Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือล่าสุดดด.1

คู่มือล่าสุดดด.1

Published by สุวรรณา หมิ่นเส็น, 2022-10-12 15:52:45

Description: คู่มือล่าสุดดด.1

Search

Read the Text Version

ค่มู อื การสัมมนาบทความวิจัยทางการพัฒนาสังคม นางสาวอารียา จัดทำโดย 6120210511 นางสาวนารซี า 6220210024 นางสาวพิลาสลกั ษณ์ เจะหนิ 6220210027 นายมาหาหมัดซัมซู เซเมาะ 6220210171 นางสาวนซั รนิ พรหมทอง 6220210171 นางสาวนาซีเราะห์ ฮะซา 6220210172 นางสาวรกั ชนก เจะยะปาร์ 6220210174 นางสาวอสั รียา เเวดาโอะ 6220210175 นางสาวนรู มี รัตนะ 6220210280 นางสาวมุรญาณี ตะวัน 6220210313 นางสาวอามีเนาะห์ บาโด 6220210363 นางสาวสวุ รรณา เจะ๊ มะ 6220210404 นางสาวอารยี า สนิเลาะ 6220210405 นางสาวรุสณา หมิ่นเสน็ 6220210492 ปะดอ ยโู ซะ คู่มอื การจดั สัมมนาบทความวิจัยฉบบั นีเ้ ปน็ สว่ นหนง่ึ ของรายวชิ า 428-481 การสมั มนาในการพฒั นาสงั คม (Seminar In Social Development) คณะมนุษยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลยั สงขลานครนิ ทร์ วิทยาเขตปตั ตานี ภาคเรยี นที่ 1 ปกี ารศกึ ษา 2565



ก คำนำ คู่มือฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 428-481 การสัมมนาในการพัฒนาสังคม (Seminar in Social Development) จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาเรื่องการจัดสัมมนาวิชาการของสาขาวิชาพัฒนา สังคมในคู่มือฉบับนี้จะประกอบไปด้วยหัวข้อ ดังนี้ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการจัดสัมมนา โครงสร้างและ บทบาทหน้าทก่ี ารประเมินการจัดสัมมนาเชงิ วิชาการในงานพฒั นาสังคม ขอขอบคณุ ท่านคณาจารย์ในสาขาวิชาพัฒนาสังคมเสนอ ผ้ชู ่วยศาสตราจารย์ ดร.อลิสา หะสาเมาะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรัชยา เจียวก๊ก ดร.ธันยากร ตุดเกื้อ ดร.สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์ และ อาจารย์อับดุลคอลิก อัรรอฮีมีย์ ที่ได้ให้คำปรึกษาและคำแนะนำในเรื่องการจัดทำรายงาน และ ขอขอบคุณสมาชิกทุกคนท่ีให้ความรว่ มมือในการจดั ทำรายฉบับน้ีจนสำเรจ็ ลลุ ว่ งด้วยดี หากมขี ้อผิดพลาด ประการใดก็ขออภยั ไว้ ณ ท่นี ้ีด้วย คณะผูจ้ ัดทำ

ข สารบัญ หน้า ก คำนำ ข สารบัญ จ สารบญั ตาราง 1 บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกบั การจัดสัมมนา 1 1 ความรู้ทัว่ ไปเกี่ยวกบั การสัมมนา 2 ความหมายของการสมั มนา 3 ความสำคญั ของการสมั มนา 5 วตั ถปุ ระสงค์ของการสมั มนา 7 องค์ประกอบของการสัมมนา 9 องคป์ ระกอบด้านงบประมาณ 10 รปู แบบของสัมมนาจดั สัมมนา 14 ลักษณะของการจัดสัมมนาที่ดี 16 บทที่ 2 โครงสรา้ งและบทบาทหน้าท่ี 17 โครงสรา้ งหนา้ ท่ี 18 บทบาทหน้าท่ี 24 บทบาทหนา้ ท่ีและการปฏิบตั ิงานของประธาน 30 บทบาทหนา้ ที่และการปฏบิ ัติงานของเลขานกุ าร 34 บทบาทหน้าท่ีและการปฏิบตั ิงานของเหรญั ญิก 36 บทบาทหน้าที่และการปฏิบัติงานของฝ่ายพิธกี ร 39 บทบาทหน้าท่ีและการปฏบิ ตั ิงานของฝา่ ยทะเบยี นและฝา่ ยวิชาการ 41 บทบาทหนา้ ที่และการปฏิบตั ิงานของฝ่ายโสตนปู กรณแ์ ละประชาสมั พนั ธ์ 44 บทบาทหนา้ ท่ีและการปฏิบัติงานของฝ่ายประสานงานและฝ่ายอาคารสถานที่ 47 บทบาทหน้าที่และการปฏิบัติงานของสวสั ดิการ บทบาทหนา้ ท่ีและการปฏบิ ตั ิงานของฝา่ ยประเมินผล

ค สารบญั (ต่อ) หน้า 49 บทที่ 3 การประเมนิ โครงการ 50 ความหมายของการประเมินโครงการ 51 วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ 54 ข้นั ตอนของการประเมินโครงการ 56 ประเภทของการประเมนิ โครงการ 58 วธิ กี ารประเมนิ โครงการ 59 รปู แบบการประเมินโครงการ 61 ความสำคัญและประโยชน์ของการประเมนิ โครงการ 63 การทบทวนหลังปฏิบตั งิ าน (After Action Review : AAR) 65 66 บทที่ 4 ใบโครงการสัมมนาโครงรา่ งการศกึ ษาอิสระ โครงการสัมมนาบทความวจิ ัย ภายใตห้ ัวข้อ “แนวทางการรับมอื ต่อพฤติกรรม 74 ความรนุ แรง และการพัฒนาสอื่ สงั คมออนไลนเ์ พือ่ สร้างเสริมสขุ ภาวะของคน 96 ทุกชว่ งวัย” 106 109 บทที่ 5 แบบประเมินผลการวิเคราะหข์ อ้ มลู 110 บทที่ 6 แบบบนั ทึกการทบทวนหลังการปฏิบัติงาน 111 บรรณานกุ รม 115 ภาคผนวก 116 ภาคผนวก ก. เอกสารท่ีเกีย่ วข้อง 117 120 กำหนดการโครงการสมั มนาโครงร่างการศึกษาอิสระ 121 ใบลงทะเบียนทีมผจู้ ัด 122 ใบลงทะเบียนทมี ผู้นำเสนอ 123 ใบลงทะเบยี นผเู้ ข้าร่วม 124 ใบลงทะเบยี นคณาจารย์ ใบลงทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิ คำกลา่ วรายงาน คำกลา่ วเปดิ พิธี คำกล่าวปดิ พธิ ี

สารบญั (ต่อ) ง หนงั สือเชญิ คณาจารย์ หน้า หนงั สอื เชญิ ผู้ทรงคุณวุฒิ 127 ภาคผนวก ข. รูปภาพท่ีเกย่ี วข้อง 133 โลโกง้ านสมั มนา 139 โปสเตอร์ประชาสมั พันธ์ 140 ตัวอย่างเกยี รตบิ ัตร 143 แผนผังการจัดหอ้ งสัมมนา 149 ประมวลภาพโครงการสมั มนาบทความวิจยั 150 152

สารบัญตาราง จ ตารางที่ 1 ตารางการตดิ ตามงานของแตล่ ะฝา่ ย หน้า ตารางที่ 2 ตารางติดตามงานหน้าทข่ี องแตล่ ะฝ่ายหนา้ งาน 20 ตารางที่ 3 ตารางติดตามงานคนนอกทีม่ าช่วยงาน 22 ตารางท่ี 4 ภาระงานของเลขานุการ 23 ตารางที่ 5 ตารางการตดิ ตามงานแตล่ ะฝา่ ย 27 ตารางท่ี 6 ตารางถาระงานของฝ่ายเหรัญญิก 28 ตารางท่ี 7 ตารางเเจกเเจงการใช้งบประมาณ 31 ตารางที่ 8 ตารางภาระงานของฝ่ายพิธกี ร 31 ตารางท่ี 9 ตารางภาระงานของฝา่ ยทะเบียนเเละวชิ าการ 35 ตารางที่ 10 ตารางภาระงานของฝา่ ยโสตทัศนูปกรณ์เเละประชาสัมพนั ธ์ 38 ตารางที่ 11 ตารางภาระงานฝ่ายประสานงาน 40 ตารางท่ี 12 ตารางภาระงานฝา่ ยอาคารสถานท่ี 43 ตารางที่ 13 ตารางภาระงานฝา่ ยสวัสดกิ าร 43 ตารางท่ี 14 ตารางรายการงบประมาณฝ่ายสวัสดกิ าร 45 ตารางที่ 15 ตารางภาระงานฝา่ ยประเมนิ ผล 46 ตารางที่ 16 ตารางแสดงข้อมูลทัว่ ไปของผเู้ ขา้ ร่วม 48 ตารางท่ี 17 ตารางแสดงผลความพงึ พอใจต่อการจดั สมั มนา 75 ตารางที่ 18 ตารางผลการประเมินความพงึ พอใจต่อผ้นู ำเสนอ 85 87

1

1 บทที่ 1 ความรทู้ ัว่ ไปเกย่ี วกบั การสมั มนา ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสัมมนา เป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการเรียนรู้วิธีการสัมมนา จะก่อให้เกิด ความเข้าใจ การร่วมคิด ร่วมวิเคราะห์ ปรึกษา และเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม เพื่อหาทางออกของ ปญั หาร่วมกัน สรา้ งปฏสิ ัมพนั ธ์ระหว่างกนั ดว้ ยกนั สอื่ สาร ซ่งึ เป็นท่ีมาของคำวา่ สัมมนา ความหมายของสัมมนา คำว่า “สมั มนา” มาจากคำวา่ ส + มน หรือส + มนา เทา่ กับ สัมมนา ซ่งึ แปลวา่ การรว่ มใจกัน การประชุมร่วมกนั สัมมนามาจากภาษาอังกฤษว่า Seminar ซ่งึ แปลว่า “Meeting of the mind” (ไพพรรณ เกียรตโิ ชคชัย, 2548) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2554 ได้ให้ความหมายไว้ว่า สัมมนา หมายถึง การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งผลของการสัมมนา ถือว่าเป็นเพียงข้อเสนอแนะผ้ทู ีเ่ กยี่ วขอ้ งจะนำไปปฏบิ ัติตามหรือไม่ก็ได้ นิรันดร์ จุลทรัพย์ (2547 : 269) กล่าวว่า คำว่า “สัมมนา” เป็นศัพท์บัญญัติทางวิชาการ (Technical Term) ทีค่ ณะกรรมการบญั ญัติศัพท์ทางการศกึ ษาไดบ้ ัญญตั ิขน้ึ เพื่อใชแ้ ทนศัพท์ภาษาอังกฤษ ว่า “Seminar” มาจากคำสมาสระหวา่ งคำวา่ สํ(ร่วม)+มน (ใจ) แปลตามรปู ศัพท์ว่า รว่ มใจ ซง่ึ เปน็ คำศพั ท์ บัญญัติที่มีลักษณะ ดีมากคือมีเสียงไพเราะ น่าฟัง และมีลักษณะใกล้เคียงกับศัพท์ที่ใช้ในภาษาอังกฤษ มากทั้งด้านเสียงและความหมาย จึงทำให้คำว่า “สัมมนา” เป็นคำที่คนทั่วไปรู้จัก และเข้าใจ อย่างแพรห่ ลายในเวลาอันรวดเร็ว สมคดิ บางโม (2551 : 92) การสัมมนา เปน็ การประชมุ ของผู้ปฏิบตั งิ านอย่างเดยี วกนั หรือคล้ายกัน แลว้ พบปญั หาที่เหมือน ๆ กัน เพอ่ื รว่ มกันแสดงความคิดเหน็ หาแนวทางปฏบิ ตั ิในการแก้ปญั หาทุกคนท่ีไป ร่วมการสัมมนาต้องช่วยกัน พูดช่วยกันแสดงความคดิ เห็นโดยปกติจะบรรยายให้ความรู้พื้นฐานก่อน แล้ว แ บ ่ ง ก ล ุ ่ ม ย ่ อ ย จ า ก น ั ้ น น ำ ผ ล ก า ร อ ภ ิ ป ร า ย ข อ ง ก ล ุ ่ ม เ ส น อ ท ี ่ ป ร ะ ช ุ ม ใ ห ญ่ ผล ยาวิชัย ( 2553 : 3) การสัมมนา คือ สถานการณ์การประชุมกลุ่มบุคคลที่มีพื้น ความรู้ ความสามารถความสนใจ ประสบการณ์ในงานสาขาวิชาชีพเดียวกัน มีเงื่อนไขจุดมุ่งหมาย หรือ วัตถุประสงค์เดียวกันเพื่อการศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน สำรวจ เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ความ

2 คิดเห็นซง่ึ กันและกนั วิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแกไ้ ขปัญหาทป่ี ระสบอยู่อย่างเปน็ ระบบ โดยคำนงึ ถึง บทบาทของการมีส่วนร่วมจากทุกส่วนตามหลักการประชาธิปไตยภายใต้เวลาที่เหมาะสม จากความหมายของคำวา่ “สมั มนา” ดงั กลา่ วขา้ งตน้ สรุปไดว้ า่ การสัมมนา หมายถึง การประชุม เพอื่ แสวงหาความรู้ แลกเปล่ยี นเรยี นรู้และความคิดเห็น โดยมีวัตถปุ ระสงค์หรือการศึกษาในเรื่องเดียวกัน รวมทั้งร่วมวิเคราะห์ปัญหา หาแนวทางแก้ไข และหาข้อสรุปร่วมกัน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ร่วมกัน ดังนั้น การสอนวิชาสัมมนา เป็นกระบวนการหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้ ศึกษา ค้นคว้า โดย วิธีการต่าง ๆ เป็นการฝึกทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์ปัญหา และการเสนอแนวทางแก้ไข การแสดงออก โดยการพูด การสนทนา การอภิปรายที่เกี่ยวกับเนื้อหาของเรื่องนั้น ๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุป ของแนวทางท่มี ีความ เปน็ ไปได้ โดยวิธกี ารปรึกษาหารือรว่ มกัน ความสำคญั ของการสมั มนา การสัมมนาเป็นกระบวนการเรียนรู้หรือการแก้ไขปัญหา โดยอาศัยกระบวนการกลุ่ม (Group Process) มีจุดมุ่งหมายเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น และประสบการณ์ซึ่งกัน และกันใน ระหว่างผู้เข้าร่วมสัมมนา และนำผลที่ได้จากการสัมมนามาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา รวมถึงการ สร้างองค์ความรใู้ หม่ การสัมมนามีบทบาทสำคัญต่อองค์กร ในกระบวนการพัฒนาบุคลากรและพัฒนาทรัพยากร ของหน่วยงาน เพื่อให้มีการบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ การสัมมนาถูกนามาใช้ในการประมวล องค์ ความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ โดยการประชุมพบปะพูดคุย บรรยาย ซักถาม อภิปราย ระดมความ คดิ เห็น ทั้งวิทยากรหรือผเู้ ชี่ยวชาญ และผู้ร่วมการสัมมนาได้แลกเปล่ยี นเรียนรู้ ประสบการณซ์ ่ึงกนั และกัน เพื่อเป็นหนทางของการหาข้อสรุปอันจะเป็นองค์ความรู้ใหม่ ที่จะใช้เป็น แนวทางในการพัฒนาบุคลากร และทรัพยากรอื่น ๆ โดยผ่านการระดมความคิดร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปที่ดีที่สุด ซึ่งแต่ละประเด็นของการ สัมมนามีกระบวนการแลกเปลี่ยนที่หลากหลาย เช่น การประชุม หารือ การแสดงความคิดเห็น ซึ่งการ สัมมนามคี วามสำคัญ ดงั นี้ การสัมมนาเป็นการประชุมเพื่อแสวงหาแนวทางในการปฏิบัติงาน การตัดสินใจและการแก้ไข ปัญหา ในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้การประชุมสัมมนายังเป็นการแสวงหาแนวทาง สำหรับ การตัดสินใจและเพือ่ หาขอ้ สรุปทเ่ี ปน็ ท่ยี อมรบั โดยสว่ นรวม จงึ เปน็ เครอ่ื งมือสำคญั ท่ีจะทำให้ คนในองค์กร มีความเข้าใจตรงกัน ลดความขัดแย้ง และสามารถนำพาองค์กรสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ (เกษกานดา สุภา พจน์, 2549, ปาน กิมปีและกรรณกิ าร์ แยม้ เกสร, 2545)

3 ทั้งนี้การสัมมนาจำเป็นต้องมีกระบวนการปรึกษาหารอื ซึ่งเป็นกลไกสำคัญตอ่ การกำหนด นโยบาย การลงมติการริเริ่มสร้างสรรค์การวิเคราะห์การวจิ ยั และการแก้ปัญหาต่าง ๆ เราจึงต้องใช้ การประชุมให้ เกิดประโยชนส์ งู สดุ ตอ่ การพัฒนาองคก์ ร (สมคดิ บางโม, 2551 และสมติ ร สชั ฌุกร, 2552) จากการศึกษาความสำคัญของการสัมมนาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า การสัมมนามีความสำคัญ ต่อการแลกเปลี่ยนแนวคิดร่วมกัน เพื่อนำไปสู่กระบวนการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพผ่านการกำหนด ข้อสรุปท่เี ชื่อมโยงในการกำหนดนโยบาย และแกป้ ญั หาต่าง ๆ ภายใตก้ ลไกของการสัมมนา วัตถปุ ระสงคข์ องการสมั มนา การสมั มนาแต่ละคร้ังผู้จดั สมั มนามกี ารสร้างความคาดหวังไวล้ ว่ งหน้าเสมอถงึ ผลลัพธ์ ทีเ่ กดิ จาก การอภปิ รายรว่ มกนั ผา่ นกระบวนการหรอื แนวทางปฏบิ ัติทั้งเพื่อพัฒนาตนเอง หรอื พฒั นา องค์กรตาม วตั ถปุ ระสงค์ของการสมั มนา ประกอบไปด้วย ดงั นี้ 1. เพอื่ เพม่ิ พูนความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์แก่ผเู้ ขา้ ร่วมสัมมนา 2. เพอ่ื แลกเปลีย่ นแสดงความคดิ เห็นระหวา่ งผ้เู ข้าร่วมสัมมนาด้วยกัน 3. เพ่อื ค้นหาวธิ กี าร แกป้ ญั หาหรือแนวทางปฏิบัติร่วมกัน 4. เพ่อื ให้ได้แนวทางในการตัดสนิ ใจหรือกำหนดนโยบายบางประการตามความคิดเห็น ร่วมกัน 5. เพอื่ กระตนุ้ ให้ผู้รว่ มเขา้ สมั มนานำหลกั วิธีการที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรไู้ ปใชใ้ ห้เปน็ ประโยชน์ (นิรันดร์ จลุ ทรัพย์, 2547 และสมพร ปนั ตระสตู ร, 2525) จากการศึกษาวัตถุประสงค์ของการสัมมนาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า การสัมมนา เปรียบเสมือน กระบวนในการแลกเปลี่ยนในประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาได้รับโอกาส และประสบการณ์ในการ เพ่มิ พูนความรู้ รวมทั้งทักษะและกระบวนการตัดสนิ ใจในการหาแนวรว่ มกนั เพ่ือแก้ปัญหาประเด็นต่าง ๆ สรุปได้ว่า วัตถุประสงค์ของการสัมมนาการ คือ การเพิ่มพูน ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความคิดเหน็ ระหว่างผู้เขา้ ร่วมสมั มนา ค้นหาแนวทางวิธีในการปฏิบัติร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา หรือกำหนดนโยบายบางประการ และเพื่อฝึกอบรมหรือพัฒนาให้ผู้เข้าร่วมให้มีประสิทธิภาพในการ ปฏบิ ัติงานทีส่ งู ข้ึน ทง้ั น้ียอ่ มขนึ้ อยู่กบั กระบวนการจัดการสัมมานาทดี่ คี วบคู่กันไปด้วย ประโยชน์ของการสมั มนา ผลของการจัดสัมมนา หรือการจัดการเรียนการสอนสัมมนา ก่อให้เกิดความ เจริญก้าวหน้าทาง วิชาการ อันเป็นผลมาจากการศึกษา ค้นคว้า เพื่อเสนอบทความทางวิชาการ และการประมวลข้อเท็จจรงิ

4 ทางวิชาการใหม่ ๆ เพื่อนำเสนอในรูปของเอกสารประกอบการสัมมนา สามารถนำไปเป็นแนวทางในการ ปรับปรงุ แกป้ ญั หาหรือสร้างสรรค์การทำงาน ไดม้ ีนกั วิชาการกลา่ วถึงประโยชนข์ องการสมั มนา ดงั ต่อไปนี้ ผล ยาวิชัย (2553 : 5) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการสัมมนาไว้ดังนี้ 1) เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างผู้เข้าสัมมนา ทำให้มีความเข้าใจข้อเท็จจริงต่าง ๆ ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือเพ่ือ ความสำเร็จต่อไป 2) เป็นการร่วมกันแก้ปัญหาโดยผนึกความคิด ความรู้และประสบการณ์ของคนหลาย คนเข้าด้วยกัน ซึ่งย่อมได้ผลดีกว่าคน ๆ เดียว และเป็นการชักจูงให้หลายคนเข้ามามีส่วนร่วมในการ รับผิดชอบ 3) ก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมแรงร่วมใจ มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนั้น ๆ เพราะได้ รับทราบเรือ่ งราวและมสี ว่ นเป็นผ้กู ำหนดเก่ียวกบั ความเคล่ือนไหวเหลา่ นัน้ อยู่ด้วย 4) เป็นการชวยผ่อนผนั หรือทุเลาปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะผู้เข้าสัมมนาที่มีปัญหาได้มโี อกาสระบายความอัดอั้นตันใจ บ้างแล้ว 5) เป็นการช่วยให้ผู้เข้าสัมมนาได้ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งจะทำให้มีทัศนะที่กว้างขวางขึ้น และเกิดแนวคิดของตนเอง 6) ช่วยในการประสานงานได้ดี ถ้าผู้เข้าสัมมนาจากสถานที่หลายแห่งด้วยกัน ความสมั พนั ธท์ เ่ี กิดข้ึนในระหว่างประชุมกลมุ่ ย่อยจะช่วยใหม้ ีความเขา้ อกเข้าใจเหน็ อกเห็นใจกัน ยง่ิ ขึ้น นิรันดร์ จุลทรัพย์ (2550 : 281) การสัมมนาเป็นการเปิดโอกาสให้คนหลายคนได้มา พบปะพูดคุยปรึกษาหารือกัน เป็นการระดมความคิกจากคนหลายคน ซ่ึงย่อมจะมองเห็นทาง ทจ่ี ะแก้ปญั หาไดด้ กี ว่านอกจากนก้ี ารสัมมนายังก่อให้เกดิ ประโยชน์อีกหลายประการ เช่น 1) เป็นการร่วมกันแก่ปัญหาจากคนหลายคนที่มาร่วมกันผนึกความคิดแลกเปลี่ยนความรู้ และ ประสบการณ์ย่อมได้ผลดีกว่าการคิดคนเดียว หรือแก้ปัญหาคนเดียว และยังเป็นการกระตุ้นให้คนส่วน ใหญ่เขา้ มามสี ่วนร่วมรบั ผิดชอบด้วย 2) กอ่ ให้เกิดความรสู้ กึ ร่วมแรง รว่ มใจ มคี วามรสู้ กึ เหมอื นกิจการนั้น ๆ เพราะได้มสี ว่ นเป็นผู้กำหนด และรบั ร้เู รอ่ื งราวเกีย่ วกับความเคล่ือนไหวในเรอื่ งนั้น ๆ ดว้ ย 3) เป็นการช่วยให้ผู้สัมมนาได้มีโอกาสรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอันจะทำให้เกิดทัศนคติ กว้างขวางข้ึน และในบางกรณีอาจใช้การสัมมนาเป็นเครือ่ งมือหลอ่ หลอมความรู้สึกนึก คิดของกลุ่มคนให้ เป็นอนั หนึ่งอนั เดยี วกันได้ 4) ก่อให้เกิดผลดีต่อการประสานงานระหว่างบุคคลและหน่วยงาน เพราะผู้เข้าสัมมนา มักจะมา จากหลายสถานท่ี หลายหน่วยงาน ในระหว่างการสัมมนาจะชว่ ยให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกันเกิดความ เข้าใจและเห็นอกเห็นใจซ่ึงกันและกัน ด้วยเหตุนี้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีโอกาสได้เปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่อง สว่ นตัวและการทำงาน ทำให้ความรู้จักสนทิ สนมคนุ้ เคยกันในเวลาเดยี วกน

5 สรุปได้ว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากการสัมมนา ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ อันเป็นผล มาจากการศึกษา คน้ ควา้ เพื่อเสนอบทความทางวชิ าการ และการประมวล ข้อเท็จจรงิ ทางวชิ าการใหม่ ๆ เพื่อนำเสนอ ในรูปของเอกสารประกอบการสัมมนา รวมทั้งสรุปผล รายงานสัมมนาที่ได้หลังจากการ สัมมนาเสร็จสิ้น สามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ปัญหา หรือสร้างสรรค์การทำงาน นอกจากนี้ยังเป็นหนทางให้บรรลุข้อตกลง เกิดการประนีประนอมกันในระหว่างหน่วยงานเดียวกัน หรอื ต่างหน่วยงาน และเกดิ การพฒั นาตนพัฒนาคน พัฒนางาน และสังคมโดยส่วนรวม องค์ประกอบของการสมั มนา การสัมมนาเปน็ วธิ กี ารประชมุ และการสอนรปู แบบหนึง่ ที่มีกล่มุ บุคคลมารว่ มแสดงความคิดเห็นโดย ใชห้ ลักการ เหตผุ ล ประสบการณ์ และความรตู้ ่าง ๆ นำมาเสนอแนะแลกเปล่ียน เพิ่มพนู หาประโยชน์ ร่วมกนั ในการแก้ปญั หาน้ัน ๆ ให้สำเรจ็ ลุลว่ งด้วยดี หรือนำแนวทางทไี่ ด้รบั จากการสัมมนาไปปรบั ปรุง แกไ้ ข พฒั นาการดำเนนิ การสัมมนาแตล่ ะครงั้ มีองคป์ ระกอบสำคัญ 5 ดา้ น (เกษกานดา สภุ าพพจน์, 2549 : 22- 41, ผล ยาวชิ ยั , 2553 : 7-12) องคป์ ระกอบดา้ นเนื้อหา องค์ประกอบด้านเนื้อหาของการสัมมนา ได้แก่ สาระของเรื่องราวท่ีนำมาจัดลำดับก่อนหลัง อย่างเป็นระบบประกอบด้วยรายละเอยี ด ดงั น้ี 1.1 ชื่อเรื่อง หรือชื่อโครงการที่นำมาจัดสัมมนานับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้จัดสัมมนา ควรจะได้พจิ ารณาวา่ จะเลือกเร่ืองอะไร ท่ีจะนำมาจัดสัมมนาจงึ จะไดร้ ับประโยชน์คุ้มคา่ ส่ิงที่ควรคำนึงถึง ในการพิจารณาเกยี่ วกบั ชือ่ เรือ่ ง ในการจัดสมั มนา ได้แก่ 1.1.1 ควรเป็นเรื่องที่ต้องการศึกษาปัญหา หาแนวทางแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับงาน หรือเรื่อง ทีก่ ำลังศึกษาอยู่และเปน็ เรือ่ งทีต่ นเองถนดั รูแ้ จ้ง รูล้ กึ ซง้ึ เป็นอยา่ งดี 1.1.2 มคี วามทนั สมยั สอดคลอ้ งกบั สภาการณ์ปัจจุบนั 1.1.3 สามารถกำหนดปญั หา หาแนวทางการแกไ้ ขปัญหาไดอ้ ยา่ งเปน็ ระบบ 1.1.4 เป็นเรื่องที่ไม่กว้าง ไม่แคบจนเกินไป ควรเป็นเรื่องที่มีขอบเขตเฉพาะเรื่อง สามารถ กำหนดปัญหา และแนวทางการดำเนินการจัดสัมมนาได้ชดั เจน 1.2 จุดมุ่งหมายของการจัดสัมมนา โดยปรกติแลว้ การจัดสัมมนาก็เพื่อเปน็ การฝกึ ผู้เข้ารว่ มสมั มนา หรือนักศึกษาที่นอกจากเพื่อให้ได้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแล้ว ยังทำให้เกิดการเพิ่มพูน ความรปู้ ระสบการณ์ ไดร้ ับแนวความคิดใหม่ ๆ สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไข และพฒั นาตนเอง หน่วยงาน

6 ที่รับผิดชอบเป็นการสร้างสรรค์ต่อส่วนรวมและสังคม อย่างไรก็ตามในการสัมมนาจำเป็นที่จะต้องมี หรือ เขียนจุดมงุ่ หมายของการสัมมนาไว้ให้ชัดเจน เพอื่ คณะกรรมการผ้ดู ำเนนิ การจัดสัมมนา ผู้เข้าร่วมสัมมนา วิทยากร และบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะได้เขา้ ใจ และดำเนินการสัมมนาใหเ้ ป็นไปตามจุดมุ่งหมายท่ีต้งั ไว้ การเขียนจุดมุ่งหมายมักจะกำหนดเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หรือได้รับสาระตามต้องการอย่างใดอย่างหนึ่ง ไดแ้ ก่ 1.2.1 เพอ่ื ศึกษาและสำรวจปัญหาเรือ่ งใดเร่ืองหนึง่ ท่ีอยู่ในความสนใจ 1.2.2 เพอ่ื ใหไ้ ดว้ ธิ กี ารหรอื แนวทางในการแกป้ ญั หาเรอื่ งใดเรื่องหน่งึ 1.2.3 เพอ่ื ศกึ ษาคน้ ควา้ วจิ ยั ในเร่ืองทม่ี ีความจำเป็นเรง่ ดว่ น 1.2.4 เพื่อเรียนรู้ และมีการแลกเปลี่ยนผลของการศึกษาค้นคว้าวิจัยระหวา่ ง ผู้เรียนที่เรียน ร่วมกนั 1.2.5 เพอื่ รว่ มพจิ ารณาหาขอ้ สรปุ ผลรายงานการศึกษาค้นคว้าในเรื่องท่ีสนใจ 1.3 กำหนดการสัมมนา นับว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นประการหนึ่งที่ผู้จัดสัมมนาควรจะต้องมีการ วางแผนกำหนด และจัดทำ เพราะจะทำให้ทราบช่วงเวลาของการดำเนินการแต่ละรายการของการ สมั มนา ซึ่งกำหนดการสัมมนาควรระบสุ ิ่งต่อไปน้ี 1.3.1 ชื่อกล่มุ สาระวชิ า กลุ่มบุคคลผู้ดำเนนิ การ หรือผรู้ บั ผิดชอบจัดสมั มนา 1.3.2 ชื่อเรอื่ งสัมมนา 1.3.3 วนั เดือน ปี ท่ีจัดสมั มนา 1.3.4 สถานทจ่ี ดั สัมมนา 1.4 ผลที่ได้จากการสัมมนา เป็นสิ่งที่ผู้จัดสัมมนาได้คาดหวังว่าการจัดสัมมนาจะ ทำให้ผู้เข้าร่วม สัมมนาได้รบั ผลประโยชน์ท้ังเชิงปริมาณและคณุ ภาพ จึงเป็นเรื่องที่ผูจ้ ดั สัมมนา จะต้องมีการกำหนดผลท่ี คาดว่าจะได้รับจากการสัมมนาไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น ผลที่ได้จากการสัมมนา ผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 90 คน ได้รับความรู้ และสามารถนำเอาความรู้ที่ได้จากการ สัมมนาไปพัฒนางานที่ตนปฏิบัติอยู่ได้อย่างมี ประสทิ ธิภาพ องค์ประกอบด้านบคุ ลากร องค์ประกอบด้านบุคลากร หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการจัดสัมมนาแต่ละครั้งจะประกอบไป ดว้ ยบคุ ลากร ดงั นี้ 1)บุคลากรฝ่ายจัดสัมมนา หรือคณะกรรมการจัดสัมมนาให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้ คณะกรรมการอาจแบ่งออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ ได้แก่ ประธาน รองประธาน เลขานุการ ฝ่าย ทะเบียน ฝ่าย

7 เอกสาร ฝ่ายเหรัญญิก ฝ่ายพิธีการ ฝ่ายอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ สื่อทัศนูปกรณ์ ฝ่ายอาหารและ เครื่องดื่ม ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายปฏิคม และฝ่ายประเมินผล คณะกรรมการแต่ละฝ่ายที่กำหนดขึ้น อาจจะมีการผนวกรวมกับบางฝา่ ยงานเข้าด้วยกนั ส่วนจำนวนบุคลากรทีจ่ ัดให้รบั ผิดชอบแต่ละฝ่ายอาจมี จำนวนที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความจำเป็นความสามารถของบุคคล เพราะว่าบางงานบางฝ่ายบุคลากรมี ความสามารถหลายดา้ นก็สามารถปฏบิ ัตงิ านไดห้ ลายอยา่ งในเวลาเดียวกนั แต่อย่างไรก็ตามการออกคำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการต้องลงนามคำส่งั แตง่ ตัง้ โดยผู้บงั คับบญั ชาสูงสดุ ของหน่วยงาน หรอื องค์กรน้ัน ๆ 2) วิทยากร คือ บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นผู้บรรยาย ผู้นำอภิปราย และเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณโ์ ดยนำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ นำเสนอให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนาดว้ ยความมุ่งหวังท่ีจะให้ผู้เข้าร่วม สัมมนาได้รับความรู้และประสบการณ์อย่างเต็มท่ี ดังนั้นวิทยากรจึงเป็นบุคคลที่มีความรู้ มีความสามารถ มีประสบการณ์มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านใดด้านหนึ่ง หรือเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่มีความรู้ ความสามารถเก่ยี วขอ้ งกบั หวั ข้อเร่อื งท่ใี ชใ้ นการสัมมนาน้นั ๆ 3) ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้แก่ บุคคลที่มีความสนใจใฝ่รู้ในปัญหา หรือประสบปัญหา ต้องการแสวงหา แนวความคดิ ใหม่ๆ หรือมีความมุ่งหมายตอ้ งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกนั และกนั ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เปน็ ผู้ ที่มีพน้ื ฐานความรู้และมปี ญั หาท่ีสนใจจะศึกษาคลา้ ยคลึงกนั องคป์ ระกอบดา้ นสถานท่ี สถานท่ี เคร่ืองมอื และอุปกรณ์ตา่ ง ๆ ท่ใี ช้สัมมนาควรมี ดงั นี้ 3.1 ห้องประชุมใหญ่ หมายถึง ห้องประชุมขนาดใหญ่ที่ใชใ้ นการสมั มนากำหนดที่น่ังสามารถบรรจุ ผู้เข้ารว่ มสมั มนาได้จำนวนมาก ควรระบุสถานท่ีตัง้ และการเดนิ ทางเขา้ ถึง สถานที่จัดสัมมนา 3.2 ห้องประชุมขนาดกลางหรือขนาดเล็ก อาจต้องมีมากกว่าหนึ่งห้อง ควรอยู่ในพื้นที่ใกล้กัน หรือบริเวณเดียวกนั กับห้องประชุมใหญ่ ท้งั น้ีเพือ่ ความสะดวกในการรว่ มกิจกรรม หรอื ประสานงานหากมี ปญั หา และเพ่ือความสะดวกในการเดินทางมายังหอ้ งประชุมใหญ่ 3.3 ห้องรับรอง เป็นห้องที่ใช้สำหรับรับรองวิทยากร แขกพิเศษ เพื่อให้พักผ่อนหรือเตรียมตัว ก่อนการสัมมนา แต่ถ้าสถานที่มีพื้นที่จำกัด อาจใช้ส่วนหน้าของห้องประชุมจัดวางโต๊ะ รับแขก สามารถ ใช้ประโยชนบ์ นพนื้ ทด่ี ังกลา่ วได้ 3.4 ห้องรับประทานอาหารว่างมุมพักผ่อนนองห้อง หรือหน้าห้องประชุม เป็น พื้นที่จัดไว้สำหรับ ให้ผู้เข้ารว่ มสมั มนา ไดม้ าพักรวมทง้ั เปน็ จุดพักรบั ประทานอาหารว่าง

8 3.5 อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ ชุดไมโครโฟนชนิดตั้งโต๊ะไมโครโฟนชนิดตั้งพื้น ไมโครโฟนไร้ สาย ไมโครโฟนชนิดเล็กใช้หนีบติดปกคอเสื้อ เครื่องขยายเสียง เครื่องฉาย โปรเจกเตอร์ โน้ตบุ๊ค และ อปุ กรณ์ไฟฟา้ เก่ยี วกบั เครื่องเสียง สี แสง และอื่น ๆ 3.6 ห้องรับประทานอาหาร เป็นห้องที่อำนวยความสะดวก จัดไว้สำหรับให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้ร่วมรับประทานอาหารอาจเป็นทงั้ ห้องรับประทานอาหารเช้า กลางวนั และอาหารเยน็ ในพ้ืนทเี่ ดยี วกนั 3.7 อุปกรณ์เครื่องมอื ประเภทเครอื่ งคอมพวิ เตอร์ เคร่อื งปรน้ิ เตอร์ และวสั ดอุ ื่น ๆ ท่ีจำเป็นในการ จัดทำเอกสารประกอบคำบรรยายเอกสารสรปุ การจัดสมั มนา ตลอดจนเอกสารและแบบฟอร์มอื่น ๆ ที่ใช้ ในการสัมมนา 3.8 อุปกรณ์ดา้ นเครือ่ งเขียนเครื่องใชส้ ำนักงานทมี่ ีความจำเป็นมีไวใ้ ช้ ได้แก่ ดนิ สอ ปากกา สำหรับ เขียนกระดานไวท์บอร์ด กระดาษถ่ายเอกสาร กระดาษใช้พิมพ์งาน เครื่องเขียน ไม้บรรทัด คลิปเสียง ป้ายชื่อติดหน้าอกผู้เข้าร่วมสัมมนา คณะกรรมการแต่ละฝ่าย ฯ ล ฯ อุปกรณ์เหล่านี้ควรติดไว้ให้พร้อมท่ี จะใช้งานไดท้ นั ทีทตี่ อ้ งการ องคป์ ระกอบดา้ นเวลา การกำหนดเวลาสำหรับการสัมมนา เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งผู้จัดการสัมมนา ควรวางแผนให้ดีว่าควรจะใช้วันใดเวลาใด ดำเนินการจัดการ สัมมนาจึงจะเหมาะสมเพื่อให้เกิดความ สะดวกแก่ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้จัดสัมมนา จะได้มีเวลาสำหรับการเตรียมการ วิทยากร และผู้เข้าร่วม สมั มนาสะดวกทีจ่ ะมาสมั มนา จึงควรคำนงึ ถึงในเร่อื งดงั ต่อไปนี้ 4.1 ระยะเวลาสำหรับการเตรียมการ ผู้จัดสัมมนาควรวางแผนปฏิบัติงานให้ ชัดเจนว่างานแต่ละ อย่างแต่ละประเภทที่ต้องทำน้ันจะใช้เวลานานเท่าใดจึงจะแล้วเสร็จ จนถึงวันที่จะต้องจัดสัมมนาเพราะ งานบางอย่างต้องทำล่วงหน้าก่อน เช่น การประชุมวางแผนจัดทำโครงการ การวางแผนศึกษาดูงานนอก สถานที่ประกอบการสัมมนา วางแผนเกี่ยวกับวิทยากร การจัดสถานท่ี งบประมาณ และการวางแผนการ ประเมินผล เป็นต้น ระยะเวลาสำหรับการดำเนินการ บางเรอ่ื ง อาจใช้เวลามาก บางเรอื่ งอาจใช้เวลาน้อย บางเรื่องต้องทำอย่างต่อเนื่อง ผู้จัดทำสัมมนา จึงควรที่จะได้วางแผนไว้อย่างรอบคอบ มีการคาดคะเน สถานการณ์ใหด้ จี ะสามารถเตรยี มการให้ ทันตามกำหนดได้ 4.2 การเชิญวิทยากร เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งท่ีผู้จัดสัมมนา ควรจะวางแผนให้ดี เพราะ วิทยากรบางท่านเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงมากมักจะไม่ว่าง บางท่านต้องติดต่อล่วงหน้า ในบางครั้งถึงกับต้อง เลื่อนวันจัดสัมมนาออกไป เพื่อจะให้ตรงกับวันที่วิทยากรว่าง เพราะหวังว่าจะได้วิทยากรที่มีคุณภาพมา บรรยาย กรณีเชน่ นเ้ี กดิ น้อยครั้งมาก เพราะไม่จำเป็นจริง ๆ กจ็ ะไม่เปลีย่ นวนั เวลา ทก่ี ำหนดจดั สมั มนาไว้

9 หากได้ออกหนังสือเชิญผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ทราบวันเวลาแล้ว เพราะเป็นการยุ่งยากสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย รวมทั้งยังเสียเวลาในการแจ้ง ให้ผู้ร่วมสัมมนาได้ ทราบวันเวลาใหม่ หากวิทยากรที่ได้เชิญไปไม่มาควร เปลี่ยนวิทยากรท่ีมีคณุ สมบัตใิ กล้เคยี งแทน 4.3 วัน เวลา ที่ใช้ในการสัมมนาจะใช้กี่วัน ขึ้นอยู่อับเรื่องที่สัมมนาว่ามีขอบเขต กว้างมาน้อย เพียงใดอาจเพียงวันเดียว บางเรื่องใช้เวลาสามวัน บางเรื่องใช้เวลาถึงห้าวันหรืออาจ มากกว่านั้น ทั้งน้ี ขึ้นอยู่กับความน่าสนใจ ความจำเป็นของเรื่องที่ต้องการรู้ หรือขึ้นอยู่กับปัญหางานที่ประสบอยู่พอดี บางเรื่องอาจต้องมีกิจกรรมเสริม เช่น การศึกษาดูงานประกอบการสัมมนา ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ข้อควร สังเกตในการใช้เวลาเพื่อจัดสัมมนา หากใช้เวลาน้อยเกินไปอาจส่งผลทำให้การอภิปรายการแสดงความ คิดเห็นไม่กว้างขวางแต่ถ้าหากใช้เวลามากเกินไปอาจส่งผลทำให้บรรยากาศของการสัมมนาน่าเบื่อ เป็น ประโยชน์น้อย หรืออาจต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นโดยใช่เหตุ ดังนั้นในการกำหนดวันเวลาที่ใช้ในการ สัมมนา จึงควรกำหนดให้ทันต่อการเตรียมการในทุก ๆ เรื่อง จัดวันเวลาใหพ้ อดีกับหัวข้อเรื่องที่ใชใ้ นการ สมั มนา และสามารถปรบั ยืดหยุ่นไดบ้ ้างตามความเหมาะสม องค์ประกอบดา้ นงบประมาณ การดำเนินงานจัดสัมมนาย่อยมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การดำเนินงานค่อนข้างมาก คณะผู้ดำเนินงาน จัดทำสัมมนาต้องวางแผนงานด้านค่าใช้จ่ายให้ดี ด้วยความรอบคอบ เพื่อให้การประมาณค่าใช้จ่ายอยู่ใน ภาวะเพียงพอไม่ขาด หรือติดขัดในค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ซึ่งอาจเกิดภายหลังได้ ข้อควรคำนึงถึงการจัดทำ งบประมาณค่าใช้จา่ ยในการดำเนนิ งานจดั สมั มนาทีเ่ รียกว่าการจดั ทำงบประมาณ ไดแ้ ก่ 1. จดั ประมาณการค่าใช้จ่าย แต่ละฝา่ ยท่ที ำหน้าทีร่ ับผิดชอบงาน จัดประมาณการค่าใช้จ่ายที่ต้อง ใช้จ่ายทั้งหมดของฝ่ายตนเองออกมาในรูปของบัญชีค่าใช้จ่ายน ำเสนอฝ่ายเหรัญญิกและที่ปร ะชุม เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมสำหรับค่าใช้จ่ายแต่ละรายการของแต่ละฝา่ ยก่อน โดยให้มรี ายละเอียดให้ มากทสี่ ุดอย่าให้ต้องตกหล่นในรายการใดรายการหนึง่ ไป 2. ค่าใช้จา่ ยต่าง ๆ ที่เก่ยี วข้องกับวสั ดุอุปกรณ์ท่จี ำเป็นตอ้ งจัดซอื้ ควรมีรายการราคาตามทอ้ งตลาด หรืออาจใช้วิธีสืบราคาวัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นก่อน เพื่อการประมาณค่าใช้จ่ายจะไม่เกิดข้อผิดพลาด การ วางแผนค่าใช้จ่ายจึงควรคำนงึ ถึงคา่ ใชจ้ ่ายที่คาดว่าจะเพม่ิ ขน้ึ ได้โดยอาจนำไปใสใ่ นคา่ ใชจ้ ่ายอืน่ ๆ 3. จัดทำงบประมาณรวม การวางแผนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของแต่ละฝ่ายเห็นชอบจากที่ประชุม แล้วจึงจัดทำงบประมาณรวมทั้งโครงการ แล้วเสนอผู้รับผิดชอบหรือเสนอฝ่ายบริหารอนุมัติ กรณีที่เป็น การสัมมนาเพื่อพัฒนาองค์กร ข้อสังเกตในการวางแผนงบประมาณค่าใช้จ่ายของการจัดสัมมนาควร ดำเนินการ ดงั นี้

10 3.1 จัดประชมุ แต่ละฝา่ ยทรี่ ับผิดชอบ มอบหมายงานในหน้าทตี่ ่าง ๆ จัดทำแผนงบประมาณ คา่ ใช้จา่ ยของฝา่ ยตนข้ึนมา นำเสนอตอ่ ทีป่ ระชมุ เพื่อพิจารณารว่ มกนั 3.2 เมื่องบประมาณแต่ละฝ่ายได้รับการเห็นชอบแล้ว ต้องนำงบค่าใช้จ่ายของแต่ละฝ่าย มาลงในโครงการ โดยแยกคา่ ใชจ้ ่ายทตี่ ้องใช้จ่ายท่ีต้องจ่ายจรงิ เป็นเงินเทา่ ใด 3.3 อาจแนบรายละเอียดค่าใช้จ่ายของแต่ละฝ่ายไปพร้อมโครงการเพื่อให้ฝ่ายบริหาร หรือผู้บังคับบัญชาพิจารณาอนุมัติ ในกรณีที่แต่ละฝ่ายต้องการเบิกเงินจากเหรัญญิก เพื่อนำไปใช้จ่าย ในฝ่ายของตน เหรัญญิกต้องจัดทำบัญชีรายรบั รายจ่ายรวมทัง้ มีเอกสารการเบิกจา่ ยเงิน และลายเซ็นของ ผรู้ ับเงินดว้ ย ท้งั นเี้ พ่ือเปน็ หลกั ฐานในการปฏบิ ัตหิ น้าท่ที ท่ี รี่ ับผิดชอบ สรุปได้ว่า องค์ประกอบของการสัมมนามี 5 ด้าน ประกอบด้วย องค์ประกอบด้านเนื้อหา องค์ประกอบด้านบุคลากร องค์ประกอบด้านสถานที่ องค์ประกอบด้านเวลา องค์ประกอบด้าน งบประมาณ ล้วนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบด้านเนื้อหา องค์ประกอบด้านบุคลากร องค์ประกอบ ด้านสถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ องค์ประกอบด้าน เวลาองค์ประกอบด้านงบประมาณ ใช้ประกอบ ในการจัดสัมมนาเพื่อเป็นกรอบแนวคิดในการดำเนนิ การ จดั สมั มนาใหส้ มบรู ณ์แบบ และตอ่ เนอื่ งจนบรรลุ ตามวตั ถปุ ระสงค์ รปู แบบของการจดั สมั มนา ความหมายของรปู แบบ คำวา่ “รูปแบบ” หรือ Model เปน็ คำที่ใชเ้ พื่อสือ่ ความหมายหลายอย่าง ซง่ึ โดยทัว่ ไปแลว้ รปู แบบจะหมายถงึ ส่ิงหรือวธิ กี ารดำเนินงานทเี่ ป็นตน้ แบบอยา่ งใดอย่างหนงึ่ เชน่ แบบจำลอง สิ่งก่อสร้างรูปแบบในการพฒั นาชนบท เปน็ ตน้ สวัสดิ์ สุคนธรังสี (2520 : 206) ให้ความหมายรูปแบบหมายถึง ตัวแทนที่สร้างขึ้นเพื่ออธิบาย พฤติกรรมของลักษณะบางประการของสิ่งที่เป็นจริงอย่างหนึ่ง หรือเป็นเครื่องมือทางความคิดที่บุคคลใช้ ในการหาความรู้ความเข้าใจปรากฏการณ์ นอกจากนี้ สุบรรณ์ พันธ์วิศวาส และชัยวัฒน์ ปัญจพงษ์ (2522 : 22-23) ใช้คำว่า แบบจำลอง (Model) เท่ากับการย่อหรือเลียนแบบความสัมพันธ์ทีป่ รากฏอย่ใู น โลกแห่งความเป็นจริง ของปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึง่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยในการจดั ระบบ ความคิดในเรื่องนั้นให้เข้าใจ ได้ง่ายขึ้นและเป็นระเบียบ อาจกล่าวได้ว่า รูปแบบ หมายถึง แบบจำลอง อย่างง่ายหรือย่อสว่ นของปรากฏการณ์ตา่ ง ๆ ที่ผู้เสนอรปู แบบดังกลา่ วได้ศึกษาและพฒั นาข้ึนมาเพ่ือแสดง หรืออธิบายปรากฏการณ์ให้ เข้าใจได้ง่ายขึ้น หรือในบางกรณีอาจจะใช้ประโยชน์ในการท ำนาย ปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนอาจใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไป

11 จากความหมายทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่า รูปแบบ หมายถึง สิ่งที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นจาก แนวคิด ทฤษฎีที่ได้ศึกษามาของผู้สร้างเองเพื่อถ่ายทอดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ โดยใช้สื่อท่ีทำให้เข้าใจได้ ง่ายและกระชับถูกต้อง และสามารถตรวจสอบเปรยี บเทียบกับปรากฏการณ์จริงได้ เพ่อื ชว่ ยให้ตนเองและ คนอื่นสามารถเขา้ ใจไดช้ ดั เจนขนึ้ รปู แบบของการสมั มนา การสัมมนาแต่ละครั้งมีกิจกรรมที่ใช้ในขณะสัมมนาหลายกิจกรรม เช่น การอภิปราย การประชุม กลุ่มย่อย และเทคนิคการประชุมแบบต่าง ๆ สามารถเลือกใช้เป็นแนวทางในการสัมมนา ตามความ เหมาะสมของรูปแบบ และสถานการณ์นัน้ ๆ เทคนคิ และวิธีการตา่ ง ๆ ในการสมั มนามี ดงั น้ี พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน (2545 : 979) การอภิปราย ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า \"การอภิปราย หมายถึง การพูดจาหรือการ ปรึกษาหารอื กัน\" โดย สมพงศ์ เกษมสิน (2519 : 5) กลา่ วว่า การอภิปราย หมายถึง การที่บคุ คลกลุ่มหน่ึง มเี จตนา จะพิจารณาเรอื่ งใดเร่ืองหนงึ่ ปรกึ ษาหารือกัน ออกความคดิ เห็นเพอ่ื แกป้ ญั หาที่มีอยู่ หรือเพื่อเป็น การแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับให้ได้ทราบซึ่งในที่สุดก็มีการ ตดั สินใจตกลงร่วมกัน ลกั ษณะการสัมมนาทดี่ ี นิรันดร์ จุลทรัพย์ (2524 : 280 – 281) กลา่ วว่า การสมั มนาที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ คือ 1. มีจุดมงุ่ หมายในการจัดสมั มนาอย่างงชัดเจน และสมาชิกทกุ คนทั้งคณะกรรมการจัดสัมมนา ผู้เข้าสัมมนา ตลอดจนวิทยาการ ควรจะไดท้ ราบจดุ มุ่งหมายนี้ด้วย 2. มกี ารจัดที่ชว่ ยเสรมิ ความรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมสมั มนาอย่างแทจ้ รงิ 3. มกี ารเปดิ โอกาสให้ผูเ้ ขา้ สมั มนาไดแ้ ลกเปลี่ยนความคดิ เห็นและความรซู้ ่ึงกันและกัน 4. มรการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าสัมมนาได้ร่วมกันแก้ปัญหาที่มีการสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายท่ี กำหนดให้ 5. ผู้เข้าสัมมนามีความศรัทธาในวิธีการแห่งปัญญาเป็นเครื่องมือในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ (Intellectual Method) 12 6. ผเู้ ขา้ สัมมนามวี ิญญาณแห่งความเป็นประชาธิปไตย กลา่ วคอื เคารพและยอมรับฟัง ความคิดเห็น ของผอู้ ่ืน มมี ารยาทในการพูดและการฟงั ปฏบิ ตั ติ ามกติกาของการสมั มนาเปน็ ต้น 7. ผเู้ ข้าสมั มนาทุกคนมคี วามกระตอื รอื ร้นที่จะทำงานรว่ มกัน เพือ่ ให้บรรลุตามจุดม่งุ หมายท่วี ่างไว้

12 8. มีผูน้ ำท่ีดที ั่งในการเตรยี มการและการดำเนินการสัมมนา 9. มีการจัดการที่ดี คือจัดผู้บรรยาย หรือผู้อภิปรายที่น่าสนใจดำเนินรายการต่าง ๆ เป็นไปตาม กำหนดการอย่างต่อเนื่อง ไม่ติดขัดสบสัน ผู้เข้าสัมมนาได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ตลอดจนได้รับการ ประชาสัมพันธช์ ้แี จงรายละเอยี ด กระบวนการต่าง ๆ ตลอดการสมั มนาอยา่ งชดั เจน 10. มีอุปกรณ์สำคัญสำหรับใช้ประกอบสัมมนา และอำนวยความสะดวกต่อการสัมมนาอย่าง ครบถ้วน เช่น หนังสือหรือเอกสารต่าง ๆ อุปกรณ์การเขียน เครื่องมืออุปกรณ์โสตทัศนปูกรณ์ สถานท่ี ห้องประชุมใหญ่หอ้ งประชมกล่มุ ย่อยห้องรบั ประทานอาหาร เปน็ ต้น 11. ผลที่ได้จาการสัมมนา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ทั้งแก่ตัวสมาชิกเอง และแกห่ นว่ ยงาน หรือสถาบนั ท่ีเก่ียวข้อง สรุปได้ว่า ลักษณะการสัมมนาที่ดี คือ 1) ผู้เข้าร่วมสัมมนาทราบวัตถุประสงค์ของการสัมมนา 2) จัดให้มีกิจกรรมในการแก้ปัญหาร่วมกัน 3) จัดให้มีกิจกรรมในการเรียนรู้ร่วมกัน 4) จัดให้มีเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็น และข้อเท็จจริงร่วมกัน 5) ผู้เข้าร่วมสัมมนามีทัศนคติที่ดีต่อปัญหา ข้อเทจ็ จรงิ ผูเ้ ข้าร่วมสมั มนา และตนเอง 6) ผ้เู ขา้ รว่ มสมั มนาต้องใช้ความคิดรว่ มกนั ในการแก้ปัญหา 7) มี ผ้นู ำท่ดี ี 8) ผ้เู ขา้ ร่วมสมั มนาเป็นผู้ฟังที่ดี 9) ผเู้ ข้ารว่ มสัมมนาเป็นผู้พูดที่ดี 10) ผเู้ ข้าร่วมสัมมนาทุกคนเป็น ผ้มู ีสว่ นไดส้ ว่ นเสยี ในการดำเนินการประชุมสัมมนา เพือ่ ให้งานสัมมนาบรรลเุ ปา้ หมาย สรปุ การสัมมนา หมายถึง การประชุมตามหัวข้อที่กำหนดไว้เพื่อมุ่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาใดปัญหา หนึ่งโดยเฉพาะโดยที่ผู้เข้าร่วมประชุมจะนำการอภิปรายอย่างเสรีอีกนัยหนังการสัมมนา เป็นรูปแบบ การศึกษาในระดับมหาวทิ ยาลัยท่ีมุง่ ใหน้ ักศึกษาไดแ้ ลกเปล่ียนความรู้ความคิดอย่างกวา้ งขวาง ประโยชน์ ของการสัมมนามุ่งใหผ้ ู้เข้าสัมมนาได้แลกเปล่ียนความรู้แนวคิดและข้อมลู ข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ ตอ่ การหาแนวทางในการแก้ไขปญั หาขององคก์ รและสถาบนั ตัวเองลักษณะของการสมั มนาทีดีนนั้ จะต้องมี วัตถุประสงค์ท่ีชัดเจนเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปล่ียนแนวคิดอย่างกว้างขวาง สำหรับปัญหา ของการจัดการสัมมนาจะมาจาก 4 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ด้านการเงิน ด้านวัสดุอุปกรณ์และด้านการจัด การู้องค์ประกอบของการสัมมนาประกอบด้วย องค์ประกอบด้านเนื้อหาองค์ประกอบด้านบุคลากร องค์ประกอบด้านสถานที่เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ องค์ประกอบด้านเวลา และองค์ประกอบด้าน งบประมาณ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสัมมนา ควรจะต้องยึดถือและปฏิบัติตามหลักโดยการบริหาร จดั การสมั มนาทมี่ ีประสิทธภิ าพจะชว่ ยให้ระบบและวธิ กี ารทำงานมีประสิทธิภาพสูงขน้ึ

13

14

15 บทที่ 2 โครงสรา้ งและบทบาทหน้าที่ รูปภาพสมาชิกผจู้ ดั สัมมนาทีมผู้จดั มีดงั น้ี นางสาวอารียา เจะหนิ 6120210511 นางสาวอสั รียา ตะวนั 6220210175 นางสาวนารซี า เซเมาะ 6220210024 นางสาวนูรมี บาโด 6220210280 นางสาวพลิ าสลักษณ์ พรหมทอง 6220210027 นางสาวมุรญาณี เจ๊ะมะ 6220210313 นายมาหาหมัดซัมซู ฮะซา 6220210171 นางสาวอามเี นาะห์ สนเิ ลาะ 6220210363 นางสาวนซั ริน เจะยะปาร์ 6220210171 นางสาวสุวรรณา หม่ินเสน็ 6220210404 นางสาวนาซเี ราะห์ เเวดาโอะ 6220210172 นางสาวอารียา ปะดอ 6220210405 นางสาวรกั ชนก รตั นะ 6220210174 นางสาวอารียา ปะดอ 6220210492

16 โครงสรา้ งหนา้ ที่ ผศ.ดร.อาลสิ า หะสาเมาะ ผศ.ดร.จิรชั ยา เจียวกก๊ ดร.สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์ อาจารยอ์ ับดุลคอลิก อรั รอฮีมยี ์ ดร.ธันยากร ตดุ เกอ้ื อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารยท์ ี่ปรึกษา อาจารยท์ ่ีปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวอารียา เจะหนิ ประธาน นางสาวนารีซา แซเมาะ นางสาวนรุ มี บาโด เลขานุการ เหรัญญิก นางสาวพิลาสลักษณ์ พรหมทอง นางสาวอามีเนาะห์ สนิเลาะ นางสาวมุรญาณี เจ๊ะมะ นางสาวสวุ รรณา หม่ินเส็น นางสาวนัซริน เจะยะปาร์ โสดทศั นอุปกรณ์ ประชาสัมพันธ์ สวัสดกิ าร วิชาการ วชิ าการ นางสาวอารยี า ปะดอ นางสาวรกั ชนก รัตนะ นายมาหาหมดั ซมั ซู ฮะซา นางสาวอัสรียา ตะวนั นางสาวนาซีเราะห์ แวดาโอะ นางสาวรสุ ณา ยโู ซ๊ะ พธิ ีกร พธิ กี ร อาคารสถานที่ ประสานงาน ทะเบียน ประเมินผล

17 โครงสรา้ งและบทบาทหน้าท่ี ในการสมั มนาทุกคร้ังมักจะมีบุคคลท่เี ก่ียวข้อง ไดแ้ ก่ ประธาน เลขานุการ สมาชกิ ผู้เข้าร่วมประชุม วิทยากร บุคคลเหล่านี้ควรจะได้รับการติดต่อให้ทราบล่วงหน้าเพื่อทุกคนจะได้ทราบหน้าที่ของตนว่ามี อย่างไรเมื่อได้ทราบล่วงหน้าแล้วบุคคลเหล่านั้นจะต้องมีการเตรียมตัวเข้าร่วมสัมมนา ดังต่อไปนี้ ลินตัน (Linton.1945 : 22 ; อ้างถึงใน ศักดิไทย สุรกิจบวร.2545 : 115) กล่าวว่า สถานภาพ หรือตำแหน่งเป็นตัวกำหนดบทบาทให้แก่ บุคคล สถานภาพเป็นนามธรรม หมายถึงฐานะหรือตำแหน่ง ดังนั้นเม่ือกำหนดตำแหน่งใดขึ้นก็จำเป็นจะต้องมีบทบาทหรือภาระหน้าที่กำกับตำแหน่งนั้นเสมอ เปรียบเสมือนเป็นเหรียญอันเดียวที่มีสองหน้า คือมีสถานภาพอยู่หน้าหน่ึงกำกับตำแหน่งน้ันเสมอ และเปรียบเสมือนเป็นเหรียญอันเดียวที่มีสองหน้า คือมีสถานภาพอยู่หน้าหนึ่งและบทบาทอีกหน้าหนึ่ง นาเดล (Nadel.1957 : 45 ; อ้างถึงใน ศักดิไทย สุรกิจบวร.2545 : 116) กล่าวว่า บทบาท ประกอบดว้ ยตัวประกอบทีส่งผลตอ่ พฤตกิ รรมหลายลักษณะ เช่น 1. ตัวประกอบที่เสริมบทบาท เชน่ การพดู เกง่ การมีอารมณข์ ัน 2. ตวั ประกอบที่เปน็ ตวั สำคัญหรือแกนของบทบาทอันขาดมิได้ เช่น พ่อแมต่ อ้ งเล้ียงดลู ูก 3. ตวั ประกอบท่ีเป็นไปตามกฎหมาย เชน่ แพทยจ์ ะบำบัดโรคต้องมใี บประกอบโรคศลิ ป์ รพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ (2550 : 66) ได้ให้คำจำกัดความของบทบาทไว้ว่า เป็นแบบแผนของ ความต้องการ เป้าหมายของความเช่ือ ความรู้สึก ทัศนคติ คุณค่าและการกระทำที่สมาชิกในสังคม คาดหวังว่าควรเป็นไปตามลักษณะของชนิดตำแหน่งท่ีมีอยู่หรืออาจกล่าวได้สั้น ๆ ว่าบทบาท คือ พฤติกรรมท่ีคาดหวังว่าบุคคลท่ีอยู่ในสถานภาพน้ันควรจะประพฤติหรือปฏิบัติ เช่น บทบาทของพ่อก็คือ ทำหนา้ ที่เล้ียงดูลูกใหเ้ ป็นคนดี รู้จกั ทำมาหากนิ เป็นตน้ จุฑามาศ สรีสิริพรพันธ์ (2548 : 27) ได้อธิบายว่าบทบาท คือหน้าที (Function) หรือพฤติกรรม อันพึงคาดหมาย (Expected Behavior) ของบุคคลในแต่ละคนในกลุ่มหรือสังคมหนึ่งหน้าทีหรือ พฤติกรรมดังกล่าวโดยปกติเป็นส่ิงท่ีกลุ่มหรือสังคมหรือวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมนั้นกำหนดขึ้น ดังน้ัน บทบาทจึงเป็น แบบแห่งความประพฤติของบุคคลในสถานะท่ีพึงมีต่อบุคคลอ่ืนในสถานะอีกอย่างหน่ึงใน สังคมเดียวกัน จากความหมายของบทบาทข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า บทบาท คือ การกระทำหรือ พฤติกรรมตามตำแหน่งหรือสถานภาพ ซ่ึงเป็นไปตามความคาดหวังของสังคมหรือตามลักษณะของการ รบั ร้บู ทบาทเปน็ ผลของการแสดงออกตามสทิ ธแิ ละหน้าที

18 บทบาทหน้าทีแ่ ละการปฏบิ ัติงานของประธาน นางสาวอารียา เจะหนิ หมายเลขโทรศัพท์ : 0929503703 รบั ผดิ ชอบตำแหน่งประธาน ความรเู้ กยี่ วกับการดำเนินงาน ประธาน นับเป็นหัวใจสำคัญของกลุ่มในการจัดสัมมนา ประธานเปรียบเสมือนผู้นำจะต้องสามารถ นำพากลุ่มให้มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่ปฏบิ ัติงานเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายทีต่ ั้งไว้ร่วมกัน เนื่องด้วยการ ดำเนินงานตา่ ง ๆ จะต้องมีผนู้ ำในการดำเนินงานเพื่อทำหนา้ ท่ีอำนวยการจัดสัมมนา สรรหากรรมการ แต่ ละฝ่าย ควบคุม ติดตาม ประสานงานกับแต่ละฝ่ายวางแผน ดำเนินการจัดทำโครงการร่วมกับฝ่ายต่าง ๆ ให้คำปรึกษาชว่ ยเหลือ สนับสนุนแต่ละฝ่าย วเิ คราะห์ปญั หา หาแนวทางแก้ไขตัดสินปัญหา ดำเนินการจัด ประชุมฝ่ายต่าง ๆ การจัดสัมมนาต้องทำงานกันเป็นกลุ่มในการวางแผน เพราะฉะนั้นผู้นำจะต้องวางตัว เป็นกลางเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการวางแผนงาน ใช้สัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้นำกับผู้ตามสร้าง ความเป็นกันเองเพื่อกระตุ้นจูงใจให้ผู้ตามเต็มใจที่จะมีส่วนร่วม หรือมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ดังนั้น ในการดำเนินงานการจัดสัมมนาฯ จึงจำเป็นที่จะต้องผู้นำในการควบคุมการดำเนินงาน กำหนดแบบแผนในการดำเนินงานอย่างชัดเจน และติดตามงานของฝ่ายต่าง ๆ และตรวจสอบความ เรียบรอ้ ย ทพ่ี รอ้ มสำหรบั การจดั งาน ประธานจงึ เปน็ หวั ใจสำคญั ในการจดั สัมมนาฯ เพอื่ ใหก้ ารดำเนินงาน บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาของสาขาพัฒนาสังคม โครงการสัมมนาบทความวิจัยในครั้งนี้

19 บทบาทหนา้ ทขี่ องประธาน 1. คดั สรรเลือกบุคคลเพ่ือทำหน้าทีเ่ ป็นกรรมการในฝา่ ยต่าง ๆ 2. วางแผนและดำเนินการจัดทำโครงการสมั มนาร่วมกับฝ่ายต่าง ๆ 3. ควบคุม ตดิ ตาม และประสานงานกบั ฝ่ายต่าง ๆ ทำงานร่วมกับรองประธานในการทำหนา้ ที่ ควบคุมงานทงั้ เบื้องหนา้ เบื้องหลังของงานสัมมนาฯ ซ่งึ ประธานจะดูแล และควบคมุ การดำเนนิ งาน และความก้าวหนา้ ของฝา่ ย 4. ใหค้ ำปรึกษา ช่วยเหลอื สนับสนนุ 5. วเิ คราะหป์ ัญหา หาแนวทางแกไ้ ข 6. ดำเนนิ การจดั ประชมุ คณะกรรมการต่าง ๆ เพื่อดำเนินการเก่ยี วกบั การจัดสัมมนาเป็นระยะ ๆ จนถงึ วนั ทจ่ี ดั สมั มนา และเมื่อมกี ารจดั สัมมนาเสร็จสิน้ ควรจัดให้มกี ารประชุมเพ่ือดำเนินการ เกีย่ วกบั การจัดทำสรุปผลรายงานการสมั มนา และดำเนนิ การจัดสง่ สรปุ ผลรายงานการสมั มนาใหก้ ับ ผูท้ ่เี กี่ยวขอ้ งและผูส้ นใจ บคุ ลิกของประธานทีด่ ี 1. บุคลิกทางกายภาพ การแต่งกาย การแสดงออก หน้าตาย้ิมแย้มแจ่มใส พูดจาสุภาพ มนี ้ำใจ ประสานเก่ง กล้าคดิ กลา้ ทำ กลา้ ตดั สิน มีอารมขนั เปน็ ต้น 2. บคุ ลิกภาพทางจิต มคี วามม่ันคงทางอารมณ์ สขุ มุ รอบคอบ ซื่อสตั ย์ มีความรบั ผิดชอบสงู อดทน อดกล้ัน เท่ยี งธรรม เป็นตน้ คณุ สมบตั ิของประธาน 1. มภี าวะผูน้ ำ 2. มเี มตตาธรรม 3. ตอ้ งอยู่บนพ้นื ฐานของเหตุผลและความถูกตอ้ ง 4. เปน็ นกั คิด นกั วิเคราะห์ 5. มกี ารสร้างวิสยั ทศั น์ 6. มีทักษะหลายด้าน 7. รอบร้แู ละมีข้อมลู ท่ีทนั สมยั 8. รู้และเข้าใจบทบาทหนา้ ทท่ี ันสมัย 9. กลา้ ตดั สนิ ใจ

20 10. มยี ุทธวิธแี ละเทคนคิ การเตรียมตวั ของประธาน 1. วางแผนการประชมุ ร่วมกับเลขานกุ าร เรือ่ งอะไร ท่ีไหน เม่ือไหร่ ทำหนังสือเชิญ จดั ทำวาระ การประชมุ ส่งให้กรรมการล่วงหน้า 3 - 7 วนั วางแผนในเรอื่ งท่จี ะพดู ตามวาระการประชุม จัดเตรียม อปุ กรณ์ ท่ีตอ้ งใช้ในการประชุม 2. ดำเนนิ การประชมุ เปดิ การประชมุ ทักทายสมาชิก เสนอหัวขอ้ หรือปญั หา ชแ้ี จงความจรงิ ถามคำถาม ดำเนินการอภิปราย ส่งเสรมิ กระต้นุ ใหส้ มาชิก มสี ่วนรว่ ม สรปุ ประเด็นสำคญั ของการประชุม ยุตลิ งความเห็น ข้อตัดสิน ตารางที่ 1 ตารางการติดตามงานของแต่ละฝา่ ย ฝ่ายท่รี ับผิดชอบ งานทไ่ี ดร้ ับมอบหมาย กำลงั สำเรจ็ หมายเหตุ ดำเนนิ - ติดตามงานของแตล่ ะฝ่าย ✓ - ประสานงานในฝา่ ยต่าง ๆ ✓ ฝา่ ยประธาน - ติดต่ออาจารย์และผู้ทรงคุณวฒุ ิ ✓ - รายงานความก้าวหนา้ ในแต่ละ ฝ่ายแก่อาจารย์ทป่ี รึกษา ✓ ฝ่ายท่ีรบั ผดิ ชอบ งานทไ่ี ดร้ บั มอบหมาย กำลงั สำเร็จ หมายเหตุ ดำเนนิ - ทำใบโครงการจัดสมั มนา ✓ - รา่ งกำหนดการจดั สัมมนา ✓ ฝ่ายเลขานกุ าร - รา่ งหนังสอื กลา่ วเปิด-ปิดงาน ✓ - ทำหนังสือขอความอนเุ คราะห์ ✓ - ออกหนงั สือตา่ ง ๆท่ีเกยี่ วขอ้ ง ✓

21 ฝา่ ยที่รับผิดชอบ งานที่ได้รบั มอบหมาย กำลัง สำเรจ็ หมายเหตุ ดำเนนิ - ออกแบบโปสเตอร์ ✓ - ประชาสมั พนั ธ์ ✓ โสตทศั นปู กรณ์ - ออกแบบโลโกง้ าน ✓ และประชาสัมพนั ธ์ - ออกแบบเบนเนอร์ ✓ ✓ - ประชาสัมพนั ธง์ านสมั มนา ✓ - ปา้ ยบอกทางเข้าห้องน้ำ ฝ่ายทีร่ ับผดิ ชอบ งานทไี่ ด้รบั มอบหมาย กำลงั สำเรจ็ หมายเหตุ ดำเนนิ - จดั เตรยี มงบประมาณ ✓ - จดั และกำหนดสัดส่วน ✓ ฝา่ ยเหรัญญิก งบประมาณ - รวบรวมรายการงบประมาณ ✓ - สรปุ งบประมาณทใ่ี ช้ ✓ ฝ่ายที่รบั ผิดชอบ งานทไ่ี ดร้ บั มอบหมาย กำลงั สำเรจ็ หมายเหตุ ดำเนิน - จัดเตรียมอาหารว่างให้ ✓ ผทู้ รงคุณวฒุ ิ - จดั เตรียมอาหารวา่ งใหผ้ ู้เขา้ ร่วม ✓ ฝ่ายสวัดิการ - จัดเตรียมพาน ✓ - แผนรองคำกลา่ วเปิด-ปดิ งาน ✓ - ป้ายสามเหลีย่ มต้ังโตะ๊ ✓ - ช่วยงานฝา่ ยพสั ดุ ✓ - เสริ ฟ์ อาหารวา่ งห็ผู้ทรงคุณวุฒิ ✓ คณาจารย์

22 ฝ่ายทร่ี ับผิดชอบ งานที่ได้รบั มอบหมาย กำลงั สำเรจ็ หมายเหตุ ดำเนิน - ติดตอ่ สถานท่จี ดั งาน ✓ - จัดเตรียมสถานทจ่ี ัดงาน ✓ ฝา่ ยอาคารสถานที่ - จัดเตรยี มเคร่ืองเสียง ไมค์ ฯลฯ ✓ - แก้วกาแฟ กานำ้ ร้อน ✓ ฝ่ายที่รับผิดชอบ งานท่ีได้รบั มอบหมาย กำลัง สำเรจ็ หมายเหตุ ดำเนนิ - ทำแบบประเมนิ ✓ ฝา่ ยทะเบียน - ใบลงทะเบยี น ✓ และประเมินผล - ปา้ ยตั้งโตะ๊ ✓ - สรปุ และประเมินผล ✓ ตารางท่ี 2 ตารางติดตามงานหนา้ ทขี่ องแต่ละฝ่ายหน้างาน ฝา่ ยทรี่ ับผดิ ชอบ งานทไี่ ด้รบั มอบหมาย กำลังดำเนิน สำเร็จ หมายเหตุ - กลา่ วเปดิ - ปดิ งาน ✓ - ดำเนินการเปิดไฟล์ในคอมพิวเตอร์ ✓ ฝ่ายประธาน - สังเกตการณ์ภายในงาน ✓ - แกไ้ ขปญั หาและตดั สนิ ในดำเนนิ การ ✓ ฝ่ายทร่ี ับผิดชอบ งานทไี่ ด้รับมอบหมาย กำลังดำเนิน สำเรจ็ หมายเหตุ ✓ - ถา่ ยวิดีโอ ✓ ฝา่ ยโสตทศั นปู กรณ์ - ถ่ายภาพภายในงาน ฝา่ ยทีร่ ับผดิ ชอบ งานท่ไี ดร้ บั มอบหมาย กำลงั ดำเนิน สำเร็จ หมายเหตุ - ต้อนรับและติดตามประธานในพิธเี ปิด ✓ ฝา่ ยอาคารสถานที่ - ดแู ลความเรียบร้อยภายในงาน ✓ - ถอื พาน ( ของทีระลกึ /ของรางวัล) ✓

23 ฝ่ายท่ีรบั ผดิ ชอบ งานที่ไดร้ ับมอบหมาย กำลงั ดำเนนิ สำเรจ็ หมายเหตุ ฝ่ายทะเบียน ✓ และประเมนิ ผล - รับลงทะเบยี น ✓ - เกบ็ แบบประเมนิ ฝ่ายท่ีรบั ผิดชอบ กำลังดำเนนิ สำเร็จ หมายเหตุ งานทีไ่ ดร้ บั มอบหมาย ✓ ฝา่ ยสวัดกิ าร - จัดเตรียมอาหารว่างแกผ่ ู้ทรงคุณวุฒิ ✓ ฝ่ายที่รับผดิ ชอบ และคณาจารย์ กำลังดำเนิน สำเร็จ หมายเหตุ - จดั เตรียมอาหารวา่ งแก่ผ้เู ข้าร่วม ฝ่ายพธิ กี ร ✓ งานที่ไดร้ ับมอบหมาย ✓ - ดำเนินงานตลอดทั้งงาน กำลังดำเนนิ สำเรจ็ หมายเหตุ - เตรยี มคำถาม ✓ ✓ ตารางท่ี 3 ตารางติดตามงานคนนอกที่มาช่วยงาน ✓ ฝา่ ยทรี่ ับผดิ ชอบ งานท่ีไดร้ ับมอบหมาย กำลังดำเนิน สำเรจ็ หมายเหตุ ฝา่ ยวิชาการ ✓ - รันเวลาภายในงาน ✓ - นบั เวลาและบอกหมดเวลา - ถอื พาน กำลังดำเนนิ สำเร็จ หมายเหตุ ✓ ฝ่ายทร่ี บั ผดิ ชอบ งานท่ไี ด้รับมอบหมาย ✓ ฝ่ายอาคารสถานที่ ✓ ฝ่ายทีร่ บั ผิดชอบ - ต้อนรบั คนเขา้ งาน ✓ - ถอื พาน ฝา่ ยสวัสดิการ งานท่ไี ดร้ ับมอบหมาย ฝ่ายทะเบียน - บริการอาหารวา่ งแกผ่ ู้ทรงคุณวฒุ ิ - บริการอาหารว่างแกผ่ ู้เขา้ รว่ ม - รบั ลงทะเบียน - เก็บแบบประเมนิ

24 บทบาทหนา้ ท่แี ละการปฏบิ ัตงิ านฝา่ ยเลขานกุ าร นางสาวนารีซา เซเมาะ หมายเลขโทรศัพท์ : 0936747390 รบั ผิดชอบฝา่ ยเลขานุการ ความรเู้ กี่ยวกบั การดำเนนิ งาน การดำเนินงานของเลขานุการ เป็นหน้าที่ที่มีบทบาทสำคัญในทุก ๆ หน่วยงาน เพราะจะทำให้ งานในสำนักงานดำเนินไปความเรียบร้อยและรวดเร็ว เลขานุการเปรียบเสมือนฟันเฟืองของเครื่องจักร ที่จะทำให้งาน ดำเนินไปอย่างราบรื่นและเรยี บร้อย เลขานุการเป็นผู้ที่ช่วยเหลือให้การสนับสนุนผ้บู ริหาร จึงต้องตอ้ งมีบุคลิก ท่เี หมาะสม เช่น มคี วามคล่องตัว มรี ะบบระเบียบ เป็นบุคคลทีน่ า่ นบั ถือและไวว้ างใจ ได้ เป็นคนที่รักและชอบงานสำนักงานในองค์กรจึงจำเป็นจะต้องมีบุคคลกรที่ทำหน้าที่เล ขานุการ เพื่อ ผู้บริหารจะได้แบ่งเบาภาระหน้าที่หรือภารกิจของผู้บริหารซึ่งเชื่อมโยงระหว่างผู้บังคับบัญชากับ ผใู้ ตบ้ ังคับบญั ชาภายในองคก์ ร ความหมายและบทบาทหนา้ ท่ีของเลขานุการ ความหมายของคำว่า “เลขานุการ” เป็นคำสนธิ มาจากคำว่า เลขา สนธิกับ อนุการ ดังนั้น “ เลขา + อนกุ ารรวมเป็นเลขานุการ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑติ ยสถาน พ.ศ. 2525 “เลขา” แปลว่า ลายรอยเขียน ตวั อักษรการเขียนการเขียนส่วนคำว่า “อนุการ” แปลว่า การทำตาม การเอาอย่าง รวมกัน แล้วคำว่า “เลขานุการ” มีความหมายว่า ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหนงั สือตามที่ผู้ใหญ่สั่งจากคำจำกัดความ ของนักวชิ าการและพจนานุกรมสามารถขยายคำจำกดั ความของคำว่า “ เลขานุการ” ได้ดังน้ี “เลขานุการ เป็นผู้ชว่ ยผูบ้ รหิ าร เปน็ ผ้มู คี วามรูค้ วามสามารถในทักษะทุกเรื่องของสำนกั งาน มีความรับผดิ ชอบในงานท่ี

25 ทำอยู่ โดยไม่ตอ้ งมกี ารควบคุมหรือส่งั การ ทงั้ ยังสามารถใช้ความคดิ เรื่องพจิ ารณาตัดสินใจในขอบเขตแห่ง อำนาจท่ีไดร้ บั มอบหมายทนั ท”ี คำว่า เลขานุการ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษ “SECRETARY” ซึ่งมาจากภาษาลาตินว่า “SECRETUM”แปลว่า “ลับ” หรือ SECRET ดังนั้น “SECRETARY” จึงแปลว่าผู้รู้ความลับ ดังนั้น ผู้ท่ี ทำงานในตำแหน่งเลขานกุ าร คอื ผรู้ คู้ วามลบั ตอ้ งเปน็ ผู้ไดร้ ับความไวว้ างใจเกบ็ ความลับของผบู้ ังคับบัญชา และขององค์กรด้วย สรุปได้ว่า การทำงานของตำแหน่งเลขานุการมีความสำคัญต่อภาครัฐและภาคเอกชน เนื่องจาก หน้าที่และบทบาทของเลขานุการเป็นหน้าท่ีต้องมีความรับผิดชอบเปน็ สำคัญและจะตอ้ งเข้าใจถึงบทบาท ของตำแหน่งนี้ดีบทบาทแรกของตำแหน่งเลขาจะต้องดำเนินงานเกี่ยวกับงานด้านเอกสาร งานธุรการต่าง ๆ และที่สำคัญคือ การจัดเก็บและดแู ลเอกสาร เพราะไม่ว่าจะเป็นงานเอกสารของทางภาครัฐหรือเอกชน จะเป็นเอกสารที่เป็นเอกสารที่เป็นความลับ ซึ่งเลขานุการจะต้องดูแลและจัดเอกสารให้เรียบร้อย และจัดเป็นหมวดหมู่ ส่วนเรื่องการจัดเตรียมที่เป็นสิ่งสำคัญ คือ การจดบันทึกรายงานการประชุม บริหารการประชุม ตั้งแต่ก่อนประชุมไม่ว่าจะเป็นการจัดเตรียมระเบียบวาระการประชุม การส่งหนังสือ เรียนเชิญประชุมต่าง ๆ และในระหว่างการประชุม เลขานุการจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวก ให้กับผู้ที่จะมาเข้าร่วมการประชุมให้มีความพร้อมทุก ๆ ด้าน และเมื่อเริ่มการประชุมจะต้องจับประเด็น ต่าง ๆ ของวาระการประชมุ ได้ และสามารถจดบันทึกรายงานผลการประชุมได้เมื่อการประชุมได้เสร็จสิน้ เรียบร้อยแลว้ บทบาทและหน้าท่ีของเลขานุการ 1. ดูแลรบั ผิดชอบจดหมายเข้าและจดหมายออก 2. จดชวเลขการสัง่ งานและถอดข้อความจากชวเลขไดร้ วดเรว็ และถกู ต้อง 3. เขยี นจดหมายโต้ตอบและพิมพ์งานต่าง ๆ ที่สำคัญ ตลอดจนรู้และสามารถอดั สำเนาเอกสารได้ 4. รวบรวมเอกสารข้อมูล เพื่อเตรียมเขยี นรายงานและร่างสนุ ทรพจน์ พมิ พร์ ่างเอกสารท่ีจะนำไป พมิ พ์โฆษณา 5. โทรศัพทต์ ดิ ต่องานและรบั โทรศัพท์ 6. ตอ้ นรบั ผทู้ ี่มาตดิ ต่อและจัดการนดั หมายใหน้ ายจ้าง 7. ชว่ ยจดั การเกย่ี วกับการประชุม

26 8. จัดทำบนั ทกึ รายงาน ร่างเอกสารต่าง ๆ ทำสถติ ิ แผนงาน แผนภาพ ตลอดจนสามารถวาง รปู แบบพมิ พ์ตา่ ง ๆ ทจี่ ำเป็นต้องใช้ในสำนักงาน 9. เขยี นและส่งโทรสารบางโอกาส 10. เกบ็ และรักษาเอกสารให้เป็นระเบียบ คน้ หาไดง้ า่ ยเมอื่ ต้องการ 11. ชว่ ยวางระเบยี บตา่ ง ๆ และตรวจตราความเรยี บร้อยของงานแทนนายจ้าง 12. จดั หาหนงั สอื อเุ ทศต่าง ๆ ทจี่ ำเป็น 13. จัดการชำระคา่ เชา่ ค่าประกันภัย และคา่ ภาษตี ่าง ๆ 14. จดั การบัญชีการเงนิ ของสำนักงาน ตดิ ต่อธนาคาร บรษิ ัทประกันภยั จา่ ยเงนิ เดือนพนักงาน 15. ควบคมุ เสมียนพนกั งานและประสานงาน โดยรับคำส่งั จากนายจา้ งมาแจ้งแกค่ นงานและ นำเสนอความคดิ เห็นของคนงานมายังนายจา้ ง 16. เสนอหนังสอื และส่งหนังสอื ทสี่ ัง่ การแลว้ ไปยงั แผนกต่าง ๆ 17. ช่วยผู้บังคับบญั ชาปรบั ปรงุ ภาระการทำงาน และดูแลความสะอาดเรียบร้อยของสำนกั งาน 18. จดั ซื้อเครื่องทุ่นแรง อปุ กรณส์ ำนักงาน ตลอดจนเคร่ืองเขยี นและวดั สทุ ีจ่ ำเป็น 19. งานดา้ นคอมพิวเตอร์ ต้องดแู ลการวางระบบคอมพวิ เตอร์เพื่อช่วยงานดา้ นเอกสารสามารถใช้ งานคอมพิวเตอรท์ ัง้ การเก็บข้อมูลและจัดทำสถติ ิไดด้ ้วย บุคลิกของเลขานุการที่ดี 1. บริหารจัดการตัวเองได้ดี สามารถทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพรอบรู้ในธุรกิจของบริษัท เพราะบ่อยครั้งที่คุณต้องเป็นตัวแทนของเจ้านายไปประชุม หารือกับหน่วยงานตา่ ง ๆ หรอื เป็นตัวแทนในการติดตอ่ กับลกู ค้า 2. มีทักษะในการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ และประสานงานระหว่างแผนกหรือหน่วยงานต่าง ๆ ไดอ้ ยา่ งคล่องแคลว่ สร้างความประทบั ใจดว้ ยใบหน้ายม้ิ แยม้ และนำ้ เสียงท่นี า่ ฟังเสมอ 3. เตรียมการล่วงหน้าได้ดี เลขาฯที่ดีต้องมีการวางแผนล่วงหน้า ในการเตรียมข้อมูลต่าง ๆ ให้กับเจา้ นายใหพ้ รอ้ มสำหรับการประชุม การตอบคำถามและคำขอต่าง ๆ 4. มีความเป็นมืออาชีพทั้งบุคลิกภายนอกและความคิดความอ่าน เลขาฯที่ดีควรแต่งกายให้ดูดี เป็นหน้าเป็นตาใหก้ ับเจ้านายและบริษัท ร้จู ักความเหมาะสมวา่ เม่ือไรควรพูด และเมอ่ื ไรไม่ควรพดู 5. มีทักษะในการฟัง จับประเด็น และจดจำรายละเอียดต่าง ๆ ได้ดี รวมทั้งการสะกดคำ และการทำความเขา้ ใจกับลายมือที่ยงุ่ เหยิงของเจา้ นายด้วย

27 การเตรียมตัวของเลขานุการ 1. เตรยี มร่างคำกลา่ วเปิด - ปิดในงานการจดั สัมมนา 2. เตรียมรา่ งคำกลา่ วรายงานในการจดั สมั มนา 3. ทำใบขออนุญาตใชส้ ถานที่ ยืมอปุ กรณต์ า่ ง ๆ และดแู ลการจัดสถานท่ีให้เรยี บร้อย 4. เตรยี มหนงั สือเรียนเชิญผ้ทู รงคณุ วุฒิ ประธาน วิทยากร ผูด้ ำเนินรายการ ผู้เขา้ รว่ มสัมมนา ผ้ใู ห้การสนับสนุน 5. เตรยี มหนังสือขอความอนเุ คราะห์ สนับสนนุ 6. ดแู ลงานนิทรรศการสัมมนา 7. ยกรา่ งค่มู ือสัมมนา ติดตามความก้าวหน้าของฝ่ายต่าง ๆ ควบคุมดูแล และตดิ ตามงานฝา่ ยต่าง ดงั น้ี - ฝ่ายสวัสดิการ - ฝา่ ยโสตทัศนูปกรณ์ - ฝ่ายประสานและอาคารสถานที่ ตารางท่ี 4 ภาระงานของเลขานุการ ฝา่ ยทรี่ บั ผดิ ชอบ งานทไี่ ด้รบั หมอบหมาย กำลังดำเนิน สำเร็จ หมายเหตุ - ทำหนังสือขอความอนุเคราะหง์ บ ✓ ประมณ ✓ ✓ ฝา่ ยเลขานุการ - เตรยี มรา่ งคำกลา่ วรายงานในการ ✓ จดั สมั มนา ✓ - ทำใบขอสถานที่และดูแลการจดั ✓ สถานที่ให้เป็นที่เรยี บร้อย - เตรยี มหนังสอื อนุญาตขอยมื อุปกรณ์ จากแผนกหรือหนว่ ยงาน ต่าง ๆ - ทำหนงั สอื เชิญผู้ทรงคณุ วุฒใิ น โครงการสมั มนา - ทำหนงั สอื เชิญประธานเปดิ พิธี

28 ตารางท่ี 5 ตารางการติดตามงานแต่ละฝา่ ย ฝ่ายทร่ี บั ผิดชอบ งานท่ไี ด้รับมอบหมาย กำลงั ดำเนนิ สำเรจ็ หมายเหตุ - จัดหาอาหารวา่ ง และเคร่ืองด่ืมใหป้ ระธาน ✓ ในพธิ ี - จดั หาอาหารว่าง และเครอื่ งดื่มให้ ✓ ผูท้ รงคณุ วุฒิ และคณาจารย์ - จัดหาอาหารว่าง และเครือ่ งดื่มใหผ้ ู้เข้าร่วม ✓ และผู้นำเสนอโครงร่าง ฝ่าย - ดแู ลในเรอ่ื งสถานที่ คำนึงถึงความสะอาด ✓ สวัสดกิ าร ✓ - จดั เตรยี มภาชนะใหเ้ พยี งพอกับ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขา้ ร่วม - จดั เตรียมเจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย ✓ - จัดเตรยี มของทร่ี ะลกึ ให้แกป่ ระธานในพิธี ✓ ผู้ทรงคณุ วฒุ แิ ละคณาจารย์ ฝ่ายทีร่ ับผดิ ชอบ งานท่ีได้รับมอบหมาย กำลังดำเนนิ สำเรจ็ หมายเหตุ - ออกแบบโลโก้ประจำกลุม่ โลโก้งานสมั มนา ✓ - ออกแบบโปสเตอรป์ ระชาสมั พันธ์ ✓ ✓ ฝ่าย - จัดทำวิดีทศั น์ เพอ่ื แนะนำเขา้ สหู่ ัวข้อ ✓ โสตทัศนูปกรณ์ สมั มนาในการเชญิ ชวนเขา้ สัมมนา - เตรยี มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เชน่ โปรเจคเตอร์,ไมค,์ เครื่องเสียง

29 - ถ่ายภาพ และบันทึกภาพ เพื่อจัดทำวดิ ีโอ ✓ ประมวลภาพบรรยากาศการสัมมนา หลงั งานสมั มนาเสรจ็ ฝา่ ยท่รี ับผดิ ชอบ งานทไี่ ด้รับมอบหมาย กำลังดำเนิน สำเร็จ หมายเหตุ - ความคืบหนา้ เร่ืองตดิ ต่อกับกลุ่มสมั มนาอื่น ✓ เพื่อต้องการทราบถงึ หัวข้อสัมมนา ฝา่ ยประสานและ - ติดต่อกับบคุ คลท้งั ภายในและภายนอก อาคารสถานที่ ในการสอบถามขอ้ มูลที่เก่ียวข้อง ✓ กบั การจัดสัมมนา - ติดต่อเร่ืองสถานท่ีจดั สมั มนา ✓ - อปุ กรณ์เคร่ืองเสยี ง ✓

30 บทบาทและหน้าที่และการปฏบิ ัติงานของฝ่ายเหรัญญกิ นางสาวนูรมี บาโด หมายเลขโทรศัพท์ : 0803745110 รับผดิ ชอบตำแหน่งเหรัญญิก ความรู้เกย่ี วกับการดำเนนิ งาน เหรัญญิก เป็นบุคคลทีท่ ำหน้าท่ีควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี งบประมาณค่าใช้จ่ายตา่ ง ๆของแต่ละฝ่าย สามารถตรวจสอบเกี่ยวกับงบประมารของแตล่ ะฝ่ายทีเ่ สนอมา และเข้มงวดเกี่ยวกับการ จา่ ยเงนิ ให้แก่ ฝา่ ยตา่ ง ๆ ซง่ึ จะตอ้ งมีหลักฐานการรับและการจา่ ยเงินอยา่ งชัดเจน สามารถตอบคำถามแก่ ทุกฝา่ ยได้และตอ้ งจัดทำบัญชรี ายรบั รายจา่ ย และงบดุลใหเ้ ปน็ ทเี่ รยี บร้อยเมือ่ การสัมมนาได้เสร็จสิน้ เนื่องในการจัดงานสัมมนาจะต้องมีการจัดทำเอกสารประกอบในการสัมมนาการจัดอาหารว่าง ให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนา ทางผู้จัดสัมมนาได้มีการจัดเก็บงบประมาณ เพื่อเป็นการใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ ทเี่ กีย่ วขอ้ งในการจดั สัมมนา (ธรี มนต์ จนั ทรเกตุ และคณะ, 2545) บคุ ลิกของเหรญั ญกิ ที่ดี ลกั ษณะสำคญั ของกรรมการฝา่ ยเหรญั ญิก สงิ่ สำคญั ทสี่ ุดก็คือ ตอ้ งมคี วามซอ่ื สตั ย์มีความรับผิดชอบ ยดื หย่นุ เจา้ ระเบยี บ มีเหตมุ ีผล มหี ลกั การ มีมนษุ ยส์ มั พันธ์สุภาพ มนี ำ้ ใจ 1. ความซื่อสัตย์ ความชื่อตรง มั่นคงอยู่ในศีลธรรม มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น มีความ สุจริต ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ซึ่งความซื่อสัตย์นี้จะไม่ทำให้บุคคลรอบข้างของเราเดือดร้อน และแล้วความซื่อสตั ยน์ ั่นกจ็ ะนำพามาซึง่ ความเจริญของบา้ นเมือง

31 2. มีความรับผิดชอบ หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลซึ่งแสดงออกโดยมีความสนใจ ใส่ใจ ตั้งใจ จรงิ ทีจ่ ะปฏบิ ตั หิ นา้ ที่ ซึ่งได้รบั มอบหมายด้วยความพากเพียร พยายาม อดทนต่ออปุ สรรคใด ๆ ที่ขัดข้อง มีการวางแผนงานอยา่ งละเอยี ดรอบคอบ 3. มีระเบียบ มีเหตุผล มีหลักการในการจัดงบประมาณในการจัดสัมมนา แล้วนำมาสรุป ให้สมาชิกในกลมุ่ ทราบ เพอ่ื สมาชิกในกล่มุ รับรใู้ นงบประมาณทใ่ี ชใ้ นการจัดสัมมนา 4. ปฏิบตั ติ นเองให้มวี ินยั ตามหนา้ ท่ีงานทีไ่ ด้รบั มอบหมายไวอ้ ยา่ งเครง่ ครัด บทบาทและหนา้ ท่ขี องเหรญั ญิก หน้าทขี่ องเหรญั ญกิ มหี นา้ ท่ีควบคุมดแู ลเกี่ยวกับการเงินในการจดั สัมมนาดังน้ี 1. เกบ็ เงินหอ้ งสำหรับการใช้ในการจดั สมั มนาในคร้งั นี้ 2. จดั สรรงบประมาณให้ฝ่ายตา่ ง ๆ สำหรบั ใชใ้ นการดำเนนิ งาน 3. ควบคมุ การเบิก - จา่ ยในการจดั สมั มนา 4. ทำบญั ชีรายรับรายจ่าย 5. รวบรวมเอกสารทางการเงินเพื่อเปน็ หลักฐานในการเบิก – จา่ ย เช่น ใบเสร็จรายการส่งั ซื้อ ตารางที่ 6 ตารางภาระงานของฝา่ ยเหรัญญกิ ฝ่ายท่รี บั ผดิ ชอบ งานที่ได้รบั มอบหมาย กำลังดำเนนิ สำเร็จ หมายเหตุ - ควบคุมดแู ลเกี่ยวกบั ค่าใชจ้ ่ายต่าง ๆ ✓ ฝ่ายเหรญั ญกิ - เก็บใบเสร็จจากการซื้อของ ✓ - เก็บเงนิ กบั สมาชกิ ในกลุ่ม ✓ - จัดทำบญั ชรี ายรับ-รายจ่าย ✓ ตารางท่ี 7 ตารางแจกแจงการใช้งบประมาณ จำนวน ราคา รวม รายการ 10 ชน้ิ 120 120 1. ฝา่ ยสวสั ดกิ าร 1. อาหารวา่ งสำหรับประธานในพิธี ผ้ทู รงคณุ วุฒิ 59 ชน้ิ 80 1,100 จำนวน ราคา รวม และคณาจารย์ 2. ของทรี่ ะลกึ (เขม็ กลดั , ผา้ ปาเตะ๊ ) รายการ

32 3. กาแฟ 5 ซอง 3 15 4. โอวลั ตนิ 15 5. ไมโล 3 ซอง 5 15 6. อาหารวา่ ง (ข้าวเหนียว, นำ้ เต้าหู้) 880 7. น้ำดมื่ 5 ซอง 3 300 10.ขา้ วเทยี่ ง (ขนมจนี แกงเขยี วหวาน) 1,000 9. อาหารว่าง (ขนมชนั้ , ลกู ชบุ ) 110 ชุด 8 600 10. ถุงกระดาษ 63 2 ลงั 150 4,108 รายการ รวม 2. ฝา่ ยโสตทศั นูปกรณ์ 50 กล่อง 20 40 1. สติก๊ เกอร์โลโก้ 50 ชิ้น 12 324 2. ปริ้นบัตรSTAFF, โลโก้ 8 3. โปสเตอร์ประชาสัมพนั ธ์ 1 แพ็ก 63 140 4. โลโก้งานสัมมนา 265 5. บอรด์ นิทรรศการ รวมเปน็ เงนิ (บาท) 687 3. ฝ่ายทะเบียน จำนวน ราคา 107 1. ใบลงทะเบยี นเข้าร่วมสัมมนา 107 1 แผ่น A3 40 4. ฝ่ายประเมนิ 16 1. ใบประเมนิ การจดั สัมมนา 27 แผ่น 12 16 5. ฝา่ ยประสานงาน 4 แผน่ 2 60 1. ใบกำหนดการ,ใบโครงการ 10 2. เอกสารบนั ทกึ ข้อความ 4 ช้ิน 35 15 3. ซองจดหมาย 85 -- รวมเป็นเงิน (บาท) - 107 รวมเป็นเงิน (บาท) 8 แผน่ 2 รวมเปน็ เงิน (บาท) -- -- -- รวมเปน็ เงนิ (บาท)

33 6. ฝา่ ยวิชาการ 3 เล่ม 172 510 1. คู่มอื การจัดสัมมนา 7 เลม่ 84 662 2. เอกสารประกอบการสัมมนา 56 3. ปากกาและแฟ้ม 4 14 235 5. ปรนิ้ เอกสารจำเปน็ อืน่ ๆ รวมเปน็ เงิน (บาท) 1,463 จำนวนเงิน ค่าใชจ้ า่ ยของแต่ละฝา่ ย รวมเปน็ เงนิ (บาท) (บาท) 4,108 1. ฝา่ ยสวัสดกิ าร 587 2. ฝา่ ยโสตทัศนูปกรณ์ 107 3. ฝ่ายทะเบยี น 16 4. ฝ่ายประเมิน 85 5. ฝา่ ยประสานงาน 1,463 6. ฝา่ ยวชิ าการ 6,366

34 บทบาทหน้าทแี่ ละการปฏบิ ัตงิ านของฝา่ ยพิธกี ร นางสาวอารยี า ปะดอ นางสาวรกั ชนก รตั นะ หมายเลขโทรศัพท์ : 0948070277 หมายเลขโทรศัพท์ : 0980752026 รบั ผิดชอบตำแหนง่ พิธกี ร ความรเู้ ก่ียวกบั การดำเนนิ งาน พิธีกร ถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญมาก บุคลากรที่จะต้องพูดโดยใช้ความสามารถเฉพาะตน จากการฝึกฝนและศึกษาเท่านั้น เพราะจะต้องเป็นผู้ดำเนินรายการตลอดทั้งงาน โดยจะมีหน้าที่เป็นผู้ ควบคุมหรือกำกับรายการให้เชือ่ มโยงกับกิจกรรมภายในงาน ตั้งแต่เริ่มงานจนเสรจ็ ส้ินกิจกรรมเรียบร้อย ตามวัตถุประสงค์ ฉะนั้น จะต้องมีการเตรียมตัวเตรียมใจก่อนจะเริ่มต้นที่จะทำหน้าที่ในการเป็นพิธีกร ในกิจกรรมตา่ ง ๆ ตามกำหนดการท่ีวางไว้ ซงึ่ พธิ กี รจะต้องทราบและเขา้ ใจกิจกรรมนั้น ๆ ของงานสัมมนา อีกทั้ง ยังต้องให้ทัศนะ ในโอกาสที่จะต้องปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์ ในแต่ละกิจกรรม ซึ่งพิธีกรจะถูก กลา่ วถงึ มากในกรณที เี่ ป็นทางการ และต้องมกี ารเตรยี มความพรอ้ มในการทำหน้าทด่ี ้วยความรับผดิ ชอบ บทบาทและหน้าทข่ี องพธิ กี ร ผูน้ ำด้านพิธกี รมดี ังนี้ 1. ผู้ควบคมุ หรอื กำกบั รายการภาคพิธีการ 2. รบั ผดิ ชอบการดำเนนิ รายการภาคพิธกี ารเพียงผูเ้ ดยี ว (หรอื คู่) 3. ทำหน้าทเ่ี ฉพาะลักษณะงาน เปน็ งานๆไป 4. ทำหนา้ ท่ีเฉพาะสว่ นพิธีการเท่านัน้

35 5. เปน็ ผู้สรา้ งและควบคมุ บรรยากาศของภาคพิธกี าร 6. เป็นผ้พู ดู คนแรกและคนสดุ ทา้ ยของภาคพิธีการ บทบาทบนเวทขี องพิธีกร การทำงานหรือการปฏิบตั ิหน้าทีอ่ ันแทจ้ รงิ ของพิธีกร คือ “การแสดงบทบาทบนเวที” นับต้งั แต่ เริ่มพิธไี ปจนกระท่งั เสรจ็ พิธี พิธกี ารจะดีหรือไม่ พธิ กี รจะมฝี มี ือขนาดไหน ดกู ันที่บทบาทบนเวทเี ป็นสำคญั บุคลิกของพิธีกรทด่ี ี 1. มกี ารเตรียมพรอ้ ม และซ้อมมาอย่างดี 2. มที า่ ทที สี่ ง่างาม หน้าตาสุขุม 3. เริ่มตน้ ให้มีความโน้มน้าว มกี ารเลา่ เรือ่ งราวให้กระชบั 4. สบตาท่ีผ้ฟู งั ใช้นำ้ เสยี งให้พอดี 5. ยมิ้ แย้มแจ่มใสตลอดเวลา ตารางที่ 8 ตารางภาระงานของฝา่ ยพิธีกร ฝ่ายทร่ี บั ผดิ ชอบ งานทไี่ ด้รบั มอบหมาย กำลังดำเนิน สำเร็จ หมายเหตุ ✓ ฝ่ายพธิ ีกร - บทคำพูดประกอบงาน ✓ - ควบคุมหรอื กำกับรายการภาค พธิ ีการตามกำหนดการ

36 บทบาทหน้าที่และการปฏบิ ัตงิ านของฝา่ ยทะเบียนและวิชาการ นางสาวนาซเี ราะห์ แวดาโอะ นางสาวนางสาวสุวรรณา หมน่ิ เสน็ นางสาวนัซริน เจะยะปาร์ หมายเลขโทรศัพท์ : 0655522150 หมายเลขโทรศัพท์ : 0835080758 หมายเลขโทรศัพท์ : 0648706529 รบั ผดิ ชอบตำแหน่งทะเบียนและวชิ าการ ความรเู้ ก่ยี วกับการดำเนนิ งาน ฝ่ายทะเบียนและวิชาการที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบค่อนข้างกว้างพอสมควร อาจทำให้เกิด ความสับสน เนื่องจากงานทะเบียนและวิชาการด้านนี้มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันกับงานของ เลขานกุ าร แตง่ านด้านฝ่ายทะเบียนและวชิ าการน้ีจะมีความแตกต่างกับงานของฝ่ายเลขานุการตรงท่ีจะมี การประสานงานเปน็ หลัก โดยฝ่ายทะเบยี นและวชิ าการนีเ้ ปน็ งานประเภทที่เรียกว่าเป็นฝา่ ยสนบั สนุน คือ จะคอยเข้าไปประสานงานหรือช่วยเหลือในฝ่ายอื่น ๆ และโดยรวมแล้วหลัก ๆ ฝ่ายทะเบียนและวิชาการ จะเปน็ งานทีเ่ กี่ยวขอ้ งกับการดูแลดา้ นเอกสารตา่ ง ๆ ทำหน้าทเี่ ตรยี มการเกยี่ วกับผู้เขา้ ร่วมสัมมนาทั้งหมด ทำการสำรวจจำนวนผู้เข้าร่วมสัมมนา และหน้าที่เตรียมเอกสารจัดทำแฟ้มการลงทะเบียน (สมจิตร เกิด ปรางค์, 2545) เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการจัดงาน และเป็นการเตรียมการเกี่ยวกับผู้เข้าร่วม สมั มนาทง้ั หมด รวมไปถงึ การเตรยี มความพร้อมของคนในการลงทะเบยี น เพือ่ จะได้ทราบถงึ จำนวนคนใน การเข้ารว่ มงานสมั มนา

37 บทบาทหนา้ ที่ของทะเบยี นและวชิ าการ 1. เตรยี มเอกสารแบบฟอร์มสำหรับลงทะเบียนของผจู้ ัดสัมมนา ผ้ทู รงคณุ วฒุ แิ ละคณาจารย์ ผู้เขา้ ร่วมสมั มนาและผู้นำเสนอ 2. จัดทำปา้ ยต้งั โต๊ะสำหรบั ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการและผ้สู มั มนา 3. ประสานงานกับฝา่ ยสถานท่แี ละฝ่ายวิชาการ 4. เตรียมข้อมลู ของผูเ้ ข้ารว่ มสัมมนาทั้งหมด 5. จัดเตรยี มเอกสารและจดั ทำแฟ้มการสมั มนา 6. รับผดิ ชอบในการควบคุมดูแลและรวบรวมเอกสารการนำเสนอบทความวชิ าการ คุณสมบัติของผู้ปฏิบตั ิงานฝ่ายทะเบียนและวชิ าการ 1. เป็นผูม้ ีความรับผดิ ชอบและอดทนตอ่ งานทีท่ ำสงู 2. มที ศั นคติท่ดี ีเปน็ ไปในแงบ่ วก 3. มคี วามคลอ่ งแคล่ว 4. มมี นษุ ยส์ ัมพันธ์ทีด่ ี และมีใจรักในงานดา้ นการบรกิ าร 5. มคี วามละเอียดรอบคอบ 6. เปน็ คนใจกวา้ ง ยอมรับฟังความคดิ เหน็ ของผู้อ่นื 7. การชว่ ยเหลือผอู้ นื่ คอื หวั ใจหลกั แห่งการทำงาน 8. มคี วามใจเยน็ เก็บอารมณไ์ ด้ 9. มคี วามภาคภมู ใิ จในหน้าที่การปฏิบัติงานของตน การเตรยี มตัวในหนา้ ทขี่ องฝ่ายทะเบียนและวิชาการ 1. เตรยี มงานทีไ่ ดร้ ับมอบหมาย 2. ประสานงานไปยังฝา่ ยต่าง ๆ 3. ดแู ลเร่ืองเอกสาร เชน่ กำหนดการ เป็นต้น สรุปงานฝ่ายทะเบียนและวิชาการจัดเป็นงานที่สำคัญภายในการสัมมนาเลยก็ว่าได้ และ จำเป็นต้องใช้ความอดทนและทำงานในสภาวะความกดดันได้ เพราะบางครั้งอาจเจอกับเพื่อนร่วมงานท่ี ยากต่อการควบคุมหรือสร้างความยุ่งยากให้แก่การทำงาน จึงต้องอาศัยความอดทนและความรักในงาน ทางดา้ นนี้เป็นหลกั

38 ตารางท่ี 9 ตารางภาระงานของฝ่ายทะเบียนและวิชาการ ฝา่ ยท่ีรับผิดชอบ งานทไี่ ด้รบั มอบหมาย กำลังดำเนนิ สำเรจ็ หมายเหตุ ✓ ฝ่ายทะเบียน - เตรยี มเอกสารแบบฟอร์มสำหรับ และวิชาการ ลงทะเบียนของผู้จดั สมั มนา ✓ ผู้ทรงคุณวฒุ ิและคณาจารย์ ผเู้ ขา้ ร่วมสมั มนาและผู้นำเสนอ ✓ ✓ - จดั ทำปา้ ยโต๊ะสำหรบั ผจู้ ดั สัมมนา ✓ ผูท้ รงคุณวุฒิและคณาจารย์ ✓ ผู้เขา้ ร่วมสัมมนาและผูน้ ำเสนอ ✓ - ประสานงานกบั ฝา่ ยสถานทแี่ ละ ฝา่ ยวิชาการ - เตรยี มขอ้ มลู ของผู้เขา้ ร่วมสัมมนา ทงั้ หมด - จัดทำเตรียมเอกสารและจัดทำ แฟ้มการสมั มนา - รับผดิ ชอบในการควบคมุ ดูแล และรวบรวมเอกสารการนำเสนอ โครงร่างงานวจิ ยั - คู่มือสัมมนา

39 บทบาทหนา้ ทแ่ี ละการปฏบิ ัตงิ านฝ่ายโสตทศั นูปกรณ์และประชาสมั พันธ์ นางสาวนางสาวพลิ าสลักษณ์ พรหมทอง นางสาวอามีเนาะห์ สนเิ ลาะ หมายเลขโทรศัพท์ : 0830878536 หมายเลขโทรศัพท์ : 0632418892 รับผิดชอบตำแหน่งโสตทศั นปู กรณ์และประชาสัมพันธ์ ความรเู้ กี่ยวกับการดำเนินงาน ฝ่ายโสตทำหน้าที่ดำเนินงานเบื้องหน้าและเบื้องหลังงานสัมมนา โดยฝ่ายโสตจะรับผิดชอบใน งานถา่ ยภาพกิจกรรมที่เกดิ ข้นึ ในวันจดั สัมมนา ซง่ึ แบง่ ออกไดด้ ังนี้ 1. ภาพบรรยากาศโดยรวมในวันจัดสัมมนา 2. ถ่ายภาพบุคคล ( ประธาน, ผทู้ รงคุณวุฒิ, คณะกรรมการ, ผนู้ ำเสนอ และผเู้ ขา้ ร่วม ) 3. ถ่ายภาพชว่ งการนำเสนอการแลกเปล่ยี นความคิดเพ่ือลกู รวมภาพกิจกรรมในงานสมั มนา โดยมีการบนั ทึกภาพตัง้ แตผ่ รู้ ว่ มงานลงทะเบยี น การเปดิ งาน การนำเสนอ การแลกเปลยี่ นความ คิดเหน็ ระหว่างคณะกรรมการ และผู้นำเสนอ จนกระท่ังจบงานสัมมนาสว่ นเบอ้ื งหลงั ฝา่ ยโสตจะ รบั ผิดชอบออกแบบโลโกท้ ีม โลโก้งานสัมมนา และโปสเตอร์ประชาสัมพนั ธ์รวมถึงเพ่ือเชญิ ชวนให้ ทราบถึงวันงานสมั มนาและหัวขอ้ ในการสมั มนา

40 บทบาทหนา้ ท่แี ละภาระงาน 1. ประสานงานกับผู้รบั ผดิ ชอบและหอ้ ง ดูแลห้องสมั มนาหรอื หน้าหรือเจา้ หนา้ ทีด่ แู ลหอ้ งสมั มนา 2. ตรวจสอบความพร้อมของอปุ กรณ์ทกุ ชนิด 3. ดำเนินการติดตั้งอปุ กรณ์ใหใ้ ช้งานได้อย่างมปี ระสิทธภิ าพ 4.ประสานงานกับผู้นำเสนอเร่ืองการใช้สอื่ โสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ 5. ควบคมุ ระบบสื่อโสตทศั นูปกรณห์ อ้ งจดั สมั มนา 6. อำนวยความสะดวกใหแ้ ก่ผนู้ ำเสนอในขณะปฏบิ ัตงิ าน 7. เก็บภาพบรรยากาศภายในงานท้งั ท่ีเป็นภาพน่งิ และภาพเคล่ือนไหว ตารางท่ี 10 ตารางภาระงานของฝ่ายโสตทสั นปู กรณ์และประชาสัมพันธ์ ฝา่ ยท่ีรบั ผดิ ชอบ งานท่ไี ด้รบั มอบหมาย กำลงั ดำเนนิ สำเร็จ หมายเหตุ ✓ - ออกแบบโลโก้ประจำกล่มุ ✓ ✓ - ออกแบบโลโก้งานสมั มนา ✓ ฝา่ ย - ออกแบบโปสเตอรป์ ระชาสมั พันธ์ ✓ โสตทศั นปู กรณ์ - จัดทำวิดีทัศน์ เพ่อื แนะนำเขา้ ส่หู ัวข้อ ✓ และ - สมั มนาในการเชญิ ชวนเข้าสัมมนา ประชาสัมพันธ์ ถา่ ยภาพกิจกรรมตัง้ แต่เริม่ ✓ ลงทะเบยี น จนกระทัง่ จบงานสมั มนา - เตรียมอปุ กรณ์อิเลก็ ทรอนิกส์ เช่น โปรเจคเตอร์,ไมค,์ เครอ่ื งเสียง - การบันทึกภาพ เพ่ือจดั ทำวดิ ีโอ ประมวลภาพบรรยากาศการสมั มนา หลังงานสมั มนาเสรจ็


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook