Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพื้นที

ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพื้นที

Published by สสว.2 ชลบุรี, 2023-06-18 09:41:39

Description: ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพื้นที

Search

Read the Text Version

เกร่นิ นำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 ดำเนินการจัดทำ ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพื้นที่ ประเด็น การจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับ สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น ซึ่งข้อเสนอเชิงนโยบายชุดนี้สังเคราะห์มาจากการศึกษาวิจัย เรื่อง แนวทาง การจัดสวัสดิการที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วชิ าการ 2 รว่ มกับมหาวทิ ยาลัยหัวเฉยี วเฉลิมพระเกียรติ ภายใต้การสนับสนนุ งบประมาณจากกองทุน ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 การจัดทำข้อเสนอ เชิงนโยบายชุดนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเสนอแนวทางเพื่อพัฒนาการจัดสวัสดิการที่เหมาะสม แก่สตรีตัง้ ครรภ์วยั รุน่ โดยมีหลกั คิดพื้นฐานของการมีสว่ นร่วมของทกุ ภาคส่วนเพื่อนำไปสู่การป้องกัน และแกไ้ ขปัญหาได้อย่างย่งั ยืน ข้อเสนอเชิงนโยบายชุดนี้เริ่มต้นด้วยการชี้ชวนให้เห็นถึงที่มาและความสำคัญของปัญหา รูปแบบและความต้องการสวัสดิการที่สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นต้องการ จากนั้นข้อเสนอเชิงนโยบายชุดนี้ จึงนำไปสู่การนำเสนอแนวทางการพัฒนาสวัสดิการสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุน่ เนื่องจากประเด็นสตรี ตั้งครรภ์วยั รุ ่นกับการจัดบริการสวัสดิการต่าง ๆ เปน็ เรือ่ งท่มี ีความเก่ยี วข้องกันกับทุกภาคส่วน ดังน้ัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความจำเป็นอย่างยิ่งในขับเคลื่อนภารกิจเพื่อดูแลและคุ้มครองการเข้าถึง และไดร้ ับสทิ ธิ สวัสดิการด้านตา่ ง ๆ ที่เหมาะสมใหแ้ กส่ ตรีตง้ั ครรภว์ ัยร่นุ อยา่ งตอ่ เนื่อง สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อเสนอเชิงนโยบาย ด้านสังคมในระดับพื้นที่ชุดนี้ จะนำไปสู่การขับเคลื่อนนวัตกรรมการพัฒนาสวัสดิการสำหรับสตรี ต้ังครรภว์ ัยรุ่นภายใต้การมสี ่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างเป็นรปู ธรม ซ่ึงจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไข ปัญหาและพัฒนาสังคมต่อไป สำนกั งานสง่ เสรมิ และสนบั สนุนวชิ าการ 2 มนี าคม 2565

สารบัญ หนา้ เกรนิ่ นำ ก สารบัญ ข บทที่ 1 บทนำ 1 1.1 ความสำคัญของปญั หา 1 1.2 วตั ถปุ ระสงค์ของการศึกษา 2 1.3 วธิ ีการศึกษา 2 1.4 ขอบเขตของการศึกษา 2 1.5 นยิ ามศพั ท์ 3 1.6 ประโยชน์ท่คี าดว่าจะได้รับ 3 4 บทที่ 2 แนวความคิดทฤษฎีและกฎหมายท่ีเกี่ยวข้อง 2.1 ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปญั หา 4 การตั้งครรภ์ในวัยรนุ่ ระดับชาติ พ.ศ. 2560-2569 7 2.2 แนวคิดเกย่ี วกับการจัดสวสั ดกิ ารสังคม 2.3 แนวคดิ ทำความเขา้ ใจแม่วยั รนุ่ บทบาท 12 และมมุ มองของสังคมทมี่ ีต่อสตรตี ัง้ ครรภ์วยั รุน่ 14 2.4 แนวคดิ สตรนี ยิ ม 15 2.5 ทฤษฎีการสร้างพลงั อำนาจ 16 2.6 ทฤษฎีการตีตรา 18 2.7 กฎหมายท่เี กยี่ วข้อง 19 2.8 งานวิจัยท่ีเกย่ี วข้อง 22 บทท่ี 3 ขอ้ เสนอเชิงนโยบายเพอ่ื พฒั นาการจดั สวสั ดกิ ารทเ่ี หมาะสม 31 สำหรบั สตรตี ้งั ครรภว์ ัยรุ่น 36 บทที่ 4 บทสรุป บรรณานุกรม

บทท่ี 1 บทนำ 1.1 ความสำคญั ของปัญหา รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมแม่วัยรุ่นให้อยู่ต่อในระบบการศึกษา เพื่อจะได้มีโอกาสในการ มีงานทำที่ดีและยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง แม้จะมีกฎหมายคุ้มครองสิทธิ์ให้แม่วัยรุ่นได้เรียนต่อ ในสถานศึกษา แต่ในทางปฏิบัติมีหลายปัจจัยที่ทำให้ผู้เป็นแม่ต้องหยุดเรียนหรือลาออก ทั้งนี้ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานสถานการณ์แม่วัยรุ่นว่า อัตราการมีบุตรของวัยรุ่น อายุ 15 ปี ถึง 19 ปี ในประเทศไทยในภาพรวมลดลงจาก 51 คนตอ่ ประชากร 1,000 คน ในปี 2558 เหลอื 23 คนตอ่ ประชากร 1,000 คน ในปี 2562 อยา่ งไรก็ตาม ยังพบอตั ราการมีบุตรของแมว่ ัยร่นุ มากในภาคเหนือและภาคใต้ โดยภาคเหนือ อัตราการมีบุตร 42 คนต่อประชากร 1,000 คน ภาคใต้อัตราการมีบุตร 35 คน ต่อประชากร 1,000 คน และอัตราการมีบุตรของแม่วัยรุ่นที่อายุต่ำกว่า 15 (แม่วัยใส) มากที่สุดคือร้อยละ 0.8 โดยแม่วัยรุ่น สว่ นมากมีการศึกษาน้อย คอื จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากทีส่ ุด 130 คนต่อประชากร 1,000 คน และจะลดลงเรื่อย ๆ ตามระดับการศึกษาของผู้หญิงที่เพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าการรักษาการคงอยู่ ในระบบการศึกษามีส่วนสำคัญในการช่วยลดปัญหาดังกล่าว รวมทั้งครัวเรือนยากจนจะมีปัญหา แม่วัยรนุ่ สงู กว่าครวั เรอื นรายได้สงู มากไปกว่านั้น แม่วัยรุ่นจำนวนมากหลุดจากระบบการศึกษา มีเพียงร้อยละ 23 เท่าน้ัน ที่กลับมาเรียนในสถานศึกษาเดิม นั่นหมายความว่า โอกาสที่จะมีงานทำและมีรายได้ที่เพียงพอน้อยมาก ทำใหต้ ้องอยูด่ ว้ ยการพ่งึ พิงผู้อ่นื ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของรัฐบาลดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้บูรณาการการทำงานเพื่อให้โอกาสเด็ก และเยาวชนที่ตั้งครรภ์ในสถานศึกษาได้รับอย่างศึกษาอย่างเหมาะสม มีการลงนามความร่วมมือ ในการจัดระบบการดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียนหรือนักศึกษาที่ตั้งครรภ์ ให้ได้รับการศึกษา ด้วยรูปแบบที่เหมาะสมและต่อเนื่อง รวมทั้งจัดให้มีระบบการส่งต่อให้ได้รับบริการอนามัยเจริญพันธ์ุ และการจัดสวสั ดกิ ารสงั คมที่ดี รัฐบาลมีความตั้งใจดูแลเด็กและเยาวชนที่ตั้งครรภ์ในวัยเรียนในเรื่องการเข้าถึงการศึกษา เพราะจะเปน็ โอกาสสูช่ ีวิตท่ีดีขึ้น ความร้จู ะเป็นประตสู ู่การมงี านทำ มรี ายได้ เพอ่ื เลี้ยงดูตนเองและลูก รฐั บาลมีความห่วงใยเยาวชนทตี่ ้องเผชิญกบั ความผิดพลาด อีกท้งั มีความเชื่อม่นั ว่า หากเยาวชนได้รับ โอกาส ทุกคนสามารถสรา้ งชวี ิตใหมท่ ด่ี ไี ด้

ท้ังนี้ ควบคู่ไปกับเรื่องการศึกษา รัฐบาลโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ได้ดำเนินการจัดสวัสดิการให้กับแม่วัยรุ่นที่ประสบปัญหา อาทิ การให้ความช่วยเหลือ แก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์และครอบครัว การฝึกอาชีพตามความสนใจและความถนัดแก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ ก่อนและหลังคลอด การประสานงานเพื่อจัดหางานตามความเหมาะสม จัดหาครอบครัวทดแทน ในกรณที ี่วัยรุ่นไม่สามารถเล้ียงดบู ตุ รดว้ ยตนเองได้ สืบเนื่องจากข้อเท็จจริงดังกล่าว รวมกับข้อเสนอเชิงนโยบายจากงานวิจัยแนวทาง การจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมายตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ประจำปี 2564 โดยสำนักงาน ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 ซึ่งเน้นย้ำในเรื่องการพัฒนาและจัดระบบกลไกเพื่อให้นโยบาย กฎหมายตา่ ง ๆ ทีม่ ีอยู่ มผี ลในทางปฏิบัติ การมีระบบการจัดการศึกษาเพ่ือพัฒนาชวี ติ และเอื้อต่อการ ดูแลสตรีตั้งครรภ์วยั รุ่นที่เป็นไปในทิศทางเป้าหมายในการสรา้ งความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกัน การจัดสวัสดิการที่เหมาะสมให้แก่สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น หรือมารดาวัยรุ่นแบบบูรณาการ การมีระบบ บริการทางด้านสุขกาพเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการของกลุ่มสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่น รวมถึงการจัดสวัสดิการที่จำเป็นในด้านอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับการดำเนินงานของหน่วยงานในระดับ ต่าง ๆ ผู้ศึกษาจึงเห็นสมควรศึกษา วิเคราะห์แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมให้แก่ สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น เพื่อจดั ทำข้อเสนอเชิงนโยบายดา้ นสังคมในระดบั พืน้ ท่ีตอ่ ไป 1.2 วตั ถปุ ระสงค์ของการศึกษา เพอ่ื ศกึ ษาวิเคราะห์ข้อเท็จจริง แนวทางการจัดสวัสดิการสงั คมทเี่ หมาะสมให้แก่สตรีตั้งครรภ์ วัยรนุ่ เพ่อื จัดทำขอ้ เสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพืน้ ท่ี 1.3 วธิ กี ารศึกษา การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยการศึกษาและค้นหาแนวทางการจัด สวัสดิการสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นผ่านมุมมองของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีประสบการณ์ทั้งด้าน ปฏิบัติงานและดา้ นการบริหารเกี่ยวกบั การจัดสวสั ดกิ ารสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น เพื่อให้ได้แนวทาง เกีย่ วกบั การจดั สวสั ดิการทเี่ หมาะสมท่ีมาจากผู้มีประสบการณ์ และมีฐานคิดในเชงิ วชิ าการเพ่อื กำหนด เป็นข้อเสนอเชงิ นโยบายด้านสังคมในระดับพืน้ ทต่ี อ่ ไป 1.4 ขอบเขตการศกึ ษา เพื่อศึกษาและค้นหาแนวทางการจัดสวัดสิการสำหรับแม่วัยรุ่นผ่านมุมมองของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจนี บุรี และสระแกว้

1.5 นยิ ามศัพท์ วัยรุน่ หมายถึง ผ้ทู ี่มอี ายุ 10 - 19 ปี และมีลักษณะ 3 ประการ คอื มพี ฒั นาการทางร่างกาย โดยมีวุฒภิ าวะทางเพศ มีพัฒนาการทางจิตใจ โดยมีการเปลี่ยนแปลงจากเด็กไปสู่วยั ผูใ้ หญ่ และมีการ เปลี่ยนแปลงสภาวะทางเศรษฐกิจ จากการที่ต้องพึ่งพาครอบครัวมาเป็นบุคคลที่สามารถ ประกอบ อาชพี หารายได้ดว้ ยตนเอง การตง้ั ครรภใ์ นวัยรุ่น หมายถงึ การตง้ั ครรภ์ในแมท่ ี่มอี ายุ 19 ปี หรือนอ้ ยกวา่ สวัสดิการสังคม หมายถึง ระบบการจัดบริการทางสังคมซึ่งเกี่ยวกับการป้องกัน การแก้ไขปัญหา การพฒั นา และการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคมเพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของประชาชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและการพึ่งตนเองได้อย่างทั่วถึง เหมาะสม และเป็นธรรม และให้เป็นไปตาม มาตรฐานทั้งทางด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การทำงานและการมีรายได้ นันทนาการ กระบวนการยุติธรรมและบริการสังคมทั่วไป โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิประชาชน จะต้องได้รับและการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมทุกระดับ (กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความม่นั คงของมนุษย์, 2547: 201-202) 1.6 ประโยชนท์ ีค่ าดว่าจะไดร้ ับ มีข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพื้นที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสม แก่สตรตี ั้งครรภ์วัยร่นุ ท่ีกระทรวงการพัฒนาสงั คมและความมนั่ คงของมนุษย์และหนว่ ยงานท่ีเก่ียวข้อง สามารถพิจารณาและนำไปใชเ้ ปน็ แนวทางในการดำเนินงานไดใ้ นอนาคต

บทที่ 2 แนวความคิด ทฤษฎีและวรรณกรรมท่เี กย่ี วข้อง ผู้ศึกษาได้ศึกษากรอบแนวคิด ทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์เชิงนโยบาย เก่ยี วกับข้อเท็จจรงิ และสถานการณก์ ารจดั สวสั ดกิ ารสงั คมแก่สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น ดังน้ี 2.1 ยุทธศาสตรก์ ารป้องกันและแก้ไขปญั หาการตง้ั ครรภ์ในวยั รุ่นระดบั ชาติ พ.ศ. 2560-2569 2.2 แนวคิดทำความเข้าใจแม่วัยรุน่ บทบาท และมุมมองของสงั คมทม่ี ีต่อแม่วัยรุ่น 2.3 แนวคดิ สตรีนยิ ม 2.4 ทฤษฎีการสร้างพลงั อำนาจ 2.5 ทฤษฎกี ารตีตรา 2.6 แนวคิดสวสั ดิการและสงั คมสงเคราะหท์ ่ีเกีย่ วข้องกับแมว่ ัยร่นุ 2.7 กฎหมายท่ีเก่ียวข้องกับการต้ังครรภ์ในวยั รุ่น 2.1 ยทุ ธศาสตร์ท่เี ก่ียวข้อง ยทุ ธศาสตรก์ ารป้องกันและแก้ไขปญั หาการตัง้ ครรภ์ในวยั รนุ่ ระดับชาติ พ.ศ. 2560-2569 1. วสิ ัยทศั น์ วัยรุ่นมคี วามรู้ด้านเพศวิถีศึกษา มีทักษะชวี ิตที่ดี สามารถเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ที่เป็นมติ ร เป็นส่วนตวั รักษาความลบั และได้รับสวสั ดิการสังคมอยา่ งเสมอภาค 2. พนั ธกิจ ส่งเสริม สนับสนุน และประสานให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการดำเนินงาน ปอ้ งกนั และแก้ไขปญั หาการตง้ั ครรภ์ในวยั รุน่ ใหส้ ามารถรองรับกบั บรบิ ทสังคมทเ่ี ปลย่ี นแปลง 3. วัตถปุ ระสงค์ 1) วัยรุ่นมีความรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต สามารถงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ ป้องกัน การตั้งครรภ์ และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ รวมถึงได้รับการดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครอง อย่างเป็นระบบเมื่อประสบปัญหา 2) ครอบครัวมที ศั นคติเชิงบวก และมีบทบาทในการส่ือสารเรอื่ งเพศกับบุตรหลานเพ่ือป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภใ์ นวยั รุ่น 3) วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ได้รับการปรึกษาทางเลือก สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ รวมถึง ได้รับบริการที่เป็นมิตร และถูกต้องตามหลักวิชาการในการฝากครรภ์การคลอด การดูแลสุขภาพ หลงั คลอด หรือการยุตกิ ารตัง้ ครรภ์ และการป้องกนั การต้ังครรภซ์ ำ้

4) พ่อแม่วัยรุ่นได้รับคำแนะนำและการช่วยเหลือเกี่ยวกับการดูแลเล้ียงดูบุตร การจัดบริการ ทดแทนกรณีที่ไมส่ ามารถเลี้ยงดบู ตุ รได้ การไดร้ ับสวสั ดิการทางสงั คมที่เหมาะสม รวมถึงการฝึกอาชีพ และการไดง้ านทำ 5) เกิดกลไกในการดำเนินงานบูรณาการทุกภาคส่วน ในการดำเนินงานทั้งในด้านการจัดการ ฐานข้อมลู งานวจิ ัย และการจัดการความรอู้ ย่างเป็นรูปธรรม 4. เปา้ หมาย 1. ในปี 2569 อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10-14 ปี ไม่เกิน 0.5 ต่อประชากรหญิงอายุ 10-14 ปี 1,000 คน ซึง่ ปัจจุบนั อยู่ท่ี 1.5 2. ในปี 2569 อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี ไม่เกิน 25 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน ซ่งึ ปจั จุบนั อยูท่ ่ี 44.8 5. ยทุ ธศาสตร์ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดงั น้ี ยุทธศาสตรท์ ี่ 1 พัฒนาระบบการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนร้ดู ้านเพศวิถีศึกษา และทักษะชีวิต ที่มีคุณภาพ และมีระบบการดูแลชว่ ยเหลือที่เหมาะสม พัฒนาระบบการศึกษาที่สงเสริมการเรียนรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวติ ที่มีคุณภาพ เพื่อให้เด็กและวัยรุ่นมีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย และสอดคล้ องกับช่วงวัย ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดี มีข้อมูลที่รอบด้าน ได้ฝึก ทักษะการคิดวิเคราะห์เท่าทัน และเกิดความตระหนักในคุณค่าตนเอง รู้จักเคารพให้เกียรติ ยอมรับ ความแตกต่างระหว่างบุคคล และความเสมอภาคทางเพศ รวมทั้งสามารถตัดสินใจโดยใช้เหตุผล และรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตัวเอง ได้รับการดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองอย่างเป็นระบบ เมอ่ื ประสบปญั หา หน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบหลกั คอื กระทรวงศึกษาธกิ าร หน่วยงานสนับสนุน คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวง ยุติธรรม กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร เครือข่ายองค์กรเอกชน สาธารณประโยชน์ หนว่ ยงานทม่ี กี ารจัดการศึกษาแกว่ ยั รุ่น ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมบทบาทครอบครัว ชุมชน และสถานประกอบกิจการในการเลี้ยงดู สรา้ งสัมพันธภาพ และการสือ่ สารดา้ นสุขภาวะทางเพศของวัยรุน่ ส่งเสริมให้ครอบครัวมีทัศนคติเชิงบวกในเรื่องเพศ สามารถสื่อสารเรื่องเพศ อย่างสร้างสรรค์กับบุตรหลาน เพื่อสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมการเลี้ยงดู และการสื่อสารเรื่องเพศ อย่างสร้างสรรค์ในครอบครัว รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนและสถานประกอบกิจการมีทัศนคติเชิงบวก ในเรื่องเพศ ซึ่งจะส่งเสริมบทบาทของครอบครัวให้มีผลต่อการมีพฤติกรรมด้านสุขภาวะทางเพศ ของวัยร่นุ

หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สถานีโทรทัศนต์ า่ ง ๆ องคก์ ารวชิ าชีพด้านสือ่ หน่วยงานสนับสนุน คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกจิ และสังคม สำนักงานตำรวจแหง่ ชาติ กรุงเทพมหานคร เครอื ขา่ ยองคก์ รเอกชนสาธารณประโยชน์ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสงั คม ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพ และเปน็ มติ ร พัฒนารูปแบบและคุณภาพของระบบบริการสุขภาพทางเพศและอนามัย การเจริญพันธุ์ที่ครอบคลุมบริการที่จำเป็นทุกด้าน โดยมุ่งให้บริการที่มีความเป็นมิตร และสอดคล้อง กับความต้องการและสิทธิของวัยรุ่นตามมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 สามารถสร้างความไว้วางใจ ความตระหนักในการป้องกัน มีความ เข้าใจต่อความละเอียดอ่อนเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีของวัยรุ่น และจูงใจให้วัยรุ่นมีพฤติกรรม แสวงหาบริการสง่ เสริมและดูแลรักษาสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจรญิ พันธ์ทุ ่เี หมาะสมและเข้าถึง วัยรุ่นทกุ กลุ่ม หนว่ ยงานทรี่ ับผิดชอบหลัก คอื กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศกึ ษาธกิ าร หน่วยงานสนับสนนุ คือ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร สำนักงานหลกั ประกันสุขภาพ แห่งชาติ องค์กรเอกชน กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เครือข่ายภาคประชาสังคม สมาคมเภสัชกรรม ชุมชน เครือข่ายสถานประกอบกิจการ ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ การคุ้มครองสิทธิอนามัยการเจริญพันธ์ุ และการจดั สวสั ดิการสังคมในกลมุ่ วยั รุ่น เชื่อมโยงเครือข่ายบริการด้านสุขภาพ การศึกษา และด้านสังคมให้ทำงาน ร่วมกันอย่างใกล้ชิด ในการให้ความช่วยเหลือดูแลวัยรุ่นที่มีความเสี่ยงหรือที่มีปัญหาการตั้งครรภ์ ให้ได้รับการดูแลช่วยเหลือ โดยเคารพการตัดสินใจของวัยรุ่น เพื่อช่วยให้พ่อแม่วัยรุ่นสามารถ อยู่ในสังคม และพัฒนาศกั ยภาพตวั เองได้อย่างต่อเน่ือง และช่วยให้บุตรมพี ัฒนาการทีเ่ หมาะสม หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก คือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานสนับสนุน คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย สำนกั งานตำรวจแหง่ ชาติ

ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 5 ส่งเสรมิ การบรู ณาการการจัดการฐานข้อมูล งานวิจยั และการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดกลไก่ในการดำเนินงานบูรณาการทุกภาคส่วนหลัก ในการ ดำเนินงานทง้ั ในดา้ นการจดั การฐานข้อมูล งานวจิ ัย และการจดั การความรอู้ ยา่ งเป็นรูปธรรม หน่วยงานทรี่ บั ผิดชอบหลกั คอื กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนกั งานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานสนับสนุน คือ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักกองทุนสนับสนุน การเสริมสร้างสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เครือข่ายองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ 2.2 แนวคดิ เกย่ี วกบั การจดั สวัสดกิ ารสังคม 1) ความหมายของสวสั ดิการสังคม สวัสดิการสังคม หมายถึง ระบบการจัดบริการทางสังคมซึ่งเกี่ยวกับการป้องกัน แก้ไขปัญหา การพัฒนาและส่งเสริมความมั่นคงทางสังคมเพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของประชาชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้อย่างทั่วถึงเหมาะสมเป็นธรรมและให้เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งทางด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การทำงานและการมีรายได้ นันทนาการ กระบวนการยุติธรรม และบริการสังคมทั่วไปโดยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์สิทธิที่ประชาชน จะต้องได้รับและการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมทุกระดับ (พระราชบัญญัติส่งเสริม การจัดสวัสดกิ ารสงั คม, 2546) แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมขององค์การสวัสดิการสังคมให้แกผ่ ูร้ ับบริการ สวัสดิการสังคม ต้องคำนงึ ถึงเร่ืองดงั ตอ่ ไปนี้ คือ 1. สาขาต่าง ๆ ที่จะดำเนินการตามความจำเปน็ และเหมาะสม เช่น การบริการทางสงั คม การศึกษา สุขภาพอนามยั ที่อยู่อาศัย การฝึกอาชพี การประกอบอาชีพ นันทนาการ และกระบวนการ ยุตธิ รรม เป็นตน้ 2. การกำหนดลักษณะหรือรูปแบบและวิธีการในการดำเนินการ เช่น การส่งเสริม การพฒั นา การสงเคราะห์ การคุ้มครอง การปอ้ งกัน การแก้ไข และการบำบัดฟื้นฟู เปน็ ต้น ในการจัดสวัสดิการสังคมให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร ปกครองสว่ นทอ้ งถิ่น องคก์ รวชิ าชพี สถาบันการศึกษาและองค์กรอ่ืนร่วมด้วย (พระราชบัญญตั ิสง่ เสริม การจดั สวสั ดกิ ารสังคม, 2546)

การจัดสวสั ดิการสังคม หมายถงึ การจัดสวสั ดกิ ารสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม การจัดสวัสดิการสังคม (ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560 – 2569 , 2560) การจัดสวัสดิการสังคม หมายถึง การกำหนดเกณฑ์คุณภาพชีวิตที่ดี หรือการอยู่ดี กินดี (Quality of Life or Well – being) ควบคู่กับการใช้นโยบายทางสังคม เพื่อสร้างระบบบริการสงั คม อย่างครอบคลุม เพื่อนำไปสู่การสร้างความมั่นคงของมนุษย์และความมั่นคงทางสังคมโดยรวม (มารสิ สา ภเู่ พ็ชร์ อ้างใน ระพพี รรณ คำหอม, 2549) 2) องค์ประกอบของงานสวสั ดกิ ารสงั คม องค์ประกอบของงานสวัสดิการสังคม โดยทั่วไปมีการใช้ใน 2 ลักษณะคือ ลักษณะกว้าง และลักษณะแคบ โดยแบ่งออกเป็น 1. องค์ประกอบของงานสวัสดิการสังคมในลักษณะกว้าง 7 ด้าน และ 2. องคป์ ระกอบของงานสวัสดิการสังคมในลกั ษณะแคบ 3 ดา้ น (ระพพี รรณ คำหอม, 2549) ดงั น้ี (1) องค์ประกอบของงานสวสั ดิการสังคมในลกั ษณะกวา้ ง แบ่งเป็น 7 ดา้ น ได้แก่ 1) การศึกษา (Education) 2) สขุ ภาพอนามัย (Health) 3) ทีอ่ ยู่อาศัย (Housing) 4) การทำงานและการมีรายได้ (Employment and Income Maintenance) 5) ความมนั่ คงทางสงั คม (Social Security) 6) บรกิ ารสงั คม (Social Services) 7) นันทนาการ (Recreation) (2) องค์ประกอบของงานสวัสดิการสังคมในลักษณะแคบ ตามความหมายของคำว่า “สวัสดิการ” ในระบบสวัสดิการสังคมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติความมั่นคงทางสังคม (Social Security Act 1935 อ้างใน ระพีพรรณ คำหอม, 2549) ของประเทศสหรัฐอเมริกา แบ่งบริการ สวัสดิการสังคมเปน็ 3 บริการ ได้แก่ 1) บริการประกันสังคม (Social Insurance) 2) บริการสงเคราะห์ประชาชน (Public Assistance) 3) บรกิ ารสังคม (Social Services) ในประเทศไทยมีการนำองค์ประกอบของงานสวัสดิการสังคม มาใช้ทั้ง 2 ลักษณะ ทั้งองค์ประกอบของงานสวัสดิการสังคมในลักษณะกว้าง และองค์ประกอบของงานสวัสดิการสังคม ในลักษณะแคบ แต่โดยทั่วไปแล้วสังคมไทยมักจะรู้จักบริการสวัสดิการสังคมในลักษณะแคบมากกว่า ได้แก่ การบรกิ ารประกนั สงั คมซ่ึงถอื ว่าเปน็ บรกิ ารทีน่ ำไปสู่การสร้างความมัน่ คงทางสังคมให้กบั ลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงานที่พัฒนาขยายความครอบคลุม และสิทธิประโยชน์ทดแทนมากขึ้น ในขณะที่การบริการ

สงเคราะห์ประชาชนยังคงเป็นบริการที่ภาครัฐต้องจัดสรรงบประมาณการช่วยเหลือกับผู้เดือดร้ อน เป็นตน้ (ระพีพรรณ คำหอม, 2549) 3) รูปแบบการจัดสวสั ดิการสังคม รูปแบบการจดั สวัสดิการสงั คม หมายถงึ การจดั สวัสดกิ ารสงั คมท่เี กิดขึ้นในความเป็นจริง ของสังคมไทยขึ้นอยู่กับการให้ความหมายโดยใช้ฐานคิดในลักษณะใดลักษณะหนึ่งในสังคมนั้น ๆ โดยท่วั ไปปรากฏ (กระทรวงการพัฒนาสงั คมและความม่นั คงของมนุษย์, 2548) ดังนี้ (1) รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมตามพ้ืนที่ (Area – based) โดยการจัดสวสั ดกิ าร สังคมในรูปแบบของพื้นที่เป็นฐาน โดยทั่วไปเป็นการจัดสวัสดิการพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ พื้นที่การ ปกครองประเทศ เช่น ภาค จังหวัด อำเภอ ท้องถิ่น ตำบล ซึ่งรูปแบบการจัดสวัสดิการลักษณะน้ี หน่วยงานในพื้นทจี่ ะต้องมารว่ มกนั จัดบริการตามภารกิจ หนา้ ทข่ี ององคก์ ร สวัสดกิ ารสงั คมเพื่อให้เกิด ความครอบคลุมทว่ั ถึง เป็นธรรม และมีมาตรฐานท่ดี ดี ้านคุณภาพบริการ รูปแบบสวัสดิการตามพื้นที่เป็นฐาน จึงมีข้อจำกัดต่อการเข้าถึงแหล่งบริการ ของกลุ่มเป้าหมาย เพราะต้องแสดงหลกั ฐานสทิ ธิตามภูมลิ ำเนาของการตั้งถิ่นฐานทีอ่ ยู่อาศัยเปน็ หลัก ปัจจุบันรูปแบบนี้มีการพัฒนาโดยใช้มิติอื่นๆ มาร่วม เช่น ใช้ทั้งพื้นที่เป็นฐานร่วมกับการใช้โครงสรา้ ง การบริหารงานขององค์กรภาครัฐ และการใช้การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดรูปแบบ การจดั สวสั ดกิ ารทงั้ แนวดิ่ง และแนวราบร่วมกันท่สี ร้างกระบวนการมสี ่วนรว่ มจากภาคส่วนตา่ ง ๆ (2) รปู แบบการจัดสวัสดกิ ารสังคมตามวธิ ีการ (Methods) รูปแบบนี้ให้ความสำคัญกับวิธีการให้บริการทางสังคมสงเคราะห์ระดับจุลภาค เช่น เฉพาะรายกลุ่มชนและชุมชน ซึ่งถือเป็นรูปแบบการจัดบริการโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ขณะท่ี การให้บริการโดยทางอ้อมระดับมหภาค เช่น การบริหารงานองค์กรและการวิจัยก็เป็นการสนับสนุน ให้เกิดรูปแบบการจัดสวัสดิการใหม่ ๆ ขึ้นแต่โดยทั่วไปรูปแบบการจัดสวัสดิการจะเน้น ทัง้ การใหบ้ ริการเฉพาะรายมาก จงึ สง่ ผลใหร้ ูปแบบการจัดสวสั ดิการในวิธกี ารอืน่ ๆ ถกู ให้ความสำคัญ นอ้ ยกวา่ รปู แบบการจดั สวัสดกิ ารสงั คมในลักษณะนจี้ ึงตอ้ งใชท้ ง้ั ระดบั จุลภาครว่ มกบั ระดบั มหภาค ปัจจุบันรูปแบบการจัดสวัสดิการมีการพัฒนาหลาย ๆ วิธีการโดยเฉพาะอย่างย่ิง ทางสังคมสงเคราะห์จะมงุ่ เนน้ การบรู ณาการร่วมกัน โดยเฉพาะการกระทำทางสังคม เชน่ การรณรงค์ การผลกั ดัน การตอ่ รองกบั กลไกต่างๆ ทางสังคม เพ่ือใหเ้ กิดรูปแบบสวัสดิการใหม่ ๆ ขึน้ (3) รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมในลักษณะของการเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement) รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมในลักษณะนี้เป็นการสร้างกระแสใหม่ กระแส ทางเลือกของสังคมต่อการจัดสวัสดิการที่เชื่อมโยงกับประเด็นปัญหาสำคัญของสังคมที่เชื่อว่า ต้องเสริมสร้างพลังอำนาจให้กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ให้รู้จักการปกป้อง คุ้มครองสิทธิของตนเอง

การเมือง และสังคมวัฒนธรรม การเคลื่อนไหวทางสังคมก็เพื่อสร้างความตระหนักของคนในสังคม ความรับผิดชอบทางสังคมร่วมกันด้านสวัสดิการสังคม เช่น การใช้เครือข่าย การใช้องค์กรชุมชน เคล่ือนไหวตอ่ รองกบั อำนาจรฐั เปน็ ตน้ รูปแบบน้เี ชื่อว่าจำเปน็ ต้องกำหนดแผนยุทธศาสตร์ เป้าหมาย กลไกการทำงาน เพอื่ ให้เกิดการขบั เคลื่อนไปในทศิ ทางทเ่ี หมาะสม (4) รปู แบบการจัดสวสั ดกิ ารสงั คมโดยสถาบัน (Institutional – based) รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมโดยสถาบันเป็นการจัดสวัสดิการที่รัฐเชื่อว่ารัฐ ควรแทรกแซงการจัดสวัสดิการให้กับประชาชน โดยใช้โครงสร้างอำนาจของรัฐทำหน้าที่จัดระบบ สวัสดิการสังคมในลักษณะต่าง ๆ เช่น สวัสดิการภาคบังคับ เป็นการจัดผ่านกลไกนโยบายสังคม ทางกฎหมาย เช่น บริการประกันสังคม บริการการศึกษาภาคบังคับ บริการประกันสุขภาพ บริการ สถานสงเคราะห์ เป็นต้น แต่เนื่องจากบริการดังกล่าวไม่สามารถตอบสนองกับความต้องการ ของคนทุกคนในสังคมได้จึงทำให้เกิดรูปแบบการจัดบริการสวัสดิการที่ลดการพึ่งพาสถาบันของรัฐลง บริการในลักษณะนี้เกิดขึ้นจากภาคส่วนของชุมชน ประชาชนที่มีศักยภาพ ความเข้มแข็งเข้ามา มีส่วนร่วมในการจัดบริการเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ชุมชน บริการลักษณะนี้เชื่อว่ารัฐควรลดบทบาทการแทรกแซงการจัดสวัสดิการลง แต่ปล่อยให้กลไก ของชมุ ชน ประชาชนทำหนา้ ท่ีจดั สวสั ดิการแทนรัฐ 4) กระบวนการจัดสวสั ดิการ กระบวนการจัดสวัสดิการ มีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน (กระทรวงการพัฒนาสังคม และความม่ันคงของมนุษย์, 2548) ได้แก่ (1) วางแผนการจัดสวัสดิการ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ ครอบครัว และชุมชนร่วมกันพิจารณาการให้สวัสดิการให้แก่ผู้รับบริการ ครอบครัว หรือชุมชน โดยที่จะใช้ สวัสดิการที่เป็นทางการ หรือสวัสดิการที่ไม่เป็นทางการขึ้นอยู่กับบริบททางสังคม ทุนทางสังคม และภาคหี นุนเสริมในแตล่ ะพ้ืนที่ (2) การดำเนินการจัดสวัสดกิ าร ภายใต้ผลการประเมินสภาวะ ความต้องการ และความจำเป็น หรอื ปญั หาของผูร้ บั บริการและจัดกจิ กรรมตามลำดับความสำคญั (3) การวางแผนดำเนินการในระดับชุมชน ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ วิธีการ สถานที่ ระยะเวลาและงบประมาณ การตดิ ตามประเมนิ ผล โดยละเอียด และชดั เจน มีการแต่งตง้ั คณะทำงาน รับผิดชอบ และประชมุ ช้แี จงกบั ผู้เก่ียวข้องให้มีความสนใจตรงกัน (4) การวางแผนให้ความชว่ ยเหลอื ท้งั แผนระยะส้ัน และแผนระยะยาว

การดำเนนิ การช่วยเหลือการจดั สวัสดิการ (1) ดำเนินการตามแผนท่วี างไว้ในลกั ษณะหรือรปู แบบการสง่ เสรมิ การพัฒนาการ (2) สงเคราะหก์ ารค้มุ ครอง การป้องกัน การแก้ไข และการบำบดั ฟื้นฟู โดยให้ผู้รับบริการ ครอบครวั ชุมชน มีสว่ นรว่ ม (3) ให้บริการสังคมที่เหมาะสมกับสภาพปัญหา ความต้องการ ความจำเป็น ของผูร้ บั บรกิ ารครอบครัว ชุมชน (4) ระดมทรัพยากรในชุมชน และประสานงานหรือส่งเรื่องต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในชมุ ชนและนอกชุมชนได้ร่วมให้ความชว่ ยเหลือหรือพฒั นา (5) การจัดสวสั ดกิ ารสงั คม จะต้องนำไปส่กู ารส่งเสริมพัฒนาผู้รับบริการทัง้ ระดบั บุคคล (6) กลุม่ ชมุ ชน เพ่ือใหผ้ ูร้ ับบรกิ ารไดร้ ับการพัฒนาและสามารถทำหน้าท่ีทางสังคมได้อย่าง เหมาะสม (7) การจัดสวัสดิการจะต้องกระตุ้นส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้รับบริการได้ใช้ศักยภาพ ของตนเองได้อยา่ งเตม็ กำลังความสามารถ 5) สวัสดิการสำหรบั สตรีตั้งครรภว์ ัยรนุ่ หรอื มารดาวยั รุ่นในปจั จบุ ัน ในปัจจุบันสตรีต้ังครรภ์วยั รุ่น หรือมารดาวัยรุ่นจะไดร้ ับสวสั ดิการเงินอดุ หนุนเพ่ือการเล้ียงดู เด็กแรกเกิดในกรณีที่อยู่ในครัวเรือนยากจน หรือมีความเป็นอยู่ที่มีความยากลำบาก ซึ่งสวัสดิการ เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดและเด็กปฐมวัย เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล เพื่อลดความ เหลื่อมล้ำทางสังคม โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นนโยบายสำคัญระดับชาติ ตามแผนบูรณาการ การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต มุ่งเน้นให้เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ และมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย เพื่อเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพในอนาคต รวมทั้ง เป็นหลักประกันให้เด็กได้รับสิทธิด้านการอยู่รอด และการพัฒนาตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบหลักการโครงการเงินอุดหนุน เพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โดยให้เงิน อุดหนุนแก่เด็กแรกเกิดที่อยู่ในครัวเรือนยากจน รายละ 600 บาท ต่อคน ต่อเดือนเป็นเวลา 6 ปี ซึ่งรัฐจะจ่ายเงินอุดหนุนให้กับมารดา หรือผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็กแรกเกิด เพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก ซึ่งถือว่าเป็นการคุ้มครองทางสังคมและเป็นสวัสดิการพื้นฐานที่จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการ เล้ยี งดเู ด็กแรกเกิดใหไ้ ด้รบั การเลี้ยงดูที่มคี ุณภาพ และมีพฒั นาการเหมาะสมตามวยั รวมท้ังยงั เป็นการ เพิ่มโอกาสและช่องทางในการเข้าถึงบริการของรัฐ เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ ด้วยการ ส่งต่อข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่ขอรับสิทธิให้กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ทีมหมอครอบครัวและ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บา้ น (อสม.) ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านให้คำแนะนำดูแลสุขภาพแมแ่ ละเดก็ และตดิ ตามพัฒนาการเด็ก รวมทง้ั อาสาสมัครพัฒนาสงั คมและความม่ันคงของมนุษย์ (อพม.) ในพื้นท่ี ให้การดูแลในมิติด้านสังคมอื่น ๆ เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์และเด็กได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ

เงินอุดหนุนเพ่ือการเลีย้ งดูเด็กแรกเกิดถือเป็นสวัสดิการพื้นฐานในหลายประเทศทั่วโลก ผลการศึกษา ในหลายประเทศทั่วโลก พบตรงกันว่า เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด มีประโยชน์ต่อการ พัฒนาประเทศในระยะยาว จากการศึกษาของ ศ.ดร. เจมส์ เจ เฮคแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัล โนเบล พบว่า การลงทุนในเด็กเล็กจะไดร้ ับผลตอบแทนในระยะยาวกลับมา 7 เทา่ และการลงทุนในกลุ่ม เด็กเล็กที่อยู่ในครอบครัวที่ยากจนจะได้รบั ผลตอบแทนระยะยาวถึง 17 เท่า ดังนั้นการที่ประเทศไทย เห็นความสำคัญ และลงทุนกับการพัฒนาเด็กแรกเกิดในครัวเรือนยากจน และครัวเรือนที่เสี่ยง ต่อความยากจน ผ่านโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ย่อมเกิดผลตอบแทนต่อการ พฒั นาประเทศในระยะยาว (นโยบายเงินอดุ หนุนเพือ่ การเลยี้ งดเู ดก็ แรกเกิดและเดก็ ปฐมวยั , 2559) ประโยชน์ท่ีจะไดร้ ับ ไดแ้ ก่ (1) ประโยชน์ต่อเด็ก จากการศึกษาในหลายประเทศ พบว่า เด็กแรกเกิดที่ได้รับเงิน อุดหนุนจะได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ เนื่องจากสามารถเข้าถึงบริการ ทางสาธารณสุขได้มากกว่า อีกทั้งได้รับสารอาหารที่ดีกว่า ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้น จะส่งเสริม ให้เด็กแรกเกิดและปฐมวัยมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย เป็นพื้นฐานที่ สำคัญในการพัฒนา อย่างต่อเนื่องในช่วงวัยอื่น ๆ ต่อไป ผลการศึกษายังพบว่า เด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนในช่วงแรกเกิด จนถึง 6 ปี เมื่อเติบโตขึ้นถึงวัยเรียนก็จะมีระดับผลการเรียนที่ดีกว่าเด็กกลุ่มที่ไม่ได้รับเงินอุดหนุน และยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในระยะยาวอีกด้วย ผลการศึกษาพบว่า การให้เงินอุดหนุน แก่เด็กเล็กจะชว่ ยลดช่องว่างของระดับผลการเรียนระหวา่ งเด็กที่เกดิ ในครอบครวั ยากจนและเด็กท่ีอยู่ ในครอบครวั ปกติ (2) ประโยชนต์ อ่ พอ่ แม่ ผู้ดแู ลเดก็ เงินอุดหนนุ เพื่อการเลี้ยงดเู ด็กแรกเกดิ จะชว่ ยแบ่งเบา ภาระคา่ ใชจ้ า่ ยในการดูแลเด็ก รวมท้ังเปิดโอกาสให้พ่อแม่ ผดู้ ูแลเด็ก สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข ไดม้ ากขึ้น ทำใหม้ คี วามรู้ความเข้าใจในการเล้ียงดูและส่งเสรมิ พฒั นาการเด็ก (3) ประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ผลการศึกษาทั่วโลกพบว่าเด็กที่รับเงินอุดหนุน เมื่อโตขึ้นจะมีผลการเรียนที่ดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ และนำไปสู่ระดับรายได้ที่สูงขึ้น เงินอุดหนุน เพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสร้างรากฐาน ที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพ และเป็นกำลังสำคัญ ในการพฒั นาประเทศต่อไป (นโยบายเงินอดุ หนุนเพ่ือการเล้ยี งดูเด็กแรกเกดิ และเดก็ ปฐมวยั , 2559) 2.3 แนวคดิ ทำความเขา้ ใจแม่วยั ร่นุ บทบาท และมมุ มองของสังคมที่มตี ่อสตรตี ง้ั ครรภ์วยั ร่นุ จากการศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับแม่วัยรุ่น พบว่า การนิยามความหมายของคำว่าแม่วัยรุ่น ถูกผูกโยงไว้กับความหมายของคำว่า วัยรุ่นและการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ซึ่งส่วนใหญ่นิยามความหมาย การต้ังครรภใ์ นวยั รุ่น (teenage pregnancy หรอื adolescent pregnancy) หมายถงึ สตรีต้งั ครรภท์ ี่มีอายุ

ระหวา่ ง 10-19 ปี แมว่ ยั รุน่ จึงหมายถึง แมท่ ี่คลอดบุตรขณะอายุระหว่าง 10-19 ปี และจากการศึกษาท่ีผ่านมา พบว่า การเป็นแม่วัยรุ่นส่วนใหญ่เกิดจากความไม่พร้อม และพลาดตั้งครรภ์ เนื่องจากคุมกำเนิดพลาด หรือไมไ่ ด้คุมกำเนิด หลงั จากตง้ั ครรภ์แมว่ ัยรุน่ จะมีความวิตกกังวล เครียด อบั อาย ซึมเศรา้ เพราะการต้ังครรภ์ ที่ยังไม่วางแผน หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ไม่ได้อยู่บนบรรทัดฐานสังคม การที่วัยรุ่น ตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่นักจัดการความดีได้บัญญัติไว้แล้วว่าไม่เหมาะสม และไม่ตรงตามหลักคุณงามความดี ที่ได้บัญญัติไว้ แม่วัยรุ่นจึงถูกตีตราประทับมลทินว่าเป็นหญิงที่มีพฤติกรรมไม่ดี สร้างความเสื่อเสียให้กับ วงศ์ตระกูล ด้วยเหตุนี้แม่วัยรุ่นจึงเลือกที่จะปกปิดการตั้งครรภ์ของตน เพื่อพิจารณาทางเลือก 2 ทาง คือ 1) การยุติการตั้งครรภ์ และ 2) การตั้งครรภ์ต่อ ในส่วนของการยุติการตั้งครรภ์ ในอดีตที่ผ่านมา สังคมไทยยังคงยึดติดอยู่กับความเชื่อที่ว่า “การทำแท้งเป็นบาป” ทำให้ทางเลือกนี้เป็นทางเลือกที่มืดมิด แม่วัยรุ่นบางคนพยายามทำแท้งด้วยตนเอง และบางคนเข้ารับบริการในสถานทำแท้งเถื่อน ปัจจุบันสังคม เปลี่ยนไป ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรีมีเครือข่ายที่เข้มแข็งมากขึ้น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ การทอดทิ้งเด็กหลังคลอด ทำให้คนในสังคมเริ่มเข้าใจและให้ทางเลือกแก่วัยรุ่นตั้งครรภ์มากขึ้น ส่วนวัยรุน่ ที่ท้องต่อ และต้องกลายเป็นแม่วัยรุ่นนั้นยังต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย (ศรีเพ็ญ ตันติเวสส และคณะ 2556 ; วาทินีย์ วิชัยยา, 2555 ; พชั ชา เจิง่ กลนิ่ จนั ทร์, 2557 และพรรมั ภา ขวัญยืน, 2557) ความเป็นแม่ (Motherhood) เป็นแนวคิดสามารถอธิบายความเป็นแม่วัยรุ่นได้อย่างชัดเจน เมื่อความเป็นแม่ของแม่วัยรุ่นไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แม่วัยรุ่น คือ แม่ที่ถูกสังคมกำหนดสร้าง แนวคิดนี้มองว่า ผู้หญิงกับการทำหน้าที่แม่เป็นสิ่งที่ผูกติดเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก เมื่อผู้หญิง ตั้งครรภ์ คลอดบุตร ก็ต้องเลี้ยงดูบุตร และนั่นคือคำว่า แม่ ที่สังคมดาดหวัง แต่ในกรณีแม่วัยรุ่น สังคมมักจะมองว่า พวกเธอ “ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์” “เป็นแม่ไม่พร้อม” ซึ่งมุมมองของแม่วัยรุ่น ต่อความเปน็ แมน่ น้ั อาจตา่ งออกไป การทำบทบาทแม่ทั้งท่ียงั ไม่พรอ้ ม อาจไม่ใชแ่ ม่ที่สามารถเล้ียงดูลูก ได้เอง แต่อาจหมายถึงแม่ที่เลือกทางที่ดีที่สุดแก่บุตรของตน แม่วัยรุ่นบางคนไม่สามารถเลี้ยงดูบุตร เองได้ ตอ้ งให้บตุ รอยู่ในความดูแลของเครือญาติ ตนมหี นา้ ที่สง่ เงินให้ หรือต้งั ใจเรียนเท่าน้ัน แต่แม่วัยรุ่น ที่เครือญาติไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ อาจต้องเข้าสู่การยกมอบบุตรเพื่อจัดหาครอบครัว บุญธรรม และนี่คือ ความเป็นแม่ของแม่วัยรุ่นที่นิยามขึ้นนอกกรอบที่สังคมกำหนดสร้างไว้ ซึ่งสอดคล้องกับการแสดงบทบาทแม่เชิงชีวภาพ (biological mother) ซึ่งแม่วัยรุ่นยังคงมีข้อจำกัด หลายด้านไม่ว่าจะเป็น ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านสังคม และด้านสัมพันธภาพระหว่าง แม่วัยรุ่นกับผู้ปกครอง โดยข้อจำกัดในการแสดงบทบาทเหล่านี้ส่งผลให้แม่วัยรุ่นมีประสบการณ์ ตามบทบาททแ่ี ตกตา่ งกนั (วาทินีย์ วชิ ัยยา, 2555 ; บศุ กร กาศมณ,ี 2548 และ Gisela Meier, 1993) แนวคิดดังกล่าวสะท้อนมุมมองเฉพาะของแม่วัยรุ่นอย่างชัดเจนมากขึ้น แนวทางการจัดสวัสดิการ สำหรบั แม่วยั รุ่นจึงไมส่ ามารถอยูใ่ นกรอบทสี่ งั คมกำหนดสร้างได้อีกต่อไป

2.4 แนวคิดสตรนี ยิ ม การแบ่งสตรีนิยมตามแนวคิดต่าง ๆ หรือการแบ่งเป็นคลื่นทั้ง 3 นั้น ทำให้เห็นจุดเน้นของ แนวคิดสตรนี ิยมอันมีพ้นื ฐานแนวคิดเชื่อมโยงกบั ระบบสังคม เศรษฐกิจ และการเมอื งในแต่ละยุคสมัย แม้ว่าแนวคิดพื้นฐานจะมีความแตกต่างกันมากเพียงใด แต่เป้าหมายปลายทางของแนวคิดสตรีนิยม ก็มุ่งเน้นไปที่การปลดปล่อยผู้หญิงที่ผู้กดขี่ และความไม่เท่าเทียมทางเพศอันเกิดจากระบบชาย เป็นใหญ่ (patriarchy) ซึ่งฝังรากลึกและมีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น การศึกษาแนวทางการจัด สวัสดิการสำหรับแม่วัยรุ่นจะขาดแนวคิดนี้ไม่ได้เพราะเป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงโดยตรง ทสี่ ามารถนำมาอธบิ ายปรากฏการณ์แม่วยั รุ่นในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี เรมิ่ ตัง้ แต่วยั รนุ่ พลาดต้ังครรภ์ จะตกอยู่ภายใต้การกดขี่ของมดลูก (oppression of the womb) ทันที และหลังจากนั้นแม่วัยรุ่น จะถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม สังคมคาดหวังให้ผู้หญงิ รวมทั้งแม่วัยรุ่นทำหน้าที่เลี้ยงลกู ในคล่ืน ยุคแรก หรือในแนวคิดสตรีนิยมแนวสวัสดิการ สวัสดิการสังคมในยุคนั้นล้วนแล้วแต่เป็นสวัสดิการ ขั้นพื้นฐานที่สนับสนุนให้แม่วัยรุ่นทำบทบาทแม่ได้อย่างเต็มที่ ส่วนสวัสดกิ ารด้านการศึกษา และการ ประกอบอาชีพถือเป็นเรื่องรอง เพราะแม่วัยรุ่นต้องเลี้ยงดูลูกเป็นหลัก หากทอดทิ้งไปเรียน หรือไป ทำงานอาจถูกคนในสังคมมองว่าเป็นแม่ที่ไม่มีความรับผิดชอบ ผิดจากผู้ชายซึ่งเป็นบิดาเด็ก ที่มีแนวโน้ม “ชิ่งหนีหรือจำใจรับผิดชอบ” และส่วนใหญ่ปฏิเสธความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูบุตร ในระยะยาว ทำให้หน้าที่ในการเล้ียงดูบตุ รตกเป็นของแม่วัยรุ่นเพียงผู้เดียว เห็นได้จากคำพูดเด็กชาย ระดับมัธยมต้นคนหนึ่งซึ่งกล่าวถึงสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นว่า \"วัยรุ่นพอรักกัน แล้วก็ท้อง แล้วก็ทิ้งกัน\" (ศิริพร จิรวัฒน์กุล และคณะ, 2554) คำพูดนี้นอกจากจะสะท้อนของความสัมพันธ์ ระหว่างวัยรุ่นชายและหญิงในสมัยนี้แล้วยังสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมทางเพศผ่านระบบชายเป็นใหญ่ ซึ่งมีอำนาจเหนือผู้หญิงที่ถูกควบคุมผ่านกิจกรรมการสืบเผ่าพันธุ์ ทำให้ผู้หญิงไม่มีอิสรภาพในการ ดำเนินชวี ิตและพัฒนาตนเอง ตอ้ งอยู่ในพ้ืนที่ส่วนตัว ทงั้ ท่ีผู้ชายได้อยู่ในพน้ื ที่สาธารณะ (สุภาทิพย์ สุทธิ, 2554 : วารณุ ี ภรู ิสินสทิ ธ์ิ, 2545 และ Sheila Blackburn, 1995) ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคหลังความทันสมัย แนวคิดสตรีนิยมหลงั ความทันสมยั (Feminist Post- Modernism) ที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดหลังความทันสมัยที่ปฏิเสธระบบคิดแบบคู่ตรงข้าม ไม่เชื่อ เรื่องความเป็นสากล หรือความจริงเป็นหนึ่งเดียว เชื่อว่าความรู้ ความจริง ถูกสร้างผ่านวาทกรรม มเิ ซล ฟโู ก (Foualt, 1980) เป็นนกั คิดชาวฝร่ังเศส ท่ีกลา่ วถึงแนวคดิ เร่อื งอำนาจและความรู้ทนี่ ำมาใช้ หรืออ้างถึงในสตรีนิยม แนวคิดสตรีนิยมหลังความทันสมัยปฏิเสธความเหมือนกันของสตรี หรือการ มีอัตลักษณ์ที่แน่นอน ปฏิเสธความเป็นสากลของผู้หญิง ความรู้ อำนาจที่ทำให้หญิงด้อยกว่าชาย ยอมรับความหลากหลายของผู้หญิง ให้ความสำคัญกับมุมมองท้องถิ่น และบริบททางประวัติศาสตร์ แนวคิดนี้นำมาเชื่อมโยงกับแนวทางการจัดสวัสดิการ สำหรับแม่วัยรุ่นในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เพราะการเป็นแม่วัยรุ่นจะไม่ถูกมองเหมือนผู้หญิงที่เป็นแม่ทั่วไป การเป็นแม่วัยรุ่นที่ถูกสร้าง

ผ่านวาทกรรมความรู้และอำนาจตามแนวคิดของมิเชล ฟูโก จะทำให้สังคมเข้าใจแม่วัยรุ่นที่แตกต่าง แม่วัยรุ่นทุกคนไม่จำเป็นต้องด่างพร้อย และไม่จำเป็นต้องถูกกดขี่หรือถูกประทับมลทิน แม่วัยรุ่น นอกจากจะไม่เหมือนกับแม่ทั่วไปแล้ว แม่วัยรุ่นด้วยกันก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน อย่างแม่วัยรุ่นที่มี บุตรตอนอายุ 14 ปี กับแม่วัยรุ่นที่มีบุตรตอนอายุ 19 ปี ก็มีสภาพปัญหาและความต้องการต่างกัน แม่วัยรุ่นท่ีอยู่ในครอบครัวต่างกัน ย่อมมีผลต่อการเลี้ยงดูบุตรต่างกัน การเข้าใจความต่าง ปฏิเสธ ความเป็นหนึ่งเดียวจะทำให้แนวทางการจัดสวัสดิการสำหรับแม่วัยรุ่นมีรูปแบบที่ไม่ตายตัว ซึ่งจะเปน็ ประโยชน์ย่งิ ตอ่ แมว่ ัยร่นุ ในสงั คมปัจจบุ ัน 2.5 ทฤษฎกี ารสร้างพลงั อำนาจ ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจกล่าวถึงการถูกกดขี่ การถูกเอารัดเอาเปรียบ ความไม่เป็นธรรม ทางสังคม การเลือกปฏิบัติ ซึ่งเน้นเรื่องการนำมาปฏิบัติจริง หากมองในส่วนของการปฏิบตั ิงานสังคม สงเคราะห์ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจเป็นทฤษฎีที่สามารถนำมาอธิบายสถานการณ์จริงที่เกิดกับ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ใช้บริการ ซึ่งหมายรวมถึงแม่วัยรุ่นด้วย ดังที่กล่าวมาแล้ว แม่วัยรุ่น คือ ผู้ที่ต้อง ทำบทบาทแม่ก่อนวัยอันควรทำให้เสียโอกาสทางสังคมในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ ดังผลการศึกษาของศิริพร จิรวัฒน์กุล และคณะ (2554) ที่พบว่า แม่วัยรุ่น ส่วนใหญ่ ร้อยละ 70 ไม่ได้เรียนหรือพักการเรียน และร้อยละ 53.2 ไม่มีอาชีพ เนื่องจากอายุน้อย และอยรู่ ะหว่างการต้ังครรภ์ ในความเปน็ จรงิ ประชาชนทกุ คนควรไดร้ ับการศกึ ษา และมีโอกาสในการ ประกอบอาชีพ แต่เมื่อเข้าสู่การเป็นแม่วยั รุ่นโอกาสดังกล่าวกลายเป็นโอกาสท่ีแม่วัยรุ่นน้อยคนได้รับ ส่วนหนึ่งมาจากการที่แม่วัยรุ่นต้องทำหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุดรอย่างใกล้ชิด และส่วนหนึ่งมาจาก ตัวแม่วัยรุ่นเองที่มองว่าตนแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในสังคม การออกไปเผชิญสังคมภายนอกทำให้ แม่วัยรุ่นวิตกกังวล เครียด อีกทั้งคนในสังคมบางกลุ่มยังคงตีตราแม่วัยรุ่นว่าเป็นผู้หญิงใจง่าย หรือไมร่ ้จู กั รกั นวลสงวนตวั ส่ิงเหล่าน้ลี ว้ นทำใหแ้ ม่วยั รุน่ รสู้ กึ ด้อยค่า จนต้องใช้ชวี ติ คล้ายกับผไู้ มม่ สี ิทธิ เลือกหรอื ควบคมุ ชวี ติ ตนเอง ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจจะไม่มองแม่วัยรุ่นในลักษณะ “เหยื่อ” และจะไม่ตำหนิแม่วัยร่นุ แต่จะมุ่งไปที่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แม่วัยรุ่นตระหนักถึงพลังอันมุ่งมั่นในการทำความฝัน ของตนเองให้เป็นจริง โดยมีเป้าหมายหลักคือการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดขี ึ้น หลักการสร้างพลังอำนาจ จะเกิดขึ้นได้ต้องมีจิตสำนึกวิพากษ์ หรือการปลกุ จติ สำนกึ และการกระทำทางสังคมที่มีประสิทธิภาพ อย่างจริงจังด้วย ซึ่งทั้งสองส่วนนี้เชื่อมโยงไปสู่โครงสร้างทางการเมืองที่มีผลต่อประสบการณ์ ของปัจเจกหรือกลุม่ และทำให้ปัจเจกหรือกลุ่มรู้สึกไร้พลงั อำนาจ โดยกิวเทียร์เรซ์ (Gutierrez, 1990 อ้างใน กิตพัฒน์ นนทปัทมะดุล, 2558) ได้อธิบายจิตสำนึกเชิงวิพากษ์ว่ามี 3 องค์ประกอบ คือ 1) การกำหนดรู้สภาพการณ์ของตนเองว่าตนเองเหมือนกับบุคคลอื่นในสังคมอย่างไร 2) การลด

การปรักปรำตำหนิหรือลงโทษตนเองสำหรับเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา และ 3) การรู้สึกว่า ตนมอี ิสรเสรีในการดำเนินชวี ติ (กติ พฒั น์ นนทปทั มะดลุ , 2558, และจอมขวัญ เกตแุ ก้ว, 2555) โดยสรุป ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจสามารถอธิบายผู้ใช้บริการซึ่งเป็นแม่วัยรุ่น ได้อย่างชัดเจน เพราะเมื่อวัยรุ่นต้องทำบทบาทความเป็นแม่จะมีภาวะยากลำบากในหลาย ๆ ด้าน อันนำไปสู่ความไร้อำนาจ คือ ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรและไม่สามารถควบคุมตนเองได้ สังคม ประทับมลทินว่าแม่วัยรุ่นเป็นเหยื่อที่ไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่สามารถควบคุมตนเองให้มีพฤติกรรม ที่เหมาะสมได้ ทำให้ตัวแม่วันรุ่นรู้สึกอับอายไม่มีพื้นที่ในสังคม ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจจะให้ แม่วัยรุ่นตระหนักถึงพลังอันเข้มแข็งของตนเองและพร้อมที่จะทำการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ตนเอง กลบั มามีอำนาจในการเข้าถึงทรัพยากรตามสิทธแิ ละควบคุมตนเองได้ โดยการจะกลับมามีพลังอำนาจ ได้นั้น แม่วัยรุ่นต้องมีจิตสำนึกเชิงวิพากษ์ หรือมีการปลุกจิตสำนึก เริ่มตันจากการกำหนดรู้ว่าตนเอง เหมือนกับคนอื่นในสังคม มีสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรอย่างเต็มที่ โดยจะไม่ตำหนิตนเองเกี่ยวกับ เรอ่ื งราวทเ่ี กิดข้ึนแล้ว เพราะหากยงั คงตำหนิตนเองอยู่ จะเป็นสงิ่ ทแ่ี มว่ ยั รนุ่ มองตนเองไม่ต่างจากการ ถูกตีตราจากสังคม นอกจากไม่ตำหนิตนเองแล้ว แม่วัยรุ่นต้องปลดพันธนาการต่าง ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิด การพฒั นา และใชช้ ีวิตอย่างมเี สรภี าพใชท้ รัพยากรในการพัฒนาตนเองและครอบครัวต่อไป 2.6 ทฤษฎีการตตี รา การตีตรา (Stigma) มีความหมายในเชิงลบ เมื่อได้ยินได้ฟังจะสัมผัสได้ถึงความอัปยศอดสู ความอบั อาย การทำให้เสื่อมเสีย (Spoiled Identity) การตีตราเป็นปรากฏการณท์ างสงั คมที่มีความซบั ซอ้ น (a complex social phenomena) หรือกระบวนการของความสัมพันธ์ระหว่างการอ้างให้เชื่อว่า มีคุณสมบัติเป็นเช่นนั้น (attribute) กับคตินิยมหรือการเหมารวม (Stereotype) อย่างในกลุ่มแม่วัยรุ่น จะถูกอ้างให้เชื่อว่าต้องมีลักษณะมั่ว สำส่อน ใจง่าย เมื่อมีแม่วัยรุ่นบางคนทอดทิ้งเด็ก จะนำไปสู่คตินิยม หรือการเหมารวมว่าแม่วัยรุ่นไม่มีความรับผิดชอบ แม่วัยรุ่นทิ้งลูก แม่วัยรุ่นเป็นแม่ใจยักษ์ การตีตรา ด้วยลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้แม่วัยรุ่นมีลักษณะที่ไม่เป็นที่ต้องการหรือถูกเหมารวมว่าน่ารังเกียจ คนในสังคมไม่ยอมรับนำไปสู่การเลือกปฏิบัติ (discrimination) เมื่อศึกษาความหมายของคำว่า การตีตรา (Stigma ) จะพบว่าจุดกำเนิดของการตีตรามาจากกระบวนการทางสังคม วัฒนธรรม และปัจเจกบุคคล การตีตราเป็นการลงเครอ่ื งหมายกำกับความอปั ยศในบุคคลที่มีลกั ษณะทไี่ มเ่ ป็นทีต่ ้องการ หรือมีพฤติกรรม เบ่ียงเบน ซ่ึงไมไ่ ด้เปน็ พฤติกรรมท่ีมีแตก่ ำเนิด และตตี รานี้ไมส่ ามารถเกดิ ข้นึ ไดเ้ อง แตจ่ ะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเม่ือ บุคคลนั้นมีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น โดยพฤติกรรมที่ถูกตีตราในแต่ละสังคมนั้นจะแตกต่างกันออกไป ตามบริบทสังคม อย่างในสังคมไทยแม่วัยรุ่นจะถูกตีตราว่าสำส่อน ใจง่าย แต่ในประเทศอังกฤษ นอกจาก แม่วัยรุ่นจะถูกตีตราว่าหัวอ่อน อ่อนต่อโลก ไม่มีวุฒิภาวะแล้ว ยังจะถูกตีตราว่าไม่ซื่อสัตย์ เพราะพวกเขา ยอมเปน็ แม่วยั รุ่นเพอื่ ใหเ้ ข้าถงึ สวัสดิการทม่ี ากกว่าคนปกติ สิ่งเหลา่ น้สี ะท้อนบริบทสงั คมทต่ี า่ งกันทำให้เกิด

การตีตราแม่วัยรุ่นในลักษณะท่ีต่างกันด้วย (รพีพงษ์ กันยะมี, 2555 : กิตติพัฒน์ นนทปัทมดุล, 2550 และ Kyla Ellis-Sloan, 2013) ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการตีตราแม่วัยรุ่นเกิดเมื่อบุคคลในสังคมมีปฏิสัมพันธ์กันจนเกิด การกำหนดสร้าง (socially constructed) ความหมายพฤติกรรมการทำความดี เลว โดยผู้กำหนด สร้างความหมายและนำภาษามาชี้นำตัดสินพฤติกรรมบุคคลอื่นนั้น อาจเรียกได้ว่า “นักจัดการความดีงาม” (Moral entrepreneurs) หลังจากผ่านกระบวนการกำหนดสร้างความหมายพฤติกรรมการตั้งครรภ์ ในวัยรุ่นว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เป็นพฤติกรรมที่ไม่พึ่งปรารถนาแล้ว บทบาทของแม่วัยรุ่น จะถูกเปลี่ยนจากคนปกติในสังคมไปสู่บทบาทของคนที่แตกต่างหรือแปลกไปจากปกติ (difference) บทบาทดังกล่าวจะนำไปสู่การคาดหวังของสังคมที่มีต่อบทบาทนั้น อย่างบทบาทแม่วัยรุ่นที่สังคม คาดหวัง คือ การออกจากโรงเรียนเพื่อเลี้ยงลูก การไม่ยุติการตั้งครรภ์เพราะเป็นบาป จะเห็นได้ว่า สิ่งที่สังคมคาดหวังจากแม่วัยรุ่นล้วนแล้วแต่เป็นการถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม นอกจาก การตีตราแม่วัยรุ่นจะส่งผลต่อบทบาทที่สังคมคาดหวังต่อตัวแม่วัยรุ่นแล้ว ยังส่งผลให้เกิดความ แตกต่างระหว่างอัตลักษณ์ทางสังคมที่แท้จริง Virtual Social Identity และอัตลักษณ์ทางสังคม เสมอื นจริง Actual Social Identity ของแม่วัยรุ่นอีกด้วย อยา่ งในกรณีทค่ี นในสงั คมตตี ราแม่วัยรุ่นว่า เป็นผูห้ ญงิ ใจง่าย ไมม่ ีความรบั ผิดชอบ เปน็ การสรา้ งอตั ลักษณ์ทางสงั คมเสมือนจริงให้แมว่ ัยร่นุ ในทาง กลับกันอัตลักษณ์ทางสังคมที่แท้จริงของแม่วัยรุ่นอาจไม่เป็นเช่นนั้น การมีเพศสัมพันธ์อาจเกิดจาก การถูกล่อลวงหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็เป็นได้ แม่วัยรุ่นหลายคนพยายามแสดงอัตลักษณ์ทางสังคม ที่แท้จริงของตนเองออกมา แต่ก็อาจไม่สำเร็จเพราะการตกอยู่ในสถานภาพของผู้ถูก ตีตรานั้น เปราะบางและไร้ซึ่งพลังอำนาจเกินกว่าจะกระทำการใดได้ (Hsin Yang, et al, 2007 ; cited in Harrington, 20 14 อ้างถึงใน กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุล , 2558 ; วันชนะ ไชยะแสง, 2554 และรพีพงษ์ กันยะมี, 2555) สำหรับการจัดการกับการตีตราของแม่วัยรุ่นนั้นมีวิธีการที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการปกปิด และกลบเกลื่อนความผิดปกติของตนเอง เช่น เมื่อมีอาการแพ้ท้องจะแกล้งทำเป็นป่วย เป็นไข้ และ แยกตวั เพราะไมต่ ้องการให้คนอนื่ รู้ว่าตนต้งั ครรภ์ แมว่ ัยรนุ่ จะมปี ญั หาเร่ืองความไว้วางใจ ไม่กล้าสนิท กับใคร เพราะเกรงว่าจะล่วงรู้ความลับที่ตนตั้งครรภ์ บางคนต้องโกหกเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง เพื่อไม่ให้คนอื่นสงสัย แม่วัยรุ่นบางรายตัดสินใจยกมอบบุตรให้กับครอบครัวบุญธรรม และปกปิด คนอื่นว่าไม่เคยตั้งครรภ์มาก่อน ซึ่งแม่วัยรุ่นกลุ่มนี้จะปฏิเสธตราบาปที่อยู่ในอัตลักษณ์ส่วนบุคคล และแสดงออกอย่างเป็นปกติวิสัย (Normalization) แต่สุดท้ายแม่วัยรุ่นที่เรียกได้ว่าก้าวพ้น ความเจ็บปวดจากการตีตราและรักษาบาดแผลของตนเองได้นั้น คือ แม่วัยรุ่นที่ยอมรับนับถือตนเอง และไม่รู้สึกว่าต้องปกปิดเรื่องราวของตนเองที่ถูกตีตราอีกต่อไป แม่วัยรุ่นเหล่านี้พร้อมที่จะถ่ายทอ ด

เรื่องราวประสบการณ์ของตนให้แม่วัยรุ่นคนอื่นที่ถูกตีตราได้ก้าวพ้นความเจ็บปวดเหล่านั้นไปได้ เช่นกัน (กติ ิพัฒน์ นนทปทั มะดลุ , 2550 และ รพีพงษ์ กันยะมี 2555) แม้ว่าหนทางการหลุดพันจากการถูกตีตราและการรักษาบาดแผลที่ได้รับจากการถูกตีตรา จะมี แต่ก็ไมง่ ่ายที่จะก้าวผ่าน เพราะการตีตราพฤตกิ รรมของแมว่ ยั รุ่นว่าเปน็ พฤตกิ รรมที่นา่ อปั ยศอดสู ทำให้เกิดการเบียดขับทางสังคม และทำให้แม่วัยรุ่นสูญเสียคุณค่าความเปน็ มนุษย์ แม้ว่าวันเวลาผา่ น ไปแตค่ วามอัปยศดังกล่าวยังคงติดตวั แม่วัยรุ่นอยู่ การตีตราจึงเหมือนบาดแผลที่ไม่มีวันหาย หรือหากหาย ก็ยังคงทิ้งรอยแผลเป็นไว้ให้เจ็บช้ำทุกครั้งที่เห็นรอยแผลเป็นนั้น ผู้ที่จะไม่รู้สึกอะไรกับบาดแผล น้ันแล้ว คือ แม่วัยรนุ่ ทไี่ ด้รบั การเสริมพลังอำนาจจนเขม้ แขง็ พร้อมที่จะใชช้ วี ิตของตนเองอย่างมีคุณค่า และสามารถนำประสบการณ์ของตนเองมาเปน็ แนวทางในการปลดปล่อยแม่วัยรุ่นให้หลุดพ้นจากการ ถูกตีตราต่อไป แนวทางการจัดสวัสดิการสำหรับแม่วัยรุ่น นอกจากจะให้ความช่วยเหลือเพื่อให้แม่ วัยรุ่นสามารถดำรงชีวิตได้ตามอัตภาพแล้ว ต้องคำนึงเสมอว่าสวัสดิการและการบริการจะไม่เป็น การตีตราแม่วัยรุ่นซ้ำ เพราะแม่วัยรุ่นอยู่ในฐานะผู้ใช้บริการ และสวัสดิการที่ให้ก็เป็นสวัสดิการ ตามสิทธิ การร้องขอความช่วยเหลือจึงไม่จำเป็น แต่เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ท่ีต้องจดั บรกิ ารใหต้ ามหนา้ ทอี่ ยู่แลว้ 2.7 งานวจิ ัยทเ่ี ก่ียวข้อง จากการทบทวนวรรณกรรมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการจัดสวัสดิการที่เหมาะสม สำหรับสตรตี งั้ ครรภ์วยั รุ่น มีงานวิจัยที่เกย่ี วข้อง ดังน้ี มาลี จิรวัฒนานนท์ (2560) ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและลักษณะบริการ สวัสดิการทางการศึกษาสำหรับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยววัยรุ่น พบว่าความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ที่แม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่นได้รับล้วนมาจาก แม่ ยาย ป้า น้า และพี่สาว ลักษณะบริการสวัสดิการ ทางการศึกษาที่ต้องการมีทั้งบริการ สนับสนุนและบริการเสริมบริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ แม่เลี้ยงเดี่ยว แตล่ ะรายสามารถเข้าถึงบริการไดแ้ ตกต่างกนั และหน่วยงาน/องค์กรท่จี ัดบริการกม็ ีขอบเขตข้อจำกัด ในการให้บริการเนื่องจากหลาย ๆ แห่งดำเนินโครงการโดยภาคเอกชนที่รัฐมิได้ให้การสนับสนุนทุน แต่อย่างใด และยังพบว่าเป็นความต้องการบริการในลักษณะการสนับสนุนเกื้อกูล และความต้องการ บริการในลักษณะการเสริมสร้างเติมเต็ม ซึ่งครอบคลุมกลุ่มบริการงานสังคมสงเคราะห์ กลุ่มบริการ งานด้านสุขภาพและจิตวิทยา กลุ่มบริการแนะแนว และกลุ่มบริการอื่น ๆ อาทิ บริการการรับเข้า และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษาของสถานศึกษาต่าง ๆ บริการด้านอาหาร และท่ีพกั อาศัย บริการเกยี่ วกบั การมาเรยี นของนกั เรยี นในแต่ละวนั

กุลธิดา อนุตรกุลศรี (2561) พบวา่ รูปแบบและกลไกการให้ความชว่ ยเหลือแม่วัยใส แบ่งเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบตอบสนองความต้องการที่จำเป็น เป็นรูปแบบที่จัดขึ้นเพื่อตอบสนอง ความต้องการขั้นพื้นฐานทางร่างกายและความต้องการต้นทุนชีวิต 2) รูปแบบฟื้นฟูเยียวยาทางจิตใจ เป็นรูปแบบที่ให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยา จิตใจ แม่วัยใสและครอบครัวให้มีสุขภาพจิตที่ดี 3) รูปแบบติดอาวุธทางปัญญาเป็นรูปแบบที่ส่งเสริมความรู้สร้างทักษะชีวิต และพัฒนาศักยภาพต่าง ๆ และ 4) รปู แบบคนื สู่ครอบครัว เปน็ รูปแบบท่เี กิดขึ้นภายหลังจากที่แมว่ ัยใสผ่านกระบวนการให้ความ ชว่ ยเหลอื แม่วยั ใสและรูปแบบอนื่ ๆ มาแลว้ สำหรบั แนวทางการพัฒนารูปแบบการให้ความช่วยเหลือ แม่วัยใส ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม แบ่งเป็นระดับปฏิบัติงาน ได้แก่ การเข้าถึง กลุ่มแม่วัยใสและการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งระดับองค์กร ได้แก่ เสริมสร้างพลัง ในคนทำงานและสรรหาแหล่งเงนิ ทนุ สนบั สนุน และระดบั นโยบาย ได้แก่ การผลกั ดนั ให้เป็นสวัสดิการ สุขภาพถ้วนหน้า กฤตยา อาชวนิจกุล, จิตติมา ภาณุเตชะ และสุมาลี โตกทอง (2563) พบว่าการสนับสนุนให้เข้าถึง สวัสดิการรัฐ ต้องส่งเสริมและประสานงานให้แม่วัยรุ่นเข้าถึงสวัสดิการของรัฐโดยเฉพาะเงินอุดหนุน เพื่อการเล้ียงดูเด็กแรกเกิด ซึ่งเป็นสวัสดิการเดียวที่ช่วยเสริมความมั่นใจทางเศรษฐกิจให้แก่แม่วัยรุ่น แต่ด้วยเงื่อนไขและขั้นตอนการเข้าถึงที่ซับซ้อนยุ่งยากทำให้ต้องมีคนคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา และช่วยกรอกรายละเอียดต่างๆ ในแบบฟอร์ม ส่วนด้านการส่งเสริมอาชีพ แม่วัยรุ่นแทบทุกคน มีปัญหาการเงิน ไม่มีรายได้เป็นของตัวเอง การต้องพึ่งพิงคนในครอบครัวหรือแฟนทำให้ไม่มีอิสระ ในการจัดการชีวิตของตนเองได้ การสนับสนุนด้านอาชีพให้แก่แม่วัยรุ่นจึงเป็นข้อท้าทาย เนื่องจาก แม่วัยรุ่นอายุน้อยไม่สามารถทำงานประจำไม่มีคนดูแลลูก การศึกษาน้อย เป็นได้เพียงแรงงานไร้ฝีมือ ที่รับจ้างรายวันหรือได้ค่าจ้างไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย การสนับสนุนให้พ่อแม่วัยรุ่นทำอาชีพอิสระ เช่น ขายอาหารหรือทำขนมยังเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะแม่วัยรุ่นที่ไม่อดทนต่อความยากลำบาก ในการค้าขายได้ การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพแม่วัยรุ่น ต้องมีการพัฒนาศักยภาพแม่วัยรุ่น ให้สามารถตั้งตัว มีรายได้ โดยส่งเสริมบทบาทของผู้ชาย (ที่เป็นพ่อวัยรุ่น) ร่วมด้วย เพื่อให้เกิดการ ปรับพฤตกิ รรมรับผิดชอบครอบครัวร่วมกัน 2.8 กฎหมายทีเ่ ก่ยี วข้องกับการต้ังครรภ์ในวัยรุ่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ได้แก่ พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไข ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 โดยได้ให้คำจำกัดความของวัยรุ่น ว่าหมายถึง “บุคคลอายุ เกินสิบปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงยี่สิบปีบริบูรณ์” ซึ่งตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน

กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจในการออกกฎกระทรวงและระเบียบ เพอ่ื ปฏบิ ัตติ ามพระราชบญั ญัตินี้ สิทธิของวัยรุ่น ตามหมวดที่ 1 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ได้กำหนด สิทธิของวัยรุ่นไว้ใน มาตรา 5 ดังนี้ “วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง และมีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสาร และความรู้ ได้รับการบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ได้รับการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และได้รับสิทธิอื่นใดที่เป็นไป เพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินีอ้ ย่างถูกต้อง ครบถว้ น และเพียงพอ” นอกจากนี้ พระราชบัญญัตินี้ยังกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งหมายถึง กระทรวง ทบวง กรม สว่ นราชการทีเ่ รยี กชื่ออย่างอน่ื และมฐี านะเปน็ กรม ราชการส่วนภูมภิ าค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวสิ าหกิจ องคก์ ารมหาชนและหน่วยงานอ่นื ของรฐั ภายใต้ 5 กระทรวงดงั กล่าว ไว้ดงั นี้ สถานศึกษา ตามมาตรา 6 มีหน้าท่ี จัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศกึ ษาให้เหมาะสม กับช่วงวัยของนักเรียนหรือนักศึกษา รวมถึงการจัดหาและพัฒนาผู้สอนให้สามารถสอนเพศวิถีศึกษา และให้คำปรึกษาในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่นักเรียนหรือนักศึกษา จัดให้มีระบบการดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งตั้งครรภ์ให้ได้รับการศึกษา ดว้ ยรปู แบบทีเ่ หมาะสมและต่อเนื่อง รวมทง้ั จดั ให้มีระบบการส่งต่อให้ไดร้ ับบริการอนามัยการเจริญพันธ์ุ และการจดั สวัสดิการสงั คมอยา่ งเหมาะสม สำหรับสถานบริการตามมาตรา 7 ซึ่งหมายถึงสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกัน สุขภาพ ให้มีหน้าที่ในการให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตง้ั ครรภใ์ นวยั รุ่นแก่ผรู้ บั บรกิ ารซง่ึ เป็นวัยรนุ่ อยา่ งถกู ต้อง ครบถว้ น และเพยี งพอ อกี ทั้งต้องจัดให้มี บริการให้คำปรึกษาและบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ได้มาตรฐานสำหรับผู้รับบริการซึ่งเป็นวัยรุ่น รวมท้ังจัดใหม้ ีระบบการสง่ ต่อให้ไดร้ บั การจดั สวัสดิการสงั คมอยา่ งเหมาะสม สำหรับสถานประกอบกิจการ ซ่งึ หมายถงึ สถานที่ซงึ่ ผู้ประกอบกจิ การใช้เป็นสถานท่ีประกอบ ธุรกิจและมีลูกจ้างทำงานอยู่ในสถานประกอบกิจการ ตามมาตรา 8 มีหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่ลูก จ้างซึ่งเป็นวัยรุ่น อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอ และจัดหรือสนับสนุนให้ลูกจ้างซึ่งเป็นวัยรุ่นเข้าถึงบริการ ให้คำปรึกษา และบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งจัดให้มีระบบการส่งต่อให้ได้รับการจัด สวสั ดิการสงั คมอยา่ งเหมาะสม สำหรับการจัดสวัสดิการสังคม ซึ่งหมายถึง การจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมายว่าด้วย การสง่ เสรมิ การจดั สวสั ดิการสงั คม ตามมาตรา 9 มีหน้าทีด่ ังนี้ 1) สง่ เสริมสนบั สนนุ ใหส้ ภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัดและระดับอำเภอสร้างเครือข่ายเด็ก และเยาวชนในพืน้ ทเี่ พือ่ เป็นแกนนำป้องกนั แก้ไข และเฝ้าระวังปญั หาการต้ังครรภ์ในวยั รุน่

2) ส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานของเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่ ประสานงาน เฝ้าระวงั และใหค้ วามช่วยเหลือแก่วัยรนุ่ ทตี่ งั้ ครรภแ์ ละครอบครัว 3) จัดให้มีการฝกึ อาชีพตามความสนใจและความถนดั แกว่ ัยรุ่นท่ีตั้งครรภ์ก่อนและหลังคลอด ทีป่ ระสงค์จะเข้ารับฝกึ อาชีพ และประสานงานเพื่อจัดหางานใหไ้ ด้ประกอบอาชพี ตามความเหมาะสม 4) จดั หาครอบครวั ทดแทนในกรณที วี่ ยั รุ่นไมส่ ามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเองได้ และ 5) การจัดสวัสดิการสังคมในด้านอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการปอ้ งกันและแก้ไขปญั หาการตั้งครรภ์ ในวัยรุ่น สำหรับราชการส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 10 กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้วัยรุ่นในเขต ราชการสว่ นท้องถ่นิ ไดร้ ับสิทธติ ามมาตรา 5 นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และประกอบด้วยกรรมการ ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปลัดกระทรวง มหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และปลัด กรงุ เทพมหานคร และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน โดยประธานกรรมการเป็นผูแ้ ตง่ ตั้ง จากผู้มคี วามรู้ ความเชี่ยวชาญ มีผลงาน และมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ไม่น้อยกว่า 5 ปี ในด้านการสาธารณสุข ด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของวัยรุ่น ด้านการศึกษา ด้านจิตวิทยา และด้านการสังคม สงเคราะห์ โดยมีหน้าที่ในการเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์ เสนอแนวทางปรับปรุงกฎหมาย เสนอรายงานและกำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานของเอกชน เพื่อป้องกัน ช่วยเหลือ แก้ไข และเยียวยาปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อีกทั้งยังกำหนดสาระสำคัญ ในนโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไว้ในหมวดที่ 2 มาตรา 18 นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ได้ออกกฎกระทรวงและระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ตามลำดับ ได้แก่ กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานประกอบกิจการและการดำเนินการ ของสถานประกอบกิจการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ .ศ. 2561 กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2562 และ กฎกระทรวงการจัดสวัสดิการสังคม ทเี่ กี่ยวกบั การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหาการตั้งครรภใ์ นวยั ร่นุ พ.ศ. 2563

บทท่ี 3 ข้อเสนอเชงิ นโยบายเพื่อการจดั สวสั ดิการที่เหมาะสมสำหรับสตรตี ง้ั ครรภ์วัยรุน่ จากการวิเคราะห์และจัดลำดับความรุนแรงของสถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่ มจังหวัด ประจำปี 2564 พื้นที่ 7 จังหวัดภาคตะวันออก พบปัญหาของกลุ่มเด็กที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และไม่พร้อมในการเลี้ยงดูมากที่สุด จำนวน 6,081 คน คิดเป็นร้อยละ 0.54 ของประชากรเด็ก (เพศหญิง อายุ 12-17 ปี จำนวน 199,183) หากแยกรายจังหวัด พบว่า จังหวัดฉะเชิงเทรา มีจำนวน มากที่สุด 2,896 คน คิดเป็นร้อยละ 1.81 ของประชากรเด็ก 159,694 คน รองลงมาได้แก่ จังหวัด ชลบุรี จำนวน 1,738 คน คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของประชากรเด็ก 359,056 คน ตามด้วยจังหวัด จันทบุรี จำนวน 441 คน คิดเป็นร้อยละ 0.41 ของประชากรเด็ก 107,075 คน จังหวัดสระแก้ว จำนวน 524 คน คิดเป็นร้อยละ 0.41 ของประชากรเด็ก 125,175 คน จังหวัดตราด 133 คน คิดเป็น ร้อยละ 0.30 ของประชากรเด็กทั้งหมด 43,815 คน และจังหวัดระยอง จำนวน 74 คน คิดเป็น ร้อยละ 0.04 ของประชากรเด็กทั้งหมด 172,580 คน (สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2, รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจนี บุรี สระแกว้ ) ปี 2564 , 2564) (หน่วย : คน) จงั หวัด จำนวน เด็กที่ตั้งครรภ์กอ่ นวัยอันควร คดิ เป็นร้อยละ และไม่พรอ้ มในการเลย้ี งดู ชลบุรี 359,056 1,738 0.48 ระยอง 172,580 74 0.04 จันทบุรี 107,075 441 0.41 ตราด 43,815 133 0.30 ฉะเชิงเทรา 159,694 2,896 1.81 ปราจนี บรุ ี 101,869 275 0.26 สระแกว้ 1254,175 524 0.41 รวม 1,069,264 6,081 0.56 ทมี่ า : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ขอ้ มลู ณ วนั ที่ 30 มิถุนายน 2564

จากข้อมูลปัญหา กลุ่มเด็กที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและไม่พร้อมในการเลี้ยงดู ในพื้นที่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกข้างต้น นับเป็นปัญหาที่สำคัญ และเห็นควรมีมาตรการในการเฝ้าระวัง และติดตามเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะในกลุ่มครัวเรือนที่มีความเปราะบาง สร้างค่านิยม เรื่องเพศสัมพันธ์ที่มีสุขภาวะ และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม การสอดแทรกเรื่องทักษะชีวิต ในวัยรุน่ และการรักษาการอยูใ่ นระบบการศึกษาของวัยรุน่ จากแนวทางข้อเสนอข้างต้น สอดคล้องกับผลการสังเคราะห์งานวิจัย เรื่อง แนวทาง การจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมายตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ประจำปี 2564 ของสำนักงาน ส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญของปัญหา รูปแบบและความต้องการ สวสั ดิการท่มี ารดาวยั รุ่นตอ้ งการ โดยมีการสังเคราะหแ์ ต่ละประเดน็ ดงั นี้ 1. ทม่ี าและความสำคญั ของปัญหา สภาพปัญหาและความต้องการของครอบครัวลักษณะพิเศษมีความแตกต่างและมีความ เฉพาะเจาะจง ตามสภาพปัญหาที่ครอบครัวนั้นประสบ เช่น ครอบครัวพ่อแม่วัยรุ่นมีปัญหา ความเครยี ดเนื่องจากต้งั ครรภ์ไม่พร้อม ตอ้ งการคำปรกึ ษาและแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหา อย่างไรก็ตาม ครอบครวั ลกั ษณะพิเศษ ทกุ รูปแบบตอ้ งการการฟน้ื ฟูสภาพครอบครวั ให้สามารถทำบทบาทของตนอง ไดใ้ นอนาคต และต้องการสวัสดิการสำหรับครอบครัวดว้ ย ทง้ั นป้ี ญั หาการตง้ั ครรภ์ในวยั รุ่นเป็นปัญหา ที่มีความซับซ้อนและมีความรุนแรงมากขึ้น มีผลกระทบต่อตัววัยรุ่นเองและต่อทารก มา รดาวัยรุ่น มีความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะเยื่อบุภายในโพรงมคลูกอักเสบ และภาวะติดเชื้อหลังคลอด ได้มากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 20-24 ปี นอกจากนี้ทารกที่คลอดจากมารดาวัยรุ่นยังมีความเสี่ยง ต่อน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ การคลอดก่อนกำหนดและภาวะแทรกซ้อนในระยะแรกเกิด ที่รุนแรงมากกว่าทารกที่คลอดจากมารดาที่มีอายุมากกว่า (WHO, 2015) นอกจากนี้การตั้งครรภ์ ในวัยรุ่นยังส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ส่งผลให้ถูกตีตรา จากสังคม ถูกปฏิเสธหรือได้รับการกระทำความรุนแรงจากสามี วัยรุ่นหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนอายุ 18 ปี มีแนวโน้มที่จะถูกกระทำรุนแรงจากคู่สมรสมากกว่า (Raj & Boehmer, 2013) นอกจากน้ี การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นทำให้วัยรุ่นหญิงต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน และยากที่จะกลับไปเรียน ภายหลังคลอด ซึง่ ส่งผลกระทบตอ่ อนาคตการศกึ ษาและโอกาสในการทำงานของมารดาวยั รุน่ (WHO, 2015) ทั้งนี้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมาจากปัจจัยภายใน การที่สมาชิกครอบครัวใช้ชีวิตที่รีบเร่ง การปลอ่ ยให้วัยรุ่นอยู่กับส่ือออนไลน์ ขาดทักษะภูมิคุ้มกันในการเลือกสื่อที่เหมาะสม บริบทครอบครัวไทย ที่มองเรื่องการสอนเรื่องเพศศึกษาเป็นเรื่องที่ปกปิด ตลอดจนความรู้ความเข้าใจการเปลี่ยนแปลง ฮอร์โมนของวัยรุ่นของพ่อแม่ ปัจจัยภายนอก สภาพแวดล้อม ชุมชนที่มกี ารแพร่ระบาดของยาเสพตดิ และกลุ่มเพื่อนที่เป็นพ่อแม่วัยรุ่น และสื่อออนไลน์ เช่น ทีวีและอินเทอร์เน็ต ที่มีการเผยแพร่รูปภาพ ทไ่ี ม่เหมาะสม สื่อลามกต่าง ๆ

2. รปู แบบและความต้องการสวสั ดิการท่ีมารดาวัยรุ่นต้องการ แม่วัยรุ่นส่วนใหญ่มักปกปิดการตั้งครรภ์ เนื่องจากครอบครัวไม่ยอมรับการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่ยังมีสภาพเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือมีอาชีพที่ไม่มั่นคง และมีแนวโน้มที่ไม่สามารถเลี้ยงดู บุตรหลังคลอดได้ แม่วัยรุ่นบางรายมีภาวะทางจิตเวช หรือติดสารเสพติดร่วมด้วย ดังนั้น การจัด สวัสดิการที่เหมาะสมในรูปแบบตอบสนองความต้องการที่จำเป็น รูปแบบตอบสนองความต้องการ ทางด้านร่างกายและความต้องการที่สามารถนำไปเป็นการต่อยอดต้นทุนชีวิต จึงมีความจำเป็น ต่อกล่มุ เป้าหมายดงั กล่าว ซึ่งประกอบด้วย 1) กิจกรรมดูแลทางกาย เป็นกิจกรรมทีห่ น่วยงานให้ความช่วยเหลือแม่วัยรุ่น ดำเนินการ รว่ มกบั สถานพยาบาลเพ่ือให้การดูแลช่วยเหลือแมว่ ัยรุ่นด้านสุขภาพร่างกาย เน่ืองจากแมว่ ัยรุ่นหลายราย เมื่อเกิดเหตุการณ์ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลทางด้านร่างกาย หน่วยงานให้ ความช่วยเหลือจะดูแลสุขภาพของแม่และบตุ รให้เบ้ืองตน้ รวมถึงพาไปฝากครรภ์ พบแพทย์ และดูแล หลงั คลอดอยา่ งครบถว้ น 2) กิจกรรมต่อยอดต้นทุนชวี ติ เป็นกิจกรรมที่หน่วยงานใหค้ วามช่วยเหลือแม่วัยรุ่น จัดขึน้ เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านการเงินให้กับแม่วัยรุ่น ทำให้มีทุนในการต่อยอดและเริ่มต้นชีวิตใหม่ เมื่อผ่านกระบวนการให้ความช่วยเหลือแม่วัยรุ่นแล้ว เชน่ การฝกึ อาชีพ เงนิ อุดหนุน เพ่ิมค่าตอบแทน เปน็ รายเดือนโดยปฏิบัติตามเง่ือนไขทีก่ ำหนดไว้ นอกจากน้คี วรมีการสนับสนุนของใช้ท่ีจำเป็นสำหรับ แมว่ ัยรุ่นและบตุ รเพ่อื ใหแ้ มว่ ัยรนุ่ สามารถเลี้ยงดแู ลบุตรไดอ้ ย่างเหมาะสม 3) รูปแบบฟื้นฟูเยียวยาทางจิตใจ เป็นกิจกรรมดูแลสุขภาพจิตที่หน่วยงานให้ความ ช่วยเหลือแม่วัยรุ่นจัดขึ้นเพื่อฟื้นฟูเยียวยาจิตใจของแม่วัยรุ่นและครอบครัวของแม่วัย รุ่นให้มี สุขภาพจิตที่เข้มแข็ง ปรับทัศนคติ และยอมรับกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งสังเกตพฤติกรรม ของแม่วัยรุ่น เพื่อให้แม่วัยรุ่นเกิดความผ่อนคลายและให้กำลังใจในการเผชิญปัญหาเป็นการพูดคุย อย่างต่อเนื่อง เพราะแม่วัยรุ่นหลายรายรู้สึกผิดที่ทำให้ครอบครัวต้องอับอาย ทำให้เกิดปมภายในใจ ของแมว่ ยั รนุ่ 4) รูปแบบติดอาวุธทางปัญญา กิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ สร้างทักษะชีวิต และพัฒนา ศักยภาพตา่ ง ๆ แก่แม่วัยร่นุ ซึง่ แตล่ ะบุคคลจะได้รับการเสริมสร้างความรู้ทักษะชีวิต พัฒนาศักยภาพ ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ของแม่วัยรุ่นแต่ละราย เช่น (1) การเสริมสร้างความรู้ ได้แก่ สนับสนุนให้เข้ารับการศึกษาต่อ ทั้งในระบบและนอกระบบ (2) การเสริมสร้างทักษะ ได้แก่ ทักษะ การดูแลตนเอง ทักษะอนามัยเจริญพันธุ์ ทักษะชีวิต ทักษะการวางแผนครอบครัว (3) การวางแผน ครอบครัว เพ่อื วางแผนครอบครัวให้กับแมว่ ัยรุ่น ป้องกันการตงั้ ครรภ์ซ้ำในอนาคต สอนการคุมกำเนิด และให้รจู้ ักการยบั ยง้ั ชั่งใจ

5) รูปแบบคืนสู่ครอบครัว เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่แม่วัยรุ่นผ่านกระบวนการ ให้ความชว่ ยเหลอื แม่วัยรุ่นรปู แบบอ่นื ๆ มาแล้ว เป็นการดำเนนิ งานประเมนิ ความพร้อมของแม่วัยรุ่น และครอบครวั ในการเลยี้ งดูแลบุตร เพอ่ื วางแผนให้การสนับสนนุ ต่อไปเปน็ รายกรณีในการเลี้ยงดูบุตร อยา่ งเหมาะสม 6) กิจกรรมทางเลือกดูแลบุตร เป็นกิจกรรมที่เป็นทางเลือกให้กับแม่วัยรุ่นและตัดสินใจ ทางเลือก ได้แก่ การฝากเลี้ยงบุตร การสรรหาครอบครัวอุปถัมภ์ ซึ่งเป็นบริการสังคมที่หน่วยงาน ให้ความช่วยเหลือแม่วัยรุ่นได้ประเมินความพร้อมของตนเองในการเลี้ยง ดูบุตรและทำกิจกรรมอ่ืน ท่เี ปน็ ประโยชน์ตอ่ ตนเอง เช่น ไปเรยี นหนังสอื ไปทำงาน เป็นตน้ จากการศึกษา เรื่อง แนวทางการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมายตั้งครรภ์ ในวัยรุ่น และได้ทำการสังเคราะห์ข้อมูล มูลเหตุ กระบวนการ โดยผลที่เกิดขึ้นในระดับบุคคล และองค์กร สามารถอธบิ ายไดต้ ามแผนภาพ ดงั นี้ ภาพท่ี 2 รูปแบบและกลไกความช่วยเหลือแม่วัยรนุ่

อ้างอิงจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 จึงได้ จัด การประชุมเพื่อประเมินเชิงวิพากษ์ร่างข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพื้นที่ ประจำปี 2565 ประเด็น การจัดสวัสดิการทีเ่ หมาะสมสำหรับสตรีตัง้ ครรภ์วัยรุ่นข้ึน ผ่านระบบออนไลน์ Google Meet เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 จำนวน 2 คร้ัง ครั้งที่ 1 วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2565 และครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 โดยเชิญหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการแก่สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก 7 จังหวัด (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และสระแก้ว) ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด บ้านพักเด็กและครอบครัว สำนักงานศึ กษาธิการจังหวัด และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ร่วมแลกเปลี่ยน ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อเติมเต็มการจัดทำ ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพื้นที่ ประจำปี 2565 ผ่านการบูรณาการความร่วมมือที่ดีย่ิง ส่งผลให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพื้นที่ ประเด็น การจัดสวัสดกิ ารทีเ่ หมาะสมสำหรับ สตรตี ั้งครรภ์วัยรนุ่ โดยสามารถสรปุ เปน็ แผนภาพได้ดงั นี้ แผนภาพท่ี 1 การจัดสวัสดกิ ารดา้ นสขุ ภาพ

แผนภาพท่ี 2 การจัดสวัสดิการดา้ นการศึกษา แผนภาพที่ 3 การจัดสวสั ดกิ ารด้านครอบครวั

แผนภาพท่ี 4 การจัดสวัสดิการด้านเศรษฐกิจ แผนภาพท่ี 5 การจดั สวัสดิการด้านสทิ ธิ และสวสั ดิการตา่ ง ๆ

แผนภาพที่ 6 การจัดสวัสดิการดา้ นสทิ ธิ และสวัสดิการตา่ ง ๆ (ต่อ) แผนภาพที่ 7 การจัดสวัสดกิ ารดา้ นการประชาสมั พนั ธ์

รูปแบบข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพื้นที่ ประเด็น การจัดสวัสดิการที่เหมาะสม สำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุน่ พบว่า มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกบั ยุทธศาสตร์การป้องกนั และแก้ไข ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560-2569 ทั้ง 5 ข้อ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตที่มีคุณภาพ และมีระบบ การดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสม ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมบทบาทครอบครัว ชุมชน และสถาน ประกอบการในการเลี้ยงดู สร้างสัมพันธภาพ และการสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพ และเป็นมิตร ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ การคุ้มครองสิทธิอนามัยการเจริญพันธ์ และการจัด สวัสดิการสังคมในกลุ่มวัยรุ่น และยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการบูรณาการการจัดการฐานข้อมูล งานวิจัย และการจดั การความรู้ ในขณะเดียวกัน พบวา่ มีความสอดคล้องกบั การท่ีกระทรวงการพฒั นาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ได้บูรณาการความรว่ มมือกับภาครัฐและเอกชนที่เก่ียวข้อง ดำเนินการตาม พ.ร.บ. คุม้ ครองเด็ก พ.ศ. 2546 โดยเมื่อปี พ.ศ. 2553 ได้จัดทำ “ยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน ตั้งครรภ์ไม่พร้อม” เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานร่วมกันของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ ย่อย 6 ด้าน คือ (1) ด้านการป้องกัน (2) การช่วยเหลือและบำบัดฟื้นฟู (3) การเสริมสร้างบทบาท และองค์ความรู้แก่ผู้นำทางความคิดของเด็กและเยาวชน (4) การขจัดสิ่งยั่วยุและการป้องกันอิทธิพล จากสื่อ (5) การผลักดันนโยบาย และ (6) การสำรวจข้อมูลการพัฒนาระบบงานและการติดตามผล โดยมีกลไกขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นี้ คือ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธาน ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดการประชุมช้ีแจงให้คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดได้รับทราบ ยทุ ธศาสตร์ และสนับสนนุ ให้ทุกจงั หวัดจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับยุทธศาสตรน์ ี้

บทที่ 4 บทสรุป การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมในระดับพื้นที่ ประจำปี 2565 ประเด็น การจัด สวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น เป็นการศึกษาและค้นหาแนวทางการจัดสวัสดิการ สำหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นผ่านมุมมองของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีประสบการณ์ทั้งด้านปฏิบัติงาน และด้านการบริหารเก่ียวกับการจดั สวสั ดิการสำหรบั สตรีต้งั ครรภ์วัยรุ่น เพ่อื ให้ได้แนวทางเก่ียวกับการ จัดสวัสดิการที่เหมาะสมที่มาจากผู้มีประสบการณ์ และมีฐานคิดในเชิงวิชาการ เพื่อกำหนดเป็น ข้อเสนอเชงิ นโยบายด้านสงั คมระดับพน้ื ทต่ี ่อไป จากรายงานสถานการณ์ทางสังคมระดับกลุ่มจังหวัด ประจำปี 2564 พื้นที่ 7 จังหวัดภาค ตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว) มีการจัดลำดับความรุนแรง ของปัญหาในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็ก พบปัญหาของกลุ่มเด็กที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และไม่พร้อมในการเลี้ยงดูมากที่สุด จำนวน 6,081 คน คิดเป็นร้อยละ 0.54 ของประชากรเด็ก (เพศหญิง อายุ 12-17 ปี จำนวน 199,183) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้อง ร่วมกันป้องกัน แก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการร่วมกันจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสะท้อนถึงความ ต้องการที่ต้องรีบดำเนินงานเรื่องการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับสตรตี ัง้ ครรภ์วัยรุ่น โดยมีการนำ ผลการสังเคราะห์งานวิจัย แนวทางการจัดสวัสดิการสำหรับกลุ่มเป้าหมายตั้งครรภ์วัยรุ่น ประจำปี 2564 ของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 มาต่อยอดเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็น รูปธรรม โดยการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในครั้งนี้เห็นว่า ควรมีการขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการ ท่เี หมาะสมสำหรับสตรตี ง้ั ครรภว์ ยั ร่นุ ไปส่กู ารปฏิบตั ิ สรุปเปน็ 5 ด้านดังนี้ 1. ด้านสุขภาพ (สุขภาพกายและสุขภาพจิต) หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ สถานพยาบาล นักจติ วิทยา/ผ้เู ชย่ี วชาญ โดยการจดั สวสั ดกิ ารด้านสุขภาพมีความสอดคล้องกบั ยุทธศาสตร์การป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 25560-2569 ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบ บรกิ ารสขุ ภาพทางเพศ และอนามัยเจรญิ พนั ธท์ุ ่มี ีคณุ ภาพและเปน็ มติ ร โดยมขี ้อเสนอ ดังน้ี 1) การฝึกทักษะการเป็นมารดา บิดา โดยการเปลี่ยนบทบาทจากเดิมไปเป็นมารดา บิดา และการดูแลทารกแรกเกดิ 2) การวางแผนครอบครัว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับสถานที่ ฝากครรภ์ สถานที่ทำคลอด และการดูแลหลังคลอด รวมถงึ การคมุ กำเนดิ

3) การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีวิธีการโน้มน้าวให้มีการคุมกำเนิด (แบบชั่วคราว) หลังการคลอดครั้งแรก ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการคุมกำเนิดชั่วคราว เพอื่ ปรับทัศนคติเชงิ ลบของสตรีตงั้ ครรภว์ ยั รุน่ ที่มตี ่อการคุมกำเนิด 4) การฟื้นฟูจิตใจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีบริการให้คำปรึกษาและการผ่อนคลาย ความเครียด การให้การดูแลและให้บริการเฉพาะกลุ่ม มีความเป็นส่วนตัว พร้อมสร้างเจ้าหน้าที่ที่มี จิตบริการ ใหบ้ รกิ ารอย่างเปน็ มิตรและเขา้ ใจ ไมต่ ีตราหรอื ซ้ำเติมสตรตี ้ังครรภ์วยั ร่นุ 2. ด้านการศึกษา หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ สถาบันการศึกษา หน่วยงานสาธารณสุข โดยการจัดสวัสดิการด้านการศึกษามีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภใ์ นวัยรุน่ ระดบั ชาติ พ.ศ. 25560-2569 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบการศึกษาที่ส่งเสริม การเรียนรู้ด้านเพศวิถศี ึกษา และทักษะชีวิตที่มีคุณภาพ และมีระบบดูแลชว่ ยเหลือที่เหมาะสม โดยมี ขอ้ เสนอดังน้ี 1) การให้คำปรึกษาแนะนำโดยครูหรือบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีทางเลือก ในการจัดการที่เหมาะสม ปลอดภยั ตรงต่อความต้องการของสตรีต้ังครรภ์วัยรนุ่ 2) การพัฒนาศักยภาพครูหรือบุคลากรทางการศึกษาด้านจิตวิทยา เพื่อให้คำปรึกษา แก่เดก็ ตง้ั ครรภ์ในสถานศึกษา และป้องกันการถกู ตีตราจากครู บุคลากรทางการศกึ ษา และเพอื่ น 3) การพัฒนาหลักสูตรการเรียนที่ทันสมัย เท่าทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน การสอน ด้านเพศศึกษา การคุมกำเนิด การป้องกัน เมื่อมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร โดยควรเริ่มจัดให้มี การเรยี นการสอนต้ังแต่ระดบั ประถมศกึ ษา 4) จดั สวสั ดิการทางการศึกษาใหแ้ ก่สตรีต้ังครรภว์ ัยรนุ่ ในช่วงของการตั้งครรภ์ สร้างความ ยดื หยนุ่ ในระเบยี บของสถานศึกษา เช่น เครื่องแต่งกาย ฯลฯ 5) ให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือในการศึกษาทั้งในและนอกระบบ เช่น การเปลี่ยน แผนการศึกษา การยา้ ยรอบเรียน การหยดุ เรยี นช่วั คราวและกลับเข้ามาศึกษาใหมห่ ลงั คลอด 6) ส่งเสริมด้านการศึกษาต่อ โดยจัดสรรทุนการศึกษา การจัดหน่วยงานให้คำปรึกษา และแนะแนวการศึกษาต่อ หรอื การศึกษาทางเลอื ก กรณีที่ไม่สามารถกลบั ไปเรียนไดเ้ ตม็ เวลา 7) จัดตั้งสภานักเรียน/แกนนำเด็กและเยาวชนในโรงเรียน/กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อเป็น เครอื ขา่ ยเฝา้ ระวงั ป้องกนั ปญั หาการตัง้ ครรภ์ไมพ่ ร้อมและท้องในวยั เรียน 3. ด้านครอบครวั (การเสริมสร้างสขุ ภาวะครอบครัวสตรีตง้ั ครรภ์วัยรนุ่ : ครอบครัวเข้มแข็ง) หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงการพัฒนาสงั คมและความมั่นคง ของมนุษย์ สถานพยาบาล นักจิตวิทยา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการจัดสวัสดิการด้านครอบครัว มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ

พ.ศ. 25560-2569 ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมบทบาทครอบครัว ชุมชน และสถานประกอบกิจการ ในการเลี้ยงดู สร้างสัมพันธภาพ และการสื่อสารดา้ นสุขภาวะทางเพศของวยั รุ่น โดยมีข้อเสนอดงั น้ี 1) การสร้างความเข้าใจในระดับครอบครัว โดย (1) การให้ครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องเพศและวัยของบุตร (2) มีการสื่อสารเรื่องเพศอย่างสร้างสรรค์ (3) ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การป้องกันการตั้งครรภ์ (4) ส่งเสริมให้ท้องถิ่น โดยศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) เป็นกลไก ขับเคลื่อนเรื่องครอบครัว จัดอบรมการสื่อสารเรื่องเพศให้แก่ครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง (5) จัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เสริมทักษะการเลี้ยงดูบุตร และปลกู ฝังคา่ นิยมอันดงี าม (การรู้จกั ยับยง้ั ชัง่ ใจ) 2) การประเมินความพร้อมของครอบครัว โดยการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินสถานการณ์ ภายในครอบครัว (ความพร้อม การยอมรับ ช่วยเหลือ ดูแล) และมีการติดตามประเมินผล อยา่ งตอ่ เนื่อง 3) ประเมนิ ความพร้อมของสตรตี ั้งครรภว์ ัยรุ่น โดยการเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามภาวะสุขภาพ มรี ะบบตดิ ตามการมาตรวจสุขภาพครรภต์ ามนดั การใหค้ ำแนะนำ คำปรกึ ษาตา่ ง ๆ 4. ด้านเศรษฐกิจ (การต่อยอดทุนชีวิต) หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวง พาณิชน์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องโดยการจัดสวัสดิการด้านเศรษฐกิจมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไข ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 25560-2569 ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบการดูแล ชว่ ยเหลือ การคุม้ ครองสิทธิอนามยั เจริญพนั ธุ์ และการจัดสวสั ดิการสงั คมในกลุ่มวยั รุ่น โดยมีข้อเสนอ ดงั น้ี 1) การจดั หนว่ ยงานเพือ่ ฝกึ อาชพี ให้แก่สตรตี ัง้ ครรภ์วัยรุ่น (ตามความสนใจและความถนดั ) 2) การประสานงานเพ่ือจัดหางานให้สตรีต้ังครรภ์วัยรนุ่ ได้ประกอบอาชพี ตามท่ีได้ฝึกอบรมมา 3) การสนบั สนุนสตรีต้งั ครรภว์ ยั รุ่นให้สามารถเข้าถึงสิทธดิ ้านทุนประกอบอาชีพ (แหล่งทนุ ) 4) จดั บริการจัดหางานโดยเฉพาะแกส่ ตรตี ้งั ครรภ์วยั รุน่ ทผ่ี ่านการฝกึ อบรม 5) จดั หาตลาด และช่องทางการจำหน่ายสนิ คา้ และผลิตภณั ฑ์ 6) จัดบริการใหค้ ำปรกึ ษาแนะแนวการประกอบอาชีพก่อนเขา้ สู่ตลาดแรงงาน 7) พัฒนาฝีมือแรงงานสตรตี ง้ั ครรภ์วัยร่นุ ใหเ้ ปน็ แรงงานที่มีคุณภาพในอนาคต 5. ด้านสิทธิ และสวัสดิการต่าง ๆ หน่วยงานทีร่ ับผิดชอบ ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการจัดสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 25560-2569 ยุทธศาสตร์ที่ 4

พฒั นาระบบการดแู ลช่วยเหลอื การคุม้ ครองสิทธอิ นามัยเจรญิ พนั ธุ์ และการจดั สวัสดกิ ารสงั คมในกลุ่ม วัยรนุ่ โดยมขี ้อเสนอดังน้ี 1) การให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ได้แก่ สิทธิในการเลี้ยงดูบุตร การแจ้งชื่อของสามี การรับรองบุตร การแจ้งเกดิ สิทธิประโยชนท์ ค่ี วรได้รบั 2) มีช่องทางในการให้คำปรึกษาแก่สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่นและครอบครัว ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย รวดเร็ว และมีความเป็นส่วนตัว เช่น การขอคำปรึกษาผ่านทางโทรศัพท์ หรอื แอพพลิเคช่ันอน่ื ๆ และมีการบรกิ ารให้คำปรกึ ษาในรปู แบบต่าง ๆ ทั้งในและนอกเวลาราชการ 3) มีระบบการส่งต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ให้การดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น หรือมารดาวัยรุ่นเพื่อให้การดูแลและจัดบริการแบบเป็นองค์รวมอย่างครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย และจติ ใจ 4) การจัดสวัสดิการเกี่ยวกับการจัดหางานและการจ้างงานที่มีความเหมาะสมกับบริบท ความเป็นอย่ขู องสตรีต้งั ครรภ์วัยรุ่น หรือมารดาวัยรนุ่ 5) จดั ใหม้ หี นว่ ยบรกิ ารเคลอ่ื นท่ีเข้าไปใหค้ ำปรึกษาแก่สตรีตั้งครรภ์วยั รุ่น 6) การให้คำแนะนำ และให้ความช่วยเหลือในขณะที่สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นหรือมารดาวัยรุ่น พักอาศัยอยู่ที่บ้าน หรือในสถานทีท่ ีต่ อ้ งการความช่วยเหลือแบบเร่งด่วน เช่น ในกรณีเจ็บครรภ์คลอด หรอื ได้รบั อบุ ัตเิ หตฉุ ุกเฉิน 7) จัดให้มีการบริการเชิงรุกเกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่มช่วยเหลือ (Group Support) เพื่อให้ สตรีต้ังครรภว์ ัยรนุ่ มีโอกาสแลกเปลยี่ นประสบการณ์และดแู ลซง่ึ กันและกัน 8) จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) และการจัดหน่วยงานสำหรบั การรบั ฝากและดแู ลบุตรแบบระยะสนั้ (เช้าไป-เย็นกลบั ) 9) มหี นว่ ยงานสำหรับการฝากเล้ยี งดบู ตุ รแบบระยะยาว หรือการจดั หาผู้อุปการะบุตรหรือ ครอบครวั อุปถมั ภ์ 7. ด้านการประชาสัมพันธ์ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการคุ้มครองเด็กระดับจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการจัดสวัสดิการ ด้านการประชาสัมพันธ์มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 25560-2569 ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมบทบาทครอบครัว ชุมชน และสถาน ประกอบกิจการในการเลี้ยงดู สร้างสัมพันธภาพ และการสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น โดยมีข้อเสนอดงั นี้

1) ประชาสัมพันธ์ช่องทางการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการจากภาครัฐ เช่น สายด่วน 1300 ศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบล 1663 ท้องไม่พร้อมและเอดส์ 1330 สปสช. 1323 กรมสุขภาพจิต 1669 สถาบนั การแพทยฉ์ ุกเฉนิ 2) วางมาตรการในการควบคุมสื่อที่ไม่เหมาะสม เพื่อขจัดสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นเร้า ให้เด็กและเยาวชนเขา้ สกู่ ารมเี พศสัมพันธ์กอ่ นวยั อนั ควร 3) การประชาสัมพันธ์การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสวัสดิการแก่สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น อย่างครอบคลมุ และต่อเนื่อง ผ่านกลไกต่าง ๆ เช่น - เวทีการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด เพื่อเป็นการสื่อสารผ่านผู้แทน หนว่ ยงานท่ีให้การดแู ลเดก็ ที่อยใู่ นระบบการศึกษา - เวทีการประชุมท้องถิ่น ท้องที่ เพื่อเป็นตัวแทนในการประชาสัมพันธ์ให้แก่เด็ก ทอี่ ยนู่ อกระบบการศกึ ษาที่อาศยั อยู่ในพ้ืนทรี่ บั ผิดชอบ - สถาบันการศกึ ษา เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลเด็กนักเรียนในทุกระดบั และง่าย ต่อการเข้าถึง 4) การสร้าง Young Ambassador/Influencer เพื่อเป็นต้นแบบ (Idol) ของเด็ก และเป็นสอื่ กลางในการประชาสมั พนั ธ์ รวมถึงสรา้ งความเชือ่ ม่ันใหแ้ กเ่ ด็ก 5) การใช้สื่อออนไลน์ (Online) หรือสื่อดิจิทัล (Digital) มาปรับใช้เป็นช่องทางในการ ส่ือสารที่เหมาะสมและสร้างสรรคเ์ หมาะกับช่วงวัยของเด็ก 6) เสริมศักยภาพและสมรรถนะของผู้นำชุมชน และอาสาสมัครเพื่อให้ความรู้และร่วม ดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุน่ และครอบครัวในพนื้ ทอ่ี ยา่ งใกล้ชิด

บรรณานกุ รม

บรรณานกุ รม TNN Online : เปดิ สถิติคุณแมว่ ัยใส พบสว่ นมากมกี ารศึกษาน้อย, 22 พฤศจกิ ายน 2563, https://www.tnnthailand.com/news/social/62961/ แมว่ ัยรุ่น : ประสบการณ์ชวี ิต เพศภาวะ และเพศวิถี, วาทนิ ีย์ วิชัยยา, 2555 ; บคุ กร กาศมณี, 2548 และ Gisela Meier, 1993. ยุทธสาสตร์การปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หาการตงั้ ครรภใ์ นวัยรนุ่ ระดับชาติ พ.ศ. 2560-2569 สำนกั งานส่งเสรมิ และสนบั สนนุ วชิ าการ 2, โครงการวจิ ัยแนวทางการจดั สวสั ดกิ ารท่ีเหมาะสมสำหรับ กลมุ่ เป้าหมายตง้ั ครรภใ์ นวัยรุ่น, 2564. สำนักงานส่งเสริมและสนับสนนุ วชิ าการ 2, รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลมุ่ จังหวดั ภาคตะวันออก (ชลบรุ ี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชงิ เทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว) ปี 2564, 2564.

ที่ปรกึ ษาและคณะผู้จดั ทำ การจดั ทำขอ้ เสนอเชงิ นโยบายดา้ นสังคมในระดบั พนื้ ที่ ประจำปี 2565 ประเดน็ การจดั สวสั ดกิ ารทเ่ี หมาะสมสำหรบั สตรตี งั้ ครรภ์วัยรุน่ ทีป่ รกึ ษา ภาศรีสมบัติ ผอู้ ำนวยการสำนักงานส่งเสรมิ และสนับสนนุ วชิ าการ 2 นางศิรทพิ ย์ คณะผ้จู ดั ทำ สินธาราศริ กิ ลุ ชยั หัวหน้ากลมุ่ การวจิ ัยและการพฒั นาระบบเครือข่าย 1. นายณัฐวฒุ ิ ฆวีวงศ์ นกั พฒั นาสังคมปฏบิ ัตกิ าร 2. นางสาวแคทรยิ า 3. นางสาวพนิดา แน่นอดุ ร นักพัฒนาสงั คม 4. นายสรุ พงษ์ ตนุ แสน นักพัฒนาสงั คม


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook