ละครไทยในสมัยต่าง ๆ
ส มั ย ก่ อ น สุ โ ข ทั ย แ ล ะ ส มั ย สุ โ ข ทั ย ในสมัยก่อนสุโขทัย ได้มีการแสดงในรูปแบบของละครเกิดขึ้น แล้ว โดยมีข้อสันนิษฐานว่า “มโนราห์” น่าจะเป็นละครเรื่องแรก ที่มีการนำมาแสดง เมื่อมีการสร้างอาณาจักรสุโขทัยขึ้น ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามี การแสดงนาฏศิลป์เป็นเรื่องราวแบบละคร มีเพียงหลักฐาน เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านทั่ว ๆ ไปในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของ พ่อขุนรามคำแหง ที่ได้กล่าวถึงการละเล่นในเทศกาลกฐินว่า “ดงบงคมกลองด้วยเสียงพาด เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน” และในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย มีข้อความปรากฏในศิลา จารึกหลักที่ ๘ ว่า \"ระบำ รำ เต้น เหล้นทุกฉัน\"
ส มั ย อ ยุ ธ ย า มีการตั้งชื่อการแสดงละครในสมัยนั้น ๆ ดังนี้ ละครชาตรี ถือกำเนิดมาจากละครพื้นบ้านที่เป็นมหรสพประจำท้องถิ่น มีลักษณะเป็นละครเร่ มีตัวละครหลักเพียง 3 ตัว คือ ตัวพระ (ตัวนายโรง) ตัวนาง และตัวตลก เนื้อเรื่อง ที่แสดงเป็นเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ ซึ่งนำมาจากนิทานชาดก หรือเป็นเรื่องที่ชาวบ้าน แต่งขึ้นเอง ละครนอก ถือกำเนิดมาจากการละเล่นพื้นเมืองที่มีผู้ชายและผู้หญิงเล่นเพลงพื้นเมือง โต้ตอบกัน ต่อมาปรับปรุงให้การเล่นเพลงจัดเป็นเรื่องราวขึ้นเรื่องที่แสดงเป็น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตภายในครอบครัว โดยนำเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมือง และปัญญาสชาดกมาแต่งเป็นบทละคร มีจุดมุ่งหมายในการแสดงเรื่องราวมากกว่าการแสดงความประณีต งดงาม หรือ แสดงท่ารำของตัวละคร ดำเนินเรื่องให้รวดเร็วโลดโผน ตลกขบขัน ไม่เคร่งครัด ต่อระเบียบแบบแผน โดยขนบนิยมในการดำเนินเรื่องผู้แสดงละครนอกจะเป็น ชายล้วน เป็นละครที่คนธรรมดาสามัญเล่นกันตามบ้าน หรือตามวัด อิริยาบถ ของตัวละครและภาษาที่ใช้จะเป็นแบบคนธรรมดาสามัญ
ละครชาตรี ละครนอก
ส มั ย อ ยุ ธ ย า ละครใน มุ่งเน้นศิลปะการร่ายรำเป็นสำคัญ แสดงเฉพาะภายในเขตราชฐาน ลักษณะการ แสดงมีขนบนิยมเคร่งครัด คือ ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน เรื่องที่นิยมนำมาแสดงมี เพียง ๓ เรื่องเท่านั้น ได้แก่ รามเกียรติ์ อิเหนา และอุณรุท มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงศิลปะชั้นสูงของนาฏศิลป์ ผู้ประพันธ์บทละครในต้อง พิถีพิถันในการเลือกใช้ถ้อยคำที่สละสลวย เพลงร้องและดนตรีปี่ พาทย์ประกอบ การแสดงต้องมีจังหวะนุ่มนวล สละสลวย ทั้งนี้ เพื่อให้ตัวละครได้อวดฝีมือในการ ร่ายรำ ผู้แสดงละครในจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ
ส มั ย รั ต น โ ก สิ น ท ร์ รัชกาลที่ 1 มีการรวบรวมตำราฟ้อนรำและมีการฝึกหัดโขนทั้งวังหน้าและ วังหลวง ทรงได้พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เรื่องอุณรุท และ เรื่องดาหลัง ละครผู้หญิงถือเป็นเครื่องราชูปโภคสำหรับพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 2 เป็นยุคทองของนาฏศิลป์และการละคร พระราชนิพนธ์บทละครรำเรื่องอิเหนา และบทเสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน ๔ ตอน ทั้งยังทรงริเริ่มการขับเสภาประกอบปี่ พาทย์ มีการรับอิทธิพลจากนาฏศิลป์ในเอเชียมาประดิษฐ์ท่ารำและเริ่มใช้ผู้หญิง แสดงละครนอก โดยแต่งกายแบบโขน
ส มั ย รั ต น โ ก สิ น ท ร์ รัชกาลที่ 3 มีการยกเลิกละครหลวง เกิดการตั้งคณะละครของเจ้านายและเอกชนขึ้นหลายคณะ เช่น ละครเจ้ากรับ แสดงละครนอก โดยตัวละครจะเป็นชายล้วน เป็นต้น รัชกาลที่ 4 ละครหลวงได้รับการฟื้ นฟูขึ้นใหม่ เอกชนฝึกหัดละครผู้หญิงได้ ชาย - หญิงจึงเล่นละครผสมโรงกันได้ และมี การบัญญัติข้อห้ามการจัดการแสดงของเอกชนขึ้นรวมทั้งได้ประกาศ กฎหมายภาษีมหรสพขึ้นเป็นครั้งแรก รวบรวมชำระพิธีไหว้ครูและได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ตราขึ้นเป็นฉบับหลวง
ส มั ย รั ต น โ ก สิ น ท ร์ รัชกาลที่ 5 ยกเลิกกฎหมายภาษีมหรสพ การละครไทยได้รับอิทธิพลจากตะวันตกและมีละครเกิดใหม่หลายประเภท ดังนี้ 1. ละครพันทาง ปรับปรุงมาจากละครนอก โดยให้แต่งกายตามเชื้อชาติของละครที่ เล่น 2. ละครดึกดำบรรพ์ เป็นละครที่ปรับปรุงให้คล้ายละครโอเปรา (Opera) ของตะวัน ตก 3. ละครเสภา เป็นละครที่มีคนขับเสภาและเครื่องปี่ พาทย์ ตัวละครรำตามคำขับ เสภา เจรจาตามเนื้อเรื่อง แต่งกายแบบละครพันทาง นิยมแสดงเรื่องขุนช้าง ขุนแผน 4. ละครร้อง ดัดแปลงมาจากละครตะวันตก ผู้แสดงเป็นหญิงล้วนมีเพียงตัวตลก เท่านั้นที่ใช้ผู้ชายแสดง 5. ละครพูด จะดำเนินเรื่องด้วยการพูดและแสดงท่าทางประกอบ มีการเปลี่ยนฉาก ตามท้องเรื่อง ตัวละครแต่งกายแบบคนธรรมดา
ส มั ย รั ต น โ ก สิ น ท ร์ รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งกรมมหรสพและโรงเรียนฝึกหัดนาฏศิลป์ ดัดแปลงการแสดงละคร จนเกิดการแสดงรูปแบบใหม่ๆ ดังนี้ 1. โขนบรรดาศักดิ์และโขนเชลยศักดิ์ คือ โขนที่ฝึกหัดให้มหาดเล็กแสดงและโขน สำหรับประชาชนทั่วไปแสดง 2. ละครดึกดำบรรพ์เรื่องรามเกียรติ์ คือ การนำโขนไปแสดงบนเวที รัชกาลที่ 7 มีการยกเลิกกรมมหรสพ โอนกรมปี่ พาทย์และโขนหลวงไปอยู่ในกระทรวงวัง เกิดการตั้งกรมศิลปากร เพื่อดูแลศิลปะการแสดงนาฏศิลป์
ส มั ย รั ต น โ ก สิ น ท ร์ รัชกาลที่ 8 กำเนิดละครหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งเป็นละครปลุกใจที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนี้ 1. ดนตรีประกอบใช้ทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล 2. มีการแสดงระบำสลับฉาก 3. ฉากสุดท้ายตัวละครทุกตัวต้องออกแสดงหมด กรมศิลปากรปรับปรุงการรำโทนให้เป็นรำวงมาตรฐาน รัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้มีการบันทึกภาพยนตร์ส่วนพระองค์เกี่ยวกับท่ารำเพลงหน้าพาทย์ ต่างๆ จนถึงเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง คือ ท่ารำ เพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ รูปแบบละครแพร่หลายจนเป็นละครโทรทัศน์ ละครวิทยุ ละครเวที มีละครตาม แนวของชาติอื่นๆ เข้ามาเผยแพร่ เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทยในทุกระดับชั้น เชิดชูเกียรติบุคคลในวงการศิลปะการแสดง โดยกำหนดให้วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันศิลปินแห่งชาติ
Search
Read the Text Version
- 1 - 10
Pages: