรมทีฝ่ ึกใหน้ กั เรียนได้ ค้นคว้า รู้จักต้ังคาถาม คน้ หาข้อมลู จัดทาขอ้ มูลสรุปข้อมูลด้วยตนเองและฝึกทกั ษะการทางานเป็นกลุ่ม ในทกุ กลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 . พั ฒ น า ด้ า น ก า ร ป ร ะ ช า สั ม พั น ธ์ ก า ร เ ผ ย แ พ ร่ ก า ร แ จ้ ง ข่ า ว ส า ร ใ ห้ เ ป็ น ร ะ บ บ 9. ส่งเสริมด้านการเข้ามามีสว่ นร่วมและบทบาทของคณะกรรมการสถานศกึ ษาให้เด่นชัดและ เปน็ รูปธรรม

10. เปิดโอกาสและส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการจัดการศกึ ษาทุกด้าน 11. เข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนอย่างสม่าเสมอและขอรับการสนบั สนุนในด้านต่างๆ 12. พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญโดยร่วมกับ ผปู้ กครอง ชมุ ชนหรอื หนว่ ยงานอน่ื ๆ ในลักษณะการบูรณาการเพ่อื พฒั นาผู้เรยี น 13. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรใหใ้ ช้ส่อื เทคโนโลยีสารสนเทศในการจดั การเรยี นรู้ 14. ส่งเสริมให้มีการประเมินและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น โดยนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้า มาบูรณาการ 15. พฒั นาระบบประกนั คณุ ภาพภายในสถานศกึ ษาให้มคี ุณภาพ โดยจัดใหม้ ีการประเมินตนเอง ตามช่วงช้ัน สรปุ รายงานผลทุกเดือน 16. ควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองทราบถึงความสาคัญของการศึกษา การประกันคุณภาพ ภายในสถานศกึ ษา เพื่อร่วมมือกับสถานศกึ ษาในการพัฒนาผเู้ รียนใหม้ ีคณุ ภาพมากยิง่ ขึน้


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook