สารบัญ เรื่อง หน้า ภัยทางการเงินที่เยาวรุ่นควรรู้ 1 - ภัยกลโกงทางโทรศัพท์ 2 - ภัยกลโกงธนาคารออนไลน์ 7 - ภัยกลโกงอื่น ๆ 14 การออม คืออะไร? 25 10 วิธีเก็บเงิน แบบจริงจัง ได้ผลแน่ ภายใน 1 เดือน 34 10 อาชีพเสริมยุคดิจิทัล ที่โกยเงินได้ดี “วัยเรียน” ทำได้! 37 วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น โทร : 043-222781 , WWW.NETC.AC.TH
1 ภัยทางการเงินที่ เยาวรุ่นควรรู้ “เยาวรุ่ นยุ คนี้ ต้ องรู้ เท่ าทั นทุ กสิ่ งอย่ างรวมถึ งภั ยทางการเงิ นที่ พวกเราอาจเจอในชี วิ ตประจำวั นแบบใกล้ ตั วนะน้ องนะ” \"ภัยทางการเงิน\" หมายถึง อะไรก็ตามที่ทำให้เราเสียเงินโดยใช่เหตุ หรือเสียเงิน โดยเปล่าประโยชน์ เสียเงินโดยไม่จำเป็น เสียเงินโดยไม่เต็มใจหรือถูกหลอกลวง ให้ต้องเสียเงิน เพื่อเป็นการป้องกันภัยจากมิจฉาชีพที่เราไม่รู้ว่าจะมาถึงเราเมื่อ ไหร่ รูปแบบไหน จากใคร ซึ่งในหลายครั้ง การถูกหลอกเรื่องการเงิน ก็มาจาก ความปรารถนาดีจากญาติพี่น้อง เพื่อนสนิทของตนเองที่ต้องการให้คนที่เขารัก ได้รับสิ่งดีๆ ด้วย โดยไม่รู้ตัวว่าตนเองกำลังเป็นเครื่องมือของพวกมิจฉาชีพอยู่ การรู้ทันภัยการเงินจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งรูปแบบกลโกงของภัยทางการเงินนั้นมี หลากหลายรูปแบบ เพื่อพร้อมรับมือกับวิธีโกงจากแก๊งมิจฉาชีพ เราไปดูกันว่า ภัยทางการเงินมีกลโกงแบบใกล้ตัวที่เยาวรุ่นควรรู้มีกลโกงใดบ้าง
2 ภัยกลโกงทาง โทรศัพท์ ลั ก ษ ณ ะ ก ล โ ก ง มิ จ ฉ า ชี พ จ ะ สุ่ ม เ บ อ ร์ เ พื่ อ โ ท ร ศั พ ท์ ไ ป ห า เ ห ยื่ อ แ ล ะ ใ ช้ ข้ อ ค ว า ม อั ต โ น มั ติ ส ร้ า ง ค ว า ม ตื่ น เ ต้ น ห รื อ ต ก ใ จ ใ ห้ กั บ เ ห ยื่ อ บ า ง ค รั้ ง ก็ แ อ บ อ้ า ง เ ป็ น เ จ้ า ห น้ า ที่ ห น่ ว ย ง า น ต่ า ง ๆ ห ล อ ก ใ ห้ เ ห ยื่ อ ทำ ร า ย ก า ร ที่ ตู้ เ อ ที เ อ็ ม เ ป็ น เ ม นู ภ า ษ า อั ง ก ฤ ษ โ ด ย แ จ้ ง ว่ า ทำ เ พื่ อ ล้ า ง ร า ย ก า ร ห นี้ สิ น ห รื อ อ า จ ห ล อ ก ใ ห้ เ ห ยื่ อ ไ ป โ อ น เ งิ น ใ ห้ ห น่ ว ย ง า น ภ า ค รั ฐ เ พื่ อ ต ร ว จ ส อ บ ซึ่ ง มิ จ ฉ า ชี พ เ ห ล่ า นี้ จ ะ อ า ศั ย ค ว า ม ก ลั ว ค ว า ม โ ล ภ แ ล ะ ค ว า ม รู้ ไ ม่ เ ท่ า ทั น ข อ ง เ ห ยื่ อ โ ด ย ข้ อ อ้ า ง ที่ มิ จ ฉ า ชี พ มั ก ใ ช้ ห ล อ ก เ ห ยื่ อ มี ดั ง นี้ 1. บัญชีเงินฝากถูกอายัด/หนี้บัตรเครดิต ข้ออ้างที่มิจฉาชีพนิยมใช้มากที่สุด คือหลอกว่า เหยื่อถูกอายัดบัญชีเงินฝากและเป็นหนี้บัตรเครดิต เพราะเป็นเรื่องที่สามารถสร้างความตกใจและง่ายต่อ การชักจูงเหยื่อให้โอนเงิน โดยมิจฉาชีพจะใช้ระบบตอบ รับอัตโนมัติแจ้งเหยื่อว่าจะอายัดบัญชีเงินฝาก เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น เป็นหนี้บัตรเครดิต หรือกระทำการผิดกฎหมาย โดยอาจมีเสียงอัตโนมัติ เช่น “คุณเป็นหนี้บัตรเครดิตกับทางธนาคาร กด 0 เพื่อติดต่อพนักงาน” เมื่อเหยื่อตกใจ ก็จะรีบต่อสาย คุยกับมิจฉาชีพทันที หลังจากนั้นมิจฉาชีพจะหลอกถาม ฐานะทางการเงินของเหยื่อ หากเหยื่อมีเงินจำนวนไม่ มากนัก มิจฉาชีพจะหลอกให้เหยื่อโอนเงินผ่านตู้ เอทีเอ็ม แต่หากเหยื่อมีเงินค่อนข้างมากจะหลอกให้ฝาก เงินผ่านเครื่องฝากถอนอัตโนมัติ
3 2. บัญชีเงินฝากพั วพั นกับการค้า ยาเสพติดหรือการฟอกเงิน เมื่อมิจฉาชีพหลอกถามข้อมูล จากเหยื่อแล้วพบว่าเหยื่อมีเงินในบัญชีเป็นจำนวนมาก จะหลอก เหยื่อต่อว่าบัญชีนั้น ๆ พั วพั นกับการค้ายาเสพติดหรือติดปัญหา การฟอกเงิน จึงขอให้เหยื่อโอนเงินทั้งหมดมาตรวจสอบ 3. เงินคืนภาษี ข้ อ อ้ า ง คื น เ งิ น ภ า ษี จ ะ ถู ก ใ ช้ ใ น ช่ ว ง ที่ มี ก า ร ยื่ น ภ า ษี แ ล ะ มี ก า ร ขอคืน โดยมิจฉาชีพจะแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรแจ้งว่า เหยื่อได้รับภาษีคืนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะต้องยืนยัน รายการและทำตามคำบอกที่ตู้เอทีเอ็ม แต่แท้จริงแล้วขั้นตอนที่ มิ จ ฉ า ชี พ ใ ห้ เ ห ยื่ อ ทำ นั้ น เ ป็ น ก า ร โ อ น เ งิ น ใ ห้ กั บ มิ จ ฉ า ชี พ 4. โชคดีรับรางวัลใหญ่ มิ จ ฉ า ชี พ จ ะ อ้ า ง ต น เ ป็ น เ จ้ า ห น้ า ที่ บ ริ ษั ท ห รื อ ตั ว แ ท น อ ง ค์ ก ร ต่าง ๆ แจ้งข่าวดีแก่เหยื่อว่า เหยื่อได้รับเงินรางวัลหรือของ รางวัลที่มีมูลค่าสู ง เมื่อเหยื่อหลงเชื่อ จะหลอกเหยื่อให้โอนเงิน ค่ า ภ า ษี ใ ห้ 5.ข้อมูลส่ วนตัวหาย ข้อมูลส่ วนตัวหายเป็นข้ออ้างที่มิจฉาชีพใช้เพื่ อขอข้อมูลส่ วนตัวของ เหยื่อ โดยจะอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน เล่าเหตุการณ์ที่ ทำให้ข้อมูลของลูกค้าสู ญหาย เช่น เหตุการณ์น้ำท่วม จึงขอให้เหยื่อ แจ้งข้อมูลส่ วนตัว เช่น วัน/เดือน/ปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน เพื่ อใช้ เป็นฐานข้อมูลในการใช้บริการของเหยื่อ แต่แท้จริงแล้ว มิจฉาชีพจะ นำ ข้ อ มู ล เ ห ล่ า นี้ ไ ป ป ร ะ ก อ บ ก า ร ป ล อ ม แ ป ล ง ห รื อ ใ ช้ บ ริ ก า ร ท า ง ก า ร เ งิ น ใ น น า ม ข อ ง เ ห ยื่ อ
4 6. โอนเงินผิด มิจฉาชีพจะใช้ข้ออ้างนี้เมื่อมีข้อมูลของเหยื่อค่อนข้าง มากแล้ว โดยจะเริ่มจากโทรศัพท์ไปยังสถาบันการเงินที่ เหยื่อใช้บริการ เพื่อเปิดใช้บริการขอสินเชื่อผ่านทางโทรศัพท์ เมื่อได้รับอนุมัติสินเชื่อ สถาบันการเงินจะโอนเงินสินเชื่อนั้น เข้าบัญชีเงินฝากของเหยื่อ หลังจากนั้นมิจฉาชีพจะโทรศัพท์ ไปหาเหยื่ออ้างว่า ได้โอนเงินผิดเข้าบัญชีของเหยื่อ ขอให้โอน เงินคืน เมื่อเหยื่อตรวจสอบยอดเงินและพบว่ามีเงินโอนเข้า มาจริง จึงรีบโอนเงินนั้นไปให้มิจฉาชีพ โดยที่ไม่รู้ว่าเงินนั้น เป็นเงินสินเชื่อที่มิจฉาชีพโทรไปขอในนามของเหยื่อ ข้อสังเกต 1. มิจฉาชีพจะหลอกถามข้อมูลจากเหยื่อ แล้วหลอกให้ เหยื่อทำรายการผ่านตู้เอทีเอ็มโดยให้เลือกทำรายการ เป็นภาษาอังกฤษ 2. มิจฉาชีพจะใช้ข้ออ้างต่าง ๆ เร่งให้เหยื่อทำรายการ เพื่ อไม่ให้เหยื่ อมีเวลาตรวจสอบหรือสอบถามบุคคลอื่ น 3. มิจฉาชีพจะโน้มน้าวให้เหยื่อโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม หรือเครื่องฝากเงินอัตโนมัติ ตามภาพประกอบด้าน ล่าง
5 วิธีป้องกัน 1.หากได้รับโทรศัพท์จากบุคคลที่ไม่รู้จัก ควรทบทวนเรื่องราวที่เกิดขึ้นว่ามีโอกาส เป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน 2.ไม่โลภอยากได้เงินรางวัลที่ไม่มีที่มา 3.ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงินแก่บุคคลอื่น ถึงแม้ผู้ติดต่อจะอ้างตัว เป็นส่วนราชการหรือสถาบันการเงิน เพราะส่วนราชการและสถาบันการเงินไม่มีนโยบาย สอบถามข้อมูลวนตัวลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์ 4.ไม่ทำรายการที่ตู้เอทีเอ็ม หรือเครื่องฝากเงินอัตโนมัติตามคำบอกของผู้ที่ติดต่อ มา 5.ควรสอบถามข้อเท็จจริงกับสถาบันการเงินที่ถูกอ้างถึงหรือใช้บริการ โดย ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า (Call Center) 6.หากได้รับแจ้งว่ามีผู้โอนเงินผิดเข้าบัญชี ควรสอบถามสถาบันการเงินถึงที่มา ของเงินดังกล่าว หากเป็นเงินที่มีการโอนผิดเข้ามาจริง จะต้องให้สถาบันการเงินเป็นผู้ ดำเนินการโอนเงินคืนเท่านั้น
6 สิ่งที่ควรทำเมื่อตกเป็นเหยื่อ 1. รวบรวมหลักฐานและข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง 2. ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าของสถาบันการเงินเพื่อระงับการโอนและการถอน เงิน 3. หากไม่สามารถระงับการโอนเงินได้ ให้รวบรวมหลักฐานและข้อมูลต่าง ๆ แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมทั้งลงบันทึกประจำวัน ณ ท้องที่เกิดเหตุ เพื่ อใช้เป็นหลักฐานในการระงับการถอนเงินออกจากบัญชีที่โอนไป 4. แจ้งระงับการถอนเงินออกจากบัญชีที่โอนไปกับสถาบันการเงินที่ใช้ บริการ โดยสถาบันการเงินจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน จึงจะสามารถคืน เงินได้ 5. แจ้งเบาะแสไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) 6. ทำใจ... เมื่อมิจฉาชีพได้รับเงินโอน จะรีบกดเงินออกจากบัญชีทันที ทำให้ โอกาสที่จะได้เงินคืนนั้นน้อยมาก
7 คำถามถามบ่อย Q : มิจฉาชีพรู้เบอร์โทรศัพท์ของเราได้อย่างไร A : มิจฉาชีพใช้หลากหลายวิธีในการหาข้อมูลของเหยื่อ แต่ส่วนมากมักเก็บ ข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือ Social Media ต่าง ๆ ที่เหยื่อโพสต์เบอร์ โทรศัพท์ หรือข้อมูลอื่น ๆ ไว้ เช่น วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ Q : หากรู้หมายเลขบัญชีที่โอนเงินไป จะสามารถจับตัวมิจฉาชีพได้หรือไม่ A : มิจฉาชีพมักไม่ใช้บัญชีเงินฝากของตนเองในการรับเงินโอนจากเหยื่อ แต่จะใช้ วิธีจ้างคนอื่นเปิดบัญชีให้ แล้วนำบัตรเอทีเอ็มมากดเงินออกทันทีที่ได้รับเงินโอน หรืออาจใช้วิธีหลอกใช้บัญชีของเหยื่อรายอื่นเพื่อรับเงินโอน จึงทำให้การจับตัว คนร้ายตัวจริงค่อนข้างลำบาก Q : เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเจ้าหน้าที่ที่โทรศัพท์มา เป็นเจ้าหน้าที่จากสถาบันการเงิน จริงหรือเป็นกลุ่มมิจฉาชีพ A : มิจฉาชีพมักเลียนแบบวิธีการติดต่อของเจ้าหน้าที่ให้เหมือนจริงมากที่สุด ดัง นั้น วิธีที่จะระวังและป้องกันตัวได้คือ ทบทวนสิ่งที่ได้รับแจ้งและความน่าจะเป็น หลังจากนั้นให้วางสายแล้วติดต่อไปยังสถาบันการเงินที่ถูกอ้างถึงด้วยตนเอง สอบถามข้อเท็จจริงของเรื่องที่ได้รับแจ้ง นอกจากนี้ สถาบันการเงินไม่มีนโยบาย ขอข้อมูลหรือแจ้งให้ลูกค้าทำธุรกรรมผ่านทางโทรศัพท์ หากมียอดค้างชำระจริง ลูกค้าสามารถชำระเองได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของสถาบันการเงิน โดยไม่ต้องทำ รายการผ่านตู้เอทีเอ็มตามคำบอกของเจ้าหน้าที่
7 ภัยกลโกงธนาคาร ออนไลน์ “เรื่องนี้เยาวรุ่นก็ห้ามพลาด เพราะเยาวรุ่นบางคนก็มีรายได้ พิเศษจากการขายของออนไลน์ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีความ เกี่ยวข้องกับธนาคารออนไลน์” ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคน เป็นอย่างมาก จากเคยที่ต้องเดินทางไปที่ธนาคารเพื่อทำธุรกรรมการเงิน ก็ สามารถโอนเงิน ซื้อของ หรือทำธุรกรรมการเงินอื่น ๆ จากที่ไหนก็ได้ผ่าน อินเทอร์เน็ต แต่ความสะดวกสบายเหล่านี้ หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ก็อาจ ทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ ลักษณะกลโกง มิจฉาชีพจะหลอกขอรหัสผู้ใช้งาน (username) และรหัสผ่าน (password) จากเหยื่อเพื่อเข้าใช้บัญชีธนาคารออนไลน์ของเหยื่อ แล้วส่ง คำสั่งโอนเงินออกจากบัญชีเงินฝาก โดยมีหลายวิธีที่มิจฉาชีพมักใช้ดังนี้
8 1. หลอกให้ติดตั้งมัลแวร์ในคอมพิวเตอร์ มิจฉาชีพมักแฝงมัลแวร์ (Malware) ไว้ตามลิงก์ดาวน์โหลด หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยใช้ข้อความเชิญชวนหลอกล่อให้เหยื่อคลิกเพื่อติดตั้งโปรแกรม เช่น “คุณเป็นผู้ โชคดี คลิกที่นี่เพื่อรับรางวัล” เมื่อเหยื่อหลงเชื่อทำตามที่มิจฉาชีพบอก เช่น คลิกไป ที่ลิงก์มัลแวร์จะถูกติดตั้งในคอมพิวเตอร์ และทำการบันทึกข้อมูลการใช้งานธนาคาร ออนไลน์ของเหยื่อ เช่น รหัสผ่านผู้ใช้งาน (username) รหัสผ่าน (password) เพื่อ นำไปปลอมแปลงคำขอโอนเงินให้เหมือนเป็นคำสั่งของเจ้าของบัญชี เมื่อธนาคารได้ รับคำขอโอนเงินที่จริง ๆ แล้วมาจากมิจฉาชีพ ธนาคารก็จะส่งรหัสผ่านชั่วคราวผ่าน ระบบ SMS ให้แกเหยื่อ ซึ่งมิจฉาชีพจะสร้างหน้าต่างหรือหน้าจอ pop-up ขึ้นมาบน หน้าจอคอมพิวเตอร์ของเหยื่อเพื่อหลอกถามรหัสผ่านชั่วคราวที่ถูกส่งมายัง โทรศัพท์มือถือของเหยื่อ หรืออาจใช้โปรแกรมบันทึกการกดรหัสผ่าน แล้วนำมาใช้ ยืนยันการโอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อ ข้อควรสังเกต มิจฉาชีพจะพยายามหลอกล่อเหยื่อให้ติดตั้งมัลแวร์เพื่อใช้ขโมยข้อมูล แต่เมื่อเหยื่อ ได้ติดตั้งมัลแวร์แล้ว มิจฉาชีพก็จะยังไม่สามารถโอนเงินของเหยื่อออกจากบัญชีได้ หากเหยื่อไม่กรอกรหัสผ่านชั่วคราวเพื่อใช้ในการยืนยันการทำธุรกรรมของมิจฉาชีพ
9 2. หลอกติดตั้งมัลแวร์ในสมาร์ตโฟน ตัวอย่างขั้นตอนกลโกงผ่านมัลแวร์ในสมาร์ตโฟน โดยสังเขป มัลแวร์ในสมาร์ตโฟนมีลักษณะคล้ายกับมัลแวร์ในคอมพิวเตอร์ แต่ความ แตกต่างจะอยู่ที่มิจฉาชีพไม่จำเป็นต้องหลอกขอรหัสผ่านชั่วคราวจากเหยื่ออีก มิจฉาชีพจะส่งลิงก์ผ่าน SMS หรืออีเมลให้เหยื่อคลิก เพื่อติดตั้งและเปิดใช้งา นมัลแวร์ในสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต แล้วหลอกให้เหยื่อกรอกรหัสผ่านผู้ใช้งาน (username) และรหัสผ่าน (password) ในหน้าจอที่คล้ายกับแอปพลิเคชัน ของธนาคารออนไลน์จริง เมื่อเหยื่อเลือกทำรายการต่อ มัลแวร์จะทำให้เครื่อง สมาร์ตโฟนของเหยื่อค้างและใช้งานไม่ได้ ทำให้เหยื่อไม่ได้รับ SMS แจ้งรหัสผ่าน ชั่วคราว จากธนาคารออนไลน์จริง แต่รหัสผ่านชั่วคราวนั้นจะถูกส่งให้แก่ มิจฉาชีพแทน
10 ข้อควรสังเกต การหลอกลวงวิธีนี้ เมื่อเหยื่อหลงกลติดตั้งมัลแวร์ มิจฉาชีพไม่จำเป็นต้อง หลอกขอรหัสผ่านชั่วคราวจากเหยื่ออีก เพราะมัลแวร์จะทำหน้าที่ดัก SMS แจ้ง รหัสผ่านชั่วคราวไว้แล้วส่งให้แก่มิจฉาชีพ มิจฉาชีพจึงสามารถโอนเงินออกจาก บัญชีเหยื่อได้ 3. ปลอมแปลงอีเมลหรือสร้างเว็บไซต์ปลอม เพื่อหลอกขอข้อมูล อีเมลปลอมก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่มิจฉาชีพมักใช้เพื่อหลอกเอาข้อมูลที่จำเป็นในการ ใช้งานธนาคารออนไลน์จากเหยื่อ โดยมิจฉาชีพจะทำอีเมลแอบอ้างเป็นอีเมลของ ธนาคารอ้างการปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย แล้วหลอกให้เหยื่อยืนยัน การใช้งานบัญชีธนาคารออนไลน์ผ่านการกรอกข้อมูลในอีเมล หรือคลิกลิงก์ เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ธนาคารออนไลน์ปลอมที่มี URL ที่คล้ายหรือเกือบเหมือน เว็บไซต์จริง ซึ่งเมื่อเหยื่อบอกรหัสผ่านผู้ใช้งาน (username) และรหัสผ่าน (password) ในลิงก์ปลอมเหล่านั้น มิจฉาชีพก็สามารถนำข้อมูลไปใช้แอบอ้าง เป็นเจ้าของบัญชีแล้วส่งคำสั่งโอนเงิน และสร้างหน้าต่างปลอมหรือหน้าจอ pop-up หลอกให้เหยื่อกรอกรหัสผ่านชั่วคราว ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ของ เหยื่ออีก ทำให้มิจฉาชีพสามารถโอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อสำเร็จ ข้อควรสังเกต มิจฉาชีพมักหลอกขอข้อมูลจากเหยื่อผ่านอีเมลหรือเว็บไซต์ปลอมที่ ลักษณะคล้ายกับเว็บไซต์จริงเกือบทุกประการ แต่อีเมลหรือเว็บไซต์ปลอมมีจุด น่าสังเกตดังนี้
11 (1) จุดสังเกตอีเมลปลอม
12 (2) จุดสังเกตเว็บไซต์ปลอม วิธีป้องกัน การใช้งานธนาคารออนไลน์ทั่วไป • ไม่ควรใช้รหัสผ่าน (password) ที่ง่ายต่อการคาดเดา เช่น 123456 หรือ วัน/เดือน/ปีเกิด • ก่อนเข้าใช้ธนาคารออนไลน์ จะต้องมั่นใจหรือตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็น อุปกรณ์ที่ใช้นั้นไม่มีมัลแวร์ (Malware) แฝงอยู่ • ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสที่ถูกกฎหมาย พร้อมตรวจสอบและอัพเดต โปรแกรมอยู่เสมอ • ไม่ติดตั้งหรือดาวน์โหลดโปรแกรมแปลก ๆ หรือโปรแกรมที่ไม่ถูกกฎหมาย เพราะอาจเป็นช่องทางให้มัลแวร์เข้ามาในคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ตได้ • ไม่ใช้ลิงก์เชื่อมโยงที่มากับอีเมลหรือในเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อเข้าสู่ระบบธนาคาร ออนไลน์ แต่ควรพิมพ์ URL ด้วยตัวเอง
13 • ไม่ทำธุรกรรมการเงินผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะ แต่หากจำเป็น ให้เปลี่ยนรหัส ผ่านหลังจากใช้งานทันที • ตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวในบัญชี และการเข้าใช้ระบบธนาคารออนไลน์อยู่ เสมอ ว่าเป็นรายการที่ได้ทำไว้หรือไม่ • ควร \"ออกจากระบบ\" (logout) ทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน • จำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมผ่านธนาคารออนไลน์ เพื่อลดความเสี่ยงในกรณี ถูกมิจฉาชีพขโมยรหัสผ่าน • ธนาคารไม่มีนโยบายส่ง SMS หรือ email เพื่อให้ดาวน์โหลด ติดตั้งโปรแกรม หรือเข้าสู่ระบบธนาคารออนไลน์ • หากคลิกลิงก์ต้องสงสัย ให้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือฝ่ายบริการลูกค้า ของธนาคารทันทีและขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งานที่ปลอดภัย • ติดตามข่าวสารกลโกงธนาคารออนไลน์เป็นประจำ เพื่อรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมกล โกง สำหรับการใช้งานธนาคารออนไลน์ผ่านสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต • ไม่เก็บเอกสารหรือข้อมูลสำคัญไว้ในสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต เช่น เลขที่บัตร ประชาชน เลขที่บัญชีเงินฝาก • หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลด หรือติดตั้งโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ โดย เฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้งานธนาคารออนไลน์ • หลีกเลี่ยงการใช้งานธนาคารออนไลน์ผ่านอุปกรณ์ที่มีการดัดแปลง หรือแก้ไข ระบบปฏิบัติการ (jailbreak หรือ root) เพราะมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกขโมยข้อมูล สิ่งที่ควรทำเมื่อตกเป็นเหยื่อ • หากพบเว็บไซต์ปลอมของธนาคาร ให้รีบแจ้งสถาบันการเงินนั้น ๆ ทันที เพื่อ ดำเนินการปิดเว็บไซต์ดังกล่าว • หากได้รับข้อความหรือได้คลิกลิงก์เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมต้องสงสัยหรือให้ ข้อมูลในเว็บไซต์ปลอมไปแล้ว ให้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารทันที • หากได้รับรหัสผ่านชั่วคราวโดยที่ไม่ได้ส่งคำสั่งโอนเงิน ให้แจ้งเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นแก่เจ้าหน้าที่ธนาคารหรือฝ่ายบริการลูกค้าของธนาคารทันทีและขอคำปรึกษาเกี่ยว กับการใช้งานที่ปลอดภัย
14 คำถามถามบ่อย Q : เงินที่ถูกมิจฉาชีพโอนไปจากบัญชีเงินฝากจะได้คืนหรือไม่ A : การจะได้เงินคืนจากมิจฉาชีพเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะทันทีที่มิจฉาชีพได้ รับเงินในบัญชี ก็จะรีบถอนออกไป รวมทั้งบัญชีที่โอนไปมักเป็นบัญชีของผู้รับจ้าง เปิดบัญชี ไม่ใช่ของมิจฉาชีพ จึงทำให้ยากต่อการติดตาม Q : กรณีที่มิจฉาชีพหลอกให้ติดตั้งมัลแวร์ในสมาร์ตโฟน มิจฉาชีพทราบเบอร์ โทรศัพท์ของเราได้อย่างไร A : มิจฉาชีพอาจได้เบอร์โทรจากหลายแหล่ง เช่น ข้อมูลจากการสมัครสมาชิกตาม เว็บไซต์ต่าง ๆ หรือเบอร์โทรศัพท์ของเหยื่อที่แสดงในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ หรืออีก กรณีคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อติดมัลแวร์ซึ่งหลอกถามข้อมูลโทรศัพท์มือถือ จากเหยื่อ ภัยกลโกงออนไลน์อื่น ๆ “เยาวรุ่นห้ามพลาดเพราะมันช่างมีหลายรูปแบบจริง ยิ่งทางออนไลน์ซึ่งเป็นสิ่งที่ เยาวรุ่นทุกคนอยู่ด้วยแทบจะตลอดเวลา” อินเทอร์เน็ตทำให้ชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้น การติดต่อสื่อสาร เป็นไปได้โดยง่าย เพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง หรือคนไม่รู้จักก็สามารถติดต่อสื่อสารกัน ได้อย่างรวดเร็ว แต่ความสะดวกสบายนี้ก็มีอันตรายแฝงมาด้วย โดยเป็นเครื่องมือ ที่ช่วยทำให้มิจฉาชีพที่อยู่ไกลจากเหยื่อสามารถเข้ามาใกล้ชิดหลอกลวงเงินไปจาก เหยื่อได้โดยง่ายหากไม่ระมัดระวัง เราลองมาทำความรู้จักกับกลโกงออนไลน์ที่พบ บ่อย ๆ กัน
15 ข้อสังเกต มิจฉาชีพจะอ้างเป็นผู้ให้บริการบัญชีอีเมลแต่ชื่อบัญชีอีเมล (email address) ที่แสดง จะไม่ใช่ชื่อบัญชีอีเมลของผู้ให้บริการอีเมลจริงนอกจากนั้น ข้อความในอีเมล ที่มิจฉาชีพส่งให้เหยื่อคนที่ 2 มักเป็นภาษาอังกฤษหรือเป็นภาษาไทยที่ไม่คุ้นเคย เช่น ใช้สรรพนามต่างจากที่เคยใช้สนทนากัน 2. แ อบอ้างเป็นบุคคลต่าง ๆ หลอกว่าจะโอนเงินหรือส่งของให้เหยื่อ มิจฉาชีพจะแอบอ้างเป็นบุคคลต่าง ๆ แล้วหลอกเหยื่อว่าจะโอนเงิน หรือส่งของ ให้เหยื่อ เช่น • เป็นนักธุรกิจที่ต้องการสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก โดยส่งหลักฐานการโอนเงิน จำนวนมากเพื่ อจ่ายค่าสินค้ามาให้เหยื่อดู • เป็นผู้ที่ได้รับมรดกเป็นจำนวนมาก แต่ติดเงื่อนไขต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถรับเงินได้ ด้วยตนเอง จึงขอให้เหยื่อรับเงินแทน • เป็นผู้ใจบุญที่ต้องการบริจาคเงินเป็นจำนวนมหาศาลให้มูลนิธิหรือองค์กรการกุศล ต่าง ๆ เมื่อแจ้งว่าจะบริจาคเงินให้กับเหยื่อแล้ว จะส่งหลักฐานการโอนเงินปลอมมาให้ เหยื่อดู • เป็นชาวต่างชาติที่ต้องการหารักแท้ โดยอ้างว่าพร้อมที่จะย้ายมาอยู่กับเหยื่อเพื่อ สร้างครอบครัวร่วมกัน จึงโอนเงินค่าบ้าน ค่ารถ หรือเงินทั้งหมดที่มีมาให้เหยื่อ หรือ อาจหลอกเหยื่อว่าจะส่งของหรือเงินสดมาให้เหยื่อทางไปรษณีย์ เมื่อเหยื่อได้รับหลักฐานการโอนเงินหรือการส่งของจากมิจฉาชีพ ก็มักหลงเชื่อว่า มิจฉาชีพได้โอนเงินหรือส่งของนั้นมาจริง ๆ เมื่อเวลาผ่านไป มิจฉาชีพจะแจ้งเหยื่อ หรืออาจมีมิจฉาชีพคนอื่นมาแสดงตนเป็นเจ้าหน้าที่และแจ้งเหยื่อว่าไม่สามารถ
16 โอนเงินหรือส่งของให้เหยื่อได้ เพราะติดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น • ธนาคารแห่งประเทศไทยระงับการโอนเงินและขอตรวจสอบ • ธนาคารกลางของประเทศต้นทางระงับการโอนเงิน เพราะสงสัยว่า เป็นการฟอกเงิน • สหประชาชาติ หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ขอตรวจ สอบ • กรมศุลกากรขอตรวจสอบของที่ส่งมาจากต่างประเทศ เพราะมีเงินสด บรรจุมาด้วย จากนั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จากเหยื่อ เช่น ค่าธรรมเนียม การโอนเงิน ค่าดำเนินการ ค่าทนาย โดยจะเรียกเก็บในจำนวนน้อยแล้วเพิ่ม จำนวนเงินขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเหยื่อก็จะคิดว่าเป็นเรื่องจริง และเห็นว่าจ่ายอีกนิด ก็จะได้รับเกินก้อนใหญ่ ซึ่งกว่าจะรู้ตัวว่าถูกหลอกก็อาจหมดเงินไปจำนวน มากแล้ว และโอกาสที่จะติดตามรับเงินคืนก็เป็นไปได้ยากมาก เพราะมิจฉาชีพ มักอยู่ในต่างประเทศ และให้เหยื่อโอนเงินผ่านบริการโอนเงินที่มิจฉาชีพรับเงิน ได้โดยไม่ต้องมีเอกสารแสดงตน ข้อสังเกต มิจฉาชีพจะหลอกให้เหยื่อโอนเงินผ่านบริการ โอนเงินที่มิจฉาชีพสามารถรับเงินได้โดยไม่ต้องมี เอกสารแสดงตน เพราะยากต่อการติดตาม หน่วยงานราชการ หรือองค์กรระหว่าง ประเทศต่าง ๆ ที่ยกตัวอย่างมีหน้าที่ชัดเจน และ ส่วนใหญ่จะไม่ติดต่อกับประชาชนโดยตรง อย่างไรก็ตาม หากหน่วยราชการใดมีกิจต้อง ติดต่อกับประชาชน การแจ้งให้ประชาชนดำเนิน การใด ๆ จะมีเอกสารหลักฐานเป็นลายลักษณ์ อักษร หากมีผู้แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่เหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีต้องมีการโอนเงินหรือ ชำระเงิน ควรตรวจสอบไปยังหน่วยงานนั้น โดยตรงก่อน โดยไม่ใช้อีเมลหรือหมายเลข โทรศัพท์ที่ได้รับแจ้งมา
17 3. โฆษณาปล่อยเงินกู้นอกระบบ มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการเงินกู้แล้วโฆษณาผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือส่ง อีเมลหาเหยื่อโดยตรงว่าให้บริการเงินกู้นอกระบบดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเงินเร็ว ไม่ ต้องซื้อสินค้า ไม่ตรวจสอบเครดิตบูโร เมื่อเหยื่อติดต่อไปและขอกู้เงิน ผู้ให้กู้จะ อ้างว่าจะส่งสัญญาให้กับผู้ขอกู้เพื่อลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งขอให้เหยื่อโอนเงิน ชำระค่าทำสัญญา ค่าเอกสาร ค่ามัดจำ หรือดอกเบี้ยภายในเวลาที่กำหนด เช่น ก่อน 18.00 น. เพื่อผู้ให้กู้จะโอนเงินกู้ให้ก่อนเวลา 20.00 น. โดยสามารถยกเลิก และขอเงินโอนล่วงหน้าดังกล่าวคืนได้ เหยื่อส่วนมากมักจะรีบร้อน และกลัวว่าจะไม่ได้เงินกู้ จึงรีบโอนเงินให้กับผู้ให้กู้ ในเวลาที่กำหนด แต่เมื่อติดต่อกลับผู้ให้กู้เพื่อขอรับเงินกู้ กลับไม่สามารถติดต่อผู้ ให้กู้ได้อีกเลย และสูญเงินไปโดยไม่มีโอกาสได้เงินคืน ข้อสังเกต มิจฉาชีพมักโฆษณาว่าปล่อยกู้นอกระบบดอกเบี้ยต่ำเกินจริง (บางรายต่ำกว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ในระบบ) และให้ติดต่อผ่านโทรศัพท์หรืออีเมลเท่านั้น แม้กระทั่งขั้น ตอนการทำสัญญาเงินกู้ ผู้ขอกู้ก็จะไม่มีโอกาสได้เจอผู้ให้กู้เลย นอกจากนี้จะให้ เหยื่อโอนเงินจ่ายดอกเบี้ยล่วงหน้าก่อนที่จะได้เงินกู้ซึ่งจะแตกต่างจากการกู้เงิน ทั่วไปที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเมื่อได้รับเงินต้นไปแล้ว และมักจะเร่งการตัดสินใจโดย อ้างว่าจะทำให้ผู้ขอกู้ได้เงินกู้เร็วขึ้น 4. แอบอ้างเป็นบุคคลต่าง ๆ หลอกให้เหยื่อโอนเงินให้ มิจฉาชีพอาจหลอกขายสินค้าหรือประกาศให้เช่าบ้านผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ และ เมื่อเหยื่อสนใจ จะขอให้เหยื่อโอนเงินเต็มจำนวนผ่านบริการโอนเงินที่ไม่ต้องใช้ เอกสารแสดงตนโดยระบุชื่อเหยื่อเป็นผู้รับเงิน เพื่อหลอกเหยื่อว่าใช้เป็นการยืนยัน การสั่งซื้อสินค้าหรือบริการเท่านั้น แต่เมื่อเหยื่อโอนเงินพร้อมแจ้งรหัสการรับเงิน มิจฉาชีพจะใช้รหัสดังกล่าวรับเงินออกไปทันทีโดยไม่มีสินค้าเสนอขายจริง ในบางกรณีมิจฉาชีพอาจแอบอ้างเป็นบริษัทต่างชาติ ติดต่อไปยังเหยื่อที่ประกาศ สมัครงานในอินเทอร์เน็ตแจ้งว่ารับเหยื่อเข้าทำงาน แต่เหยื่อต้องจ่ายค่าใบอนุญาต ทำงานในต่างประเทศ ทั้ง ๆ ที่บริษัทนั้นไม่มีอยู่จริง
18 ข้อสังเกต ตลาดมาก ๆ และเร่งการตัดสินใจโดยอ้างว่ามีผู้ติดต่อขอซื้อหลายรายจึงขอ ให้เหยื่อโอนเงินค่ามัดจำผ่านบริการโอนเงินที่มิจฉาชีพสามารถรับเงินได้โดยไม่ต้อง มีเอกสารแสดงตน เพราะยากต่อการติดตาม 5. ขอเลขที่บัญชีเงินฝากเป็นที่พักเงิน มิจฉาชีพจะประกาศรับสมัครงานผ่านอินเทอร์เน็ต หลอกเหยื่อว่าเป็นบริษัท ต่างประเทศที่ขายสินค้าในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก จึงขอให้เหยื่อทำหน้าที่เป็นผู้ รวบรวมเงินให้ โดยอาจจ่ายค่าจ้างเป็นสัดส่วนกับเงินที่ได้รับ เช่น ร้อยละ 25 ของ เงินค่าสินค้า เมื่อมีเงินโอนเข้าบัญชีของเหยื่อ บริษัทจะแจ้งเหยื่อให้หักค่าจ้างไว้ แล้วโอน เงินที่เหลือทั้งหมดให้แก่บริษัทแม่ในต่างประเทศทันทีผ่านบริการโอนเงินที่ไม่ต้องใช้ เอกสารแสดงตน โดยที่เหยื่อไม่รู้เลยว่า เงินที่โอนเข้ามาในบัญชีเหยื่อนั้นเป็นเงิน ผิดกฎหมายที่มิจฉาชีพหลอกให้คนอื่นโอนมาให้ กว่าเหยื่อจะรู้ตัวก็อาจเป็นตอนที่ พนักงานธนาคารติดต่อเพื่ ออายัดบัญชีของเหยื่อหรือถูกตำรวจจับแล้ว
19 ข้อสังเกต หากมีการทำธุรกิจในประเทศไทยจริง บริษัทที่ทำธุรกิจนั้นสามารถเปิด บัญชีเงินฝากในประเทศไทยได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้บัญชีของบุคคลอื่นใน การรับเงินจากลูกค้า นอกจากนี้ มิจฉาชีพจะให้เหยื่อโอนเงินส่งต่อให้แก่ บริษัทที่ร่วมมือกับมิจฉาชีพผ่านบริการโอนเงินที่มิจฉาชีพสามารถรับเงินได้ โดยไม่ต้องมีเอกสารแสดงตน เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามได้ วิธีป้องกัน 1. เปิดเผยข้อมูลในโซเชียลเน็ตเวิร์คเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้ มิจฉาชีพนำข้อมูลไปแอบอ้างใช้ทำธุรกรรม 2. ควรเปลี่ยนรหัสผ่าน (password) ในการเข้าใช้บัญชีอีเมลหรือ บัญชีโซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นประจำ 3. เมื่อได้รับการติดต่อแจ้งให้โอนเงินให้ ควรตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนโอนเงิน เช่น ติดต่อหน่วยงานที่ถูกอ้างถึงโดยตรง อาทิ กรมศุลกากร โทร. 1164 ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 1213 หรือสำนักงานตัวแทนใน ประเทศไทยของหน่วยงานต่างชาติ 4. ไม่โลภต่อเงินที่ไม่มีที่มา หรือผลตอบแทนที่สูงเกินจริง ควร พิ จารณาให้รอบคอบถึงความเป็นไปได้ในความเป็นจริง 5. ตรวจหาไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำ เพื่อป้องกันการ ขโมยข้อมูลการใช้งาน 6. ติดตามข่าวสารกลโกงอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่ควรทำเมื่อตกเป็นเหยื่อ 1. หากถูกแอบอ้างใช้บัญชีอีเมล ควรติดต่อผู้ให้บริการอีเมลทันที เพื่อแจ้ง เปลี่ยนรหัสผ่าน 2. ในกรณีที่โอนเงินให้แก่มิจฉาชีพแล้ว... ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าของสถาบันการเงินเพื่ อระงับการโอนและการถอนเงิน หากไม่สามารถระงับการโอนเงินได้ ให้รวบรวมหลักฐานและข้อมูลต่าง ๆ แจ้ง ความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมทั้งลงบันทึกประจำวัน ณ ท้องที่เกิดเหตุ เพื่อ ใช้เป็นหลักฐานในการระงับการถอนเงินออกจากบัญชีที่โอนไป แจ้งระงับการถอนเงินออกจากบัญชีที่โอนไปกับสถาบันการเงินที่ใช้บริการ โดย สถาบันการเงินจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน จึงจะสามารถคืนเงินได้ 3. ทำใจ... เงินที่โอนไปให้มิจฉาชีพแล้ว มิจฉาชีพจะรีบถอนออกทันที ซึ่ง ทำให้ยากต่อการติดตาม
20 คำถามถามบ่อย Q : หากได้รับการติดต่อจากผู้ให้บริการอีเมล จะทราบได้อย่างไร ว่าผู้ติดต่อมานั้น เป็นผู้ให้บริการอีเมลจริงหรือไม่ A : การติดต่อจากผู้ให้บริการอีเมลนั้น จะไม่มีการถามชื่อบัญชีและรหัสผ่านการใช้ งาน หากพบอีเมลที่ถามชื่อบัญชี หรือรหัสผ่านให้สงสัยว่าเป็นอีเมลปลอม Q : กรณีที่ได้รับแจ้งว่ามีเงินโอนเข้าบัญชี แต่ธนาคารแจ้งให้จ่ายค่าธรรมเนียมการ โอนเงิน ควรจ่ายให้ธนาคารหรือไม่ A : โดยปกติธนาคารจะหักเงินค่าธรรมเนียมจากเงินโอนที่โอนมาได้เลย โดยผู้รับเงิน ไม่จำเป็นต้องจ่ายเป็นเงินสด หรือโอนเงินให้กับเจ้าหน้าที่ธนาคาร ภัยกลโกงอื่น ๆ “ภัยทางการเงินช่างมีหลายรูปแบบจริงๆ ไหนยังมีอะไรอีก เยาวรุ่นอย่ายอมแพ้ ต้องศึกษาข้อมูลกันต่อในเรื่องภัยกลโกงอื่นๆ เพื่อรู้เท่าทันพวกแก๊งกลโกง” นอกจากการหลอกลวงที่เกี่ยวข้องกับบริการ ของสถาบันการเงินแล้ว มิจฉาชีพอาจหาทาง หลอกลวงเหยื่อด้วยวิธีอื่น ๆ อีก เช่น เข้ามา ทำความรู้จักและเสนอผลประโยชน์ที่เหยื่อจะได้ เป็นสิ่งจูงใจ เพื่อหลอกล่อเหยื่อให้หลงเชื่อและนำ เงินหรือของมีค่าอื่น ๆ มาให้มิจฉาชีพ 1. นายหน้าพาเข้าทำงาน มิจฉาชีพจะอ้างกับเหยื่อว่าตนเป็นเจ้าหน้าที่ ระดับสูงในบริษัท หรือรู้จักกับเจ้าหน้าที่ระดับสูง ของบริษัทนั้น สามารถช่วยเหลือเหยื่อให้เข้า ทำงานได้ โดยจะรับหน้าที่เจรจากับทางบริษัทให้ แต่เหยื่อต้องจ่ายเงินเพื่ อเป็นค่าจ้างหรือค่านาย หน้าในการช่วยเหลือให้เหยื่อได้เข้าทำงานให้ก่อน ข้อควรสังเกต มิจฉาชีพมักจะขอเงินล่วงหน้าจากเหยื่อ โดยที่ยังไม่ได้ดำเนินการหรือ ติดต่อใด ๆ กับบริษัท เพราะในความเป็นจริงแล้วมิจฉาชีพไม่สามารถทำตามที่ สัญญากับเหยื่อไว้ได้
21 2. นายหน้าหาสินเชื่อ มิจฉาชีพจะอ้างกับเหยื่อว่าสามารถเจรจากับเจ้าหน้าที่ธนาคารให้ ปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ที่มีประวัติทางการเงินไม่ดีได้ แต่ขอให้เหยื่อจ่ายค่า จ้างในการเจรจาก่อนจึงจะไปเจรจาให้ ข้อควรสังเกต มิจฉาชีพจะร้องขอค่านาย หน้าก่อนที่จะช่วยเหลือเหยื่อ เพราะจริง ๆ แล้วมิจฉาชีพไม่ สามารถช่วยเหลือเหยื่อได้ นอกจากนี้ สถาบันการเงินมี เงื่อนไขและเกณฑ์ในการ พิจารณาสินเชื่ออยู่แล้ว ซึ่งผู้ที่ จะขอกู้ได้จะต้องมีคุณสมบัติ ตามเกณฑ์ที่สถาบันการเงิน กำหนด 3. เงินคืนประกันชีวิต มิจฉาชีพอ้างกับเหยื่อซึ่งเป็นญาติผู้ตายในงานศพว่าเป็นเจ้า หน้าที่จากบริษัทประกันชีวิตที่ผู้ตายได้ทำไว้ แต่ผู้ตายขาดชำระเบี้ย ประกันอีกเพียงหนึ่งงวด หากญาติชำระค่าเบี้ยประกันแทนผู้ตาย ก็ จะได้รับเงินก้อนใหญ่ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ข้อควรสังเกต การทำประกันชีวิตจะมี กรมธรรม์ที่บอกรายละเอียดสัญญา ระหว่างผู้รับประกันและผู้เอาประกัน จึงไม่ควรผลีผลามรีบจ่ายเงินทันที แต่ควรหากรมธรรม์ตัวจริงของผู้ ตายให้เจอและทำความเข้าใจกับ เงื่อนไขก่อนจ่ายเงินใด ๆ และควร ติดต่อบริษัทประกันชีวิตที่ถูกอ้าง ถึงโดยตรงเพื่ อสอบถามข้อเท็จจริง
22 4. นายหน้าขายที่ กลโกงลักษณะนี้จะมีมิจฉาชีพมากกว่า 2 คน มิจฉาชีพคนแรกจะแอบ อ้างว่าเป็นเจ้าของที่และต้องการขายที่แปลงหนึ่งและขอร้องให้เหยื่อช่วย ติดต่อหากมีผู้สนใจซื้อ เมื่อเวลาผ่านไป มิจฉาชีพคนที่สองจะแสดงตัวว่า เป็นผู้ที่ต้องการซื้อที่ดินของมิจฉาชีพคนแรก จึงขอให้เหยื่อติดต่อเจ้าของที่ ให้ เมื่อเหยื่อพามิจฉาชีพคนที่สองไปพบกับมิจฉาชีพคนหนึ่ง มิจฉาชีพคน ที่สองจะทำทีว่าต้องการที่ดินนั้นเป็นอย่างมากแต่มีเงินไม่พอจ่ายค่ามัดจำ จึงขอให้เหยื่อช่วยจ่ายค่ามัดจำโดยสัญญาว่าจะจ่ายคืนให้ในวันซื้อขาย พร้อมค่านายหน้าจำนวนหนึ่ง เมื่อเหยื่อหลงเชื่อช่วยจ่ายเงินค่ามัดจำไป มิจฉาชีพทั้งสองก็จะหายไป โดยไม่มีการซื้อขายที่ดินใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจาก นี้แล้วที่ดินที่กล่าวถึงนั้น ก็ไม่ได้เป็นของมิจฉาชีพคนที่หนึ่ง ข้อสังเกต มิจฉาชีพจะทำทีว่าต้องการที่ดินเป็นอย่างมากเพื่ อเร่งการตัดสินใจของ เหยื่อ โดยไม่ให้เหยื่อมีเวลาทบทวนหรือปรึกษาคนอื่น
23 5. ตกทอง มิจฉาชีพจะทำทีว่าเก็บทองได้แต่ติดธุระต้องรีบไป จึงเสนอให้เหยื่อนำ ทองไปขายโดยจะต้องจ่ายส่วนแบ่งให้กับมิจฉาชีพก่อน เมื่อเหยื่อหลงเชื่อ จ่ายเงินสดให้แก่มิจฉาชีพ แล้วนำทองไปขาย ก็จะพบว่าทองนั้นเป็นทอง ปลอม ข้อควรสังเกต มิจฉาชีพจะทำทีว่ารีบ และเร่งให้เหยื่อตัดสินใจ เพื่อให้เหยื่อไม่มีเวลา คิดทบทวน และตรวจสอบทองปลอมที่มิจฉาชีพถือมาให้ 6. หวยปลอม มิจฉาชีพอ้างว่ามีสลากกิน แบ่งรัฐบาลที่ถูกรางวัลที่หนึ่งอยู่ แต่ไม่สะดวกที่จะนำไปแลกรางวัล จึงเสนอขายให้เหยื่อในราคาถูก เมื่อ เหยื่อหลงเชื่อซื้อและนำสลาก ฯ ไป ขึ้นรางวัล จึงพบว่าสลาก ฯ นั้น เป็นของปลอม นอกจากไม่ได้เงิน แล้ว ยังต้องโทษตามกฎหมายอีก ด้วย
24 ข้อควรสังเกต มิจฉาชีพมักจะหลอกขายสลากกินแบ่งรัฐบาลปลอมมาหลังจากที่มีการ ประกาศรางวัลแล้ว เพื่อให้เหยื่อเข้าใจว่าสลาก ฯ ใบนั้นเป็นใบที่ถูกรางวัลจริง 7. เงินกู้เพื่อเกษตรกร มิจฉาชีพจะหลอกใช้เครือข่ายในชุมชน เช่น ผู้นำชุมชนหรือผู้กว้างขวาง กระจายข่าวหรือประกาศผ่านสื่อต่าง ๆ ว่าได้รับเงินทุนจากองค์กรต่างประเทศ จำนวนมาก เพื่อนำมาให้เกษตรกรหรือคนในชุมชนกู้ยืมในระยะยาว ดอกเบี้ยต่ำ และไม่ต้องมีหลักประกัน โดยคนที่สนใจสามารถสมัครเป็นสมาชิกโดยไม่เสียค่าใช้ จ่าย แต่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ หรือค่าจัดทำเอกสาร เช่น รายละ 200 – 500 บาท เมื่อเหยื่อหลงเชื่อสมัครและจ่ายเงิน มิจฉาชีพจะแจ้งเหยื่อว่า ยังไม่สามารถให้เงินกู้ได้ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น เงินอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือองค์กรอื่น ๆ รวมทั้งอาจมีเอกสารที่แสดงการ ติดตามเรื่องถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อซื้อเวลาและสร้างความมั่นใจว่าไม่ได้หลอก ลวง โดยอาจขอให้เหยื่อจ่ายค่าธรรมเนียมหรือค่าดำเนินการอื่น ๆ เพิ่มเติม ดังนั้น หากมีคนชักชวนให้เข้าร่วมโครงการในลักษณะนี้ ควรตรวจสอบข้อ เท็จจริงจากที่ว่าการอำเภอ ศาลากลางจังหวัด หรือหน่วยงานที่มิจฉาชีพนำมา แอบอ้างโดยตรง ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ หรือจ่ายเงินค่าธรรมเนียม ต่างๆ ไม่ควรหลงเชื่อจากคำโฆษณา และหรือเอกสารที่ผู้ชักชวนนำมาแสดง เพียงฝ่ายเดียว เพราะอาจเป็นเอกสารปลอม หรือเอกสารที่จงใจทำขึ้นเพื่อ หลอกลวงเกษตรกรได้
25 วิธีป้องกัน ทบทวนข้อมูลที่ได้รับจากมิจฉาชีพว่ามีความน่าจะเป็นมากน้อยแค่ไหน หากมีการกล่าวอ้างถึงสถาบันการเงิน หรือบุคคลที่สาม ควรติดต่อกับ สถาบันการเงินหรือบุคคลนั้น ๆ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง ไม่ควรหลงเชื่อกับผลประโยชน์ที่มิจฉาชีพนำมาหลอกล่อ สิ่งที่ควรทำเมื่อตกเป็นเหยื่อ รวบรวมเอกสารและหลักฐาน (หากมี) แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อ เป็นหลักฐานและเบาะแสในการติดตามคนร้าย ทำใจ...เมื่อจ่ายเงินหรือให้ของแก่มิจฉาชีพแล้ว มิจฉาชีพจะรีบหนีออกจาก พื้นที่ ซึ่งทำให้ยากต่อการติดตาม คำถามถามบ่อย Q : เราจะทราบได้อย่างไรว่าบุคคลที่เข้ามาทำความรู้จักเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ A : การที่จะระบุว่าบุคคลใดเป็นมิจฉาชีพอาจทำได้ยาก แต่เราสามารถระวังตัว ได้ โดยไม่ให้ข้อมูลใด ๆ กับคนที่ไม่รู้จักหรือไม่คุ้นเคย นอกจากนี้ไม่ควรโลภอยาก ได้เงินหรือของมีค่าที่ได้มาง่าย ๆ หรือไม่มีที่มา เพราะของถูก ของดี ของฟรี ไม่มีในโลก และควรตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ถูกอ้างถึงก่อนจ่ายเงินหรือให้ ทรัพย์สินของตนเองแก่ผู้อื่น Q : หากถูกมิจฉาชีพหลอก ควรแจ้งความที่ใด A : ควรรวบรวมหลักฐาน(หากมี)เข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ณ สถานีที่ เกิดเหตุเพื่ อเป็นเบาะแสในการติดตามคนร้าย ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก www.1213.or.th /ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
26 การออม คืออะไร? การออม เป็นการแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งเก็บสะสมไว้สำหรับวัตถุประสงค์ ต่าง ๆ เช่น เพื่อไว้ใช้ในอนาคต เผื่อเวลาฉุกเฉิน เพื่อใช้ในสิ่งที่อยากได้หรือ อยากทำ การออมส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียเงิน ต้นต่ำ และได้รับผลตอบแทนไม่สูงนักเมื่อเทียบกับการลงทุน เช่น การฝาก ออมทรัพย์ การฝากประจำ การซื้อสลากออมทรัพย์ สัดส่วนที่เหมาะสมในการออม โดยทั่วไปควรออมเงินประมาณ 1 ใน 4 ของรายได้แต่ละเดือน อย่างไร ก็ตามอัตราส่วนนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับรายได้ ปัจจุบันและแผนทางการเงินที่วางไว้ เช่น หากเรามีแผนที่จะใช้เงินก้อนใหญ่ใน ระยะเวลาอันใกล้ อาจจำเป็นต้องออมเงินมากกว่า 1 ใน 4 เพื่อให้เราถึงเป้า หมายทางการเงินเร็วขึ้น แต่ถ้าเรามีรายได้น้อยและหนี้สินเยอะ ก็อาจลดการ ออมลง เพื่อนำเงินจำนวนนี้ไปทยอยผ่อนชำระหนี้สินที่มีให้หมดก่อน แล้วค่อย ออมเพิ่มขึ้น เป็นต้น
27 วัตถุประสงค์ในการออม อาจจะจัดสรรวัตถุประสงค์หลักได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้ ปัจจัยที่ควรพิ จารณาในการออม เมื่อเราเริ่มออมเงินแล้ว สิ่งต่อไปที่จะต้องพิจารณาคือ เราจะเก็บเงินออม นั้นไว้อย่างไร หากจะเก็บเป็นเงินสดไว้กับตัว แม้จะนำมาใช้จ่ายได้ง่าย แต่ก็ เสี่ยงต่อการสูญหายและไม่มีผลตอบแทนที่จะทำให้เงินออมงอกเงยได้ ทางเลือก ของเราจึงอาจเป็นการมองหาผลิตภัณฑ์เพื่ อการออมหลากหลายรูปแบบที่ออก โดยสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น 1. บัญชีเงินฝาก 2. ผลิตภัณฑ์คล้ายเงินฝาก ซึ่งการเลือกผลิตภัณฑ์เพื่ อการออมให้เหมาะสมกับความต้องการและ วัตถุประสงค์ในการออมนั้น สามารถพิจารณาได้จากปัจจัยต่อไปนี้
28 1. ผลตอบแทน ผลตอบแทนจากการออม คือ ดอกเบี้ย ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการ ออม เพราะยิ่งอัตราผลตอบแทนสูงเท่าไร เงินออมก็จะยิ่งงอกเงยรวดเร็ว ขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลอัตราผลตอบแทนของแต่ละ ผลิตภัณฑ์ได้จากสถาบันการเงินที่ต้องการ หรือตรวจสอบ อัตราดอกเบี้ย ประจำวันของธนาคารพาณิชย์ ได้จาก website ของธนาคารแห่ง ประเทศไทย 2. อัตราเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ \"ค่าของเงิน\" เช่น เมื่อ ก่อนซื้อข้าวราดแกงจานละ 15 บาท แต่ปัจจุบันราคาเพิ่มขึ้นเป็น 30 - 50 บาท ราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือ \"เงินเฟ้อ\" ทำให้เงินมีมูลค่า หรือ \"อำนาจซื้อ\" ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับนั้น จึงยังไม่ใช่ผลตอบแทนที่แท้จริง ต้องมีการหักผลกระทบจากเงินเฟ้อออก ก่อน ดังนี้ ทั้งนี้ สามารถดูข้อมูลอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ได้จาก website ของธนาคาร แห่งประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น หากนำเงินไปฝากประจำที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อ ปี หากอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3 ต่อปี ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะ เท่ากับร้อยละ 1 เท่านั้น และในบางครั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอาจน้อยกว่า อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เงิน ที่งอกเงยขึ้นไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ในกรณีนี้ผู้ฝากอาจนำเงิน จำนวนนี้ไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยสามารถศึกษาเรื่องการ ลงทุนเพิ่มเติมที่ การลงทุน
29 3. ระยะเวลาในการออม เพราะการออมมีผลตอบแทน ดังนั้นยิ่งเริ่มต้นออมเร็วเท่าไหร่ เงินก็จะยิ่ง งอกเงยมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่นำเงินไปฝากแบบมีการคิด ดอกเบี้ยทบต้น ดอกเบี้ยที่ได้จะถูกทบเข้ากับเงินต้นเดิม และกลายเป็นเงินต้น ของงวดถัดไปเรื่อย ๆ ทำให้เงินงอกเงยได้เร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ หากเรามีการตั้งเป้าหมายทางการเงินไว้ ยิ่งเราเริ่มออมเร็วเท่า ไหร่ ภาระในการเก็บออมก็จะยิ่งลดลงเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น เราตั้งเป้าหมาย ออมเงินให้ได้ 1 ล้านบาทเพื่อการเกษียณ โดยได้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปี หากเริ่มออมตั้งแต่อายุ 31 ปี จะต้องออมเพียงปีละ 15,000 บาทเท่านั้น แต่หากเริ่มออมเมื่ออายุ 51 ปี จะต้องออมถึงปีละ 76,000 บาท ดังตาราง ด้านล่าง
30
31 และหากตั้งเป้าหมายการออมเงินให้งอกเงยเป็นเท่าตัว ก็สามารถคำนวณระยะ เวลาในการออมง่าย ๆ ได้ดังนี้ จากสมการ จะเห็นได้ว่ายิ่งอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนสูง ระยะเวลา การออมเงินให้งอกเงยเป็นเท่าตัวก็ยิ่งสั้นลง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราออม โดยได้ดอกเบี้ยร้อยละ 4 จะต้องใช้เวลา 18 ปีเงินจึงจะงอกเงยเป็นเท่าตัว แต่ถ้าเราออมที่ดอกเบี้ยร้อยละ 6 เงินจะงอกเงยเป็นเท่าตัวในเวลาเพียง 12 ปี 4. สภาพคล่องทางการเงินของผลิตภัณฑ์ สภาพคล่องทางการเงิน คือ ความยากง่ายในการเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มี เป็นเงินสด สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง จะสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ อย่างรวดเร็ว เช่น เงินฝากธนาคาร ส่วนสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ จะต้อง ใช้เวลานานในการขายหรือเปลี่ยนให้เป็นเงินสด เช่น รถ ที่ดิน หรือ สิ่งของ สะสม ผลิตภัณฑ์เพื่อการออมแต่ละประเภทก็มีสภาพคล่องที่ต่างกัน เช่น การ ฝากออมทรัพย์จะมีสภาพคล่องสูง สามารถฝาก-ถอนเงินสดได้ตลอดเวลา แต่ก็ได้รับผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำ ในขณะที่การฝากประจำแม้จะมี ผลตอบแทนสูงกว่า แต่ก็อาจเรียกได้ว่ามีสภาพคล่องต่ำกว่า เนื่องจากหาก ถอนเงินออกจากบัญชีก่อนครบกำหนดเวลา ก็มักจะได้รับดอกเบี้ยต่ำกว่าที่ ประกาศไว้ ดังนั้น เราจึงควรจัดสรรเงินออมให้สอดรับกับรูปแบบการใช้จ่ายและ ความจำเป็นทางการเงินของตนเอง เพื่อป้องกันปัญหาขาดสภาพคล่อง หรือ \"หมุนเงินไม่ทัน\" จนต้องถอนเงินก่อนกำหนด หรือต้องกู้ยืมเงินมาใช้ โดยไม่จำเป็น
32 โดยสิ่งที่จะช่วยเราได้ก็คือการวางแผนการเงินและการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ซึ่งนอกจากจะทำให้เรารู้ว่าเราจะต้องมีเงินที่มีสภาพคล่องสูง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายประจำแต่ละเดือน และเงินที่สำรองไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน เป็นจำนวนเท่าใดเพื่อฝากเงิน 2 ส่วนนี้ไว้ในบัญชีออมทรัพย์ (แต่ควรแยก บัญชีกันเนื่องจากมีวัตถุประสงค์ต่างกัน) แล้ว เรายังสามารถนำเงินส่วน ที่เหลือมาออมด้วยการฝากประจำหรือนำไปลงทุนซึ่งได้ผลตอบแทนที่สูง กว่าเพื่ อให้เงินงอกเงยมากขึ้นด้วย 5. อัตราค่าธรรมเนียมและข้อกำหนดต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์เพื่ อการออมแต่ละประเภทจะมีข้อกำหนดและอัตราค่า ธรรมเนียมที่แตกต่างกัน เช่น เงินฝากบางประเภทอาจมีข้อกำหนดว่าหาก ถอนเงินเกินจำนวนครั้งสูงสุดที่กำหนดก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการเบิก ถอนเพิ่ม รวมทั้งอาจมีค่าธรรมเนียมกรณีบัญชีไม่เคลื่อนไหว ดังนั้น ก่อน การตัดสินใจควรศึกษาข้อมูลรายละเอียดให้เข้าอย่างใจถ่องแท้ โดย สามารถสอบถามข้อมูลจากสถาบันการเงินนั้น ๆ หรือตรวจสอบข้อมูลค่า ธรรมเนียมเพิ่มเติมได้จาก website ของธนาคารแห่งประเทศไทย รวม ถึงพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มีความเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตและ การใช้บริการทางการเงินของเราหรือไม่ 6. ภาษี หัก ณ ที่จ่าย โดยทั่วไปผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเงินฝากจะถูกหักภาษี ณ ที่ จ่าย 15% แต่ก็มีผลตอบแทนการออมบางประเภทที่ได้รับยกเว้นภาษี เช่น • ดอกเบี้ยจากเงินฝากออมทรัพย์ส่วนที่ไม่เกิน 20,000 บาท • ดอกเบี้ยจากสลากออมทรัพย์ • ดอกเบี้ยจากเงินฝากประจำรายเดือน ตั้งแต่ 24 เดือนขึ้นไป (บุคคล ธรรมดาสามารถใช้สิทธิฝากเงินในบัญชีประเภทนี้ได้เพียงบัญชีเดียว โดย ยอดเงินฝากรวมต้องไม่เกิน 600,000 บาท และผู้ปกครองสามารถเปิด บัญชีในนามของผู้เยาว์ได้) 7. การคุ้มครองเงินฝาก ศึกษาละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เรื่อง บัญชีเงินฝาก หัวข้อ ต้องรู้ อะไร...เมื่อไปฝากเงิน ข้อ 4 เงื่อนไขการคุ้มครองเงินฝาก
33 คำถามถามบ่อย Q : ควรออมเงินเดือนละเท่าไร A : โดยทั่วไป เราควรออมเงินเดือนละประมาณ 1 ใน 4 ของรายได้ อย่างไรก็ตามอัตราส่วนนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่ กับรายได้ปัจจุบันและแผนทางการเงินที่วางไว้ เช่น หากเรามีแผนที่จะใช้เงิน ก้อนใหญ่ในระยะเวลาอันใกล้ อาจจำเป็นต้องออมเงินมากกว่า 1 ใน 4 แต่ถ้า เรามีรายได้น้อยแต่มีรายจ่ายที่จำเป็นมาก หรือมีหนี้สินเยอะ ก็อาจลดสัดส่วน การออมลง เช่น 10% ของรายได้ เพื่อนำเงินจำนวนนี้ไปทยอยผ่อนชำระหนี้ สินที่มีให้หมดก่อน แล้วค่อยออมเพิ่มขึ้นในภายหลัง Q : เงินออมเผื่อฉุกเฉิน อยากมีไว้เกิน 6 เดือนของรายจ่ายประจำได้หรือไม่ A : จริง ๆ แล้วเงินออมยิ่งมีมากยิ่งอุ่นใจ แต่ก็มีข้อควรคำนึงคือ ควรฝาก ในบัญชีออมทรัพย์เพื่อให้มีสภาพคล่องสูง จะได้นำมาใช้ในยามฉุกเฉินได้ สะดวก อย่างไรก็ตาม บัญชีออมทรัพย์อาจได้ดอกเบี้ยไม่สูงนัก ถ้ามีเงิน ออมแบบนี้มาก ๆ ก็อาจแบ่งเงินบางส่วนไปไว้ในทางเลือกอื่น ๆ บ้าง เช่น เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ เงินฝากประจำ กองทุนรวม ซึ่งแม้จะทำให้มีสภาพ คล่องน้อยลง แต่ได้ผลตอบแทนสูงขึ้น ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก www.1213.or.th /ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
34 10 วิธีเก็บเงิน แบบจริงจัง ได้ผลแน่ ภายใน 1 เดือน “วิธีเก็บเงินนั้นมีมากหลากหลายวิธี เยาวรุ่นทั้งหลายมาดูกันว่า วิธีไหนที่เหมาะกับวิถีของเรามากที่สุด” ฝึกนิสัยการออม เพื่อเป็นต้นทุนในอนาคต การออมเงินเป็นวิธีการสะสมทุนทรัพย์เพื่อใช้จ่ายในอนาคต ซึ่งการมี แผนสำรองหรือมีเงินสำรองไว้ประกันความไม่แน่นอน ในอนาคตเป็นสิ่งที่ควร กระทำ และการออมเงินก็เป็นหนึ่งในการป้องกันความเสี่ยงนั้น โดยปกติแล้ว ผู้คนมักจะตั้งเป้าการออมเพื่อหาวิธีที่สอดรับกับตัวเอง อาจจะฝึกออมเงิน 1 เดือน, 3 เดือน หรือ 1 ปี ตามแต่ความเหมาะสม ซึ่งการออมโดยกำหนดระยะ เวลา 1 เดือนนี้ มีข้อดีที่ระยะเวลาสั้น สามารถเห็นผลได้รวดเร็ว เหมาะกับการ หาแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นเก็บเงิน ข้อดีของการออมเงิน การเริ่มต้นออมเงินมีประโยชน์หลายอย่าง โดยการออมจะส่งผลดีต่อ ตัวผู้ออมเอง สรุปประโยชน์หลัก ๆ ของการออมได้ดังนี้ • ฝึกวินัยในการใช้จ่าย • รู้จักวางแผนการใช้เงินในอนาคต • เห็นคุณค่าของเงิน • ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ เพราะการออมต้องทำเป็นลำดับขั้นตอน วิธีการออมเงินที่เห็นผลใน 1 เดือน วิธีการเก็บเงินออม 1 เดือนที่ได้รับความนิยม มีดังนี้
34 1. เก็บเฉพาะแบงก์หรือเหรียญที่กำหนด วิธีที่ได้รับความนิยมมาก คือ การงดใช้แบงก์หรือเหรียญบางชนิด เช่น บางคนไม่ใช้แบงก์ 50 บาท เมื่อได้รับแบงก์ 50 บาทมา จะต้องเก็บ เท่านั้น หรือบางคนอาจจะเลือกเก็บเหรียญ 10 บาทแทนก็ได้ ข้อดี จดจำง่าย ไม่มีการกำหนดตายตัวถึงจำนวนเงินที่ต้องเก็บในแต่ละวัน ข้อเสีย หากได้รับเงินทอนเป็นแบงก์หรือเหรียญแบบที่กำลังเก็บอยู่ การใช้ จ่ายจะลำบากมากขึ้น 2. สะสมเงินทุกวันตามวันที่ การเก็บเงินโดยเพิ่มมูลค่าขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการเก็บเงินตั้งแต่ต้นเดือน นับวันที่ 1 แล้วเก็บ 1 บาท วันที่ 2 เก็บ 2 บาท จนถึงวันสุดท้ายเก็บ 28, 29, 30 หรือ 31 บาท แล้วแต่วันที่สุดท้ายของเดือน ข้อดี เริ่มต้นด้วยตัวเลขน้อย ๆ จูงใจให้อยากเก็บเงิน ข้อเสีย ได้เงินเก็บน้อย เพราะครบ 1 เดือน จะได้มากสุดเพียง 470 บาท เหมาะกับการเก็บครึ่งปีหรือรายปีมากกว่า 3. กำหนดเงินเก็บตามเหตุการณ์ วิธีนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับคนที่มีแรงบันดาลใจในบาง อย่าง เช่น ชื่นชอบศิลปินหรือดารา จึงมีการกำหนดเงินเก็บอิงตามการ ปรากฏตัวตามสื่อต่าง ๆ เช่น ออกงานใหญ่ เก็บ 100 บาท โพสต์สเตตัส ลงบนสังคมออนไลน์ เก็บ 150 บาท ข้อดี เป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการออมควบคู่ไปกับการติดตามสิ่งที่ ชอบไปพร้อม ๆ กัน ข้อเสีย ไม่สามารถกำหนดเงินออมได้ บางครั้งอาจต้องออมเงินเป็นจำนวน มาก ในขณะที่บางคราวอาจไม่ได้ออมเงินเลย 4. ให้เงินรายวันตัวเอง การจำกัดรายจ่ายของตัวเองจะช่วยให้การใช้จ่ายในแต่ละวันลดน้อยลง โดยต้องมีการวางแผนตั้งแต่เงินเดือนออก แล้วตัดแบ่งส่วนที่ต้องการ ออมเก็บไว้ เงินที่เหลือจึงมาถัวเฉลี่ยสำหรับใช้จ่ายในแต่ละวัน ข้อดี สามารถกำหนดเงินออมเองได้ และแน่นอนในทุกเดือน ข้อเสีย อาจต้องลดค่าใช้จ่ายบางส่วนเพื่อให้เงินพอใช้ในแต่ละวัน
35 5. เปิดบัญชีฝากประจำ การเปิดบัญชีฝากประจำเป็นการเปิดบัญชีแบบถอนไม่ได้ ผู้เปิดจะต้อง ฝากเงินให้ครบตามที่กำหนด อาจมีการให้ธนาคารดึงเงินจากเงินเดือนเก็บ เข้าบัญชีฝากประจำได้เลย รวมไปถึงการลงทุนในกองทุนรวมด้วย ข้อดี สะดวกในการฝาก ธนาคารจะดึงเงินบางส่วนจากเงินเดือนไปเก็บ ไว้ให้ ข้อเสีย อาจเกิดปัญหาเงินเดือนไม่พอใช้ 6. เก็บจากเศษเงินที่เหลือจากการใช้จ่าย วิธีนี้มักจะมีเศษเงินที่ไม่ลงตัวหลังจากหักค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งแล้ว เงินส่วนที่เป็นเศษนั้นให้เก็บไว้ และใช้เฉพาะยอดที่เป็นจำนวนเต็ม ข้อดี มีเงินเก็บสม่ำเสมอทุกเดือน ข้อเสีย เก็บได้ในจำนวนที่น้อย 7. บันทึกรายรับ-รายจ่าย การจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นประจำจะช่วยให้เห็นเงินที่ใช้จ่ายใน แต่ละวัน กระตุ้นให้เกิดการออมเมื่อเห็นยอดใช้จ่าย และช่วยในการตัดยอด ซื้อที่ไม่จำเป็นออกไปได้ ข้อดี ช่วยให้การออมเป็นระบบมากขึ้น แบ่งค่าใช้จ่ายเป็นสัดส่วน ข้อเสีย กดดันตัวเองจนเกินไป โดยเฉพาะเมื่อใช้จ่ายกับสิ่งที่เสียดาย ภายหลัง 8. ใส่กระปุกที่เปิดไม่ได้ กระปุกออมสินเป็นตัวช่วยสำคัญในการออม และกระปุกแบบที่ไม่มีช่อง สำหรับเอาเงินออกมา ต้องทุบกระปุกทิ้งเท่านั้นก็เป็นสิ่งที่ช่วยบังคับให้การ ออมบรรลุผล ข้อดี มีเงินออมรออยู่ในกระปุกแน่นอน ข้อเสีย ไม่สามารถหยิบเงินออกมาใช้จ่ายในยามจำเป็นได้
36 9. งดอาหารหรือสินค้าฟุ่มเฟือยประจำวัน การออมที่ดีจะต้องเริ่มต้นด้วยการมีเงินเหลือออม การจะทำให้มีเงิน เหลือจึงจำเป็นต้องตัดค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ไม่จำเป็นออกไป มีการลดค่าใช้ จ่ายบางส่วน โดยมากมักลดอาหารทานเล่น เช่น ลดกาแฟเหลือเพียงวันละ แก้ว หรืองดขนมขบเคี้ยวหลังพักเที่ยง ข้อดี ประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้มีเงินออม ข้อเสีย รู้สึกการใช้จ่ายไม่คล่องมือ เพราะเกิดการตัดการใช้จ่ายบาง ส่วนทิ้งไป 10. เผื่อเวลาตัดสินใจก่อนซื้อของ ก่อนจะตัดสินใจซื้อสินค้ามูลค่าสูงสักชิ้น ควรต้องให้เวลาในการ ทบทวนเสียก่อน เมื่อแน่ใจว่าอยากได้จริง ๆ จึงค่อยซื้อ รวมถึงมองหาโปร โมชั่นทั้งของทางร้าน โปรโมชั่นบัตรเครดิต และโปรโมชั่นบัตรสมาชิกต่าง ๆ เพื่อให้การใช้จ่ายถูกลง ไม่เบียดบังเงินออม ข้อดี การซื้อของจะได้สิ่งของที่อยากได้จริง ๆ ไม่ค่อยซื้อมาทิ้งเฉย ๆ ข้อเสีย ต้องใช้ความอดทนและการหักห้ามใจระหว่างพิจารณา รวมถึง สินค้าบางชิ้นอาจจะหมดลงก่อน การออมเงินเป็นการวางแผนการใช้เงินที่ได้ผลดีวิธีหนึ่ง เมื่อฝึกจนมี ความเคยชินจะสามารถออมเงินในระยะยาวได้ และเงินออมส่วนนี้จะเป็นเงิน สำรองไว้ในยามฉุกเฉิน อาจจะมีการต่อยอดเป็นเงินลงทุนเพื่อให้มีกำไร งอกเงยหรืออาจจะสมัครบัตรเครดิต เพื่อฝึกวินัยในการใช้เงินและช่วยแบ่ง เบาค่าใช้จ่ายเมื่อต้องการซื้อสินค้ามูลค่าสูง ทำให้ไม่ต้องใช้เงินครั้งละมาก ๆ และมีเงินออมเหลือเก็บในแต่ละเดือนดังเดิม ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก www.ktc.co.th /บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
37 10 อาชีพเสริมยุคดิจิทัล ที่โกยเงินได้ดี “วัยเรียน” ทำได้! “ยุคนี้ถึงเป็นเยาวรุ่นเรียนหนังสืออยู่ ก็สามารถทำอาชีพเสริมสร้างรายได้ได้ง่ายๆ ทางช่องทางดิจิทัล” เมื่อโลกพั ฒนาไปข้างหน้าด้วยพลังขับเคลื่อนของเทคโนโลยีและความ คิดสร้างสรรค์ ทำให้เกิดอาชีพเสริมยุคดิจิทัลแนวใหม่ขึ้นมามากมาย ประกอบ กับช่วงนี้เป็นช่วงปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัย สำหรับน้อง ๆ นักศึกษาที่มี เวลาว่าง ลองมองหากิจกรรมหรืองานอดิเรกที่มีโอกาสสร้างรายได้งาม ๆ ทั้งยังได้ฝึกฝนทักษะอาชีพไปในตัว เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิต ที่ สำคัญยังช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัวได้อีกต่างหาก บางอาชีพสามารถ ทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนเยอะ และไม่เบียดเบียนเวลา เรียนอีกด้วย มาดูกันเลยว่ามีอาชีพเสริมยุคดิจิทัลอาชีพไหนที่จะโกยเงินได้ใน ช่วงนี้บ้าง
38 1. Blogger สำหรับใครที่มีพรสวรรค์ด้านการเล่าเรื่อง และมีความสนใจเฉพาะทาง ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี สุขภาพ ความงาม หรือท่องเที่ยว การบอกเล่า ประสบการณ์ผ่านการเขียนบล็อกออนไลน์ ทำคลิปวิดีโอหรือสร้างเว็บไซต์ ของตัวเองยังเปรียบเสมือนเป็นคลังสะสมผลงานของเราและยังเป็นอาชีพ เสริมที่เหมาะกับยุคดิจิทัลอีกด้วย ยิ่งถ้าบทความนั้นได้รับการเผยแพร่มาก เท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างชื่อเสียงให้กับบล็อกเกอร์ จนต่อยอดไปเป็น Influencer บางรายมีรายได้จากสปอนเซอร์ในการเขียนรีวิวสินค้าตั้งแต่ หลักพันจนถึงหลักหมื่นต่อหนึ่งคอนเทนต์เลยทีเดียว ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะ ทำให้ประสบความสำเร็จในการทำอาชีพเสริมยุคดิจิทัลอย่างบล็อกเกอร์ก็ คือคุณภาพของเนื้อหา มีการนำเสนอที่น่าสนใจ อาจจะเล่าเรื่องด้วยวิดีโอ ที่ดูแล้วสนุก เข้าใจง่าย ก็จะทำให้เข้าถึงผู้อ่านผู้ชมได้มากขึ้น 2. ช่างภาพขายภาพออนไลน์ เราคุ้นเคยกับคำว่าช่างภาพมืออาชีพ แต่ในยุคที่ใคร ๆ สามารถโปรโมท ผลงานภาพถ่ายของตัวเองผ่านทางเว็บไซต์ ช่างภาพไม่จำเป็นที่จะต้องเดิน ทางไปเสนอผลงานของตัวเองผ่านลูกค้าแล้ว จึงเกิดอาชีพในยุคดิจิทัลอย่าง Stock Photographer ขึ้นมา เพียงแค่สมัครสมาชิกกับเว็บที่รับเป็น ตัวแทนขายภาพออนไลน์อย่าง Shutterstock, Istockphoto, photolia
39 ซึ่งแต่ละเว็บไซต์ก็มีข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป ถ้าภาพถ่ายของคุณผ่าน มาตรฐานแล้ว ที่เหลือก็รอเงินโอนเข้าบัญชีหลังจากมีคนมาซื้อได้เลย ถ้าใคร มั่นใจว่ามีฝีมือในการถ่ายภาพ อาชีพเสริมในยุคดิจิทัลแบบนี้ก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะความพิเศษของภาพถ่ายคือไม่มีวันหมดอายุ สามารถขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง ลูกค้ามีทั่วโลก ทางเว็บไซต์จัดการขั้นตอนซื้อขายให้หมด ภาพเพียง ภาพเดียวราคาพุ่ งไปหลักแสนเลยก็มี 3. รับ Pre-order สินค้า อาชีพรับ Pre-order สินค้าก็เหมือนกับการฝากซื้อสินค้าแล้วเรานำมา ส่งต่อให้ โดยคิดค่าบริการ “หิ้วของ” อาชีพนี้เป็นอาชีพในยุคดิจิทัลที่ได้รับ ความนิยมมากขึ้น เห็นได้จากตามเพจเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ของร้านค้า เรา มักจะเจอคอมเมนต์ “รับหิ้ว” อยู่บ่อย ๆ เรียกว่าเป็นอาชีพที่ตอบสนองความ ต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง โดยเราสามารถทำเป็นอาชีพเสริมเป็นครั้ง คราวเวลาไปเที่ยวต่างประเทศ หรือเมื่อมีสินค้าลดราคาจากแบรนด์ดัง แล้วก็ สร้างเว็บเพจของตัวเองในโซเชียลเพื่อลงรูปสินค้าและโปรโมทให้คนรู้จัก พู ด ง่าย ๆ ก็คือการสร้างตัวตนขึ้นมานั่นเอง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและเป็น ช่องทางในการติดต่อลูกค้า จัดว่าเป็นอาชีพเสริมยุคดิจิทัลที่สามารถบริหาร การทำงานได้อย่างยืดหยุ่น และใช้เงินลงทุนไม่มาก เพราะเป็นการพรีออเดอร์ ตามจำนวนที่ลูกค้าสั่งซื้อจริง ๆ
40 4. นักแปล อีกอาชีพเสริมยุคดิจิทัลที่ไม่เคยหายไปไหนและยังคงเป็นที่ต้องการ ของแพลตฟอร์มต่าง ๆ ก็คือนักแปล หนอนหนังสือ สายภาษาที่มีทักษะ การอ่านและการแปลของตัวเองเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว อาจสร้างรายได้จาก อาชีพเสริมในยุคดิจิทัลมากกว่าที่เราคิด ยิ่งใครที่ได้ภาษาที่สาม ก็เป็นที่ ต้องการของตลาดและได้ค่าแรงที่สูงตามไปด้วย สำหรับนักศึกษาอาจจะ เลือกรับงานแปลบทความ เรื่องสั้น ที่ไม่ต้องใช้เวลานานมากจนมา เบียดเบียนเวลาเรียน ส่วนใครที่เรียนด้านภาษาอยู่แล้วการรับงานแปล ยังเป็นการเพิ่มพู นทักษะภาษาของตัวเองให้แน่นขึ้นไปอีก ยิ่งมีทักษะสูง เท่าไหร่ โอกาสเพิ่มค่าแรงก็สูงตามไปด้วย แม้ความรู้ทางภาษาจะมาเป็น ที่หนึ่ง แต่นักแปลควรศึกษาหาข้อมูลความรู้ด้านอื่นไปพร้อม ๆ กันอย่าง สังคม ประวัติศาสตร์ เทคโนโลยี ซึ่งจะมีประโยชน์กับการแปลบทความ เฉพาะทาง
41 5. ติวเตอร์ ติวเตอร์เป็นอาชีพเสริมยุคดิจิทัลที่กำลังมาแรง ยิ่งในสมัยนี้ สามารถทำคลิปวิดีโอสอนผ่านทาง Youtube หรือ Facebook Live ได้ และยังสื่อสารกับผู้เรียนได้แบบเรียลไทม์อีกด้วย อีกทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและค่าเดินทาง เรียกได้ว่ามีข้อดีอยู่หลากหลาย ซึ่งการ เรียนที่บ้านผ่านทางออนไลน์นอกจากจะได้ความสะดวกแล้ว ยังสามารถ สร้างรายได้ให้มากขึ้นเมื่อเรานำคลิปวิดีโอการสอนออนไลน์ไปขายผ่าน เว็บไซต์ที่รวบรวมบทเรียนออนไลน์หลายสาขาไว้ด้วยกัน เช่น coursesquare.co, skilllane.com, และ udemy.com ซึ่งจะหักราย ได้ส่วนแบ่งเข้าทางเว็บไซต์ที่ให้บริการส่วนหนึ่ง ซึ่งข้อดีของการสอน ออนไลน์แบบนี้ก็คือเราจะมีนักเรียนที่หลากหลายวัยและมาจากทั่วประเทศ ยิ่งทำให้ผู้สอนต้องพั ฒนาเทคนิคในการสอนอยู่ตลอดเวลาจัดเป็นอาชีพ เสริมในยุคดิจิทัลที่ได้พัฒนาตัวเองไปด้วยพร้อม ๆ กัน
42 6. บาริสต้า สมัยนี้เดินไปทางไหนก็เจอแต่คาเฟ่ โดยเฉพาะทำเลที่มีคนพลุกพล่านอย่าง สถานศึกษาและแหล่งชุมชน แต่ละร้านก็ มีจุดเด่นต่างกัน บางร้านเน้นที่รสชาติ เครื่องดื่ม บ้างก็เน้นที่บรรยากาศสถาน ที่ อีกทั้งคนไทยก็หันมาบริโภคกาแฟ แบบ custom-made กันมากขึ้น ธุรกิจคาเฟ่จึงไปได้อีกไกล สำหรับ อาชีพบาริสต้าจึงเป็นอาชีพในยุคดิจิทัล ที่ไม่ได้มีหน้าที่แค่ชงกาแฟให้อร่อยอย่าง เดียว แต่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ การได้ชงกาแฟรสเข้ม ๆ บริการที่ ประทับใจให้ลูกค้า อีกทั้งยังต้องหมั่นหาความรู้ด้านกาแฟอยู่เสมอ เป็น เรื่องดีที่จะได้เก็บเกี่ยวประสบกาณ์การทำงานด้านนี้ตั้งแต่ยังเรียน ใน อนาคตเราอาจจะมีโอกาสเปิดร้านคาเฟ่เป็นของตัวเองก็ได้ ใครจะรู้ 7. ไกด์นำเที่ยว ประเทศไทยยังติดอันดับเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมอยู่เสมอ ซึ่งเป็นจุด แข็งของไทยมาแต่ไหนแต่ไร ไกด์นำเที่ยวสามารถทำเป็นอาชีพเสริมยุค ดิจิทัลได้ อาจจะเริ่มต้นจากการเป็นอาสาสมัคร เข้าร่วมชมรมในมหาลัย หรือเป็นผู้ช่วย ไกด์ เพื่อสั่งสมประสบการณ์และได้ฝึก ภาษาไปในตัว แล้วจึงไปสอบเพื่อขอใบ อนุญาต เพื่อจะได้ทำเป็นอาชีพเสริมใน ยุคดิจิทัลอย่างถูกต้อง นอกจากนี้เรา ยังได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจาก นักท่องเที่ยวหลายเชื้อชาติ ไปพร้อม ๆ กับการศึกษาประวัติศาสตร์ เพราะการเป็นไกด์นำเที่ยวต้อง มีความรู้รอบตัว และถ่ายทอดออกมาให้เข้าใจได้ง่ายนั่นเอง ยิ่งชั่วโมงบิน สูงค่าตัวก็จะได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งไกด์อิสระจะคิดค่าตัวเป็นรายวัน ปัจจุบันมี ไกด์นำเที่ยวหลายแบบตามลักษณะการท่องเที่ยว เช่น ไกด์ทัวร์จักรยาน เดิน ป่า และชมสถานที่ทางวัฒนธรรม หากใครที่มีพื้นฐานด้านภาษาอยู่แล้วและ ยังรักการท่องเที่ยว สนุกกับอาชีพนี้แน่นอน
43 8. นักกีฬา E-Sports กีฬา E-Sports ถูกบรรจุให้เป็นชนิดกีฬาจากคณะกรรมการการกีฬา แห่งประเทศไทย เมื่อปี 2560 และมีสมาคมไทย E-Sports อย่างเป็นทางการ ทำให้ภาพลักษณ์ของ กีฬาชนิดนี้เป็นที่น่าสนใจมากขึ้น เมื่อการ เล่นเกมออนไลน์ไม่ใช่ตัวร้ายเสมอไป แต่ กลับกันเพราะสามารถช่วยฝึกสมอง การ วางแผน และการเล่นแบบทีมเวิร์ก จากเกม เมอร์ที่เล่นเพื่อความสนุก สามารถก้าวสู่ วงการนักกีฬา E-Sports เพื่อทำเป็นอาชีพ หลักหรืออาชีพเสริมยุคดิจิทัลได้ แค่มีเกมที่เราเล่นถนัด เกมยอดนิยมในวงการนี้ก็คือ Heroes of Newerth และ League of Legends ที่สำคัญคือต้องหมั่นฝึกซ้อมเข้าไว้ วิเคราะห์แนวทางคู่ต่อสู้ ผู้ชนะแต่ละการแข่งขันจะได้เงินรางวัลสูงถึงล้านบาท ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรเกี่ยวกับเกมเพื่ อรองรับตลาดธุรกิจด้านนี้ โดยเฉพาะ จึงเป็นอาชีพเกิดใหม่ในยุคดิจิทัลที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก 9. นักวาดรูปสติ๊กเกอร์ไลน์ จากผลสำรวจเมื่อปีที่แล้วประเทศไทยติดอันดับ 2 ของประเทศที่มีผู้ใช้ ไลน์มากที่สุดในโลก การส่งสติ๊กเกอร์ที่มีคาแรคเตอร์น่ารัก ๆ เอาไว้แทนความ รู้สึกจึงได้รับความนิยมตามไปด้วย นอกจากไลน์จะเป็นแอปพลิเคชั่นยอดฮิต ไว้สื่อสารแล้ว ยังต่อยอดเป็นอาชีพเสริม ยุคดิจิทัลได้ดี เมื่อไลน์เปิดโอกาสให้นัก วาดทั่วไปสามารถออกแบบสติ๊กเกอร์ไป ขายในระบบได้ จึงเป็นช่องทางสร้างหา รายได้ผ่านอาชีพเสริมในยุคดิจิทัลสำหรับ คนที่มีฝีมือด้านออกแบบและวาดรูป การจะทำให้สติ๊กเกอร์มียอดดาวน์โหลดเยอะ ก็ต้องสร้างคาแรคเตอร์ที่ แตกต่าง มีคำที่โดนใจหรือนิยมในช่วงนั้น ๆ สติ๊กเกอร์ที่ได้รับความนิยมติด อันดับ Best Sellers สามารถทำรายได้ถึงหลักแสนต่อเดือนเลยทีเดียว
44 10. Digital Copywriter ไอเดียเจ๋ง คิดงานเร็ว ความรู้รอบตัวเยอะ หูตากว้างไกล เป็น คุณสมบัติขั้นพื้นฐานของการเป็น Copywriter ที่รับผิดชอบเขียนโฆษณา เพื่อโปรโมทสินค้าและบริการผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ หลายคนอาจสงสัยว่า อาชีพเสริมในยุคดิจิทัลอาชีพนี้จะสร้างเงินได้อย่างไร อย่าลืมว่าการสื่อสารที่ ดีสร้างรายได้ให้แบรนด์อย่างมหาศาล สโลแกนสั้น ๆ อาจทำให้ลูกค้าจดจำ สินค้าคุณไปได้อีกนาน สำหรับนักศึกษาสายนิเทศศาสตร์ การฝึกทำงานด้าน นี้ตั้งแต่วัยเรียน จะช่วยพัฒนาทักษะทางความคิดสร้างสรรค์ และเป็นการ เตรียมพร้อมกับสภาพแวดล้อมในการทำงานจริง ๆ และอาจพัฒนาเป็น อาชีพเสริมในยุคดิจิทัลที่สร้างรายได้ได้อย่างงาม ยิ่งได้ร่วมงานกับแบรนด์ที่ หลากหลาย จะทำให้เราเข้าใจกลไกทางการตลาดและการทำธุรกิจสื่อสาร แบรนด์ได้ดีมากขึ้น นี่ก็เป็นแค่บางส่วนของไอเดียอาชีพเสริมยุคดิจิทัลที่มาแรงเข้ากับยุค สมัยปัจจุบัน ยังมีอีกหลายวิธีสร้างรายได้ระหว่างเรียน สิ่งสำคัญคือต้องรู้ ว่าตัวเองมีความถนัดด้านไหน จะนำเสนอจุดแข็งของเราให้คนอื่นสนใจได้ อย่างไร นอกจากนี้ก็คือการบริหารเวลาในการเรียนและการทำงานให้ไม่ เบียดเบียนกัน เพราะยังไงหน้าที่หลักของวัยเรียนก็คือตั้งใจเรียนหนังสือ นั่นเอง ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก www.krungsri.com / by krungsri เพลินเพลิน
Search
Read the Text Version
- 1 - 49
Pages: