Kaiju Movies
สารบัญ ภาพยนตร์ 1 ประวัติเเละที่มา 2-3 ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์ เรื่องเเรกของโลก ประวัติเเละที่มาของ Kaiju 4 5-10
ภาพยนตร์ ภาพยนตร์เป็นกระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายในลักษณะ ที่แสดงให้เห็นภาพเคลื่อนไหว(Motion Picture) ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภา พนยตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอริยาบทหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกัน เป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจ เป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ด้วยคุณลักษณะ พิเศษของภาพยนตร์ที่สามารถแสดงให้เห็นภาพและเสียงอันน่าสนใจ ภาพยนตร์จึงเป็นสื่อมวลชนที่มีบทบาทและอิทธิพลในด้านต่างๆ เป็นอย่างสูง มาตลอดเวลานับร้อยปี จนปัจจุบันแม้จะมีสื่อประเภทอื่นเกิดขึ้นมากแล้ว แต่ ภาพยนตร์ก็ยังอยู่ในความนิยม และได้รับการพัฒนาให้มีบทบาทสำคัญอยู่ เสมอ โดยเฉพาะในกิจการด้านธุรกิจการบันเทิง และยังมีคุณค่าอย่างสูง สำหรับการศึกษา เนื่องจากภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีคุณลักษณะพิเศษ สามารถ ทำให้เข้าใจเรื่องราวได้อย่างลึกซึ้ง 1
ประวัติเเละที่มาของ ภาพยนตร์ กำเนิดภาพยนตร์ของโลก ภาพยนตร์ที่ถือว่าเป็นต้นแบบของภาพยนตร์ในปัจจุบันคิดประดิษฐ์ ขึ้นโดย โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison) และผู้ร่วมงานของเขาชื่อ วิลเลียม เคนเนดี้ ดิคสัน (William kenady dickson) เมื่อ พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกชื่อว่า \"คิเนโตสโคป\" (Kinetoscope) มีลักษณะเป็นตู้สูง ประมาณ 4 ฟุต มักเรียกชื่อว่า \"ถ้ำมอง\" เพราะต้องดูผ่านช่องเล็กๆ ดูได้ที่ละคน ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ (Kenetograph) ที่เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นเอง ฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา เคลื่อนที่เป็นวงรอบ ผ่านช่องที่มีแว่นขยายกับ หลอดไฟฟ้าด้วยความเร็ว 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาลดลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาที พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เป็นคนไทยพระองค์แรกที่ได้ ชมภาพยนตร์แบบนี้ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีผู้นำมาถวายให้ทอด พระเนตรเมื่อคราวเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา ในปี พ.ศ. 2439 2
ต่อมาพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนา ภาพยนตร์ถ้ำมองของเอดิสันให้สามารถฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ สำหรับดู พร้อมกันหลายคน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์แบบนี้ว่า แบบ \"ซีเนมาโต กราฟ\" (Cinimatograph) นำออกมาฉายตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ พ.ศ. 2439 เป็นต้นมา ซึ่งคำว่า \"ซีเนมา\" (Cenema)ได้ใช้เรียก เกี่ยวกับภาพยนตร์มาถึงปัจจุบัน ภาพยนตร์ที่สามารถฉายภาพให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ได้อย่าง สมบูรณ์พัฒนาขึ้นในอเมริกาในปี พ.ศ. 2438 โดยความร่วมมือระ หว่างโทมัส อาแมท (Thomas Armat) ซีฟรานซิส เจนกินส์ (C. Francis Jenkins) และเอดิสัน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์ชนิด นี้ว่า ไบโอกราฟ (Bioghraph) ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้แพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เกิดอุตสาหกรรมการผลิตจำหน่ายและบริการฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่ หลายแห่ง ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศสและอเมริกา ภาพยนตร์ได้กลายเป็น สื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ ศิลปการบันเทิงและวรรณกรรมต่างๆ ที่ได้รับ ความนิยมอย่างกว้างขวางตลอดมา พ.ศ. 2440 พระเจ้าอยู่หัวราชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศ ต่างๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งในครั้งนั้นได้มีช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ ประเทศ ฝรั่งเศสบันทึกภาพยนตร์การเสด็จถึงกรุงเบอร์นของพระเจ้ากรุงสยาม ไว้ 1 ม้วน ใช้เวลาประมาณ 1 นาที นับว่าเป็นการถ่ายภาพยนตร์ม้วน แรกของโลกที่บันทึกเกี่ยวกับชนชาติไทย (โดม สุขวงศ์ 2533 :2-3 เยาวนันท์ เชฏฐรัตน์ 2529 : 6-20 3
ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์ เรื่องเเรกของโลก ภาพยนตร์เรื่องแรกของโลกชื่อว่า \"Arrival of a Train at La Ciotat\" ฉายครั้งแรกที่กรุงปารีส เมื่อวัน ที่ 28 ธันวาคม 1895 มีความยาวประมาณ 50 วินาที นักประดิษฐ์พี่น้องตระกูลลูมิแอร์ สองท่านคือ Auguste และ Louise Lumiere ได้สร้างกล้องถ่ายภาพยนตร์ขึ้น โดยให้ชื่อว่า Cinematogra การจัดฉาย ภาพยนตร์เรื่อง \"Arrival of a Train at La Ciotat\" ให้สาธารณะชนชมเป็นครั้งแรกนั้น ถูก จัดให้มีขึ้น ณ ห้องใต้ถุนของร้าน Grand Cafe ในกรุง ปารีส เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 1895 4
ประวัติเเละที่มา ของ Kaiju ถ้าจะพูดถึงภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ประหลาดในใจของเรา แน่นอนว่าหนังมอนสเตอร์ยักษ์จากญี่ปุ่น หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า ‘หนังไคจู (Kaiju)’ นั้น คงจะเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ที่แว่บเข้ามาใน หัวของทุกคนอย่างแน่นอน แม้ว่าสัตว์ประหลาดบนแผ่นฟิล์มหลายตัว จะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและน่าจดจำกัน แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ไคจู มักจะกลุ่มที่ครองใจผู้ชมอย่างเหนียวแน่นเสมอ ไคจู เป็นคำศัพท์ของญี่ปุ่น มีความหมายว่าสัตว์ประหลาดขนาดมหึมา โดยสมัยก่อนมักจะใช้อ้างอิงถึงตำนานสิ่งมีชีวิตโบราณของญี่ปุ่น ในยุค ต่อมา เมื่อญี่ปุ่นเริ่มเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ คำว่าไคจูจึง ขยายไปให้ครอบคลุมถึงสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์และสิ่งมีชีวิตในตำนานจาก ทั่วโลก จนมาถึงยุคปัจจุบันไคจูได้ถูกใช้เป็นคำนิยาม อันหมายถึงสัตว์ ประหลาดขนาดใหญ่ที่ออกมาเพื่อทำลายตึกรามบ้านช่อง และถูกจำใน ฐานะประเภทของหนังในที่สุด 5
Godzilla 1954 เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า โกจิระ หรีอ ก็อดซิลล่า (Godzilla) คือราชันย์ สัตว์ประหลาดที่โด่งดัง จนกลายเป็นภาพจำของหนังไคจูไปโดยปริยาย ซึ่งหลายคนก็คิดว่าก็อดซิลล่านั้นเป็นหนังมอนสเตอร์เรื่องแรกใช่ไหมล่ะ คำตอบคือผิด ก็อดซิลล่านั้นไม่ใช่หนังมอนสเตอร์เรื่องแรกแต่อย่างใด เพียงแต่ก็อดซิลล่าคือหนังที่ทำให้นิยามของคำว่าไคจูเด่นชัดขึ้นมา และ บทความนี้จะพาคุณมาเจาะลึกไปถึงประวัติความเป็นมาของหนังไคจูกัน 6
ย้อนกลับไปในช่วงยุค 30 สมัยนั้นผู้คนตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่ The Lost World (1925) นำเหล่าไดโนเสาร์ให้กลับมามีชีวิต บนจอภาพยนตร์ด้วยเทคนิคสตอปโมชัน (เทคนิคที่ผู้สร้างต้อง สร้างแบบจำลองขึ้นมาและทำให้แบบจำลองนั้นมีชีวิตได้ด้วยการ ขยับทีละเฟรม) และต่อมาภาพยนตร์อย่าง King Kong ก็ได้ ต่อยอดเทคนิคนี้มาใช้ ผสมผสานด้วยหุ่นกลแอนิเมทรอนิกส์จน ทำให้คนดูตื่นตะลึงถึงเจ้าลิงยักษ์นี้ เรื่อยมาจนถึง The Beast from 20,000 Fathoms นั้นก็ยังใช้เทคนิคนี้อยู่ เรียกได้ว่ายุค ทองของหนังสัตว์ประหลาดในอเมริกามีหัวใจหลักคือเทคนิคสตอ ปโมชัน โทโมยูกิ ทานากะ (Tomoyuki Tanaka) โปรดิวเซอร์ของ Toho Studios ผู้เป็นแฟนตัวยงของหนังมอนสเตอร์ หลังจากที่ เขาได้เห็นว่าสัตว์ประหลาดในฮอลลีวูดนั้นทำได้ดีเพียงใด ทานากะ จึงอยากลองสร้างหนังสัตว์ประหลาดของตัวเองขึ้นมาบ้าง ซึ่งทา นากะก็หมายมั่นว่านี่จะเป็นโปรเจกต์ที่ได้รับความนิยม เพราะยุค นั้นหนังสัตว์ประหลาดของอเมริกาได้รับความนิยมในญี่ปุ่นมาก โดยผู้ชมต่างตบเท้าเข้าโรงมาเพื่อชมความบันเทิงในโลกไซไฟ ซึ่ง ทานากะชอบไอเดียที่ The Beast from 20,000 Fathoms นั้นมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ประหลาดที่ถูกปลุกจากอาวุธ นิวเคลียร์ เขาจึงใช้แรงบันดาลใจนี้ในการสร้างหนังที่มีเนื้อหา เกี่ยวกับไคจูที่กำเนิดจากผลกระทบของอาวุธนิวเคลียร์ 7
โทโมยูกิ ทานากะ (Tomoyuki Tanaka) เอจิ สึบูรายะ (Eiji Tsuburaya) อิชิโระ ฮอนดะ (Ishiro Honda) ชิเงรุ คายามะ (Shigeru Kayama) อากิระ อิฟูกูเบะ (Akira Ifukube) ทาเคโอะ มูราตะ (Takeo Murata) ในที่สุด ทานากะก็รวบรวมทีมของตัวเองมาได้ โดยมีผู้กำกับคือ อิชิโระ ฮอนดะ 8 (Ishirō Honda), พ่วงด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านสเปเชียลเอฟเฟกต์อย่าง เอจิ สึบูรายะ (Eiji Tsuburaya), ผ่านการเขียนบทของ ชิเงรุ คายามะ (Shigeru Kayama) และทา เคโอะ มูราตะ (Takeo Murata), บรรเลงเพลงประกอบที่เป็นตำนานโดย อากิระ อิฟู กูเบะ (Akira Ifukube) ซึ่งในเวลานั้น พวกเขาคิดแค่ว่าจะทำโปรเจกต์ที่ทะเยอทะยาน โดยไม่รู้เลยว่าหนังเรื่องนี้จะกลายเป็นตำนาน ที่ถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์
แม้ว่าในเวลานั้นสัตว์ประหลาดในอเมริกาจะใช้เทคนิคสตอปโมชัน เพื่อทำ ให้มอนสเตอร์ของพวกเขาเคลื่อนไหวได้ แต่ทว่าเออิจิ สึบุรายะ ผู้พัฒนา ด้านสเปเชียลเอฟเฟกต์นั้นเห็นต่างออกไป เพราะเขาอยากทำให้ไคจูของ พวกเขา ดูเป็นสิ่งมีชีวิตที่จับต้องได้ ซึ่งโตโฮนั้นก็ทำละครเวทีและมีพวก ฉากย่อส่วนในละครเวทีอยู่แล้วมากมาย สึบุรายะจึงตัดสินใจใช้ฉากย่อ ส่วนในการสร้างเมืองขึ้นมาแทน และเพื่อให้ไคจูของพวกเขาดูมีชีวิตชีวา สึบุรายะ จึงสร้างสัตว์ประหลาดจากชุดยางและให้นักแสดงอยู่ข้างใน โดยให้นักแสดงเดินไปรอบ ๆ ฉากย่อส่วนเพื่อสร้างภาพของสิ่งมีชีวิต ตัวนี้ให้มีขนาดยักษ์ขึ้นมา ทีมงานสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ช่วยกันปลุกปั้นสัตว์ประหลาดขึ้นมาด้วย เวลาไม่ถึงหนึ่งปี พวกเขาเรียกมันว่าโปรเจกต์ ‘โกจิระ’ ซึ่งเป็นการรวมคำ ว่ากอริลลาและคำภาษาญี่ปุ่นของวาฬคุจิระเข้าด้วยกัน โดยหนังยังแฝง สัญญะที่ถ่ายทอดความน่ากลัวของอาวุธนิวเคลียร์ผ่านไคจูออกมา และใน ปี 1954 หนังเรื่องนี้ก็ได้รับการเข้าฉายและโลกก็รู้จักกับ ‘โกจิระ’ 9
โกจิระได้สร้างผลกระทบที่ใหญ่หลวงต่ออุตสาหกรรม ภาพยนตร์ ชุดยางของพวกเขาทำให้ไคจูบนหน้าจอดูมีชีวิต สัตว์ประหลาดในชุดยางดูมีเลือดเนื้อและน่าตื่นตากว่าแบบ สตอปโมชัน จนโกจิระกลายเป็นที่ยอมรับของอเมริกาและมัน ถูกเรียกว่า ‘ก็อดซิลลา’ แม้ว่าสัตว์ประหลาดของอเมริกาจะ ออกมาโลดแล่นบนจอภาพยนตร์ก่อนญี่ปุ่นหลายสิบปี แต่น่าเสียดายที่พวกมันไม่เคยถูกมองว่าเป็นภาพยนตร์ไคจู เรื่องแรกเลย ซึ่งน้องเล็กที่โผล่มาทีหลังอย่างก็อดซิลลาก็ได้ รับฉายาภาพยนตร์ไคจูเรื่องแรกตามไปด้วย และลงเอยที่ก็อด ซิลลาถูกจดจำด้วยสมญานามว่า ‘ราชันแห่งสัตว์ประหลาด’ 10
Search
Read the Text Version
- 1 - 12
Pages: