Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore LP_Lee_vipassana_vol2

LP_Lee_vipassana_vol2

Published by ชมรมกัลยาณธรรม, 2021-04-20 07:21:12

Description: LP_Lee_vipassana_vol2

Search

Read the Text Version

ชมรมกลั ยาณธรรม หนงั สอื ดอี นั ดับท่ี ๑๑๐ แนวทางปฏิบตั ิ วิปัสสนา-กมั มัฏฐาน เล่ม ๒ พระสทุ ธิธรรมรงั สี คัมภรี เมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) วดั อโศการาม อ.เมือง จ.สมทุ รปราการ พิมพ์ครั้งท่ี ๑ : ๕,๐๐๐ เล่ม : มกราคม ๒๕๕๓ ภาพปก - ภาพประกอบ : สวุ ดี ผอ่ งโสภา รปู เลม่ : วัชรพล วงษอ์ นสุ าสน์ จดั พมิ พแ์ ละเผยแพร่ : ชมรมกัลยาณธรรม เปน็ ธรรมทานโดย ๑๐๐ ถ.ประโคนชยั ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๗๐ โทรศพั ท์ ๐๒-๗๐๒-๗๓๕๓, ๐๒-๗๐๒-๙๖๒๔ โทรสาร ๐๒-๗๐๒-๗๓๕๓ แยกสี : แคนนา่ กราฟฟิก โทรศพั ท์ ๐๘-๖๓๑๔-๓๖๕๑ พมิ พท์ ี่ : บริษัท ขมุ ทองอตุ สาหกรรมและการพมิ พ์ จำกัด ๕๙/๘๔ หมู่ ๑๙ ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวฒั นา กรงุ เทพมหานคร ๑๐๑๗๐ โทร. ๐-๒๘๘๕-๗๘๗๑-๓ โทรสาร ๐-๒๘๘๕-๗๘๗๔ สพั พทานงั ธัมมทานัง ชินาติ การใหwธ้ wรรมwะ.เkปaน็ nทlาaนyaยn่อมaชtaนmะก.าcรoใหm้ทั้งปวง

คำนำ จากหนงั สือ แนวทางปฏิบัติ วิปสั สนา-กัมมัฏฐาน ของพระเดชพระคุณ พระวิสุทธิธรรมรังสี คัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ ในฉบับเดิมนั้นมี ๕ บทใหญ่ ชมรมกัลยาณธรรมมีจิต ศรัทธาได้จัดพิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน โดยแบ่งเป็นสองเล่ม ซึ่งเล่มแรกได้จัด พิมพ์เผยแพร่ไปแล้ว มีผู้สนใจศึกษาและได้รับคำชื่นชมมาก บัดนี้ได้จัดพิมพ์ ๓ บทที่เหลือ รวมลงในเล่ม ๒ อันประกอบด้วย พระธรรมเทศนาในหอเขียว อานาปานพ์ รรษาที่ ๔ และ ๕ ตามลำดบั ทำให้หนังสือเล่มนี้มีความหนาไม่แพ้ เล่มแรก แต่ก็เชื่อว่าไม่เกินกำลังศรัทธาของทุกท่านที่จะศึกษาและยึดถือเป็น แนวทางปฏิบตั ิวิปัสสนา-กรรมฐานได้อย่างถูกทาง หนังสือธรรมะรวมพระธรรมเทศนาของท่านพ่อลี ธัมมธโร เล่มนี้ เกิดจากความวิริยะอุตสาหะของคุณท้าวสัตยานุรักษ์ (สาย โรจนดิษฐ์) ซึ่งมี พรสวรรค์และปัญญาปฏิภาณในการจดจำคำเทศน์ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ บันทึกไว้เป็นสำนวนเทศน์จำนวนมากหลายกัณฑ์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งยังมี โอกาสให้พ่อแม่ครูบาอาจารย์ผู้เทศน์ ได้ตรวจทานความถูกต้อง ทำให้พวกเรา ได้รบั ประโยชนจ์ ากพระธรรมเทศนาอันทรงคณุ ค่าในอดีตได้มากมาย ชมรมกัลยาณธรรมขอน้อมถวายพลังแห่งปัญญาบารมีเพื่อเป็นพุทธบูชา และน้อมถวายแด่ท่านพ่อลี ธมฺมธโร และพ่อแม่ครูบาอาจารย์ทุกท่านทุกองค์ และขอใหห้ นงั สอื นเ้ี กดิ ประโยชนท์ างปญั ญาแกท่ า่ นสาธชุ นไปสทู่ างพน้ ทกุ ข์ สมความ เหนื่อยยากของครบู าอาจารยท์ กุ ท่าน ทกุ องค์ เทอญ คณะผู้จดั พิมพ ์ ชมรมกลั ยาณธรรม

สารบัญ ๑ พระธรรมเทศนาบนหอเขียว................................... ๗ พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๒...................................................... ๑๙ พระธรรมเทศนาในวันวิสาขบชู า............................................... ๓๑ พระธรรมเทศนากณั ฑ์สดุ ท้าย.................................................. ๔๙ โอวาทประจำพรรษาที่ ๔.........................................................๖๑ แสดงโอวาทอบรมพระภิกษสุ งฆ์ ตอนคำ่ .................................๗๐ อบรมสมาธิตอนบ่าย................................................................ ๘๑ คำนำ.....................................................................................๑๙๖ ๒ โอวาทประจำพรรษาที่ ๔ (ตอน ๒)...................๑๙๗ อบรมสมาธิตอนบ่าย ๓๐ กรกฎาคม....................................๒๑๒ อบรมสมาธิตอนบ่าย ๓ สิงหาคม.........................................๒๒๑ อบรมสมาธิตอนบ่าย ๒๒ กนั ยายน......................................๒๔๑ อบรมสมาธิตอนบ่าย ณ วัดอโศการาม................................๒๕๙ อบรมสมาธิตอนบ่าย ๒ กนั ยายน........................................ ๒๘๒ อบรมสมาธิตอนบ่าย ๑๙ กันยายน.....................................๒๙๗



แนวทางปฏิบตั ิ วปิ ัสสนา-กัมมัฏฐาน เรียบเรียงจาก โอวาท ๔ พรรษา ของ พระสุทธิธรรมรงั สี คัมภรี เมธาจารย ์ (พระอาจารยล์ ี ธมมฺ ธโร) วดั อโศการาม สมุทรปราการ

พระธรรมเทศนาบนหอเขยี ว แสดงโดย พระอาจารย์ ลี ธมมฺ ธโร วนั ที่ ๖ ม.ี ค. ๒๔๙๙ นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมฺมาสมพฺ ทุ ธฺ สฺส พุทธฺ านุสสฺ ติ เมตตฺ า จ อสภุ ํ มรณสสฺ ตีติ ณ โอกาสน้ี จะไดแ้ สดงธรรมะอนั เปน็ โอวาทคำสง่ั สอนของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งจะเป็นเครื่องประดับสติปัญญา แก่พวกเราทั้งหลาย ที่พร้อมใจกันมาบำเพ็ญทานการกุศลใน วนั น้ี เพอื่ ใหส้ ำเรจ็ ประโยชนอ์ นั บรบิ รู ณอ์ ยา่ งหนงึ่ และอกี อยา่ งหนงึ่ พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

8 พระธรรมเทศนาบนหอเขียว เพอื่ เปน็ คตอิ นั ควรแกพ่ วกเรา ซงึ่ จะไดน้ อ้ มนำไปปฏบิ ตั ใิ นโอกาส ต่อไปนั้นด้วย ทุกๆ คนที่พร้อมใจกันมาร่วมบำเพ็ญการกุศล ทักษิณาทานในวันนี้ ก็มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นการสักการบูชา ถวายแด่พระเดชพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ฯ ซึ่งท่านได้ มรณภาพไปแล้วนั้น เพื่อเป็นการแสดงกตัญญูกตเวทีในพระคณุ ที่ท่านได้มีแก่พวกเราทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ดังที่ได้ ประจักษ์แก่เรามาแล้วตั้งแต่ในเวลาที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่ การ แสดงกตัญญูกตเวทีอันนี้เราก็ได้มีต่อท่านมาแล้ว ตั้งแต่เวลาที่ ท่านได้เริ่มอาพาธตลอดมา ทางฝ่ายพระภิกษุสามเณรต่างก็มี ความเอาใจใส่ดูแล ปฏิบัติรักษาพยาบาลในองค์ท่านเป็นอย่างดี ส่วนพวกเราที่เป็นฆราวาส ก็มีความมุ่งหวังดีที่จะช่วยกันรับใช้ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ และถึงแม้ท่านจะได้มรณภาพล่วง ลับไปแล้ว เราก็ยังพากันจดจำและระลึกถึงพระคุณของท่าน อยู่เสมอ การบำเพ็ญทานที่เราได้ตั้งใจจะน้อมอุทิศไปถึงท่าน อย่างนี้ ไม่ใช่เป็นทานธรรมดาอย่างที่เราทำแก่คนท่ัวๆ ไป การบำเพญ็ ทานอยา่ งนี้เราเรียกว่า “ทานบูชา” คือ ทานทีเ่ ราทำ เพือ่ ความเคารพสักการะในพระคณุ ของทา่ น แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระ ธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 9 หัวข้อธรรมะที่ได้ยกมาแสดงในวันนี้ เป็นหลักปฏิบัติอัน สำคัญข้อหนึ่ง ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้เป็น แนวทางปฏิบัติ ที่จะให้พวกเราได้น้อมนำไปใช้ให้บังเกิดผล เป็น ความดงี ามและความสขุ อนั สมบรู ณ์ เจา้ พระคณุ สมเดจ็ พระมหา วรี วงศฯ์ ทา่ นกไ็ ดร้ กั ษาขอ้ ปฏบิ ตั อิ นั นเ้ี ปน็ หลกั ประจำอยเู่ สมอมา และทั้งเป็นสิ่งที่ท่านได้เคยปรารภและปรารถนา ที่จะให้พวกเรา ทกุ ๆ คนไดน้ อ้ มนำไปใชส้ ำหรบั ตวั เอง เพอื่ ใหเ้ กดิ ประโยชนใ์ นการ ประพฤติปฏิบัติของเราทั้งหลายด้วย ดังนั้นจึงได้นำธรรมะข้อนี้ มาแสดง เพอื่ ใหเ้ ปน็ ทถี่ กู กบั ความประสงคข์ องทา่ น โอกาสตอ่ ไปนี้ ก็ขอให้พวกเราพากันตั้งอกตั้งใจสดับตรับฟัง ให้บังเกิดเป็นบุญ เปน็ กศุ ล พร้อมด้วยกายวาจาใจของเราที่จะได้น้อมบชู าสกั การะ ในเจา้ พระคณุ สมเดจ็ ฯ ทา่ น ใหส้ มกบั ทเี่ ราไดต้ ง้ั ใจกระทำในวนั น้ ี ข้อ ๑. พุทฺธานสุ สฺ ติ หมายถึง การระลึกถึงพระพุทธเจ้า กล่าวโดยปุคคลาธิษฐาน ก็มีการนึกถึงพระพุทธรูป พระสถูป เจดีย์ และปูชนียสถาน มีโบสถ์วิหารและวัดวาอาราม เป็นต้น โดยธรรมาธิษฐานก็ให้นึกระลึกถึงในส่วนพระพุทธคุณของ พระพุทธเจ้า มีพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหา กรณุ าธิคุณ เปน็ ต้น พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

10 พระธรรมเทศนาบนหอเขียว พระปญั ญาคณุ คือ พระองค์ทรงมีพระปรีชาฉลาด ตรัสรู้ แจ้งโลก ทั้งมนุษย์ เทวดา พรหม ด้วยพระองค์เอง โดยมิได้มี ใครส่ังสอน ทรงทราบชีวิตความเป็นไปของสัตว์โลกทั้งหลาย ได้ดี ทั้งในส่วนอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ที่เกี่ยวเนื่องด้วย ผลแหง่ กรรมดีและกรรมชั่ว พระบริสุทธิคุณ คือ พระองค์ทรงปราบปรามกิเลสความ ชั่วร้าย ให้หมดสิ้นไปได้จากสันดานของพระองค์ นีวรณธรรม ทั้งหลายก็ไม่ได้มีในพระหฤทัย กายของพระองค์ก็สุจริต วาจา ของพระองค์ก็สุจริต ใจของพระองค์ก็สุจริต พระองค์จึงมีแต่ ความบริสุทธิ์ ไกลจากกิเลสและอาสวะท้ังสิ้น พระมหากรณุ าธิคุณ คือ พระองค์ได้ทรมานพระองค์ และ ต่อสู้กับความทุกข์ยากลำบากอย่างยิ่ง ในการแสวงหาธรรม อันเป็นทางสิ้นทุกข์ กว่าจะสำเร็จก็เป็นเวลาหลายปี และเมื่อ พระองคไ์ ดท้ รงบรรลใุ นธรรมอนั สงู จนตรสั รเู้ ปน็ สมั มาสมั พทุ ธเจา้ แลว้ เมอื่ พระชนมไ์ ด้ ๔๕ พรรษา พระองคก์ ย็ งั เสดจ็ จารกิ ไปโปรด ประชาชนทั้งหลายตามบ้านน้อยเมืองใหญ่ เพื่อประสงค์จะทรง รื้อสัตว์ ขนสัตว์ ให้หลุดพ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ทั้งปวงอีก แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระ ธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 11 ตลอดเวลาที่มีพระชนม์อยูต่ ราบจนเสดจ็ ดับขนั ธปรินิพพาน โดย มิได้ทรงเห็นแกค่ วามสขุ สว่ นพระองค์เลย นี้จดั วา่ เปน็ พระเมตตา และพระกรุณาคุณแก่พวกเราอย่างยิง่ ยวด ข้อ ๒. เมตตฺ ญจฺ หมายถึง การแสดง เมตตา กรณุ า ต่อ มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายท่ัวไป โดยความปรารถนาที่จะช่วยให้ เขาเป็นสุข ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ด้วยกายวาจาใจ คำว่า “เมตตา” มาจาก “มิตตะ” แปลว่าความสนิท คุ้นเคย หรือหวงั ดี เราต้องแสดงความเปน็ ผู้สนิท คุ้นเคย หวังดีต่อเพื่อน มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ตลอดทั้งโลกเบื้องสูง โลกท่ามกลาง และโลกเบื้องต่ำ ด้วยเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม และ เมตตามโนกรรม โลกเบื้องสูง ได้แก่ บิดามารดา เจ้านาย ครู อาจารย์ และท่านผู้ที่สูงกว่าเราโดยคุณธรรม วิชาความรู้ ชาติ สกุล อายุ ทรัพย์ เป็นต้น บุคคลเหล่านี้เราจะต้องแสดงความ เมตตาต่อท่าน ด้วยการส่งเสริมค้ำชูให้ท่านสูงขึ้นไป ด้วยการ บำเพ็ญคุณประโยชน์ช่วยเหลือแก่ท่าน เท่าที่จะทำได้ โลกท่าม กลาง ได้แก่ มิตรสหายเพื่อนฝูง หรือญาติพี่น้อง มีความเปน็ อยู่ ที่ทัดเทียมเสมอกับตัวเรา บุคคลเหล่านี้เราก็ไม่เบียดเบียนเขา ต้องหวังดีเอื้อเฟื้อต่อเขาเสมอ เช่นเดียวกับทำให้แก่ตัวเราเอง พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

12 พระธรรมเทศนาบนหอเขียว โลกเบื้องต่ำ ก็คือผู้ที่เขามีวิชาความรู้ สติปัญญา และความ ประพฤติตำ่ กว่าเรา มีทรพั ยน์ ้อยกวา่ เรา หรือมีอายุน้อยกวา่ เรา มีความเป็นอยตู่ ่ำต้อยกวา่ เรา โลกเบื้องตำ่ ทีส่ ำคญั ทีส่ ดุ ก็คือคน ที่เป็นศัตรูของเรา ที่เขาคอยเบียดเบียนทำลายเรา เราต้องแผ่ เมตตาจิตให้แก่เขาให้มากที่สุด ต้องไม่โกรธเกลียด พยาบาท ตอบเขา บุคคลประเภทนี้เราจะต้องช่วยฉุดให้เขาเปน็ คนดี สูงขึ้น มาจนทัดเทียมเสมอกับเรา มีหนทางใดที่พอจะช่วยเหลือเกื้อกูล เขาได้ ด้วยกำลังกาย กำลังทรัพย์ หรือกำลังปัญญา เราก็ช่วย เหลือเขาให้มีความสขุ และแนะนำให้เขาทำความดีด้วย เมตตากายกรรม, คือเราไมเ่ บียดเบียนใครด้วยกาย เป็น ผู้มีศีล ๕ และกัลยาณธรรม กายของเราๆ ก็จักรักษาไว้ให้สจุ ริต ไม่แสดงมารยาทที่ไมด่ ีขึ้นในสังคมใดๆ เมตตาวจีกรรม, วาจาของเราก็เป็นไปด้วยความสุจริต เยือกเย็น กล่าวแต่วาจาที่ไพเราะและเป็นคุณ เป็นประโยชน์ ไม่กล่าววาจาที่เปน็ คำเทจ็ คำเบียดเบียน ประหตั ประหารใคร แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระ ธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 13 เมตตามโนกรรม, ใจของเรากส็ จุ รติ ไมม่ งุ่ พยาบาทคดิ รา้ ย ตอ่ ใคร มีความยินดีในความสขุ ของผู้อื่น ในเมตตา ๓ ประการนี้ เมตตามโนกรรม เป็นสิ่งสำคญั ที่สุด ขอ้ ๓. อสภุ ญฺจ หมายถึง ให้พิจารณาในความไม่สะอาด และสิง่ ที่เปน็ ปฏิกูลในรา่ งกาย คือให้พิจารณาใน อสภุ กมั มฏั ฐาน มีอาการ ๓๒ เป็น “อสุภ” นี้มีอยู่ ๒ อย่างๆ หนึ่งพระพุทธเจ้า ทรงสรรเสริญ อีกอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงติเตียน อสุภที่ พระองค์ทรงสรรเสริญว่าดีน้ัน คือความเน่าเปื่อยพุพองใน ร่างกาย ที่ทำให้แลเห็นถึงความเก่าแก่ แปรปรวน และ ทรุดโทรมในสังขาร และความไม่สะอาด ไม่สวย ไม่งามของ รา่ งกาย เพอื่ ความสลดสงั เวชทจี่ ะปราบปรามจติ ของเรา ใหเ้ กดิ ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์นี้ได้ ส่วน “อสุภ” ที่พระพุทธเจ้า ทรงติเตียนน้ัน ก็คือความชั่วร้าย ซึ่งเป็นของไม่ดีที่เปื้อน เปรอะอยู่ในตัวเรา กายก็โสโครก วาจาก็โสโครก และใจก็ โสโครก อยา่ งนพ้ี ระองคท์ รงตำหนแิ ละลงโทษมากทเี ดยี ว ดงั นน้ั เราจะต้องชำระตัวของเราให้สะอาดอยู่เสมอในสถานที่ ต่างๆ กายวาจาใจของเราต้องสะอาด นักปราชญ์ย่อม สรรเสริญว่าเปน็ กัลยาณชน ได้ชื่อวา่ เป็นผูไ้ มป่ ระมาท พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

14 พระธรรมเทศนาบนหอเขียว ข้อ ๔. มรณญฺจ คือให้ระลึกถึงความตาย ความตายนี้ เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เป็นสิ่งไม่มีใครต้องการ เพราะมันเป็นสิ่งที่ คบั ใจเราอยา่ งยงิ่ ดงั นน้ั ทา่ นจงึ สอนใหห้ มนั่ ระลกึ ถงึ ความตายไว้ ความจรงิ การระลึกถึงความตายนจี้ ะเปน็ กศุ ลอยา่ งสำคญั ทีเดยี ว แตถ่ า้ เราไประลกึ ถงึ เผนิ ๆ กก็ ลวั ตาย ถา้ เราระลกึ ใหถ้ งึ ความจรงิ ของมัน จนเลยออกไปจากความตายแล้ว เราก็จะไม่กลัวตาย เรือ่ งตายเป็นปญั หาอย่างสำคญั ถ้าเราไม่ต้องการตาย กค็ วรจะ ระลึกให้ถึงความจริง แล้วเราก็จะไมต่ าย ความตายอยา่ งสามญั ชนมี ๓ ประเภท ประเภทที่ ๑ คือ ตายไปกบั ความชว่ั ประเภทที่ ๒ ตายไปกบั ความด,ี ประเภท ที่ ๓ ไม่ตาย ถ้ามนุษย์ทั้งหลายยินดีในการทำชั่ว ก็ต้องตายไป กับความทกุ ข์ บางพวกที่ไมป่ ระมาท มีสติปัญญาหมน่ั เจริญเพง่ พิจารณาว่า เราเกิดมาก็ไม่มีอะไรติดตัวมา เวลาตายก็คงไม่มี อะไรไป มาอย่างไรก็ไปอย่างนั้น นอกจากความดีความช่ัวที่ตน ทำไว้แล้ว กค็ งไม่มีสิ่งใดทีจ่ ะติดตวั ไปได้ เมื่อมาพิจารณาอย่างนี้ ก็รีบบำเพญ็ ตนทำบุญทำกศุ ล เป็นคนไม่ประมาทไปทั้งหมด เพือ่ เราจะได้มีอะไรติดตัวไปด้วย คนตายช่ัวคือเวลาที่มีชีวิตอยู่ก็ไม่ แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระ ธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 15 ประกอบคณุ งามความดี กระทำแต่ความช่วั ช้าลามก เวลาตายก็ ต้องตายไปกบั ความทุกข์ และยังไปเสวยทุกขใ์ นภายภาคหน้าตอ่ ไปอีก ถ้าบุคคลใดเปน็ ผู้มีศีลกรรมบถ มีกัลยาณธรรม ตายไปก็ ไปทางดี ตายไปกับความสุข เพราะเหตุนั้น ท่านจึงส่ังสอนให้ บำเพญ็ บญุ กศุ ล รบี เรง่ หาเสบยี งไวเ้ สยี โดยเรว็ เพราะไฟบลั ลยั กลั ป์ มันไหม้เราอยู่ทุกวัน ทุกนาที ความเก่าแก่ความเจ็บ ก็ก่อความ เสียหายเป็นไฟไหม้ทั้งนั้น ทรัพย์สินเงินทองก็ไหม้ไปตามๆ กัน เมือ่ ใครเหน็ สิง่ ทถี่ าวรมอี ยกู่ ท็ ำโลกียทรพั ยใ์ หเ้ ปน็ “อริยทรพั ย”์ และตัวเราผู้ใช้ทรัพย์ก็ต้องเป็นคนดีด้วย ท่านจึงสอนให้มีกาย วาจา ใจ บริสทุ ธิ์ทีเ่ รียกวา่ “มนษุ ย์สมบตั ิ” นี้เปน็ การระลึกถึง ความตายอยา่ งหนึ่งของตนที่จะมีในภายภาคหน้า ถ้าจะพูดกันอีกอย่างหนึ่งแล้ว ความตายไม่ใช่ความจริง ความจริงนั้นไม่ตาย ส่วนปรมัตถ์ไม่ใช่ของจริง จริงแต่สมมุติ บัญญัติ ถ้ากล่าวถึงธรรมชาติก็ไม่มีอะไรตาย รูปตายนามตาย ก็จริง แต่จะกล่าวให้ถึงความจริงแล้ว ไม่จริง “ธรรมธาตุ” ที่ เรียกวา่ “อสังขตธาตุ” คือธาตดุ ิน ธาตนุ ้ำ ธาตไุ ฟ ธาตุลม นี้มี มาแตต่ ้นจนโลกแตก ก็คงเป็น ดิน นำ้ ไฟ ลม อย่ตู ามเดิม เป็น พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

16 พระธรรมเทศนาบนหอเขียว ธาตแุ ทไ้ มแ่ ปรผนั เปน็ “ธรรมฐตี ธิ าต”ุ เมอื่ รา่ งกายซงึ่ ประกอบ ด้วยธาตุทั้ง ๔ นี้ แตกสลาย ธาตุเหล่านี้ก็กลับไปสู่สภาพเดิม ของมันไม่ตายไปไหน ส่วนดวงจิตก็เหมือนกัน มีอยู่ ๒ ลักษณะ ลักษณะ ๑ จิตตาย ลกั ษณะ ๒ จิตไม่ตาย แตเ่ รียกวา่ ย้ายไป โดยสถานที่โดยกรรม เมื่อจิตยังมีการประสบธาตุ มีเกิดก็ต้อง มีดับ มีดบั กต็ ้องมีเกิด ถ้าจิตประกอบด้วยอาสวกิเลส ก็ต้องเกิด แก่ เจบ็ ตาย เปน็ ธรรมดา เปรียบเหมือนกับเมลด็ ข้าวสารทีห่ ่อหุ้มอยูด่ ้วยเปลือกนอก ของมัน และเก็บไว้ในยุ้งฉางหรือกระสอบ เมื่อได้รับสิ่งประสบ คือความเย็นชื้นแห่งดินน้ำและอากาศภายนอกเข้าเมื่อใด เมล็ด ข้าวเหล่านั้น ก็ย่อมจะต้องแตกงอกงามออกมาเป็นต้นข้าว มีใบ รวงและก่อพืชพันธุส์ ืบต่อไปอีกไม่มีสิ้นสดุ แต่ถ้าเรานำเมลด็ ข้าว นั้นไปกะเทาะหรือฝัดสีข้าวเปลือกนอกออก หรือนำไปใส่ภาชนะ คว่ั ไฟเสยี มนั กจ็ ะตอ้ งหมดเชอ้ื หมดยางนำไปเพาะอกี ไมไ่ ด้ ฉนั ใด ก็ดี ดวงจิตของเรากเ็ ชน่ เดียวกัน ถ้าเราได้ใช้ความเพียร บำเพญ็ ตบะ บำเพ็ญพรต แผดเผากิเลสเกิดขึ้นภายในดวงจิตของเรา ด้วยการทำสมาธิ และพิจารณาธรรมด้วยสติปัฏฐาน ๔ มีกาย แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระ ธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 17 เวทนา จิต ธรรม อยู่เนืองๆ แล้ว ตัวกิเลสของเราก็จะต้อง กระเด็นออกไปเหมือนกับเมล็ดข้าวสารที่ถูกค่ัวด้วยไฟ และ กระเด็นออกไปจากกระทะฉันนั้น การบำเพ็ญอย่างนี้เรียกว่า จิตไมต่ าย พ้นจากความตาย กายกไ็ ม่ตาย จิตกไ็ ม่ตาย นีแ่ หละ ทีเ่ ข้าถึงความจริงได้ โดยประการฉะนี้ เมื่อพวกเราทั้งหลายได้สดับธรรมะทั้ง ๔ ข้อนี้แล้ว ก็พึง โยนิโสมนสิการ น้อมนำไปใช้พิจารณาให้มีขึ้นในตน เพื่อจักได้ เกิดประโยชน์อันเป็นความสุข ทั้งในปัจจุบันและอนาคต และได้ เข้าถึงทีส่ ดุ แหง่ ธรรม คือ ความไม่ตอ้ งเกิด ไมต่ อ้ งแก่ ไม่ตอ้ ง เจ็บ ไมต่ อ้ งตาย อันเป็นความสิ้นทุกข์ทั้งปวง พระธรรมเทศนา ในอารกั ขกมั มฏั ฐานดงั ไดแ้ สดงมา กพ็ อสมควรแกก่ าลเวลา เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร



บนั ทึกพระธรรมเทศนากณั ฑ์ท่ี ๒ กณั ฑน์ ้ีแสดงในงานทกั ษิณานปุ ทาน ซ่ึงนางอกั ษรศาสตรป์ ระสทิ ธ์ิ ช้ืนพรจันทร ์ เปน็ เจา้ ภาพ “หอเขียว” ๖ ก.พ. ๒๔๙๙ ทา่ นอาจารยไ์ ดแ้ สดงธรรมเทศนา ในสงั เวคกถาวา่ “อนจิ จฺ า วต สงขฺ ารา อปุ ปฺ าทวยธมมฺ โิ น อปุ ปฺ ชชฺ ติ วฺ า นริ ชุ ฌฺ นตฺ ตี ฯิ ” มีใจความโดยยอ่ ๆ ดงั นี้ พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

20 บันทึกพระธรรมเทศนากัณฑ์ท่ี ๒ ธรรมะ เป็นเครื่องบำรุงจิตใจให้บริสุทธิ์ได้อย่างหนึ่ง และ อีกอย่างหนึง่ จะกล่าวก็คือ ธรรมะได้แกต่ ัวของเรานี้เอง ร่างกาย ของเราทุกส่วนเป็นก้อนโลก โลกก็คือตัวธรรม เป็นเรื่องของ ธรรมะ แต่ไมใ่ ชต่ ัวธรรมะจริงๆ ตวั ของธรรมะจริงๆ อยู่ทีจ่ ิตใจ ตั้งแต่สมเด็จฯ ท่านได้มรณภาพไปแล้วเป็นเวลา ๑๐ กว่า วนั มานี้ พวกเราท้ังหลายบรรดาทีเ่ ปน็ สานุศิษย์ของท่าน ทั้งฝา่ ย พระภิกษุ สามเณร และฆราวาส ต่างก็ได้มีความเศร้าสลดใจ และระลึกถึงในพระคุณของท่าน จึงพร้อมกันได้แสดงความ กตญั ญูกตเวทีอยา่ งเตม็ อกเต็มใจ ในการประกอบกรณียกิจและ การบำเพญ็ บญุ กศุ ลทกุ ๆ อยา่ ง เพือ่ นอ้ มอทุ ศิ ถวายเปน็ การบชู า พระคณุ ทา่ น สงิ่ ใดทเี่ ปน็ เกยี รติ เรากท็ ำถวาย สงิ่ ใดทเี่ ปน็ ความดี เราก็เสียสละทั้งด้วยกำลังกาย กำลังวาจา กำลังความคิด และ กำลังทรพั ย์ของตนๆ อย่างเตม็ ความสามารถทีจ่ ะทำได้ กำลังกาย กำลังวาจา และกำลังความคิด เป็นเรื่องที่ไม่ จำเป็นจักต้องกล่าวก็พอจะเข้าใจกันได้ดี จะกล่าวถึงแต่ในเรื่อง “กำลังทรัพย์” ซึ่งควรทำความเข้าใจไว้บ้าง เพื่อจะได้ใช้ทรัพย์ ของตนๆ ให้เป็นประโยชน์ได้ตามสมควร แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 21 เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ท่านคงมิได้มีความปรารถนาที่จะ เรียกร้องในส่วน “โลกียทรัพย์ คือ วัตถุ สิ่งของทองเงินจาก พวกเราเลย สิ่งที่ท่านประสงค์ก็คือ “อริยทรัพย์” ดังนั้นเรา ต้องทำ “โลกียทรพั ย์” ของเราให้เปน็ “อริยทรพั ย์” เสียก่อน ซงึ่ เรยี กวา่ “บญุ กศุ ล” แลว้ เรากจ็ ะนอ้ มสว่ นบญุ กศุ ลอนั นแ้ี หละ อทุ ิศสง่ ไปถึงท่านได้ “โลกียทรพั ย”์ นั้น ไมใ่ ชข่ องถาวร เพราะมันถูกไฟเผาอยู่ ทกุ วนั ทกุ ขณะ ทุกเวลา มีแตจ่ ะสิ้นไปหมดไป คนมีทรพั ย์มากก็ ถูกเผามาก คนมีทรัพย์น้อยก็ถูกเผาน้อย อัตภาพร่างกายของ เรานี้ย่อมมีไฟเผาอยู่ทุกขณะ คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ไฟ ๔ กองนี้มนั เผาเราอยา่ งพินาศทีเดียว คิดดตู ้ังแตเ่ ราเกิดมาก็ เริ่มเสียทรัพย์แล้ว ครั้นเติบโตขึ้น พอความแก่เข้ามาถึงก็ต้อง เป็นทุกข์ เดือดร้อนเสียทรัพย์อีก พอความเจ็บไข้มาถึงก็ยิ่งเป็น ทุกข์หนักขึ้น และเสียทรัพย์อีก และพอความตายเข้ามาก็เสีย ทรัพยอ์ ีก เมือ่ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ มนั เผาเราขณะใด กย็ อ่ ม เผาไปถงึ ทรพั ยส์ มบตั ขิ องเราดว้ ยทกุ ครง้ั ไป ฉะนน้ั จงึ ควรทจี่ ะรบี ฝังทรัพย์ของเราให้เป็น “อริยทรัพย์” เสีย เพื่อความปลอดภัย เหมือนกับเราฝากเงินไว้ในธนาคาร ทรัพย์น้ันก็จะเป็นสมบัติของ พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

22 บันทึกพระธรรมเทศนากัณฑ์ท่ี ๒ เราโดยแท้จริง ไม่สูญหายไปไหน การฝังทรัพย์นั้นก็ได้แก่การ ทำบุญกุศล มีการบริจาคทานวัตถุสิ่งของบูชาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น นี่คือการฝากทรัพย์ไว้ในธนาคาร ของพระศาสนา การฝากทรัพย์ไว้ในธนาคารของพระศาสนา จะส่งผลไป ให้แก่ผู้ทีล่ ว่ งลบั ได้อย่างไร? ตัวอย่าง สมมุติวา่ บิดา มารดาของ เราไปตั้งบ้านเรือนอยู่ต่างประเทศ เราจะไปหาก็ไปไม่ได้ ท่านจะ มาหาเราก็มาไม่ได้ เมื่อเราคิดถึงท่าน เราก็ฝากสิ่งของเงินทอง ไปให้ท่านโดยไปรษณียภัณฑ์ มีใบรับจากเจ้าพนักงานเป็น หลักฐาน เพราะเงินในประเทศของเรานำไปใช้ในต่างประเทศ ไม่ได้ จำเป็นต้องแปรรูปให้เป็นเงินต่างประเทศเสียก่อนจึงจะ ใช้ได้ โลกียทรัพย์ท้ังหลายในโลกนี้ย่อมนำไปใช้ในโลกหน้า ไมไ่ ด้ ฉะนน้ั จงึ จำเปน็ จะตอ้ งแปรรปู ใหเ้ กดิ เปน็ กศุ ลเสยี กอ่ น แล้วอุทิศไปให้แก่ผู้ล่วงลับไปในโลกหน้า ถ้าเขาหาตัวผู้รับ ไม่พบ หรือส่งไม่ถึง เจ้าพนักงานเขาก็จะต้องส่งกลับคืนให้เรา ฉันใดก็ดี บุญกุศลที่เราได้บำเพ็ญไปนี้ พระสงฆ์ท่านเป็นเจ้า หน้าที่รับไว้แล้วท่านก็สวดมนต์ให้ศีลให้พรแก่เรา และอุทิศส่วน กุศลนั้นๆ ไปให้บิดามารดา หรือญาติพี่น้องของเราที่ล่วงลับไป แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 23 แล้วอีกตอ่ หนึ่ง ถ้าหากผู้รบั ไมส่ ามารถจะรับได้ บุญกศุ ลน้ันๆ ก็ จะย้อนกลบั มาหาเรา หาได้สาบสูญไปไหนไม ่ การบำเพ็ญบุญกุศลย่อมเกิดจากทางกาย ทางวาจา และ ทางใจของเรา ทางกาย วาจา นับเป็นกุศลส่วนหยาบ และส่วน กลาง ไดแ้ กก่ ารบำเพญ็ ศลี และ ทาน เปน็ ตน้ สว่ นทลี่ ะเอยี ดนน้ั คือการบำเพ็ญกุศลทางใจได้แก่ ภาวนา เพราะฉะนั้น เรื่องของ จติ ใจจงึ เปน็ สงิ่ สำคญั ทสี่ ดุ ทเี่ ราจำเปน็ จะตอ้ งเรยี นรใู้ หเ้ ขา้ ใจดว้ ย เรื่องของจิตใจมีอยู่ ๒ อย่างคือ จิตเกิด - จิตตาย อย่างหนึ่ง และ จิตไมเ่ กิด - จิตไม่ตาย อยา่ งหนึ่ง ถ้าจิตเข้าไป หลง ใน “สังขาร” ท้ังหลายกย็ อ่ มเกิด – ตาย เป็นธรรมดา จิตที่ เข้าไป รแู้ จง้ เห็นจริง ใน “สงั ขาร” ท้ังหลาย ทำความปลอ่ ยวาง เสียได้ ย่อมไมเ่ กิดและไมต่ าย ถ้าเราปรารถนาที่จะพ้นทุกข์ คือ ไม่เกิดและไม่ตาย เรา กจ็ ะตอ้ งศกึ ษาเรยี นรใู้ นเรอื่ งความเปน็ จรงิ ของ “สงั ขาร” ทง้ั หลาย ให้เข้าใจเสียก่อน พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

24 บันทึกพระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๒ คำวา่ “สงั ขาร” น้ัน ตามความเป็นจริงของโลก มี ๒ ชนิด คือ “สังขารโลก” กับ “สังขารธรรม” ทั้งสองนี้ย่อมเป็นไป ตามความเป็นจริงท้ังสิ้น แต่ก็เปน็ ของเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป ทา่ น จึงกล่าวว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน ฯลฯ ซึ่งแปลความว่า “สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง” ฯลฯ เพราะ สังขารทั้ง ๒ ประเภทนี้มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรไปใน ท่ามกลาง และดับไปในที่สุด ถ้าผู้ใดเข้าไปกำหนดรู้แจ้งเห็นจริง ในสภาพอันนี้ ทำความระงับ รู้เท่าในสังขารทั้งหลายเหล่านี้ ก็ย่อมพ้นจากทุกขท์ ้ังปวงได้ “สงั ขารโลก” นน้ั เปน็ ของทเี่ ขาเสกสรรปน้ั ขน้ึ เชน่ ลาภ ยศ สขุ สรรเสรญิ เปน็ ตน้ สว่ น “สงั ขารธรรม” นน้ั ใครจะแตง่ หรอื ไมแ่ ตง่ กย็ อ่ มมเี สมอภาคกนั หมด คอื ธาตุ ขนั ธ์ อายตนะ นแ้ี หละ “สังขารโลกและสังขารธรรม” ถ้าจะเปรียบก็เหมือนไฟ สีสลับต่างๆ ที่ตามหน้าโรงหนัง มันวูบ วาบ เขียว แดง ขาว เหลือง ฯลฯ สลับสบั เปลี่ยนกันไปมา ตาของเราที่ไปมองดูกต็ ้อง เปลี่ยนไปด้วย ต้องส่ายไปตามมัน เหตุนั้นจึงเกิดการเข้าใจผิด ดวงจิตก็ไปเกาะอย่างเหนียวแน่นกับสังขารทั้งหลายเหล่านี้ เป็น แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 25 เหตแุ ห่งความยินดี ยินร้าย ในเมือ่ มนั มีความเปลีย่ นแปรไปเปน็ ดี เปน็ ชวั่ ดวงจติ ของเรากแ็ ปรเปลยี่ นไปตามมนั ดว้ ย ฉะนน้ั จงึ ตกอยู่ ในอนจิ จลกั ขณะ ทกุ ขลกั ขณะ และอนตั ตลกั ขณะ ทง้ั ๓ ประการน้ ี อนึ่ง “สังขาร” นี้มีอีก ๒ ประเภทคือ “สังขารมีใจ ครอง” อยา่ งหนึ่ง เชน่ คนหรือสัตว์ กับ “สงั ขารไมม่ ีใจครอง” อย่างหนึ่ง เช่น ต้นไม้ เป็นต้น แต่คำว่า “สังขาร ไม่มีใจครอง” นั้น อัตโนมัติยังไม่เห็นด้วย ตัวอย่างเช่น บันไดศาลานี้ ถ้าจะว่า ไม่มีใจครอง ใครลองไปทำลายมันดู จะเกิดเรื่องไหม? ที่นาก็ เหมอื นกนั เราลองลำ้ เขา้ ไปทำนาในเขตของคนอนื่ เขาดบู า้ ง หรอื ต้นไม้ ต้นกล้วย เงาะ ทเุ รียน ฯลฯ เขาปลกู ไว้ในสวน เราลองเอา มีดไปฟันดู เจ้าของเขาจะมาเอาเราเข้าตะรางหรือไม่ ? นี้จะว่า มันมีใจครองหรือไม่มีกล็ องคิดดู ทกุ สิ่งทกุ อย่างในโลกที่ความ ยึดถือเข้าไปถึง สิ่งน้ันจะต้องมีใจครองท้ังสิ้น เว้นแต่ดาว พระองั คาร ทรี่ ศั มขี องความยดึ ถอื ไปไมถ่ งึ กไ็ มม่ อี ะไรครอง สงั ขาร ทกุ อยา่ งมใี จครองทง้ั สน้ิ เวน้ แตพ่ ระอรหนั ตอ์ ยา่ งเดยี วเทา่ นน้ั ที่ไม่มีใจครอง เพราะจิตของท่านมิได้มีความยึดถือในสังขาร ทั้งหลายในโลกเลย พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

26 บันทึกพระธรรมเทศนากัณฑ์ท่ี ๒ ความยึดถือในสังขารทั้งหลาย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เพราะสงั ขารเปน็ ของไมเ่ ทยี่ งดงั กลา่ วมาแลว้ ดงั นนั้ ทำความ ปลอ่ ยวางเสยี ได้ ไมย่ ดึ ถอื ในสงั ขารทงั้ หลายจงึ เปน็ ความสขุ เรยี กวา่ “ความสขุ ในทางธรรม” คอื เปน็ ความสขุ ทสี่ งบเยน็ , มนั่ คง, ไม่เปลีย่ นแปร ความสขุ ของโลกนน้ั ไมผ่ ดิ อะไรกบั การนงั่ เกา้ อ้ี ถา้ เกา้ อม้ี นั ไมไ่ หวนนั่ แหละจงึ จะมคี วามสขุ การไหวในทางใจนม้ี อี ยู่ ๒ อยา่ ง คอื ไหวไปตามธรรมชาตอิ ยา่ งหนงึ่ ไหวไปโดยวบิ ากกรรมอยา่ งหนงึ่ ใจ ของเรานม้ี นั ไหววนั ละกคี่ รง้ั ? บางทกี ไ็ หวจากกรรม บางทกี ไ็ หวจาก วบิ าก แตม่ นั ไหวอยา่ งไหนเรากไ็ มท่ ราบ นแี่ หละเปน็ ตวั “อวชิ ชา” ความไม่รู้นี้จึงเปน็ เหตุให้เกิด “สังขาร” คือ “ความคิด” ขึ้น จิตที่ไหวหรือแปรไปโดยธรรมชาติก็ดี จิตที่ไหวหรือแปรไป โดยวิบากกรรมกด็ ี ท้ัง ๒ อยา่ งนี้ถ้าไหวไปด้วยดี ด้วยชอบกเ็ ปน็ บุญ ถ้าไหวไปในทางชั่วก็เป็นบาป การไหวนี้จึงมี ๒ อย่างคือ ไหวอย่าง “ผดู้ ี” กบั ไหวอย่าง “อนาถา” ไหวอย่าง “ผู้ดี” คือ ไหวไปในทางดีทางชอบ เป็นบุญเป็นกุศลก็เป็นสุข ไหวอย่าง “อนาถา” คือไหวไปในทางช่ัว ทางบาป อกุศล ก็เป็นทุกข์ แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 27 เหล่านี้ก็เนื่องมาแต่เรื่องของ “สงั ขาร” ท้ังสิ้น อีกสว่ นหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกนั ข้าม คือ “วิสงั ขาร” อะไร เปน็ ตวั “วสิ งั ขาร”? ความไมไ่ หว ความไมแ่ ปร ความไมด่ บั นแี่ หละ เป็นตัว “วิสังขาร” สังขารแปร ใจของเราไม่แปร, สังขารทุกข์ ใจของเราไม่ทุกข์, สังขารไม่เที่ยง ใจของเราเที่ยง, สังขารเป็น อนตั ตา ใจของเราไมเ่ ปน็ อนตั ตา, สงั ขารไมม่ ใี จครอง นน่ั แหละ เป็นตัววิสังขาร เมื่อสังขารส่วนมีโทษหมดไป สังขารส่วนที่มี คณุ ก็ปรากฏ เพราะฉะน้ัน ใจของเราอยา่ ไปยึดถือท้ังสงั ขารโลก และสังขารธรรม ส่วนใดที่ช่ัวเราต้องยอมเสียสละ ส่วนใดที่ดีก็ เป็นบารมีของโลก ทกี่ ลา่ วมาทง้ั หมดนท้ี า่ นเรยี กวา่ “ปรมตั ถธรรม” “ปรมตั ถ ธรรม” เป็นเรือ่ งของจิตใจ ทา่ นกลา่ วว่า ๑. เปน็ ของสงู ๒. เป็น ของละเอียด ๓. เปน็ ของรีบด่วน ๑. ทวี่ า่ เปน็ ของสงู นน้ั กค็ อื ถา้ ใครไมม่ ปี ญั ญากไ็ มส่ ามารถ เอื้อมถึง ของสูงเป็นของมีค่า เพราะธรรมดาดอกไม้สูง ย่อม สะอาดกว่าต้นหญ้า พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

28 บันทึกพระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๒ ๒. ที่ว่าเป็นของละเอียด ก็คือ เป็นของที่มองเห็นได้ยาก ถ้าใครไม่มีดวงตาจริงๆ กย็ อ่ มมองไมเ่ ห็น ๓. ที่วา่ เปน็ ของรีบดว่ น ก็เพราะว่าคนทีจ่ วนจะตายรอมร่อ น่ันแหละ จึงมกั จะกล่าวกันในเรือ่ งปรมัตถ ์ ทั้ง ๓ ประการนี้รวมเรียกว่า “ปรมัตถธรรม” (ข้อ ๑ ที่ว่าเป็นของสูง กล่าวโดยปุคคลาธิษฐานตาม คัมภีร์กไ็ ด้แก่ อายตนะ มีตา หู จมูก ลิ้น เป็นต้น ซึง่ มีอยูใ่ นสว่ น สงู ตั้งแต่คอถึงศีรษะ กล่าวโดยพระสูตรกไ็ ด้แก่ขนั ธ์ ๕) โดยมาก คนเรารับรู้กันแต่วิชาของครูทั้ง ๖ วิชาความรู้ ของครูทั้ง ๖ นี้ คือ รู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นที่มา แห่งความผันแปรไม่แน่นอน เป็นทุกข์ เป็นตัว “อวิชชา” และ “สงั ขาร” ฉะนน้ั จงพากนั ปดิ อายตนะเหลา่ นเ้ี สยี เพราะ “สงั ขาร” กับ “สงั ขาร” ยอ่ มมองไม่เห็นกัน ต้องอยตู่ รงกนั ข้าม จึงจะมอง เห็นได้ เมื่อจิตมีวิชาความรู้เกิดขึ้นในญาณจักขุ จึงจะมองเห็น ความไมเ่ ที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเรามีความรู้ในญาณจกั ขุ แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 29 เรากอ็ าจจะไปถึงสมเด็จได้ในวันนี้ ขณะนี้ ทุกคนเกิดมาย่อมต้องการความสุข ความสุขนี้ก็มีอยู่ ๒ อย่างคือ “โลกิยสุข” กับ “โลกุตตรสุข” โลกิยสุขเกิดจาก “สงั ขารโลก” โลกตุ ตรสขุ เกิดจาก “สงั ขารธรรม” ถึงอย่างน้ันก็ อยู่ในความไม่แน่นอน ฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่ควรสนใจศึกษา และ ปฏบิ ตั ใิ หร้ แู้ จง้ เหน็ จรงิ ตามความเปน็ จรงิ ของ “สงั ขาร” ทง้ั หลาย ก็จกั ได้พบความสขุ อนั ปราศจากอามิส ดังแสดงมาในสังเวคกถา ด้วยประการฉะนี้ หมายเหตุ :- พระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ เดิมทีไมค่ ิดจะพิมพ์ เพราะบนั ทกึ ไวไ้ มส่ มบรู ณ์ ใจความขาดตกบกพรอ่ งไมค่ อ่ ยตดิ ตอ่ กัน เกรงว่าจะผิดพลาดมาก ทั้งท่านอาจารย์ก็ไปวิเวกเสีย ไม่มี โอกาสที่จะถวายให้ตรวจแก้ได้ แต่ก็บังเอิญท่านกลับมาถึงเมื่อ ยังมีเวลาเหลือเพียงเล็กน้อย จึงได้รีบส่งต้นฉบับไปถวาย ฉะนั้น พระธรรมเทศนาซึ่งควรจะพิมพ์เป็นกัณฑ์ต้นนี้ จึงต้องกลับมา พิมพ์เปน็ กัณฑ์ที่ ๒-อ. พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร



พระธรรมเทศนาในวันวสิ าขบูชา อโศการาม ๒๔ พ.ค. ๒๔๙๙ นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมมฺ าสมฺพุทธฺ สฺส ปูชา จ ปชู นียานํ เอตมฺมงฺคลมตุ ฺตมนตฺ ิ ณ โอกาสนี้จักได้แสดงธรรมีกถา พรรณนาในศาสนธรรม คำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันจะเป็นเครื่อง ประดับสติปัญญาของพวกเราทั้งหลาย ที่ได้มาประชุมกันสดับ ตรับฟังในวันนี้ ได้น้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อเป็นเหตุให้ พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

32 พระธรรมเทศนาในวันวิสาขบูชา สำเร็จประโยชน์ในธรรมสวนมัย วันวิสาขบูชา ซึ่งนับว่าเป็นวัน ที่สำคัญอย่างยิ่ง ในทางพระพุทธศาสนานี้ ก็คือ เป็นวันที่ พระพทุ ธเจ้าของเราได้ทรงอุบตั ิบงั เกิดมาในโลก ทีเ่ ราเรียกวา่ วัน ประสูตินั้นอย่างหนึ่ง กับเป็นวันที่พระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตร สัมมาสัมโพธิญาณด้วยพระองค์เองอย่างหนึ่ง และทั้งเป็นวันที่ พระองค์ได้เสด็จดบั ขนั ธปรินิพพาน คือ ตาย ด้วย ท้ัง ๓ กาลนี้ ปกติก็ตรงกับวนั เพ็ญกลางเดือน ๖ ซึง่ ดาววิสาขฤกษไ์ ด้โคจรมา ถึงพอดี ดังนั้น จึงได้ชื่อว่า “วันวิสาขบูชา” เมื่อโอกาสอัน สำคัญเช่นนี้ ได้เวียนมาถึงคราวใด พวกเราเหล่าพุทธบริษัท ก็พากันมากระทำพิธีกราบไหว้สักการบูชา เพื่อเป็นการระลึกถึง พระคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีการเสียสละในกิจ ส่วนตัวมาบำเพ็ญการกุศล ได้แก่ การรักษาศีล ฟังธรรม และ ให้ทาน เป็นต้น อย่างนี้เราเรียกว่าเป็นการบชู าคณุ พระรตั นตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ในส่วนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ถ้าจะเปรียบ ก็เหมือนกับ “พ่อ” ของเรา พระธรรมของพระองค์ก็เปรียบ เหมือน “แม่” เพราะเป็นผู้ให้กำเนิดความรู้แก่พวกเราในทาง พระพุทธศาสนา ขณะนี้พ่อของเราก็ได้ตายไปแล้ว เหลือแต่แม่ แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 33 ของเรายังดำรงอยู่ ท่านเป็นผู้ปกปักรักษาคุ้มครองเราทั้งหลาย ให้ได้รับความสุขร่มเย็นเป็นอิสรภาพสืบมาจนทุกวันนี้ จึงนับว่า ท่านได้มีพระคุณแก่พวกเราเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเราจะต้องตอบแทน พระคุณของท่านให้สมกับความเป็นลูกด้วย ตามธรรมดาคนเรา นั้น ถ้าบิดามารดาตาย เขาก็จะต้องพากันเศร้าโศก มีการร้องไห้ คร่ำครวญและแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำเป็นต้น เพื่อเป็นการไว้ ทกุ ขใ์ ห้แก่ทา่ น แต่สำหรับวนั วิสาขบูชา ซึง่ เปน็ วนั ที่ พ่อ ของเรา คือ พระพุทธเจ้า ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานนี้ พวกเราก็พากัน มาแสดงความไว้ทุกข์ให้กับท่านเหมือนกัน แต่เป็นการไว้ทุกข์ คนละอย่าง การไว้ทุกข์อย่างที่พวกเราได้กระทำกันนี้ ก็คือ ปากของเราแทนที่จะร้องไห้ เราก็พากันมานั่งสวดมนต์ภาวนา กลา่ วรำพนั ถงึ พระคณุ ของพระพทุ ธเจา้ พระธรรม และพระสงฆ,์ ร่างกายของเราแทนที่จะตกแต่งประดับประดาด้วยเครื่องหอม และเพชรนิลจินดา สวยๆ งามๆ เราก็ไม่แต่ง ที่นอนเบาะฟูกอัน ออ่ นนมุ่ ซงึ่ เราเคยชอบนอนดว้ ยความเปน็ สขุ เรากไ็ มน่ อน อาหาร ที่เราเคยกินได้ตามใจชอบวันละ ๓ เวลา ๔ เวลา เราก็กินให้ น้อยลงเหลือเพียง ๒ เวลา หรือเวลาเดียว เราต้องเสียสละ ความสุขต่างๆ อันเคยชินกับนิสัยของเราเหล่านี้ จึงจะเรียกว่า เป็นการไว้ทกุ ขถ์ วายแดพ่ ระพทุ ธเจ้า คือ พอ่ ของเราจริงๆ พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

34 พระธรรมเทศนาในวันวิสาขบูชา นอกจากนี้เราก็มีดอกไม้ ธูปเทียน และวัตถุสิ่งของต่างๆ นำมาเคารพสักการะใน พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์อีก ซึ่งเราเรียกกันว่า “อามิสบูชา” อย่างนี้เป็นการปฏิบัติทางกาย วาจา ภายนอก ได้แก่ “ทาน” และ “ศีล” เป็นต้น แตก่ ็ยังไมจ่ ดั ว่าเป็นการบูชาอย่างดีเลิศ การบูชาอีกชนิดหนึ่ง คือ “ปฏิบัติ บูชา” เป็นการบูชาอย่างดีเลิศ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ เป็นอยา่ งยิง่ เรียกวา่ “ภาวนา” ได้แก่ การปฏิบตั ิจิตใจของตน ใหต้ ง้ั มนั่ อยใู่ นความดภี ายใน โดยไมต่ อ้ งเกยี่ วดว้ ยวตั ถสุ งิ่ ของ ภายนอกเลย นีแ่ หละเป็นจุดสำคญั ยิ่ง ทีพ่ ระองค์ทรงปรารถนา ให้พวกเราได้กระทำกันเป็นอย่างมาก เพราะการปฏิบัติโดยวิธีนี้ ได้ทำให้พระองค์บรรลุคุณธรรมอันสูงสุด จนได้สำเร็จเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสาวกทั้งหลายของพระองค์ ก็ได้สำเรจ็ เปน็ พระอรหนั ต์มามากแล้ว ดังน้ัน เราทกุ คนจึงควรที่ จะต้องสนใจและตั้งใจกระทำตาม เพื่อดำเนินตามรอยของพ่อ แมท่ ีไ่ ด้กระทำไว้ให้ดูเปน็ ตัวอยา่ งนั้น เราก็จะได้ชื่อวา่ เปน็ ลกู ทีด่ ี มีกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา เพราะเชื่อฟัง และประพฤติตาม โอวาทคำสั่งสอนของทา่ นที่ให้ไว้ แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 35 มงคลคาถาที่ยกมาไว้ในเบื้องต้นว่า “ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺ มงฺคลมุตฺตมํ” น้ัน แปลความว่า “การบูชาซึ่งสิ่งที่ ควรบชู า เป็นมงคลอย่างยิง่ ” การบชู านี้มีอยู่ ๒ อย่าง ตามที่ ไดก้ ลา่ วมาแลว้ คอื “อามสิ บชู า” กบั “ปฏบิ ตั บิ ชู า” และ การบชู า ทั้งสองประเภทนี้ บุคคลก็ยังมีความมุ่งหมายไปในประโยชน์สุข เป็น ๒ ประการอีก คือ ปฏิบัติเพื่อความเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งเปน็ ความสุขอยู่ในโลกอยา่ งหนึง่ เรียกว่า “วฏั ฏคามินีกุศล” เช่น รักษาศีล ก็เพื่อจะให้ได้ไปเกิดเป็นคนมีรูปสวยรูปงาม หรอื ใหเ้ ปน็ เทวบตุ รนางฟา้ ในสวรรคบ์ า้ ง ทำทานกเ็ พอื่ จะไดไ้ มย่ าก ไม่จน ได้ไปเกิดเป็นคนม่ังมี เป็นเศรษฐี เป็นพระราชา เป็นต้น กุศลอย่างนี้เขาก็จะต้องได้เพียงมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ วนเวียนอยู่ในโลกไม่ไปไหน อีกประการหนึ่ง ปฏิบัติเพื่อความ พน้ ทกุ ข์ ไมต่ อ้ งกลบั มาเวยี นวา่ ย ตาย เกดิ อยใู่ นโลกอกี เรยี กวา่ “วิวัฏฏคามินีกศุ ล” พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

36 พระธรรมเทศนาในวันวิสาขบูชา จุดมุ่งหมายของผู้ปฏิบัติก็เพื่อต้องการความสุข แต่เป็น ความสุขในโลกอย่างหนึ่ง กับความสุขเหนือโลก หรือพ้นโลก อยา่ งหนงึ่ การปฏบิ ตั เิ พอื่ บชู าคณุ พระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆน์ ้ี ไม่ใช่ว่าเราจะต้องเอาผลของการปฏิบัติของเราไปผลักดันให้ ทานเลิศลอย แท้จริงนั้นเป็นการกระทำคุณความดีให้แก่ตัวของ เราเองต่างหาก ฉะน้ัน การที่จะแสวงหาคุณความดีให้แกต่ วั ของ เราเองนี้ ก็จำเป็นจะต้องมีคติอีกข้อหนึ่ง ตามที่ท่านได้สอนไว้ ด้วยว่า “อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา” ซึ่ง แปลความวา่ “อยา่ สอ้ งเสพคบหากบั คนพาล ใหค้ บแตน่ กั ปราชญ์ บัณฑิต จึงจะเป็นมงคล และนำความสขุ มาให้” ลกั ษณะของคน พาลนั้น ก็คือ คนที่มีจิตใจและความประพฤติชวั่ ร้าย เช่น ทำช่วั ทางกาย มีการฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์, ล่วงกาม, พูดปด, มักพูด ส่อเสียด, มักพูดสับปลับ กลับกลอกหลอกลวงคนอื่น ให้เกิด เป็นข้าศึกศัตรูแก่หมู่คนดีเขา น่ันแหละชื่อว่าคนพาล ถ้าเราคบ บุคคลประเภทนี้ ก็เท่ากับให้เขาจูงเราเข้าไปในถ้ำ ซึ่งมีแต่จะพบ กับความมืดอย่างเดียว ยิ่งเข้าไปลึกเท่าไรก็ยิ่งมืดมากขึ้น จนหา แสงสวา่ งไมพ่ บ ไมม่ ที างออก เรายงิ่ คบคนพาลคนเลวมากเทา่ ไร เราก็จะต้องโง่มากขึ้นทุกที และมีแต่ทางไหลไปสู่กระแสของ แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 37 ความทุกข์ถ่ายเดียว ถ้าเราคบกับท่านที่เป็นนักปราชญ์บัณฑิต ทา่ นกจ็ ะนำเราไปสแู่ สงสวา่ ง ซงึ่ ทำให้เราเกิดสตปิ ญั ญามีความรู้ เฉลียวฉลาดขึ้น มีดวงตามองเห็นสิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว สิ่งใดผิด สิ่งใดถูก เราก็จะมีหนทางช่วยตนเอง ให้หลุดรอดหนีไปจาก ความทุกข์ความยุ่งยากได้ และประสบแต่ความสุขความเจริญ เยือกเย็น เหตุนั้น ท่านจึงสอนให้คบหาสมาคมแต่กับบุคคลที่ดี ไมใ่ ห้คบคนชั่ว การคบคนชั่วทำให้เราได้รับความทุกข์เดือดร้อน คบคนดี ก็ทำให้เรามีความสุข และเป็นมงคลแก่ตัวเรา การทำมงคลนี้ไม่ จำกัดสถานที่ และเวลา เราทำมงคลที่ใดก็จะต้องได้รับมงคลใน ที่นั้น เราทำมงคลเวลาใด ก็ย่อมได้มงคลเวลานั้น เหตุนั้น เราก็ ควรจะทำแต่ความเป็นมงคลทุกขณะ ทุกเวลา และทุกสถานที่ เพือ่ เปน็ สวัสดิมงคลและสวัสดิภาพแกต่ ัวของเราเอง การบูชาสิ่ง ที่ควรบูชาด้วย “อามิส” ก็ดี หรือบูชาด้วย “การปฏิบัติ” ก็ดี ยอ่ มจดั วา่ เปน็ สงิ่ ทนี่ ำความเปน็ มงคลมาใหแ้ กต่ วั เรา ทง้ั ๒ อยา่ ง และเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุขด้วย ความสุขที่เป็นไปในโลก อนั เนอื่ งดว้ ยบคุ คล และวตั ถภุ ายนอกนน้ั จะตอ้ งมกี าร เวยี นวา่ ย พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

38 พระธรรมเทศนาในวันวิสาขบูชา ตาย เกิด อยูเ่ สมอไป แตค่ วามสุขที่เปน็ ไปในธรรม เปน็ ความสขุ ภายในอนั เนอื่ งดว้ ยจติ ใจ เปน็ ความพน้ ทกุ ขท์ จี่ ะไมต่ อ้ งเวยี นกลบั มาเกิดในโลกอีก ทั้งสองอย่างนี้ก็เนื่องมาจากผลแห่งการกระทำใน “อามิส บูชา” และ “ปฏิบัติบูชา” นี่แหละ ที่จะทำให้เรามาเกิดอีกก็ได้ และทำให้เราไม่มาเกิดอีกก็ได้ แต่ผิดกันอยู่นิดเดียวเท่าน้ัน ที่เราจะต้องการให้มาเกิดหรือไม่ต้องการให้มาเกิด ถ้าเรา ทำเหตุยาว ผลที่ได้รับก็ยาว ถ้าเราทำเหตุสั้น ผลที่ได้รับก็สั้น ผลยาว คือการก่อชาติก่อภพไม่มีที่สิ้นสุด ได้แก่ดวงจิตที่มิได้ ขดั เกลากเิ ลส มตี ณั หาอปุ าทานความยดึ ถอื เขา้ ไปตดิ อยใู่ นความดี ความช่ัวแห่งการกระทำของบุคคล และวตั ถสุ ิ่งของตา่ งๆ ทีม่ ีอยู่ ในโลก อย่างนี้ เมื่อตายไปแล้ว ก็จะต้องกลับมาเกิดในโลกอีก การทำเหตุสั้น คือการตัดชาติทำลายภพ ไม่สร้างขึ้นอีก ได้แก่ จิตที่มีการขัดเกลาชำระกิเลส อันเกิดขึ้นในตนเอง หม่ันตรวจ ตราโทษ และความเศร้าหมองที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เป็นอารมณ์ และ กัมมัฏฐาน ๔๐ ห้อง ตามที่ท่านกำหนดไว้ ทำความรู้เท่าทันใน สังขารที่เป็นไปตามสภาพธรรม คือ มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 39 เสอื่ มสลายไป ระลกึ สน้ั ๆ แคต่ วั ของเรา รา่ งกายของเรา แตศ่ รี ษะ จรดปลายเท้า ไม่เข้าไปติดไปยึดถืออยู่ในการกระทำดีกระทำชั่ว ของบุคคล และวัตถุสิ่งของใดๆ ทั้งหมดในโลก หาสถานทตี่ งั้ ของดวงจติ ใหม้ นั่ คง แนว่ แนอ่ ยภู่ ายในตวั ของเราเองแหง่ เดยี ว และไม่ยึดถือ แมแ้ ตร่ า่ งกายของเราด้วย เชน่ นี้เมื่อเราตายไป ก็จักไมต่ ้องเวียนกลับมาเกิดในโลกอีก การกระทำ “อามิสบูชา” กด็ ี หรือ “ปฏิบตั ิบูชา” กด็ ี ถ้า เรายกสถานที่ตั้งของจิตดึงออกไปไว้ในการกระทำนั้นๆ คือ เขา้ ไปยนิ ดพี อใจตดิ อยใู่ นการกระทำดขี องเรา มที าน และศลี เป็นต้น ก็เป็น “วัฏฏคามินีกุศล” จิตของเราจะไม่เป็นอิสรภาพ จะต้องตกเป็นทาสของการกระทำนั้นๆ สิ่งนั้นๆ และอารมณ์ นั้นๆ นี่เป็นเหตุยาว อันทำให้เราจะต้องเวียนกลับมาเกิดอีก ถ้า เรายกเอาผลของการกระทำดี ในทานและศลี ดงึ เขา้ มารวม ไวใ้ นสถานที่ต้งั ของจิต ใหม้ นั หลบซ่อนอย่ภู ายใน ไมย่ อมให้ จิตของเราวิ่งออกไปสู่เหตุภายนอกได้ ก็จะทำให้ชาติภพของ เราสั้นเข้า ไม่ต้องเวียนกลับมาเกิด นี่เป็น “วิวัฏฏคามินีกุศล” ข้อทีผ่ ิดกันในเหตุสองอย่างมีอยู่ดังนี้ พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

40 พระธรรมเทศนาในวันวิสาขบูชา ดวงจิตของคนเรา เปรียบเหมือนผลมะตูม เมื่อมันสุกงอม เตม็ ทแี่ ลว้ มนั จะอยบู่ นตน้ ตอ่ ไปอกี ไมไ่ ด้ จะตอ้ งรว่ งหลน่ ลงมายัง พื้นล่าง และแตกแยกจมลงไปในดิน ครั้นแล้ว เมื่อถูกอากาศ และความชื้นแฉะเข้าจนได้ส่วน เมล็ดของมันจะค่อยๆ งอกออก เป็นลำต้น เป็นกิง่ เปน็ ต้น เปน็ ใบ เป็นดอก และเปน็ ผลมะตูมอีก เหมือนพืชพันธุ์เดิมของมัน แล้วในที่สุดเมื่อแก่จัดก็ตกลงมายัง พื้นดิน และงอกเป็นต้นใหม่อีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่สูญหายไป ไหน ถ้าเราไม่ตัดเชื้อเมล็ดของมันให้หมดยางที่จะเพาะได้แล้ว มันก็จะต้องสืบพืชพันธุ์ของมันอยู่เช่นนี้เรื่อยไป ช่ัวกัลปาวสาน ดวงจิตของบุคคลที่ต้องการจะพ้นทุกข์ ไม่เวียนกลับมาเกิด อกี กจ็ ะตอ้ งทำใหม้ นั หลดุ กระเดน็ ออกไปจากโลก ไมใ่ หเ้ ปน็ เหมือนผลมะตูมที่ตกลงมายังพื้นแผ่นดิน เมื่อจิตกระเด็น ออกไปนอกโลกแล้ว มันก็ย่อมจะหาสถานที่รองรับอันจะ ทำใหเ้ กิดอีกไม่ได้ ดวงจิตนน้ั กจ็ ะลอยตัวอย่เู ปน็ อิสระเตม็ ที่ หมดความยึดถือใดๆ แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 41 คำว่า “อิสระ” คือ ความเป็นใหญ่ จิตที่มีอิสรภาพ คือมี ความเป็นใหญ่ในตัวของมันเอง ไม่ขึ้นแก่ใคร และไม่ตกเป็นทาส ของสิ่งใดๆ คนเราก็มีจิตกับกายเป็นของคู่กัน กายไม่ใช่ของ สำคัญนัก เพราะไม่ใช่ของถาวร เมื่อร่างกายตาย ธาตุทั้งสี่ซึ่ง ประกอบด้วย ดิน น้ำ ไฟ ลม เหลา่ นี้ ก็แตกสลายไปสู่สภาพเดิม ของมัน ส่วนจิตเป็นของสำคัญ เพราะเป็นสิ่งถาวร เป็นตัวธาตุ แท้ที่อาศัยอยู่ในรูปกาย เป็นตัวก่อชาติก่อภพ เป็นตัวเสวยสุข เสวยทุกข์มิได้แตกสลายไปตามร่างกายด้วย ย่อมมีอยู่ตั้งอยู่ใน โลก แต่เป็นสิ่งอัศจรรย์ที่มองไม่เห็น เหมือนกับไฟเทียนหรือ ตะเกียงที่เราจุดไว้ เมื่อเทียนดับแล้วไฟก็ยังคงมีอยู่แต่ไม่ปรากฏ แสง ต่อเมื่อเราจุดเล่มใหม่ขึ้นเมื่อใด แสงไฟก็จะมาปรากฏขึ้น เมอื่ นน้ั รา่ งกาย มธี าตุ ขนั ธ์ อายตนะ อาการ ๓๒ กบั จติ ซงึ่ เปน็ ตัวรู้นี้ เมื่อเราย่อลงให้สั้นก็มีเพียง รูป กับ นาม รูป คือ กาย ที่ประกอบด้วยธาตุ ๔ นามคือ จิต ซึ่งเป็นผู้อาศัย เป็นตัวธาตุ กายสิทธิ ์ พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

42 พระธรรมเทศนาในวันวิสาขบูชา การที่จะทำชาติภพของเราให้สั้น กค็ ือให้ระลึกอยแู่ ต่ นาม กับ รูป ๒ สิ่งนี้ ให้เปน็ ปจั จุบนั ธรรมวา่ รปู รา่ งกายนี้มีชีวิตอยู่ได้ ด้วยอะไร มีได้ด้วยอาศัยลมหายใจ ฉะนั้น ลมหายใจก็เป็นสิ่ง สำคัญยิ่งของชีวิต ถ้าลมหายใจหยุดเมื่อใด เราก็ต้องตาย ลม เข้าไมอ่ อก กต็ าย ลมออกไมเ่ ข้า ก็ตาย นึกอยูแ่ ตล่ มหายใจอย่าง นี้ให้เสมอทกุ ขณะ ทกุ เวลา ไม่วา่ จะ นงั่ นอน ยืน เดิน ไม่ปลอ่ ย ให้หายใจทิ้งไปเปล่า คนที่ไม่รู้ลมหายใจของตนเอง เรียกว่า “คนตาย” คือคนที่ขาดสติ มีความประมาท ก็ยอ่ มเป็นทางแหง่ ความชว่ั รา้ ยและอนั ตรายเขา้ มาถงึ เราจะตอ้ งไมป่ ลอ่ ยใหจ้ ติ ของ เราออกไปติดอยู่ในอารมณ์ภายนอก คือ สัญญา อดีต อนาคต ทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี ให้รู้เฉพาะอยู่แต่ปัจจุบัน คือ ลมหายใจ เขา้ ออกอยา่ งเดยี ว ทเี่ รยี กวา่ “เอกคั คตารมณ”์ ไมใ่ หใ้ จวอกแวก ไปในสญั ญาอารมณอ์ ืน่ ใดเลย สติของเรากจ็ ะตั้งมัน่ อยู่ในความรู้ ดวงจิตก็จะเกิดกำลังกล้าแข็งที่จะตอ่ ต้านกบั อารมณต์ า่ งๆ ทีเ่ ข้า มากระทบ ให้เกิดความรู้สึกดี ไม่ดี ชอบ ไม่ชอบ อันเป็นตัว นิวรณ์ที่จะมาทำให้ดวงจิตของเราเศร้าหมอง แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 43 เราต้องทำความรู้อยู่เฉพาะปัจจุบันอย่างเดียว ทำความรู้ เท่าทันในอารมณ์ที่เกิดดับ ปล่อยวางทั้งดีและชั่วไม่ยึดถือ จิตที่ เพ่งเฉพาะอยู่แต่ในอารมณ์อันเดียวนี้ก็จะเกิดเป็นสมาธิ จนเป็น ญาณจกั ขขุ ึ้น มีหูทิพย์ ตาทิพย์ มองเห็นเหตกุ ารณ์ อดีต อนาคต ทั้งใกล้และไกล มีบุพเพนิวาสญาณ รู้กรรมในอดีตชาติ รู้การ เกิด การตาย การมา การไป ของตวั เอง และบุคคลอืน่ สตั ว์อืน่ ว่าเกิดมาแต่กรรมดี กรรมชั่วอย่างใด เป็นเหตุทำให้เราเกิด ความสลดสังเวช เบื่อหน่าย ในชาติภพ และตัดกรรมที่จะไม่ให้ เราคิดกระทำความชั่วอีกได้ ความเบื่อหน่ายอันนี้เป็นของมีคุณ ไม่ใช่เป็นของมีโทษเหมือนเบื่อเมา เบื่อเมานั้นมีลักษณะเหมือน กับคนที่กินข้าวอิ่มแล้ววันนี้ ก็รู้สึกเบื่อไม่อยากกินอีก แต่พอวัน รงุ่ ขน้ึ กห็ ายเบอื่ และกลบั กนิ อกี ได้ สว่ นการเบอื่ หนา่ ยนน้ั เปน็ การ เบื่อที่เราจะไม่กลับยินดีทำในสิ่งนั้นอีก เช่นเราเห็นการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ เราก็ไม่อยากทำปัจจัยที่จะทำให้เราต้อง กลับมา เกิด แก่ เจบ็ ตาย อีก ดังนี้เป็นต้น พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

44 พระธรรมเทศนาในวันวิสาขบูชา ข้อสำคัญของผู้ปฏิบัติ ที่ต้องการจะพ้นทุกข์นั้น ก็คือ ความเพียร และอดทน เพราะการกระทำความดีทุกอย่าง ย่อมจะต้องมีอุปสรรคมาคอยทำลาย แม้แต่พระพุทธองค์ เมื่อ ทรงกระทำความเพียรอยู่ ก็ยังมีพวกพญามารตามมารบกวน เพื่อจะมิให้พระองค์ได้สำเร็จบรรลุในธรรม แต่พระองค์ก็มิได้ ทรงหวั่นไหว หรือ ท้อถอยละเลิกการกระทำของพระองค์เสีย ทรงใช้สัจจบารมีของพระองค์ขับไล่กิเลสมารต่างๆ เหล่านั้น จนพ่ายแพ้ไปสิ้น พระองค์ทรงยอมเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อต่อสู้กับ พวกพญามาร ด้วยน้ำพระทัยอันม่ันคงองอาจกล้าหาญ ดังนั้น ในที่สุดพระองค์ก็ทรงมีชัยชนะอย่างงดงามจนได้ตรัสรู้พระ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าของเราอยู่บัดนี้ นี่ เป็นตัวอย่างอันสำคัญที่ “พ่อ” ของเราได้กระทำไว้ให้ลูกดู ในเบื้องหลงั เหตุนั้น การที่พวกเราทั้งหลายพากันตั้งใจปฏิบัติจิตใจ กระทำคุณงามความดีนี้ ก็ย่อมจะต้องมีอุปสรรคและพวกมาร แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 45 มารบกวนเช่นเดียวกัน แต่เราก็ต้องฟันฝ่าต่อสู้จนสุดฝีมือ ด้วย ความอดทน ธรรมดาของดีนั้นก็ย่อมมีผู้อยากได้ เหมือนผลไม้ที่ สุกหวานก็ย่อมมีหนอน หรือแมลงมาคอยกิน คนที่เดินไปเฉยๆ ตัวเปล่า ไมม่ ีสิ่งของมีคา่ ติดตวั ไป หรือไมม่ ีสิง่ ทีจ่ ะนำความสนใจ ให้แก่ใคร เมื่อเดินผ่านไป คงไม่มีใครเพ่งเล็งมองดู แต่ถ้าเรามี ของมีค่าติดตัวไป ก็ย่อมมีผู้อยากได้ หรือ คอยแย่งชิงปองร้าย เหมือนกับ หมา หรือ แมว ที่มันกระโดดขึ้นตะครุบมือของเรา ถ้าเราไม่มีอาหารดีๆ ถืออยู่ในมือ มันก็คงไม่กระโดดขึ้นตะครุบ ฉันใดก็ดี ผู้ปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน เมื่อจะทำความดีก็ต้องต่อสู้กับ อุปสรรค จึงจะมีความสำเร็จ เราจะต้องทำดวงจิตของเราให้ กล้าแข็ง เหมือนกับเพชรหรือหิน ซึ่งใครจะนำไปเผาไฟก็ไม่ไหม้ แม้จะทุบแตกมันก็ยังคงแข็งแกร่งเป็นเพชรหรือหินอยู่นั่นเอง พระพุทธเจ้า ทรงกระทำดวงจิตของพระองค์ให้แข็งแกรง่ จนแม้ พระสรีรธาตุบางส่วนของพระองค์ก็ยังเผาไฟไม่ไหม้ ยังคงเป็น พระบรมสารีริกธาตุปรากฏให้เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ นี่ก็ด้วยอำนาจ แห่งความบริสุทธิ์ และสจั จะความจริงของพระองคน์ น่ั เอง พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

46 พระธรรมเทศนาในวันวิสาขบูชา เหตุนั้น เราทั้งหลายก็ควรจะพากันตั้งใจทำความบริสุทธิ์ ให้แก่ กาย และ จิต ของเรา จนเป็นธาตแุ ท้เผาไฟไมไ่ หม้ อย่าง พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้าน้ันบ้าง แม้จะทำไมไ่ ด้ก็ให้ เหมือนกับเมลด็ มะขามที่หุ้มอยูภ่ ายในฝักของมนั แม้จะมีตัวมอด มาเจาะกนิ เปลอื กและเนอ้ื จนหมดแลว้ แตม่ นั กย็ งั คงความแขง็ แกรง่ ของเมล็ดในของมนั ไว้ได้ สรุปความแล้วก็คือ การตัดชาติภพ คือ การรวมความรู้ ให้สั้นเข้า ต้องยกสถานที่ตั้งของจิตให้ปกั แน่นอยู่ภายในรา่ งกาย โดยไม่ยึดถืออาการกิริยาใดๆ ภายนอกเลย ปล่อยวางทุกสิ่งทุก อย่างที่เป็นไปโดยสภาพธรรม อันมีการเกิดดับและเสื่อมสลาย ไปตามธรรมดา กระทำดีก็ไม่ให้จิตวิ่งแล่นออกไปสู่ความดี ต้องใหผ้ ลของความดีแลน่ เข้ามาอยใู่ นจิต ดึงทุกสิง่ ทกุ อย่าง ให้มันหลบซ่อนเข้ามาอยู่ภายในดวงจิตของเรา ไม่ปล่อยให้ จิตแผ่ซ่านออกไปยินดียินร้ายกับผลของการกระทำ และ วัตถุภายนอก เหมือนกับผลมะตูมทีม่ ันเก็บ ลำต้น กิ่งก้าน และ ดอกใบของมันไว้ให้รวมคุดอยู่ภายในผลแห่งเดียว เมื่อตัดเชื้อ ภายนอกที่จะประสานต่อเชื่อมกบั เชื้อภายในของมันแล้ว มนั ก็จะ ไม่ขยายกิง่ ก้านให้แตกออกเปน็ ผลมะตูมอีกตอ่ ไป แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒

พระธ ร ร ม เท ศ น า บ น ห อ เขี ย ว 47 ผู้ใดกระทำได้ดังกล่าวมาแล้ว ก็จะเป็นการถวายบูชาแด่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราอย่างถูกต้อง ผู้นั้นก็จะได้ ถึงพร้อมด้วยความสวัสดิมงคล อันเป็นทางนำมาซึ่งความสุข ตลอดกาลเวลา ไดแ้ สดงมาในมงคลคาถาใหเ้ ปน็ การเจรญิ ปญั ญา แห่งพวกเราทั้งหลาย ที่จะน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ เพือ่ สักการ บชู าในองคส์ มเดจ็ พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ พระธรรม และพระสงฆ์ ในวนั วิสาขบชู านี้ ก็พอสมควรแก่กาลเวลา เอวํ กม็ ีด้วยประการ ฉะนี้ พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร



พระธรรมเทศนากัณฑส์ ดุ ท้าย คดั จากหนงั สอื “สมบัตแิ ห่งธรรม” ซ่งึ พมิ พ์แจกในงานพระราชทานเพลงิ ศพ คุณท้าวสัตยานรุ ักษ ์ วัน ๑ ฯ ๓ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ “คุณนาย ทองม้วน เซียสกุล” ได้มีกตัญญูกตเวทิตาจิตนิมนต์ พระสงฆ์ ๗ รูป มากระทำพิธีบังสุกุลเป็น ให้คุณท้าวสัตยานุ รักษ์ ณ บ้านเนกขมั ม์ ฯ และได้อาราธนาพระอาจารยล์ ี ธมฺมธโร แสดงพระธรรมเทศนาโปรดด้วย พระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ เป็น พ ร ะ อ า จ า ร ย์ ลี ธ มฺ ม ธ โร

50 พระธรรมเทศนากัณฑ์สุดท้าย กัณฑ์สุดท้าย ที่คุณท้าวสัตยา ฯ ได้นอนประนมมือสดับฟังด้วย ความสงบอยู่บนเตียงไข้ ตั้งแต่ต้นจนอวสาน เมื่อเทศนาจบแล้ว ขา้ พเจา้ ไดเ้ ขา้ ไปเรยี นกบั ทา่ นวา่ “ถา้ คณุ ปา้ ตาย, ดฉิ นั จะบนั ทกึ เทศน์กัณฑ์นี้ ไปพิมพ์แจกงานศพ” ท่านก็ยิ้มในหน้า, พยัก นิดหนึ่งแสดงความพอใจและถามข้าพเจ้าว่า “จำได้หมดหรือ เปล่า ?” ข้าพเจ้าเรียนตอบท่านว่า ไม่หมดแต่พอจำได้บ้าง แล้วท่านก็กำหนดใจความบางตอนมาพูดทวนกับข้าพเจ้าอีก รู้สึกว่าท่านได้มีความแช่มชื่นปีติและซาบซึ้งในรสของพระธรรม อยตู่ ลอดเวลา ฉะนน้ั ขา้ พเจา้ จงึ เรยี บเรยี งพระธรรมเทศนากณั ฑ์ นี้ขึ้นเท่าที่จำได้ ซึง่ มีใจความโดยย่อตามบาทพระคาถาว่า ดงั นี้ นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมมฺ าสมพฺ ุทธฺ สสฺ อายุโท พลโท ธโี รต ิ บดั นจ้ี ะไดแ้ สดงธรรมะขอ้ หนงึ่ อนั เปน็ คำสง่ั สอนของสมเดจ็ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ฟังสักเล็กน้อย เพื่อเป็นเครื่องส่งเสริม กำลงั กาย และกำลงั ใจ คนเรามชี วี ติ อยดู่ ว้ ยกำลงั กายและกำลงั ใจ ถ้าปราศจาก ๒ สิ่งนี้แล้ว ชีวิตก็จะดำรงอยไู่ ม่ได้ แนวทางปฏิบัติวิปัสสนา - กัมมัฏฐาน ๒


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook