Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Learning in the 21st century

Learning in the 21st century

Published by krular2020, 2020-07-19 10:23:00

Description: Learning in the 21st century

Search

Read the Text Version

ด้านท่ี 3 ดา้ นการพฒั นาตนเองและพัฒนาวชิ าชพี 3.1-3.2 การพฒั นาหลกั สตู รการเรียนการสอนโรงเรียนศกึ ษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน กับการจัดการเรยี นการสอนในศตวรรษที่ 21 (Curriculum Development Suksasongkrow Maehongson School. for Teaching and Learning in the 21st century.) เรียบเรียงโดย นายสมนกึ แสนปวน ตาแหนง่ ครู วทิ ยฐานะ ครูชานาญการพิเศษ กล่มุ สาระการเรยี นรู้ การงานอาชพี โรงเรยี นศกึ ษาสงเคราะหแ์ มฮ่ ่องสอน

การพฒั นาหลักสูตรการเรียนการสอนโรงเรยี นศกึ ษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน กับการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษท่ี 21 (Curriculum Development Suksasongkrow Maehongson School. for Teaching and Learning in the 21st century.) นายสมนึก แสนปวน ตาแหนง่ ครู วิทยฐานะ ชานาญการพิเศษ โรงเรยี นศึกษาสงเคราะห์แมฮ่ ่องสอน โลกในยคุ ศตวรรษ 21 เปน็ ยคุ สมัยท่ีมีการเปลย่ี นแปลงอยู่เสมอ โดยสภาพสงั คมโลกทเ่ี ปลี่ยนไปตลอดเวลา และยงั คงมแี นวโน้มอัตราเรง่ สกู่ ารเปลี่ยนแปลงเพ่ิมขึ้นเร่ือยๆ พรอ้ มกับความไม่แน่นอนท่คี ู่ขนานกบั สิง่ ที่มกี าร เปลยี่ นแปลง เพมิ่ ความซบั ซ้อนมากยิง่ ข้ึน เปน็ ยุคของข้อมูลขา่ วสาร ความรู้ ทเี่ กดิ ขนึ้ ใหม่อยู่เสมอ ใกลต้ วั และง่ายตอ่ การเข้าถึง ซ่ึงสง่ิ ต่างๆเหล่าจะแตกต่างจากศตวรรษท่ี 20 อยา่ งเห็นไดช้ ัดเจน คาถามทเ่ี กิดขึ้น แล้วเราและลกู ศิษยจ์ ะ อยรู่ ว่ มในสังคมท่ีมีการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเรว็ ได้อยา่ งไรในศตวรรษนี้ คงเปน็ กฎเกณฑ์ของธรรมชาตทิ ม่ี นุษยต์ ้องมีการปรบั ตัวเพื่อให้ดารงอยูร่ อด ตอ้ งมีการสรา้ งความพร้อมเพื่อใหท้ นั ยุคสมยั การสอนในยุคสมัยใหม่ก็ต้องมี ปรบั เปลี่ยนเชน่ กัน คงสอนมากเหมือนแต่ก่อนก็ไม่เหมาะสมในยคุ ปัจจุบัน เพราะ ความรมู้ อี ย่รู อบๆตวั มากมาย งา่ ยตอ้ งการค้นหา สืบคน้ ซง่ึ สามารถทาได้เอง มากกว่าการมาสอนให้หอ้ งเรียน ครูตอ้ งสร้างศิษยใ์ หเ้ ปน็ ผูใ้ ฝร่ ู้ เรียนรสู้ ิง่ ใหม่ คดิ เปน็ แกป้ ญั หาเป็น และมีวิธีการเรียนรขู้ องตนเอง หรือทีเ่ รียกกนั ว่า ทักษะการ เรียนรู้ (learning skills) พรอ้ มท้ังควรมี ทักษะการใชช้ วี ิตทดี่ ี (life skills) อีกดว้ ย สงิ่ ทนี่ ักเรียนควรมีคอื ความรู้ในสาระหลกั ไดแ้ ก่ ภาษาแมแ่ ละภาษาสาคัญของโลก, ศิลปะ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์, ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ , รัฐ และความเป็นพลเมืองท่ีดี ซึง่ ความร้ใู นสาระหลกั คือสง่ิ ท่ีควรมเี ป็นพื้นฐานของนักเรียน นอกเหนอื จากความรู้ดังกลา่ วแลว้ ยงั คงต้อง ปลูกฝังทักษะอกี 3 ด้าน ในเรอื่ งต่างๆดังนี้ 1. ทกั ษะชวี ิตและการทางาน ซึ่งประกอบด้วย ภาวะผู้นาและความรบั ผดิ ชอบ, ความยดื หยุ่นและการ ปรบั ตวั , การริเร่ิมสร้างสรรคแ์ ละการเปน็ ตวั ของตวั เอง, ทกั ษะข้ามสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม, การ เป็นผ้สู รา้ งหรอื ผลติ และความรับผดิ ชอบ เชื่อถือได้ 2. ทกั ษะการเรยี นรแู้ ละนวตั กรรม ประกอบด้วย ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, การคดิ อย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ไขปัญหา, การส่ือสารและความร่วมมือ

3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อสาร และเทคโนโลยี ประกอบด้วย การใช้และประเมินสารสนเทศได้อยา่ ง เท่ากัน, วเิ คราะหแ์ ละเลอื กใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม, ใช้เทคโนโลยีใหมอ่ ยา่ งมีประสทิ ธิภาพ แตก่ ารที่จะให้กระบวนการพัฒนาทกั ษะต่างๆ สาเรจ็ ลงได้ คงตอ้ งอาศยั ปจั จยั ที่เก่ยี วเนอื่ งพื้นฐาน 4 ดา้ นเพอ่ื เปน็ การสนบั สนุนในการเรียนรูใ้ นศตวรรษท่ี 21 ได้แก่ มาตรฐานการประเมินในยคุ ศตวรรษที่ 21, หลักสตู รและการ เรียนการสอนในศตวรรษท่ี 21, การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 และสภาพแวดล้อมทเ่ี หมาะสมต้องการเรียนรู้ จากยคุ สมยั ท่ีมีการเปลีย่ นแปลง การศึกษาจงึ ต้องมีการปรับเปลย่ี นเชน่ เดียวกนั ระบบการศกึ ษาในสมัยก่อน อาจใช้ได้ไม่ดีในสมยั น้ีซ่ึงเปน็ ผลจากสภาพการณ์ท่ีเปลยี่ นแปลงไป ทัง้ สภาพแวดล้อมและนักเรยี นในยุคของ IT ความรู้ ที่มีตอ้ งต่อยอดไปสทู่ กั ษะ เรียนรูจ้ ากการปฏบิ ัติทาให้เกิดทักษะทค่ี งทน ครตู ้องเปลย่ี นบทบาทจากการสอน ไปส่กู าร ฝกึ หรอื เปน็ ครูฝึก (coach) ออกแบบการจดั การเรียนรู้และสภาพแวดลอ้ มการเรยี นรู้แก่นักเรียน เพ่ือใหเ้ กดิ การ เรยี นรโู้ ดยการลงมือทา (learning by doing) ซ่งึ อาจออกแบบโดยผ่านกจิ กรรมโครงงาน PBL (project base learning) ซง่ึ PBL คอื การเรียนที่ฝึกให้นกั เรยี นเรยี นร้ผู ่านการทางาน จริง โดยอาจผ่านช้ินงาน (project) โดยครูเป็นครูฝึก (coach) คอยให้ คาแนะนาช่วยเหลือ การเรียนในลกั ษณะนจ้ี ะชว่ ยใหน้ ักเรียนฝึกทกั ษะ ต่างๆ อนั ไดแ้ ก่ การตโี จทยป์ ัญหา การคน้ ควา้ ขอ้ มลู การตรวจสอบ และการประเมินข้อมลู เพื่อนาส่ิงท่เี หมาะสมมาใช้กับ project การฝึก ปฏบิ ัติจรงิ เพ่มิ ทักษะในการส่ือสาร การนาเสนออยา่ งสร้างสรรค์ และ สง่ิ ทส่ี าคญั ทีส่ ุดคอื การฝึกการทางานเป็นทีม การแลกเปล่ยี นความรู้ รว่ มกัน รว่ มกนั เพ่ือต่อยอดเป็นยอดเป็นองค์ความรขู้ องตนเองต่อไป

บทบาทครูในการสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษท่ี 21 (The role of teachers in building learning into the 21st century.) การศึกษาในยุคสมัยต่างๆ จากอดีตจนถงึ ปจั จบุ ันจะเกิดการเปลยี่ นแปลงหรือปฏริ ปู นน้ั อนั เปน็ ผลมาจาก การเปล่ียนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ท่ีมีผลกระทบโดยตรงกับคุณภาพของประชากรในขณะนัน้ อาจ สง่ ผลในทางบวกหรอื ทางลบก็ขึ้นอยู่กับผลติ ท่ีสะท้อนออกมาในสภาพการณน์ ั้น การศึกษาก็เปน็ สง่ิ ท่สี ง่ ผลต่อปัจจยั ดงั กล่าวโดยครูไดร้ ับบทบาทดังกลา่ ว ตามยคุ สมยั น้ัน ในเมอ่ื สภาพสงั คมเปล่ยี นแปลงไป ครเู องก็ต้องเปลีย่ นบทบาท ใหส้ อดคล้องกับสภาพสังคมท่ีเปลย่ี นแปลงไป ลกั ษณะของนักเรียนทเ่ี ปล่ยี นแปลงไป ครูต้องมบี ทบาทอย่างไรใน ศตวรรษที่ 21 หากกลา่ วถึงบทบาทครู ครตู ้องมกี ารปรบั เปลยี่ น ด้านจติ ใจ และยอมรับในสภาพสังคมทเ่ี ปลยี่ นไปสูย่ คุ ของ ขอ้ มูลสารสนเทศก่อน นกั เรยี นในปจั จบุ ันมคี วามเก่ยี วเนอ่ื ง กับเทคโนโลยมี ากขน้ึ ครูต้องยอมรับในสภาพการณ์ดังกล่าว กอ่ น ซงึ่ หลังจากน้นั จึงเป็นเหตุผลที่ดที จ่ี ะมีการพฒั นาและ ปรับวธิ กี ารสอนตามมา ครูต้องเปล่ยี นแปลงไปตามสภาพ สงั คมท่ีเปลย่ี นแปลงไป โดยเฉพาะนักเรยี นหรือลูกศษิ ย์ ซ่ึงมี ความแตกต่างกนั มากในดา้ นความรู้พ้นื ฐาน อดตี การเรยี นรู้ เนน้ ความรูค้ วามจา หรือองค์ความรู้ทช่ี ัดเจนที่พิสจู น์ไดเ้ ป็นหลัก แตส่ ภาพการณป์ ัจจุบันอาจไมใ่ ชอ่ ีกตอ่ ไป การเรียนรู้ คอื การต่อยอดสู่องคค์ วามรู้ใหม่ ทไี่ มช่ ัดเจนและมีไมจ่ ากดั หลกั การเรยี นร้จู ริง ต้องเกดิ จากการลงมือทา (learning by doing) การเรียนตอ้ งไม่ไดแ้ ต่เพยี งความรอู้ ย่าง เดยี ว ตอ้ งทาให้เกิดทักษะ (skills) อกี ดว้ ย ซ่งึ ครตู ้องม่งุ เนน้ ใหน้ ักเรียนได้ทกั ษะทซี่ บั ซ้อนชุดหนงึ่ เพอื่ ใหส้ ามารถอยู่ รว่ มในสังคมโลกได้ และทักษะทส่ี าคัญทสี่ ุดคือ การสร้างแรงบันดาลใจทีจ่ ะเรียนรู้ สร้างคุณประโยชนแ์ ก่ผู้อ่นื และ กระต้นุ แรงบันดาลใจให้กบั คนทอ่ี ยรู่ อบข้าง ซึ่งกิจกรรมโครงงานเปน็ การ เรยี นร้ทู ่ีสร้างแรงบันดาลใจ ความสาเรจ็ และพลงั ใหก้ ับนักเรียน ไดโ้ ดยให้ ประสบการณ์นอกเหนือไปจากชนั้ เรียน และเสรมิ สร้างทักษะสาคัญสาหรบั ศตวรรษท่ี 21 โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งในสว่ นของ การคดิ เชงิ วพิ ากษ์ การทางาน รว่ มกับผู้อื่น และความสรา้ งสรรค์ ทักษะของนกั เรยี นในศตวรรษท่ี 21 ทน่ี ักเรยี นทุกคนควรต้อง เรียนรตู้ ้ังแต่ชัน้ อนุบาลไปจนถึงมหาวทิ ยาลัย และตลอดชีวติ 3Rx7C

3R ได้แก่ Reading (อ่านออก) Writing (เขียนได้) และ Arithmetics (คดิ เลขเปน็ ) 7C ไดแ้ ก่ -Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอยา่ งมวี จิ ารณญาณ และทักษะในการแก้ปญั หา) -Creativity & innovation (ทกั ษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) -Cross-cultural understanding (ทักษะดา้ นความเขา้ ใจต่างวฒั นธรรม ต่างกระบวนทัศน)์ -Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะดา้ นความร่วมมือ การทางานเปน็ ทีม และภาวะผูน้ า) -Communications , information & media literacy (ทักษะด้านการส่อื สาร สารสนเทศ และรเู้ ทา่ ทนั ส่ือ) -Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สาร) -Career & learning skills (ทักษะอาชพี และทักษะการเรียนรู้)

จากทกั ษะของนกั เรียนในศตวรรษท่ี 21 ทไ่ี ดก้ ลา่ วถงึ ครจู งึ ควรมีการ ออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้แก่นกั เรยี นโดยการเรียนผ่านการลงมอื ปฏิบตั ิ (learning by doing) สอนใหน้ ้อย แต่เรียนรใู้ หม้ าก (teach less learn more) เปิดโอกาสใน นกั เรยี นเรยี นรโู้ ลกและใช้ชีวิตอย่างมีความสขุ โดยการใช้แหลง่ เรียนร้นู อกห้องเรยี น และสง่ เสรมิ ให้มีการเรยี นร้ตู ลอดชวี ิต (Herbert A. Simon) การเรยี นรู้ เป็นผลของ การกระทา และการคิดของนักเรียนเองเท่านั้น ครูควรช่วยทาใหเ้ กิดการเรยี นรโู้ ดยไม่ เขา้ ไปจดั การส่ิงทน่ี ักเรียนทา ปฏบิ ตั ิและคิด เพอ่ื ใหเ้ กิดการเรียนรู้ ดงั นั้นบทบาทของครูในการสอน จึงควรรับบทบาทเปน็ ครูฝึกหรือชว่ ยเหลอื แนะนา โดยยึดหลักการสอนทีด่ ี 7 ประการ คือ 1. ความรเู้ ดิมนักเรียน (prior knowledge) ครคู วรมีการตรวจสอบความร้เู ดมิ ของนกั เรยี น และตัดสนิ ใจถึง ความรู้นน้ั เพื่อทราบความแตกต่างของนักเรียน และนาไปออกแบบการจดั การเรยี นรู้ท่ีเหมาะสมของแต่ ละคน 2. การจดั การความรู้ (knowledge organization) ฝกึ ใหน้ ักเรยี นเรยี บเรยี งความรโู้ ดยการฝกึ เขียนและ เรยี บเรียงโดยผา่ นการเขยี นรายงานโครงงาน หรอื mind-set 3. แรงจูงใจ (motivation) ครูควรสร้างแรงบนั ดาลใจและกระตุ้นแรงบนั ดาลใจให้กบั นักเรียน เพ่ือให้ นักเรียนเกดิ การเรียนรู้อยู่เสมอ 4. รูจ้ รงิ (mastery learning) ครคู วรฝึกนักเรียนให้เกิดการเรียนร้ใู นเรอื่ งนนั้ ๆ อย่างถ่องแท้ โดยผา่ น กจิ กรรมท่ีได้ออกแบบไว้ โดยมงุ่ เน้นให้เกดิ การเรยี นรู้ผา่ นการลงมือปฏบิ ัติ 5. ปฏิบตั ิ – ป้อนกลบั (practice & feedback) ครูควรมีการออกแบบกจิ กรรมการเรียนให้มงุ่ เนน้ การลง มอื กระทา มากวา่ เชิงเน้ือหาทฤษฎี เพื่อให้เกดิ ทกั ษะจากการลงมือปฏบิ ตั ิ และควรมกี ารปอ้ นข้อมลู ยอ้ นกลับแก่นักเรียน เพือ่ เปน็ การเสรมิ แรงในการเรยี นร้อู ีกทางห นึง่ 6. พัฒนาการของนักเรยี น และบรรยากาศ (development of students and atmospheric) ครคู วร ทราบถงึ พฒั นาการการเรยี นรู้ในแต่ละวัย และออกแบบการจัดการเรียนรใู้ หเ้ หมาะสม ทัง้ ด้านสตปิ ัญญา และดา้ นอารมณ์ พร้อมสร้างบรรยากาศที่ดีในการสง่ เสริมการเรยี นรูแ้ กน่ ักเรียน 7. ผกู้ ากบั การเรียนรู้ของตนเอง (self-direct learner) ครูควรพยายามฝกึ ใหน้ ักเรียนเป็นผูท้ ี่สามารถกากบั การเรยี นรขู้ องตนเอง ตามความเหมาะสมของนกั เรียนแต่ละคน จากที่กล่าวมาครูจึงควรมีการออกแบบการสอนให้ ครอบคลุมสงิ่ ตา่ งๆเหล่านนั้ เพ่อื ใหน้ ักเรียนเกิดการฝึกและ เรียนรู้ โดยอาจออกมารูปแบบของกิจกรรมการเรยี น หรือ กจิ กรรมโครงงาน PBL ทงั้ นี้คงข้ึนอยู่กบั บรบิ ทของผเู้ รียนและ พฒั นาการของผู้เรียนในช่วงวัยนั้นๆ โดยรวมครูสามารถ ออกแบบการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนเกดิ การเรยี นรไู้ ด้ ดังน้ี

1. โดยการลงมอื ปฏิบตั ิ (learning by doing) 2. จัดทาโครงงาน Project ( PBL : Project Base learning) ซงึ่ ในการทาโครงงาน PBL นน้ั ควรทา ให้ครอบขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ ทาแล้วเกดิ ชน้ิ งาน ควรมกี ารเขยี นไดอารี่ นาเสนอผลงาน และมีการ สะทอ้ นความคิดและงาน ซึ่งทั้งหมดจะเป็นการ เรียนรู้ทางทฤษฎีผ่านการสัมผัส ปฏิบตั ิจรงิ เพือ่ ให้ เกดิ การเรียนรู้ เรียนให้ไดท้ ักษะ โดยมีการปฏิบัตินา 3. ทางานเปน็ ทีม (team learning) 4. ฝึกค้นหาความรู้ วิธีการ ประยุกตน์ ามาใช้งาน 5. เขียนเปน็ รายงาน เฉพาะบุคคล 6. นาเสนอเป็นทีม (ตอ่ ชนั้ เรียน, ตอ่ ชมุ ชนเป็นทีม) 7. ครูชวนนกั เรยี นทา AAR (after action review) ว่าสิ่งท่ไี ด้เรยี นรู้หลงั จากทาโครงงานคอื อะไร และส่งิ ที่ได้มคี ุณค่าต่อชวี ิตอนาคตอยา่ งไร ในหลายๆ โครงงาน ครูอาจสร้างเงื่อนไข เพอื่ ฝกึ ใหน้ กั เรียน ใหเ้ กิดทักษะหลายๆดา้ น โดยครูตอ้ งเปน็ ครฝู ึก ชว่ ยฝึกใหร้ จู้ กั การทางาน ซ่งึ การเรยี นในศตวรรษท่ี 21 คงไม่ได้มุ่งเนน้ ให้เกดิ แต่ความรู้ ควรมงุ่ เน้นใหเ้ กิดทกั ษะ มากกวา่ หรอื มุ่งเนน้ ใหเ้ กดิ วจิ ารณญาณ ซึง่ ทักษะทคี่ วรฝึกเพิม่ เติมให้แก่นักเรียน ได้แก่ ความมีวินัยในตนเอง (personal mastery), การเข้าใจผู้อ่ืน (empathy) เปน็ ตน้ ซงึ่ ในการออกแบบการเรียนรู้ ครคู วรตั้งคาถาม 5 คาถาม สาหรบั การออกแบบกจิ กรรมการเรียนร้แู กน่ ักเรียน เพือ่ พจิ ารณาถึงผลรบั ท่ีควรได้ และกรอบในการจดั กิจกรรม อันได้แก่ 1. ต้องการให้นักเรียน ได้ทกั ษะและความรู้ ท่ีจาเปน็ อะไรบา้ ง ? (ตรวจสอบเอกสารหลักสูตร เนน้ ต่อยอด ทกั ษะแหง่ อนาคตใหม่ ฯลฯ) 2. จดั การเรียนรู้อยา่ งไร ? ใหไ้ ด้ทกั ษะเหลา่ นัน้ 3. จะทราบไดอ้ ยา่ งไร ว่าได้ทักษะเหล่าน้ัน ? 4. จะทาอยา่ งไร กบั นักเรยี นบางคนท่ไี ม่ได้ ? 5. จะทาอย่างไร กบั นักเรยี นบางคนทเ่ี รียนเก่งก้าวหน้าไปแล้ว ? นอกเหนือจากบทบาททคี่ รูจาเปน็ ต้องเปลี่ยนรูปแบบการออกแบบการเรยี นรู้ให้ นกั เรยี น ใหท้ นั ยคุ สมัยในศตวรรษท่ี 21 แล้ว การเปล่ยี นวิธกี ารเรยี นรู้ในยคุ IT ท่ีปัจจบุ นั มี ความพร้อมในด้านการสื่อสารอีกทางหนึ่งที่ครูควรนาไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบการ เรียนรู้ให้กับนักเรยี นได้อีกแนวทางหนงึ่ คอื ห้องเรยี นกลับด้าน (flipped classroom)

โดยการเรียนทฤษฎี จะเรียนท่บี ้าน แต่จะทาการบ้านทโ่ี รงเรยี นหรือเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ เพอ่ื เรียนการ ประยุกตใ์ ช้ความรู้ ให้เกิดทกั ษะ ท่โี รงเรยี นมีครูเป็นผู้จดุ ประกาย ยุยง สง่ เสริม และช่วยเหลอื เมอ่ื มปี ัญหา เปิดโอกาส ใหน้ กั เรยี นซกั ถามขอ้ สงสัยตา่ งๆ และลงมือทางานทไี่ ดร้ ับมอบหมาย โดยนกั เรยี นเรียนร่วมกับเพื่อน สอนเพ่อื น ปฏบิ ตั ิและเรียนรว่ มกนั ครูควรมกี ารพัฒนาตนเอง สรา้ งประยุกตค์ วามรูใ้ ช้ เอง เพื่อทาหน้าท่ีครูฝกึ ท่ดี คี อยชว่ ยเหลือแนะนาในการเรียนรู้ แกน่ กั เรยี น มีการแลกเปล่ยี นเรยี นรกู้ บั เพื่อนครแู ละเผยแพร่ ผลงานวชิ าการ เนน้ บทบาทนักรุกออกไปใช้ทรัพยากรการ เรยี นรู้ ทัง้ ในชุมชน สถานประกอบการ ฯลฯ จัดกิจกรรมให้ นักเรียนไดเ้ รียนรจู้ ากชวี ติ จริงผ่านกจิ กรรมท่ลี งมอื ปฏิบัติ ส่งเสรมิ ใหน้ กั เรียนสรา้ งความรขู้ น้ึ ใช้เอง (learning pyramid) และมีการแลกเปลย่ี นเรยี นรู้อย่เู สมอ เปน็ ตวั อย่างที่ดี ในเร่ือง ความดี คณุ ธรรมและจริยธรรม ดังคากลา่ วทีว่ า่ ตัวอย่างทีด่ ีมี มากกว่าคาสอน

สอนอย่างไรในศตวรรษที่ 21 (How to teach in the 21st century) เมอ่ื นักเรยี นในสมยั นก้ี บั สมยั ก่อนไม่เหมือนกัน การศึกษาในสมยั กอ่ นอาจใช้ไม่ได้ผลกับนักเรียนในสมยั นี้ เม่ือ เวลาเปล่ียน สภาพสังคมเปลีย่ น บทบาทการสอนของครูก็ตอ้ งเปลยี่ น ระบบการศึกษาก็ตอ้ งเปลีย่ น และจะ เปลี่ยนแปลงอยา่ งไรให้เหมาะสม และจะสอนอยา่ งไรใหน้ ักเรยี นเกิดการเรยี นรใู้ นสภาพการณเ์ ช่นนี้ สง่ิ แรกๆท่ีควรนกึ ถึงอนั ดับตน้ ๆ กค็ ือ เปา้ หมายของการสอน  เมือ่ เรยี นไปแลว้ ตอ้ งรู้จริง (mastery learning)  ไมค่ วรเอาวธิ กี ารสอนสมัยครูเป็นนักเรียน มา สอนกับนักเรยี นในปัจจบุ นั เน่ืองจากยุคสมยั เปลยี่ นแปลงไป  เพือ่ ให้นกั เรยี นหรือลูกศิษยจ์ บการศกึ ษาออกไป แลว้ เปน็ คนดีตอ่ สังคม เปน็ ประโยชน์ต่อสงั คม มีชวี ิตทีด่ ีในยคุ ศตวรรษที่ 21 การสอนในยุคสมัยใหม่ ไม่เน้นการสอน แตเ่ น้นการเรยี นรู้ สอนนอ้ ย แตเ่ รียนรู้มาก (teach less learn more) เน้ือหาสาระความรู้ นักเรียนสามารถสืบค้นแสวงหาได้ด้วยตนเอง เนื่องจากมีความรู้เกิดใหม่ตลอดเวลา การ เรยี นต้องเป็นการฝกึ ต้องได้มากกวา่ ความรูโ้ ดยใหน้ ักเรยี นเรยี นรผู้ ่านการฝึกปฏิบตั ิ จนเกิดทกั ษะการเรียนรู้ (learning skill) ของตนเอง โดยผา่ นกิจกรรมโครงงาน PBL เปน็ ต้น ดงั นน้ั ครูในยุคศตวรรษท่ี 21 จึงต้องมบี ทบาท การสอนทเี่ ป็นครฝู กึ (coach) มากกว่าเป็นผู้รู้ ผ้ถู ่ายทอดเหมือนในอดีตเชน่ ทีผ่ า่ นมา

การพัฒนาหลกั สูตรการเรยี นการสอนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮอ่ งสอน กบั การจัดการเรยี นการสอนในศตวรรษที่ 21 (Curriculum Development Suksasongkrow Maehongson School. for Teaching and Learning in the 21st century.) โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน เปน็ โรงเรียนสหศึกษา ประเภทอยู่ประจา สงั กัดสานักบรหิ ารงาน การศกึ ษาพิเศษ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พื้นฐาน กระทรวงศึกษาธกิ าร ได้รับจดั สรรงบประมาณใหเ้ มื่อ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2517 ครั้งแรกมีนักเรียนประมาณ 70 คน มี ครู – อาจารย์ 4 คน โดยยมื อาคารเรียนของ โรงเรยี นหอ้ งสอนศึกษาหลงั เดมิ จนกระทง่ั เม่ือวนั ท่ี 26 ธนั วาคม 2520 ได้ ยา้ ยมาตัง้ ในทแ่ี ห่งใหม่ ท่ตี าบลปางหมู อาเภอเมือง จงั หวัดแมฮ่ ่องสอน หา่ งจากที่ต้งั ของตวั เมืองไปทางทศิ เหนือถนนแม่ฮ่องสอน-ปาย กโิ ลเมตรที่ 8 ในระยะแรกเปดิ สอนเฉพาะระดับประถมศึกษา ตอ่ มาในปี การศึกษา 2532 ได้ขยายชั้นเรียนในระดับมัธยมศกึ ษาตอนต้น และในปี การศึกษา 2528 ได้ขยายช้ันเรียนในระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย ตาม หลักสตู รกระทรวงศกึ ษาธิการ นกั เรยี นในโรงเรียนส่วนใหญ่ ร้อยละ 70 เปน็ ชนเผ่ากระเหร่ียงขาว , ชนเผา่ กระเหร่ยี ง แดง ร้อยละ 20 และชนเผ่ามเู ซอ ลีซอ รวมถงึ ไทยใหญ่ คิดเป็นรอ้ ยละ 10 สภาพชมุ ชนรอบบรเิ วณโรงเรยี นมลี ักษณะเป็นที่ราบลมุ่ ระหว่าง ภูเขา มีแมน่ า้ ปาย เป็นแมน่ ้าสายหลกั ไหลผ่าน สภาพชุมชนรอบนอก บริเวณโรงเรยี น มีสถานท่รี าชการที่อยู่ติดกับโรงเรยี น คือ ที่ทาการอุทยาน แห่งชาตนิ ้าตกแม่สรุ นิ ศูนย์การศึกษาพเิ ศษจังหวัดแม่ฮ่องสอน โรงเรียนได้รับการคัดเลอื กใหเ้ ปน็ โรงเรียนตามโครงการ 1 อาเภอ 1 โรงเรยี นในฝัน ทาให้นักเรยี นมโี อกาสไดร้ ับการพัฒนางานวชิ าการ โรงเรยี นได้รบั การสนับสนุนงบประมาณในการ ก่อสร้างอาคาร มีการปรบั ปรงุ ภูมิทศั น์ของโรงเรยี นผา่ นการประเมิน มีการสนบั สนนุ งบประมาณ ด้าน ICT สื่อการเรยี น โปรแกรมการเรียนการสอน จนทาใหโ้ รงเรยี นผา่ นการประเมนิ “โรงเรยี น ตน้ แบบ โรงเรียนในฝัน” และไดร้ บั การคดั เลือกให้เป็นโรงเรยี นต้นแบบด้านการใช้ ICT เพอ่ื ประกอบการ เรียนการสอน (โรงเรียนแกนนา Best practice ) เป็นต้น จากสภาพภายในโรงเรยี นตามห้องเรียนตา่ งๆ จะมีอปุ กรณ์การเรียนทใี่ ช้สอนปกตทิ ัว่ ไประจาหอ้ งเรียนต่างๆ เช่น กระดานดา/กระดานไวท์บอร์ด ชดุ เก้าอี้นักเรียนประมาณ 35-40 ตัวต่อหอ้ งเรียน และยังมีสว่ นสนับสนุนใน ห้องเรียนปกติตามกล่มุ สาระหลัก 8 กลมุ่ สาระฯ ซึ่งจะมโี ปรเจคเตอรแ์ ละชุดขยายเสียงติดตง้ั ในทุกห้องปฏบิ ัติการ พร้อมแหลง่ สนบั สนนุ การเรยี นร้โู ดยรอบโรงเรยี น เช่น ห้องปฏิบตั ิการคอมพิวเตอรแ์ ละคอมพวิ เตอร์ประจาหอ้ งเรยี นรู้ ตา่ งๆ โดยรวมจานวน 70 เครอ่ื ง, ห้องสมดุ ประถมศกึ ษา และห้องสมุดโรงเรยี น เปน็ ตน้

จากบริบทของโรงเรียน สภาพชุมชนโดยรอบ และนักเรยี นในโรงเรียน สามารถจัดการเรียนการสอนให้ สอดคลอ้ งกับศตวรรษที่ 21 ไดโ้ ดยการปรบั หลักสูตรของโรงเรียนไดแ้ นวทางดงั นี้ เปา้ หมายการจดั การเรยี นการสอน ในระดับประถมศึกษามุ่งเนน้ ใหน้ กั เรียนไดท้ กั ษะ 3Rs คอื Reading (อ่าน ออก) Writing (เขยี นได)้ และ Arithmetics (คดิ เลขเปน็ ) ซ่ึงเปน็ ความรพู้ ืน้ ฐานในระดับมัธยมตน้ ตอ่ ไป และเพ่ิม ทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้แก่นักเรยี น คอื ทักษะดา้ นคอมพิวเตอร์เบื้องต้น และเทคโนโลยสี ารสนเทศและการสื่อสาร เบอ้ื งต้น (Computing & ICT literacy) โดยจดั ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ทผ่ี า่ นการลงมือปฏบิ ัติ (learning by doing) เปา้ หมายการจดั การเรยี นการสอน ในระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้ มุ่งเน้นใหผ้ ู้เรยี นค้นพบตนเอง พบความสามารถและศกั ยภาพของตนเอง มุ่งใหค้ วามรู้ทวั่ ไปและทักษะเชงิ ปัญญา มิใช่วชิ าชีพเฉพาะด้าน หรือ ความทกั ษะเชิงช่าง (liberal art) ส่งเสริมใหค้ รจู ดั การเรยี นการสอนท่ี เนน้ ให้เกดิ การเรยี นรผู้ า่ นการลงมือปฏบิ ัติ (learning by doing) สอนใน สง่ิ ทีจ่ าเป็น ไมเ่ น้นการสอนและเนน้ ให้เกดิ การเรยี นรู้มาก (teach less learn more) เนน้ ในทกั ษะที่จาเปน็ และต่อยอดได้ และสง่ เสรมิ ทักษะใน ศตวรรษท่ี 21 ให้แกน่ กั เรยี น คอื Cross-cultural understanding (ทกั ษะดา้ นความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์), Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้าน ความร่วมมอื การทางานเป็นทมี และภาวะผ้นู า), Communications , information & media literacy (ทักษะด้าน การสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันส่อื ), Computing & ICT literacy ทกั ษะด้านคอมพวิ เตอร์ และเทคโนโลยี สารสนเทศและการส่อื สาร) และ Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรยี นรู้) เป้าหมายการจัดการเรียนการสอน ในระดับมธั ยมศึกษาตอน ปลาย มงุ่ เนน้ ให้ผเู้ รียนเปน็ คนที่คดิ อย่างมีวจิ ารณญาณ (critical thinking) แกป้ ญั หาเป็น (problem solving) และ มีทักษะการเรยี นรู้ (learning skill) ในรปู แบบของตนเอง สง่ เสรมิ ทักษะเฉพาะทางด้าน วชิ าชพี เพื่อสรา้ งแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อหรอื ประกอบอาชีพใน สงั คมต่อไป โดยสง่ เสรมิ ใหค้ รูจดั การเรยี นการสอนทเ่ี น้นใหเ้ กิดการ เรยี นรผู้ า่ นการลงมอื ปฏบิ ัติ (learning by doing) สอนในสงิ่ ทจ่ี าเป็น ไม่ เน้นการสอน แต่เนน้ ใหเ้ กดิ การเรียนรู้ให้มาก (teach less learn more) โดยเน้นการใช้วธิ กี ารจัดการศกึ ษาแบบห้องเรียนกลบั ดา้ น (flipped classroom) เพื่อเรียนการประยุกตใ์ ชค้ วามรู้ ให้เกดิ ทักษะ โดยเน้นหนกั ในการจัดกจิ กรรมผ่านโครงงาน PBL (project base learning) เพื่อประเมนิ ผลการเรียนร้ขู องผเู้ รียนในแตล่ ะรายบุคคล ส่งเสรมิ สนบั สนนุ ทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้ครบท้ัง 7C เพ่อื ให้ผู้เรียน สามารถอย่รู ว่ มในสภาพสังคมท่มี กี ารเปลีย่ นแปลงได้อย่างมีความสขุ

แหลง่ ข้อมลู อา้ งองิ  http://www.youtube.com/watch?v=TpYcvhuHniM  http://www.youtube.com/watch?v=gQXZmXfSJPw  http://www.youtube.com/watch?v=J2zpoCcqayc  http://www.gotoknow.org/posts/555365 'Flipped  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=883589  http://www.it24hrs.com/2014/maehongson-it-valley-ep-01/


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook