สันนิบาตชาติ (League of Nation) สหประชาชาติ (United Nations)
สันนิบาตชาติ (League of Nation)
สันนิบาตชาติ เป็น องค์การระหว่างรัฐบาล ทั่วโลกแห่งแรกที่มีภารกิจหลักในการ ปกป้องสันติภาพของโลก ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1920 ภายหลังจาก การประชุมสันติภาพปารีส ซึ่ง สงครามโลกครั้ง ที่หนึ่ง ได้ยุติลง ในปี ค.ศ. 1919 วูดโรว์ วิลสัน ประธานาธิบดีแห่ง สหรัฐ ได้รับ รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ จากบทบาทของเขาใน ฐานะผู้ก่อตั้งสันนิบาตชาติ
วัตถุประสงค์ที่สำคัญขององค์การ สันนิบาตชาติ
1.ร่วมมือกันรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงระหว่างประเทศ 2.เป็นองค์การกลางในการตัดสินชี้ขาดกรณีพิพาทระหว่างประเทศ 3.ร่วมมือกันดำเนินการลดกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์ 4.ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อเปิดสัมพันธ์ทางการทูต
League of Nation การดำเนินงาน มีองค์กรต่างๆทำหน้าที่และรับผิดชอบ ดังนี้
1.สมัชชา คือ ที่ประชุมใหญ่ขององค์การ ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกทั้งหมด โดยแต่ละประเทศจะส่งผู้แทนได้มากสุด 3 คน การออกเสียงลงคะแนนได้ เพียง 1 เสียง มีวาระการประชุมปีละครั้ง เพื่อพิจารณาปัญหาต่างๆที่อาจส่ง ผลกระทบต่อสันติภาพของโลก
2. คณะมนตรี ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารองค์การ แรกเริ่มมีสมาชิกถาวร 4 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และญี่ปุ่น และสมาชิกไม่ถาวรที่มาจากการเลือกตั้งอีก 4 ประเทศ คณะมนตรีนี้ ประชุมกันปีละครั้งเพื่อพิจารณาเรื่องต่างๆที่เป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและปฏิบัติ ตามข้อเสนอแนะของสมัชชา
3.สำนักงานเลขาธิการ มีเลขาธิการที่ได้รับเลือกจากคณะมนตรี มีหน้าที่เป็นสำนักงานจัดทำรายงาน รักษา เอกสารหลักฐาน อำนวยการวิจัย และประสานงานกับฝ่ายต่างๆ
4.คณะกรรมาธิการ มีคณะกรรมาธิการฝ่ายต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการด้านเศรษฐกิจและ สังคม เช่น องค์การอนามัยระหว่างประเทศ สำนักแรงงานสากล คณะ กรรมาธิการฝ่ายดินแดนในอาณัติ
สหประชาชาติ (United Nations)
ในปี ค.ศ. 1930 ความน่าเชื่อถือขององค์กรสันนิบาตได้ลดลงจากข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐอเมริกาไม่เคย เข้าร่วมสันนิบาตและสหภาพโซเวียตได้เข้าร่วมในช่วงปลายปีและไม่นานก็ถูกขับไล่ในภายหลังจาก ได้เข้ารุกรานฟินแลนด์ เยอรมนีได้ถอนตัวออกจากสันนิบาตเช่นเดียวกับญี่ปุ่น อิตาลี สเปน และอื่นๆ การริเริ่มของสงครามโลกครั้งที่สองได้แสดงให้เห็นว่า สันนิบาตได้ประสบความล้มเหลวในเป้าหมาย หลัก นั่นคือเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสงครามโลกในอนาคต สันนิบาติได้ดำรงอยู่ถึง 26 ปี เเละต่อมา สหประชาชาติ (UN) ได้เข้ามาแทนที่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง และได้สืบทอดหน่วย งานและองค์กรต่าง ที่ก่อตั้งขึ้นโดยสันนิบาต
วัตถุประสงค์ของสหประชาชาติ
1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ 2. เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งหลาย โดยเคารพหลักการแห่งสิทธิ เท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเอง 3. เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหรือมนุษยธรรมและการส่งเสริม/สนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชน 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกัน
หลักการสำคัญของสหประชาชาติ
หลักความเสมอภาคในอธิปไตย: ทุกรัฐมีความเสมอภาคกันในอำนาจอธิปไตย หลักความมั่นคงร่วมกัน: ประเทศสมาชิกต้องรวมกำลังกันเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง หลักการไม่ใช้กำลังและการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี: เพื่อจำกัดความขัดแย้งทั้งหลายให้อยู่ใน ขอบเขต ไม่กระทบสันติภาพ หลักความเป็นสากลขององค์กร: เปิดกว้างแก่รัฐที่รักสันติทั้งปวง และให้ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพึง ปฏิบัติตามหลักการของสหประชาชาติเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาสันติภาพ หลักการเคารพเขตอำนาจศาลภายใน: ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรที่ให้อำนาจแก่สหประชาชาติเข้า แทรกแซงกิจการที่อยู่ในเขตอำนาจภายในของรัฐ
Search
Read the Text Version
- 1 - 17
Pages: