ประวตั ิและผลงาน ของสุนทรภู่ กิจกรรม “เทิดเกียรติสนุ ทรภู่ เชดิ ชูภาษาไทย” ปีการศกึ ษา ๒๕๖๔ กลุ่มสาระการเรยี นรภู้ าษาไทย โรงเรยี นศรีวิชยั วิทยา
กล่มุ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา สนุ ทรภู่ : กวีแหง่ รัตนโกสินทร์ “สุนทรภู่” เป็นชื่อที่เรียกกันโดยท่ัวไป โดยการนาบรรดาศักด์ิมาผสมกับ ชื่อจริง กล่าวคือมีชื่อเดิมว่า “ภู่” และเมื่อรับราชการได้รับแต่งตั้งเป็น “ขุนสุนทร โวหาร” ในสมัยรัชกาลที่ ๒ และ “พระสุนทรโวหาร” เจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่าย พระราชวงั บวรสถานมงคลในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศจ์ ักรตี ามลาดับ แม้สุนทรภู่จะเป็นเพียงสามัญชน แต่ก็มีความสามารถทางการแต่งกลอน มีผลงานมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แล้ว ความสามารถของสุนทรภู่นั้นได้ช่วยให้ ตนเองได้เป็นถึงกวีที่ปรึกษาในราชสานักของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัยแห่งยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งนับเป็นสมัยที่วรรณคดีประเภทร้อยกรองได้ เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด เนื่องจากบ้านเมืองสงบสุข ไม่มีการทาศึกสงครามอย่างที่ ปรากฏในรัชกาลก่อน สุนทรภู่เป็นกวีผู้หนึ่งที่พระองค์ทรงโปรดปรานเป็นที่ย่ิง แต่ เมื่อเปลี่ยนรัชกาล ชีวิตของสุนทรภู่ก็ตกอับ ต้องเร่ร่อนพเนจรไปตามที่ต่าง ๆ ในตอนท้ายแห่งชีวิตก็กลับมาได้ดีเป็นที่โปรดปรานของ พระบาทสมเด็จ พระจ อม เก ล้าเ จ้าอยู่หัวและพร ะ บา ทสมเ ด็จ พ ระ ปิ่น เก ล้าเ จ้า อยู่หั ว พระมหากษตั ริย์รัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศจ์ ักรีอีกครง้ั หนึง่
กลมุ่ สาระการเรยี นรูภ้ าษาไทย โรงเรียนศรีวิชยั วทิ ยา ประวตั ขิ องสุนทรภู่ ต้นตระกลู บนั ทึกสว่ นใหญ่มักระบถุ ึงต้นตระกูลของสุนทรภู่เพียงวา่ บิดาเปน็ ชาวบ้านกร่า อาเภอ แกลง จังหวัดระยองมารดาเป็นชาวเมืองอื่น ท้ังนี้เนื่องจากเชื่อถือตามพระนิพนธ์ของสมเด็จ ฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ เร่ืองชีวิตและงานของสุนทรภู่ ต่อมาในภายหลัง เม่ือมีการค้นพบ ขอ้ มลู ต่าง ๆ มากยิง่ ข้นึ ก็มีแนวคิดเกีย่ วกับต้นตระกูลของสุนทรภู่แตกต่างกันออกไป นักวิชาการ ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า ฝ่ายบิดาเป็นชาวบ้านกร่า เมืองแกลง จริง เนื่องจากมีปรากฏเนื้อความ อยใู่ น นิราศเมืองแกลง ถึงวงศ์วานว่านเครือของสุนทรภู่ ท้ังนี้บิดาของสุนทรภู่อาจมีเชื้อสายชอง ซ่ึงเป็นชนพ้ืนเมืองในพ้ืนที่ ดังปรากฏว่า “...ล้วนวงศ์วานว่านเครือเป็นเชื้อชอง ไม่เห็นน้องนึกน่า น้าตากระเดน็ ...” แต่เร่อื งดังกล่าวกไ็ ม่มหี ลักฐานใดสนับสนนุ เพยี งพอ บ้างกว็ ่าอาจเป็นการเข้าใจ ผิด แต่ความเห็นเกี่ยวกับตระกูลฝ่ายมารดานี้แตกออกเป็นหลายส่วน ส่วนหนึ่งว่าไม่ทราบที่มา แน่ชัด ส่วนหนึ่งว่าเป็นชาวฉะเชิงเทรา และส่วนหนึ่งว่าเป็นชาวเมืองเพชรบุรี ก.ศ.ร.กุหลาบ เคย เขียนไว้ในหนังสอื สยามประเภท ว่า บิดาของสุนทรภู่เป็นข้าราชการแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศ ชื่อขุนศรีสังหาร (พลับ) ข้อมูลนี้สอดคล้องกับบทกวีไม่ทราบชื่อผู้แต่ง ซ่ึงปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ พบที่อนุสาวรีย์สุนทรภู่ จังหวัดระยอง ว่า บิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่า ชื่อ พ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย ทว่าแนวคิดที่ได้รับการยอมรับกัน ค่อนข้างกว้างขวางคือ ตระกูลฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชรบุรี สืบเนื่องจาก เนื้อความใน นิราศเมืองเพชร ฉบับค้นพบเพ่มิ เติมโดย ล้อม เพ็งแกว้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙
กลมุ่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรยี นศรีวชิ ัยวิทยา ประวัติของสุนทรภู่ (ตอ่ ) วัยเยาว์ สุนทรภู่ มีชื่อเดิมว่า ภู่ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ขนึ้ 1 คา่ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง (ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329) ณ บริเวณด้านเหนอื ของพระราชวงั หลัง ซ่ึงเป็นบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน นี้ เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่า อันเป็นภมู ลิ าเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์ เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังน้ันสุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวัง หลงั กับมารดา และได้ถวายตวั เป็นขา้ ในกรมพระราชวังหลัง สุนทรภู่ยังมนี ้องสาวต่างบิดาอีกสอง คน ชื่อฉิมและนิ่ม เชื่อกันว่า ในวัยเด็กสุนทรภู่ได้ร่าเรียนหนังสือกับพระในสานักวัดชีปะขาว (ซ่ึง ต่อมาได้รับพระราชทานนามในรัชกาลที่ 4 ว่า วัดศรีสุดาราม อยู่ริมคลองบางกอกน้อย) ตาม เนื้อความส่วนหนึ่งที่ปรากฏใน นิราศสุพรรณ ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรม พระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทางานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซ่ึงสามารถแต่ง ได้ดีตั้งแต่ยังรนุ่ หนุ่ม จากสานวนกลอนของสุนทรภู่ เชื่อวา่ ผลงานทีม่ กี ารประพันธ์ข้ึนก่อนสุนทรภู่ อายุได้ 20 ปี (คือก่อน นิราศเมืองแกลง) เหน็ จะได้แกก่ ลอนนิทานเรือ่ ง โคบุตร
กลุ่มสาระการเรยี นรภู้ าษาไทย โรงเรยี นศรีวชิ ยั วิทยา ประวัติของสนุ ทรภู่ (ตอ่ ) สนุ ทรภู่ลอบรกั กับนางข้าหลวงในวงั หลังคนหนึง่ ชือ่ แม่จัน ชะรอยว่าหล่อนจะเป็นบุตร หลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกร้ิวจนถึงให้โบยและจาคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรม พระราชวงั หลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษท้ังหมดถวายเป็น พระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุกก็เดินทางไปหาบิดาที่เมืองแกลง จังหวัดระยอง การเดินทางคร้ังนี้สุนทรภู่ได้แต่ง นิราศเมืองแกลง พรรณนาสภาพการเดินทางต่าง ๆ เอาไว้โดย ละเอียด และลงท้ายเร่ืองว่า แต่งมาให้แก่แม่จัน “เป็นขันหมากมิ่งมิตรพิสมัย” ในนิราศได้บันทึก สมณศักดิ์ของบิดาของสนุ ทรภู่ไวด้ ้วยว่า เป็น “พระครูธรรมรังสี” เจ้าอาวาสวัดป่ากร่า กลับจาก เมืองแกลงคราวนี้ สุนทรภู่จึงได้แมจ่ นั เป็นภรรยา แต่กลับจากเมืองแกลงเพียงไม่นาน สนุ ทรภู่ตอ้ ง ติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็กตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชาที่พระพุทธบาท (เขตจังหวัดสระบุรีในปัจจุบัน) เม่ือปี พ.ศ. 2350 สุนทรภู่ได้แต่ง นิราศพระบาท พรรณนา เหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย สุนทรภู่กับแม่จันมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อหนูพัด ได้อยู่ ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนหนุ่มสาวท้ังสองมีเร่ืองระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลงั ก็เลิกรากันไป หลังจาก นิราศพระบาท ที่สุนทรภู่แต่งในปี พ.ศ. 2350 ไม่ปรากฏผลงานใด ๆ ของ สุนทรภู่อีกเลยจนกระท่งั เขา้ รับราชการในปี พ.ศ. 2359
กลมุ่ สาระการเรียนรภู้ าษาไทย โรงเรยี นศรวี ชิ ัยวทิ ยา ประวตั ขิ องสนุ ทรภู่ (ตอ่ ) ตาแหนง่ อาลักษณ์ สุนทรภู่ได้เขา้ รับราชการในกรมพระอาลกั ษณ์เมือ่ พ.ศ. 2359 ในรชั สมยั รชั กาลที่ 2 มลู เหตใุ นการไดเ้ ข้ารบั ราชการน้ี ไม่ปรากฏแน่ชดั แตส่ ันนิษฐานวา่ อาจแต่งโคลงกลอนได้เป็นทีพ่ อ พระทยั ทราบถึงพระเนตรพระกรรณจึงทรงเรียกเข้ารับราชการ แนวคิดหนึ่งว่าสุนทรภู่เป็นผู้แต่ง กลอนในบัตรสนเท่ห์ ซ่ึงปรากฏชุกชุมอยู่ในเวลานั้น อีกแนวคิดหนึ่งสืบเนื่องจาก “ช่วงเวลาที่ หายไป” ของสุนทรภู่ ซง่ึ น่าจะใช้วชิ ากลอนทามาหากินเปน็ ทีร่ ู้จักเลื่องชื่ออยู่ ชะรอยจะเป็นเหตุให้ ถูกเรียกเข้ารับราชการกไ็ ด้ เม่ือแรกสุนทรภู่รับราชการเป็นอาลักษณ์ปลายแถว มีหน้าที่เฝ้าเวลาทรงพระอักษร เพ่ือคอยรับใช้ แต่มีเหตุให้ได้แสดงฝีมือกลอนของตัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเร่ือง “รามเกียรติ์” ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราช หฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น ขุนสุนทรโวหาร การต่อกลอนของสุนทรภู่คราวนี้เป็นที่รู้จักท่ัวไป เนื่องจากปรากฏ รายละเอียดอยใู่ นพระนิพนธ์ ชีวิตและงานของสุนทรภู่ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ บทกลอนในรามเกียรต์ทิ ีส่ ุนทรภู่ได้แต่งในคราวนั้นคือ ตอนนางสีดาผกู คอตาย และตอนศึกสิบขุน สิบรถ ฉากบรรยายรถศึกของทศกณั ฐ์
กลุ่มสาระการเรียนรภู้ าษาไทย โรงเรียนศรวี ิชัยวิทยา ประวัตขิ องสนุ ทรภู่ (ตอ่ ) สนุ ทรภู่ได้เลื่อนยศเปน็ หลวงสนุ ทรโวหาร ในเวลาต่อมา ได้รับพระราชทานบ้านหลวง อยู่ที่ท่าช้าง ใกล้กับวังท่าพระ และมีตาแหน่งเข้าเฝ้าเป็นประจา คอยถวายความเห็นเกี่ยวกับ พระราชนิพนธ์และพระนิพนธ์วรรณคดีเร่ืองต่าง ๆ รวมถึงได้ร่วมในกิจการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ช่วงตน้ กรงุ รตั นโกสินทร์ โดยเปน็ หนึ่งในคณะรว่ มแต่ง ขุนช้างขุนแผน ข้ึนใหม่ ระหว่างรับราชการ สุนทรภู่ต้องโทษจาคุกเพราะถูกอุทธรณ์ว่าเมาสุราทาร้ายญาติผู้ใหญ่ แต่จาคุกได้ไม่นานก็โปรด พระราชทานอภัยโทษ เล่ากันว่าเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัด บทพระราชนิพนธ์เร่ืองสังข์ทอง ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็น พระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 เชื่อวา่ สนุ ทรภแู่ ตง่ เร่อื ง สวัสดิรกั ษา ในระหวา่ งเวลานี้ ในระหวา่ งรับราชการอยนู่ ี้ สุนทรภู่แต่งงาน ใหมก่ บั แม่น่มิ มบี ุตรด้วยกนั หนึง่ คน ชือ่ พ่อตาบ
กลมุ่ สาระการเรียนรภู้ าษาไทย โรงเรยี นศรีวชิ ัยวทิ ยา ประวตั ิของสนุ ทรภู่ (ตอ่ ) ออกบวช สนุ ทรภู่รับราชการอยเู่ พียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ หล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากน้ันสุนทรภู่ก็ออกบวช แต่จะได้ลาออกจากราชการก่อนออก บวชหรือไม่ยังไม่ปรากฏแน่ชัด แม้จะไม่ปรากฏโดยตรงว่าสุนทรภู่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จาก ราชสานกั ใหม่ในพระบาทสมเดจ็ พระนงั่ เกล้าเจา้ อยหู่ วั แต่ก็ได้รบั พระอปุ ถัมภจ์ ากพระบรมวงศานุ วงศพ์ ระองค์อื่นอยเู่ สมอ เช่น ปี พ.ศ. 2372 สนุ ทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอกั ษรเจ้าฟา้ กลาง และเจ้าฟ้าปิ๋ว พระโอรสในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ปรากฏความอยู่ใน เพลงยาวถวายโอวาท นอกจากน้ันยังได้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ และกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ซ่ึงปรากฏเนื้อความในงานเขียนของสุนทรภู่บางเร่ืองว่า สุนทรภู่แต่งเร่ือง พระอภัยมณี และ สิงหไตรภพ ถวาย สุนทรภู่บวชอยเู่ ปน็ เวลา 18 ปี ระหว่างนนั้ ได้ย้ายไปอยวู่ ดั ต่าง ๆ หลายแห่ง เท่าที่พบ ระบุในงานเขียนของท่านได้แก่ วัดเลียบ วัดแจ้ง วัดโพธิ์ วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม งานเขียนบางชิ้นสื่อให้ทราบว่า ในบางปี ภิกษุภู่เคยต้องเร่ร่อนไม่มีที่จาพรรษาบ้างเหมือนกัน ผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่าง ๆ ท่ัวประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเร่ืองต่าง ๆ มากมาย และเชื่อว่าน่าจะยังมีนิราศที่ค้นไม่พบอีกเป็นจานวนมาก งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่ แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ ราพันพิลาป โดยแต่งขณะจาพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385
กลุ่มสาระการเรยี นรูภ้ าษาไทย โรงเรยี นศรีวชิ ัยวิทยา ประวัตขิ องสนุ ทรภู่ (ตอ่ ) ชว่ งปลายของชีวติ ปี พ.ศ. 2385 ภกิ ษภุ ู่จาพรรษาอยทู่ ี่วัดเทพธิดาราม ทีม่ ีกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรง อุปถัมภ์ คืนหนึ่งหลับฝันเห็นเทพยดาจะมารับตัวไป เม่ือตื่นขึ้นคิดว่าตนถึงฆาตจะต้องตายแล้ว จึงประพันธ์เร่อื ง ราพนั พลิ าป พรรณนาถึงความฝนั และเล่าเร่อื งราวต่าง ๆ ที่ได้ประสบมาในชีวิต หลังจากนั้นกล็ าสิกขาบทเพ่อื เตรยี มตวั จะตาย ขณะน้ันสุนทรภู่มอี ายไุ ด้ 56 ปี หลังจากลาสิกขาบท สุนทรภู่ได้รับพระอุปถัมภ์จากเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้า จฑุ ามณี กรมขนุ อิศเรศรงั สรรค์ รับราชการสนองพระเดชพระคุณทางด้านงานวรรณคดี สุนทรภู่ แต่ง เสภาพระราชพงศาวดาร บทเห่กล่อมพระบรรทม และบทละครเร่ือง อภัยนุราช ถวาย รวมถึงยังแต่งเร่ือง พระอภัยมณี ถวายให้กรมหม่ืนอัปสรสุดาเทพด้วย เมื่อถึงปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จข้ึนครองราชย์เป็น พระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจ้าอยู่หวั และทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อยขนึ้ เป็น พระบาทสมเด็จพระ ปิ่นเกล้าเจ้าอยหู่ วั สุนทรภู่จึงได้รับแต่งตงั้ เป็นเจ้ากรมอาลกั ษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์ เป็น พระสุนทรโวหาร ช่วงระหว่างเวลานี้สุนทรภู่ได้แต่งนิราศเพ่ิมอีก 2 เร่ือง คือ นิราศพระประ ธม และ นริ าศเมืองเพชร สุนทรภู่พานักอยู่ในเขตพระราชวงั เดิม ใกลห้ อน่ังของพระยามนเทียรบาล (บัว) มีห้อง ส่วนตัวเป็นหอ้ งพักก้ันเฟีย้ มทเี่ รียกชือ่ กันว่า “หอ้ งสุนทรภู่” เชือ่ วา่ สนุ ทรภู่พานกั อยู่ที่นีต่ ราบจนถงึ แกอ่ นิจกรรม เมือ่ ปี พ.ศ. 2398 สิรริ วมอายุได้ 69 ปี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรยี นศรวี ชิ ัยวิทยา ประวตั ิของสนุ ทรภู่ (ต่อ) ทายาท สุนทรภู่มีบุตรชายสามคน คือพ่อพัด เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน พ่อตาบ เกิด จากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และพ่อนิล เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ปรากฏชื่อบุตร บุญธรรมอีกสองคน ชือ่ พอ่ กลัน่ และพอ่ ชบุ พ่อพัดนี้เป็นลูกรัก ได้ติดสอยห้อยตามสุนทรภู่อยู่เสมอ เม่ือคร้ังสุนทรภู่ออกบวช พอ่ พดั กอ็ อกบวชด้วย เมือ่ สุนทรภู่ได้มารับราชการกบั เจ้าฟ้าน้อย พอ่ พัดก็มาพานกั อยู่ด้วยเช่นกนั ส่วนพ่อตาบน้ันปรากฏว่าได้เป็นกวีมีชื่ออยู่พอสมควร เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยหู่ ัว ทรงตราพระราชบัญญัตนิ ามสกุลขึน้ ตระกลู ของสนุ ทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า ภู่ เรือหงส์ (บางสายสกลุ อาจเปน็ ภู่ระหงษ)์ เรื่องนามสกุลของสุนทรภู่น้ี ก.ศ.ร. กุหลาบ เคยเขียนไว้ ในหนังสือสยามประเภท อ้างถึงผู้ถือนามสกุล ภู่เรือหงส์ ที่ได้รับบาเหน็จจากหมอสมิทเป็นค่า พิมพ์หนังสือเร่ือง พระอภัยมณี แต่หนังสือของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ไม่เป็นที่ยอมรับของราชสานัก ด้วยปรากฏอยู่บ่อยคร้ังว่ามักเขียนเร่ืองกุ เร่ืองนามสกุลของสุนทรภู่จึงพลอยไม่ได้รับการเชื่อถือ ไปด้วย จนกระท่ัง ศ.ผอบ โปษะกฤษณะ ยืนยันความข้อนี้เนื่องจากเคยได้พบกับหลานปู่ของ พอ่ พัดมาด้วยตนเอง
กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ภาษาไทย โรงเรียนศรวี ชิ ัยวทิ ยา ประวตั ิของสุนทรภู่ (ต่อ) อุปนิสยั ตาราโหราศาสตร์ผูกดวงชะตาวันเกิดของสุนทรภู่ไว้เป็นดวงประเทียบ พร้อม คาอธิบายข้างใต้ดวงชะตาว่า “สุนทรภู่ อาลักษณ์ข้ีเมา” เหตุนี้จึงเป็นที่กล่าวขานกันเสมอมา ว่า สนุ ทรภู่น้ีขีเ้ หล้านกั ในงานเขียนของสนุ ทรภู่เองก็ปรากฏบรรยายถึงความมึนเมาอยู่หลายครั้ง แม้จะดูเหมือนว่า สุนทรภู่เองก็รู้ว่าการมึนเมาสุราเป็นสิ่งไม่ดี ได้เขียนตักเตือนผู้อ่านอยู่ใน งานเขียนเสมอ การดื่มสุราของสุนทรภู่อาจเป็นการดื่มเพ่ือสังสรรค์และเพ่ือสร้างอารมณ์ศิลปิน ด้วยปรากฏวา่ เรอื นสุนทรภู่มกั เปน็ ทีค่ รึกคร้ืนร่ืนเริงกับหมู่เพ่ือนฝูงอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังเล่ากัน ว่า เวลาทีส่ นุ ทรภู่กร่ึม ๆ แล้วอาจสามารถบอกกลอนให้เสมียนถึงสองคนจดตามแทบไม่ทัน เมื่อ ออกบวช สุนทรภู่เห็นจะต้องพยายามเอาชนะใจตัวเองให้ได้ ซ่ึงในท้ายที่สุดก็สามารถทาได้ดี ขณะที่รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล มองว่า เร่ืองที่ว่าสุนทรภู่ข้ีเมาน้ันไม่มีการบันทึกอย่างเป็น กิจจะลักษณะ ท้ังสุนทรภู่มีผลงานเขียนอยู่มาก หากเป็นคนลุ่มหลงในสุราคงไม่มีเวลาไปเขียน หนังสือเปน็ แน่ สุนทรภู่มักเปรียบการเมาเหล้ากับการเมารัก ชีวิตรักของสุนทรภู่ดูจะไม่สมหวัง เท่าที่ควร หลังจากแยกทางกับแม่จัน สุนทรภู่ได้ภรรยาคนที่สองชื่อแม่นิ่ม นอกจากนี้แล้ว ยังปรากฏชื่อหญิงสาวมากหน้าหลายตาที่สุนทรภู่พรรณนาถึง เม่ือเดินทางไปถึงหย่อมย่าน มีชอ่ื เสียงคล้องจองกบั หญิงสาวเหล่านั้น นักวิจารณ์หลายคนจึงบรรยายลกั ษณะนิสัยของสนุ ทรภู่ ว่าเป็นคนเจ้าชู้ และบ้างยังว่าความเจ้าชู้นี้เองที่ทาให้ต้องหย่าร้างกับแม่จัน ความข้อนี้เป็นจริง เพียงไรไมป่ รากฏ
กลุ่มสาระการเรยี นรู้ภาษาไทย โรงเรยี นศรวี ชิ ยั วทิ ยา ประวัตขิ องสุนทรภู่ (ตอ่ ) ทว่าสุนทรภู่เองเคยปรารภถึงการพรรณนาถึงหญิงสาวในบทประพันธ์ของตนว่า เป็นไปเพื่อใหไ้ ด้อรรถรสในงานประพันธเ์ ท่าน้ัน อยา่ งไรกด็ ี การบรรยายความโศกเศรา้ และอาภัพ ในความรักของสุนทรภู่ปรากฏอยู่ในงานเขียนนิราศของท่านแทบทุกเร่ือง สตรีในดวงใจที่ท่าน ราพนั ถงึ อยเู่ สมอก็คอื แม่จัน ซ่ึงเป็นรักคร้ังแรกที่คงไม่อาจลืมเลือนได้ แต่น่าจะมีความรักใคร่กับ หญิงอืน่ อยบู่ ้างประปราย ในนิราศพระประธม ซึ่งท่านประพนั ธ์ไวเ้ มือ่ มีอายกุ ว่า 60 ปีแล้ว สุนทร ภไู่ ด้อธิษฐานไม่ขอพบกบั หญิงทิ้งสตั ยอ์ ีกต่อไป อุปนิสัยสาคัญอีกประการหนึ่งของสุนทรภู่คือ มีความอหังการ์ และมั่นใจใน ความสามารถของตนเป็นอยา่ งสงู ความอหังการ์ของสุนทรภู่แสดงออกมาอย่างชัดเจนอยู่ในงาน เขียนหลายชดุ และถือเปน็ วรรคทองของสุนทรภู่ด้วย เช่น อยา่ งหมอ่ มฉนั อันทีด่ ีและชัว่ ถึงลับตัวแต่ก็ชอ่ื เขาลือฉาว เป็นอาลกั ษณ์นกั เลงทาเพลงยาว เขมรลาวลอื เลื่องถึงเมืองนคร หรืออีกบทหนึ่งคือ หนึ่งขอฝากปากคาทาหนังสอื ให้สบื ชื่อชวั่ ฟา้ สธุ าสถาน สุนทราอาลกั ษณ์เจ้าจักรพาฬ พระทรงสารศรีเศวตเกศกญุ ชร เร่ืองความอหังการ์ของสุนทรภู่นี้ เล่ากันว่าในบางคราวสุนทรภู่ขอแก้บทพระนิพนธ์ ของกรมหมืน่ เจษฎาบดินทร์ตอ่ หน้าพระที่นัง่ โดยไมม่ ีการไวห้ น้า การแก้กลอนหน้าพระที่นั่งนี้อาจ เป็นเหตุหนึ่งที่ทาให้สุนทรภลู่ ่วงเกินต่อกรมหม่ืนเจษฎาบดินทร์โดยไม่ได้ต้ังใจ และอาจเป็นสาเหตุ หนึง่ ที่ทาให้สนุ ทรภตู่ ดั สินใจออกบวชหลงั สิน้ แผ่นดินรชั กาลที่ 2 แล้วกเ็ ปน็ ได้
กลมุ่ สาระการเรยี นร้ภู าษาไทย โรงเรยี นศรีวชิ ยั วิทยา ผลงานของสุนทรภู่ งานประพันธ์วรรณคดีในยุคก่อนหน้าสุนทรภู่ คือยุคอยุธยาตอนปลาย ยังเป็น วรรณกรรมสาหรบั ชนชั้นสูง ได้แก่ ราชสานักและขุนนาง เป็นวรรณกรรมที่สร้างข้ึนเพ่ือการอ่าน และเพอื่ ความรู้หรอื พธิ กี าร เช่น กาพยม์ หาชาติ หรือ พระมาลัยคาหลวง ทว่างานของสนุ ทรภเู่ ปน็ การปฏิวัติการสร้างวรรณกรรมแห่งยุครัตนโกสินทร์ คือเป็นวรรณกรรมสาหรับคนทั่วไป เปน็ วรรณกรรมสาหรบั การฟังและความบนั เทงิ เห็นได้จากงานเขยี นนริ าศเร่อื งแรกคือ นิราศเมอื ง แกลง มที ี่ระบุไว้ในตอนท้ายของนิราศว่า แต่งมาฝากแม่จัน รวมถึงใน นิราศพระบาท และ นิราศ ภูเขาทอง ซ่ึงมีถ้อยคาสื่อสารกับผู้อ่านอย่างชัดเจน วรรณกรรมเหล่านี้ไม่ใช่วรรณกรรมสาหรับ การศกึ ษา และไม่ใช่สาหรับพิธกี าร สาหรบั วรรณกรรมที่สร้างข้ึนโดยหน้าที่ตามที่ได้รับพระบรมราชโองการ มีปรากฏถึง ปจั จบุ นั ได้แก่ เสภาเร่อื งขุนช้างขนุ แผน ตอน กาเนิดพลายงาม ในสมัยรัชกาลที่ 2 และ เสภาพระ ราชพงศาวดาร ในสมัยรัชกาลที่ 4 ส่วนที่แต่งขึ้นเพ่ือถวายแด่องค์อุปถัมภ์ ได้แก่ สิงหไตรภพ เพลงยาวถวายโอวาท สวัสดิรกั ษา บทเห่กล่อมพระบรรทม และ บทละครเรื่อง อภัยนุราช งานประพันธ์ของสุนทรภู่เกือบทั้งหมดเป็นกลอนสุภาพ ยกเว้น พระไชยสุริยา ทีป่ ระพนั ธ์เปน็ กาพย์ และ นริ าศสุพรรณ ที่ประพันธเ์ ปน็ โคลง ผลงานส่วนใหญ่ของสุนทรภู่เกิดขึ้น ในขณะตกยาก คือเม่ือออกบวชเป็นภิกษุและเดินทางจาริกไปท่ัวประเทศ สุนทรภู่น่าจะได้บันทึก การเดินทางของตนเอาไว้เปน็ นิราศต่าง ๆ จานวนมาก แต่หลงเหลือปรากฏมาถึงปัจจุบันเพียง 9 เร่ืองเท่านั้น เพราะงานเขียนส่วนใหญ่ของสุนทรภู่ถูกปลวกทาลายไปเสียเกือบหมดเมื่อคร้ังจา พรรษาอยทู่ ีว่ ดั เทพธิดาราม
กลมุ่ สาระการเรียนร้ภู าษาไทย โรงเรยี นศรวี ิชัยวิทยา ผลงานของสนุ ทรภู่ (ตอ่ ) งานประพันธ์ของสุนทรภู่เท่าท่ีมีการค้นพบในปัจจุบันมีปรากฏอยู่เพียงจานวน หน่ึง และสูญหายไปอีกเป็นจานวนมาก ถึงกระนั้นตามจานวนเท่าท่ีค้นพบก็ถือว่ามีปริมาณ คอ่ นข้างมาก เรียกได้ว่า สุนทรภู่เป็น “นักแต่งกลอน” ที่สามารถแต่งกลอนได้รวดเร็วหาตัว จบั ยาก ผลงานของสุนทรภู่เทา่ ที่ค้นพบในปจั จุบนั มีดังตอ่ ไปนี้ ผลงานสุนทรภู่ทั้งหมด - นิราศพระบาท - นิราศภูเขาทอง นิราศ 9 เรื่อง ได้แก่ - นิราศวดั เจ้าฟ้า - นิราศอิเหนา - นิราศเมืองแกลง - นิราศพระประธม - นิราศเมอื งเพชร - นิราศสุพรรณ - ราพันพิลาป บทละคร 1 เรือ่ ง ได้แก่ - อภยั นุราช สภุ าษติ 3 เรื่อง ได้แก่ - สวสั ดริ กั ษา - เพลงยาวถวายโอวาท - สุภาษิตสอนหญิง
กลมุ่ สาระการเรยี นร้ภู าษาไทย โรงเรียนศรวี ชิ ยั วทิ ยา ผลงานของสนุ ทรภู่ (ตอ่ ) บทเสภา 2 เรื่อง ได้แก่ - ขุนช้างขนุ แผน ตอนกาเนิดพลายงาม - เสภาพระราชพงศาวดาร นิทานกลอน 5 เรือ่ ง ได้แก่ - โคบตุ ร - พระอภยั มณี - พระไชยสรุ ยิ า - ลกั ษณวงศ์ - สิงหไกรภพ บทเห่กลอ่ มพระบรรทม 4 เรือ่ ง ได้แก่ - เห่เรอ่ื งพระอภัยมณี - เห่เรอ่ื งโคบุตร - เห่เร่อื งจบั ระบา - เห่เร่อื งกากี ผลงานสุนทรภู่ท่โี ดดเดน่ คอื “พระอภยั มณ”ี บทกลอนนิทานเร่ืองนี้ได้รับการยกย่องครั้งแรกจากวรรณคดีสโมสร ว่าเป็นสุดยอด วรรณคดีไทยประเภทกลอนนิทาน และเร่ืองนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ และใน ปี พ.ศ. 2529 สนุ ทรภู่ได้รบั การยกยอ่ งจากยเู นสโกใหเ้ ปน็ บคุ คลสาคัญของโลกด้านวรรณกรรม ความโดดเด่นของ “พระอภัยมณี” แสดงให้เห็นว่าสุนทรภู่เป็นผู้ที่มีความสนใจในเทคโนโลยีและ นวัตกรรมสมัยใหม่จากชาวต่างชาติที่เข้ามาเผยแพร่ในพระนครในสมัยนั้น คาดว่าสุนทรภู่จะพูด ภาษาองั กฤษได้ และได้แลกเปลี่ยนความรู้กับชาวต่างชาติ ดังสังเกตเห็นได้จากตัวละครผู้หญิงที่ ข้นึ มาเปน็ ผนู้ า และมีสิทธิต์ ดั สินใจ แตกต่างจากสตรีไทยในยคุ นั้น
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรยี นศรวี ิชัยวทิ ยา เกยี รตคิ ุณและอนสุ รณ์ บุคคลสาคัญของโลก (ด้านวรรณกรรม) ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบวันเกิด 200 ปีของสุนทรภู่ องค์การยูเนสโกได้ ประกาศให้สุนทรภู่ เป็นบุคคลสาคัญของโลกทางด้านวรรณกรรม นับเป็นชาวไทยคนที่ 5 และ เป็นสามญั ชนชาวไทยคนแรกทีไ่ ดร้ บั เกียรตนิ ี้ ในปีนั้น สมาคมภาษาและหนงั สือแหง่ ประเทศไทยใน พระบรมราชูปถัมภ์จึงได้จัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ “อนุสรณ์สุนทรภู่ 200 ปี” และมีการจัดตั้ง สถาบนั สุนทรภู่ข้ึนเพ่ือส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแพร่ชีวิตและผลงานของสุนทรภู่ให้เป็นที่ รจู้ กั กันอย่างกว้างขวางมากยง่ิ ขนึ้ อนุสาวรีย์สนุ ทรภู่ จ.ระยอง อนุสาวรีย์สุนทรภู่แห่งแรก สร้างข้ึนที่ ต.กร่า อ.แกลง จ.ระยอง ซ่ึงเป็นบ้านเกิดของ ท่านบิดาของสุนทรภู่ โดยวางศิลาฤกษ์เม่ือวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2498 อันเป็นปีที่ครบรอบ 100 ปีการถึงแกอ่ นิจกรรมของสุนทรภู่ และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเม่ือวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ภายในอนุสาวรีย์มีหนุ่ ป้นั ของสุนทรภู่ และตวั ละครในวรรณคดีเรื่องเอกของท่านคือ พระอภัยมณี ที่ด้านหน้าอนุสาวรีย์มี หมุดกวี หมุดที่ 24 ปักอยู่ ยังมีอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่จังหวัด อื่น ๆ อีก ได้แก่ ที่ท่าน้าหลังวัดพลับพลาชัย ตาบลคลองกระแชง อาเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัด เพชรบรุ ี ซง่ึ เป็นจุดทสี่ นุ ทรภู่ไดเ้ คยมาตามนิราศเมอื งเพชร อันเปน็ นิราศเร่อื งสุดท้ายของท่าน และ เชื่อวา่ เพชรบุรีเป็นบ้านเกิดของมารดาของท่านด้วย อนุสาวรีย์อีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ที่วัดศรีสุดาราม เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เชื่อว่าท่านได้เล่าเรียนเขียนอ่านเม่ือวัยเยาว์ที่นี่ นอกจากนี้มีรูปป้ันหุ่นข้ีผ้ึง สุนทรภู่ ตลอดจนหนุ่ ขีผ้ ้ึงในวรรณคดีเรอ่ื ง พระอภยั มณี จดั แสดงที่พพิ ธิ ภัณฑ์หุ่นขี้ผ้ึงไทย จังหวัด นครปฐม
กลุ่มสาระการเรยี นรู้ภาษาไทย โรงเรียนศรีวิชัยวทิ ยา เกยี รติคุณและอนสุ รณ์ (ต่อ) พิพิธภัณฑ์ กุฏิสุนทรภู่ หรือพพิ ธิ ภณั ฑ์สนุ ทรภู่ ต้ังอยู่ทีว่ ดั เทพธิดาราม ถ.มหาไชย กรุงเทพฯ เป็น อาคารซึ่งปรับปรุงจากกุฏิที่สุนทรภู่เคยอาศัยอยู่เม่ือครั้งจาพรรษาอยู่ที่นี่ ปัจจุบันเป็นที่ต้ังของ สมาคมนกั กลอนแห่งประเทศไทย และมีการจัดกจิ กรรมวนั สุนทรภู่เป็นประจาทุกปี วันสุนทรภู่ หลังจากองค์การยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้สุนทรภู่เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทาง วรรณกรรมระดับโลกเม่ือปี พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้จัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ข้ึน และกาหนดให้วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็น วันสุนทรภู่ นับแต่นั้นทุก ๆ ปีเม่ือถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจัดงานราลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ ต่าง ๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ วัดเทพธิดาราม และที่จังหวัดระยอง (ซึ่งมักจัดพร้อมงาน เทศกาลผลไม้จังหวัดระยอง) รวมถึงการประกวดแต่งกลอน ประกวดคาขวัญ และการจัด นิทรรศการเกี่ยวกับสนุ ทรภู่ในโรงเรียนต่าง ๆ ท่วั ประเทศ
กล่มุ สาระการเรยี นรู้ภาษาไทย โรงเรียนศรีวชิ ยั วทิ ยา รับชมข้อมูลเพมิ่ เติม ในรปู แบบวีดิทัศน์
Search
Read the Text Version
- 1 - 18
Pages: