Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ปลาน้ำจืดในประเทศไทย

ปลาน้ำจืดในประเทศไทย

Published by Chalita Wongrattananukun, 2022-09-13 04:30:49

Description: blue World Water day (Instagram Story)

Search

Read the Text Version

ปลานํ้าจืด ในประเทศไทย

ปลาหมูข้างลาย ชื่อสามัญ Tiger botia ชื่อวิทยาศาสตร์ Syncrossus hymenophysa (Bleeker, 1852) ลักษณะทั่วไปของปลาหมูลาย เป็นปลาน้ำจืดที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกแตกต่างกันออก ไป เช่น ปลางวง เป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ตามดินดาน หรือ ดินทราย ที่มี กระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ ชอบอยู่ตามซอกหรือตามโพรง ลำตัวมีสีสันสวย งดงาม ลำตัวป้อม ด้านข้างแบน จะงอยปากเล็กเรียว ตรงปลายมีหนวด เป็นกระจุก ปากมีขนาดเล็ก ตาเล็ก มีเงี่ยงแหลม ปลายแยกเป็นสองแฉก ครีบหางปลายแยกเป็นแฉกลึก ครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัว ขนาดของครีบหู ครีบท้อง และครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวมีสีเหลืองแกมเขียวมีริ้ว สีน้ำเงินเข้มพลาดขวางลำตัวประมาณ 11 แถบ ครีบหู และครีบก้นเป็นสี เหลือง ขนาดใหญ่ที่พบมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ขนาดที่พบส่วน มากมีขนาด 12-15 เซนติเมตร น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาตองลาย (อังกฤษ: Royal knifefish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala blanci อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีรูปร่างเหมือน ปลาทั่วไปในวงศ์นี้ แต่มีส่วนหลังและหน้าผากลาดชันน้อยกว่าปลากราย (C. ornata) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน สีลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ลำตัวด้าน ท้ายมีลายจุดและขีดจำนวนไม่แน่นอนคาดเฉียงค่อนข้างเป็นระเบียบ มีขนาด ประมาณ 60 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1 เมตร เป็นปลาที่พบได้เฉพาะแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาที่ไหลสู่แม่น้ำโขง โดยมีรายงาน พบเมื่อปี พ.ศ. 2510 และมีรายงานพบที่แม่น้ำน่านด้วยเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่ง ถือว่าเป็นมีแค่เพียงสองแหล่งนี้ในโลกเท่านั้น เป็นปลาที่หายากชนิดหนึ่ง โดย มีชื่อติดอยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) เมื่อปี พ.ศ. 2537 ด้วย โดยอยู่ในระดับหายาก (R)แต่ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาหมูหางแดง ชื่อสามัญ Redtail botia ชื่อวิทยาศาสตร์ Yasuhikotakia modesta (Bleeker, 1864) ลักษณะทั่วไปของปลาหมูหางแดง เป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวเรียวยาว มีขนาดประมาณ 5-10 เซนติเมตร ส่วนหลังโค้งลาดมายังส่วนหัวและส่วนหาง จะงอยปากเรียวแหลม ปากเล็ก ริมฝีปากบนมีหนวดสั้นอยู่ 3 คู่ ตาเล็ก มีเงี่ยงแหลมปลายแยกเป็น 2 แฉก อยู่หน้าตา ใช้ในการต่อสู้ และป้องกันตัว ครีบหลังใหญ่ ครีบหางปลายแยก เป็นแฉก ส่วนครีบหู ครีบท้อง และครีบก้นมีลักษณะปลายมน สีของลำตัว เป็นสีเขียวปนเทา หลังมีสีเทาเข้ม ท้องสีเทา มีแถบสีดำจางที่โคนครีบหาง กินตัวอ่อนแมลง และหนอนที่อยู่ตามโคลนตม ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตาม บริเวณพื้นโคลน ตอไม้ รากไม้ และซอกหินใต้น้ำ น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาตะเพียนทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Barbonymus altus (Günther, 1868) ลักษณะทั่วไปของปลาตะเพียนทอง ลำตัวเป็นสีน้ำตาลทองซึ่งในช่วงวัยเจริญพันธุ์มีสีลำตัวเป็นสีเหลือง ทอง ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนกับปลาตะเพียนขาว คือ ลำตัวแบนข้าง หัวเล็ก ปากเล็ก ริมฝีปากขอบส่วนโค้งยกสูงขึ้น ความยาวของลำตัวเท่ากับ 2.5 เท่า ของความสูง จะงอยปากแหลม มีหนวดเส้นเล็ก ๆ 2 คู่ ลำตัวเป็นสีเงิน ส่วนหลังมีสีคล้ำ ส่วนท้องสีขาว โตเต็มที่มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร แต่ปลาตะเพียนทองมีสีสวยงามกว่า ที่ฐานของครีบหางเป็นสีแดงส้ม ครีบ หลัง ครีบท้อง และครีบก้นมีสีส้ม ซึ่งสีลดลงเมื่อปลาอายุมากขึ้น การกิน อาหารกินพืช และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร วางไข่ในฤดูฝน โดยวางไข่ บริเวณน้ำไหล เป็นไข่แบบครึ่งจมครึ่งลอย น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลากาแดง ชื่อสามัญ Rainbow sharkminnow ชื่อวิทยาศาสตร์ Epalzeorhynchos frenatum (Fowler, 1934) ลักษณะทั่วไปของปลากาแดง ปลากาแดง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กาแดงนคร อยู่ในสกุลเดียวกับ ปลาทรงเครื่องดูคล้ายปลาทรงเครื่องมาก แต่แตกต่างที่ลำตัวค่อนข้างยาว เรียวกว่า ตัวไม่ดำอย่างปลาทรงเครื่อง เป็นปลาที่มีลักษณะ มีรูปร่างยาว เพรียว คล้ายฉลาม หัวเล็กปากเล็ก มีหนวด 4 เส้น ครีบมีขนาดใหญ่ และสูง จัดเป็นปลาที่สวยงามชนิดเนื่องจากมีครีบต่าง ๆ เป็นสีแดงสด หรือ สีส้มอม แดง ตัดกับลำตัวสีดำ มีเส้นสีดำคาดตา และจุดสีดำรูปไข่ บริเวณโคนที่คอด หาง ในอดีตจับได้จำนวนมากจากแม่น้ำโขง ที่จังหวัดนครพนม จึงได้ชื่อว่า “กาแดงนครพนม” และพบที่แม่น้ำสงคราม กินอาหารจำพวกสาหร่าย และ ตะไคร่น้ำที่ขึ้นตามโขดหิน แพลงก์ตอนสัตว์ และเศษพืชเน่าเปื่ อย ปลาชนิดนี้ มีขนาดเล็กเพียง 12 เซนติเมตรเท่านั้น น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลากาแดง ชื่อสามัญ Rainbow sharkminnow ชื่อวิทยาศาสตร์ Epalzeorhynchos frenatum (Fowler, 1934) ลักษณะทั่วไปของปลากาแดง ปลากาแดง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กาแดงนคร อยู่ในสกุลเดียวกับ ปลาทรงเครื่องดูคล้ายปลาทรงเครื่องมาก แต่แตกต่างที่ลำตัวค่อนข้างยาว เรียวกว่า ตัวไม่ดำอย่างปลาทรงเครื่อง เป็นปลาที่มีลักษณะ มีรูปร่างยาว เพรียว คล้ายฉลาม หัวเล็กปากเล็ก มีหนวด 4 เส้น ครีบมีขนาดใหญ่ และสูง จัดเป็นปลาที่สวยงามชนิดเนื่องจากมีครีบต่าง ๆ เป็นสีแดงสด หรือ สีส้มอม แดง ตัดกับลำตัวสีดำ มีเส้นสีดำคาดตา และจุดสีดำรูปไข่ บริเวณโคนที่คอด หาง ในอดีตจับได้จำนวนมากจากแม่น้ำโขง ที่จังหวัดนครพนม จึงได้ชื่อว่า “กาแดงนครพนม” และพบที่แม่น้ำสงคราม กินอาหารจำพวกสาหร่าย และ ตะไคร่น้ำที่ขึ้นตามโขดหิน แพลงก์ตอนสัตว์ และเศษพืชเน่าเปื่ อย ปลาชนิดนี้ มีขนาดเล็กเพียง 12 เซนติเมตรเท่านั้น น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาเสือสุมาตรา ชื่อสามัญ Tiger barb ชื่อวิทยาศาสตร์ Puntius partipentazona (Fowler, 1934) ลักษณะทั่วไปของปลาเสือพ่นน้ำ ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาที่มีขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนแต่มี ขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปลำตัวมีสีเหลืองทอง มีแถบสีดำพาดขวางลำตัว 5 แถบ ตั้งแต่หัว หน้าครีบหลัง บนครีบหลัง เหนือครีบก้น และปลายคอดหาง บริเวณปลายครีบมีสีส้ม ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาที่ว่ายน้ำตลอดเวลา และมี ความว่องไว ค่อนข้างทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ปลาตัวผู้มี สีเข้มสดใส ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ แต่มีนิสัยก้าวร้าว โตเต็มที่มี ขนาด 5 เซนติเมตร น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาเสือตอ ชื่อสามัญ Tiger fish , Siamess tigerfish , Gold datnoid ชื่อวิทยาศาสตร์ Datnioides undecimradiatus (Roberts & Kottelat, 1994) ลักษณะทั่วไปของปลาเสือตอ ปลาเสือตอเป็นปลาในวงศ์ Family Lobotidae ซึ่งปลาในวงศ์นี้ ใน แหล่งน้ำจืดของประเทศไทย พบเพียง 2 ชนิด คือ ปลาเสือตอ และปลากระ พงลาย ปลาทั้งสองชนิดมีรูปร่างคล้ายกันมากต่างกันที่ลายบนตัวปลาซึ่งใน ปลาเสือตอมีเส้นลายดำพาดขวางประมาณ 6 แถบ แต่ในปลากระพงลายเส้น ลายดำมีถึง 8-10 แถบ และสีของปลาเสือตอเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ส่วนของ ปลากระพงลาย เป็นสีเงินอมเทา ปลาเสือตอเป็นปลาที่มีรูปร่างค่อนข้าง แปลก หัวแหลมท้ายกว้าง ลำตัวค่อนข้างลึกแบนข้าง ลำตัวสีครีมหรือสี น้ำตาลอ่อน จุดเด่น คือ มีลายดำพลาดขวางลำตัว 6 ลาย จะงอยปากยื่น ยาว ปากกว้างสามารถยืดหดได้ ดวงตากลมมีขนาดใหญ่ ส่วนหัวลาดลงเป็น ปลายแหลม และมีครีบ 7 ครีบ น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาเสือพ่นน้ำ ชื่อสามัญ Archer fish ชื่อวิทยาศาสตร์ Toxotes chatareus (Hamilton, 1822) ลักษณะทั่วไปของปลาเสือพ่นน้ำ ปลาเสือพ่นน้ำเป็นปลาที่มีลักษณะเด่น คือ ส่วนหัว และลำตัว ประกอบด้วยจุดสีดำกลม หรือรี จำนวน 6-7 จุด ครีบหางตัดตรงมีสีส้มอม เหลือง ครีบหลัง และครีบก้นมีสีเหลืองขอบเป็นสีดำ จะงอยปากแหลม ตามี ขนาดใหญ่ค่อนไปทางด้านบน จึงมีความสามารถมองเห็นเหนือผิวน้ำได้ดี ขา กรรไกรล่างยาวกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย ลำตัวรูปทรงขนมเปียกปูน ป้อม สั้น แบนข้าง โดยเฉพาะท้องแบนเป็นสัน บริเวณท้องมีสีเงิน ลำตัวสีเหลือง ลายดำเหมือนเสือ จึงได้ชื่อว่า ปลาเสือ มีขนาดลำตัวทั่วไปยาวเฉลี่ยไม่เกิน 20 ซม. ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบยาว 25 ซม. การแยกเพศสังเกตจาก ลักษณะภายนอก เพศเมียมีช่วงท้องยาวกว่าเพศผู้ ปลาเสือพ่นน้ำ เป็นปลาที่ ชอบว่ายน้ำขึ้นมาตามผิวน้ำหรือระดับใต้ผิวน้ำพอดี การเคลื่อนที่ในระยะยาว มักเคลื่อนไปในแนวเส้นตรง และมองเห็นน้ำแยกเป็นทางที่ปลายขอบกระพุ้ง แก้ม จนทำให้สามารถรู้ว่ามีปลาว่ายน้ำในบริเวณนั้น น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาสร้อยขาว (อังกฤษ: Siamese mud carp) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Henicorhynchus siamensis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวเพรียวยาว หัวโตและกลมมน ปากเล็กอยู่ เกือบจะสุดจะงอยปาก กึ่งกลางของริมฝีปากมีปุ่มกระดูกยื่นออกมา ไม่มี หนวด เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวสีเงินอมเทา เหนือครีบอกมีจุดสีคล้ำ ครีบ หลังเล็ก ครีบหางเว้าลึกและมีจุดประสีคล้ำ โคนครีบหางมีจุดสีจาง มีขนาดโต เต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 20 เซนติเมตร ปลาสร้อยขาวมีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ และในฤดูฝนจะมีการอพยพ ย้ายถิ่นขึ้นสู่ต้นน้ำหรือบริเวณที่น้ำหลากเพื่อวางไข่และหากิน พบในแหล่งน้ำ หลาก หนองบึง และแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคอีสานของไทย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างยิ่งของภาคอีสาน โดยนิยมนำมาทำปลาร้า และทำน้ำปลา เป็นที่มาของน้ำปลารสชาติดี คือ \"น้ำปลาปลาสร้อย น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาสร้อยนกเขา ชื่ออื่นๆ ขี้ขม , ซ่า , นกเขา , พรมหัวเหม็น (ภาคกลางและภาคใต้) , อีไทย (ภาคเหนือและอีสาน) , อิกันตูโบ (มลายู) ชื่อวิทยาศาสตร์ Osteochilus hasseltii (Valenciennes, 1842) ชื่ออังกฤษ Nilem carp, Carp, Javakarpe ถิ่นอาศัย พบในทั่วทุกภาคของประเทศ นอกจากนี้ยังพบในประเทศอื่นใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะอินดีสตะวันออก ขนาด มีขนาด 15-20 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบ 30 เซนติเมตร ลักษณะ ปลาสร้อยนกเขาจัดเป็นปลากินพืช(Herbivorous) ปลาน้ำจืดมี เกล็ด ลำตัวค่อนข้างแบน ปากเล็ก มีหนวด 2 คู่คือที่บริเวณ ขากรรไกรบน และใต้คางอย่างละ 1 คู่ จากข้อมูลลักษณะภายนอก ลักษณะสีของลำตัวจะ เปลี่ยนไปตามอายุ ขนาด และแหล่งที่อยู่อาศัย ปลาสร้อยนกเขาที่มีขนาดโต เต็มวัย ลำตัวบริเวณส่วนหลังมีสีน้ำตาลเข้มปนดำ บริเวณข้างลำตัวมีสี น้ำตาลปนเหลือง น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาหมอ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabas testudineus ในวงศ์ ปลาหมอ (Anabantidae) มีรูปร่างป้อม ลำตัวแบนข้าง ตาโต ปากกว้าง ขอบฝาปิดเหงือกหยักแข็ง เกล็ดใหญ่คลุมทั้งลำตัว มีขอบเกล็ดแบบหยัก ผิวสาก เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหลังยาวเกือบเท่าความยาวลำตัว มีก้าน ครีบแข็งแหลมคมจำนวนมากเช่นเดียวกับครีบก้น แต่ครีบก้นสั้นกว่า ครีบ อกเล็กเป็นรูปไข่ ครีบหางปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกและมีลายประสีคล้ำที่ ข้างลำตัว ครีบใส ลำตัวด้านท้องมีสีเหลือง ขอบฝาปิดเหงือกตอนบนมีแต้ม สีคล้ำ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นแผ่นริ้วย่น ๆ อยู่ตอนบนของของช่องเหงือก จึงสามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรงโดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจน ละลายในน้ำ และสามารถอยู่บนบกหรือพื้นที่ขาดน้ำได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งในฤดูฝนบางครั้งจะพบปลาหมอแถกเหงือกไถลคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่ อยู่ใหม่ได้ ด้วยความสามารถอันนี้ในภาษาอังกฤษจึงเรียกปลาชนิดนี้ว่า \"Climbing perch\" หรือ \"Climbing gourami\" น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาหมอเทศ (อังกฤษ: Mozambique tilapia, Three spotted tilapia) ปลาน้ำจืด ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis mossambicus อยู่ในวงศ์ ปลาหมอสี (Cichlidae) มีลักษณะรูปร่างทั่วไปคล้ายปลานิล (O. niloticus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกันและสกุลเดียวกัน แต่ว่า ปลา หมอเทศมีรูปร่างที่เล็กกว่า มีปากกว่าที่ยื่นยาวกว่า และไม่มีลายบนครีบ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2492 โดย ผ่านมาจากปีนัง แต่ทว่า ความนิยมในการบริโภคของปลาหมอเทศสู้ปลานิล ไม่ได้ เนื่อจากเนื้อค่อนข้างแข็ง ดังนั้น จึงมีราคาจำหน่ายที่ต่ำกว่าปลานิล น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาหมอตาล (อังกฤษ: Kissing gourami) หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาจูบ ปลาน้ำจืด ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helostoma temminckii ในวงศ์ Helostomatidae จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวและสกุลเดียวเท่านั้นที่อยู่ใน วงศ์นี้ มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนมากกว่าปลาหมอไทย หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กยืดหดได้ ริมฝีปากหนา นัยน์ตาอยู่ในระดับเดียวกันกับมุมปาก มี เกล็ดขนาดปานกลางปกคลุมส่วนหัวและลำตัว ฟันละเอียด ตาอยู่เหนือมุม ปาก ครีบหลังและครีบก้นมีก้านครีบแข็งและอ่อน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 5 ซี่ เกล็ดเล็กมีอยู่ที่เส้นข้างตัว 44-48 เกล็ด เส้นข้างลำตัวขาดตอนตรง บริเวณใต้ก้านครีบอ่อนของครีบหลัง ครีบท้องและครีบก้นยาว ลำตัวเป็นสี เขียวปนเทา หลังมีสีเทาปนดำ ท้องสีขาว มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจเช่น เดียวกับปลาในวงศ์ Osphronemidae จึงสามาถอาศัยในแหล่งน้ำที่มี ออกซิเจนละลายในปริมาณที่ต่ำได้ น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาสลิด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pectoralis ใน วงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T. trichopterus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีลำตัวที่หนาและยาว กว่า หัวโต ครีบหลังในตัวผู้มีส่วนปลายยื่นยาวเช่นเดียวกับครีบก้น ครีบอก ใหญ่ ตาโต ปากเล็กอยู่สุดปลายจะงอยปาก ครีบหางเว้าตื้นปลายมน ตัวมีสี เขียวมะกอกหรือสีน้ำตาลคล้ำ มีแถบยาวตามลำตัวตั้งแต่ข้างแก้มจนถึง กลางลำตัวสีดำ และมีแถบเฉียงสีคล้ำตลอดแนวลำตัวด้านข้างและหัว ครีบมี สีคล้ำ ขนาดโดยเฉลี่ย 10-16 เซนติเมตร พบขนาดใหญ่สุดถึง 25 เซนติเมตร นับ เป็นปลาในสกุล Trichogaster ที่ใหญ่ที่สุด มีถิ่นอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งที่มีพืชน้ำและหญ้ารกริมตลิ่งของภาคกลาง, ภาค อีสานและภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบในประเทศรอบข้าง น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

สกุลปลากระดี่ (อังกฤษ: Gourami, อินโดนีเซีย: Sepat, อีสาน: กระเดิด) เป็นสกุลปลาน้ำ จืดจำพวกหนึ่ง ในสกุล Trichogaster ในวงศ์ย่อย Luciocephalinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างโดยทั่วไป คือ แบนข้างคล้ายใบไม้ หัวมีขนาดเล็ก ปลายปากค่อนข้าง แหลม ปากมีขนาดเล็ก มีครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใหญ่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า \"ตะเกียบ\" เป็นอวัยวะช่วยในการสัมผัส มีก้านครีบแขนง 2-4 ก้าน ครีบหลัง มีก้านครีบเดี่ยว 3-9 ก้าน และก้านครีบแขนง 7-11 ครีบ ครีบก้นมีก้านครีบ เดี่ยว 9-14 ก้าน และมีก้านครีบแขนง 25-40 ก้าน ครีบท้องและครีบก้นต่อ ยาวเป็นแถวเดียวกัน โดยที่ไม่มีเส้นข้างลำตัว ปลายครีบหางไม่เว้ามาก นัก[1] เป็นปลาที่มีการแพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย พบได้แทบทุกประเภทของแหล่งน้ำจืด มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่ น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลากระดี่มุก ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster leeri ในวงศ์ ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T. trichopterus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่กระดี่มุกมีลำตัวกว้าง กว่าเล็กน้อย ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นมีขนาดใหญ่และมีก้านครีบอ่อน ยาวเป็นเส้นริ้ว ลำตัวสีเงินจาง มีแถบสีดำจางพาดยาวไปถึงโคนครีบหาง ท้องมีสีส้มหรือสีจาง และมีจุดกลมสีเงินมุกหรือสีฟ้าเหลือบกระจายไปทั่ว อัน เป็นที่มาของชื่อ \"กระดี่มุก\" ครีบท้องเป็นสีส้มสดหรือสีเหลือง มีความยาวเต็มที่เฉลี่ย 10-12 เซนติเมตร มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำที่มีค่าของน้ำมี ความเป็นกรดต่ำกว่าค่าของน้ำปกติ (ต่ำกว่า 7.0) เช่น ในป่าพรุ เป็นต้น เป็นปลาจำพวกปลากระดี่ที่พบในธรรมชาติได้น้อยที่สุดในประเทศไทย โดยจะ พบในเฉพาะพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ตอนล่างเท่านั้น นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลากระดี่นาง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster microlepis ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีลำตัวรูปไข่ และแบนข้างมาก หลังยกสูงเล็กน้อย ด้านท้ายเรียวเล็ก หัว ตา และปากเล็ก ครีบอกเล็ก ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าตื้นปลายมน ลำตัวสีเงินนวล เหลือบด้วยสีเขียวและสีฟ้า โดยไม่มีลวดลายใด ๆ ครีบสีจางใส ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวเฉลี่ย 7-14 เซนติเมตร เป็นปลาที่พบได้ในแหล่งน้ำในภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคตะวันออกของ ไทย และยังพบได้ในประเทศอื่นในภูมิภาคอินโดจีนอีกด้วย มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถฮุบอากาศจากผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเหงือก เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะก่อหวอดผสมกับเศษหญ้าหรือ พืชไม้ชนิดต่าง ๆ เป็นปลาที่สามารถใช้บริโภคได้ ในพื้นที่อีสานนิยมบริโภคโดยปรุงสด หรือทำ ปลาร้า ปลาแห้ง อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลากัดหม้อ หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลากัด เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Betta splendens อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้น ยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮุบ อากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบ Ctenoid ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลา ตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลือง ประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ ชัด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งที่มี ขนาดตื้นพื้นที่เล็กทั้งในภาคกลางและภาคเหนือในประเทศไทยเท่านั้น สถานะ ปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ ตกค้าง น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาป่าหรือปลากัดลูกทุ่ง เป็นปลากัดที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ ตามท้องนา และหนองบึง เป็นปลา ขนาดเล็กที่ไม่มีลักษณะเด่นมากนัก ส่วนมากครีบ และหางมีสีแดงเกือบ ตลอด มีประสีดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีแต้มสีเขียวอ่อนๆ เรียงต่อกันเป็น เส้นสีเขียวๆ ที่ครีบหลัง เวลาถอดสี ทั้งตัวและครีบจะเป็นสีน้ำตาลด้านๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ในปัจจุบันคำว่า “ปลาป่า” หมายความรวมถึงปลากัดพื้น เมืองภาคอีสาน และปลากัดพื้นเมืองภาคใต้ด้วย น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลากัดจีน เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลากัดครีบยาวมาช้านาน เข้าใจว่าอาจมาจากลักษณะครีบ ที่ยาวรุ่ยร่ายสีฉูดฉาดเหมือนงิ้วจีน ปลากัดจีนเป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มา จากปลาลูกหม้อ โดยผสมคัดพันธุ์ให้ได้ลักษณะที่มีครีบและหางยาวขึ้น ความ ยาวของครีบหางส่วนใหญ่จะยาวเท่ากับ หรือมากกว่าความยาวของลำตัวและ หัวรวมกัน และมีการพัฒนาให้ได้สีใหม่ๆ และสวยงาม โดยนักเพาะเลี้ยงปลา กัดชาวไทย ซึ่งได้พัฒนาสายพันธุ์สำเร็จมาช้านาน ก่อนที่ปลากัดจะถูกนำไป เลี้ยงในต่างประเทศ แต่ไม่มีการบันทึกไว้ว่า การพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้เกิด ขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ปลากัดชนิดนี้เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามแพร่ หลายไปทั่วโลก และได้มีการนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อเนื่อง จนได้สายพันธุ์ที่มี ลักษณะใหม่ๆ ออกมาอีกมากมาย น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลานิล (อังกฤษ: Nile Tilapia, Mango fish, Nilotica) เป็นปลาน้ำจืดชนิด หนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี ถิ่นกำเนิดปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิม อยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน, ยูกันดา และทะเลสาบแทนกันยีกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดย สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่ง ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการ ส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาทับทิม เป็นการพัฒนาสายพันธุ์โดย เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ บริษัท ซีพี ซึ่งเป็น บริษัทเอกชน จนได้ปลานิลสายพันธุ์ใหม่ที่อดทน สามารถเลี้ยงได้ดีในน้ำ กร่อยได้ เนื้อแน่นมีรสชาติอร่อยกว่าปลานิลธรรมดา เนื่องจากมีสีขาวอม แดงเรื่อ ๆ คล้ายทับทิม จึงได้รับการพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ว่า \"ปลาทับทิม น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาแรด (อังกฤษ: Giant gourami-แปลตรงตัว \"ปลากระดี่ยักษ์\"; ชื่อ วิทยาศาสตร์: Osphronemus goramy) เป็นปลาน้ำจืดในสกุลปลาแรด ในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae นับเป็น ปลาแรดชนิดที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด ลักษณะลำตัวป้อมและแบนข้าง เกล็ดสากมือเป็นรูปหยัก มีก้านครีบท้องคู่ แรกเป็นเส้นเรียวยาวคล้ายหนวด ใช้สำหรับสัมผัส ปลายหางมนกลม ปาก แหลม ริมฝีปากหนา ภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคมเรียงอยู่ภายใน ส่วน หัวเล็กและป้าน เมื่อโตขึ้นมาโดยเฉพาะในปลาตัวผู้จะมีโหนกนูนขึ้นมาเรื่อย ๆ จนดูคล้ายนอแรด อันเป็นที่มาของชื่อในภาษาไทย โคนหางมีจุดสีดำคล้ำอยู่ ทั้ง 2 ข้าง เมื่อโตขึ้นจุดดังกล่าวจะหายไป น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาแป้นแก้ว (วงศ์: Ambassidae อดีตเคยใช้ Chandidae, อังกฤษ: Asiatic glassfish) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง พบทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และทะเล มีลักษณะโดยรวมมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ส่วนหัวและท้องกว้าง ลำตัวแบนข้าง หัว โต ตาโต ปากกว้าง ครีบหลังแบ่งออกได้เป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้ามแข็ง แรงและแหลมคม ตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นมีก้านแข็ง 3 ชิ้น ครีบท้องมีก้านแข็ง 1 ชิ้น ครีบอกเล็ก ลำตัวโดยมากเป็นสีใสหรือขุ่น จนสามารถมองเห็นกระดูกภายในลำตัวได้ ด้านท้องมีสีเงิน เป็นปลากินเนื้อ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ เป็นปลาขนาดเล็กมีขนาด โดยเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นของชายฝั่ ง มหาสมุทรอินเดียจนถึงฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย มีทั้งหมด 8 สกุล 49 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบในน้ำจืด 5 ชนิด โดยชนิดที่พบมากที่สุดคือ ปลา แป้นแก้ว (Parambassis siamensis) และชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลาแป้น แก้วยักษ์ (P. wolffii) น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาน้ำผึ้ง หรือ อีดูด ชื่อสามัญ Siamese algae eater ชื่อวิทยาศาสตร์ Gyrinocheilus aymonieri (Tirant, 1883) ลักษณะทั่วไปของปลาน้ำผึ้ง ปลาน้ำผึ้ง หรืออีดูด เป็นปลาประจำท้องถิ่นของไทย ในธรรมชาติเป็น ปลาขนาดกลาง โตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร มีรูปร่างยาวทรง กระบอก ปลาน้ำผึ้งเป็นปลาขนาดเล็กที่มีลักษณะลำตัวเรียวคล้ายทรง กระบอก ค่อนข้างเรียวไปทางโคนหาง ความยาวลำตัววัดจากจะงอยปากถึง โคนหางเป็น 4.5-5.4 เท่าของความกว้างลำตัว ส่วนหัวสั้น ด้านล่างของส่วน หัว และส่วนท้องแบนราบ ตาค่อนไปทางด้านบนของหัว ปากอยู่ด้านล่าง ลำ ตัวมีสีน้ำตาล บริเวณหลังมีแต้มสีดำ หรือน้ำเงิน ด้านข้างลำตัวของปลาวัย อ่อนมีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดไปตามความยาวของลำตัว ครีบมีสีเหลือง หรือ น้ำตาลพร้อมด้วยจุดสีดำเล็ก ๆ ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังมี ก้านครีบ 13-14 อัน ครีบก้นมีก้านครีบ 8-9 อัน มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 39-41 เกล็ด น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลากราย (อังกฤษ: Clown featherback, Clown knifefish) ปลาน้ำจืดชนิด หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala ornata อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็ม วัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือ คล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3 - 20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปใน แต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร หนัดถึง 15 กิโลกรัม มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกัน เป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำทั้งแหล่ง น้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ปลากรายนับเป็น ปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิต ทอดมันหรือลูกชิ้น น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ปลาตองลาย (อังกฤษ: Royal knifefish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala blanci อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีรูปร่างเหมือน ปลาทั่วไปในวงศ์นี้ แต่มีส่วนหลังและหน้าผากลาดชันน้อยกว่าปลากราย (C. ornata) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน สีลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ลำตัวด้าน ท้ายมีลายจุดและขีดจำนวนไม่แน่นอนคาดเฉียงค่อนข้างเป็นระเบียบ มีขนาด ประมาณ 60 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1 เมตร เป็นปลาที่พบได้เฉพาะแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาที่ไหลสู่แม่น้ำโขง โดยมีรายงาน พบเมื่อปี พ.ศ. 2510 และมีรายงานพบที่แม่น้ำน่านด้วยเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่ง ถือว่าเป็นมีแค่เพียงสองแหล่งนี้ในโลกเท่านั้น เป็นปลาที่หายากชนิดหนึ่ง โดย มีชื่อติดอยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) เมื่อปี พ.ศ. 2537 ด้วย โดยอยู่ในระดับหายาก (R)แต่ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม น า ง ส า ว ช ลิ ต า ว ง ษ์ รัต น า นุ กู ล ม . 6 / 1 โ ร ง เ รีย น ส อ ย ด า ว วิ ท ย า

ขอบคุณที่รับชมค่ะ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook