Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore E-Book รายงานความฉลาดทางดิจิทัล_ศิริกานต์ 028ปฐมวัยหมู่1 ปี2

E-Book รายงานความฉลาดทางดิจิทัล_ศิริกานต์ 028ปฐมวัยหมู่1 ปี2

Published by ศิริกานต์028, 2022-03-17 04:34:11

Description: ความฉลาดทางดิจิทัล_ศิริกานต์ 028ปฐมวัยหมู่1 ปี2

Search

Read the Text Version

(DQ: Digital Intelligence Quotient)\"

เสนอ อาจารย์ สุจิตรา จันทร์ลอย จัดทำโดย นางสาวศิริกานต์ วิกรมาภรณ์รหัสนักศึกษา 634186028 คณะครุศาสตร์ ส าขาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 2 หมู่ที่ 1 รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา PC62502 นวัต กรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำนำ รายวิชรายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา PC62502 วัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการ ศึกษาและการเรียนรู้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ“ความฉลาดทางดิจิทัล” (DQ: Digital Intelligence Quotient) ของคนรุ่นใหม่ในทัศตวรรษที่21 ซึ่งรายงานฉบับนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ความหมายหรือความสำคัญของความ ฉลาดทางดิจิทัล ความเป็นมาของพลเมืองดิจิทัล องค์ประกอบของทักษะแต่ละด้าน ภาพประกอบโมเดลและตัวอย่างแต่ละ ทักษะ และแนวทางการพัฒนา และอื่นๆ ตามความเหมาะสมมุ่งเน้นในเรื่องของ ความฉลาดทางดิจิทัลของคนรุ่นใหม่ใน ทัศวรรษที่21 การศึกษาค้นคว้าเรื่อง “ความฉลาดทางดิจิทัล” (DQ: Digital Intelligence Quotient) ของคนรุ่นใหม่ในทัศ ตวรรษที่21 เล่มนี้ ข้าพเจ้าได้วางแผนการดำเนินงานการศึกษาค้นคว้าเป็น 2 ขั้นตอน ศึกษาจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ อาทิ ตำรา หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร และแหล่งความรู้จากเว็บไซต์ การจัดทำรายงานฉบับนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ไปด้วยดี ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณอาจารย์ สุจิตรา จันทร์ลอย ที่ท่าน ได้ให้คำแนะนำการเขียนรายงานจนทำให้รายงานฉบับนี้สมบูรณ์ในด้านแผนปฏิบัติศึกษาการทำรายงาน การเรียบเรียง เนื้อหา การเขียนบรรณานุกรมได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ข้าพเจ้าหวังว่า เนื้อหาในรายงานฉบับนี้ที่ได้เรียบเรียงมาจะเป็น ประโยชน์ต่อผู้สนใจเป็นอย่างดี หากมีสิ่งใดในรายงานฉบับนี้จะต้องปรับปรุง ข้าพเจ้าขอน้อมรับในข้อชี้แนะและจะนำไป แก้ไขหรือพัฒนาให้ถูกต้องสมบูรณ์ต่อไป ผู้จัดทำ ศิริกานต์ วิกรมาภรณ์ (นางสาว ศิริกานต์ วิกรมาภรณ์) 02 สิงหาคม 2564

สารบัญ เนื้อหา เพื่อความสนุกสนา นและประสิทธิผลในชั้นเรียน! หน้า ก คำนำ ข 1 สารบัญ 2 3-4 ความหมาย 5-9 ความสำคัญ 10 - 19 20 - 22 ความเป็นมาของพลเมืองดิจิทัล 23 องค์ประกอบของทักษะแต่ละด้าน 24 ภาพประกอบโมเดล และตัวอย่างแต่ละทักษะ 4 ขั้นพัฒนาตนเอง ใช้ประโยชน์ดิจิทัล สรุปท้ายเล่ม บรรณานุกรม

ความหมาย“ความฉลาดทางดิจิทัล” (DQ: Digital Intelligence Quotient) ความหมาย “ความฉลาดทางดิจิทัล” (DQ: Digital Intelligence Quotient) ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient : DQ) คือ กลุ่มของความสามารถทาง สังคม อารมณ์ และการรับรู้ที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถเผชิญกับความท้าทายบนเส้นทางของชีวิตในยุค ดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตดิจิทัลได้ความฉลาดทางดิจิทัลครอบคลุมทั้งความรู้ทักษะ ทัศนคติ และค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะสมาชิกของโลกออนไลน์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทักษะการใช้สื่อและ การเข้าสังคมในโลกออนไลน์ ดังนั้น พลเมืองดิจิทัล จึงหมายถึง สมาชิกบนโลกออนไลน์ ที่ใช้เครือข่าย อินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ อายุ ภาษา และวัฒนธรรม ดังนั้น พลเมืองดิจิทัลทุกคนจึงต้องมี ‘ความเป็นพลเมืองดิจิทัล’ ที่มีความ ฉลาดทางดิจิทัลบนพื้นฐานของความรับผิดชอบ การมีจริยธรรม การมี ส่วนร่วม ความเห็นอกเห็นใจและเคารพผู้อื่น โดยมุ่งเน้นความเป็นธรรม ในสังคม ปฏิบัติและรักษาไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ เพื่อสร้างความสมดุลของการอยู่ ร่วมกันอย่างมีความสุข

ความสำคัญ เด็กๆ และเยาวชนในยุคไอทีเติบโตมาพร้อมกับอุปกรณ์ดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต ด้วยลักษณะการ สื่อสาร ที่รวดเร็ว อิสระ ไร้พรมแดน และไม่เห็นหน้าของอีกฝ่าย ทำให้การรับรู้และการใช้ชีวิตของเด็กรุ่นใหม่ มเีดล็ักกทีษ่เณติ บะทโี่ตแตมากใตน่ายงุคจทาี่กเตเ็จมนไเปนดอ้วเรยชัข่้นอรมุู่นลกข่่อานวสๆามรแากละทเัทกคษโะนชีโวิลตยใีหสาม่มๆารต้ถอนงำไดไ้ปรัใบชก้ใานรชเีรวีิยตนปรูร้แะลจำะฝวัึนกฝกนารเใพชื่้อชีทวีิ่ต ของคนรุ่นใหม่ยังผูกติดกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและสื่อออนไลน์เกือบตลอดเวลา ไม่ว่า จะเป็นการรับ ข่าวสาร ความบันเทิง หรือการซื้อขายสินค้าและบริการ และการทำธุรกรรมการเงิน ในอดีต ตัวชี้วัดอย่าง IQ ได้ถูกนำมาใช้พัฒนาระดับทักษะทางสติปัญญาของมนุษย์ ในขณะที่ EQ ได้นำมาศึกษาเพื่อพัฒนาระดับ ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ แต่ด้วยบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันทักษะความฉลาดทางปัญญาและ ทางอารมณ์ ไม่เพียงพอต่อสิ่งที่เยาวชนต้องเผชิญในโลก ไซเบอร์ ยิ่งไปกว่านั้น อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ดิจิทัล ถึงแม้จะเพิ่มความสะดวกสบาย แต่ก็แฝงด้วยอันตราย เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น อันตรายต่อสุขภาพ การเสพติดเทคโนโลยี หากใช้งานสื่อดิจิทัลมากเกินไป หรือ อันตรายจากมิจฉาชีพออนไลน์ การคุกคามทางไซเบอร์ และการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ พลเมืองยุคใหม่ จึง ต้องรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และมีทักษะความฉลาดทางดิจิทัล เพื่อที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมออนไลน์ และใน ชีวิตจริงโดยไม่ทำตัวเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน ดังนั้น ครอบครัว โรงเรียน ทางภาครัฐ และ องค์กรที่เกี่ยวของ ควรร่วมส่งเสริมให้เยาวชนเป็น ‘พลเมืองดิจิทัล’ ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน อินเทอร์เน็ต

ความเป็นมาของพลเมืองดิจิทัล แนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลพูดถึงความ สามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อมีส่วนร่วมในสังคม เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบ และปลอดภัย การปฏิวัติเทคโนโลยีการสื่อสารได้เปิด โอกาสและหยิบยื่นความท้าทายใหม่ๆ ให้กับพลเมือง ดิจิทัล เราสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยไร้ข้อจำกัดเชิง ภูมิศาสตร์ เข้าร่วมชุมชนที่มีความสนใจร่วมกัน สร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา และทำให้ เสียงของพลเมืองดังขึ้นในสังคม แต่เราก็ต้องเผชิญกับ ความเสี่ยงใหม่ๆ เช่น การสอดแนมความเป็นส่วนตัว อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ดังนั้นเราในฐานะพลเมือง ดิจิทัลจึงต้องตระหนักถึงโอกาสและความเสี่ยงในโลก ดิจิทัล พัฒนาทักษะและความรู้ที่จำเป็นในโลกใหม่ และ เข้าใจถึงสิทธิและความรับผิดชอบในโลกออนไลน์

นอกจากนั้นเราอาจนิยามความเป็น พลเมืองดิจิทัลออกเป็น 3 มิติ คือ มิติด้านความรู้เกี่ยวกับสื่อและ มิติด้านจริยธรรม พลเมืองดิจิทัลจะ มิติด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง สารสนเทศ พลเมืองดิจิทัลต้องมีความรู้ ใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย มีความ และสังคม พลเมืองดิจิทัลต้องรู้จักใช้ ความสามารถในการเข้าถึง ใช้ สร้างสรรค์ รับผิดชอบ และมีจริยธรรมได้อย่างไร ศักยภาพของอินเทอร์เน็ตในการมีส่วนร่วม ประเมิน สังเคราะห์ และสื่อสารข้อมูล พลเมืองที่ดีจะต้องรู้จักคุณค่าและ ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ข่าวสารผ่านเครื่องมือดิจิทัล ดังนั้น จริยธรรมจากการใช้เทคโนโลยี ต้อง อินเทอร์เน็ตเป็นได้ทั้งเครื่องมือเพิ่มการมี พลเมืองยุคใหม่จึงต้องมีความรู้ด้าน ตระหนักถึงผลพวงทางสังคม การเมือง ส่วนร่วมทางการเมืองในระบบ เช่น รัฐบาล เทคนิคในการเข้าถึงและใช้เครื่องมือ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่เกิดจากการ ใช้อินเทอร์เน็ตในการรับฟังความเห็นของ ดิจิทัล เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน ใช้อินเทอร์เน็ต รวมถึงรู้จักสิทธิและ ประชาชนก่อนออกกฎหมาย การลงคะแนน แท็บเล็ต ได้อย่างเชี่ยวชาญ รวมถึง ความรับผิดชอบออนไลน์ อาทิ เสรีภาพ เสียงอิเล็กทรอนิกส์ (e-Voting) หรือการยื่น ทักษะในการรู้คิดขั้นสูง เช่น ทักษะการ ในการพูด การเคารพทรัพย์สินทาง คำร้องออนไลน์ (online petition) นอกจาก คิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งจำเป็นต่อการ ปัญญาของผู้อื่น และการปกป้องตนเอง นั้น อินเทอร์เน็ตยังใช้ส่งเสริมการเมืองภาค เลือก จัดประเภท วิเคราะห์ ตีความ และ และชุมชนจากความเสี่ยงออนไลน์ เช่น พลเมืองผ่านวิธีการใหม่ๆ ซึ่งท้าทายให้เกิด เข้าใจข้อมูลข่าวสาร การกลั่นแกล้งออนไลน์ ภาพลามก การเปลี่ยนแปลงการเมืองในระดับ อนาจารเด็ก สแปม เป็นต้น โครงสร้าง พลเมืองดิจิทัลออกเป็น 3 มิติ

องค์ประกอบ ความเป็นพลเมืองดิจิทัล คือ พลเมืองผู้ใช้งานสื่อ ของทักษะ ดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าใจบรรทัดฐานของการ แต่ละด้าน ปฏิบัติตัวให้เหมาะสมและมีความรับผิดชอบในการใช้ เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารในยุคดิจิทัล 8 ด้านมีดังนี้ เป็นการสื่อสารที่ไร้พรมแดน สมาชิกของโลกออนไลน์ คือ ทุกคนที่ใช้เครือข่าย อินเทอร์เน็ตบนโลกใบนี้ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์มีความ หลากหลายทางเชื้อชาติ อายุ ภาษา และวัฒนธรรม พลเมืองดิจิทัลจึงต้องเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ มี จริยธรรม เห็นอกเห็นใจและเคารพผู้อื่น มีส่วนร่วม และมุ่ง เน้นความเป็นธรรมในสังคม การเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล นั้น มีทักษะที่สำคัญ 8 ประการ

การเป็นพลเมืองดิจิทัลนั้น มีทักษะสำคัญ 8 ประการ ที่ควร บ่มเพาะให้เกิดขึ้นกับพลเมืองดิจิทัลทุกคนในศตวรรษที่ 21 ดังนี้ 1. ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง (Digital Citizen Identity) ต้องมีความ สามารถในการสร้างสมดุล บริหารจัดการ รักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ให้ได้ ทั้งในส่วนของโลก ออนไลน์และโลกความจริง โดยตอนนี้ประเด็นเรื่องการสร้างอัตลักษณ์ออนไลน์ถือเป็น ปรากฏการณ์ใหม่ ที่ทำให้บุคคลสามารถแสดงออกถึงความเป็นตัวตนต่อสังคมภายนอก โดยอาศัย ช่องทางการสื่อสารผ่านเว็บไซต์เครือข่ายสังคมในการอธิบายรูปแบบใหม่ของการสื่อสารแบบมี ปฏิสัมพันธ์ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการแสดงออกเกี่ยวกับตัวตนผ่านเว็บไซต์เครือข่ายสังคมต่างๆ 2. ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management) ดุลพินิจในการบริหารจัดการ ข้อมูลส่วนตัว โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้ อื่นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องประกอบอยู่ในพลเมืองดิจิทัลทุกคน และพวกเขาจะต้องมีความตระหนักใน ความเท่าเทียมกันทางดิจิทัล เคารพในสิทธิของคนทุกคน รวมถึงต้องมีวิจารณญาณในการรักษา ความปลอดภัยของข้อมูลตนเองในสังคมดิจิทัล รู้ว่าข้อมูลใดควรเผยแพร่ ข้อมูลใดไม่ควรเผยแพร่ และต้องจัดการความเสี่ยงของข้อมูลของตนในสื่อสังคมดิจิทัลได้ด้วย

3. ทักษะในการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี (Critical Thinking) ความสามารถใน การวิเคราะห์แยกแยะระหว่างข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิด ข้อมูลที่มีเนื้อหาดีและข้อมูลที่เข้า ข่ายอันตราย รู้ว่าข้อมูลลักษณะใดที่ถูกส่งผ่านมาทางออนไลน์แล้วควรตั้งข้อสงสัย หาคำตอบ ให้ชัดเจนก่อนเชื่อและนำไปแชร์ ด้วยเหตุนี้ พลเมืองดิจิทัล จึงต้องมีความรู้ความสามารถใน การเข้าถึง ใช้ สร้างสรรค์ ประเมิน สังเคราะห์ และสื่อสารข้อมูลข่าวสารผ่านเครื่องมือดิจิทัล ซึ่ง จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคเพื่อใช้เครื่องมือดิจิทัล เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต ได้อย่างเชี่ยวชาญ รวมถึงมีทักษะในการรู้คิดขั้นสูง เช่น ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่ จำเป็นต่อการเลือก จัดประเภท วิเคราะห์ ตีความ และเข้าใจข้อมูลข่าวสาร มีความรู้และทักษะใน สภาพแวดล้อมดิจิทัล การรู้ดิจิทัลโดยมุ่งให้เป็นผู้ใช้ที่ดี เป็นผู้เข้าใจบริบทที่ดี และเป็นผู้สร้าง เนื้อหาทางดิจิทัลที่ดี ในสภาพแวดล้อมสังคมดิจิทัล 4. ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management) ทักษะในการ บริหารเวลากับการใช้อุปกรณ์ยุคดิจิทัล รวมไปถึงการควบคุมเพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างโลก ออนไลน์และโลกภายนอก นับเป็นอีกหนึ่งความสามารถที่บ่งบอกถึง ความเป็นพลเมือง ดิจิทัล ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ขาดความ เหมาะสมย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวม ทั้งความเครียดต่อสุขภาพจิตและเป็นสาเหตุก่อ ให้เกิดความเจ็บป่วยทางกาย ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียทรัพย์สินเพื่อใช้รักษา และเสียสุขภาพใน ระยะยาวโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

6. ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ 5. ทักษะในการรับมือกับการ ใช้งานทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital คุกคามทางโลกออนไลน์ Footprints) มีรายงานการศึกษาวิจัยยืนยันว่า (Cyberbullying Management) จาก คนรุ่น Baby Boomer คือ กลุ่ม Aging ที่เกิด ข้อมูลทางสถิติล่าสุด สถานการณ์ในเรื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 – 2505 มักจะใช้งาน Cyber bullying ในไทย มีค่าเฉลี่ยการก อุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ ลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ในรูปแบบ ผู้อื่น และเปิดใช้งาน WiFi สาธารณะ เสร็จแล้ว ต่างๆ ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกอยู่ที่ 47% มักจะละเลย ไม่ลบรหัสผ่านหรือประวัติการใช้ และเกิดในรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ งานถึง 47% ซึ่งเสี่ยงมากที่จะถูกผู้อื่นสวมสิทธิ การด่าทอกันด้วยข้อความหยาบคาย การ ขโมยตัวตนบนโลกออนไลน์ และเข้าถึงข้อมูล ตัดต่อภาพ สร้างข้อมูลเท็จ รวมไปถึง ส่วนบุคคลได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น ความเป็น การตั้งกลุ่มออนไลน์กีดกันเพื่อนออก พลเมืองดิจิทัล จึงต้องมีทักษะความสามารถที่จะ จากกลุ่ม ฯลฯ ดังนั้น ว่าที่พลเมืองดิจิทัล เข้าใจธรรมชาติของการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัล ว่า ทุกคน จึงควรมีความสามารถในการรับรู้ จะหลงเหลือร่องรอยข้อมูลทิ้งไว้เสมอ รวมไปถึง และรับมือการคุกคามข่มขู่บนโลก ต้องเข้าใจผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อการดูแลสิ่ง ออนไลน์ได้อย่างชาญฉลาด เพื่อป้องกัน เหล่านี้อย่างมีความรับผิดชอบ ตนเองและคนรอบข้างจากการคุกคาม ทางโลกออนไลน์ให้ได้

7. ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ (Cybersecurity Management) ความสามารถในการป้องกันข้อมูลด้วยการสร้างระบบความปลอดภัยที่เข้มแข็งและ ป้องกันการโจรกรรมข้อมูลไม่ให้เกิดขึ้นได้ ถ้าต้องทำธุรกรรมกับธนาคารหรือซื้อสินค้าออนไลน์ เช่น ซื้อเสื้อผ้า ชุดเดรส เป็นต้น ควรเปลี่ยนรหัสบ่อยๆ และควรหลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์ สาธารณะ และหากสงสัยว่าข้อมูลถูกนำไปใช้หรือสูญหาย ควรรีบแจ้งความและแจ้งหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องทันที 8. ทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy) ความสามารถใน การเห็นอกเห็นใจและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นบนโลกออนไลน์ พลเมืองดิจิทัลที่ดีจะต้องรู้ ถึงคุณค่าและจริยธรรมจากการใช้เทคโนโลยี ต้องตระหนักถึงผลพวงทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต การกดไลก์ กดแชร์ ข้อมูล ข่าวสาร ออนไลน์ รวมถึงรู้จักสิทธิและความรับผิดชอบออนไลน์ อาทิ เสรีภาพในการพูด การเคารพ ทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และการปกป้องตนเองและชุมชนจากความเสี่ยงออนไลน์ เช่น การกลั่นแกล้งออนไลน์ ภาพลามกอนาจารเด็ก สแปม เป็นต้น

ภาพประกอบโมเดล และตัวอย่างแต่ละ ทักษะ

เรียนรู้ 8 ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล ปรับตัวสู่ชีวิตวิถี ใหม่ ก่อนหน้าจะเกิดวิกฤตการณ์โควิด19 หลายๆคนก็อาจจะ ยังไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์มากเท่าไหร่นัก แต่เมื่อเกิด วิกฤตการณ์โควิด19 เราทุกคนต้องใช้ชีวิตอยู่กับรูปแบบที่ เรียกว่า New Normal ชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งทำให้พวกเราทุกคนต้อง มาใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการช้อปปิ้ ง ออนไลน์ การสั่งอาหาร หรือแม้แต่การเข้าสู่สังคมไร้เงินสด ด้วยบริการ e-payment ต่างๆ อีกทั้งยังทำให้เราได้มีโอกาส พบปะผู้คนบนโลกออนไลน์มากขึ้น และความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่พวกเราทุกคนจะต้องมีทักษะความ เป็นพลเมืองดิจิทัล เพื่อให้อยู่ในโลกออนไลน์ได้อย่าง ปลอดภัย มาดูกันเลยว่ามีทักษะอะไรบ้างที่จะต้องเรียนรู้กัน ภาพประกอบโมเดล และตัวอย่างแต่ละทักษะ

ทักษะที่ 1 การรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตัวเอง (Digital Citizen Identity) คือ ความสามารถในการสร้างและบริหารจัดการอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง ไว้ได้อย่างดีทั้งในโลกออนไลน์และโลกชีวิตจริง เรื่องอัตลักษณ์ หรือ ภาพลักษณ์ ที่ดีของเราเป็นเรื่องสำคัญมากๆ และสิ่งที่หลายคนยัง ไม่เข้าใจคือ ภาพลักษณ์ของเราในโลกออนไลน์และโลกชีวิตจริงควรจะเป็นภาพเดียวกัน เพราะไม่ว่าจะเป็นสังคมชีวิตจริง หรือ สังคมออนไลน์ก็คือตัวเราคนเดิมที่ติดต่อกับผู้คน โดย คนที่เราติดต่อในสังคมชีวิตจริงบางคนก็จะเห็นเราในโลกออนไลน์ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น บางคนในโลกชีวิตจริงภาพลักษณ์ที่แสดงออกต่อคนในสังคมทั่วไป หรือ กับเพื่อนร่วม งาน ก็ดูเป็นคนสุภาพ พูดจาดี แต่พออยู่บนโลกออนไลน์กลับแสดงตัวตนที่แท้จริงออกมาเต็มที่ โพสต์ด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย ต่อว่าผู้อื่นที่ทำให้ไม่พอใจด้วยถ้อยคำที่รุนแรงโดยไม่ผ่านการก ลั่นกรองใดๆทั้งสิ้น เพราะคิดว่านี่เป็นพื้นที่ส่วนตัว แต่ไม่ทันได้คิดต่อว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัวนี้ได้ เปิดเป็นสาธารณะเอาไว้ ที่ใครๆก็เข้ามาอ่านโพสต์ของเราได้ตลอดเวลา และนี่ก็คือเหตุผลที่เรา จึงควรรักษาอัตลักษณ์ หรือ ภาพลักษณ์ ของเราให้ดีทั้งในโลกออนไลน์และโลกชีวิตจริง

ทักษะที่ 2 การการจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management) คือ ความสามารถในการบริหารเวลาให้เกิดความสมดุลระหว่างโลกออนไลน์ และโลกชีวิตจริง เมื่อนึกย้อนไปถึงในยุคก่อนที่จะมีสมาร์ทโฟนเกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ ความสัมพันธ์ในครอบครัวเกิด ได้ทุกช่วงเวลา ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาโต๊ะอาหารที่ทุกคนในครอบครัวจะทานข้าวกันไป พูดคุยกันถึงเรื่องราว ต่างๆมากมายที่แต่ละคนพบเจอในแต่ละวัน หรือจะเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนในครอบครัวนั่งดูละครอยู่ด้วยกัน ด้วยความอินกับบทละคร ถึงขั้นวิจารณ์ตัวละครกันอย่างออกรสออกชาติ หรือแม้แต่กิจกรรมเล่นสนุกของ เด็กๆที่พวกเด็กๆในชุมชน หรือ หมู่บ้าน จะออกมารวมตัวกันเล่นกันแถวบ้าน มีทั้งการละเล่นโบราณอย่าง มอญซ่อนผ้า เล่นพ่อแม่ลูก เล่นเกมเศรษฐี เตะบอล ตีแบต และ กิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันทั้งนั้น แต่เมื่อมีสมาร์ทโฟนเข้ามาในชีวิตพร้อมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) โดยที่พวกเราทุก ทักษะที่ 2 การการ คนไม่ทันได้ตั้งตัวหรือเตรียมตัวว่าจะต้องใช้ชีวิตอยู่กับเจ้าสิ่งนี้อย่างไรให้สมดุลย์ กว่าจะรู้ตัวอีกทีพวกเรา จัดสรรเวลาหน้าจอ ก็แปลงร่างกลายเป็นมนุษย์ก้มหน้าไปแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นกับคน Gen Y ลงไปถึงคน Gen Baby Bommer ก็ คือการเสพติดโลกโซเชียลบนสมาร์ทโฟนอย่างรุนแรง สิ่งที่ตามมาก็คือความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว และ กับคนรอบข้างลดน้อยลงทุกวัน ซึ่งก็ส่งผลกระทบมาถึงเด็กยุค Gen Alpha ที่ถูกยัดเยียดความเสพ ติดสมาร์ทโฟนให้ตั้งแต่ยังพูดไม่ได้ เดินไม่เป็น และก็ถูกเลี้ยงให้เติบโตมากับการอยู่กับตัวเอง มีคำๆ หนึ่งที่เด็กๆมักจะพูดกันคือ “มาเล่นกัน” ซึ่งคำๆนี้ในสม้ยก่อนคือการมาเล่นมาทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ สำหรับเด็กสมัยนี้คือ มานั่งใกล้ๆกันแล้วต่างคนต่างเล่นสมาร์ทโฟนของตัวเอง คำถามที่อยากฝากให้คิด คือ เราอยากให้ลูกหลานเราโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่แบบไหนกัน? อยากให้สังคมไทยเป็นอย่าไร ?

ทักษะที่ 3 การรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying Mamangement) คือ ความสามารถในการรับรู้และรับมือการคุกคามข่มขู่บนโลกไซเบอร์ ได้อย่างชาญฉลาด ก่อนที่เราจะอยู่ในสังคมออนไลน์เวลาถูกต่อว่า ถูกล้อ ถูกตำหนิ ก็จะเป็นไปเฉพาะในวงแคบ ซึ่งโดยมากก็จะเป็น คนที่เรารู้จัก ซึ่งเรื่องราวที่คนเหล่านั้นพูดก็มักจะมีทั้งจริงและไม่จริง แต่การรับมือกับเรื่องเหล่านี้ก็ไม่ยากนักเพราะเรา จะรู้จักตัวตนของคนที่กระทำต่อเรา สามารถอธิบายทำความเข้าใจกันได้ แต่ในโลกของสังคมออนไลน์นั้น ต้องยอมรับ กันก่อนเลยว่ายากที่จะควบคุมเพราะผู้คนที่จะกระทำกับเรานั้นมาจากทั่วทุกสารทิศ มีทั้งต่อว่า ตำหนิ สร้างเรื่องเท็จ และ อื่นๆอีกมากมาย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เรียกกันว่า Cyberbullying หรือ การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ การรับมือกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ อันดับแรกเราต้องเข้าใจธรรมชาติของโลกไซเบอร์ ก่อนว่า เป็นโลกแห่งการสื่อสารไร้พรหมแดน ทุกคนสามารถมาติดต่อกับเราได้หมด และส่วน ใหญ่จะเป็นคนที่ไม่รู้จักเรา และ เราก็ไม่รู้จักพวกเขา ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆต่อกัน ไม่รู้เรื่องราว ใดๆของกันและกัน คอมเมนท์ต่างๆเกิดจากการคอมเมนท์ตามๆกันมา ขึ้นกับว่าคนกลุ่มแรกจะ คอมเมนท์ไปในทิศทางไหน และข้อความที่คอมเมนท์ส่วนใหญ่ก็ออกมาจากทัศนคติความคิด ของแต่ละคน ซึ่งมีข้อเท็จจริงน้อยมาก และคนเหล่านั้นไม่ได้มีความสำคัญกับชีวิตเราเลย บาง คนแค่มาพิมพ์ทิ้งไว้แล้วก็ไม่ได้กลับมาสนใจกับคอมเมนท์นั้นอีกเลย แต่ถ้าเรานำทุกคอมเมนท์ มาคิด หรือ ไปตอบแก้ต่างทุกคอมเมนท์ก็จะทำให้เราเครียดโดยใช่เหตุ วิธีการรับมือกับเรื่องนี้อย่างชาญฉลาดที่สุดคือ การไม่ไปตอบโต้ใดๆ หรือ ตอบโต้ให้ น้อยที่สุด แล้วไม่นานเรื่องก็จะเงียบหายไป เพราะบนโลกออนไลน์มีกระแสเรื่องใหม่ๆเกิดขึ้น ทุกชั่วโมง ถ้ายิ่งตอบโต้กันไปมาเรื่องของเราก็จะยิ่งอยู่กระแสต่อไปอีกนานมากขึ้น แต่หากมี ผลกระทบกับชื่อเสียงของเรา ก็ให้เก็บรวบรวมหลักฐานเอาไว้และก็ดำเนินคดีตามกฎหมายเพื่อ พิสูจน์ความจริงกันในชั้นศาล

ทักษะที่ 4 การรักษาความปลอดภัยของตนเองบนโลกไซเบอร์ (Cybersecurity Management) คือ ความสามารถในการป้องกันข้อมูลด้วยการสร้างระบบความปลอดภัยที่ เข้มแข็ง และป้องกันการโจรกรรมข้อมูลหรือการโจมตีทางไซเบอร์ได้ ปัจจุบันนี้เรื่องการโจรกรรมข้อมูลบนโลกไซเบอร์โดยพวก แฮกเกอร์ (Hacker) มีให้เห็นมากขึ้นทุกวันในรูปแบบที่เรียกว่า ฟิชชิ่ง (Phishing) ซึ่งก็มีอยู่ หลากหลายวิธีการเช่น การทำเวบไซต์ปลอม, การส่งอีเมลล์ปลอม, การใช้ไวรัสมัลแวร์ เป็นต้น ดังนั้นในยุคดิจิทัลแบบนี้เราต้องให้ความสำคัญกับการตั้งรหัสผ่านในทุก กิจกรรมที่เราทำบนโลกออนไลน์ให้มีคุณภาพ หลีกเลี่ยงการตั้งรหัสผ่านที่คนจะเดาได้ ง่ายที่เขาเรียกกันว่า รหัสยอดแย่แห่งปี หรือใข้รหัสผ่านเดียวกันในทุกๆบริการ ออนไลน์ที่เราใช้ เพราะเมื่อแฮกเกอร์สามารถล่วงรู้รหัสผ่านเราได้แล้วก็จะสามารถเข้า ถึงทุกบริการออนไลน์ของเราได้ทันที

ทักษะที่ 5 การรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management) คือ การมีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รู้จักปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ทั้งของ ตนเอง และผู้อื่น รู้เท่าทันกลลวงทางอินเตอร์เน็ต และ กลลวงทางไซเบอร์ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนยุคดิจิทัลจะถูกหลอกง่าย ก็คือการไม่ระวังรักษาความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการใช้สื่อโซเชียลในชีวิตประจำวัน หลายคนก็โพสต์ทุกสิ่งอย่างลงไปเลย ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ความรู้สึก สุข เศร้า เหงา รัก อกหัก รักคุด หรือการเช็กอินอ้ปเดตชีวิตทุกที่ที่ได้ไป แม้กระทั่งภาพต่างๆในบ้าน เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในครอบครัว เปิดเผยหมด โดยไม่รู้เลยว่าสิ่งที่ทำ อยู่คือการเรียกแขก เรียกผู้ไม่หวังดีเข้ามาในชีวิต เหตุผล เพราะก่อนที่เราจะเข้าสู่ยุคดิจิทัล กว่าที่เราจะสามารถเข้าใจถึงนิสัยใจคอ ความรู้สึก นึกคิด ชีวิตความเป็นอยู่ ของใครสักคนจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการศึกษาเก็บข้อมูล เพราะนั่น เป็นการพบกันในชีวิตจริงไม่ใช่โลกออนไลน์ ผู้คนต่างๆก็จะพยายามเก็บรักษาความเป็นส่วนตัว ให้มากที่สุดไม่เปิดเผยออกไปง่ายๆ แต่เมื่อมาอยู่ในโลกออนไลน์ ถ้าเราอยากจะรู้จักใครสักคน อย่างลึกซึ้ง ก็แค่เข้าไปส่องในสื่อโซเชียลของคนๆนั้น ทั้ง Facebook, Line, Instagram, Twitter เพียงไม่กี่นาทีก็สามารถล่วงรู้ตัวตนของคนๆนั้นได้ทันที แถมด้วยตารางชีวิตประจำวันทั้งหมดว่า จะต้องทำอะไร ตอนไหน ไปที่ไหน กับใคร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เองที่ผู้ไม่หวังดีนำไปใช้ในการวิเคราะห์ วางแผนเพื่อมาหลอกลวงเรา ด้วยเหตุและผลข้างต้น การรักษาข้อมูลส่วนตัวและความเป็นส่วนตัวของเราจึงเป็นสิ่งสำคัญ มาก การโพสต์อะไรในสื่อโซเชียลก็ควรเปิดเผยแต่พอดี เรื่องในครอบครัวก็ให้อยู่ในครอบครัว ข้อมูลส่วนตัวเช่น บัตรประชาชน ตั๋วเครื่องบิน หนังสือเดินทาง รหัสผ่านต่างๆ ก็ควรเก็บรักษาให้ ดี ปฎิบัติตัวในการอยู่ในโลกออนไลน์ให้เหมือนในโลกชีวิตจริง เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง \" สิ่งไม่ควรโพสต์ลงในโซเชียลเน็ตเวิร์ค\"

ทักษะที่ 6 การคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี คือ ความสามารถในการแยกแยะระหว่างข้อมูลที่ถูกต้อง (Critical Thinking) และข้อมูลที่ผิด ข้อมูลที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์ และข้อมูล ที่มีเนื้อหาอันตราย และเข้าใจรูปแบบการหลอกลวงต่างๆ ในโลกไซเบอร์ ข่าวปลอม Fake News อย่าหลงเชื่อ ! ในยุคที่ทุกคนมือสื่ออยู่ในมือแบบนี้ ใครอยากจะ มาดู 5 วิธีตรวจสอบข่าวปลอม โพสต์อยากจะนำเสนอเรื่องราวอะไรก็ได้ ทำให้ในแต่ละ วันมีข่าวสารและเรื่องราวมากมายบนโลกออนไลน์ให้ เสพเต็มไปหมด มีทั้งข่าวจริงและข่าวปลอม เรื่องทีมี ประโยชน์และเรื่องที่ไร้สาระ แม้กระทั่งเนื้อหาเรื่องราว เกี่ยวกับสุขภาพต่างๆที่ไม่เป็นความจริง ซึ่งอาจส่งผลก ระทบต่อผู้ที่หลงเชื่อไปทำตามจนเกิดอันตรายถึงชีวิต ได้ ดังนั้นเมื่อเราเห็นข่าวอะไร หรือข้อมูลเรื่องอะไร ก็ตาม อย่าเพิ่งตัดสินใจเชื่อ อย่าเพิ่งแชร์ข้อมูลต่อโดย ทันที แม้เรื่องนั้นจะถูกส่งมาจากคนใกล้ชิดที่น่าเชื่อถือ ก็ตาม เราควรตรวจสอบข้อมูลจากหลายๆแแหล่งข่าว ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าข่าวหรือเรื่องราวนั้นๆเป็นเรื่องจริง แล้วจึงเชื่อหรือแชร์ออกไป เพื่อที่เราจะไม่ตกเป็นเหยื่อ ข่าวปลอมและไม่เป็นผู้ปล่อยข่าวปลอมไปทำร้ายคนใน สังคมเสียเอง

ทักษะที่ 7 การบริหารจัดการข้อมูล ที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints) คือ ความสามารถในการเข้าใจธรรมชาติของการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัล ว่าจะหลงเหลือ ร่องรอยข้อมูลทิ้งไว้เสมอ รวมไปถึงเข้าใจผลลัพธ์ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อการดูแลสิ่งเหล่านี้อย่าง มีความรับผิดชอบ เรื่องนี้สำคัญมากๆเมื่อรูปแบบการเก็บข้อมูลเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิทัล ขอให้ทุก คนจงตระหนักไว้เลยว่าข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในระบบดิจิทัลส่วนใหญ่มันจะคงอยู่ ตลอดไป แม้เราจะลบข้อมูลต้นทางของเราออกไปแล้ว แต่โพสต์นั้นอาจจะถูกก๊อบปี้ และนำไปแชร์ต่อแล้วโดยทันทีก็เป็นได้ ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้นข้อมูลเหล่านั้นก็จะคงอยู่บน โลกออนไลน์ตลอดไป ไม่เพียงแต่การโพสต์ของเราเท่านั้น อย่าลืมว่าในยุคนี้ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันสามารถถูกบันทึกได้หมดทั้งโดยกล้อง วงจรปิดที่มีอยู่รอบตัว และกล้องสมาร์ทโฟนที่มีอยู่รอบด้านด้วยเช่นกัน เรามักจะเห็นตามข่าวอยู่บ่อยๆเมื่อมีกรณีข้อขัดแย้งกันก็จะมีการถ่ายค ลิบมาแชร์ให้เป็นเรื่องเป็นข่าว และถ้าเรื่องนั้นเป็นเรื่องของเราที่เราเกิดพลาดทำในเรื่องที่ขาดสติออกไปเพียงช่วงเวลาสั้นๆ จนทำให้คนอื่นใน สังคมเดือดร้อน และก็จะส่งผลกระทบกลับมาที่ตัวเราทั้งในเรื่องหน้าที่การงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวันด้วยเช่นกัน อย่างที่มีให้เห็นกันบ่อยๆ ตามข่าว เช่น กรณี “กราบรถกู”, “ลูกค้าทะเลาะกับคนส่งเดลิเวอรี่” เป็นต้น ซึ่งบทสรุปก็คือต้องถูกให้ออกจากงานตามมาด้วยคดีความต่างๆอีก ด้วย สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลที่ทุกคนควรจะต้องตระหนักคือ เรื่องราวทุกอย่างของเราเมื่อมันถูกนำเข้าไปอยู่สื่อออนไลน์ แล้ว มันจะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า ร่องรอยทางดิจิทัล หรือ Digital Footprint ซึ่งจะคงอยู่ตลอดไป และร่องรอยทางดิจิทัลนี้จะได้ส่งผลกระทบแค่ ตัวเรา แต่อาจจะส่งผลกระทบถึงคนรอบข้างเราด้วย ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่มักจะเห็นกันบ่อยๆในสังคมยุคนี้คือ การหย่าร้างเลิกรากันของ ผู้ที่มีชื่อเสียง แต่ก่อนจะหย่าร้างกันนั้นก็มีการออกมาให้ข่าว ให้สัมภาษณ์ บางครั้งก็ตอบโต้กันด้วยเรื่องที่เป็นส่วนตัว โดยไม่ตระหนักเลยว่า สิ่ง เหล่านี้เป็นสิ่งที่ถูกบันทึกเอาไว้บนโลกออนไลน์ และอนาคตลูกๆที่ตอนนี้ยังเล็กอยู่ก็จะต้องมีโอกาสได้มาเห็นข้อมูลต่างๆเหล่านี้ได้เมื่อเติบโต ขึ้นมา ซึ่งก็อาจจะส่งผลกระทบทางด้านจิตใจกับลูกๆในอนาคตได้ ดังนั้นก่อนจะทำอะไรลงไปให้เรื่องราวของเราเข้าไปอยู่ในสื่อออนไลน์ก็ขอให้ ตั้งสติก่อนสตาร์ท คิดให้รอบประกอบให้กว้างในทุกๆเรื่องกันให้ดีด้วย มีสติก่อนที่จะสื่อสารในออนไลน์

ทักษะที่ 8 การใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy) คือ มีความเห็นอกเห็นใจ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นบนโลกออนไลน์ มีปฎิสัมพันธ์อันดีกับคนรอบข้าง ทั้งในโลกออนไลน์และ โลกชีวิตจริง รวมถึงเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือได้ สังคมบนโลกออนไลน์เป็นสังคมแห่งการสื่อสารไร้พรหมแดน ทำให้เราสามารถติดต่อกับคนได้ทั้ง โลกสามารถรับรู้เรื่องราวต่างๆของคนอื่นๆได้ตลอดเวลา ดังนั้นเราก็ควรจะพัฒนาในเรื่องของการมีมนุษย์ สัมพันธ์ที่ดีกับคนบนโลกออนไลน์ รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่นถึงแม้จะไม่รู้จักกัน คอมเมนท์ให้กันและกันใน เชิงสร้างสรรค์ ให้กำลังใจกัน และเมื่อเห็นผู้ที่เดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือเราก็สามารถใช้เทคโนโลยี การสื่อสารในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆเป็นกระบอกเสียงเพื่อให้เกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิด เหตุการไฟป่าที่ออสเตรเลีย สื่อสังคมออนไลน์ก็เป็นหนึ่งช่องทาง ที่สำคัญในการระดมความช่วยเหลือจากคนทั้งโลก ทั้งในเรื่องของเงินบริจาค สิ่งของ วิทยาการ หรือแม้แต่กำลังคนจากทั่วทุกมุมโลกเพื่อช่วยให้สามารถ ผ่านพ้นอุปสรรคปัญหาต่างๆไปได้ด้วยดี แม้แต่ในเมืองไทยเองก็เช่นกัน เมื่อมีเหตุการภัยพิบัติในพื้นที่ต่างๆอย่างเช่น น้ำท่วมที่ จ.อุบลราชธานี เราก็จะได้เห็นการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จนเกิดธารน้ำใจหลั่งไหลช่วยกันบริจาคเงินได้เป็นจำนวนนับร้อยๆล้านบาท นี่ก็คือหนึงในตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี อย่างมีจริยธรรม ใช้เพื่อให้เกิดสาธารณประโยชน์กับคนใสสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็มีสิ่งที่เราต้องพึงระวังในเรื่องของการให้ความช่วยเหลือกับผู้คนที่ได้รับความเดือดร้อนผ่านโลกออนไลน์ เพราะมัก จะมีมิจฉาชีพแอบแฝงมาหาผลประโยชน์กับความมีน้ำใจของคนอื่นๆด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อเห็นข่าวสารต่างๆที่มีคนร้องขอความช่วยเหลือ บนโลกออนไลน์ ก็ขอให้ตรวจสอบข้อมูลให้รอบด้านก่อนว่าเป็นเรื่องจริง หรือเป็นเรื่องของมิจฉาชีพที่มาหลอกลวง เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ ของมิจฉาชีพในทุกๆกรณี

พั ฒ น า ต น เ อ ง . . . 4 ขั้นพัฒนาตนเอง ใช้ประโยชน์ดิจิทัล ป ร ะ โ ย ช น์ ดิ จิ ทั ล เ พื่ อ เ ป ลี่ ย น ก ร อ บ แ น ว คิ ด มุ ม ม อ ง สู่ อ น า ค ต

4 ขั้นพัฒนาตนเอง ใช้ประโยชน์ดิจิทัล ขั้นตอนที่ 1 : ปรับมุมมอง กรอบความคิด ขั้นตอนที่ 2 : เพิ่มทักษะความสามารถ “สร้างความรู้สึกสนุกเมื่อได้เจออะไรใหม่ๆ ไม่กลัวโง่” เมื่อเรามีใจที่พร้อมแล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องทำคือ การพัฒนาทักษะความสามารถ นี่เป็นจุดเริ่มต้นไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไรก็ตาม เพราะคนเราต่างมักจะใช้ความเคยชินตีกรอบความ ในยุคดิจิทัลเทคโนโลยีนี้ ทักษะหรือความสามารถอันดับต้นๆ ที่ควรมีคือ ความเร็ว ความว่องไว คิด เวลาที่ต้องทำหรือเจออะไรใหม่ๆ จะมองไปในทางเป็นไปไม่ได้เอาไว้ก่อน ซึ่งกลายเป็นการ และสายสัมพันธ์ (Speed, Agility and Relationship) สร้าง “ขีดจำกัด” ของตนเองขึ้นมา ยิ่งคุณมีความเร็วในการตามข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับตัวเองได้ทันเวลา มีการลงมือทำ เราต้องทำลายกรอบความคิดนี้ไปซะ เพื่อให้มีใจที่พร้อมต่อการทำหรือพบเจออะไรใหม่ๆ นั่นเอง และตอบสนองที่ว่องไว และมีสายสัมพันธ์สร้างเป็นเครือข่ายที่กว้างขวาง จะสามารถทำให้เราใช้ ประโยชน์จากดิจิทัลเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะเห็นตัวอย่างทักษะความสามารถเหล่านี้มี ชัดเจนในกลุ่มนักธุรกิจออนไลน์ทั้งหลายนั่นเอง

4 ขั้นพัฒนาตนเอง ใช้ประโยชน์ดิจิทัล (ต่อ) ขั้นตอนที่ 3 : หาประสบการณ์ลองใช้ ขั้นตอนที่ 4 : เรียนรู้ต่อเนื่อง มันจะไม่เห็นผลอะไรเลย ถ้าไม่มีการลงมือทำ ขอให้คุณลองหาประสบการณ์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี เมื่อคุณได้รู้จักการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีที่คุณสนใจแล้ว ขอให้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งคุณสนใจที่เป็นประโยชน์กับตนเอง เพื่อใช้กับทั้งเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องงาน ออกไปอย่างต่อเนื่อง แล้วหาวิธีผสมผสาน การใช้ประโยชน์ของดิจิทัลเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าด้วยกัน ลองเลือกสิ่งที่ใกล้ตัวคุณมากที่สุดก่อน เพื่อสร้างความคุ้นเคย ลองผิด ลองถูก ถามคนรอบข้าง เชื่อเหลือเกินว่าจะทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตส่วนตัวและการทำงานได้ง่ายและสะดวกสบายมากขึ้น เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจและใช้ได้คล่องมากขึ้น

สรุป“ความฉลาดทางดิจิทัล” (DQ: Digital Intelligence Quotient) ของคนรุ่นใหม่ในทัศตวรรษที่21 การจะเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีนั้น ต้องมีความฉลาดทางดิจิทัล ซึ่งประกอบขึ้นด้วยชุดทักษะและความรู้ทั้งในเชิง เทคโนโลยีและการคิดขั้นสูง หรือที่เรียกว่า “ความรู้ดิจิทัล” (Digital Literacy) เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูล ข่าวสารในโลกไซเบอร์ รู้วิธีป้องกันตนเองจากความเสี่ยงต่างๆ ในโลกออนไลน์ เข้าใจถึงสิทธิ ความรับผิดชอบ และ จริยธรรมที่สำคัญในยุคดิจิทัล และใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในการมีส่วนร่วมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม ที่เกี่ยวกับตนเอง ชุมชน ประเทศ และพลเมืองบนโลก ได้อย่างสร้างสรรค์ซึ่ง จะเห็นว่าความฉลาดดิจิทัลใน ระดับพลเมืองดิจิทัลเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับนักเรียน และบุคคลทั่วไปในการสื่อสารในโลกออนไลน์เป็นอย่างยิ่ง ทั้ง เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ การจัดการความ ปลอดภัยบนระบบเครือข่าย การจัดการความเป็นส่วนตัว การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ร่องรอยทางดิจิทัล ความเห็นอก เห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นทางดิจิทัล หากบุคคลมีทักษะและความสามารถทั้ง 8 ประการจะทำให้บุคคลนั้นมี ความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการ ควบคุม กำกับตน รู้ผิดรู้ถูก และรู้เท่าทัน เป็นบรรทัดฐานในการ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม เรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด และปลอดภัย

บรรณานุกรม ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. (2562). ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital intelligence). BANGKOK POST. (2560). 4 ขั้นพัฒนาตนเอง ใช้ประโยชน์ดิจิทัล. สืบค้น 31 สืบค้น 28 ธันวาคม 2564. จาก https://www.scimath.org/article- ธันวาคม 2564. จาก technology/item/10611-digital-intelligence. https://jobs.bangkokpost.com/th/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8 ฐิตาภรณ์ จันทร์มณี นันทิตาดำโข่ และภัทรญาดาสุจริตธุระการ. (2562). ความ %9A%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3 เป็นพลเมืองดิจิทัล (digital citizenship). สืบค้น 28 ธันวาคม 2564. จาก %E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%87%E0 https://sites.google.com/site/digitalcitizens03718/about/teaching- %B8%B2%E0%B8%99/1900_4- stories. %E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0 Phichitra Phetparee. (2562). พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) สืบค้น 28 ธันวาคม %B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8 2564. จาก %99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87- https://www.thaihealth.or.th/Content/48161%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B %E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0 9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0% %B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9 B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%20( %8C%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97 Digital%20Citizenship).html. %E0%B8%B1%E0%B8%A5.html.

“ความฉลาดทางดิจิทัล” (DQ: Digital Intelligence Quotient) ของคนรุ่นใหม่ในทัศตวรรษที่21