Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตมหาเถร 150 ปี

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตมหาเถร 150 ปี

Published by sonbalee, 2021-01-14 06:35:56

Description: หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตมหาเถร 150 ปี

Search

Read the Text Version

วดั เลยี บ จงั หวดั อบุ ลราชธานี เดมิ เปน็ ส�ำ นกั สงฆส์ ายวปิ สั สนา สรา้ งเมอ่ื พ.ศ. ๒๓๙๑ ตรงกบั ปลายรชั กาลท่ี ๓ ชื่อของวัดเลียบ นา่ จะมาจากการที่เปน็ วดั ทส่ี รา้ งข้นึ เลยี บคูเมือง ในแนวกั้นแมน่ ำ้�มูล ซ่งึ ต่อมาคอื ถนนเข่ือนธานนี น่ั เอง สำ�นักสงฆ์แห่งนี้ มีอายุได้ ๔๔ ปี มีเจ้าอาวาสปกครองมา ๑๐ รูป จนถึงยุคท่านพระอาจารย์ทิพย์เสนา ทิพฺพเสโน (แท่นทิพย)์ ได้มรณภาพ ก็ไม่มีพระสงฆ์รูปใดครองสำ�นกั สงฆ์แห่งน้เี ป็นเวลารว่ มสิบปี ต่อมาหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้มาบุกเบิกสร้างวัดเลียบและเป็นเจ้าอาวาส ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๕ ในสมัย รัชกาลท่ี ๕ ไดร้ ับพระราชทานเปน็ วิสงุ คามสมี าตามพระราชโองการท่ี ๘๗/๓๐๓ ต้ังแตว่ ันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ เปน็ วดั ฝา่ ยธรรมยตุ ท่สี บื ทอดเจตนารมณข์ องหลวงปเู่ สาร์ กนฺตสโี ล ตน้ ธารแหง่ สายพระกมั มัฏฐานองค์สำ�คัญสบื ตอ่ มา ตราบจนกระท่ังปัจจบุ นั ขอขอบคณุ ข้อมลู จาก : www.guideubon.com/2.0/go2ubon/2066/ วัดภหู ลน่ อําเภอศรีเมอื งใหม่ จังหวดั อุบลราชธานี ภูหล่น อยู่ห่างจากบ้านคำ�บง ซึ่งเป็นบ้านเกิด ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ประมาณ ๕ กิโลเมตร ในราวปี พ.ศ. ๒๔๔๐ หลวงปเู่ สาร์ กนั ตสโี ล ซง่ึ เปน็ พระอาจารยข์ องท่าน ได้น�ำ ท่านมาอบรมสมาธบิ นภหู ลน่ แห่งนี้ ซึ่งมีลักษณะ ลานหินกวา้ งมเี พงิ หิน เต็มไปดว้ ยไขป้ ่า และสัตวร์ ้าย หลวงปู่ม่นั ภูริทัตโต ท่านจึงไดน้ ำ�ชาวบ้านมาช่วยขนหิน ดิน โคลน ขึ้นมาก่อเป็นถำ้�พอเป็นที่อยู่อาศัยกันสัตว์ร้ายมารบกวนเวลาทำ�ความเพียร เคยมีเหตุการณ์เกิดข้ึนขณะนั่งวิปัสสนา อยู่น้ัน ได้มีเสือจะเข้ามาทำ�ร้าย แต่ก็ไม่สามารถจะทำ�อะไรท่านได้ ปัจจุบันนี้ยังมีรอยเท้าเสือปรากฏอยู่ ณ สำ�นักสงฆ์ ภูหล่นแห่งน้ี เป็นรอยเท้าเสือท่ีไม่มีเล็บบนผนังเพิงพักน้ัน หลังจากหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์ของท่าน ได้อบรมจนรู้ชัดว่ากำ�ลังสมาธิอันแน่วแน่ ได้เกิดข้ึนแล้วในหลวงปู่ม่ัน ท่านจึงได้เเยกจากไป หลวงปู่ม่ัน ภูริทัตโต ท่านได้บำ�เพ็ญภาวนาอยู่บนภูหล่นประมาณ ๕ ปี ท่านจึงได้จากสถานที่แห่งนี้ไป หลังจากท่านได้แสดงธรรมเทศนา อบรมโยมมารดาจนเกิดศรัทธาออกประพฤติศีลพรหมจรรย์ตามท่านไป ในราว พ.ศ. ๒๔๔๙ หลังจากนั้นท่านก็ ไม่ไดย้ ้อนกลับมาทภี่ ูหลน่ อีก ท่ีแหง่ นจ้ี งึ เป็นปฐมสมถวิปสั สนากัมมฏั ฐานของหลวงปูม่ ัน่ ภรู ิทัตโต ๔๖

วัดบรมนวิ าสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร เป็นวัดท่ีพระวชิรญาณเถระ โปรดให้เริ่มสร้างเม่ือ พ.ศ. ๒๓๗๗ ประกอบด้วยพระอุโบสถ พระเจดีย์ และกุฏิ ๑๔ หลัง การก่อสร้างดำ�เนินมาจนกระทั่งพระ วชิรญาณเถระลาผนวชและข้ึนครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอารามได้รับการปฏิสังขรณ์ในรัชสมัย พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั และปฏสิ งั ขรณค์ รงั้ ใหญ่ อีกคร้ังในสมัยที่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็น เจ้าอาวาส โดยเจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ ๕ และพระราช โอรสธดิ าเป็นผู้สนับสนุนทุนทรพั ย์ พระอารามยังมีเสนาสนะสร้างเพ่ิมเติม และได้รับการ ปฏสิ งั ขรณ์ในสมยั เจ้าอาวาสร่นุ ต่อๆ มาจวบจนปจั จบุ ัน วัดเจดยี ห์ ลวง อำ�เภอเมือง จงั หวดั เชียงใหม่ วดั เจดยี ห์ ลวงวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงในจงั หวัดเชยี งใหม่ มชี อื่ เรยี กหลายชอื่ ไดแ้ ก่ ราชกฏุ าคาร วดั โชตกิ าราม สรา้ งขนึ้ ในรชั สมยั พญาแสนเมอื ง มา พระมหากษัตริย์ รชั กาลที่ ๗ แหง่ ราชวงศ์มังราย ไม่ปรากฏปีท่ีสรา้ งแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งน้ีน่าจะสร้างใน พ.ศ. ๑๙๒๘ – ๑๙๔๕ และมีการบูรณะ มาหลายสมัย โดยเฉพาะพระเจดีย์ ทปี่ จั จุบันมีขนาดความกวา้ งด้านละ ๖๐ เมตร เปน็ องคพ์ ระเจดีย์ท่ีมีความส�ำ คญั อีกองค์หนง่ึ ของจังหวัดเชียงใหม่ วัดเจดีย์หลวงสร้างอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิมถือว่าเป็น ศนู ยก์ ลางทางการปกครองของอาณาจกั รลา้ นนา ตง้ั อยเู่ ลขท่ี ๑๐๓ ถนนพระปกเกลา้ ต�ำ บลพระสงิ ห์ อ�ำ เภอเมอื ง จังหวัดเชียงใหม่ มเี นื้อท่ภี ายในวดั ประมาณ ๓๒ ไร่ ๑ งาน ๒๗ ตารางวา ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.th.wikipedia.org/wiki/วัดเจดีย์ หลวงวรวิหาร ๔๗

วดั ป่าดาราภิรมย์ อำ�เภอแมร่ ิม จงั หวัดเชียงใหม่ วัดป่าดาราภริ มย์ ตงั้ อย่ทู ต่ี �ำ บลรมิ ใต้ อำ�เภอแม่ริม จงั หวดั เชยี งใหม่ ด้านหนา้ วัดมีคลองชลประทานแมแ่ ตง ไหลผ่าน ต้ังอยู่ห่างจากที่ว่าการอำ�เภอแม่ริม และค่ายดารารัศมีประมาณ ๑ กิโลเมตร ต้ังอยู่ห่างจากศาลากลาง จังหวัดเชียงใหม่ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่อาณาเขตของวัด ๒๖ ไร่ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการตั้งเป็นวัด ลงวันท่ี ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ไดร้ ับพระราชทานวสิ งุ คามสมี า เมือ่ วนั ที่ ๒๔ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๕๒๒ เน้ือท่ีกว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๓๐ เมตร และไดป้ ระกอบพธิ ผี กู พทั ธสมี า เมอ่ื วนั ท่ี ๙ กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. ๒๕๒๓ ไดร้ บั พระบรมราชานญุ าต ให้ยกเป็นพระอารามหลวงช้ันตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันท่ี ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นปีเฉลิมฉลองพระชนมายุ ครบ ๖ รอบ แห่งพระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภมู ิพลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ในปีพุทธศกั ราช ๒๔๗๑ พระอาจารย์มั่น ภรู ทิ ัตตมหาเถระ พระกรรมฐานนักปฏบิ ัติธรรมผูย้ ดึ มัน่ ในการถอื ธุดงควตั ร มกั น้อย สันโดษ เจริญรอยตามปฏิปทาของพระมหากสั สปเถรเจา้ ผ้เู อตทคั คะ ทางธดุ งควตั ร ได้รบั อาราธนา จากพระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปจาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ให้มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่ โดยเร่ิมแรกที่วัดเจดีย์หลวง ซึ่งในขณะนั้นยังไม่พลุกพล่านด้วยผู้คน บรรยากาศภายในวัดเงียบสงบ พอออกพรรษา ทา่ นก็ออกจาริกธดุ งคไ์ ปแสวงหาความสงบสงัด ในปพี ทุ ธศกั ราช ๒๔๗๓ ได้จารกิ มาทางอำ�เภอแมร่ มิ ไดพ้ กั อยทู่ ่ปี ่าช้า รา้ งบา้ นตน้ กอก ซง่ึ ในขณะนน้ั เตม็ ไปดว้ ยปา่ ไมส้ กั และไมเ้ บญจพรรณ อยตู่ ดิ กบั บรเิ วณสวนเจา้ สบาย ต�ำ หนกั ดาราภริ มย์ ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลท่ี ๕ ที่ได้รับการก่อสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔ ในขณะน้ันบริเวณวัดเป็น ปา่ ไมเ้ บญจพรรณ (ปา่ แพะ) อยู่เขตชายป่าเทอื กเขาดอยสเุ ทพ และดอยมอ่ นคว�ำ่ หลอ้ ง (ในต�ำ นานของขนุ หลวงวิรงั คะ) ยังไม่พลุกพล่านด้วยบ้านผู้คน เป็นสถานท่ีเงียบสงบสงัด วิเวก รำ่�ลือกันว่าเป็นสถานท่ีผีดุ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อยู่พักช่ัวระยะหนึ่ง แสวงจาริกไปท่ีพระธาตุจอมแตง เพ่ือจำ�พรรษา ๑ พรรษา ไปห้วยนำ้�ริน ป่าช้าบ้านเด่น บ้านปง (วดั อรัญญวเิ วก) เชียงดาว และพร้าว ตอ่ ไป จากสถานทีป่ ่าช้ารา้ งที่พระอาจารยม์ ัน่ ผูบ้ ำ�เพ็ญเผาผลาญกเิ ลสจนบรรลุถึง อรยิ มรรคอรยิ ผล ไดม้ าเจรญิ สมณธรรม อธษิ ฐานจติ ภาวนา ท�ำ ใหส้ ถานทแ่ี หง่ นไ้ี ดร้ บั การกอ่ สรา้ งขน้ึ เปน็ เสนาสนะปา่ ขน้ึ ดว้ ยกฏุ ศิ าลา แบบชวั่ คราว และมพี ระธดุ งคกรรมฐานผเู้ ปน็ ศษิ ยแ์ หง่ พระอาจารยม์ นั่ มาอยจู่ ารกิ อาศยั บ�ำ เพญ็ สมณธรรม ตามวถิ แี หง่ ธดุ งคกรรมฐาน เปน็ การชว่ั คราวบา้ ง ถาวรบา้ ง จงึ กลา่ วไดว้ า่ จดุ เรมิ่ ตน้ ของสถานทแ่ี หง่ นเี้ กดิ เมอ่ื ปพี ทุ ธศกั ราช ๒๔๗๓ โดยท่านพระอาจารย์ม่ัน ภูริทัตโต หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีพระธุดงคกรรมฐานมาอยู่ปฏิบัติที่ป่าช้าแห่งน้ี เป็นครง้ั คราว ข้อมลู จาก : www.darabhirom.hypermart.net/discuss.htm, www.rakbankerd.com ๔๘

วัดปา่ หนองผือนาใน อำ�เภอพรรณานิคม จงั หวัดสกลนคร เมอ่ื ครัง้ ทอี่ งคห์ ลวงป่มู นั่ พำ�นกั ณ เสนาสนะปา่ บ้านหว้ ยแคน ขณะน้ันท่านพระอาจารย์หลุย (หลวงปูห่ ลยุ จนทฺ สาโร) จ�ำ พรรษาอยทู่ ี่ บา้ นหนองผอื นาใน พระอาจารย์ หลุยได้แนะนำ�ชาวบ้านหนองผือให้อาราธนาหลวงปู่ม่ัน มาจ�ำ พรรษาทน่ี ่ี ชาวบา้ นจงึ ไดเ้ ดนิ ทางไปอาราธนาหลวงปมู่ น่ั ณ บ้านห้วยแคน องค์ท่านจึงได้มาจำ�พรรษา ณ วัดป่า บา้ นหนองผอื ในเวลาตอ่ มา ตดิ ตอ่ กนั เปน็ เวลาถงึ ๕ พรรษา ต้งั แต่ พ.ศ. ๒๔๘๘ – ๒๔๙๒ วดั ปา่ บ้านหนองผอื หรอื ช่ืออย่างเป็นทางการว่า “วัดภูริทัตตถิราวาส” ซึ่งเป็นนามท่ีตั้งโดยท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ตามฉายาของหลวงปมู่ น่ั เพอื่ ถวายเปน็ อนสุ รณแ์ กอ่ งคท์ า่ นทไ่ี ดเ้ มตตาจ�ำ พรรษาทน่ี น่ี านทสี่ ดุ ในปจั จบุ นั เสนาสนะตา่ งๆ ในสมยั หลวงปมู่ นั่ กย็ งั คงรกั ษาและอนรุ กั ษไ์ วเ้ ปน็ อยา่ งดี ไดแ้ ก่ กฏุ พิ รอ้ มทางเดนิ จงกรม ศาลาโรงธรรม ศาลาฉนั ภตั ตาหาร และของใช้เล็กๆ น้อยๆ ขององค์ท่าน สภาพบรรยากาศวัดก็ยังคงความสงบวิเวกอยู่เช่นเดิม ป่าไม้ยังคงสภาพ สมบูรณ์มีกุฏิกรรมฐานซ่อนตัวอยู่จุดต่างๆ ภายในวัด ภายใต้ร่มไม้ที่เปรียบดั่งหลังคาธรรมชาติร่มเย็นตลอดทั้งวัน เป็นรมมณยี สถานสำ�หรบั การภาวนาอีกแห่งหนึง่ สำ�หรบั นกั ปฏบิ ตั ิทั้งหลาย วัดปา่ สทุ ธาวาส อำ�เภอเมอื ง จงั หวัดสกลนคร หลวงปเู่ สาร์ กนั ตสลี เถระ กบั หลวงปมู่ น่ั ภรู ทิ ตั ตเถระ ไดร้ บั การอาราธนาจากอบุ าสกิ าสามพน่ี อ้ ง ไดแ้ ก่ นางนมุ่ , นางนลิ ชวุ านนท์ และนางลกู อนิ ทร์ วฒั นสชุ าติ ผมู้ คี วามเลอ่ื มใสในพระอาจารยท์ ง้ั สอง มาจ�ำ พรรษา ณ เสนาสนะปา่ บา้ นบาก ใน พ.ศ. ๒๔๖๙ ต่อมาจึงได้จัดสร้างเป็นวัดป่าสุทธาวาสในเวลาต่อมาภายหลังท่ีท่านจากภาคเหนือมาจำ�พรรษา ทว่ี ดั ปา่ โนนนเิ วศน์ จงั หวดั อดุ รธานแี ลว้ คณะศรทั ธาชาวสกลนครไดก้ ราบอาราธนาทา่ นมาจ�ำ พรรษา ณ วดั ปา่ สทุ ธาวาส อกี คร้ัง ใน พ.ศ. ๒๔๘๔ แลว้ ท่านจงึ ไปจำ�พรรษาท่ีเสนาสนะปา่ บ้านโคก จวบจนวาระที่ท่านใกล้มรณภาพจงึ ได้มาทิ้งขนั ธ์ ณ วัดป่าสทุ ธาวาส ใน พ.ศ. ๒๔๙๒ ภายหลงั จงึ ไดม้ กี ารฌาปนกจิ ศพขององคท์ า่ น และประชมุ เพลงิ ศพ ณ วดั แหง่ น้ี เมอ่ื วนั องั คารท่ี ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ตอ่ มาจงึ ไดส้ รา้ งอโุ บสถในบรเิ วณทป่ี ระชมุ เพลงิ และพพิ ธิ ภณั ฑห์ ลวงปมู่ น่ั ตรงบรเิ วณกฏุ ทิ อ่ี งคท์ า่ นมรณภาพ ๔๙

วัดสายธรรมยุตกิ นิกาย ทวปี เอเชยี วัดสายธรรมยตุ ิกนกิ าย ประเทศแคนาดา วดั พทุ ธเมตตา อนิ โดนีเซยี วัดญาณวิรยิ า ๑ เจา้ อาวาส เจา้ อาวาส พระครูวิเศษธรรมคุณ พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร) (รก.) วัดวิปสั สนาคราหะ อนิ โดนเี ซยี วดั ญาณวริ ยิ า ๒ เจ้าอาวาส : พระครูประกาศธรรมนเิ ทศ เจา้ อาวาส พระธรรมมงคลญาณ (วริ ิยงั ค์ สริ ินธฺ โร) (รก.) วัดธรรมเมตตา อนิ โดนีเซยี วัดราชธรรมวริ ิยาราม ๑ เจา้ อาวาส พระครวู ิเนตศาสนกิจโศภิต เจ้าอาวาส พระธรรมมงคลญาณ (วริ ิยังค์ สริ นิ ธฺ โร) (รก.) วัดพุทธวริ ิโย อินโดนเี ซยี ข้อมูลจาก www.luangpumun.dra.go.th/canada เจา้ อาวาส พระศรวี ิสาร พทุ ฺธวริ ิโย ข้อมลู จาก www.luangpumun.dra.go.th/asia วดั สายธรรมยุตกิ นิกาย ทวปี ยุโรป วดั สายธรรมยุตกิ นิกาย ประเทศสหรัฐอเมรกิ า วัดป่าโคเปนเฮเกน วัดพุทธรตั นาราม (ประเทศเดนมารก์ ) เจา้ อาวาส เจ้าอาวาส พระครูวินยั ธร เรอื งเดช โรจนธมฺโม พระครพู เิ นตศาสนคณุ (สมศกั ดิ์ กนตฺ สโี ล) วดั พุทธบูชา วดั สันตินิวาส เจา้ อาวาส (ประเทศสวีเดน) พระเทพกิตติวิมล (สมาน คุณากโร) เจา้ อาวาส วัดวอชิงตันพุทธวนาราม พระครูประกาศพุทธญาณ (สุเทพ จนฺทวโํ ส) เจ้าอาวาส วัดดอลลารน์ ่าวนาราม พระวบิ ูลธรรมวเิ ทศ (บุญเล้ยี ง ปญุ ญฺ รกขฺ โิ ต) (ประเทศสวเี ดน) ขอ้ มลู จาก www.luangpumun.dra.go.th/usa เจา้ อาวาส พระครูปลัด เอกพล พลปญฺโญ ขอ้ มูลจาก www.luangpumun.dra.go.th/europe ๕๐

บทบาท และผลงานด้านอืน่ ๆ

บทบาทและหน้าทีด่ ้านอื่นๆตอ่ สังคมของ หลวงปู่มัน่ ภรู ิทตฺโต อย่างที่ทราบกันดีว่าหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต องค์ท่านเป็นพระผู้ส้ินกิเลสแล้ว โดยการทำ�ประโยชน์ให้แก่ตนได้ บริบูรณ์แล้ว นัน่ คือ การแกก้ ิเลสออกจากใจตนเองจนหมดสิน้ กระน้ันด้วยเพราะความมีเมตตาขององค์ท่านตอ่ คนอนื่ จงึ ได้กระท�ำ หนา้ ที่เป็นครู นำ�ธรรมะท่ีองค์ท่านปฏบิ ัตจิ นรแู้ จ้งออกมาสัง่ สอนเผยแผ่แก่ทง้ั บรรพชติ และฆราวาส เพ่ือให้ บคุ คลเหล่านน้ั ไดอ้ อกจากทกุ ข์ในวฏั สงสาร ถึงกระน้ันแล้วก็ตาม ในบทบาทด้านอื่นๆ ขององค์ท่าน ก็ได้กระทำ�โดยมิได้ขาดตกบกพร่อง สมดังท่านเป็น นักปราชญ์ผู้รอบรู้ในทุกๆ ด้านโดยแท้ ในที่นี้จะขอกล่าวโดยสรุปรวบยอด ในเชิงวิเคราะห์ จากการศึกษารวบรวม จากข้อมูลท่ีศึกษา พอจะอนุมานได้คร่าวๆ และสรุปบทบาทด้านอ่ืนๆ ที่องค์ท่านได้กระทำ�ไว้ให้เป็นแบบอย่างอันดี แกอ่ นุชนรุน่ หลัง มีดังนี้ เช่น บทบาทในดา้ นทางโลก ๑ . บทบาทในด้านความเป็นผ้นู �ำ กล่าวได้ว่า หลวงปู่ม่ัน ภูริทตฺโต องค์ท่านได้ก้าวออกมาเป็นผู้นำ�ในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุค กงึ่ พทุ ธกาลโดยแท้ โดยเฉพาะการปฏบิ ตั อิ ยา่ งเครง่ ครดั ในสายของพระธดุ งคกรรมฐานดา้ นวปิ สั สนาธรุ ะ (เนน้ การปฏบิ ตั ิ สมาธภิ าวนา) องคท์ า่ นไดเ้ ปน็ ผนู้ �ำ ลกู ศษิ ยอ์ อกเผยแผก่ ารปฏบิ ตั ภิ าวนาดา้ นธดุ งคกรรมฐานไปในหลายๆ ทข่ี องเมอื งไทย เชน่ แถบภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคเหนือ ซึ่งสมัยนัน้ การปฏบิ ตั แิ บบธดุ งคกรรมฐาน ยงั ไมเ่ ปน็ ท่ยี อมรับของสงั คมไทย และมีอปุ สรรคในการเผยแผอ่ ยา่ งมากมาย เชน่ มีการต�ำ หนิว่า พระทำ�ไมไปอยใู่ นป่า ไม่อยใู่ นวดั เป็นต้น แตด่ ้วยอาศัย ความอดทน ความแขง็ แกร่งในทางกายและทางใจ ความเดด็ เดย่ี วกลา้ หาญ ความมรี ะเบยี บวนิ ยั ความรกั ความสะอาด เป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน ว่าง่ายสอนง่าย ความเคารพในธรรมของพระพุทธเจ้า การเอาธรรมเป็นใหญ่ในการปกครอง พระ เณรในวดั โดยเฉพาะในยดุ บา้ นหนองผอื นาใน จงั หวดั สกลนคร สง่ิ เหลา่ นอ้ี งคท์ า่ นไดป้ ฏบิ ตั เิ ปน็ ครเู ปน็ ผนู้ �ำ ในทกุ ๆ ดา้ น ใหล้ กู ศษิ ยไ์ ดเ้ หน็ เปน็ แบบอยา่ ง โดยมใิ ชแ่ คก่ ารสง่ั สอนอยา่ งเดยี ว องคท์ า่ นกระท�ำ โดยไมข่ าดตกบกพรอ่ ง จนท�ำ ใหช้ าวบา้ น เลิกนับถือผี หันมานับถือพระรัตนตรัย ยึดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พ่ึง จนเป็นท่ีมาของแนวปฏิบัติของ พระวิปสั สนากรรมฐานมาจนในยุคปัจจุบนั ทำ�ใหพ้ ระวิปสั สนากรรมฐานเป็นทร่ี ู้จักและนับถอื ของชาวไทยอย่างมากมาย ๒ . บทบาทในดา้ นการเป็นต้นแบบของครู หลวงป่มู นั่ ภรู ิทตฺโต ถอื ได้วา่ เปน็ ยอดบรมครู เป็นผูส้ ัง่ สอนแนะนำ�ลกู ศิษย์ทง้ั บรรพชิตและฆราวาสอย่างเตม็ ความสามารถ องค์ท่านได้สัง่ สอนธรรมะอนั บรสิ ุทธิใ์ หก้ บั บคุ คล ให้รจู้ กั บาป บุญ ให้เวน้ การกระทำ�ความชั่ว ให้กระทำ� ความดี และใหร้ ูจักการปฏบิ ัติภาวนา นัง่ สมาธิ เจรญิ วปิ ัสสนา จนชำ�ระกเิ ลสในใจของคนเรา อันน�ำ มาซง่ึ ความสงบสขุ ได้อยา่ งแทจ้ รงิ โดยการส่งั สอน องค์ท่านไดส้ อนอยา่ งจริงจงั ไมล่ ดละ เขม้ งวดกบั ลกู ศิษย์ให้เอาจรงิ เอาจังในการปฏิบัติ ภาวนา ลกู ศษิ ยต์ า่ งๆ ลว้ นเคารพในองคท์ า่ นอยา่ งแทจ้ รงิ และนบั ถอื องคท์ า่ นเปน็ ตน้ แบบของครผู ใู้ ห้ ทไ่ี มห่ วงั ผลตอบแทน อยา่ งแท้จรงิ ซงึ่ ต่อมาลกู ศิษย์ในองคท์ ่าน ล้วนเป็นพระมหาเถระท่มี ผี ้คู นเคารพกราบไหว้อย่างมากมาย ท้งั ในเมอื งไทย และต่างประเทศ เช่น หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านพ่อลี ธมฺมธโร หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน หลวงปู่ชา สุภทฺโธ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงปหู่ ลา้ เขมปตฺโต หลวงปศู่ รี มหาวีโร หลวงปูส่ มิ พทุ ธฺ าจาโร เปน็ ต้น ๕๒

๓ . บทบาทในดา้ นความเปน็ สมณนกั ปราชญ์ ในชว่ งแรกของการบวช หลวงป่มู ัน่ ภรู ทิ ตโฺ ต แมอ้ งคท์ า่ นจะจ�ำ พรรษาที่วดั สระปทุมกต็ าม แตใ่ นดา้ นการศึกษา ธรรมะ องค์ทา่ นจะศึกษาอยกู่ บั ทา่ นเจ้าคุณอบุ าลคี ณุ ูปมาจารย์ (จนั ทร์ สิรจิ นโฺ ท) ณ วัดบรมนวิ าสราชวรวิหาร กรงุ เทพฯ องค์ท่านได้ฝึกฝนตนเองจนดีแล้ว จึงได้สั่งสอนผู้อื่น ซ่ึงหากจะแบ่งการอบรมสั่งสอนขององค์ท่าน ก็สามารถแยก ได้เปน็ ๒ แบบ คอื ๑) แต่งตำ�ราปริศนาธรรมไว้ ๑ เล่ม ชื่อ “ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ” ซ่ึงถือว่าเป็นการแต่งแบบประพันธ์ ที่ต้องใช้ทักษะด้านภาษาขั้นสูง และแฝงด้วยความหมายด้านธรรมะอยู่ในน้ันด้วย ซ่ึงถือเป็นธรรมะขั้นสูงเช่นกัน ในปัจจบุ ันหนงั สอื เลม่ ดังกลา่ วยังปรากฏให้เห็นอยู่ ๒) การเทศนาส่ังสอน ด้วยว่าอุปนิสัยขององค์ท่าน จะเป็นคนพูดน้อย อันไหนมีประโยชน์ถึงจะพูดส่ังสอน แต่โดยมากองค์ท่านจะเน้นการพาลงมือปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมมากกว่าการอ้างในตำ�รา การสั่งสอนก็สั่งสอนโดย ใกลช้ ดิ แตเ่ นอื่ งดว้ ยในสมยั นน้ั ไมม่ เี ครอื่ งมอื ทท่ี นั สมยั จงึ อาศยั การจดจ�ำ จากพระลกู ศษิ ยท์ ไ่ี ดร้ บั ฟงั เทศนาขององคท์ า่ น แลว้ น�ำ มาจดจารกึ ไว้ ซง่ึ อาจจะมคี วามคลาดเคลือ่ นไปบา้ ง ๔ . บทบาทในดา้ นการเป็นนกั เศรษฐศาสตร์ ในมุมมองนีจ้ ะเหน็ ไดว้ า่ องคท์ ่านได้น�ำ ศาสตร์ของความพอเพียงมาจากพระธรรมค�ำ สอนของพระบรมศาสดา อันได้แก่ ความมักน้อย สันโดษ ยินดีในสงิ่ ทไี่ ด้มา โดยจะสามารถดไู ด้ตั้งแต่การใช้บรขิ ารในการดำ�เนินชวี ิตเท่าทีจ่ �ำ เปน็ (บริขาร ๘) การฉันข้าวม้ือเดียว การอาศัยในสิ่งปลูกสร้างท่ีไม่หรูหรา การอยู่อย่างสมถะตามอัตภาพเพียงเพ่ือให้ได้ ภาวนาพัฒนาด้านจิตใจเป็นหลัก ข้าวของเครื่องใช้อันไหนที่ชำ�รุดก็ซ่อมแซม ผ้าจีวรอันไหนขาดองค์ท่านก็ปะชุน เย็บ ซ่อม ความเปน็ อยู่ทกุ อยา่ งในชวี ิตประจ�ำ วันล้วนแต่พงึ่ ตนเอง พึง่ พาและอย่กู บั ธรรมชาตโิ ดยแท้ ไม่ปลกู สร้างถาวรวตั ถุ ใดๆ ให้ส้ินเปลอื ง สว่ นเรือ่ งลาภ ยศ สรรเสรญิ นัน้ องคท์ า่ นไม่ได้ใหค้ วามส�ำ คัญเลยแมแ้ ตน่ อ้ ย ๕ . บทบาทด้านนักการทตู หลวงปู่ม่ัน ภูริทตฺโต อาจกล่าวได้ว่า องค์ท่านมีวาทศิลป์ในการอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ให้เข้าใจในหลักธรรม คำ�สอนของพระพุทธเจ้า องค์ท่านสามารถทำ�ให้พระที่มาอยู่ศึกษาด้วยกัน ซึ่งแต่ละท่านมาจากต่างถิ่น แต่สามารถ อยูด่ ้วยกันไดอ้ ย่างสันติ ทงั้ ฆราวาส และบรรพชติ โดยการใชธ้ รรมะส่งั สอน ทำ�ใหบ้ ุคคลเกดิ ความสงบ รม่ เย็น กอ่ เกิด ความสงบสันตแิ ผก่ วา้ งออกไปสู่สังคม จากสงั คมเลก็ ๆ เป็นสงั คมท่ีกว้างขึ้นเรอ่ื ยๆ และหากนำ�ธรรมะกระจายออกไปสู่ วงกวา้ ง กจ็ ะทำ�ใหส้ งั คมนนั้ ๆ สงบสุข รม่ เยน็ ความขดั แยง้ หรือสงครามกจ็ ะไมเ่ กิดขน้ึ จงึ สามารถกล่าวได้วา่ องค์ท่าน เปน็ นกั การทูตโดยแท้จรงิ ๖ . บทบาทดา้ นการแพทยแ์ ละเภสชั ศาสตร์ ในเรอื่ งนอี้ าจกลา่ วแยกได้ ๒ ประเดน็ คอื ทง้ั แพทย์รกั ษากาย และแพทย์รักษาใจ ในสว่ นแรกนน้ั การส่งั สอน ขององค์ท่าน คือการทำ�ข้อวัตร ซ่ึงข้อวัตรรวมหรือขันธวัตรของพระ ล้วนเป็นสิ่งที่ทำ�ให้สุขภาพทางกายแข็งแรง และ หากมีการเจ็บป่วย องค์ท่านก็เน้นรักษาด้วยสมุนไพรแบบง่ายๆ แต่จะเน้นฝึกใกล้ลูกศิษย์ อดทนกับความเจ็บป่วย และเป็นการฝึกฝนจิตใจของพระกรรมฐานให้เข้มแข็ง ฝ่าฟันกับทุกขเวทนาไปในตัวด้วย ในส่วนน้ีจะเรียกว่า “ธรรม โอสถ” ก็ไม่ผดิ ซงึ่ ส่ิงเหล่านี้ องคท์ ่านลว้ นเปน็ ผพู้ าปฏบิ ัตดิ ำ�เนินดว้ ยองคท์ า่ นเอง ไม่ใชเ่ พียงแต่การพดู สัง่ สอนเทา่ นัน้ ส่วนการเป็นแพทย์ทางใจนั้น อันนี้ถือว่าสำ�คัญมาก อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นงานหลักของพระธุดงคกรรมฐาน ก็ว่าได้ นั่นคือ การเน้นการรักษาใจ แก้ไขใจท่ีมีกิเลส ให้เป็นจิตใจที่บริสุทธ์ิ ไม่มีกิเลส ไม่มีความชั่วปะปนอยู่ในใจ โดยการทำ�เจริญสมาธิภาวนา อบรมจิตใจตนเอง ขั้นต้น ก็ทำ�ให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจสงบ มีความสุข ข้ันปลายคือ บรมสุข พ้นทุกข์ไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก ซึ่งถือเป็นยอดของคำ�สั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้ ซ่ึงในปัจจุบัน จะพบวา่ การเจริญสมาธิภาวนา ได้เปน็ ท่ยี อมรับและเผยแพรไ่ ปยังนานาอารยะประเทศอยา่ งกว้างขวาง ๕๓

๗ . บทบาทดา้ นการเปน็ นักสงั คมสงเคราะห์ ในมุมนี้ จะสามารถมองเห็นได้งา่ ย เพราะองค์ท่านได้สงเคราะหผ์ คู้ นและสตั วโ์ ลกโดยไม่ละเว้นเลย ทัง้ ฆราวาส บรรพชิต ทั้งสัตว์ต่างๆ ร่วมโลก โดยนัยท่ีองค์ท่านเมตตา จะเห็นได้ทั้งการสงเคราะห์ด้วยส่ิงของ การแบ่งปันเผ่ือแผ่ ให้แก่ผู้ขาดแคลน และทั้งสงเคราะห์ด้วยการส่ังสอนด้วยธรรมะ ซ่ึงถือเป็นการสงเคราะห์ที่สูงกว่าการสงเคราะห์ด้วย วตั ถแุ บบเทยี บค่าไมไ่ ด้ เบอื้ งตน้ องคท์ า่ นกส็ งเคราะหต์ นเอง โดยการปฏบิ ตั จิ นสนิ้ กเิ ลส เปน็ สมณะผสู้ งบงาม ตอ่ มากส็ งเคราะหค์ นอน่ื และสังคมโดยการอุทิศเวลาส่วนตน ออกมาเผยแผ่สัจธรรม ส่ังสอนให้คนเป็นคนดี โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหน่ือย แตอ่ ยา่ งใด องค์ท่านได้อทุ ิศเวลาตลอดชีวิตในสมณเพศขององค์ท่าน เพ่อื ส่ังสอนให้คนรู้แจง้ เห็นจริง และพาปฏิบัตจิ ริง ดังน้ัน จึงไม่แปลกที่องค์ท่านจะมีศิษยานุศิษย์มากมาย และในกาลต่อมา ก็มีผู้คนนับถือและปฏิบัติตามคำ�ส่ังสอนของ องค์ทา่ น จนในปจั จบุ ัน มีศิษยานศุ ิษย์รุ่นตอ่ ร่นุ ได้สบื ทอดข้อวัตรปฏบิ ัติขององค์ท่านมารว่ ม ๗ ทศวรรษ ซงึ่ ล้วนแล้วแต่ มอบความเคารพอย่างท่ีสุดตอ่ องคท์ ่าน ๘ . บทบาทด้านการเป็นนกั พฒั นา บทบาทน้ี เห็นได้ชัดเจนในองค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ด้วยว่า องค์ท่านเป็น “นักพัฒนาคน” ซ่ึงมนุษย์นั้นถือ ได้ว่า เป็นทรัพยากรท่ีมีคุณค่ามากที่สุดของโลก ย่ิงถ้าเราพัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ท่ีมีคุณค่า มีศีลธรรม จริยธรรม ประจำ�ใจด้วยแลว้ อย่างอนื่ กจ็ กั เจรญิ ตามมาโดยไมต่ อ้ งสงสัย องค์ท่านได้อบรมส่ังสอนคน ให้ถือศีล ให้ทาน และเจริญภาวนา ซึ่งถือเป็นงานทางใจ จึงถือเป็นงานที่ยาก แต่หากทำ�ได้สำ�เร็จแล้ว ผลตอบแทนท่ีได้ก็คุ้มค่าเกินบรรยาย ตลอดชีวิตสมณเพศขององค์ท่านน้ัน ได้ทุ่มเทให้แก่ การอบรมสั่งสอนคนให้เปน็ คน ใหร้ บู้ าป บุญ ให้รจู้ กั การใหท้ าน การเผ่อื แผ่ การใหอ้ ภัย และใหร้ ู้จักการทำ�จิตใหส้ งบ ให้ส้ินกเิ ลส ดงั นั้น จงึ ถือได้ว่า องค์ท่านเปน็ นกั พฒั นาคนโดยแท้ เม่อื บุคคลเหล่านน้ั กลายเป็นกลั ยาณชนแล้ว ย่อมสง่ เสรมิ ให้สังคมนนั้ ๆ เป็นสังคมทนี่ า่ อยู่ เปน็ สงั คมทสี่ งบสขุ สันติ ผาสุก นับแต่สังคมเลก็ ๆ จนสามารถขยายออกไปสู่สงั คมอันกว้างขึน้ ตลอดทว่ั ทั้งสังคมโลกได้ในที่สดุ ๙ . บทบาทดา้ นเป็นนกั กฎหมาย หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต องค์ท่านถือเป็นสมณนักปราชญ์ ถือครองเพศบรรพชิตมาตลอดอายุขัยจนมรณภาพ ซ่ึงนอกจากการถือศีล ๒๒๗ ข้อแล้วน้ัน องค์ท่านยังได้เข้มงวดตนเองเข้ามาอีก ด้วยการถือธุดงควัตรตลอดชีวิตของ องค์ท่าน จนได้รับการขนานนามว่า เป็น “ยอดบรมครูของพระฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานของเมืองไทย” การถือศีล อนั เข้มงวดนี้ ล้วนตอ้ งออกมาจากเจตนาทางใจ ท่ีจะงดเว้นท�ำ ความชัว่ ดังน้ัน หากจะกลา่ ววา่ องค์ทา่ นเป็นนกั ปกครอง ตนเอง ปกครองผู้อ่ืน และเปน็ นกั กฎหมายในทางโลกไปดว้ ยในตวั เพราะศีลน้นั ละเอียดลออมากกวา่ ค�ำ วา่ “กฎหมาย” มาก เพราะศลี นน้ั ถอื เอาเจตนาเปน็ หลกั ไมต่ อ้ งอาศยั หลกั ฐานพยานเหมอื นกฎหมายในปจั จบุ นั หากแตเ่ มอื่ ใดทผี่ กู้ ระท�ำ รแู้ กใ่ จตน วา่ มเี จตนาจะกระท�ำ อนั ไมด่ ี นนั่ ยอ่ มถอื วา่ ศลี สามารถกนิ เนอื้ ความครอบคลมุ และศกั ดส์ิ ทิ ธมิ์ ากกวา่ กฎหมาย ร้อยเท่าพันทวี ๕๔

บทบาทในดา้ นทางธรรม ๑ . บทบาทในดา้ นความเข้มงวดในดา้ นการถอื ธดุ งควัตร อย่างท่ีได้กลา่ วมาแลว้ ข้างตน้ ว่าองคท์ า่ นไดถ้ ือปฏิบตั ขิ อ้ ธดุ งควตั ร ๖ ขอ้ ใน ๑๓ ข้อ ไดอ้ ย่างเคร่งครัดมาก จนกล่าวได้ว่าไม่มีพระรูปไหนปฏิบัติได้เท่าองค์ท่าน ซ่ึงข้อการถือธุดงควัตรนี้ ได้กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น โดยองค์ท่านได้ถือปฏิบัติตั้งแต่ขณะออกบวชจวบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตสมณเพศ ซ่ึงถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้หาได้ ยากยง่ิ โดยแท้ ๒ . บทบาทด้านการฝึกอบรมตนเองใหเ้ ป็นแบบอยา่ งที่ดงี าม การปฏิบัติตนในชีวิตสมณเพศขององค์ท่าน ตั้งแต่บวชจนกระทั่งวาระสุดท้ายนั้น ถือได้ว่า ทุกสิ่งที่องค์ท่าน กระทำ� สามารถนำ�มาใช้เป็นแบบอย่างและแนวทางที่ดีเย่ียมได้ท้ังหมด หลวงปู่ม่ัน ภูริทตฺโต ได้ช่ือว่าเป็นผู้ฝึกตนเอง ได้อย่างยอดเย่ียม แล้วมาฝึกคนอ่ืนให้ปฏิบัติตามได้เป็นอย่างดี ท้ังข้อวัตร จริยวัตร หรือแม้กระทั่งแนวทางของ พระธดุ งคกรรมฐาน ลว้ นเจรญิ รงุ่ เรอื งขน้ึ มากเ็ พราะบารมขี ององคท์ า่ น การเยบ็ หม่ ผา้ จวี ร สจี วี ร บรขิ ารตา่ งๆ ทางจงกรม วธิ กี ารเดินจงกรม การภาวนา ตลอดจนข้อปฏบิ ัตอิ นั ดี ทสี่ ามารถนำ�มาเป็นแนวทางของพระธุดงคกรรมฐาน ตลอดจน การส่ังสอนฆราวาสตา่ งๆ องคท์ า่ นก็สามารถท�ำ ไดเ้ ปน็ อยา่ งดี ๓ . บทบาทด้านการเปน็ ต้นแบบของปรมาจารยด์ ้านวปิ สั สนากรรมฐาน ขอ้ นี้ ถอื วา่ หลวงปมู่ น่ั ภรู ทิ ตโฺ ต องคท์ า่ นคคู่ วรแกก่ ารยอมรบั ในวงศข์ องพระนกั ปฏบิ ตั ดิ ว้ ยกนั มา หลายสง่ิ หลาย อยา่ งทไี่ มถ่ กู ตอ้ ง องคท์ า่ นกพ็ าแกไ้ ข เชน่ การใหเ้ ลกิ นบั ถอื ผี ใหห้ นั มานบั ถอื พระรตั นตรยั การปฏบิ ตั สิ มถวปิ สั สนาตง้ั แต่ ขั้นต้น จนถึงข้ันสิ้นกิเลส ซึ่งองค์ท่านได้ปฏิบัติเองจนได้ผล แล้วได้นำ�สิ่งเหล่าน้ันมาสั่งสอนศิษยานุศิษย์ให้ดำ�เนิน รอยตามอย่างถูกต้อง ซึ่งถือว่าการภาวนาเป็นงานด้านพัฒนาจิตใจของมนุษย์ให้สูงข้ึน จึงถือเป็นงานท่ียาก แต่เป็น งานทป่ี ระเสรฐิ วถิ ที ่ีองค์ท่านไดพ้ าดำ�เนนิ นนั้ ไดน้ บั ปฏบิ ัตมิ าจวบจนกระทั่งยดึ ถือปฏบิ ัติกนั มาจนถึงกาลปัจจุบนั ๔ . บทบาทในดา้ นการเผยแผพ่ ระพุทธศาสนา แนวทางของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ถือได้ว่าเป็นแนวทางท่ียึดถือตามรอยของพระพุทธองค์ไว้ได้มากท่ีสุด เพราะนอกจากการถือศีล ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุแล้ว องค์ท่านยังพาปฏิบัติการถือข้อธุดงค์ ซึ่งแต่ละข้อจะเหมาะกับ การกำ�จัดกิเลสของพระแต่ละองค์ ซ่ึงต้องเลือกให้ถูกกับจริตของตนเอง องค์ท่านมิได้บังคับว่าต้องถือกี่ข้อ แต่หากถือ ปฏบิ ตั ไิ ด้ กจ็ ะเปน็ การดตี อ่ การปฏบิ ตั ภิ าวนาของพระรปู นนั้ ๆ ซงึ่ ในปจั จบุ นั นี้ การเผยแผใ่ นเรอ่ื งของการท�ำ สมาธวิ ปิ สั สนา และการปฏิบัตแิ บบถอื ธดุ งควตั รนน้ั ไดแ้ พร่หลายไปในยังนานาอารยประเทศ เชน่ ยโุ รป อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลยี เป็นตน้ ๕ . บทบาทในดา้ นการอบรมศิษย์ ให้เปน็ พระสงฆท์ ดี่ งี าม บทบาทข้อน้ี จะเหน็ ไดช้ ดั เจนในชว่ งระยะเวลา ๕ ปสี ุดทา้ ยในชวี ิตขององคท์ ่าน ซงึ่ ได้เปดิ รับท้ังพระ เณร และ ฆราวาส ใหเ้ ขา้ ไปศกึ ษา ไตถ่ ามธรรมะจากองคท์ า่ นไดโ้ ดยตรง แตต่ อ้ งไปตามเวลาทอี่ งคท์ า่ นก�ำ หนด ซงึ่ พระศษิ ยานศุ ษิ ย์ ที่ได้อยู่ศึกษากับองค์ท่านในยุคสมัยนั้น ต่อมาก็ล้วนได้เป็นพระเนื้อนาบุญของพุทธศาสนิกชนท้ังชาวไทยและ ชาวตา่ งประเทศ และเผยแผพ่ ระธรรมค�ำ สอนของพระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ ใหแ้ ผไ่ พศาลกวา้ งไกลออกไป ถอื เปน็ การสบื ทอด พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป รายนามพระมหาเถระที่ได้รับการฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐานจากองค์หลวงปู่ โดยตรง รวบรวมไดค้ รา่ วๆ ประมาณ ๙๑ ทา่ น และนอกจากน้ี คณะศิษยานุศษิ ยด์ งั กลา่ ว ไดน้ ำ�ธรรมะออกเผยแผ่ไป ในหลายๆ ท่ี ทง้ั ในและตา่ งประเทศ จนปจั จบุ นั จากการส�ำ รวจลา่ สดุ พบวา่ มวี ดั ธรรมยตุ กิ นกิ ายสายหลวงปมู่ น่ั ภรู ทิ ตโฺ ต ในประเทศไทย จำ�นวน ๓,๓๐๐ แห่ง และในต่างประเทศ จ�ำ นวน ๑๖๐ แหง่ ทวั่ โลก (www.luangpumun.dra.go.th) ๕๕

หลวงปมู่ ัน่ ภูริทัตโต กับสันติภาพ

หลวงปู่มัน่ ภรู ิทัตโต กับสันติภาพ จากวิสุทธิจิตสูส่ ันติภาพของสังคมโลก คำ�ว่า สันติภาพ หรือ ความสงบผาสุก นั้น ตรงกับคำ�ในภาษาบาลีว่า “สมถะ” ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วนั้น องคห์ ลวงปมู่ น่ั ภรู ทิ ตั โต ทา่ นไดป้ ระพฤตปิ ฏบิ ตั มิ าตง้ั แตเ่ มอ่ื เรมิ่ ออกผนวชเปน็ สามเณรแลว้ และไดป้ ฏบิ ตั อิ ยา่ งอกุ ฤษฎ์ เขม้ ขน้ มากข้นึ เม่ือออกผนวชเปน็ พระภิกษุ องค์ทา่ นได้จรธดุ งคก์ รรมฐาน เพื่อฝกึ ความสงบใจไปตามปา่ เขาล�ำ เนาไพร ดว้ ยองคท์ า่ นเองบา้ ง และกบั พระรปู สองรปู บา้ งแตไ่ มไ่ ดอ้ ยคู่ ลกุ คลกี นั ซงึ่ เสน้ ทางการจรธดุ งคข์ ององคท์ า่ นนน้ั สว่ นมาก จะเป็นปา่ เขาลำ�เนาไพร ถ�ำ้ เงื้อมผา ปา่ ชา้ ป่ารกชฏั เชน่ ตามภูเขาทางภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสานของประเทศไทย หรอื แถบลุ่มแมน่ �ำ้ โขง ข้ามไปฝ่ังลาว พม่า องค์ท่านได้ประพฤติปฏิบัติการฝึกจิตให้เกิดความสงบจากจิตภายในขององค์ท่านด้วยอุบายที่เรียกว่า “การทำ�สมาธิภาวนา” ตง้ั แต่ขนั้ เริ่มแรกจนข้นั สดุ ท้ายจากจติ ปถุ ุชนจนกลายเป็นจิตที่เรียกวา่ วิสทุ ธิจติ ซง่ึ เปน็ จิตทส่ี งบ เป็นอย่างมาก ปราศจากกิเลสตัวโลภ โกรธ หลงได้อย่างแท้จริง ซึ่งตลอดระยะเวลาดังกล่าวองค์ท่านล้วนฝึกจิต ฝกึ สมาธนิ ต้ี ามล�ำ พงั ในป่าซงึ่ ถือได้วา่ เป็นพระปา่ อยา่ งแท้จรงิ เม่ือองค์ท่านได้จิตที่บริสุทธ์ิสงบแล้ว ก็มิได้ละเลยที่จะแนะนำ�พรำ่�สอนบอกอุบายวิธีฝึกจิตฝึกตนท่ีองค์ทา่ น ได้เรียนรู้มาแล้ว นำ�มาอบรมพรำ่�สอนให้บุคคลอ่ืนๆ ได้รู้แจ้งดังท่ีองค์ท่านได้รู้แล้วซ่ึงถือเป็นความเมตตากรุณา อนั หาประมาณมิได้ องค์ท่านได้อบรมพร่ำ�สอนท้ังพระสงฆ์ ฆราวาส แม่ชี สามเณร ให้รักษาศีล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทำ�จิต ในสงบสขุ และสอนให้รู้จักทำ�ทาน เสยี สละ แมส้ งิ่ ต่างๆ ก็สละทานไปตามก�ำ ลงั จนสดุ ท้าย ก็พรำ�่ สอนเร่ืองการปฏบิ ตั ิจติ ให้เกดิ ความสงบ ผาสกุ เยน็ ใจ นัน่ คือการฝกึ ปฏิบัตสิ มาธภิ าวนา (Meditation) โดยได้ส่งั สอนตง้ั แต่ขัน้ เรม่ิ ต้น จนข้ัน สุดท้าย อย่างไม่ปิดบัง เฉพาะอย่างย่ิงการพรำ่�สอนนักบวชหรือพระสงฆ์ องค์ท่านได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ทุกสิ่งอย่าง เพ่ือใหล้ กู ศษิ ยไ์ ดร้ ู้ได้เหน็ ไดเ้ ปน็ อย่างทีอ่ งคท์ ่านไดร้ ูไ้ ดเ้ หน็ ๕๗

จากวิสทุ ธิจิต ไดเ้ มตตาถึงบุคคลอื่น จากชวี ประวัตขิ ององคท์ ่านจะเหน็ ได้วา่ ชว่ งบั้นปลายชวี ติ ๕ ปสี ดุ ทา้ ยขององค์ทา่ นนัน้ ไดเ้ มตตาโปรดส่งั สอน ลกู ศษิ ยล์ กู หาอยา่ งเตม็ ท่ี มที ง้ั พระสงฆ์ แมช่ ี แมข่ าว ฆราวาส มาจากทว่ั ทกุ สารทศิ เพอ่ื มารบั การอบรมพร�ำ่ สอนจากองคท์ า่ น ท�ำ ใหช้ อื่ เสยี งของหลวงปมู่ นั่ ภรู ทิ ตั โต ไดข้ จรขจายไปทว่ั เมอื งไทย ทง้ั ทใี่ นสมยั นน้ั เปน็ สมยั สงครามโลกครงั้ ที่ ๒ ประชาชน ระส่ำ�ระสายไร้ที่พ่ึงพิงเฉพาะอย่างยิ่งท่ียึดเหน่ียวทางด้านจิตใจ จึงถือได้ว่าองค์ท่านได้เป็นที่ยึดเหน่ียวจิตใจของบุคคล ทวั่ ๆไป โดยไมเ่ ลอื กชนชนั้ วรรณะ จนท�ำ ใหบ้ คุ คลตา่ งๆ ไดร้ บั ทพี่ งึ่ ทางใจซงึ่ ถอื เปน็ การนอ้ มน�ำ ใหค้ นไดร้ จู้ กั ใจของตนเอง พงึ่ พาตนเองได้ จนเลกิ นบั ถอื ผสี างนางไมแ้ ละหนั มาประพฤตปิ ฏบิ ตั สิ ามตภิ าวนา ตามแนวทางทหี่ ลวงปมู่ นั่ ภรู ทิ ตั โต ได้ อบรมพร�ำ่ สอนจนในกาลตอ่ มา ไดเ้ กดิ มลี กู ศษิ ยล์ กู หาตา่ งๆตามมามากมายทว่ั เมอื งไทยและแถบเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ ซง่ึ ถอื ไดว้ า่ องคท์ า่ นเปน็ ผนู้ �ำ ดา้ นการท�ำ สมาธภิ าวนาอยา่ งถกู ตอ้ ง จนกอ่ ใหเ้ กดิ ความสงบและสนั ตภิ าพในจติ ใจของแตล่ ะ คนแตล่ ะทา่ นทไ่ี ดน้ อ้ มน�ำ ค�ำ สง่ั สอนขององคท์ า่ นไปประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ ามสตกิ �ำ ลงั ความสามารถของแตล่ ะคนจนเรยี กไดว้ า่ องค์ท่านเป็นผู้นำ�สันติภาพไปสู่สังคมไม่ว่าจะดำ�เนินไปอยู่ในสังคมใดก็นำ�ความสงบสันติไปสู่สังคมนั้น ซ่ึงความสงบ เมื่อเกิดขึ้นในจิตใจของผู้ใดแล้ว ผู้นั้นจะไม่มีวันลืมเลือนความสุขอันเกิดจากความสงบเย็นใจท่ีเกิดข้ึนในใจของตนได้ อยา่ งแน่นอนตลอดชวี ติ เพราะสขุ สงบใดจะมีความสขุ เทา่ กบั ความสงบผาสกุ เทา่ กบั ใจทสี่ งบน้นั ไม่มอี กี แลว้ จากความสงบในใจ แผข่ ยายสสู่ ังคมโลก แนวทางการปฏบิ ัติสมาธิภาวนาอบรมจติ ใจของหลวงปู่ม่ัน ภูรทิ ตั โต นัน้ มีความโดดเดน่ คือ ๑) รกั สงบ สนั โดษ และอาศัยพึง่ พิง พักภาวนา เจริญสมาธิวปิ ัสสนา ตลอดในป่าเขาลำ�เนาไพร โดยไม่เนน้ สง่ิ ปลูกสร้าง ไม่เน้นถาวรวตั ถุ ไมเ่ น้นวัตถมุ งคล หรือของฟุม่ เฟอื ย ดงั จะศกึ ษาได้จากปฏิปทาขององคท์ ่าน ๒) องค์ท่านสอนเน้นลงที่การรักษาจิตใจตนเอง ดูใจตนเอง ไม่เพ่งโทษหรือใส่ใจถึงความบกพร่องของ ผอู้ ่นื เน้นการพัฒนาใจตนเองแก้ความทกุ ข์ แกค้ วามโลภ ความโกรธ ความหลง ออกจากใจตนเองเทา่ น้ัน ๓) ในขณะปฏิบัติสมาธิภาวนา (Meditation) องค์ท่านเน้นความเรียบง่าย ความเป็นระเบียบวินัย และ ความสงบ ไมพ่ ลกุ พลา่ นเกลื่อนกล่นดว้ ยผู้คน หรือท�ำ ใหก้ ารฝกึ ความสงบในใจด�ำ เนินไปไดอ้ ย่างรวดเรว็ ๔) แนวทางการด�ำ เนนิ ความสงบขององคท์ า่ น ถอื ไดว้ า่ สามารถเรยี นรแู้ ละปฏบิ ตั ไิ ดจ้ รงิ ในชวี ติ ดงั จะเหน็ ไดว้ า่ แนวทางทอี่ งคท์ า่ นไดพ้ าด�ำ เนนิ ไวน้ นั้ ในปจั จบุ นั ไดแ้ ผข่ ยายออกเปน็ วงกวา้ งทงั้ ในเมอื งไทย และตา่ งประเทศ เชน่ อเมรกิ า ยุโรป ออสเตรเลีย เป็นต้น ซึ่งส่ิงเหลานี้ได้แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์พยานได้อย่างชัดเจนว่า หลวงปู่ม่ัน ภูริทัตโต ได้สร้างความสงบ สันติ ให้เกิดข้ึนแก่ใจตน จนสามารถเผยแผ่ข้อปฏิบัตินั้นให้ขยายวงกว้างสู่สังคมได้อย่างจริงจัง และจวบจนปจั จบุ นั ยงั มผี คู้ นหนั มาศกึ ษาแนวทางทอ่ี งคท์ า่ นไดพ้ าด�ำ เนนิ เอาไว้ จงึ สามารถกลา่ วไดว้ า่ หลวงปมู่ น่ั ภรู ทิ ตั โต เปน็ ผู้น�ำ ความสงบ นำ�สนั ตภิ าพ ทางใจตน ออกมาสู่สังคมภายนอก และแผ่ขยายไปสู่สังคมโลกได้เปน็ รูปธรรมไดอ้ ย่าง แท้จริง และเมื่อบุคคลใดได้นำ�ไปประพฤติปฏิบัติแล้ว ย่อมได้รับความผาสุก เย็นใจในใจของตนได้อย่างแท้จริง และย่ังยืน ซ่ึงถือได้ว่าองค์หลวงปู่ม่ัน ภูริทัตโต เป็นผู้นำ�ความสงบ สันติภาพ ให้เกิดข้ึนในสังคมและให้เกิดขึ้นกับ ประชาคมโลก และมวลมนุษยชาติได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน (Sustainability) เราท่านทุกคน จึงสมควรที่จะเคารพ เทดิ ทนู กราบไหว้บชู าถงึ พระเมตตาขององคห์ ลวงปมู่ นั่ ภูรทิ ตั โต อยา่ งเตม็ หวั ใจ เพราะสง่ิ ท่อี งค์ทา่ นสง่ั สอนน้นั มคี ณุ ค่า ราคามากกวา่ ของมีคา่ ใดๆ ในโลก เมือ่ สันติภาพเกดิ ข้นึ ในใจมนษุ ยแ์ ล้ว ความวุ่นวาย ความสับสนอลหมา่ นย่อมคอ่ ยๆ เลือนหายไปเอง ความโกลาหล หรือแม้กระทัง่ การเอารัดเอาเปรียบแก่งแย่งชงิ ดีชงิ เด่น หรือแมก้ ระทั่งการสูร้ บกนั หรือ คำ�ว่า “สงคราม” จะไม่มีวันเกิดข้ึนได้เลยในใจของผู้ปฏิบัติที่ได้รับความสงบเย็นใจ หากแต่จะเป็นการทำ�ให้สังคม นั้นๆ บคุ คลนน้ั ๆ อยรู่ ่วมกนั ไดอ้ ยา่ งผาสุกตลอดอนนั ตกาล ๕๘

ขอกราบขอบพระคณุ หลวงตามหาบวั ญาณสมั ปันโน วัดปา่ บา้ นตาด จ.อดุ รธาน ี หลวงปู่ปรดี า ฉันทกโร วัดปา่ ดานวเิ วก จ.บงึ กาฬ ผเู้ รยี บเรยี งและถอดกัณฑ์เทศน์ พระอาทติ ย์ อธปิ ุญโญ (วงศแ์ สนสขุ ) M.D. วดั ป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ขอขอบคุณผสู้ นบั สนนุ การจดั พมิ พ์หนงั สือ ดร.ศลุ ีมาศ สุทธิสัมพัทน ์ นางสายพณิ พหลโยธิน นางสาวศิริกลุ ธนสารศลิ ป์ นางสงวนศรี สุทธิพงษช์ ยั ดร.โฉมยง ประทีปอษุ านนท์ ทวีทรัพย์ นางสาวพนดิ า ชอบวณชิ ชา นางสุมาลี ศรสี ภุ รวาณชิ ย ์ นายพิเชฐ มจุ ลนิ ทงั กูร นางเพ็ญเพยี ร สนั ติพันธพ์ ิทักษ์ ดร.สันติวงศ์ ชนปทาธิป ดร.ทรงยศินทร์ ชนปทาธิป ศ.เกยี รตคิ ณุ นพ.สุทธศิ ักด์ิ สทุ ธิพงษช์ ยั


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook