Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

Published by Siri Porn, 2022-02-04 14:31:58

Description: ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

Search

Read the Text Version

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

สารบัญ หน้าที่ ความหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม 2 บุคคลที่มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และกำหนดเวลาการจดทะเบียน สิทธิของผู็ประกอบกิจการ 3 วิธีการจดทะเบียนภาษีใูลค่าเพิ่ม ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 4 การแจ้งเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 4 ประเภทของใบกำกับภาษี แบบคำร้อง/คำขอและแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม 5 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม บทกำหนดโทษกรณีปฏิบัติฝ่าฝืนเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม 6 บรรณานุกรม 6 7 8-9 10 11-12 13

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 2 “ภาษี” คือเงินที่รัฐบาลเรียกเก็บจากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เพื่อนำรายได้ส่วนนี้ไป เป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ การเสียภาษีจึงเป็นหน้าที่ของประชาชนที่ต้องพึงปฏิบัติใน ฐานะพลเมืองของประเทศ โดยประโยชน์ของการเสียภาษี จะย้อนกลับมาตอบแทนประชาชนใน 2 ลักษณะ คือ เป็นเงินเดือนข้าราชการพนักงานของรัฐ และ นำรายได้จากภาษีไปพัฒนาประเทศ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (อังกฤษ: Value Added Tax หรือ VAT) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แวต เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะ จากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น สมมติว่า อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10 ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา 100 บาท และมีภาษีซื้อ 10 บาท เมื่อผลิตเป็นสินค้าขายในราคา 150 บาท ตอนขายไปจะต้องคิดภาษีขาย 15 บาท ดังนี้ ก็ จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน 15-10 = 5 บาท เท่านั้น ถ้าการซื้อ และขายเกิดขึ้น ภายในรอบการจ่ายภาษีเดียวกัน ในประเทศไทยได้กำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 10% แต่ทั้งนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้น มา คณะรัฐมนตรีจะออกพระราชกฤษฎีกาลดภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือ 7% เป็นประจำทุกปี โดยที่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1 ใน 9 ที่เก็บได้ จะถูกโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และที่เหลืออีก 8 ส่วนจะถูกโอนให้แก่รัฐบาลกลาง ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นครั้งแรก จากการที่เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่มีการกล่าวถึงความไม่ เหมาะสมของโครงสร้างภาษีการค้าต่อเศรษฐกิจของประเทศ อันได้แก่ความซ้ำซ้อนของระบบ ภาษีการค้าที่เป็นอยู่ และความหลากหลายของโครงสร้างอัตราภาษีนอกจากความบกพร่องของ ระบบภาษีการค้า ความต้องการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีของทางการยังสืบเนื่องมาจากเหตุผล ทางด้านภาษีอากรอีกด้วย กล่าวคือ ความสามารถในการหารายได้ของรัฐผ่านเครื่องมือทาง ภาษีการค้าและภาษีศุลกากรได้ลดน้อยลงเป็นลำดับ ด้วยเหตุผลดังกล่าว กระทรวงการคลัง จึงได้เสนอพิจารณายกเลิกภาษีการค้า และนำภาษี มูลค่าเพิ่มมาใช้แทน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะมีอัตราเดียวที่ใช้กับสินค้าและบริการทุกชนิด สำหรับสินค้าใดที่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจที่จะเก็บสูงกว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เก็บภาษีสรรพ สามิตเพิ่มเติมจากภาษีมูลค่าเพิ่ม

3 ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และกำหนดเวลาการจดทะเบียน ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กำหนดเวลาการจดทะเบียน 1. ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจาก ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน การขายสินค้าหรือให้บริการเป็นปกติ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน ธุระ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี 2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน บริการ ซึ่งมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ ภายในกำหนด 6 เดือน ได้ว่า ได้มีการดำเนินการ และเตรียม ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ เว้นแต่ การประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้อง มีสัญญาหรือหลักฐานจะดำเนินการ มีการซื้อสินค้า หรือรับบริการที่อยู่ใน ก่อสร้าง ภายในเวลาที่เหมาะสม บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การ ก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคาร สำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร 3. ผู้ประกอบการอยู่นอกราช อาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้ บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ให้ ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการ จดทะเบียน

4 ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม ได้แก่ 1. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหาร สัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน 2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมี รายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี 3. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน 4. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 5. การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร ให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอแจ้งใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01.1 จำนวน 1 ชุด 3 ฉบับ พร้อมกับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01 ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี 2. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย 3. ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร 4. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราช อาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดี กรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ . ศ . 2536 5. ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถกระทำได้ 2 ช่องทาง ดังนี้ 1. ยื่นแบบคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ www.rd.go.th 2. ยื่นแบบคำขอด้วยกระดาษ ณ หน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการ - สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม - เอกสารที่ใช้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอแจ้งใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01.1 จำนวน 1 ชุด 3 ฉบับ พร้อมกับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01

5 ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.01 พร้อมเอกสาร ที่ เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว จะมีการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.20) ให้ ซึ่งจะมีผลให้ผู้ ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่า เพิ่มเป็นต้นไป กรณีที่ผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เพียงแห่งเดียว แต่กรมสรรพากรจะออกใบ ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) ให้แก่สถานประกอบการทุกแห่ง โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนจะ ต้องนำใบทะเบียนดังกล่าวไปแสดงไว้ในที่ที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการแห่งนั้นๆ กรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ประกอบการจด ทะเบียนจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่า เพิ่มไว้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ซึ่งใบแทนดังกล่าวถือ เป็นใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอแจ้งใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01.1 จำนวน 1 ชุด 3 ฉบับ พร้อมกับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01 ให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอแจ้งใช้สิทธิ เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01.1 จำนวน 1 ชุด 3 ฉบับ พร้อมกับคำขอจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01

6 การแจ้งเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การแจ้งเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงกรณีต่าง ๆเกิดขึ้น จะต้องยื่นคำขอเพื่อแจ้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม - สถานที่ และกำหนดเวลาการยื่นแจ้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม - เอกสารที่ใช้ยื่นแจ้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ 2. ออกใบกำกับภาษี 2.1 ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี 2.2 การออกใบกำกับภาษีด้วยกระดาษ 2.3 การออกใบกำกับภาษีด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 3. จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่ 3.1 รายงานภาษีซื้อ 3.2 รายงานภาษีขาย 3.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ 4. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ช่องทางการยื่น 4.1 การยื่นแบบฯและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต 4.2 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา 4.3 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่ธนาคารพาณิชย์ไทย 4.4 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ 1-5 และสำนักงานสรรพสามิตสาขา สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องเสียทั้งภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม 4.5 การยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่า ด้วยศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าสินค้าสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้นำเข้าที่นำ เข้าสินค้า

7 ใบกำกับภาษี ประเภทของใบกำกับภาษี 1.ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป 1.1 การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป 1.2 การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม เพื่อออกฉบับใหม่ 1.3 การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ 2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ 3. เอกสารอื่นที่ถือเป็นใบกำกับภาษี (1) ใบเพิ่มหนี้ (2) ใบลดหนี้ (3) ใบเสร็จรับเงินที่ส่วนราชการออกให้ในการขายทอดตลาด (4) ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร กรมศุลกากร หรือกรมสรรพสามิต เฉพาะส่วน ที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม

แบบคำร้อง/คำขอและแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม 8 แบบคำร้อง/คำขอ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ลำดับ ชื่อย่อ ชื่อเต็ม 1. ภ.พ.01 แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร 2. ภ.พ.01.1 แบบคำขอแจ้งขอใช้สิทธิ์เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 3. ภ.พ.01.2 แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว 4. ภ.พ.01.3 แบบแจ้งการประกอบกิจการค้าทองคำ - ผู้ประกอบการที่มีหรือไม่มีใบอนุญาตค้าของเก่าสามารถจดแจ้ง ตามแบบ ภ.พ.01.3 ได้ 5. ภ.พ.01.5 แบบแจ้งการประกอบกิจการนำเข้าหรือขายอัญมณี ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียม 6. ภ.พ.01.6 คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวในเขตปลอดอากร 7. ภ.พ.02 แบบคำขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน 8. ภ.พ.02.1 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมกัน 9. ภ.พ.04 แบบคำขอรับใบแทนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 10. ภ.พ.05.1 แบบแจ้งรายการประมาณการการใช้พื้นที่อาคาร 11. ภ.พ.05.2 แบบแจ้งวันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์

9 แบบคำร้อง/คำขอ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ลำดับ ชื่อย่อ ชื่อเต็ม 12. ภ.พ.05.3 แบบแจ้งรายการเริ่มใช้อาคาร 13. ภ.พ.05.4 แบบแจ้งรายการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคาร 14. ภ.พ.06 แบบคำขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีตาม ประมวลรัษฎากร 15. - หนังสืออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามข้อ 9 (ตามประกาศอธิบดี กรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536) 16. ภ.พ.06.1 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินที่เคยได้รับอนุมัติ 17. ภ.พ.07 แบบคำขออนุมัติให้สถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นผู้ประกอบกิจการขาย สินค้าหรือให้บริการายย่อย 18. ภ.พ.08 แบบคำขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร 19. ภ.พ.09 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว 20. ภ.พ.09.1 แบบคำขอให้นำเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร 21. ภ.พ.13 แบบคำขออนุมัติจัดทำรายงานตามมาตรา 87/1 แห่งประมวลรัษฎากร ของสถานประกอบการรถเข็นล้อเลื่อน/แผงลอย/ร้านค้าย่อย/ลักษณะอื่น 22. ภ.พ.14

10 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ลำดับ ชื่อย่อ ชื่อเต็ม 1. ภ.พ.30 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร 2. ใบแนบ ภ.พ.30 ใบแนบ ภ.พ.30 รายละเอียดภาษีขายและภาษีซื้อของสถานประกอบ การแต่ละแห่ง 3. ภ.พ.30.2 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตาม ส่วนของรายได้ 4. ภ.พ.30.3 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตาม ส่วนของการใช้พื้นที่อาคาร 5. ภ.พ.36 แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อสินค้าทั้งที่ผลิตในประเทศ และต่างประเทศหรือเป็นผู้ได้รับบริการคนสุดท้าย ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ผู้บริโภคคนสุดท้ายจะ จ่ายภาษีซื้อ 7% ในตอนซื้อสินค้า และเรียกเก็บภาษีขาย 7% ในตอนขายสินค้า เมื่อสิ้นเดือน จะนำภาษีซื้อและภาษีขายมาหักลบกัน ผลต่าง หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจะเป็น ลูกหนี้- สรรพากร หรือ ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ จะเป็น เจ้าหนี้-สรรพากร

11 ค่าปรับอาญา เป็นบทลงโทษอย่างหนึ่งตามประมวลรัษฎากร ที่กำหนดโทษเป็นจำนวนเงินที่กฎหมาย กำหนดขึ้นเพื่อลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายหรือกำหนดโทษเป็นจำคุก หรือทั้งปรับทั้งจำ ซึ่งมีบทกำหนดโทษ ดังนี้ บทกำหนดโทษกรณีปฏิบัติฝ่าฝืนเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีปฏิบัติฝ่าฝืน ฐานความผิด ปฏิบัติฝ่าฝืน โทษ 1. ผู้ประกอบการซึ่งมีหน้าที่จด ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มประกอบ มาตรา 90/2 มาตรา 85/1 จำคุกไม่เกิน 1 เดือน/ กิจการโดยไม่จดทะเบียนภาษี ปรับ 5,000 บาท หรือ มูลค่าเพิ่ม ทั้งจำทั้งปรับ 2. ผู้ประกอบการจดทะเบียนมี การเปลี่ยนแปลงไม่แจ้ง มาตรา 85/6 มาตรา 90/7 2.1 การเปลี่ยนแปลงรายการ มาตรา 85/7 ปรับไม่เกิน 2,000 บาท ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 90/1(3) ปรับไม่เกิน 5,000 บาท 2.2 เปิดสถานประกอบการเพิ่ม มาตรา 90/(9) เติมหรือปิดสถานประกอบการ มาตรา 90/1(4) มาตรา 85/8 ปรับไม่เกิน 2,000 บาท บางแห่ง มาตรา 85/13 ปรับไม่เกิน 5,000 บาท มาตรา 90/1(5) 2.3 ย้ายสถานประกอบการ มาตรา 85/13วรรค 1 ปรับไม่เกิน 5,000 บาท 2.4 โอนกิจการบางส่วน มาตรา 90/(10) หรือมาตรา 85/15 ปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือรับโอนกิจการบางส่วน 2.5 เลิกประกอบกิจการหรือ มาตรา 85/12 โอนกิจการทั้งหมด 2.6 หยุดประกอบกิจการ ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือปิด สถานประกอบการบางแห่ง ชั่วคราวเกิน 30 วัน

บทกำหนดโทษกรณีปฏิบัติฝ่าฝืนเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม 12 กรณีปฏิบัติฝ่าฝืน ฐานความผิด ปฏิบัติฝ่าฝืน โทษ 3. ผู้ประกอบการจดทะเบียน มาตรา 90/(8) มาตรา 85/7 วรรค 3 ปรับไม่เกิน 2,000 บาท ไม่คืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 85/8 วรรค 2 มาตรา 85/15วรรค 2 มาตรา 85/17วรรค 2 4. ผู้ประกอบการจดทะเบียน มาตรา 90/4(1) มาตรา 86 วรรค 2 จำคุกตั้งแต่ 3เดือนถึง 7 ปีและ เจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายาม หรือมาตรา 86/1 ปรับตั้งแต่ หลีกเลี่ยง 2,000-200,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มี สิทธิที่จะออก 5. ผู้ประกอบการเจตนานำใบ มาตรา 90/4(7) จำคุกตั้งแต่ 3 เดือน กำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับ ถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ ภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วย 2,000-200,000 บาท กฎหมายไปใช้ในการเครดิตภาษี 6. ผู้ประกอบการจดทะเบียน มาตรา 90/3(3) มาตรา 87 หรือ 87/1 จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับ ไม่จัดทำรายงาน ไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำ ทั้งปรับ 7. ผู้ประกอบการจดทะเบียน มาตรา 90(2) มาตรา 83 หรือ 83/1 ปรับไม่เกิน 2,000 บาท ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี 8. จงใจไม่เก็บและรักษาใบกำกับ มาตรา 90(16) มาตรา 87/3 ปรับไม่เกิน 2,000 บาท ภาษีหรือสำเนาใบกำกับภาษี 9. ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก มาตรา 90/2(7) มาตรา 88/4 จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงาน เกิน 5,000 บาทหรือทั้งจำทั้ง ประเมิน ปรับ

13 บรรณานุกรม - ประมวลรัษฎากร และกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีอากร หมวด 4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม - https://www.itax.in.th - https://www.myaccount-cloud.com - https://www.rd.go.th/27864.html - https://www.53ac.com - https://sites.google.com


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook