เส้นทางการท่องเที่ยว ทางศาสนาและวัฒนธรรม ตำ บ ล น อ ก เ มื อ ง อำ เ ภ อ เ มื อ ง สุ ริน ท ร์ จั ง ห วั ด สุ ริน ท ร์
บทนำ ประเทศไทยมีหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ของพุทธศาสนิกชน โดยมี เป้าหมาย คือ มุ่งให้ทุกคนมีคุณธรรม มีธรรมะ และสอนให้ทุก คนเป็นคนดี ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงมีหลักธรรมคำสอน ที่เป็นแนวทางในการดำเนิน ชีวิตของคนในสังคม ในแต่ละด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองการปกครอง ด้าน สังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น ชุมชนตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีศาสนสถานและ วัฒนธรรมที่น่าสนใจ เช่น ๑. หลวงพ่อทันใจวัดโพธิญาณรังสี ๒. องค์ราหูวัดศรีรัตนาราม ๓. พระสีวลีวัดบ้านเสม็ด ๔. อุโบสถพุทธศิลป์วัดใหม่ศรีมากทอง ๕. อุโบสถพุทธศิลป์วัดไตรรัตนาราม ๖. พระธาตุเจดีย์วัดสุทธิธรรมาราม ๗. หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดป่าโยธาประสิทธ์ ๘. สำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าบวรสังฆาราม ๙. วัฒนธรรมวิถีชีวิตกลุ่มทำขนมโบราณบ้านโคกกระเพอ ๑๐. วัฒนธรรมวิถีชีวิตคนกับช้าง ๑๑. วัฒนธรรมศิลปะพื้นบ้านเรือมอันเร ๑๒. พระมหาเศรษฐีนวโกฏิ ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมของชุมชนตำบลนอกเมืองนั้น มีเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจและน่าศึกษา ดังนั้น ทีมงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและ สังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ จึงมีความต้องการที่ถอดบทเรียนเพื่อนำความรู้ในสถาน ที่ท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมในชุมชน ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ให้กับผู้ที่ได้เข้าร่วมการอบรมในโครงการครั้งนี้ด้วย
สารบัญ เรื่อง หน้า ๑. หลวงพ่อทันใจวัดโพธิญาณรังสี ๑-๔ ๒. องค์ราหูวัดศรีรัตนาราม ๕-๑๐ ๓. พระสีวลีวัดบ้านเสม็ด ๑๑-๑๕ ๔. อุโบสถพุทธศิลป์วัดใหม่ศรีมากทอง ๑๖-๒๐ ๕. อุโบสถพุทธศิลป์วัดไตรรัตนาราม ๒๑-๒๔ ๖. พระธาตุเจดีย์วัดสุทธิธรรมาราม ๒๕-๒๙ ๗. หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดป่าโยธาประสิทธ์ ๓๐-๓๔ ๘. สำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าบวรสังฆาราม ๓๕-๔๑ ๙. วัฒนธรรมวิถีชีวิตกลุ่มทำขนมโบราณบ้านโคกกระเพอ ๔๒-๔๓ ๑๐. วัฒนธรรมวิถีชีวิตคนกับช้าง ๔๔-๔๕ ๑๑. วัฒนธรรมศิลปะพื้นบ้านเรือมอันเร ๔๖-๔๗ ๑๒. พระมหาเศรษฐีนวโกฏิ ๔๘-๕๐
วัดหลวงพ่อทันใจ วัดโพธิญาณรังสี
๒ ๑. หลวงพ่อทันใจวัดโพธิญาณรังสี วัดโพธิญาณรังสี ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ บ้านปรือเกียน ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ มีเนื้อที่ประมาณ ๓๕ ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับทุ่งนา ทิศใต้ ติดกับถนนชนบท บ้านปรือเกียน ทิศตะวันออก ต ิดกับถนนชนบท บ้านปรือเกียน ทิศตะวันตก ติดกับถนนชนบท บ้านปรือเกียน ประวัติความเป็นมา วัดโพธิญาณรังสีได้เริ่มทำการสร้างเมื่อประมาณปี ๒๕๓๗ โดยพระโพธิญาณรังสี โดยเราทั้งหลายรู้จักท่านในนามหลวงตาจันทร์ คเวสโก มี เนื้อที่ประมาณ ๓๕ ไร่ โดยจัดทำให้เป็นวัดป่าตามเจตนาของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ สายหลวงปู่ดุลย์ อตุโล และหลวงปู่สาม อกิญจโน ในตอนช่วงนั้นผู้สร้างได้จัด สร้างเสนาสนะไว้บ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จ ท่านก็ได้ลาสิกขาไปจึงเป็นเหตุ ให้การก่อสร้างหยุดไป กรอปกับเมื่อท่านได้ลาสิกขาไปแล้ววัดก็ขาดผู้ดูแล จึงเป็น ผลให้เสนาสนะที่สร้างไว้ชำรุดทรุดโทรมไปมาก เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ทาง คณะสงฆ์ได้อนุญาตให้สร้างเป็นวัด และเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ก็ได้รับอนุญาตให้ตั้ง เป็นวัดที่ถูกต้องตาม กฎหมายจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
๓ ปัจจุบันนี้ก็มีเสนาสนะเป็น กุฏิ ๑๕ หลัง ศาลาโรงฉันท์ ๑ หลัง พร้อมห้องน้ำ ๒๑ ห้อง ศาลาที่พักของญาติโยมที่มาปฏิบัติธรรมในวันธรรมสาวนะ ๑ หลัง พร้อม ห้องน้ำ ๔ ห้อง เมรุและศาลาสวดศพ ๑ หลังพร้อมห้องน้ำ ๖ ห้อง และ มีแท้งเก็บ น้ำสูง ๑๐ เมตร ส่วนที่ยังขาดอยู่ก็มีหลายอย่างที่ต้องทำ เช่น โบสถ์ ถนนรอบวัด กำแพงวัด ซุ้มประตูวัดและศาลาการเปรียญ วัดโพธิญาณรังสี มีเจ้าอาวาสปกครองตามลำดับมาแล้ว ดังนี้ ๑) พระครูปราโมทย์ธรรมวงศ์ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี ๒๕๔๕ ๒) เจ้าอธิการสมภพ ปญฺญาธโร เป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี ๒๕๔๙ จุดเด่นของวัด พระอุโบสถ ภายในวัดที่มีสถาปัตยกรรมอันวิจิตรงดงาม ท่ามกลางป่าไม้ที่อยู่ รอบๆตัวพระอุโบสถ มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่หลวงพ่อทันใจ ที่เป็นที่เคารพสักการะ ของชาวบ้าน และบริบทโดยรอบวัดมีความเป็นธรรมชาติและเงียบสงบ
๔ ประตูทางเข้าหน้าวัด , องค์หลวงพ่อทันใจ
องค์ราหู วัดศรีรัตนาราม
๖ ๒. องค์ราหูวัดศรีรัตนาราม องค์ราหู วัดศรีรัตนาราม ตั้งอยู่ บ้านตะตึงไถง หมู่ที่ ๕ ตำบลนอกเมือง อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ วัดศรีรัตนาราม เป็นวัดที่ชาวบ้านเรียกตามชื่อของ หมู่บ้านว่า วัดบ้านตะตึงไถง แปลเป็นภาษาไทย ว่า ขวางตะวัน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๕๗ บ้านตะตึงไถง หมู่ที่ ๕ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีเนื้อที่ ดิน จำนวน ๓๗ ไร่ ๑ งาน ๗๐ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๒๕๒๐๖ เล่มที่ ๒๕๓ หน้า ๖ เลขที่ดิน ๑๒๗ หน้าสำรวจ ๓๘๖๖ ตั้งอยู่ ตำบลนอกเมืองสุรินทร์ อำเภอเมือง สุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ได้รับอนุญาตตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ และได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับถนนชนบท บ้านตะตึงไถง ทิศใต้ ต ิดกับถนนชนบท บ้านตะตึงไถง ทิศตะวันออก ต ิดกับถนนชนบท บ้านตะตึงไถง ทิศตะวันตก ติดกับถนนชนบท บ้านตะตึงไถง
๗ ประวัติความเป็นมา วัดศรีรัตนาราม เป็นวัดที่มีถนนล้อมรอบทั้งสี่ด้าน และมี กำแพงล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน พื้นที่ภายในวัดมีป่าที่ยังอุดมสมบูรณ์ในบริเวณวัด ตามตำนานในอดีต สถานที่แห่งนี้ เคยเป็นแดนสมรภูมิ สถานที่ตั้งฐานทัพของ ทหารเพื่อสู้รบในอดีต ของเจ้าเมืองสุรินทร์ ซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้น มีหลวงพ่อผู้ ศักดิ์สิทธิ์ ให้การคุ้มครอง ผู้รักษาผืนแผ่นดินตรงนี้ สามองค์ คือหลวงพ่อเกิด หลวงพ่อโต หลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อสีวลี เป็นหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด วัดที่ ก่อสร้างมานาน เป็นระยะเวลา ๑๐๐ กว่าปีมาแล้ว ในอดีตมีประชาชนชาวบ้านขึ้น ตรงต่อวัด จำนวน ๓ หมู่บ้าน คือ บ้านตะตึงไถง บ้านโคกกระเพอ บ้านปรือเกียน ศาลาการเปรียญหลังเก่าที่เคยใช้อยู่ ได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา
๘ รายนามเจ้าอาวาสวัดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วัดศรีรัตนาราม มีเจ้า อาวาสปกครองตามลำดับมาแล้ว จำนวน ๑๔ รูป ดังนี้ ๑) พระเผือก สุธมฺโม ๒) พระขวัญ เขมโก ๓) พระเชย สมฺปนฺโน ๔) พระปุม ปชฺโชโต ๕) พระอภิธรรม ปญญาธโร ๖) พระสวัสดิ์ สุชโต ๗) พระปราโมทย์ รตินฺธโร ๘) พระสุนทร สุนธโร ๙) พระเชลงพจน์ อินทวีโร
๙ ๑๐) พระชวง ๑๑) พระครูใบฎีกานบ ๑๒) พระสุภาพ ๑๓) พระใบฎีกาลอย สจฺจญาโณ ๑๔) พระครูศรีสุนทรสรกิจ ผศ.ดร. (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พระมหาเริง ศักดิ์ เขมวีโร /แก้วตา เปรียญธรรม ๖ ประโยค, พธ.บ., M.A., Ph.D.) ดำรงตำแหน่งเจ้า อาวาสวัดศรีรัตนาราม ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ เป็นต้นมา และดำรงตำแหน่งทางการ ปกครองคณะสงฆ์ เป็นเจ้าคณะอำเภอลำดวน จุดเด่นของวัด สำนักปฏิบัติธรรม แห่งที่ ๒๔ ของจังหวัดสุรินทร์ องค์พระราหูขนาดใหญ่หน้า ตัก ๙๙ นิ้ว สูง ๙๙ นิ้ว ที่ผู้คนมาสักการะบูชาตามความเชื่อโบราณเรื่องการเกิด จันทรุปราคา โบสถ์ที่เก่าแก่ ศาลาการเปรียญ ๒ ชั้นที่มีความสวยงามใช้รับรองผู้ เข้ามาปฏิบัติธรรม และทำบุญเนื่องในกิจกรรมต่างๆทางพระพุทธศาสนา
๑๐ ประตูทางเข้าหน้าวัด , กุฏิรับอรุณ
พระสีวลี วัดบ้านเสม็ด
๑๒ ๓. พระสีวลีวัดบ้านเสม็ด วัดบ้านเสม็ด ตั้งอยู่ที่บ้านเสม็ด หมู่ที่ ๑๒ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ มีเนื้อที่ ๑๗ ไร่ ๒ งาน ๔ ศอก มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับถนนชนบท บ้านเสม็ด ทิศใต้ ต ิดกับถนนชนบท บ้านเสม็ด ทิศตะวันออก ติดกับหนองเสม็ด ทิศตะวันตก ติดกับหนองตาเตียวตั้งอยู่ทิศใต้ ของที่ว่าการอำเภอ เมืองสุรินทร์ ห่างประมาณ ๓ กิโลเมตร ประวัติความเป็นมา วัดบ้านเสม็ด ตั้งอยู่ที่บ้านเสม็ด หมู่ที่ ๑๒ ตำบลนอก เมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เดิมชื่อ วัดสามัคคีประชาคม ตั้งเป็น สำนักสงฆ์ตามกฏหมาย เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๔๙๗ โดยมีหลวงพ่อเชื่อมเป็น เจ้าอาวาสเป็นรูปแรก เนื่องจากชาวบ้าน ๓ หมู่บ้าน คือบ้านหนองเสม็ด หมู่ที่ ๑๒ บ้านหนองกง หมู่ที่ ๑ และหมู่บ้านพันธุลี หมู่ที่ ๑๐ ในสมัยนั้น เมื่อมีการทำบุญใส่ บาตร ประกอบพิธีทางศาสนาในแต่ละครั้งมีความยากลำบาก เกี่ยวกับการไป นิมนต์พระมาประกอบพิธีต้องไปถึงวัดตะตึงไถง หรือไปวัดป่าโยธาประสิทธิ์ และ วัดประทุมเมฆ เป็นต้น เป็นระยะทางที่ไกล ด้วยเหตุนี้เอง จึงได้จัดสร้างวัดขึ้น โดยมี นายวิง โสภิณ นายขวัญ โด่งดัง ได้ถวายที่ดินในการสร้างวัดและได้ ชักชวนชาวบ้าน ๓ หมู่บ้าน มาปรึกษาหารือเพื่อจัดสร้างวัดขึ้นที่บ้านเสม็ด
๑๓ ซึ่งอยู่ระหว่างกลางหนองเสม็ดกับหนองตาเตียว โดยมอบให้นายเรือง สิงคนิ ภา เป็นผู้ดำเนินการขออนุญาต เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๑๑ และจัดสร้างวัดขึ้น มาจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เป็นที่สักการบูชา และเชิดชูพระพุทธศาสนาให้เจริญสืบ ต่อไป ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๓ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งวัดขึ้นในพระพุทธ ศาสนา มีนามว่า วัดบ้านเสม็ด โดยมีนายเรือง สิงคนิภา เป็นผู้ขออนุญาตสร้าง วัด ณ บ้านเสม็ด หมู่ที่ ๑๒ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์และใน ขณะนั้นมี พระครูมงคลปัญญาวุธ (คม ปญฺญาธโร) เป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแล วัด เพื่อให้เป็นศูนย์รวมจิตใจชาวบ้านและของหมู่บ้านตามลักษณะนิสัย วัฒนธรรมประเพณีของคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ และเป็นแหล่งการเรียนรู้ การศึกษาเล่าเรียนของกุลบุตรกุลธิดาในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง วัดบ้านเสม็ด มีลำดับเจ้าอาวาสผู้ปกครองวัด ดังนี้ ๑) หลวงพ่อเชื่อม อรุโณ พ.ศ. ๒๕๑๑ - พ.ศ. ๒๕๑๕ ๒) หลวงพ่อรินทร์ สญฺญโม พ.ศ. ๒๕๑๖ - พ.ศ. ๒๕๒๔ ๓) พระอธิการยอด กิตฺติญาโณพ.ศ. ๒๕๒๔ - พ.ศ. ๒๕๒๖ ๔) พระครูมงคลปัญญาวุธ (หลวงพ่อคม ปญฺญาธโร) พ.ศ. ๒๕๒๗ - พ.ศ. ๒๕๕๕ ๕) พระอธิการวชิรศักดิ์ ปญฺญาวชิโรพ.ศ. ๒๕๕๕ - ถึงปัจจุบัน
๑๔ จุดเด่นของวัด พระอุโบสถฉลองเมื่อปี ๒๕๕๘ โดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมแบบใหม่ ที่มีความ สวยงาม อยู่ท่ามกลาง บริบทของวัดที่ออกแบบการก่อสร้างมาอย่างลงตัวมีองค์ พระสีวลีที่ชาวบ้านเคารพศรัทธา ในเรื่องโชคลาภสักการะ มีองค์พระสังกัจจายน์ ตามความศรัทธาว่าเป็นพระที่อำนวยความอุดมสมบูรณ์แก่ชุมชน และบริบถวัด โดยรอบมีความร่มรื่น สงบร่มเย็นสวยงาม
๑๕ ประตูทางเข้าหน้าวัด , บรรยากาศภายในวัด
อุโบสถพุทธศิลป์ วัดใหม่ศรีมากทอง
๑๗ ๔. อุโบสถพุทธศิลป์วัดใหม่ศรีมากทอง วัดใหม่ศรีมากทอง ที่ตั้ง หมู่ ๒ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ชื่อเดิมที่เขาเรียก วัดเจ๊กมากทองม้าง และวัดตะนักอังครองม้าง มีอาณาเขต ติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับที่ดินเลขที่ ๓๓๗ ทิศใต้ ต ิดกับถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๗๗ ทิศตะวันออก ติดกับถนนชนบท หมู่บ้านโคกปลัด ทิศตะวันตก ต ิดกับสุรินทร์สมาร์ทคาร์ ประวัติความเป็นมา คณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ โดยมีพระราชสิธิโกศล เป็นเจ้า คณะจังหวัดสุรินทร์และรอง ๒ รูป คือพระรัตโนภาส และพระศรีธีรพงษ์ (ปัจจุบัน พระธรรมโมลี ) ได้มีนโยบายขยายการศึกษา ให้ภิกษุสามเณร ได้ศึกษาถึง อุดมศึกษา โดยไม่ต้องไปศึกษา ต่อที่กรุงเทพ จึงให้พระศรีธีรพงษ์หาสถานที่ เพื่อสร้างมหาวิทยาลัยในจังหวัดสุรินทร์
๑๘ ขณะนั้นมี นายเจ็ด มากทอง ซึ่งมีที่ดินอยู่ชานเมือง และมีศรัทธาได้ ๔ ราย จำนวน ๔ ไร่ ๒ งาน ๘๑ ตารางวา พร้อมถวายเงินเป็นทุนการศึกษากับมูลนิธิ โกศลวิทยา เป็นจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่ดินได้ทำพิธีมอบถวาย ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ ณ ที่ตั้งของที่ดินโดยมีพระราชสิทธิโกศล เป็นประธาน ฝ่ายคณะสงฆ์ และฝ่าอุบาสกอุบาสิกา ซึ่งมี นายเสอม มูลศาตร์ ผู้ว่าราชกาล จังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานฝ่า ฆราวาส และจัดให้พระภิกษุสามเณรมาจำพรรษา ๙ รูปกล่าวคือ พระวัดกลางสุรินทร์ ๒ รูป วัดศาลาลอย ๒ รูป สามเณร ๔ รูป วัด หนองบัว ๑ รูป ซึ่งมีพระสมุห์ทิบทิม อนาวิโล สังกัดวัดกลางสุรินทร์ มาอยู่จำ พรรษาอีก ๑ รูป ในกาลต่อมาไม่สามารถย้ายพื้นที่ได้ตามต้องการจึงได้อนุญาต ของสร้างวัด และตั้งวัดดั้งอยู่ในปัจจุบันนี้
๑๙ วัดใหม่ศรีมากทอง มีเจ้าอาวาสปกครองตามลำดับมาแล้ว ดังนี้ พระสมุห์ทับทิม อฺนาลิโย เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑ แต่งตั้งโดยพระราชสิทธิโกศล เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันเป็น พระครูปลัดปัญญาวัฒน์ พระฐานุกรมในพระธรรมโมลี ดร. ที่ปรึกษาเจ้าคณะ ภาค ๑๑ จุดเด่นของวัด พระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่และมีสถาปัตยกรรมที่วิจิตรงดงาม เป็นสถานที่ ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา และรับศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนที่มา ปฏิบัติธรรมทำบุญทำทานเนื่องในเทศกาลต่างๆ บริบทโดยรอบวัดมีความ ร่มรื่นเป็นธรรมชาติและเงียบสงบ
๒๐ หน้าอุโบสถ , ปางไสยาสน์
อุโบสถพุทธศิลป์ วัดไตรรัตนาราม
๒๒ ๕. อุโบสถพุทธศิลป์วัดไตรรัตนาราม วัดไตรรัตนาราม หมู่ที่ ๖ บ้านทนง ตําบลนอกเมือง อําเภอเมือง จังหวัด สุรินทร์ ที่ดินของวัดมีเนื้อที่ ๑๙ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา อาณาเขต มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับถนนชนบท หมู่บ้านไถงตรง ทิศใต้ ติดกับถนนชนบท หมู่บ้านไถงตรง และถนนทางหลวงชนบท สร.๓๐๓๘ ทิศตะวันออก ติดกับถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๒๖ (สุรินทร์ - ศรีขรภูมิ) ทิศตะวันตก ติดกับโรงเรียนบ้านไถงตรง ประวัติความเป็นมา ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๓ ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัด เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๗ ผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๙ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธาน ยกช่อฟ้าอุโบสถ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๖
๒๓ รายนามเจ้าอาวาสวัดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันวัดไตรรัตนาราม มีลำดับเจ้า อาวาสผู้ครองวัด ดังนี้ ๑) พระราชวิสุทธินายก อดีตเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๔๖ ๒) พระครูปลัดวิรัต ธนสีโล อดีตเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๔๖ - ๒๕๔๙ ๓) พระครูปราโมทย์ธรรมวงศ์ (หม่อมหลวงสัมพันธ์ ปราโมช) เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๔๙ – ปัจจุบัน จุดเด่นของวัด พระอุโบสถ มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสวยงาม ภายในพระอุโบสถมีจิตกรรม ฝาผนังที่น่าสนใจ ภายในวัดมีรอยพระพุทธบาทจำลอง ให้พุทธศาสนิกชนได้สัก การะบูชาและธรรมชาติภายในวัดมีความร่มรื่นและเงียบสงบ
๒๔ ทางเข้าหน้าวัด , บรรยากาศบริเวณวัด
พระธาตุเจดีย์ วัดสุทธิธรรมาราม
๒๖ ๖. พระธาตุเจดีย์วัดสุทธิธรรมาราม วัดสุทธิธรรมาราม ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๔๙๒ หมู่ที่ ๑๘ บ้านสุขสนาม ซอยศรีณรงค์ ๙ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ ๓๒๐๐๐ ประวัติความเป็นมา ด้วยตระกูลสุทธิธรรม “ด้วยปรารภกับพระเดชพระคุณ พระ พิศาลศาสนกิจ (หลวงพ่อเยื้อน ขนฺติพโล) เจ้าอาวาสวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโรว่า “ถ้า หลวงพ่อได้เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นพ่อเมืองฝ่ายคณะสงฆ์ แล้ว ควรจะมีวัดครองในเมืองสมควรแก่บุญญาบารมี ” เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ (หลวงพ่อเยื้อน ขนฺติพโล) ได้รับการถวายที่ดิน จำนวน ๑ แปลง จากคุณพ่อ อร่าม - คุณแม่มุกดา ศุภกาญจน์ สองสามีภริยาผู้ใจบุญ ลักษณะพื้นที่เป็นทุ่งนา โดยมี วัตถุประสงค์ ๑) เพื่อสร้างเป็นวัดในพระพุทธศาสนา ร่วมสืบสานจรรโลงพระพุทธศาสนาให้ เจริญรุ่งเรืองสถิตสถาพร อีกเจตนาหนึ่งของถวาย (ตระกูลสุทธิธรรม) ๒) เพื่อขอขมากรรมต่อองค์หลวงพ่อเยื้อนซึ่งตนได้รับคำสั่งให้จับตัวในข้อหา คอมมิวนิสต์ (ขณะดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าจังหวัดสุรินทร์ฝ่ายความมั่นคง) แต่ด้วย เดชะบุญทำให้หลวงพ่อรอดพ้นจากข้อหามาได้ ๓) เพื่อให้องค์หลวงพ่อมีวัดครองอยู่ในตัวจังหวัดในฐานะเป็นพ่อเมืองจังหวัด สุรินทร์ฝ่ายพุทธจักร ในระยะบุกเบิกเริ่มต้นนั้น หลวงพ่อเยื้อน ขนฺติพโล ได้นำกำลังพระเณรและทหาร จาก ร.๒๓ พัน ๓ สร้างศาลามุงหลังคา จำนวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ใช้เป็นศาลาอเนกประสงค์ชั่วคราวพอเป็นสถานที่ทำกิจกรรมทางพระศาสนา และ สร้างกุฎิหลังคา จำนวน ๓ หลัง ขนาดกว้าง ๒ เมตร ยาว ๕ เมตร เป็นที่พักอาศัยหลบ แดดหลบฝนสำหรับพระภิกษุ สามเณร ในยุคบุกเบิกนี้ได้ใช้ชื่อว่า “สำนักปฏิบัติธรรม ค้นหาจิต” แต่ชาวบ้านคุ้นหูและนิยมเรียกติดปากมากที่สุด คือ “วัดใหม่หลวงตาเยื้อน, วัดใหม่บิ๊กซี, วัดบ้านสุขสนาม” หลวงพ่อได้ส่งพระภิกษุจากวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ซึ่งเป็นวัดต้นสังกัดมาประจำหมุนเวียนไปเรื่อย ๆ เพื่อสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นในชุมชน เนื่องจากเป็นที่พักสงฆ์แห่งใหม่ที่ตั้งในใจกลางชุมชน ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง ได้ยินเสียงสวดมนต์ทำวัตรเช้า - เย็นทุกวัน ๆ ทำให้บางคนเกิดสงสัยว่ามีงานอะไร ทำไมได้ยินเสียงพระสวดมนต์ทุกเช้าค่ำ จึงตามมาดู และได้สนทนาธรรมสอบถาม ความเป็นมาทำให้ทราบคลายควาสงสัย
๒๗ การประกาศตั้งวัด ตามที่ นางมุกดา ศุภกาญจน์ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด ณ บ้านสุขสนาม ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนาในนามว่า “วัดสุทธิธรรมาราม” สังกัด คณะสงฆ์ธรรมยุตเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ พิกัดพิกัดวัดสุทธิธรรมารามตามแผนที่โลก จากการสำรวจด้วยโปรแกรม Google earth คือ ๑๔*๕๑’๕๑*E ๑๔๙m (คำอ่าน : ละติจูด ๑๔ องศา ๕๑ ลิปดา ๕๑ ฟิลิปดา เหนือ ลองจิจูด ๑๐๓ องศา ๓๐ ลิปดา ๒๕ ฟิลิปดา ตะวันออก สูงเหนือระดับน้ำ ทะเล ๑๔๙ กิโลเมตร) อาณาเขตมีดังนี้ ทิศเหนือจ ดที่ส่วนบุคคล ทิศใต้จดที่ส่วนบุคคล ทิศตะวันออกจดที่ส่วนบุคคล และบ้านนาพฤกษารีสอร์ท ทิศตะวันตกจ ดที่ส่วนบุคคล และบ้านพักแม่มุกดา ศุภกาญจน์
๒๘ บริบทโดยรวมของชุมชนแห่งนี้ ผู้คนส่วนใหญ่มีอาชีพรับราชการมาซื้อบ้าน นโครงการต่าง ๆ รอบ ๆ วัด และบางราบซื้อที่สร้างบ้านเอง วัฒนธรรมการเข้าวัด จึงเป็นวัฒนธรรมแบบสังคมเมือง สังคมคนทำงาน สังคมข้าราชการ จะเข้าวัด เฉพาะวัดหยุดนักขัตฤกษ์ ไม่นิยมการละเล่นใด ๆ แต่ทุกเช้าพระเณรที่อยู่ก็จะออก บิณฑบาตตามสายศรัทธาต่าง ๆ ทุกวัน ซึ่งชุมชนรอบ ๆ จุดเด่นของวัด พระอุโบสถ ๗ ชั้น ที่มีความโดดเด่น สามารถมองเห็นได้จากที่ไกลๆ มีดอกบัว หล่อปั้ นโดยรอบพระอุโบสถ และชั้นบนสุดชั้นที่ ๗ เป็นมีพระฐาตุเจดีย์อยู่บนยอด สุดของตัวอาคาร ที่มีความสวยงาม ภายในตัวพระอุโบสถยังมีลิฟต์สำหรับขึ้นลง ได้สะดวก และยังมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ สมเด็จองค์พระปฐม ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ เมตร สูง ๑๗เมตร
๒๙ บรรยากาศรอบวัด , ภายในโบสถ์
หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดป่าโยธาประสิทธิ์
๓๑ ๗. หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดป่าโยธาประสิทธ์ วัดป่าโยธาประสิทธิ์ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสานวิทยาเขตสุรินทร์ เลขที่ ๑๔๘ หมู่ที่ ๑๕ บ้านตาเตียวสามัคคี ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ถนนสุรินทร์ - ปราสาท หลักกิโลเมตรที่ ๓ เนื้อที่ ๓๑ ไร่ เศษ ประวัติความเป็นมา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ พระอาจารย์ฝั้ น อาจาโร อาจารย์ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้เดินทางมาจากจังหวัดสกลนคร มาปักกรดบริเวณใกล้ สะพานห้วยเสนง ซึ่งเป็นป่าดงดิบในสมัยนั้น เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ซึ่งมีสัป ปายะที่เหมาะสมด้วยต้นไม้ใบ้หญ้า น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ มีสิ่ง แวดล้อมที่ดี เมื่อได้สถานที่อันเหมาะสมแล้ว ได้จัดสถานที่ปฏิบัติธรรม มีกุฏิสงฆ์ สร้างด้วยไม้มุงด้วยหญ้าคามีศาลาฉันภัตตาหาร นั่งได้ประมาณ ๑๐ รูป และมี ศรัทธาญาติโยมที่มาทำบุญประมาณ ๑๐-๒๐ คน เป็นประจำ พระอาจารย์ฝั้ นฉัน ภัตตาหารหนเดียว และมีพระภิกษุจากวัดบูรพาราม ซึ่งมีหลวงปู่ดุล อตุโล เจ้า อาวาสวัดบูรพารามและมีพระภิกษุมาร่วมปฏิบัติธรรมหลายรูป
๓๒ ต่อมาเมื่อหลวงปู่ อาจาโร ได้เดินธุดงค์ต่อไปยังจังหวัดอุบลราชธานี และ ต่อไปยังจังหวัดสกลนคร หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ได้ให้หลวงปู่โชติ คุณสัมปัณโณ (พระเทพสุทธาจารย์) เป็นเจ้าอาวาสแทนสืบมา จนถึงปี ๒๕๐๑ หลวงปู่โชติได้ ย้ายไปประจำวัดวชิราลงกรณ์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีพระ อาจารย์สำราญ มารักษาการเจ้าอาวาสชั่วคราว ถึงปี ๒๕๐๒ ได้มีพระภิกษุ สามเณรมาร่วมปฏิบัติธรรมมากขึ้น ต่อมาหลวงปู่ดุล อตุโล ซึ่งเป็นเจ้าคณะเจ้าจังหวัดสุรินทร์ได้ให้ให้หลวงปู่ เปลี่ยน โอภาโส (พระราชวิสุทธิธรรมรังสี )จาก วัดบ้านกระทมวนาราม มาดำรง ตำแหน่งแทนจนถึงปี ๒๕๓๐ จึงได้แต่งตั้ง เจ้าอาวาสรูปใหม่ คือ พระมหา สุพรรณ สุวัณโณ (พระครูโสภณธรรมรังสี) เป็นเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบัน
๓๓ ชื่อว่า วัดป่าโยธาประสิทธิ์ เนื่องจากได้รับงบประมาณก่อสร้างจาก กรมโยธา ธิการและผังเมืองเป็นผู้ร่วมสร้างและปฏิสังขรวัด สมัยเจ้าอาวาสพระอาจารย์ฝั้ น อาจาโร จุดเด่นของวัด บรรยากาศภายในวัดสงบร่มเย็น มีความสดชื่นเพราะเต็มไปด้วยต้นไม้นานา พันธ์ ที่สร้างความสงบร่มเย็นให้แก่สาธุชนผู้ผ่านเข้ามาภายในวัดได้พักผ่อน หย่อนใจ มีความสัปปายะ เหมาะแก่การเจริญธรรม,รูปเหมือนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล องค์ใหญ่ที่สุดในโลก สูง ๑๙.๑๙ เมตร หน้าตักกว้าง ๘.๐๙ เมตร,มหาเจดีย์ บูรพาจารย์ ที่กำลังทำการก่อสร้าง ปัจจุบันโครงสร้างเสร็จสิ้นหมดแล้ว เหลือ การตกแต่งทั้งภายนอกและภายใน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี ๒๕๖๕, ศูนย์การ เรียนรู้ชุมชน \"การอบสมุนไพร” สถานที่ศึกษาเรียนรู้และรองรับผู้รับบริการอบ สมุนไพร โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
๓๔ รูปปั้ นหลวงปู่ดุลย์องค์ใหญ่ , บริเวณรอบวัด
สำนักปฏิบัติธรรม วัดป่าบวรสังฆาราม
๓๖ ๘. สำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าบวรสังฆาราม วัดป่าบวรสังฆาราม ตั้งอยู่บ้านดู่พัฒนา หมู่ ๑๖ ตำบลนอกเมือง อำเภอ เมือง จังหวัดสุรินทร์วัดป่าบวรสังฆาราม มีเนื้อที่รวมประมาณ ๒๒ ไร่ ๒ งาน ๗๑.๘ ตารางวา ตามเอกสารหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อกิจการสาธารณูปโภคและกิจ การอื่นๆ ในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน ๒ ฉบับ ดังนี้ ๑) หนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อกิจการสาธารณูปโภคและกิจการอื่นๆ ใน เขตปฏิรูป ที่ ๒๘/๒๕๔๑ จำนวนเนื้อที่ ๗ ไร่ ๒ งาน ๗๑.๘ ตารางวา ๒) หนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อกิจการสาธารณูปโภคและกิจการอื่นๆ ใน เขตปฏิรูป ที่ ๕๐/๒๕๔๖ จำนวนเนื้อที่ ๑๕ ไร่ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ กรมการศาสนามีหนังสืออนุญาตให้สร้างวัด ตามข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๗) เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๒ ต่อมาได้รับ การจัดตั้งเป็นวัด ตามข้อ ๔ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๗) เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๔๓ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๔ การเดินทางไปยังวัดป่าบวรสังฆารามสามารถใช้เส้นทางศรีสะเกษ - บุรีรัมย์ มุ่ง หน้าไปทางอำเภอปราสาท วัดอยู่ติดริมถนน เยื้องเรือนจำกลางสุรินทร์ อาณาเขต มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับถนนซอยโพธิ์ร้าง ทิศใต้ ติดกับถนนทางหลวงชนบท สร.๓๐๕๔ ทิศตะวันออก ติดกับถนนชนบท บ้านดู่พัฒนา ทิศตะวันตก ติดกับถนนทางหลวงหมายเลข ๒๙๓ (ถนนย่าตา) เยื้องเรือนจำกลางสุรินทร์
๓๗ ประวัติความเป็นมา กําเนิดวัดป่าบวรสังฆาราม จากคําพยากรณ์ของหลวงปู่ ดูลย์ ในพรรษาที่ 6 หลวงพ่อได้มาปลูกกระท่อม เพื่ออยู่จําพรรษาในสวนมะพร้าว ซึ่งเป็นที่ดินของท่านเอง โดยที่ดังกล่าวอยู่ในเขตบ้านดู่ ตำบลนอกเมือง อำเภอ เมือง จังหวัดสุรินทร์ และมีหลวงพ่องาน สนฺตจิตฺโต มาขออยู่ปฏิบัติกับท่านด้วย ในตอนนั้นท่านเริ่มสอนสมาธิให้แก่ญาติโยมด้วย ซึ่งการสอนนั้น ท่านก็ไม่ได้สอน “แบบจิตดูจิต” หรือให้หยุดกับผู้รู้แต่อย่างใด หากแต่ท่านสอนไปในทางฌาน สอน ให้ผู้ปฏิบัติรู้จักสมาธิและเข้าถึงความสงบให้ได้เท่านั้น ทุกคืนท่านจะนําศรัทธา ญาติโยมปฏิบัติ ตั้งแต่ 1 ทุ่มไปจนถึง 2 ทุ่ม ซึ่งบางครั้งการเดินทางมาหาหลวงพ่อ ที่สวนนี้ก็มีอุปสรรค คือเวลาฝนตกชุกจะทําให้เกิดน้ำท่วมขัง ทําให้การเดินทางลํา บากมาก ดังนั้นวันหนึ่งบรรดาญาติโยม ซึ่งนำโดยโยมแม่เวย อิ่มใจ กับพวกอัน ได้แก่ โยมแม่เบื่อ โยมแม่สะเกียว เป็นต้น ได้กราบนิมนต์หลวงพ่อให้ไปสร้างวัดใน ที่ของโยมแม่เวย ซึ่งที่ดังกล่าวอยู่ในตัวบ้านดู่ แต่หลวงพ่อว่าให้รอก่อน เพราะทาง เรือนจําจะยกที่ป่าเรือนจําบางส่วนให้สร้างวัด เมื่อออกพรรษาแล้ว คุณมนัส ท้วม ทอง ผู้บัญชาการเรือนจําสุรินทร์ขณะนั้น ได้นิมนต์หลวงพ่อไปดูที่ที่ทางเรือนจํา จะยกถวายให้สร้างวัด
๓๘ เมื่อได้เห็นที่ดังกล่าว แล้วหลวงพ่อก็ปฏิเสธที่จะสร้างวัดตรงนั้น เพราะที่ดิน ดังกล่าวอยู่ติดกับห้วยอยู่ลึกเข้าไปจากถนนใหญ่ และที่สําคัญมันอยู่ติดกับ ทัณฑสถานเปิด เกรงว่าจะมีปัญหา เรื่องความปลอดภัยกับญาติโยมที่มาวัด ครั้นจะสร้างวัดในที่ของโยมแม่เวย ที่ตรงนั้นก็อยู่ใกล้ชิดติดบ้านเรือนเกินไป ก็ ไม่เหมาะสมอีก ต่อมา โยมแม่สลิน ทองสะอาด ทราบข่าวเรื่องการสร้างวัดและ ทราบปัญหาที่ยังไม่ลงตัว จึงน้อมถวายที่ดินบริเวณ หน้าเรือนจํา (บริเวณที่ตั้ง วัดในปัจจุบัน) ซึ่งมีประมาณ ๓ ไร่ให้สร้างวัด หลวงพ่อท่าน ก็พิจารณาดูแล้วเห็น ว่าเหมาะสม เพราะที่ตั้งดังกล่าวอยู่ห่างจากบ้านดู่หน่อย และการสัญจรก็สะดวก เพราะมีถนนหน้าเรือนจําตัดผ่าน เนื่องจากที่ดินที่ได้นี้มีขนาดเล็ก โยมแม่เวยจึง นําที่ที่บ้านดู่นั้นมาแลกกับที่ข้างเคียงของโยมแม่สลินที่จะถวาย ทําให้ได้พื้นที่ใน การที่จะสร้างตัววัดกว้างมากขึ้น และต่อๆ มาหลังจากตั้งเป็นสํานักสงฆ์แล้ว เหล่ากรรมการสํานักสงฆ์ โดยการนําของโยมพ่อไพรัตน์ - คุณแม่เกสร ประเสริฐ แสง ได้จัดซื้อที่ดินข้างเคียงแล้วขยายพื้นที่ไปเรื่อยๆ จนถึง พ.ศ. ๒๕๔๑ มีพื้นที่ ประมาณ ๔ ไร่
๓๙ ในพรรษาที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ท่านก็เริ่มเข้าอยู่ในที่ที่จะสร้างวัด โดยปลูกกระ ท่อมน้อยๆ ขึ้น (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกุฏิ เบอร์ ๓) สําหรับตัวท่านเอง และในพรรษา นั้น หลวงพ่อซอม ขีณมโล ก็มาขออยู่กับท่านด้วย ในระยะแรกของการตั้งสํานัก สงฆ์นี้ทางเรือนจําซึ่งนําโดย คุณมนัส ท้วมทอง มีส่วนช่วยอย่างมากในการ ปรับพื้นที่และสร้างเสนาสนะ พร้อมทั้งจัดหาเครื่องอุปโภคที่จําเป็นมาถวาย และในกลางพรรษา นั้นเอง หลวงปู่ดูลย์ เมื่อทราบข่าวว่าหลวงพ่อจะสร้างวัดก็ เดินทางมาหาท่านเพื่อเป็นกําลังใจและสั่งกําชับว่า “อย่าได้คิดก่อสร้างอะไรเลย โยมเขาสร้างอย่างไร ก็ให้อยู่ไปอย่างนั้น เอาแต่ภาวนาให้พ้นๆ ไป ต่อไปมันจะ ไม่ใช่อย่างนี้ จะยิ่งกว่านี้” หลวงปู่ดูลย์ท่านมีความเมตตาต่อหลวงพ่อมาก มักจะ เดินทางมาเยี่ยมให้กําลังใจอยู่เสมอ แม้ภายหลังตั้งสํานักสงฆ์แล้ว หลวงปู่ก็ มักจะมาจำวัดพักกลางวัน ที่กุฏิกระท่อมของหลวงพ่ออยู่เนืองๆ และท่านได้ บริจาคปัจจัยช่วยในการสร้างวัต เป็นเงินทั้งสิ้น ๕๐,000 บาท และตั้งชื่อวัดให้ว่า “วัดป่าบวรสังฆาราม” (ได้รับประกาศจัดตั้งวัด เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕4๓) และ ยังพยากรณ์ต่อหน้าหลวงพ่อทั้งสอง คือ หลวงพ่อและหลวงพ่อซอมว่า “ต่อไป วัดนี้จะเจริญ กัมมัฏฐานใหญ่ ทั้งหมดจะรวมอยู่ที่นี่”
๔๐ เมื่อพูดถึงการสร้างวัดนี้ ผู้เขียนก็อดมิได้ที่จะกล่าวถึงพระเถระรูปหนึ่งซึ่ง หลวงพ่อ มักจะเล่าให้ฟังว่า เป็นผู้มีพระคุณต่อวัดนี้ กล่าวคือในยุคแรกๆ ของวัด นี้ ท่านจะเป็นผู้คิดหาไม้มาสร้างเสนาสนะ คอยควบคุม ดูแลการก่อสร้างในวัด พระเถระรูปนี้ ได้แก่ ท่านเจ้าคุณพระสังวรวิสุทธิคุณ ขณะนั้นยังไม่มีสมณศักดิ์ มักเรียกชื่อท่านว่า หลวงพ่อแผ่นทอง จาคโร หรือเรียกสั้นๆ ว่า หลวงพ่อทอง (ใหญ่) รายนามเจ้าอาวาสวัดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (ไม่ปรากฏหลักฐานเจ้าอาวาสวัด แน่ชัด) วัดป่าบวรสังฆาราม มีลำดับเจ้าอาวาสผู้ครองวัด ดังนี้ ๑) ท่านเจ้าคุณพระสังวรวิสุทธิคุณ (หลวงพ่อแผ่นทอง จาคโร) ๒) พระครูปลัดวรเมศร์ สติสัมปันโน พ .ศ. ๒๕๕๑ - ถึงปัจจุบัน จุดเด่นของวัด ธรรมชาติภายในวัดป่าบวรสังฆาราม มีสวนป่ากรรมมัฏฐาน เฉลิมพระเกียรติและได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ภายในวัดมีความร่มรื่น เป็นวัดธรรม ยุต มีที่การฝึกปฏิบัติธรรมสำหรับบุคคลทั่วไป มีศาลาปฏิบัติธรรมและมีที่พัก สำหรับผู้มาปฏิบัติธรรม
๔๑ หน้าวัด , อุโบสถ
ขนมโบราณ วัฒนธรรมวิถีชีวิต บ้านโคกกระเพอ
๔๓ ๙. วัฒนธรรมวิถีชีวิตกลุ่มทำขนมโบราณบ้านโคกกระเพอ กลุ่มทำขนมโบราณบ้านโคกกระเพอ ตั้งอยู่บ้านโคกกระเพอ หมู่ ๘ ตำบลนอก เมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ประวัติความเป็นมาขนมโบราณบ้านโคกกระเพอที่ขึ้นชื่อคือขนมดอกจอกได้รับ การสืบทอดและเรียนรู้จากนางปทุมทิพย์ แดง ชาวบ้านโคกกระเพอ บ้านเลขที่ ๔๑ หมู่ ๘ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๖๑ ผู้นำ หมู่บ้านได้ไปอบรมหมู่บ้านสัมมาชีพซึ่งทางเครือข่ายได้นำเสนอขนมดอกจอก เป็น ขนมประจำบ้านโคกกระเพอ เพราะทางผู้นำได้คิดถึง การที่ทำขนมชนิดนี้ เนื่องจาก บ้านโคกกระเพอ ซึ่งมีอาณาเขตติดอ่างเก็บน้ำห้วยเสนงในบางส่วน และมีจอกลอยมา ตามน้ำ มีติดตลิ่งมากใกล้ศาลาประชาคม และพอน้ำลดก็เกยตื้นบนบก ทำให้แผ่บาน เกิดความสวยงามตามตลิ่งใกล้บ้านโคกกระเพอ จุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยว คือ ขนมดอกจอก ซึ่งในสมัยก่อนเป็นที่นิยมมากจะเป็นหนึ่งในขนมที่จัดขึ้นใน งานพิธีสำคัญต่างของไทย เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ มีความเด่นใน ตัว จะมีการบานโดยไม่หุบ เหมือนการนำความรุ่งเรืองเข้ามาในชีวิตของคนที่ใช้ขนมนี้ ในงานพิธีต่างๆ
สนามแสดงช้าง วัฒนธรรมวิถีคนกับช้าง
๔๕ ๑๐. วัฒนธรรมวิถีชีวิตคนกับช้าง วัฒนธรรมวิถีชีวิตคนกับช้าง (สนามแสดงช้าง) สนามแสดงช้างเมือง สุรินทร์ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกับสนามกีฬาจังหวัดสุรินทร์และสำนักงานท่องเที่ยว จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งอยู่ในเขตตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ประวัติความเป็นมาสนามแสดงช้าง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งสร้าง ติดอยู่กับสนามกีฬาศรีณรงค์ โดยสร้างขึ้นจากงบประมาณขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุรินทร์ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยว สนามแสดงช้างที่ออกแบบเป็นสนามฟุตบอลรองรับกับการแสดงโชว์ ของช้าง มีอัฒจันทร์ไว้สำหรับผู้ที่มาเข้าชมการแสดงช้าง รอบๆบริเวณเป็นที่พัก ของควาญช้างและมีสถานที่ไว้สำหรับเลี้ยงช้าง
เรือมอันเร วัฒนธรรมศิลปะพื้นบ้าน
๔๗ ๑๑. วัฒนธรรมศิลปะพื้นบ้านเรือมอันเร วัฒนธรรมศิลปะพื้นบ้านเรือมอันเร ตั้งอยู่บ้านปรือเกียน หมู่ที่ ๔ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ประวัติความเป็นมาเรือมอันเร เรือม แปลว่า “รำ” อันเร แปลว่า “สาก” เรือมอันเร แปลว่า “รำสาก” เป็นการละเล่นของชาวไทย เชื้อสายเขมร ของ จังหวัดสุรินทร์ ที่เล่นกันในเดือน ๕ วันพักผ่อนประจำปี ช่วงวันหยุด สงกรานต์มาแต่โบราณ จุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยว เป็นศิลปะการละเล่นของชาวไทย เชื้อสายเขมร ที่เล่นกันในเดือน ๕ มี การร่ายรำที่สนุกสนานครื้นเครง มีท่ากระโดดโลดเต้นเข้ากับจังหวะของสาก ที่กระทบกันให้เกิดเสียงดัง เพราะสากตำข้าวทำจากไม้เนื้อแข็ง
Search