Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Happy Birthday (1)

Happy Birthday (1)

Published by Guset User, 2022-04-26 08:35:33

Description: นางสาว ทิธัญญา วงษ์ยี่เมาะ เลขที่33 ปวส1/4

Search

Read the Text Version

จัดทำโดย นางสาว ทิพธัญญา วงษ์ยี่เมาะ ปวส1/4 เลขที่33 รหัสนักศึกษา 64321117860

บทที่7 การอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์ คู่มือด้านสิ่งแวดล้อมและ ความปลอดภัยฉบับนี้มีวัตถ ปุระสงค์ เพื่ออธิบายและ เป็นเอกสารในการศึกษา เพิ่มเติมให้แก่นักเรียน นักศึกษาได้รับทราบเกี่ยว กับเนื้อหาสาคัญมาตรฐาน และ ข้อกำหนดกฎหมาย ด้านสิ่งแวดล้อมและความ ปลอดภัย ที่เกี่ยวข้องกับ การรักโลกและอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม

\"พลังงาน\" ถือเป็นสิ่งที่มีค่าและมีความจำเป็นต่อ การดำรงชีวิตประจำวันของเราทุกคนไม่ว่าจะเป็น พลังงานน้ำ พลังงานน้ำมัน พลังงานไฟฟ้า ซึ่ง ความต้องการใช้พลังงานมีอัตราที่เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี ในขณะที่พลังงานต่าง ๆ มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น วิธีการประหยัดพลังงานซึ่งทำได้ทุกแห่ง ไม่ว่าจะในบ้าน ในรถยนต์ ในโรงเรียน และใน สถานที่ทำงาน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไร ถึงจะช่วยกันประหยัดพลังงานของชาติให้เพียง พอต่อความต้องการใช้ของทุกคนได้ ต่อไปนี้เป็น คำตอบถึงวิธีการประหยัดพลังงานอย่างง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้

พลังงานถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนา ประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม เหตุผลก็เพราะต้องมี การใช้พลังงานในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน ทั้งภาค อุตสาหกรรม คมนาคม เกษตรกรรม และอื่นๆ ปัจจัยที่มีผลให้ ปริมาณการใช้พลังงานโลก คือ จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นหากเป็นเช่น นี้ทรัพยากรและพลังงานที่กำลังลดลง เพราะอัตราการใช้พลังงาน ในโลกได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี ฉะนั้นโลกเราจะต้องใช้ พลังงานเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวทุกๆปี หากไม่มีมาตรการอนุรักษ์และเพิ่ม ประสิทธิภาพของการใช้พลังงานหรือปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม และระบบขนส่ง พลังงานจะต้องหมดไปในอนาคตอย่างแน่นอน นอกจากนี้แล้วการใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นยังส่งผลให้มีการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นด้วย ดังนั้นการอนุรักษ์พลังงานจึงเป็น มาตรการที่สำคัญที่จะทำให้มี การผลิตและการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพ การอนุรักษ์พลังงาน หมายถึง การผลิตและการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพและประหยัดการอนุรักษ์พลังงานนอกจากจะช่วยลด ปริมาณการใช้พลังงานซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากแหล่งที่ใช้และผลิต พลังงานด้วย

วิธีประหยัดน้ำ 1. หมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำภายในบ้าน 2. ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้ เช่น เวลาโกนหนวด แปรงฟัน ล้างจาน 3. เปิดน้ำซักผ้าแค่พอใช้ อย่าเปิดทิ้งไว้ตลอดการ ซัก 4. ไม่ควรใช้สายยางล้างรถและเปิดน้ำไหลตลอด เวลา 5. ใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ 6. รินน้ำดื่มให้พอดีดื่ม และอย่าทิ้งน้ำดื่มที่เหลือโดย เปล่าประโยชน์

วิธีประหยัดน้ำมัน 1. ตรวจสอบลมยางเป็นประจำไม่ให้ยางอ่อนเกินไป 2. สับเปลี่ยนยาง ตรวจตั้งศูนย์ล้อตามกำหนด เปลี่ยนน้ำมัน เครื่อง และไส้กรองน้ำมันเครื่องตามความเหมาะสม 3. ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถนาน ๆ 4. ควรใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับสภาพเส้นทาง 5. ไม่ออกรถกระชาก ไม่เลี้ยงคลัทช์เร่งเครื่อง 6. ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่าง 7. ไม่ต้องอุ่นเครื่อง ขับช้า ๆ เครื่องจะอุ่นเองที่ 1 - 2 กม. แรก 8. ไม่บรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด ไม่ควรลากเกียร์ต่ำนาน ๆ 9. ใช้ระบบการใช้รถร่วมกัน (Car pool) หมั่นศึกษาทางลัด ประหยัดทั้งเวลาและน้ำมัน เดินทางใกล้ ๆ ใช้จักรยาน 10. ควรใช้น้ำมันที่มีค่าออกเทนเหมาะกับชนิดของรถ

วิธีประหยัดไฟฟ้า 1. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกใช้งาน และเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มี ฉลากเบอร์ 5 ควรใช้สีอ่อนตกแต่ง อาคารเพื่อลดอุณหภูมิความร้อน จากภายนอกอาคาร 2. ถ้าออกจากห้องเกิน 1 ชั่วโมง ควรปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้ง หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ และตั้งอุณหภูมิที่ 25 ?C 3. ตรวจสอบอุดรอยรั่วในห้องและปิดประตูทุกครั้งก่อนใช้เครื่อง ปรับอากาศ 4. ถ้าไม่จำเป็นควรใช้พัดลมแทนเครื่องปรับอากาศ 5. ใช้โคมไฟที่มีแผ่นสะท้อนแสง เพื่อช่วยกระจายความสว่าง 6. เลือกขนาดตู้เย็นให้เหมาะสมกับขนาดของครอบครัว ไม่ควรนำ ของร้อนเข้าแช่ตู้เย็นและเปิดตู้เย็น บ่อย ควรปิดให้สนิททุกครั้งหลัง เปิด 7. ไม่ควรพรมน้ำจนแฉะเวลารีดผ้าเพราะต้องใช้ไฟในการรีดมากขึ้น ดึงปลั๊กออกก่อนรีดผ้าเสร็จ เพราะสามารถใช้ความร้อนรีดต่อได้ 8. ดูโทรทัศน์เครื่องเดียวร่วมกันทั้งบ้าน และปิดทันทีเมื่อไม่มีคนดู 9. ใช้เตาแก๊สหุงต้มแทนเตาไฟฟ้า 10. หมั่นซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้า

วิธีประหยัดพลังงานอื่น ๆ 1. ใช้กระดาษให้คุ้มค่า 2. แยกประเภทของขยะ 3. ขึ้นลงอาคารชั้นเดียวไม่ควรใช้ลิฟท์ 4. ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้ครั้งเดียว แล้วต้องทิ้ง 5. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ ใหม่ได้ 6. ปลูกฝังค่านิยมให้ลูก - หลานใช้ ทรัพยากรอย่างประหยัด

วิธีการประหยัดพลังงานที่กล่าวข้างต้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีอีกหลาก หลายวิธีที่เราสามารถประหยัดพลังงานได้ จึงขอเชิญชวนทุกคนให้ความสำคัญกับการ ประหยัดพลังงาน ช่วยกันคนละไม้คนละ มือก็สามารถช่วยชาติประหยัดงบประมาณ ในการจัดหาพลังงานมาใช้ได้และยังช่วย ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นอีกด้วย

การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและ เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำ ได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่าน กระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นก ระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อม ได้ การบูรณะซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะ ฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อม สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ การพัฒนาคุณภาพประชาชน โดนสนับสนุนการศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยกร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องตามหลักวิชา ซึ่งสามารถทำได้ทุกระดับอายุ ทั้งใน ระบบโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ และนอกระบบโรงเรียนผ่านสื่อสารมวลชน ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์ เกิดความรักความหวงแหน และให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย การจัดตั้งกลุ่ม ชุมชน ชมรม สมาคม เพื่อการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนการให้ความร่วมมือทั้งทาง ด้านพลังกาย พลังใจ พลังความคิด ด้วยจิตสำนึกในความมีคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรที่มีต่อตัวเรา เช่น กลุ่มชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ นักเรียน นักศึกษา ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและ พรรณพืชแห่งประเทศไทย มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร มูลนิธิโลกสีเขียว เป็นต้น ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ช่วยกันดูแลรักษาให้คงสภาพ เดิม ไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรม เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตในท้องถิ่นของตน การ ประสานงานเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน ให้มีบทบาทหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ฟื้นฟูการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด





การอนุรักษ์ ( Conservation ) หมายถึง การรู้จักใช้ ทรัพยากร อย่างชาญฉลาด ให้เป็นประโยชน์ต่อมหาชน มากที่สุด และใช้ได้เป็นเวลายาวนานที่สุด ทั้งนี้ต้องให้ สูญเสียทรัพยากรโดยเปล่า ประโยชน์น้อยที่สุด และจะ ต้องกระจายการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรโดยทั่ว ถึงกันด้วย ฉะนั้น การอนุรักษ์จึงไม่ได้หมายถึงการเก็บ รักษาทรัพยากรไว้เฉย ๆ แต่ต้องนำทรัพยากรมาใช้ ประโยชน์ให้ถูกต้องตามกาละ เทศะ

ข้อมูลจาก : กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่มา : http://www.bu.ac.th/hotnews/iso/html/sav eeng.html


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook