Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เครื่องมือวัดผล

เครื่องมือวัดผล

Published by paiboon.du65, 2023-06-14 14:38:53

Description: วิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หัวข้อเรื่อง เครื่องมือวัดผล
.........เมื่อต้องการที่จะทราบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือไม่ เพียงใดจําเป็นต้องมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ในอดีตการวัดผล ประเมินผลส่วนใหญ่ให้ความสําคัญกับการใช้ข้อสอบ ซึ่งไม่สามารถสนองเจตนารมณ์การเรียนการ สอนที่เน้นให้ผู้เรียนคิด ลงมือปฏิบัติด้วยกระบวนการหลากหลายเพื่อสร้างองค์ความรู้ ดังนั้นผู้สอน จึงต้องตระหนักว่าการวัดผลประเมินผลจะต้องวัดทั้งความรู้ในเนื้อหาวิชาหรือความสามารถทาง สติปัญญา ควบคู่ไปกับความสามารถด้านอื่นๆซึ่งได้แก่ด้านทักษะ เช่น ความสามารถในการ ปฏิบัติงาน ด้านจิตลักษณะ เช่น เจตคติ ค่านิยมและลักษณะนิสัยความรับผิดชอบ ความเอาใจใส่ ความซื่อสัตย์สุจริต ฯลฯ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สําคัญมากที่จะทําให้บุคคลประสบความสําเร็จในการ ทํางาน ดังนั้นการวัดผลประเมินผลการเรียนการสอนที่สมบูรณ์จึงต้องครอบคลุมพฤติกรรมทาง การศึกษาทั้ง 3 ด้าในตัวผู้เรียนคือด้านพุทธิพิสัย (Cognitive domain) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor domain) และด้านจิตพิสัย (Affective donmain) (Bloom, 1956)

Keywords: เครื่องมือวัดผล

Search

Read the Text Version

จากภาพที่1 ในห้องเรียนมีผู้เรียนทั้งหมด 10 คน เป็นนักเรียนชาย 5 คน และ นักเรียนหญิง 5 คน โดยนักเรียนชายหมายเลข 1 จะเป็นผู้ที่ได้รับการเลือกมากที่สุด (Star) นักเรียนชายหมายเลข 5 และนักเรียนหญิงหมายเลข 6 จะแยกออกเป็นกลุ่มเล็ก (รายคู่) ส่วนนักเรียนหญิงหมายเลข 10 จะ แยกตนเองจากกลุ่มเพื่อน(Isolate) ที่อาจจะ ต้องนําไปศึกษาเป็นรายกรณี 5. การหาค่าดัชนีสังคมมิติ (Sociometriv Index ) การหาค่าดัชนีสังคมมิติ เป็นการหาค่าที่ใช้เสริมรายละเอียดของความสัมพันธ์ที่เกิด ขึ้น (ผ่องพรรณตรัยมงคลกูล,2543 : 157) เมื่อกําหนดให้ CI เป็นดัชนีระบุระดับการ เป็นศูนย์กลางของการเลือก (Center of Choice) จะคํานวณค่า CI ได้จากสูตรคํานวณ เมื่อ CI เป็นดัชนีระบุระดับการเป็นศูนย์กลางของการเลือก โดยมีเกณฑ์การพิจารณา ค่า CI ถ้าค่า CI มีค่าเข้าใกล้ 1 แสดงว่าบุคคลนั้นเป็นศูนย์กลางของ การเลือก แต่ถ้ามีค่า เป็นลบ แสดงว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ที่ได้รับการปฏิเสธจากสมาชิกกลุ่ม 6. วิธีการที่ใช้สนับสนุนวิธีการสังคมมิติ 6.1 การสังเกตของครูผู้สอน ในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น การ สังเกตของครูผู้สอนจะทําให้ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์เบื้องต้นระหว่างผู้เรียนว่า เป็นอย่างไร 6.2 การรายงานตนเอง เป็นข้อมูลที่ได้จากการกําหนดให้ผู้เรียนได้เขียนบรรยายเพื่อ สะท้อน ความคิดเห็นและเจตคติของตนเองที่มีต่อเพื่อน ๆ 6.3 การศึกษาองค์ประกอบของกลุ่ม การทําความรู้จักหรือคุ้นเคยกับผู้เรียนทั้งกลุ่ม ทั้ง ทางสังคมหรือสติปัญญา จะช่วยทําให้เห็นภาพรวมของความสัมพันธ์ของสังคมใน กลุ่มผู้เรียนได้ มากยิ่งขึ้น 6.4 เทคนิคใครเอ่ย เป็นเทคนิคการวัดพัฒนาการทางสังคมที่ใช้คําถามเหมือนทาย ปริศนา โดยให้ผู้เรียนระบุบุคคลในคําถามว่าหมายถึงผู้ใด อาทิ ใครเอ่ยที่มีอารมณ์ดีที่สุด หรือใครเอ่ยที่ขยันที่สุด เป็นต้น เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 51 จาก 168

7. ประโยชน์ของสังคมมิติในการจัดทําสังคมมิติ มีประโยชน์ ดังนี้ 7.1 ทําให้ครูผู้สอนเห็นภาพความสัมพันธ์ของผู้เรียนได้ชัดเจนที่จะนํามาใช้ในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา โดยเฉพาะในการแบ่งกลุ่มย่อยทํากิจกรรมร่วมกัน 7.2 ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เรียนที่มีปัญหาในการปรับตัวให้สอดคล้องกับเพื่อน ๆ ได้ อย่างมีความสุข 7.3 เป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมพัฒนาความรู้สึก และสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนที่จะก่อให้เกิดวิธีการของผู้เรียนที่จะสามารถนําไปใช้ในการอยู่ร่วมกันใน สังคมอย่างมี ความสุข 8. ข้อจํากัดของสังคมมิติในการจัดทําสังคมมิติ มีข้อจํากัดดังนี้ (McKerman, 1996 : 159) 8.1 ไม่เหมาะสมกับเด็กเล็ก เพราะข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เชื่อถือไม่ ได้มาก 8.2 ข้อมูลไม่ระบุเหตุผลการเลือกไม่เลือก 8.3 ศึกษาได้เฉพาะสถานการณ์ที่กําหนดขึ้น ไม่อาจศึกษาได้ทุกสถานการณ์เพราะจะ มีข้อมูลมากและวิเคราะห์ได้ยาก 8.4 การใช้สังคมมิติแต่ละครั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการแสดงความสัมพันธ์ที่ไม่ ซับซ้อน ควรจะมีสมาชิกของกลุ่มระหว่าง 10-50 คน มิฉะนั้นจะทําให้การนําข้อมูลที่ได้ จากสังคมมิติ มาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 52 จาก 168

การศึกษารายกรณี การศึกษารายกรณี (สมชาย วรกิจเกษมสกุล. 2557 : 91-98) ในการวัดพฤติกรรม ส่วนบุคคล/กลุ่มของผู้เรียนนั้น การใช้การศึกษารายกรณี เป็นวิธีการ ในการศึกษาเฉพาะ บุคคลหรือกลุ่มแบบเจาะลึกเฉพาะกรณี ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนจะได้รับทราบข้อมูล เฉพาะ บุคคล หรือกลุ่มของผู้เรียนอย่างลึกซึ้ง ที่จะสามารถนําไปใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไข ปรับปรุง พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป มีรายละเอียดดังนี้ 1. ความหมายของการศึกษารายกรณี การศึกษารายกรณี (Case Study) เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นกรณีใดกรณีหนึ่งอย่าง ละเอียด ลึกซึ้งเพื่อให้ได้คําตอบที่จะอธิบายได้ว่า เพราะเหตุใดจึงต้องเกิดปรากฏการณ์ อย่างนั้น รวมทั้งเป็นการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะของหน่วยใดหน่วยหนึ่ง อาทิ ผู้เรียนคน หนึ่ง หรือผู้เรียนกลุ่มหนึ่ง หรือผู้เรียนห้องหนึ่งเป็นต้น 2. วัตถุประสงค์ของการศึกษารายกรณี 2.1 ทําให้ครูผู้สอนเข้าใจผู้เรียนที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างละเอียดลึกซึ้ง เพื่อหา ทางแก้ไขหรือพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2.2 นําผลการศึกษามาพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะผลการศึกษามีความชัดเจน และเชื่อถือได้ 3. ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนรายบุคคล 3.1.ศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้เรียน 3.2.กําหนดหลักสูตร โดยถือประสบการณ์ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 3.3.กําหนดจุดมุ่งหมายโดยยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลและมุ่งให้ผู้เรียนก้าว ตามความสามารถ ความสนใจ และความพร้อมของตนเอง 3.4.กําหนดเนื้อหาและประสบการณ์ โดยนําหลักสูตรมาแบ่งเนื้อหาเป็นตอน บท หน่วย และกําหนดความคิดรวบยอดให้เด่นชัด 3.5.กําหนดแผนการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้ใช้ดําเนินการได้ถูกต้อง 3.6.กําหนดวิธีการเรียนการสอน รวมทั้งสื่อและกิจกรรม 3.7.การประเมินความก้าวหน้า กําหนดแนวการประเมินผลไว้ให้เรียบร้อย ทั้งก่อน เรียนและหลังเรียน ตลอดจนการรายงานความก้าวหน้าในการเรียนไว้อย่างชัดเจน เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 53 จาก 168

4. เกณฑ์ในการพิจารณาใช้การศึกษารายกรณี การศึกษารายกรณีจะนํามาใช้เมื่อมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้เรียนคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน และถ้าให้เกิดขึ้นต่อไปจะเป็นปัญหาในระยะ ยาว หรือแพร่ขยาย ไปสู่ผู้เรียนอื่น ๆ ครูผู้สอนควรร่วมมือกันแสวงหาวิธีการแก้ไขที่มี ความเฉพาะเจาะจงในแต่ละกรณีที่เกิดขึ้น 5. เทคนิคการศึกษารายกรณี ในการศึกษารายกรณีเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อผู้เรียนหรือกลุ่มผู้เรียนในพฤติกรรมที่ เกิดขึ้นอย่างชัดเจน จะต้องมีเทคนิคการศึกษากรณี ดังนี้ 5.1 การสังเกต เป็นวิธีการศึกษาที่เข้าถึงแหล่งข้อมูลโดยตรง ที่ครูผู้สอนได้จากการ สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ที่เรียกว่าการสังเกตแบบมีส่วนร่วม กล่าวคือ เป็นการสังเกตพฤติกรรมไปพร้อม ๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5.2 การสัมภาษณ์ เป็นวิธีการสนทนาที่ครูผู้สอนใช้กับผู้เรียนที่เกี่ยวกับความรู้สึก ความคิด ที่ใช้การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แต่จะได้รับข้อมูลตามจุดประสงค์ที่กํา หนดไว้อย่างชัดเจน เนื่องจากครูผู้สอนเป็นผู้ที่ใกล้ชิด และรับทราบข้อมูลเบื้องต้นของผู้ เรียนมากที่สุด 5.3 การฉายภาพความคิด เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึกที่แฝงเร้นในใจ ของ ผู้เรียนที่จะต้องกําหนดสิ่งเร้าเพื่อให้ผู้เรียนได้สะท้อนความรู้สึกนั้น ๆ จําแนกได้ดังนี้ 5.3.1 การฉายภาพความคิดผ่านภาพที่กําหนดให้ อาทิ ภาพครอบครัวที่อบอุ่น หรือ ภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นต้น 5.3.2 การฉายภาพความคิดผ่านการเขียนในประเด็นที่กําหนดให้อาทิ ฉันรู้สึก กังวลใจ เมื่อ.......หรือ ในการทํางานกลุ่ม ฉันจะเป็น...........เป็นต้น เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 54 จาก 168

5.4 ผลงานของผู้เรียน เป็นการพิจารณาจากการจัดทํา เก็บรวบรวมผลงาน และประเมิน ตนเองของผู้เรียนที่จะแสดงความรู้สึก ความคิดของผู้เรียนตามสภาพจริงอย่างชัดเจน ที่จะ สามารถใช้ตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูลของผู้เรียนกับข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ 5.5 การบันทึกส่วนตัว เป็นการกําหนดของครูผู้สอนที่ให้ผู้เรียนได้จดบันทึกส่วนตัวเป็น รายวันเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อนํามาสังเคราะห์ความชอบหรือไม่ชอบ ความต้องการ หรือ เกิดปัญหาอะไรต่อผู้เรียนคนนั้น ๆ ข้อดี -เรียนตามความสามารถของแต่ละคน -เน้นความแตกต่างของผู้เรียน -ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนมากกว่าการเรียนปกติ -ครูผู้สอนมีเวลาทํางานและให้ความสนใจกับผู้เรียนเป็รายบุคคลได้มากขึ้น ข้อเสีย -ต้องมีวินัยในตนเอง -ใช้เวลามาก -ต้องมีความรับผิดชอบ 6. ทฤษฎีการเรียนการสอนรายบุคคล การจัดการเรียนการสอนรายบุคคลมุ่งสอนผู้เรียนตามความแตกต่างโดยคํานึงถึง ความสามารถ ความสนใจ ความพร้อมและความถนัด ทฤษฎีที่นํามาใช้ในการจัดการเรียน การสอน รายบุคคล คือ ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้แก่ 6.1. ความแตกต่างในด้านความสามารถ (Ability Difference) 6.2. ความแตกต่างในด้านสติปัญญา (Intelligent Difference) 6.3. ความแตกต่างในด้านความต้องการ (Need Difference) 6.4. ความแตกต่างในด้านความสนใจ (Interest Difference) 6.5. ความแตกต่างในด้านร่างกาย (Physical Difference) 6.6. ความแตกต่างในด้านอารมณ์ (Emotional Difference) 6.7. ความแตกต่างในด้านสังคม (Social Difference) เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 55 จาก 168

7. การคัดเลือกนักเรียนเพื่อทําการศึกษารายกรณี เนื่องจากครูแนะแนวแต่ละคนต้องรับผิดชอบดูแลนักเรียนเป็นจํานวนมากจึงไม่ สามารถที่จะทําการศึกษารายกรณีแก่นักเรียนได้ครบทุกคน ดังนั้นครูจึงควรพิจารณา จากนักเรียนที่มีลักษณะต่าง ๆ (นิรันดร์ จุลทรัพย์, 2539: 210) ดังนี้ 7.1. นักเรียนที่กําลังประสบปัญหาและต้องการความช่วยเหลือพิเศษหรืออย่างรีบ ด่วน เช่น 7.1.1 ปัญหาด้านการเรียน 7.1.2 ปัญหาทางด้านอารมณ์ 7.1.3 ปัญหาทางด้านความประพฤติ บุคลิกภาพและด้านสังคม 7.2 นักเรียนที่มีความสามารถเฉพาะตัวสูง หรือมีความสามารถพิเศษอย่างใด อย่างหนึ่ง 8. การเขียนรายงานการศึกษารายกรณี ในการเขียนรายงานการศึกษารายกรณี ควรเขียนให้มีรายละเอียดมากพอที่จะช่วย ให้เข้าใจได้เป็นอย่างดี ซึ่งการเขียนนั้นไม่มีแบบแผนที่ตายตัวอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง ตามลักษณะของปัญหาทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ศึกษา ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไป ควร ประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ที่สําคัญ (นิรันดร์ จุลทรัพย์, 2539: 213) ดังนี้ (1) ชื่อ – สกุลผู้รับการศึกษา (2) สาเหตุที่ศึกษา (3) วันเริ่มต้นและสิ้นสุดการศึกษา รวมระยะเวลาที่ใช้ศึกษา (4) ลักษณะของปัญหาที่สําคัญ/ลักษณะเด่นที่สําคัญ (5) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับการศึกษา (5.1) ลักษณะทั่วไป (5.2) ประวัติส่วนตัว (5.3) ประวัติครอบครัว (5.4) ประวัติทางด้านการศึกษาและผลการเรียน (5.5) ประวัติสุขภาพ (5.6) ประวัติด้านสังคม (5.7) ประสบการณ์การทํางานและงานอดิเรก (5.8) ความใฝ่ฝันในอนาคต (5.9) เจตคติที่มีต่อตนเอง (5.10) เจตคติที่มีต่อครอบครัว (5.11) เจตคติที่มีต่อสถานศึกษา (5.12) เจตคติที่มีต่อสังคม เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 56 จาก 168

(6) เทคนิค เครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีกี่อย่าง อะไรบ้าง (7) สรุปข้อมูลที่ได้จากการรวมข้อมูลด้วยเทคนิค เครื่องมือหรือวิธีการต่าง ๆ พร้อมทั้ง ตีความหมายจากข้อมูล (8) การสรุปผลและข้อเสนอแนะ (9) ภาคผนวก (แนบเทคนิค เครื่องมือ หรือวิธีการที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลพร้อมทั้ง เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการศึกษา) 9. ตัวอย่างการเขียนรายงานการศึกษารายกรณี ตัวอย่างการเขียนรายงานการศึกษารายกรณี (นิรันดร์ จุลทรัพย์, 2539: 213) มี ดังนี้ ตัวอย่างการเขียนรายงานการศึกษารายกรณี (สําหรับผู้ที่กําลังประสบปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือ) ชื่อผู้รับการศึกษา นายสันติ บํารุงจิต (นามสมมุติ) สาเหตุที่ศึกษา เนื่องจากนายสันติ ชอบมาเล่าปัญหาต่าง ๆ ทางครอบครัวให้ผู้ศึกษาฟังเสมอ เวลา เรียนชอบ นั่งเหมอลอย ไม่สนใจเรียน ผลการเรียนไม่ดี ชอบบ่นว่า เบื่อบ้าน อยากไป อยู่หอพัก ผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะศึกษาเพื่อช่วยแก้ปัญหาเท่าที่คิดว่าจะช่วยได้ วันเริ่มต้นและระยะเวลาที่ศึกษา วันที่ 15 มิถุนายน ถึงวันที่ 30 กันยายน 2537 รวมเวลา 3 เดือน 15 วัน ลักษณะของปัญหาที่สําคัญ จากการสังเกตและพูดคุย ผู้ศึกษาตั้งสมมุติฐานว่า สันติมีปัญหาสําคัญ ดังนี้ 1) ปัญหาทางครอบครัว เพราะสันติมักจะพูดว่าเบื่อบ้านไม่อยากอยู่บ้าน 2) ปัญหาด้านการเรียน เพราะผลการเรียนไม่ดีได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ํา เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 57 จาก 168

ข้อมูลที่ได้จากผู้รับการศึกษา 1) ลักษณะทั่วไป ชายไทย ผิวค่อนข้างคล้ํา ผมหยิก นัยน์ตาสีดํา 2 ชั้น จมูกค่อนข้างโด่ง ใบหน้ารูป เหลี่ยม ผมตัดสั้น ส่วนแว่นตา(สายตาสั้น) ท่าทางสุภาพ เคร่งขรึม แต่งกายสะอาด เรียบร้อย พูดค่อนข้างช้า รูปร่างท้วม 2) ประวัติส่วนตัว สันติอายุ 20 ปี เกิดวันที่ 13 มกราคม 2517 ที่ตําบลฉลุง อําเภอเมือง จังหวัดสตูล เป็น นิสิตชั้นปีที่ 2 ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย นับถือ ศาสนาพุทธ ปัจจุบันพักอยู่บ้านเลขที่ 37/1 หมู่บ้านทักษิณเมืองทอง อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 3) ประวัติครอบครัว บิดาชื่อร้อยเอกภาคภูมิ บํารุงจิต อายุ 47 ปี จบปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์ บัณฑิต (วท.บ.) รับราชการทหาร รายได้เดือนละประมาณ 19,000 บาท มารดาชื่อนางสาวิตรี บํารุงจิต อายุ 47 ปี จบปริญญาตรีการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) รับ ราชการครูในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง รายได้เดือนละประมาณ 15,000 บาท ปัจจุบันบิดาและมารดาแยกทางกันอยู่ โดยบิดามีภรรยาใหม่และมีลูกใหม่อีก 3 คน สําหรับพี่น้องร่วมบิดามารดาของสันติทั้งหมด 3 คน โดยสันติเป็นคนกลางและเป็น ลูกชายคนเดียว รายละเอียดสําหรับพี่น้อง มีดังนี้ พี่สาวคนโตชื่อ สุกัญญา บํารุงจิต อายุ 22 ปี กําลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัย เดียวกันกับสันติ ชั้นปีที่4 น้องสาวคนเล็กชื่อ สุนันทา บํารุงจิต อายุ 14 ปี กําลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนที่มารดาสอนอยู่ บุตรทั้งสามคนนี้อยู่กับมารดาทั้งหมดในบ้านสันติมี สมาชิกอยู่ร่วมกันทั้งหมด 6 คนคือ (1) มารดาของสันติ (2) น้าชายอายุ 30 ปี ยังไม่มีครอบครัวจบปริญญาตรีทาง วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตปัจจุบันมีอาชีพเป็นวิศวกร (3) พี่สาว (4) ตัวสันติเอง (5) น้องสาว (6) หลานชายอายุ 9 ปี กําลังเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 4 เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 58 จาก 168

ความสัมพันธ์ของสมาชิกภายในครอบครัวไม่ค่อยราบรื่นเท่าที่ควร มีการทะเลาะ เบาะแว้งกันอยู่เสมอ มารดาเป็นคนขี้บ่น พี่สาวเป็นคนขี้อิจฉาชอบนําเรื่องของสันติไป ฟ้องมารดาเสมอ ๆ ทําให้สันติไม่อยากกลับบ้าน ชอบทํางานอยู่ที่มหาวิทยาลัย กลับ บ้านดึก ๆ แทบทุกวัน สันติได้รับค่าใช้จ่ายเป็นค่าอาหารกลางวัน ค่าเดินทางและค่าอุปกรณ์การเรียน เดือนละ 1,000 บาท โดยเสียค่ารถวันละ 12 บาท สันติบ่นว่าเงินไม่ค่อยพ่อใช้จ่ายต้อง ขอเพิ่มทุกเดือนหรือขอยืมเพื่อนเป็นประจํา แต่จากการสังเกตของผู้ศึกษาพบว่า สันติ ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย สูบบุหรี่ยี่ห้อต่างประเทศบางครั้งก็ดื่มเหล้าเงินจึงไม่พอใช้ 4) ประวัติด้านการศึกษา สันติเริ่มเข้าเรียนชั้นปฐมวัยที่จังหวัดสตูลโดยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียน ประจําตําบลฉลุง แล้วย้ายไปเรียนชั้นประถมปีที่ 5 และประถมปีที่ 6 ที่โรงเรียนอนุ บาลประจําจังหวัดสตูล ต่อมาได้สอบเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา โดยเรียนสายสามัญซึ่งมารดาต้องการ ให้เรียนสายอาชีพมากว่า 5) ประวัติด้านสุขภาพ สันติเป็นคนที่สุขภาพร่างกายแข็งแรงรูปร่างค่อนข้างท้วม ส่วนสูง 165 เซนติเมตร น้ํา หนัก 70กิโลกรัม สายตาสั้น ต้องสวมแว่นตลอดเวลาไม่เคยเจ็บป่วยร้ายแรงใด ๆ 6) ประวัติด้านสังคม สันติเป็นคนเงียบขรึม ใจน้อย โกรธง่ายแต่หายเร็ว ชอบอยู่คนเดียวเงียบ ๆ ชอบทํางาน เป็นกลุ่มแต่ไม่ค่อยช่วยคนอื่นทํา มีเพื่อสนิทน้อยแต่ชอบร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ๆ ชอบ อยู่กับเพื่อน ๆ มากกว่าอยู่กับครอบครัว เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 59 จาก 168

7) การใช้เวลาว่างหรืองานอดิเรก ชอบเล่นกีฬาที่ชอบและถนัดมากที่สุดคือเทเบิลเทนนิส นอกจากนี้ก็มีเปตอง ชอบถ่าย ภาพ ปลูกต้นไม้ 8) ความใฝ่ฝันในอนาคต อยากมีงานทําเพื่อหาเลี้ยงตนเองได้โดยเร็ว ปัจจุบันอยากเป็นนักกีฬาของมหาวิทยาลัย 9) เจตคติที่มีต่อตนเอง สันติคิดว่าตนเองมีความสามารถทางเชาวน์ปัญญาสูง 10) เจตคติที่มีต่อครอบครัว สันติมีเจตคติที่ดีต่อบิดา เขารักบิดามากกว่ามารดา แต่ก็ไม่มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับ บิดามากนักเพราะบิดาและมารดาแยกกันอยู่คนละบ้านและบิดาต้องปฏิบัติราชการต่าง จังหวัด ถ้าเขารู้ว่าบิดาจะไปที่บ้านวันใด เขาก็จะรีบกลับบ้านทันทีไม่ว่าเขาจะมีธุระ อะไรก็ตามแต่ถ้าเขากลับไปไม่พบบิดา เขามักจะแสดงความไม่พอใจออกมาสําหรับ มารดา เขาจะมีความรู้สึกเฉย ๆ เพราะมารดาชอบบ่นตลอดเวลา นอกจากนี้กับบุคคล อื่นในบ้าน เขาจะมีเจตคติไม่ดีต่อพี่สาวเพราะพี่สาวเป็นคนขี้อิจฉา ชอบฟ้องมารดาและ ชอบทะเลาะกับเขาเสมอโดยสรุปสันติมีเจตคติที่ไม่ดีต่อครอบครัว 11) เจตคติที่มีต่อโรงเรียน สันติมีเจตคติที่ดีต่อโรงเรียนเห็นว่าโรงเรียนเป็นแหล่งที่ให้ความรู้ความอบอุ่น ร่มเย็นให้ ความสบายใจ มีเพื่อนเล่น เพื่อนคุยเพื่อนเที่ยวทําให้เกิดความสนุกสนานเฮฮา สบายใจ กว่าอยู่ที่บ้าน 12) เจตคติที่มีต่อสังคม สันติมีเจตคติที่มีต่อสังคมว่า สังคมโดยทั่วไปมีทั้งคนดีและคนไม่ดีอยู่ในสังคมปะปนกัน ไป เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 60 จาก 168

10.เทคนิควิธีการที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เทคนิคและวิธีการที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมี 8 ชนิด คือ (1) การสังเกตและบันทึกการสังเกต (2) การสัมภาษณ์ (3) การเยี่ยมบ้าน (4) อัตชีวประวัติ (5) แบบสอบถาม (6) สังคมมิติ (7) แบบทดสอบ (8) ระเบียนสะสม 11.การสรุปผลและข้อเสนอแนะ จากการศึกษาสันตินับว่าได้ข้อมูลเกี่ยวกับสันติละเอียดพอสมควร จนสามารถ เข้าใจถึงสภาพของปัญหาได้ว่า จากการที่มีครอบครัวแตกแยก โดยบิดามารดาแยกทาง กันแล้ว เด็กอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ไม่ได้รับความรัก ความสนใจเท่าที่ควร ทําให้เด็ก ขาดความรัก ความอบอุ่น และทําให้มีผลกระทบไปยังปัญหาอื่น ๆด้วย เช่น ปัญหาด้าน การเรียน ปัญหาด้านการปรับตัว เป็นต้น ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงได้เสนอแนะแนวทางในการช่วยเหลือผู้รับการศึกษารายนี้ไว้ดังนี้ 1) ข้อเสนอแนะสําหรับผู้รับการศึกษา สันติควรยอมรับสภาพของตนเองและพยายามทําสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะทําได้ การ แยกตัวเองออกจากสังคมไม่ช่วยให้เกิดผลดี กลับยิ่งทําให้ขาดความรักความสนใจมาก ขึ้น การแยกตัวเองออกจากสังคมไม่ช่วยให้เกิดผลดี กลับยิ่งทําให้ขาดความรักความ สนใจมากขึ้น ควรมองคนอื่นในแง่ดีบ้าง เพราะในสังคมมีทั้งคนดีและคนชั่วควรตั้งใจ เรียนให้ดีที่สุด เพื่อจะได้สําเร็จการศึกษาและมีอาชีพเลี้ยงตนเองได้ต่อไป 2) ข้อเสนอแนะสําหรับผู้เกี่ยวข้องกับผู้รับการศึกษา 2.1) ข้อเสนอแนะสําหรับมารดา มารดาความให้ความสนใจแก่สันติบ้าง เช่น ไต่ถามทุกข์สุข ดูแลเอาใจใส่ ไม่ควร เฉยเมยหรือฟังความคิดเห็นจากสันติบ้าง มิใช่ฟังแต่พี่สาวคนโตแต่เพียงฝ่ายเดียว 2.2) ข้อเสนอแนะสําหรับพี่สาว ควรให้ความรัก ความสนใจ ไม่อิจฉาริษยา หรือทําให้เกิดความแตกแยกความ สามัคคี ควรรักใคร่ปรองดองกัน ไม่ควรไปเพิ่มปัญหาให้กับมารดามากขึ้นอีก เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 61 จาก 168

2.3) ข้อเสนอแนะสําหรับอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาควรให้การดูแลกวดขันเป็นที่ปรึกษาและเป็นกันเอง เมื่อสันติมี ปัญหาไปปรึกษาควรช่วยส่งเสริม สนับสนุน และให้การยอมรับในตัวสันติ พยายามส่ง เสริมให้สันติเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อลดความเครียดและหาทางสนับสนุนให้ได้รับทุกการ ศึกษาหรืองานพิเศษทํา เพื่อมีรายได้เป็นค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นการช่วยเหลือ มารดาด้วย 3) ข้อเสนอแนะสําหรับผู้ที่จะศึกษาต่อไป ผู้ที่สนใจจะทําการศึกษารายนี้ต่อไป ควรให้ความเป็นกันเอง ยอมรับและเข้าใจใน ตัวผู้รับการศึกษามาก ๆ ตลอดจนให้ความรัก ความสนใจ ความห่วงใยจะทําให้เขารู้สึก อบอุ่น ศรัทธา และกล้าที่จะระบายความรู้สึกที่แท้จริงออกมา ซึ่งทําให้เกิดความเข้าใจ และช่วยเหลือได้ถูกต้อง 12. ประโยชน์ของการศึกษารายกรณี ในวิธีการศึกษารายกรณี ที่นํามาใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นรายบุคคลเพื่อให้กร แนะแนวนั้นจัดเป็นกลวิธีที่มีประโยชน์ต่อผู้ที่นํามาใช้และบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นอย่าง มากซึ่งจําแนกออกได้ ดังนี้ ประโยชน์ต่อครูหรือผู้แนะแนวที่เป็นผู้ศึกษาโดยตรง 1) ช่วยให้ครูหรือผู้แนะแนวได้ทราบรายละเอียด เกี่ยวกับตัวนักเรียนอย่างกว้าง ขวางทําให้รู้จักและเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์อย่างแท้จริง 2) ช่วยให้ครูและผู้แนะแนวเข้าใจถึงสาเหตุและเงื่อนไขต่างๆ ที่ก่อให้เกิด พฤติกรรมที่เป็นปัญหา ทําให้มองเห็นลู่ทางที่จะช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียนได้ อย่างเหมาะสม 3) ช่วยให้ครูและผู้แนะแนวมีความรู้และมีทักษะในการใช้เครื่องมือและกลวิธี ต่างๆ ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียน และยังช่วยให้เป็นคนที่มีเหตุผล รู้จักเก็บ ข้อมูลอย่างมีระบบ รู้จักแก้ปัญหาโดยใช้ข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้มาประกอบในการ พิจารณาตัดสินใจ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 62 จาก 168

ประโยชน์ต่อนักเรียนที่เป็นผู้ไดรับการศึกษา 1) ช่วยให้นักเรียนได้เกิดความเข้าใจตนเอง ยอมรับความเป็นจริงเกี่ยวกับตัวเองมี การปรับปรุงตนเอง หรือแก้ไขปัญหาของตน เพื่อช่วยให้มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2) ช่วยให้นักเรียนมีกําลังใจและมีความเต็มใจที่จะดําเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความหวัง ประโยชน์ต่อคณะครูและโรงเรียน 1) ช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจนักเรียนของตนดีขึ้น ยินดีให้ความร่วมมือในการช่วย เหลือแก้ไขปัญหาให้นักเรียน 2) ช่วยให้โรงเรียนได้ทราบความเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการ ของตัวเด็ก ทําให้สามารถนําข้อเท็จจริงเหล่านั้นมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมและการใช้บริการด้านต่างๆ แก่นักเรียนได้อย่างเหมาะสม ประโยชน์ต่อผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการศึกษา 1) ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจเด็กของตนดีขึ้น ทําให้สามารถปฏิบัติต่อบุตรได้อย่าง เหมาะสม 2) ช่วยให้ผู้ปกครองเกิดความสบายใจ เพราะตระหนักได้ว่า โรงเรียนมีความตั้งใจ และจริงใจในการป้องกัน ช่วยเหลือ แก้ไขและส่งเสริมพัฒนานักเรียน เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 63 จาก 168

การสื่อสารส่วนบุคคล การสื่อสารส่วนบุคคล (สมชาย วรกิจเกษมสกุล. 2557 : 98-105)ในการวัด พฤติกรรมส่วนบุคคล/กลุ่มของผู้เรียนนั้น การสื่อสารส่วนบุคคล เป็นแหล่งข้อมูล ที่จะ ช่วยให้ครูผู้สอนจะได้รับทราบข้อมูลเฉพาะบุคคล หรือกลุ่มของผู้เรียนอย่างลึกซึ้งที่เกิด ขึ้นจาก การสื่อสารระหว่างนักเรียนด้วยกัน หรือนักเรียนกับครูผู้สอน ที่จะสามารถนําไป ใช้เป็นข้อมูลใน การแก้ไข ปรับปรุงการเรียนรู้/พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพต่อไป มีรายละเอียดดังนี้ 1. ความหมายการประเมินด้วยการสื่อสารส่วนบุคคล การสื่อสารส่วนบุคคล เป็นการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและตอบสนองต่อจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ที่หลากหลาย ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยให้ความสนใจสารสนเทศของผู้เรียนเป็นรายบุคคลและ รายกลุ่ม เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาปรับปรุงการเรียนรู้ให้สามารถ เรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ (บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์,2545 เอมอร จังศิริพร ปกรณ์,2546 : 153-156 ; Jasmine, 1992) 2. ประเภทของการสื่อสารส่วนบุคคล 2.1 การถามตอบในชั้นเรียน เป็นการกําหนดคําถามอย่างเหมาะสมของครูผู้สอน เพื่อถามให้ผู้เรียนได้ตอบในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทําให้เกิดการคิด ไตร่ตรองและการเรียนรู้หรือรับทราบและแก้ไขความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของผู้เรียนให้ มีความถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ ผู้สอนจะต้องรับฟังคําตอบและแปลความหมาย ของคําตอบเหล่านั้น เพื่อสรุปผลแล้วให้ข้อมูล นกลับที่มีประสิทธิภาพ (Rawan and Robles, 1998 อ้างอิงใน พร้อมพรรณ อุดมสิน, 2547: 155) เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 64 จาก 168

ในการถามตอบในชั้นเรียนครูผู้สอนควรจะมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้ 2.1.1 วางแผนคําถามหลัก ๆ ไว้ล่วงหน้าที่มีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของ การเรียนการสอน และความสามารถของผู้เรียน 2.1.2 ใช้คําถามที่สั้น ๆ ชัดเจนที่จะช่วยให้ผู้เรียนให้คําตอบที่ตรงประเด็น 2.1.3 ชักถามความคิดเห็น เหตุผลอย่างหลากหลาย ไม่เฉพาะความจําและข้อ เท็จจริงเท่านั้น 2.1.4 กําหนดคําถามแล้วจึงกําหนดผู้เรียนที่ให้คําตอบ ที่จะทําให้ผู้เรียนทุกคน มีสมาธิในการฟังและสนใจประเด็นคําถาม 2.1.5 ให้ผู้เรียนทั้งที่สมัครใจและไม่สมัครใจเป็นผู้ให้คําตอบ เพื่อเน้นการมีส่วน ร่วมของผู้เรียนทุกคน 2.1.6 ถ้ามีผู้เรียนจํานวนน้อยให้ใช้วิธีการจดจําได้ แต่ถ้าผู้เรียนจํานวนมากควร มีการจดบันทึกข้อมูล ดังแสดงตารางบันทึกข้อมูลในตารางที่ 5 2.1.7 ให้คําชมเชยแก่ผู้เรียนที่ให้คําตอบที่ถูกต้อง และซักถามเพิ่มเติมผู้เรียนที่ ให้คําตอบที่คลาดเคลื่อนเพื่อแก้ไข แต่จะต้องระมัดระวังความรู้สึกของผู้เรียนคนนั้น ๆ 2.1.8 หลังจากกําหนดคําถามแล้วครูผู้สอนจะต้องทิ้งช่วงเวลา 2-3 นาที เพื่อ รอคอยคําตอบ ที่ได้จากการคิดของผู้เรียน 2.1.9 ข้อดี-ข้อจํากัดและข้อเสนอแนะของการถามตอบในชั้นเรียน ดังแสดงใน ตารางที่ 6 เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 65 จาก 168

2.2 การสนทนากับผู้เรียนเป็นการกําหนดนัดหมายระหว่างครูผู้สอนและผู้เรียน ในการสนทนาในประเด็นที่เกี่ยวกับการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจ เกิดพัฒนา ความรู้ ทักษะคุณธรรม เกิดพลังความรับผิดชอบในการประเมินผลความก้าวหน้าของ ตนเอง มีความมุ่งมั่นต่อความสําเร็จ ดังนั้นผู้เรียน และครูผู้สอนจะต้องสนทนากันอย่าง ตรงไปตรงมาตามจุดมุ่งหมายของการสนทนา มีเวลาที่เพียงพอและมีแนวทางในการ ปฏิบัติ ดังนี้ ในการตรวจสอบคุณลักษณะสําคัญของการเรียนการสอน 2.2.2 คําถามที่กําหนดจะต้องมีความเฉพาะเจาะจงสอดคล้องตามจุดมุ่งหมาย 2.2.3 กําหนดคําถามที่ผ่านการพิจารณาและไตร่ตรองไว้ล่วงหน้า หรืออาจให้ผู้ เรียนได้มีส่วนร่วม 2.2.4 จัดเวลาให้เพียงพอในการสนทนาที่สิ้นสุดกระบวนการ 2.2.5 มีการจดบันทึกสรุปผลการสนทนาไว้ใช้เป็นบทเรียน และแนวทางปฏิบัติ ร่วมกันต่อไป ดังแสดงการจดบันทึกผล ดังแสดงในตารางที่ 7 เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 66 จาก 168

2.2.6 ข้อดี-ข้อจํากัดและข้อเสนอแนะของการสนทนากับผู้เรียน ดังแสดงใน ตารางที่ 8 2.3 การอภิปรายในชั้นเรียน เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยน ความคิดความรู้และประสบการณ์ โดยที่ผู้เรียนจะต้องจัดระบบความคิด ให้การโต้แย้ง อย่างมีเหตุผล การใช้ทักษะทางอารมณ์และสังคม เพื่อให้ได้ข้อมูลและสารสนเทศที่ สะท้อนความรู้ ทักษะ และคุณธรรมได้ โดยการอภิปรายในชั้นเรียนที่ดีควรมีการเตรียม/ กําหนดประเด็นไว้ล่วงหน้าที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม มากที่สุด ให้โอกาสแก่ผู้เรียนทุกคน อย่างเท่าเทียมกันในการนําเสนอความคิดเห็น และมีการจดบันทึก ผลการอภิปราย ดัง ตัวอย่างตารางบันทึกผลการอภิปรายในตารางที่ 9 เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 67 จาก 168

โดยมีหลักการในดําเนินการอภิปรายในชั้นเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้ 1) เตรียมคําถามหรือประเด็นการอภิปรายล่วงหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย การเรียนรู้ที่ต้องการ 2) การนําผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเตรียมคําถาม ควรให้มีการคละจํานวนคําถามและ ประเด็นสําคัญในการอภิปราย 3) ใช้รูปแบบการโต้วาที หรือการเรียนเป็นทีม เพื่อเพิ่มจํานวนผู้เกี่ยวข้องโดยตรง และ ให้ความสนใจต่อผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ํา 4) จัดรูปแบบการอภิปราย เพื่อระบุบทบาทของผู้เรียนแต่ละคนว่าทําหน้าที่อะไร เพื่อ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการนําเสนอความคิด/หลักฐานของตนเอง 5) ให้ผู้เรียนทุกคนทั้งที่พูดเก่ง/พูดไม่เก่งมีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการนําเสนอความ สามารถของตนเอง 6) ข้อมูลที่นําไปใช้ประเมินจะต้องมีวิธีการจดบันทึกที่น่าเชื่อถือ 2.4 การจดบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นการสื่อสารในรูปแบบการเรียนของผู้ เรียนโดยกําหนดให้ผู้เรียนได้เขียนบันทึกการเรียนรู้หรือการแก้ปัญหา การบันทึกความดี ที่ครูผู้สอนสามารถ ใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศในการประกอบการประเมินผลทั้งในด้าน ความรู้ ทักษะและคุณธรรม และผู้สอนสามารถเขียนตอบในบันทึกเพื่อช่วยส่งเสริมหรือ สะท้อนพัฒนาการ ทําให้ผู้เรียนสามารถปรับปรุงแก้ไขตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดัง ตัวอย่างแบบจดบันทึกเหตุการณ์ของผู้เรียนดังแสดงในตารางที่ และแบบจดบันทึกการ ทําความดีของผู้เรียนดังแสดงในตารางที่ 10 – 11 เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 68 จาก 168

2.5 การตรวจแบบฝึกหัด เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับครูผู้สอนที่ช่วย ให้ผู้เรียน ทราบว่าตนเองมีข้อผิดพลาดอย่างไร และประเด็นที่ถูกต้องคืออะไร ทําให้ผู้ เรียนสามารถนําไปปรับปรุง การเรียนรู้ได้และก่อให้เกิดนิสัยการทํางาน ความรับผิด ชอบ ความตรงเวลา ความมีระเบียบวินัย ความเรียบร้อย และทักษะการเขียนที่เป็น ข้อมูลย้อนกลับให้ครูผู้สอนได้พิจารณาพัฒนาการของผู้เรียน 2.6 การสอบปากเปล่า เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งที่ครูผู้สอนจะต้องมี การจัดเตรียมคําถามที่ให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นโดยการโต้ตอบด้วยคําพูด แต่จะ ต้องพิจารณาข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นความสามารถด้านเนื้อหาสาระและกระบวนการคิด ออกจากความสามารถในการพูด และมีการจดบันทึกเพื่อนําผลไปพิจารณาประเมินผล เพิ่มเติม ดังแสดงตารางบันทึกการสอบปากเปล่า ดังแสดงใน ตารางที่ 12 เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 69 จาก 168

3. เทคนิคการสื่อสารส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ในการสื่อสารส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ มีเทคนิควิธีการนํามาใช้ดังนี้ (บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์,2545: 71-77) 3.1 เทคนิคการกําหนดคําถามแบบต่าง ๆ มีดังนี้ 3.1.1 การซักถามเฉพาะประเด็น ช่วยให้ได้คําตอบในแนวลึก และผู้เรียนได้ขยาย คําตอบได้ตามที่ต้องการ โดยที่ครูผู้สอนจะต้องรอคอยและให้โอกาสแก่ผู้เรียน 3.1.2 การถามให้ชัดเจน เพื่อให้ได้คําตอบที่ชัดเจนและป้องกันความเข้าใจที่คลาด เคลื่อนจากการคิดใตร่ตรองของผู้เรียน 3.1.3 การถามตอบอย่างถี่ถ้วน ช่วยให้ได้คําตอบในแนวลึกซึ้ง และมีรายละเอียด ที่ครบถ้วนครอบคลุม 3.1.4 การถามในประเด็นใหม่ ๆ ทําให้ได้คําตอบที่แปลกใหม่เพื่อสร้างแนวคิดที่ หลากหลายของผู้เรียนในการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ 3.1.5 การถามเชิงสนับสนุน ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดและความรู้สึกที่ดีต่อการ ประเมินว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และประโยชน์ต่อตนเอง เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 70 จาก 168

3.2 วิธีการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม มีดังนี้ 3.2.1 ลดจํานวนคําถามที่ให้ตอบ \"ใช่\" หรือ \"ไม่ใช่\" ให้น้อยที่สุด แต่ควรเพิ่มคํา ถามที่ซับซ้อนมากขึ้น 3.2.2 เน้นการถามที่ต้องตอบโดยการใช้เหตุผลอย่างหลากหลาย มากกว่าการ จดจํา 3.2.3 รอคอยคําตอบจากผู้เรียน โดยแสดงอาการให้ทราบว่าครูผู้สอนกําลัง รอคําตอบ 3.2.4 พยายามให้ผู้เรียนทั้งห้องเรียนมีส่วนร่วม/มีโอกาสตอบคําถาม 3.2.5 ให้ผู้เรียนมีโอกาสตั้งคําถามหรือซักถามกันเอง 3.2.6 ให้โอกาสแก่ผู้เรียนเป็นผู้นําการอภิปรายและซักถามสิ่งที่ตนเองสงสัย 3.2.7 ให้ผู้เรียนได้เก็บรวบรวมหลักฐาน ร่องรอยการปฏิบัติโดยการจดบันทึก ข้อมูล 3.2.8 ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง และเพื่อน ๆ ประเมินกันเองในระหว่างการ อภิปราย 4. ข้อดีและข้อควรคํานึงในการสื่อสารส่วนบุคคล ในการสื่อสารส่วนบุคคล มีข้อดีและข้อควรคํานึงในการดําเนินการ ดังแสดงใน ตารางที่ 13 เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 71 จาก 168

คะแนนรูบริคส์ 1. ความหมายของรูบริคส์ (Rubrics) รูบริคส์ คือ เครื่องมือในการให้คะแนน (Scoring Tool) ที่มีการระบุเกณฑ์ (Criteria) ประเมินชิ้นงานและคุณภาพ (Quality) ของชิ้นงานในแต่ละเกณฑ์ ตัวอย่าง เกณฑ์การประเมิน ชิ้นงานเขียนได้แก่ จุดประสงค์ การจัดเนื้อหา การให้รายละเอียด การใช้ภาษา เป็นต้น และ คุณภาพของงานเขียนแต่ละเกณฑ์ อาจแบ่งเป็นยอดเยี่ยม จนถึงไม่ดี(ประภาพร ศรีตระกูล. 2549 : 154-158) 2. ทําไมต้องใช้รูบริคส์ (Why Use Rubrics ?) รูบริคส์ มีความเกี่ยวข้องกับครูและนักเรียนด้วยเหตุผลหลายประการดังนี้ 2.1 รูบริคส์ เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ได้กับทั้งการสอนและการประเมิน เราสามารถ ใช้รูบริคส์เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงการปฏิบัติงานของนักเรียนได้ และช่วยให้ครูสามารถ ตั้งความคาดหวังกับการปฏิบัติงานของนักเรียนได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังสามารถ แสดงให้นักเรียนเห็นได้อย่างชัดเจนว่าทําอย่างไร จึงจะปฏิบัติงานได้ตามความคาดหวัง ที่ตั้งไว้ ผลเช่นนี้ช่วยให้มี การพัฒนาหรือปรับปรุงทั้งคุณภาพชิ้นงานและการเรียนรู้ของ นักเรียนควบคู่กันไป ดังนั้นจึงสรุป ได้ว่าการใช้รูบริคส์จะช่วยนิยามคําว่า “คุณภาพ” ให้ ชัดเจนขึ้น อาจมีนักเรียนบางคนไม่ชอบ รูบริคส์ เหตุผลที่พบคือถ้านักเรียนทํางานผิด พลาด ครูผู้สอนสามารถชี้ให้นักเรียนรู้ได้ว่านักเรียน ควรจะทําอย่างไรแทนที่จะทําอย่าง เดิม (Marcus, 1995) 2.2 รูบริคส์ เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นผู้ที่สามารถ ตัดสินคุณภาพชิ้นงานอย่างมีเหตุผล ทั้งงานของตนเองและผู้อื่น นักเรียนจะรู้ข้อผิด พลาดของตนเอง และผู้อื่นการทําเช่นนี้บ่อย ๆ ช่วยให้นักเรียนเกิดความรับผิดชอบใน งานของตนเองมากยิ่งขึ้น เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 72 จาก 168

2.3 รูบริคส์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดจํานวนเวลาที่ครูใช้ในการประเมินผลงานของ นักเรียน ลงได้เพราะโดยปกติครูมักประเมินงานของนักเรียนทีละชิ้น แต่ถ้าใช้รูบริคส์ในการ ประเมินงาน แล้วนักเรียนจะสามารถประเมินงานของตนเองและของเพื่อน ๆ ได้ นอกจาก นี้รูบริคส์ยังช่วยให้ นักเรียนได้ข้อมูลย้อ นกลับเกี่ยวกับจุดเด่น และสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข ในชิ้นงานของตนเองได้อีกด้วย 2.4 ครูชอบใช้รูบริคส์เพราะมีลักษณะยืดหยุ่นที่สามารถที่ครูสอนนักเรียนที่มีความ หลากหลายแตกต่างไปได้อย่างดี ตัวอย่าง ซึ่งมีการให้คะแนนไว้ 4 ระดับ แต่ครูสามารถ ขยายระดับออก ให้มากกว่านี้ได้เพื่อให้สามารถวัดเด็กที่มีปัญญาเลิศและเด็กที่มีปัญหา ทางการเรียนได้ 2.5 รูบริคส์ใช้ได้ง่ายและอธิบายได้ง่ายเช่นกัน การใช้รูบริคส์จะช่วยให้นักเรียนทราบว่า นักเรียนได้เรียนร้อะไร และเมื่อมีการประชุมผู้ปกครอง ครูอาจใช้รูบริคส์อธิบายให้ผู้ ปกครอง เข้าใจได้ง่ายโดยผู้ปกครองจะทราบได้ว่าบุตรของตนต้องทําอย่างไรบ้างจึงจะประ สบผลสําเร็จในการเรียน 3. ประโยชน์ของรูบริคส์ รูบริคส์ มีประโยชน์อย่างมากต่อการประเมิน ทั้งนี้เพราะเหตุผลดังนี้ 3.1 ช่วยให้การคาดหวังของครูที่มีต่อผลงานของนักเรียนบรรลุผลสําเร็จได้ โดย นักเรียนจะเกิดความเข้าใจ และสามารถใช้รูบริคส์ต่อการประเมินและพัฒนาชิ้นงานของตน 3.2 ช่วยให้ครูเกิดความกระจ่างชัดยิ่งขึ้นว่าต้องการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือ พัฒนาการอะไรบ้าง 3.3 ช่วยให้นักเรียนสามารถระบุคุณลักษณะจากงานที่เป็นตัวอย่างได้ โดยใช้รูบริคส์ ตรวจสอบ 3.4 ช่วยให้นักเรียนสามารถควบคุมตนเองในการปฏิบัติงานเพื่อไปสู่ความสําเร็จได้ 3.5 เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของนักเรียนเป็นอย่างดี 3.6 ช่วยให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครอง ผู้สนับสนุน ผู้นิเทศก์ ได้เกิดความเข้า ใจ เกณฑ์ในการตัดสินผลงานนักเรียนที่ครูใช้ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 73 จาก 168

3.7 ช่วยในการให้เหตุผลประกอบการให้เกรดนักเรียนได้ 3.8 ช่วยเพิ่มคุณภาพผลงานของนักเรียน 4. จุดประสงค์ของการสร้างรูบริคส์ การสร้างรูบริคส์อาจทําขึ้นเพื่อจุดประสงค์ ดังนี้ 4.1 เพื่อประเมินกระบวนการ (Process) เช่น ประเมินการเรียนรู้เป็นทีม กลยุทธ์การ สัมภาษณ์เป็นต้น 4.2 เพื่อประเมินผลผลิต (Product) เช่น ประเมินแฟ้มสะสมผลงาน รายงานการวิจัย นิทรรศการ ผลงานศิลปะ เป็นต้น 4.3 เพื่อประเมินการปฏิบัติ (Performance) เช่น ประเมินการนําเสนอปากเปล่า การ อภิปรายการสาธิต เป็นต้น 5. เราจะสร้างรูบริคส์ได้อย่างไร (How Do You Create Rubrics?) ปัจจุบันนักการศึกษาได้ให้ความสนใจอย่างมากกับรูบริคส์ ทั้งนี้เนื่องมาจากการวัดและ การประเมินผลกําลังเปลี่ยนแปลงสู่การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจะอิงการ ปฏิบัติ มากขึ้นครูจําเป็นต้องพัฒนารูบริคส์ที่สะท้อนหลักสูตรและการสอนของแต่ละคน ทั้งนี้เพื่อให้รูบริคส์ มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้มากขึ้น การออกแบบรูบริคส์ต้องทําให้ นักเรียนมีส่วนร่วมในแต่ละขั้น ต่อไปนี้ ขั้น 1 เห็นรูปแบบต่าง ๆ (Look at Medels) ขั้นนี้เป็นขั้นแรกที่ให้นักเรียนเห็นตัวอย่าง ชิ้นงานที่ดีและไม่ดีนัก ระบุคุณลักษณะที่ทําให้ชิ้นงานดีและลักษณะที่ทําให้ชิ้นงานไม่ดี ขั้น 2 ระบุรายการที่เป็นเกณฑ์ (List Criteria) ขั้นนี้เป็นการอภิปรายชิ้นงาน แล้วนํา ความเห็นมาสรุปเป็นเกณฑ์ที่บอกว่าชิ้นงานที่ดีเป็นอย่างไร ขั้น 3 ระบุระดับของคุณภาพ (Articulate Gradations of Quality) ขั้นนี้เป็นการ บรรยายลักษณะของชิ้นงานที่ถือว่ามีคุณภาพดีที่สุดและบรรยายลักษณะชิ้นงานที่มีคุณ ภาพต่ําสุด จากนั้นบรรยายลักษณะที่อยู่ระหว่างกลาง ขั้น 4 ฝึกใช้เกณฑ์ (Practice on Models) ขั้นนี้ให้นักเรียนฝึกใช้รูบริคส์ที่สร้างขึ้นใน การประเมินชิ้นงานที่นําเสนอเป็นตัวอย่างในขั้น 1 เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 74 จาก 168

ขั้น 5 ประเมินตนเองและเพื่อน (Use Self-and Peer-Assessment) ขั้นนี้ให้นักเรียน ผลิตชิ้นงาน ขณะทํางานให้หยุดบางช่วงเพื่อให้นักเรียนใช้รูบริคส์ประเมินชิ้นงานของตนเอง และ ของเพื่อน ขั้น 6 แก้ไข ปรับปรุง (Revise) ขั้นนี้เปิดโอกาสให้นักเรียนแก้ไข ปรับปรุงชิ้นงาน ของ ตนเองจากข้อเสนอแนะที่ได้จากขั้น 5 ขั้น 7 ครูใช้รูบริคส์ที่นักเรียนพัฒนาขึ้นในการประเมิน (Use Teacher Assessment) ขั้นนี้ครูต้องใช้รูบริคส์ที่นักเรียนพัฒนาขึ้นและได้เคยใช้มาแล้วประเมินชิ้นงานของนักเรียน ต่อไป 6. การให้คะแนนแบบ Rubric และกําหนดระดับคุณภาพ (Benchmarks) มี 2 รูปแบบ(ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิสัน. 2556 : 157-158) คือ 6.1 การให้คะแนนแบบองค์รวม (Holistic Scoring Rubric) เป็นแนวทางการให้คะแนน โดยพราน จากภาพรวมของชิ้นงานทั้งหมดที่ผู้เรียนทํา ด้วยคะแนนที่เป็นตัวเลขเดียว เช่น 3-6 ระดับแล้วเขียนอธิบายคุณภาพ ของชิ้นงานนั้นๆ ซึ่งมีอยู่หลายวิธี เช่น แบ่งงานตาม คุณภาพ กําหนดระดับความผิดพลาด และวิธีการกําหนดระดับ และเขียนคําอธิบายการให้ คะแนนแบบนี้ ใช้ในกรณีที่ต้องการความรวดเร็ว 6.2 การให้คะแนนแบบแยกส่วน (Analytic Scoring Rubric) เป็นแนวทางการให้ คะแนนโดยพิจารณา จากแต่ละส่วนของงาน ซึ่งแต่ละส่วนจะต้องกําหนดแนวทางให้ คะแนน โดยมีคํานิยามหรือคําอธิบายลักษณะของงาน ในส่วนนั้นๆ ในแต่ระระดับไว้อย่าง ชัดเจน การให้คะแนนแบบนี้จะใช้เวลาและมีรายละเอียดมากกว่าการให้คะแนน แบบองค์ รวม ดังนั้นการให้คะแนนแบบแยกส่วนจึงใช้ในกรณีที่ต้องการวินิจฉัยผู้เรียนหรือเมื่อ ต้องการรายงานผล ย้อนกลับในแต่ละคุณลักษณะของงานที่ทําว่ามีจุดเด่นด้อยเรื่องใด (Hensley,1997 : 22) การให้คะแนนแบบแยก ส่วนมักใช้ในการประเมินหลักสูตร การ สอบ และประเด็นต่างๆ ที่ต้องการพัฒนา เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 75 จาก 168

เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 76 จาก 168

การวัดผลภาคปฏิบัติ การวัดผลภาคปฏิบัติ (Performance Assessment) (เบญจวรรณ รอดแก้ว 2555 : 72-74) การวัดผลภาคปฏิบัติ เป็นการวัดผลงานที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ ซึ่ง สามารถวัดได้ทั้ง กระบวนการและผลงาน ในสถานการณ์จริง หรือในสถานการณ์จําลอง สิ่งที่ควรคํานึงในการสอบวัดภาคปฏิบัติคือ 1. ขั้นเตรียมงาน 2. ขั้นปฏิบัติงาน 3. เวลาที่ใช้ในการทํางาน 4. ผลงาน ตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นการให้คะแนนแบบแยกเป็นด้านๆ จากแบบทดสอบนี้ ครูหรือผู้ดําเนินการสอบต้องเตรียมพื้นที่ ที่ให้นักเรียนทําความ สะอาดที่มีพื้นที่เท่าๆ กัน มีความสกปรกพอๆ กัน นอกจากนี้ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้ครบ รวมทั้ง อุปกรณ์ที่ให้นักเรียนเลือกใช้ตามเกณฑ์การให้คะแนนทุกระดับ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 77 จาก 168

เกณฑ์การให้คะแนนและการประเมินในตารางที่ 15 1. หัวข้อการประเมิน พิจารณาจาก 1.1 การเลือกใช้อุปกรณ์ 1.2 ขั้นตอนการทําความสะอาด 1.3 การใช้เวลา 1.4 การทําความสะอาดและการเก็บรักษาอุปกรณ์ 1.5 ผลงาน 2. เกณฑ์การให้คะแนน ผู้ประเมินสังเกตการณ์ปฏิบัติของผู้ถูกประเมิน แล้วให้คะแนน แต่ละหัวข้อเป็น 3 ระดับดังนี้ 2.1 การเลือกใช้อุปกรณ์ ระดับ 3 เลือกใช้อุปกรณ์ได้ครบและเหมาะสมอุปกรณ์ครบ คือ ไม้กวาด ภาชนะใส่ น้ํา และ ผ้าขี้ริ้ว สําหรับความเหมาะสม พิจารณาจากไม้กวาด พิจารณาควบคู่กับพื้นที่ที่ ทําความสะอาด เช่น -พื้นไม้ใช้ไม้กวาดชนิดอ่อน -พื้นปูนใช้ไม้กวาดชนิดอ่อน หรือไม้กวาด - ทางมะพร้าว ทั้งนี้ให้พิจารณาถึงคุณภาพของไม้กวาดด้วย ภาชนะใส่น้ํา เหมาะสม (เช่น ถังน้ํา กะละมัง) ขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป ไม่รั่ว ผ้าขี้ริ้ว นุ่ม ซับน้ําได้ดี สะอาด ไม่เปื่อยยุ่ย ระดับ 2 เลือกใช้ไม่ครบ 1 อย่าง หรือครบแต่ไม่เหมาะสม 1 อย่าง ระดับ 1 เลือกใช้ไม่ครบ 2 อย่าง หรือครบแต่ไม่เหมาะสม 2 อย่างขึ้นไป เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 78 จาก 168

2.2 ขั้นตอนการทําความสะอาด ระดับ 3 ทําครบและถูกต้องทุกขั้นตอน ดังนี้ 1) กวาด โดยคํานึงถึงทิศทางลม 2) ถูเป็นช่อง ไม่ถูเป็นทางยาว คํานึงถึงทิศทาง และมีการ ทําความสะอาดผ้าขี้ริ้ว อยู่เสมอผ้าไม่เปียกจนเกินไป 3) กวาดหรือถูซ้ํา กรณีหรือบริเวณที่ไม่สะอาด ระดับ 2 ทําครบแต่ไม่ถูกต้อง 1 ขั้นตอน ระดับ 1 ทําไม่ครบ 1 ขั้นตอน หรือ ครบแต่ไม่ถูกต้อง 2 ขั้นตอน 2.3 การใช้เวลา ระดับ 3 ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที ระดับ 2 ใช้เวลา 11-13 นาที ระดับ 1 ใช้เวลามากกว่า 13 นาที 2.4 การทําความสะอาดและเก็บรักษาอุปกรณ์ ระดับ 3 การทําความสะอาดและเก็บรักษาอุปกรณ์ครบและถูกต้อง ดังนี้ - เก็บไม้กวาดในที่เก็บและถูกวิธี ผ้าขี้ริ้วซักจนสะอาด บิดให้แห้งและตากบนราว ภาชนะล้างและคว่ําไว้ในที่เหมาะสม ระดับ 2 การทําความสะอาดและเก็บรักษาอุปกรณ์ครบแต่ไม่ถูกต้อง 1 รายการ ระดับ 1 การทําความสะอาดและเก็บรักษาอุปกรณ์ไม่ครบ 1 รายการ หรือครบแต่ ไม่ถูกต้อง 2 รายการ 2.5 ผลงาน ระดับ 3 สะอาด แห้ง และปราศจากฝุ่นและเศษขยะ ระดับ 2 สะอาด และปราศจากฝุ่นและเศษขยะ แต่เปียก หรือสะอาด และแห้ง แต่มีฝุ่นหรือเศษขยะ 1 จุด ระดับ 1 มีฝุ่นหรือเศษขยะมากกว่า 1 จุด เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 79 จาก 168

3. เกณฑ์การประเมิน ระดับดี ได้คะแนนรวมระหว่าง 13 - 15 คะแนน ระดับพอใช้ ได้คะแนนรวมระหว่าง 10 - 12 คะแนน ระดับปรับปรุง ได้คะแนนรวมไม่ถึง 10 คะแนน เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 80 จาก 168

แบบสอบถาม แบบสอบถาม (Questionnaire) (ประภาพร ศรีตระกูล. 2555 : 145-148) เป็น เครื่องมือที่ใช้วัดคุณลักษณะด้านความรู้สึกนึกคิด ความคิดเห็นความสนใจ และทัศนคติ ของบุคคล หรือเหมาะที่จะใช้วัดลักษณะจิตพิสัย ซึ่งวัด โดยใช้ข้อความหรือข้อคําถาม เพื่อถามให้ผู้ตอบได้แสดงคุณลักษณะที่ต้องการออกมา แม้ว่าการ วัดผลการศึกษาจะใช้ ข้อสอบเป็นเครื่องมือหลักในการวัดก็ตาม แต่ข้อสอบจะสามารถวัดได้เพียง ด้านพุทธิ พิสัยเป็นส่วนใหญ่การใช้ข้อสอบเพื่อการวัดผลการศึกษาเพียงอย่างเดียวจึงถือว่าไม่เป็น การเพียงพอ เพราะวัดได้ไม่ครอบคลุมด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวัดคุณลักษณะ ด้าน จิตพิสัยเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย ทั้งนี้เพราะสังคมส่วนรวมต้องการบุคคลที่มีทั้งสติ ปัญญาและ คุณความดีด้วย จึงควรที่จะใช้แบบสอบถามวัดคุณลักษณะทางด้านความ สนใจและทัศนคติต่าง ๆประกอบด้วย เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพของบุคคลได้ชัดเจน และมั่นใจยิ่งขึ้น 1. รูปแบบของแบบสอบถาม รูปแบบของแบบสอบถามที่นิยมใช้กันมีอยู่ 2 แบบคือ 1.1 แบบปลายเปิด (Open - Form) ประกอบด้วยข้อความหรือข้อคําถามที่ให้ผู้ตอบ แสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์เรื่องต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง เป็นแบบที่นิยมใช้ สอบถามเกี่ยวกับการเสนอทัศนะแรงจูงใจ เงื่อนไข เหตุผลของการตัดสินใจต่าง ๆ โดย ให้ แสดงออกอย่างเสรี ภายในขอบเขตที่ผู้ตอบต้องการเช่น จะสังเกตได้ว่า แบบสอบถามชนิดนี้จะใช้คําถามกว้างเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ตอบเขียน แสดง ทัศนะต่าง ๆได้อย่างเสรีไม่จํากัดตายตัว ซึ่งเป็นลักษณะที่ดีของการใช้ แบบสอบถามแบบปลาย เปิด ผู้ตอบจะตอบตรงตามความคิดและความต้องการอย่าง แท้จริง แต่มีข้อเสียที่ควรระวังคือ มักจะได้ไม่มากและการรวบรวมความเห็นมาแปลผล มักจะยุ่งยาก เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 81 จาก 168

1.2 แบบปลายปิด (Closed - Form) ประกอบด้วยข้อความหรือข้อคําถามที่ กํา หนดตัวเลือกหรือคําตอบที่คาดว่าเป็นไปได้ไว้ เพื่อให้ผู้ตอบเลือกข้อที่ตรงกับความจริง หรือ ความรู้สึกของตนโดยการทําเครื่องหมายตอบ ลักษณะการตอบจึงอยู่ในขอบเขต หรือเงื่อนไขที่ผู้ถาม กําหนดไว้ เช่น แบบสอบถามปลายปิดมีข้อพึงระวังในเรื่องการกําหนดคําตอบต้องให้ครอบคลุม ครบถ้วนตามที่เป็นไปได้ นอกจากนั้นยังสามารถดัดแปลงเป็นแบบอื่น ๆ ได้อีกหลาย แบบ เช่น ใช้วิธี ให้ผู้สอบจัดอันดับเติมคําในช่องว่างสั้น ๆ เช่น ปีนี้ท่านอายุ ......... ปี ให้ ผู้ตอบตอบว่า ใช่ - ไม่ใช่ ตอบเป็นปริมาณ หรือระดับความรู้สึก มาก - ปานกลาง - น้อย เป็นต้น ข้อดีของ แบบสอบถามแบบปลายปิดก็คือถามแง่มุมต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด รวบรวมและแปลผลได้ง่าย 2. หลักการสร้างแบบสอบถาม มักเข้าใจกันโดยทั่วไปว่า แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ วัดผลสร้างได้ง่าย ต้องการ ทราบสิ่งใดก็ถามสิ่งนั้นโดยตรงไม่ยุ่งยากมากนัก แต่ในความเป็นจริง นั้น การสร้าง แบบสอบถามให้มีคุณภาพดี เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและต้องมีหลักเกณฑ์พอสมควร โดย เฉพาะอย่างยิ่งจําเป็นต้องคํานึงเสมอว่า แบบสอบถามนั้นต้องสามารถให้ข้อมูล หรือผล การวัดได้ตรงกับสภาพความเป็นจริงของผู้ตอบให้มากที่สุด ดังนั้นในการดําเนินการสร้าง แบบสอบถาม เดทัศนคติ ความคิดเห็นของบุคคลในเรื่องใดก็ตามควรกระทําให้ถูกขั้น ตอนดังนี้ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 82 จาก 168

2.1 กําหนดขอบข่ายของสิ่งที่จะถาม ในการสร้างแบบสอบถามที่ดี ผู้สร้างควรจะ รางแนวหรือขอบข่ายของเรื่องราวที่จะถามให้ชัดเจน ครอบคลุม ไม่ใช่สร้างโดยพยายาม เขียนคําถามต่าง ๆ ขึ้นมาตามที่นึกออก ควรเริ่มต้นโดยพิจารณาว่า การจะศึกษาหรือ สอบถาม ทัศนะต่าง ๆ ในสิ่งนั้น จําเป็นต้องถามเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง โดยกําหนดเป็น หัวข้อใหญ่ออก เช่น ต้องการวัดความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโรงเรียนที่เรียนอยู่ ควร แบ่งเรื่องราวที่จะให้ เด็กแสดงความคิดออกเป็นด้าน ๆ ก่อน เช่น ด้านบรรยากาศใน โรงเรียนด้านการสอนของครู ด้านกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียน ด้านการบริหารและ บริการต่าง ๆ ในโรงเรียน เป็นต้น 2.2 กําหนดข้อคําถามในแต่ละด้าน เมื่อมีขอบข่ายหรือหัวข้อที่จะสอบถามแล้ว ต่อ ไปก็พยายามเขียนข้อความหรือข้อคําถามเพื่อถามรายละเอียดในแต่ละเรื่อง โดย พยายามใช้ ข้อคําถามที่เห็นว่ามีความจําเป็นหรือควรแก่การถามให้ละเอียดครอบคลุม ทุกมุมของแต่ละเรื่อง นั้นๆ ทั้งนี้ต้องอาศัยประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ หรือจากการ ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่อง นั้น ๆ อย่างละเอียด 2.3 พิจารณาและจัดลําดับข้อคําถาม ข้อคําถามในแบบสอบถามต้องมีความชัดเจน เพื่อให้เข้าใจง่าย ไม่วกวนจนตีความหมายได้หลายลักษณะ เมื่อเขียนข้อคําถามขึ้นแล้ว ควรจะ ได้พิจารณาคําถามเหล่านั้นอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะนําไปใช้ว่ามีความชัดเจนและ เหมาะสมเพียงใดทั้ง นี้จะต้องเรียงคําถามให้เป็นไปตามลําดับขั้นตอน โดยพิจารณาว่า ควรถามสิ่งใดก่อนหลัง เช่น ถามจากง่ายไปยาก จากที่น่าสนใจไปสู่คําถามที่เป็นปัญหา ลึกซึ้ง ต้องตอบอย่างใช้วิจารณญาน มากขึ้น เป็นต้น 2.4 จัดวางรูปแบบและคําชี้แจง แบบสอบถามส่วนใหญ่ ผู้ถามมักไม่มีโอกาสชี้แจง ผู้ตอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนได้ จึงมักเป็นปัญหาเสมอว่า ผู้ตอบไม่เข้าใจจุดมุ่งหมาย ไม่ เข้าใจวิธี ตอบหรือผู้ตอบรู้สึกยุ่งยากในการตอบ ดังนั้นผู้สร้างควรวางรูปแบบข้อคําถาม ให้ผู้ตอบตอบได้ สะดวก ทั้งจะต้องมีคําอธิบาย เพื่อชี้แจงวิธีการอย่างชัดเจน และที่ สําคัญยิ่งประการหนึ่งก็คือ ต้องพยายามให้ผู้ตอบมั่นใจได้ว่าการตอบนี้จะไม่กระทบ กระเทือนต่อสถานภาพของตนเอง เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 83 จาก 168

2.5 ควรมีการประเมินแบบสอบถามก่อนนําไปใช้ ก่อนนําแบบสอบถามไปใช้จริง หรือหลังจากสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้สร้างควรประเมินคุณภาพของแบบสอบถามให้ เป็นที่มั่นใจ โดยพิจารณาดังต่อไปนี้ 1) ข้อความที่ใช้ มีความชัดเจนเพียงใด ควรแก่การถามหรือไม่ คําถามนั้นตี ความ หมายได้หรือไม่ และครอบคลุมครบถ้วนหรือไม่ 2) รูปแบบ เหมาะสมชัดเจนหรือไม่ ให้ความสะดวกแก่ผู้ตอบมากน้อยเพียงใด 3) คําชี้แจง ละเอียดพอหรือไม่ บอกวัตถุประสงค์ชัดเจนจนผู้ตอบจะให้ความ จริง และเกิดความสบายใจในการตอบได้หรือไม่ 3. ข้อพึงระวังในการใช้แบบสอบถาม การใช้แบบสอบถามเพื่อวัดคุณลักษณะต่าง ในด้านความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติต่าง ๆ ของบุคคลนั้นจะนําผลไปใช้เพื่อการประเมินผลหรือเพื่อ การวิจัยก็ตามมีสิ่งที่พึง ระมัดระวังหลายประการ กล่าวคือ 3.1 ความร่วมมือของผู้ตอบ เป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่งในการใช้แบบสอบถาม เพราะ ความร่วมมือของผู้ตอบจะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของการวัดนั้น ๆ ว่า มีความเที่ยง และความ ตรงเพียงใด ถ้าหากผู้ตอบไม่ให้ความร่วมมือ ย่อมทําให้ไม่ได้รับคําตอบ หรือ ได้รับแต่ไม่ตรง กับความรู้สึกที่แท้จริง 3.2 การเก็บแบบสอบถามกลับคืน มักเป็นปัญหามากกับการวัดเพื่อนําผลไปใช้ใน การวิจัย ซึ่งมักปรากฏเสมอว่า แบบสอบถามที่ส่งไปมักได้รับกลับคืนไม่ครบถ้วน หรือได้ รับ กลับคืนน้อยเกินไป 3.3 ขาดแรงจูงใจ ผู้ตอบเต็มใจตอบ ส่งกลับคืนจริง แต่ในขณะที่ตอบมีความรู้สึก ไม่ เห็นความสําคัญ ทําให้เกิดการตอบโดยไม่ได้พิจารณาข้อคําถามอย่างถี่ถ้วนแท้จริง เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 84 จาก 168

3.4 แบบสอบถามมักมีคุณภาพต่ํา ผู้สร้างมักจะละเลย หรือไม่ให้ความสําคัญต่อ คําอธิบายหรือคําชี้แจง รวมทั้งไม่พิถีพิถันต่อข้อคําถามที่ใช้เท่าที่ควร เช่น ใช้คําถาม คลุมเครือ ใช้คําถามที่ไม่ได้แทน คุณลักษณะหรือทัศนะใด เมื่อผู้ตอบตอบแล้วมักแปล ผลไม่ได้ 3.5 วิเคราะห์และแปลผลลําบาก ผลการวัดที่ได้จากแบบสอบถามมักจะมีจุดอ่อน เกี่ยวกับการสรุปผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบสอบถามประเภทปลายปิด ทั้งนี้เพราะคํา ตอบที่ได้ จากแบบสอบถามนั้นในบางครั้งไม่สามารถให้คะแนนหรือใช้ตัวเลขแทนระดับ ความรู้สึกได้อย่าง ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 85 จาก 168

การวัดผลจากสภาพจริง การวัดผลจากสภาพจริง (Authentic Assessment) (สมนึก ภัททิยธนี. 2556 : 48-50) จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาโดยทั่ว ๆ ไป มุ่งพัฒนาบุคคลใน 3 ด้าน คือ ด้าน พุทธิพิสัย(Cognitive Domain) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) และด้าน ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) การดําเนินการวัดผลและประเมินผลการศึกษา เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ดังกล่าว จึงควรคํานึง 3 ด้านนี้ ดังนั้น เครื่องมือที่ใช้ในการ วัดผลและประเมินผลการศึกษา จึงอาจ อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น แบบทดสอบ การ สังเกต การให้ปฏิบัติ ฯลฯ ในการวัดผลวิชาที่เน้นทักษะต่าง ๆ เช่น ทักษะในการพูด การเล่นกีฬา การเล่น ดนตรี ฯลฯ วิธีที่จะวัดความสามารถของทักษะเหล่านี้ที่เหมาะสมที่สุด คือการวัดผลภาค ปฏิบัติ (Performance Assessment)การวัดผลภาคปฏิบัติบางลักษณะเป็นการวัดผล จากสภาพจริง (Authentic Assessment) หรือกล่าวได้ว่าการวัดผลจากสภาพจริงจะ ครอบคลุมการวัดผลภาคปฏิบัติ การวัดผลจากสภาพจริง เป็นการวัดผลที่กําหนดให้นักเรียนได้แสดงถึงกระบวนการ (Process) และ/หรือผลงาน (Product) หรือความสามารถที่จําเป็นซึ่งสอดคล้องกับชีวิต จริงมากที่สุด ส่วนการวัดผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน ( Portfolios Assessment ) เป็น เพียงส่วนหนึ่งของการวัดผล จากสภาพจริง เพราะส่วนใหญ่เน้นการวัดผลงานมากกว่า กระบวนการ 1.ความหมายของการวัดผลจากสภาพจริง (Authentic Assessment) หมายถึง กระบวนการสังเกต การบันทึก และรวบรวมข้อมูลจากงานและวิธีการที่นักเรียนทํา เพื่อ เป็นพื้นฐานของการตัดสินใจในการศึกษาถึงความสามารถหรือคุณลักษณะของนักเรียน เหล่านั้น การวัดผลจากสภาพจริงจะไม่เน้นการวัดผลเฉพาะทักษะพื้นฐาน แต่จะเน้น การวัดผลทักษะการคิดที่ ซับซ้อนในการทํางานของนักเรียน ความสามารถในการแก้ ปัญหา และการแสดงออกที่เกิดจากการปฏิบัติในสภาพจริงในการเรียนการสอนที่เน้น นักเรียนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งการที่นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 86 จาก 168

2. ความสําคัญหรือประโยชน์ของการวัดผลจากสภาพจริง 2.1 การเรียนการสอนและการวัดผลจากสภาพจริง จะเอื้อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ ได้อย่างเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล 2.2 เป็นการเอื้อต่อการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง มากกว่าที่ครูเป็น ผู้บอกความรู้ดังนั้นการวัดผลจากสภาพจริงจะแสดงให้เห็นว่านักเรียน ทําอะไรได้ มากกว่าจะบอกว่า นักเรียน รู้อะไร 2.3 เป็นการเน้นให้นักเรียนได้สร้างงาน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการ พัฒนาการเรียนรู้และการบูรณาการวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน 2.4 เป็นการผสมผสานให้กิจกรรมการเรียนรู้และการวัดผลดําเนินไปพร้อม ๆ กัน ไม่ แยกเป็นส่วน ๆ ลดความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียน 2.5 เป็นการลดภาระงานซ่อมเสริมของครู เพราะมีหลักฐานการปฏิบัติงานของ นักเรียนขณะเรียนและมีการพัฒนาแก้ไขข้อบกพร่องมาโดยตลอด 3.ลักษณะที่ดีหรือหลักการที่จําเป็นของการวัดผลจากสภาพจริง 3.1 เป็นการวัดผลความก้าวหน้าและการแสดงออกของนักเรียนแต่ละคน โดยไม่จํา เป็นต้องเปรียบเทียบกับกลุ่ม บนรากฐานของทฤษฎีทางพฤติกรรมการเรียนรู้ และด้วย เครื่องมือวัดผลที่หลากหลาย 3.2 ต้องมีรากฐานบนพัฒนาการและการเรียนรู้ทางสติปัญญาที่หลากหลาย 3.3 ความรู้ในเนื้อหาสาระทั้งในแนวกว้างและแนวลึกจะนําไปสู่การพัฒนาให้นักเรียน เรียนรู้มากขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมาย สนองความต้องการ และเสริมสร้าง ศักยภาพของผู้เรียนอย่างเต็มที่ 3.4 การเรียน การสอน การวัดและประเมินผล จะต้องหลอมรวมกัน และการ ประเมินผลต้องประเมินต่อเนื่องตลอดเวลาที่ทําการเรียนการสอน โดยนักเรียนมีส่วน ร่วมด้วย และเน้นการปฏิบัติจริงในสภาพที่สอดคล้องหรือใกล้เคียงกับธรรมชาติความ เป็นจริงของการดําเนินชีวิต ส่วนงานหรือกิจกรรมการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้ นักเรียนได้คิดด้วยตนเอง เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 87 จาก 168

3.5 การเรียนการสอนจะต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาศักยภาพให้เต็มที่ หรือสูงสุดตาม สภาพที่เป็น จริงของแต่ละบุคคล 4.การวางแผนจัดการประเมินผลจากสภาพจริง 4.1 กําหนดจุดประสงค์และเป้าหมายการประเมิน เป็นลักษณะการวิเคราะห์จุด ประสงค์การเรียนรู้ และจุดประสงค์ของหลักสูตร เน้นให้ นักเรียนได้สร้างสรรค์ผลิตผล งาน ดึงความคิดขั้นสูงและทักษะการแก้ปัญหา 4.2 วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลจากสภาพจริง เป็นการ วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และวางแผนให้ การ ประเมินผลดําเนินไปพร้อม ๆกับการเรียนการสอน โดยพยายามคิดกิจกรรมการประเมิน ผลที่มี ความหลากหลาย จัดทําเป็นแผนการเรียนการสอนตลอดทั้งภาคเรียน 4.3 คํานึงถึงผู้เกี่ยวข้องในการประเมินผล โดยทั่วไป จะประกอบด้วยครู นักเรียน และผู้ปกครองแต่ละฝ่ายมีส่วนในการประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการลดบทบาทของครู ซึ่งเดิมเป็นบุคคลสําคัญในการตัดสินผลการเรียน 4.4 ดําเนินกิจกรรมและนําผลไปใช้ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 88 จาก 168

แฟ้มสะสมงาน แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) (ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิสัน. 2556 : 153-155) การประเมิน ผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolios) เป็นแนวทางการวัดผลแบบใหม่ซึ่งสอดคล้องกับ นโยบายการปฏิรูปการศึกษา และปฏิรูประบบการวัดผล กล่าวคือ เป็นการวัดผลการ เรียน ให้สอดคล้องกับสภาพจริงและลดบทบาทของการสอบด้วยข้อเขียน แต่อาศัยการ สังเกตและเก็บรวบรวม ข้อมูลที่ครูและผู้เรียนทํากิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน โดยกระทํา อย่างต่อเนื่องตลอดภาคเรียน ดังนั้นการวัดและประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงานส่วน หนึ่ง จะเป็นกิจกรรมที่สอดแทรกอยู่ในสภาพการเรียนประจําวัน โดยกิจกรรมที่สอด แทรกเหล่านี้จะวัดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพชีวิตประจําวัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อกา รดํารงชีวิตของผู้เรียนที่เรียกว่าการวัดผลสภาพจริง ต่อจากนั้นจึงนําผลการสังเกตและ ผลงานที่ผู้เรียนเก็บสะสมไว้ตลอดภาคเรียนไปใช้ในการประเมินผลเพื่อปรับปรุงการ เรียนการสอน (Formative Evaluation) หรือการประเมินผลรวม (Summative Evaluation) เพื่อตัดสินผลการเรียนต่อไป(สมนึก ภัททิยธนี. 2556 : 56-57) 1.ความหมายของแฟ้มสะสมงาน แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) หมายถึง สิ่งที่ใช้เก็บรวบรวมหลักฐาน (Evidences) หรือตัวอย่างงาน(Samples) เพื่อแสดงถึงผลสัมฤทธิ์ ความสามารถ ความสนใจ ความ ถนัด ความพยายาม หรือความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยจัดทําไว้อย่างมีจุด มุ่งหมาย เป็นระบบและเป็นระเบียบตามแนวความคิดของผู้เรียนเป็นหลัก (ศักดิ์สิทธิ์ ฤ ทธิสัน. 2556 : 153) แฟ้มสะสมงาน หมายถึง สิ่งที่เก็บรวบรวมตัวอย่าง (samples) หรือบางส่วนของ หลักฐาน (Evideness) ที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ ความสามารถ ความพยายามหรือความ ถนัดของบุคคลหรือประเด็นที่ต้องการจัดแฟ้มสะสมงานไว้อย่างเป็นระบบ โดยบุคคลนั้น และบุคคลที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดทําแฟ้มร่วมกัน (สุวิทย์ มูลคํา. 2544 : 27) เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 89 จาก 168

สรุปได้ว่าแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) เป็นการประเมินแนวใหม่อีกประเภทหนึ่ง ตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้ โดยมีแนวคิดเช่นเดียวกับการสะสมสิ่งต่างๆ ไว้แล้ว ต้องการให้ผู้อื่นมาติชมเป็นเครื่องมือการประเมินลักษณะหนึ่งของการประเมินตาม สภาพจริง 2. ลักษณะสําคัญของแฟ้มสะสมงาน แฟ้มสะสมงานมีลักษณะที่สําคัญดังนี้ (สมนึก ภัททิยธนี. 2551 : 57-58 : พิชิต ฤทธิ์ จรูญ 2553 : 89) 2.1 เป็นการสะสมผลงานของนักเรียนแต่ละคน โดยผู้สอนจะช่วยให้คําแนะนํา และ ร่วมกันกําหนดเป้าหมาย (Goals) และกําหนดว่าจะต้องมีสิ่งใดบ้างบรรจุในแฟ้มสะสม งาน และร่วมกันพิจารณาตรวจทาน (Review) งานก่อนที่จะบรรจุในแฟ้มสะสมงาน 2.2 เน้นผลงานเป็นสําคัญ แฟ้มสะสมงานจะมีส่วนของผลงานที่เป็นตัวอย่างงานของ ผู้เรียนมากกว่าสิ่งอื่น ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายทุกวิชาที่ควรเน้นผลงานของผู้เรียน หลัง จากเสร็จผู้เรียนจะเลือกผลงานของตนเข้าบรรจุในแฟ้มสะสมงาน เมื่อต้องการประเมิน ผลการเรียนรู้ก็จะอาศัยอ้างอิงจากหลักฐานที่อยู่ในแฟ้มสะสมงาน ถ้าต้องการวัดทักษะ ด้านกระบวนการ ก็ต้องอาศัยวิธีการอื่นช่วย เช่น การสังเกตกระบวนการ เป็นต้น 2.3 บ่งชี้จุดแข็งมากกว่าจุดด้อย การวัดและประเมินแบบเดิมมักตรวจหาความผิด พลาดของผู้เรียน ข้อบกพร่องของผู้เรียน แต่แฟ้มสะสมงานจะเน้นจุดแข็งของผู้เรียน มากกว่าจุดด้อย โดยผู้เรียนจะนําเสนอตัวอย่างผลงานที่ดีที่สุด การอภิปรายผลงานก็จะ ไปที่มีผลสัมฤทธิ์อะไรบ้าง มีจุดใดบ้างที่ควรพัฒนาต่อไป จึงมีลักษณะเป็นทางบวก มากกว่า แต่อาจจะมีการกล่าวถึงข้อบกพร่องที่สําคัญเช่นกัน แต่ไม่ใช่เพื่อการชี้การด้อย ประสิทธิภาพในการเรียนของผู้เรียน 2.4 เอื้อต่อการสื่อสารต่อผู้อื่น แฟ้มสะสมงานสามารถใช้แสดงต่อผู้ปกครอง เพื่อน นักเรียนผู้บริหาร และ บุคคลอื่นๆ ได้ว่าผู้เรียนได้บรรลุผลสัมฤทธิ์และพัฒนาการอะไร บ้าง เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการนําไปใช้เพราะประกอบด้วยตัวอย่างของสิ่งที่ผู้ เรียนสามารถทําได้ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 90 จาก 168

2.5 เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ การที่ผู้เรียนเป็นเจ้าของแฟ้มสะสมงาน เป็นผู้เลือกชิ้น งานในแต่ละชนิด ที่จะบรรจุลงในแฟ้ม จึงเป็นกระบวนการวัดและประเมินผลโดยเน้นผู้ เรียนเป็นสําคัญอย่างแท้จริง 3.ส่วนประกอบของแฟ้มสะสมงาน องค์ประกอบของแฟ้มสะสมงานไม่มีคําตอบตายตัว ขึ้นอยู่กับครูหรือผู้บริหารกํา หนดขึ้นแต่โดยทั่วไป แฟ้มสะสมงานผู้เรียนจะมีส่วนประกอบที่สําคัญ 3 ส่วน คือ 3.1 ส่วนที่ 1 ส่วนนํา ประกอบด้วยปก คํานํา สารบัญ ประวัติส่วนตัว จุดมุ่งหมาย ของการทําแฟ้มส่วนนี้ จุดมุ่งหมายมีส่วนสําคัญมาก เป็นกิจกรรมแรกที่สําคัญในการจัด ทําแฟ้มสะสมงาน จุดมุ่งหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจง่าย ป้องกันไม่ให้นักเรียน ทํางานมากเกินไป โดยทั่วไปจุดมุ่งหมายของแฟ้มผลงานนักเรียน มีดังนี้ 3.1.1 เพื่อให้ผู้เรียนประเมินตนเองได้ ด้วยการสะท้อนความคิดในงานตนเอง ปรับปรุงและพัฒนา ตนเองอยู่เสมอ 3.1.2 เพื่อการบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร รายวิชา หรือจุดประสงค์การ เรียนรู้ 3.1.3 เพื่อประเมินความรับผิดชอบของครู จากความสามารถในการสอนให้ นักเรียนบรรลุจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตร และจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กําหนดไว้ 3.2 ส่วนที่ 2 บรรจุหลักฐานหรือชิ้นงาน ประกอบด้วยหลักฐานชิ้นงานที่สร้างขึ้นจาก การเรียนรู้ แนวทาง ที่ผู้เรียนเลือกชิ้นงานเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสําเร็จในการบรรลุจุด ประสงค์ ข้อความที่สะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับ ชิ้นงานแต่ละชิ้น หลักฐานหรือชิ้นงาน อาจจะเป็น 3.2.1 หลักฐานที่แสดงถึงผู้เรียนทําในห้องเรียน เช่น การบ้าน แบบฝึกหัด รายงานผลการทดสอบ ผลงานต่างๆ ที่ทําขึ้นในระหว่างเรียนในห้องเรียน 3.2.2 หลักฐานที่ผู้เรียนทํานอกห้องเรียน เช่น โครงการพิเศษ รายงานการไป สัมภาษณ์หรือการไป สังเกต เป็นต้น เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 91 จาก 168

3.2.3 หลักฐานที่ครูหรือคนอื่นๆ ใช้แสดงถึงความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้ เรียนเช่น บันทึกการสังเกตจากครูหรือเพื่อนระหว่างที่ผู้เรียนรายงานหน้าชั้น หรือ จดหมาย, บันทึกจากผู้ปกครองเป็นต้น 3.3 ส่วนที่ 3 เกณฑ์การตัดสินแฟ้มสะสมงาน และข้อมูลการประเมินของครู เพื่อน และผู้ปกครอง รวมทั้งหลักฐานการประเมินตนเองของนักเรียน แผนการและแนวคิดใน การประชุมแฟ้มผลงานเกณฑ์การตัดสิน โดยทั่วไปแยกออกเป็นการประเมินแบบองค์ รวมและการประเมินแบบแยกส่วน 4. การจัดทําแฟ้มสะสมงาน การจัดทําแฟ้มสะสมงานมีอยู่หลายขั้นตอน ครูผู้สอนสามารถที่จะปรับได้ตามความ เหมาะสม ในที่นี้จะนําเสนอขั้นตอนการสร้างแฟ้มสะสมงานของ Burke and Others (1994 : 1-196) ประกอบด้วย 10ขั้นตอน คือ 4.1 การกําหนดจุดมุ่งหมายการสร้าง (Project Purposes) 4.2 การรวบรวมผลงานและการจัดระบบแฟ้ม (Collect and Organize) 4.3 การคัดเลือกผลงาน (Select Key Artifacts) 4.4 การสร้างสรรค์ผลงานให้ลักษณะเฉพาะตัว (Interject Personality) 4.5 การสะท้อนความคิดของตนเองต่อผลงาน (Reflect Metacognitively) 4.6 การตรวจสอบความสามารถของตนเอง (Inspect to Self-Assess) 4.7 การประเมินผลงาน (Perfect and Evaluate) 4.8 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (Connect and Conferences) 4.9 ปรับเปลี่ยนผลงานให้เป็นปัจจุบัน (InjectEject to Update) 4.10 จัดนิทรรศการและประชาสัมพันธ์ผลงาน (Respect Accomplishments) เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 92 จาก 168

5. ข้อควรคํานึง สมนึก ภัททิยธนี (2551 : 62) และพิชิต ฤทธิ์จรูญ (2553 : 91) กล่าวถึงข้อดีข้อเสีย ของการใช้แฟ้มสะสมงานในการจัดการเรียนการสอน สรุปได้ดังนี้ 5.1 ข้อดีของการใช้แฟ้มสะสมงาน 5.1.1 ช่วยให้เห็นพัฒนาการของผลงาน เห็นจุดแข็งและจุดที่ควรปรับปรุง 5.1.2 ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการคัดเลือก หรือจัดสรรผลงาน และประเมินผลงาน ด้วยตัวเอง 5.1.3 ทําให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง เห็นพัฒนาการของ ตนเอง ก่อให้เกิด ความมั่นใจในตนเอง และเกิดแรงจูงใจที่จะแข่งกับตัวเอง 5.1.4 เป็นส่วนสําคัญในการส่งเสริมความก้าวหน้าของการเรียนรู้ จึงเป็นส่วนที่ เสริมประสานกิจกรรม การเรียนกับการประเมินผล 5.1.5 ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอน การประเมินผลร่วมกับ ผู้สอน และมีโอกาส ได้ปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้และผลการเรียนของตนเองอย่างต่อ เนื่อง 5.1.6 เป็นเวทีให้ผู้เรียนสื่อความคิดของตนเองให้ผู้อื่นทราบ ส่งเสริมสนับสนุนให้ ผู้เรียนกล้าแสดงออก 5.1.7 ผู้สอนได้ข้อมูลสะท้อนกลับในการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล การสอนของตนเอง 5.1.8 ผู้ปกครองได้เห็นความก้าวหน้าของบุตรหลาน นอกจากนี้ยังเป็นการส่ง เสริมความสัมพันธ์อันดี ระหว่างผู้ปกครองกับผู้สอนอีกด้วย เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 93 จาก 168

5.2 ข้อเสียของการใช้แฟ้มสะสมงาน 5.2.1 ใช้เวลามากเพราะนอกจากจะใช้เวลาในการจักทําแฟ้มสะสมงาน แล้วยัง ต้องใช้เวลาในการพิจารณาตรวจทาน โดยทั่วไปผู้สอนจะตรวจทานคนเดียวกับผู้เรียนทั้ง ชั้น ทําให้เสียเวลามาก 5.2.2 ยังไม่แน่ใจในด้านความเชื่อมั่นของการประเมินผลด้วยวิธีนี้ อาจเนื่องมาจาก การกําหนดเกณฑ์ (Criteria Selection) ในการประเมินไม่ชัดเจน หรือไม่ตรงกัน เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 94 จาก 168

การจัดอันดับคุณภาพ การจัดอันดับคุณภาพ หมายถึง แบบวัดอย่างหนึ่งในการวัดพฤติกรรมที่สามา รถนํามาจัดอันดับคุณภาพได้ คุณลักษณะที่เขียนไว้ในแบบจัดอันดับคุณภาพ ต้องเป็น คุณลักษณะบ่งบอกถึงปริมาณที่นํามาจัดอันดับได้(อํานวย เลิศชยันตี 2542 : 129) ชวาล แพรัตกุล (2516 : 88) กล่าวว่า เทคนิคการวัดผลชนิดนี้ ใช้ได้ดีเมื่อเรา ต้องการวัดหรือให้คะแนนที่เกี่ยวกับคุณค่าหรือคะแนนคุณภาพของลักษณะที่เป็น นามธรรมต่าง ๆ ที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้โดยตรง หลักของการจัดอันดับมีอยู่ว่า คุณลักษณะหรือคุณภาพของงานที่นํามาเปรียบเทียบ กันนั้น มีความดีความงามในปริมาณที่ไม่เท่าเทียมกัน มีข้อแตกต่างยิ่งหย่อนกว่ากันอยู่ เสมอข้อแตกต่างเหล่านี้สามารถเรียงอันดับหรือจัดเป็นอันดับได้จากคุณภาพดีที่สุดไป จนถึงคุณภาพด้อยที่สุด โดยเปรียบเทียบกับบุคคล หรือสิ่งที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน หรือ ประเภทเดียวกัน เรียกว่าการจัดอันดับคุณภาพ จากนั้นก็สามารถใช้หลักสถิติแปลงเป็น คะแนนได้ ในการเรียนการสอนนั้น ตามปกติจะเป็นการพิจารณาเกี่ยวกับความสามารถของ นักเรียน เช่นความสามารถในการวาดเขียน ความสามารถในการเล่นดนตรี ความ สามารถ ในการพูดเป็นต้น การจัดอันดับคุณภาพเกี่ยวกับความสามารถของนักเรียนแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่ม จากรายงานในหัวข้อที่กําหนดให้ อาจพิจารณาได้ 2 ประเด็น คือ (ภัทรา นิคมานนท์ 2543 : 31-32)การจัดอันดับและประมาณค่าพฤติกรรมอาจกระทําในขณะที่พฤติกรรม นั้นกําลังเกิดขึ้นเช่น ขณะรายงานอยู่หลังจากพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นและเสร็จสิ้นแล้วก็ได้ เช่น อาจารย์นิเทศให้คะแนนประมาณค่า การสอนของนักศึกษาฝึกสอนหลังจากที่ออก จากห้องสังเกตการสอนแล้ว หรืออาจกระทําภายหลังจากพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นเป็นเวลา นานก็ได้ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 95 จาก 168

วิธีการจัดอันดับคุณภาพ พิจารณางานอย่างละเอียดถี่ถ้วน แบ่งงานที่ต้องการวัดออกเป็นกลุ่มเช่น ดี ปาน กลาง ด้อย สําหรับสิ่งที่มีผลงานเห็นเด่นชัด เช่น งานวาดเขียน งานหัตถศึกษา เป็นต้น แต่ถ้าหากเป็นการเปรียบเทียบคุณลักษณะของนักเรียน เช่น ความขยัน ความประพฤติ คะแนนพัฒนาการด้านต่าง ๆ อาจทําได้โดยเขียนชื่อนักเรียนลงในบัตรแข็งแผ่นละชื่อ แล้วจัดแบ่งบัตรนั้นออกเป็นกลุ่มตามลักษณะคุณภาพควรจะแบ่งกลุ่มเป็นจํานวนคี่ เพราะสะดวกในการหากลุ่มกลางพิจารณาจัดเรียงลําดับภายในแต่ละกลุ่มจากคุณภาพที่ ดีมากไปหาน้อยนําอันดับแต่ละกลุ่มมาเรียงติดต่อกัน เรียงจากดีที่สุดไปหาด้อยที่สุด แล้วตรวจสอบความถูกต้อง อาจสับที่กันใหม่ตามความเหมาะสมได้โดยลองทิ้งไว้ระยะ หนึ่งแล้วมาดูใหม่ เป็นการพิจารณาขั้นสุดท้าย ข้อสังเกต การที่จะจัดอันดับได้ถูกต้อง เราต้องทราบลักษณะที่ต้องการวัดว่าคืออะไรแน่ เราต้องพยายามจัดอันดับทีละลักษณะ อย่าพิจารณาหลายอย่างในเวลาเดียวกันและต้องระวังอย่าให้ความลําเอียงมามีผลต่อ การพิจารณาจัดอันดับคุณภาพ อาจใช้การตัดสินจากหลายๆคน เพื่อดูว่ามีความ สอดคล้องกันเพียงไรแปลงอันดับที่ออกมาเป็นคะแนน โดยเทียบเป็นตําแหน่งร้อยละ (Percent -Position) เสียก่อนตามสูตร เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 96 จาก 168

ตัวอย่าง นักเรียนในชั้นหนึ่งมี35 คน ครูประเมินผลงานวิชาศิลปะการวาดเขียนของนักเรียน แล้วปรากฏว่าผลงานดีเป็นอันดับที่ 14 ต้องการทราบว่านักเรียนควรได้คะแนนเท่าไร ถ้าคะแนนเต็มเป็น 50 คะแนน วิธีคิดคํานวณ ขั้นที่ 1 เปลี่ยนจากอันดับที่ให้เป็นตําแหน่งร้อยละ ตามสูตร ขั้นที่ 2 นําตัวเลขตําแหน่งร้อยละที่คํานวณได้ คือ 38.57 นี้ ไปแปลงเป็นคะแนนโดย เทียบจากตาราง จะพบว่าตําแหน่งร้อยละ 38.57 มีค่าใกล้เคียงกับ 38.06 มากที่สุด ก็ อ่านคะแนนที่ตรงกับ 38.06 จะพบว่าได้ 56 คะแนน ดังนั้น จะได้ 56 คะแนน จาก คะแนนเต็ม 100 ถ้าคะแนนเต็มมากหรือน้อยกว่า 100 ก็ใช้วิธีเทียบส่วน เช่น จาก ตาราง 56 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100 ถ้าคะแนนเต็ม 50 จะได้ 28 คะแนน เป็น ต้น การจัดอันดับนี้อาจมีความคลาดเคลื่อนในการจัดอันดับได้ ซึ่งจะทําให้ข้อมูลไม่มี คุณภาพ ความคลาดเคลื่อนนี้อาจเกิดขึ้นจากตัวแปรหลายประการได้แก่ ผู้จัดอันดับไม่ เข้าใจลักษณะที่จะจัดอันดับเพียงพอใช้วิธีการจัดอันดับที่ผิดมีความลําเอียง ส่วนตัวกับผู้ ที่ถูกจัดอันดับ เช่น มีทัศนคติที่ดีต่อบุคคลใดก็จัดอันดับให้ดี เป็นต้น เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 97 จาก 168

แบบจัดอันดับคุณภาพ แบบจัดอันดับคุณภาพ ( Ranking ) ข้อดีของการจัดอันดับคุณภาพ สามารถให้คะแนนเกี่ยวกับผลงานที่เป็นผลผลิตหรือกระบวนการที่เกี่ยวกับคุณค่า หรือคุณภาพของงานมีลักษณะนามธรรม ซึ่งยากแก่การวัดออกมาเป็นตัวเลขโดยตรง เช่น งานวาดเขียน งานฝีมือเรียงความ คัดลายมือ การเตรียมงานหรือปฏิบัติงานในห้อง ทดลอง คะแนนความประพฤติ คะแนนพัฒนาการด้านต่าง ๆ ข้อจํากัดของแบบการจัดอันดับ (อํานวย เลิศชยันตี 2542 : 302) การจัดอันดับที่เป็นเพียงแต่งานไม่ใช่พฤติกรรมจริงที่เกิดขึ้นมาจากการทํางานชิ้นนั้น ครูไม่สามารถที่จะล่วงรู้พฤติกรรมของนักเรียนแต่ละคนได้คุณลักษณะงานขึ้นอยู่กับ ลักษณะและธรรมชาติของกลุ่มผู้เรียน ในแต่ละชั้นเรียนซึ่งลําดับที่ของแต่ละชั้นเรียนจะ แตกต่างกัน คนที่ได้ลําดับที่น้อยที่สุดของห้องหนึ่งอาจจะมีคุณภาพอยู่ในระดับกลางของ อีกห้องหนึ่งก็ได้ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 98 จาก 168

การให้จินตนาการ การให้จินตนาการ (Imagination) เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลที่ใช้สําหรับล้วง ความรู้สึกนึกคิดของคนออกมาโดยไม่ให้เจ้าตัวรู้สึกเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของ บุคคลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะด้านบุคลิกภาพโดยอาศัยการให้จินตนาการอย่างอิสระ (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ 2524 : 235) 1. เทคนิคการให้จินตนาการ อาศัยหลักสําคัญ 2 ประการ คือ 1.1. สิ่งเร้าที่ใช้ต้องสร้างให้มีความคลุมเครือมาก ๆ ยิ่งคลุมเครือมากยิ่งวัดความรู้สึก ให้ผู้ตอบแสดงอารมณ์หรือการตอบสนองที่ตรงกับความเป็นจริงมากเท่านั้น 1.2. สิ่งเร้าที่ใช้ต้องขาดความเป็นปรนัย เพื่อให้ผู้ตอบต่างมีอาการตอบสนองที่ต่าง กัน 2. แบบการให้จิตนาการ แบ่งตามการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ 2 ประเภท คือ (ภัทรา นิ คมานนท์2543 : 46-48) 2.1 การเติมประโยคให้สมบูรณ์ เช่น ถ้าฉันมีเงิน ฉันจะ............................................ ส่วนมากผู้ตอบจะนําประสบการณ์ของ ตนมาเติมทําให้เราสามารถรู้ถึงความรู้สึกนึกคิดของเขาได้ 2.2 อธิบายจากภาพที่เลือนลางหรือชวนสงสัย การวัดชนิดนี้อาจใช้ภาพจากหยด หมึกหรือถ่ายภาพที่เลือนลางหรือชวนสงสัย โดยให้เด็กดูภาพแล้วบรรยายภาพไปตาม ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ผู้ที่มีประสบการณ์และคลุกคลีกับประสบการณ์อย่างไร ก็จะ อธิบายภาพนั้นให้พาดพิงไปถึงเรื่องของตนในอดีดเสมอ แบบทดสอบประเภทนี้ที่รู้จักกัน ทั่วไปคือภาพหยดหมึก (Ink Blot Test) ของ Rorchach และ Thematic Apperception Test เป็นต้น เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 99 จาก 168

การวัดบุคลิกภาพ การวัดบุคลิกภาพ (Personality Characteristics Subject to Appraisal) 1. ความหมายของการวัดบุคลิกภาพ การวัดบุคลิกภาพ หมายถึง กระบวนการที่เป็นระบบระเบียบ ในการศึกษาข้อมูล เกี่ยวกับบุคคลเพื่อช่วยให้เข้าใจบุคคลได้ดีขึ้นบุคลิกภาพของบุคคลเป็นผลขอพัฒนาการ ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นลักษณะรวมที่บุคคลแสดงพฤติกรรมต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น บุคลิกภาพจึงเป็นผลของพัฒนาการและผลของการเข้าเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมผสม ผสานกัน การจะเข้าใจบุคลิกภาพจําเป็นจะต้องรู้ เกี่ยวกับประวัติพัฒนาการของบุคคล แต่การวัดบุคลิกภาพ เราวัดจากการเข้าเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน เราคํานึงถึงว่า ปัจจุบัน บุคคลเข้ากับคนอื่นได้ดีเพียงใด บุคลิกภาพแสดงออกได้หลายทาง ฉะนั้น จิตวิทยาจึงแบ่งบุคลิกภาพไว้แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของแต่ละบุคคล แต่ก็มี บางอย่างที่ซ้อนกันอยู่ ซึ่งพอจะสรุปลักษณะของบุคลิกภาพของบุคคลได้ดังนี้ 2. ลักษณะทางร่างกายและอารมณ์ (Physique and Temperament) ซึ่งได้แก่ ขนาดของรูปร่างความสมบูรณ์แข็งแรง ท่าทาง ตลอดจนหน้าตา นอกจากนั้นยังมี ลักษณะอารมณ์ของบุคคล เป็นคนมีความมั่นคง อ่อนไหวแค่ไหน สิ่งเหล่านี้เป็นลักษณะ หนึ่งของบุคลิกภาพของบุคคลซึ่งมี ผลต่อคนอื่น และมีผลต่อตนเองด้วย 2.1. เชาวน์ปัญญาและความสามารถอื่น ๆ (Intellectual and Other Abilities) บุคลิกภาพรวมไปถึงสิ่งที่ทําให้บุคคลแตกต่างกันด้วย 2.2. ค่านิยมและความสนใจ (Interests and Values) บุคลิกภาพจะสะท้อนให้เห็น ถึงความสนใจตลอดจนค่านิยมที่บุคคลยึดถือ 2.3. ทัศนคติทางสังคม (Social Attitudes) ทัศนคติเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพ เช่น แบบนิยมใช้อํานาจ จะเป็นคนที่ชอบบังคับ ใช้อํานาจ ไม่เชื่อใครง่ายๆ และมีอคติ พวก Dogmatism คิดว่าความเห็นของตนถูกต้องเสมอ หรือพวก Equalitarianism ที่ เชื่อในเรื่องความเสมอภาค เท่าเทียมกัน 2.4. แรงจูงใจ (Motivational Disposition) บางครั้งบุคคลทําสิ่งใด เพราะมีแรง จูงใจซึ่งอาจมีทั้งจิตสํานึก (Conscious) และจิตใต้สํานึก(Unconscious) ทําให้แต่ละคน มีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 100 จาก 168


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook