Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Ltua.PanyaAobromSamathi

Ltua.PanyaAobromSamathi

Published by ชมรมกัลยาณธรรม, 2021-04-10 08:00:07

Description: Ltua.PanyaAobromSamathi

Search

Read the Text Version

ปญ ญาอบรมสมาธิ โดย พระธรรมวสิ ทุ ธมิ งคล ทา นอาจารยพระมหาบวั ญาณสมั ปน โน วัดปาบานตาด จังหวัดอดุ รธานี

ปญ ญาอบรมสมาธิ พระธรรมวสิ ทุ ธมิ งคล ทา นอาจารยพ ระมหาบัว ญาณสัมปนโน วดั ปาบานตาด จังหวัดอุดรธานี

ชมรมกัลยาณธรรม www.kanlayanatam.com หนังสือดอี ันดับที่ : ๒๑๖ ปญญาอบรมสมาธิ พระธรรมวิสทุ ธิมงคล ทานอาจารยพระมหาบัว ญาณสมั ปน โน พมิ พค รั้งที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๖ จำนวนพิมพ ๔,๐๐๐ เลม จดั พมิ พโดย ชมรมกัลยาณธรรม ๑๐๐ ถ.ประโคนชยั ต.ปากน้ำ อ.เมอื ง ปกและภาพ จ.สมทุ รปราการ ๑๐๒๗๐ รูปเลม โทรศพั ท ๐๒-๗๐๒-๗๓๕๓ และ ๐๒-๗๐๒-๙๖๒๔ แชม ราชพฤกษ พสิ ูจนอ กั ษร เกา พิมพท ่ี อ. จันทรา ทองเคียน และคณะ สำนกั พิมพก อนเมฆ โทรศพั ท ๐๘๙-๗๘๕-๓๖๕๐ สพั พทานัง ธัมมทานัง ชนิ าติ การใหธ้ รรมะเปน็ ทาน ยอ่ มชนะการใหท้ ัง้ ปวง

คำนำของชมรมกลั ยาณธรรม แกน แทข องพระพทธศาสนา คอื การปฏบิ ตั ทิ างจติ อนั ประกอบดว ยหวั ใจสำคญั คอื ศลี สมาธิ ปญ ญา และทางพน ทกุ ข กม็ ใิ ชจะศกึ ษาเกนิ กายเกินใจนีอ้ อกไป การเจรญิ จิตตภาวนานน้ั นอกจากศีลอันเปนพ้ืนฐานแลว อาจใชหลักปญญาอบรมสมาธิ หรือใชส มาธิอบรมปญ ญา แลว แตจ ริตนิสยั ของแตละทาน เรอ่ื ง เคลด็ ลบั แนวทางการปฏบิ ตั ติ า งๆ พอ แมค รบู าอาจารยไ ดเ มตตา ถา ยทอดใหท ุกทา นไดอาศยั เปนแผนท่นี ำทางมากมาย หนงั สอื ปญ ญาอบรมสมาธเิ ลม นี้ เปน ผลงานทางปญ ญา วมิ ตุ ติของทา นพระอาจารยมหาบวั ญาณสมั ปน โน (พระธรรม วิสุทธิมงคล) พอแมครูบาอาจารยผูเปนแบบอยางทางดำเนิน ผผู า นพน อยางบรสิ ทุ ธิ์หมดจด อยา งไมม ีใครเคลอื บแคลงสงสยั ชมรมกัลยาณธรรมเห็นวาเปนประโยชนตอการบำเพ็ญทางจิต มาก จงึ จดั พมิ พเ ปน ธรรมทาน หวงั วา จะเปน ประโยชนแ กผ เู ดนิ ตามมรรคทว่ั กนั ขอนอ มถวายมหากศุ ลมหาทานทางปญ ญานแ้ี ด พอแมค รูบาอาจารย ทา นพระอาจารยมหาบัว ญาณสมั ปน โน (พระธรรมวสิ ุทธิมงคล) ดวยเศียรเกลา ขอนอบนอมบชู าคุณแหง พระรตั นตรยั ชมรมกลั ยาณธรรม

การทำความเพยี รอยา กำหนดเวลา ใหก ำหนดสติ ถาสติเผลอเม่อื ใดก็รวู า ความเพยี รของเราขาดไปแลวเม่ือนัน้ เมื่อสตติ ั้งลงทต่ี รงไหน ยอมเปน ธรรมขนึ้ มาทตี่ รงนั้น ถาไมม ีสติแลว ก็จะไมเ ปน ธรรมทงั้ คืนทัง้ วัน พระธรรมวสิ ุทธิมงคล อาจารยพ ระมหาบัว ญาณสมั ปน โน

ปญญาอบรมสมาธิ โดย พระธรรมวิสทุ ธิมงคล ทานอาจารยพระมหาบวั ญาณสมั ปน โน วัดปา บานตาด จังหวดั อุดรธานี

ศลี ศลี เปน รัว้ กน้ั ความคะนองทางกาย วาจา มี ใจเปนผูรับผิดชอบในงานและผลของงานท่ีกายวาจาทำ ขึ้น คนท่ีไมมีศีลเปนเครื่องปองกันความคะนอง เปน ผูท่ีสังคมผูดีรังเกียจ ไมเปนท่ีไววางใจของสังคมทั่วไป แมจะเปนสังคมในวงราชการหรือสังคมใด ๆ ก็ตาม ถามีคนทุศีลไมมียางอายทางความประพฤติแฝงอยูใน สังคมและวงงานน้ัน ๆ แมแ ตคนเดียวหรอื ๒ คน แนที เดียวทีส่ งั คมและวงงานน้ัน ๆ จะตั้งอยเู ปน ปกแผนแนน หนาไมไดนาน จะตองถูกทำลายหรือบ่ันทอนจากคน

๗พระธรรมวสิ ทุ ธิมงคล (ทา นอาจารยพ ระมหาบวั ญาณสัมปนโน) ประเภทน้ันโดยทางใดก็ได ตามแตเ ขาจะมีโอกาสทำได ในเวลาที่สังคมน้ันเผลอตัว เชนเดียวกับอยูใกลอสรพิษ ตัวรายกาจ คอยแตจ ะขบกดั ในเวลาพลงั้ เผลอ ฉะนน้ั ศีล จึงเปนธรรมคุมครองโลกใหอยูเย็นเปนสุข ปราศจากความระแวงสงสัยอันเกิดแตความไมไวใจกัน ในทางทจี่ ะใหเ กดิ ความเดอื ดรอ นเสยี หาย นบั แตส ว นเลก็ นอยไปถึงสวนใหญ ซึ่งเปนสิ่งท่ใี คร ๆ ไมพึงปรารถนา ศีล มหี ลายประเภท นบั แต ศีล ๕ ศลี ๘ ศีล ๑๐ ถึงศีล ๒๒๗ ตามประเภทของบุคคลท่จี ะควรรักษา ใหเ หมาะแกเพศและวัยของตน เฉพาะศีล ๕ เปนศีลที่ จำเปน ทสี่ ดุ สำหรบั ฆราวาสผเู กย่ี วขอ งกบั สงั คมหลายชนั้ จึงควรมีศีลเปนเครอื่ งรับรองความบรสิ ทุ ธิ์ของตน และ รบั รองความบริสุทธข์ิ องกันและกนั ตอ สวนรวมที่เกย่ี ว แกผ ลไดเ สีย อันอาจเกดิ มีไดใ นวงงานและสงั คมทั่วไป คนมีศีล ๕ ประจำตน คนเดียวหรือ ๒ คนเขา ทำงานในวงงานหน่ึงงานใด จะเปนงานบริษทั หางรา น หรืองานรัฐบาลซึ่งเปนงานแผนดินก็ตาม จะเห็นไดวา คนมศี ีล ๕ เพยี งคนเดยี วหรือ ๒ คนน้ันจะไดร ับความ

๘ ปญญาอบรมสมาธิ นยิ มชมชอบ ความไวว างใจในกิจการตาง ๆ มกี ารเงิน เปนตน จากชุมนุมชนในวงงานนั้น ๆ เปนอยางดีย่ิง ตลอดเวลาที่เขายังอยู หรือแมเขาจะไปอยูหนใดก็ตอง ไดรับความนยิ มนบั ถือในที่ท่ัวไป เพราะคนมีศลี กแ็ สดง วาตองมีธรรมประจำใจดวย เชนเดยี วกับรสของอาหาร กับตัวของอาหารจะแยกจากกันไมได ในขณะเดียวกัน คนมธี รรมกแ็ สดงวา เปน ผมู ศี ลี ดว ย ขณะใดทเ่ี ขาลว งเกนิ ศีลขอ ใดขอหน่ึง ขณะนั้นแสดงวา เขาไมมีธรรม เพราะ ธรรมอยกู ับใจ ศลี อยกู ับกายวาจา แลว แตก าย วาจา จะเคลื่อนไหวไปทางถูกหรือผิด ตองสอถึงเรื่องของใจ ผูเปนหวั หนารบั ผิดชอบดวย ถาใจมีธรรมประจำ กาย วาจาตองสะอาด ปราศจากโทษในขณะทำและพูด ฉะนั้นผูมีกาย วาจา สะอาดจึงเปนเครื่องประกาศใหคนอื่นเขาทราบวาเปน คนมีธรรมในใจ คนมศี ีลธรรมประจำกาย วาจา ใจ จึง เปนคนมเี สนห มเี ครื่องดงึ ดดู ใจประชาชนทั่วโลกใหห ัน มาสนใจและนยิ มรกั ชอบทกุ ยคุ ทกุ สมยั ไมม วี นั จดื จาง แม ผไู มส ามารถกระทำกาย วาจา ใหเปนอยา งเขาได กย็ ัง

๙พระธรรมวสิ ทุ ธิมงคล (ทา นอาจารยพระมหาบัว ญาณสมั ปนโน) รูจกั นยิ มเลื่อมใสในคนผูมกี าย วาจา ใจ อันมีศีลธรรม เชนเดียวกับที่พวกเขาเคารพและเลื่อมใสในพระพุทธเจา และสาวกทงั้ หลาย ฉะนน้ั จงึ ชีใ้ หเห็นวา ศลี ธรรมคอื ความดีความงามเปนสิ่งท่ีโลกตองการอยูทุกเวลา ไม เปนของลาสมัย ทงั้ มีคุณคา เทากบั โลกเสมอไป จะ มี อยู บาง ก็ เน่ืองจาก ศีล ธรรม ได ถู ก แปรสภาพจากธรรมชาตเิ ดมิ ออกมาสรู ะเบยี บ ลัทธิประเพณี ซ่ึงแยกออกไปตามความนิยม ของชาติช้นั วรรณะ จึงเปน เหตุใหศ ีลธรรม กลายเปนของชาติช้ันวรรณะไปตาม ความนิยมของลัทธินั้น ๆ อันเปน เหตุใหโ ลกตชิ มตลอดมา นอกจากท่ีวาน้ี ศีลธรรม ยอมเปนคุณธรรม ท่ีนำยุคนำสมัยไปสูความเจริญไดทุกโอกาส ถาโลกยัง สนใจทจ่ี ะนำเอาศลี ธรรมไปเปน เสน บรรทดั ดดั กาย วาจา ใจของตน ใหเ ปน ไปตามอยู จะเห็นไดง าย ๆ ก็คือ กาล ใดท่ีโลกเกิดความยุงเหยิงไมสงบ ถาไมรีบปรับปรุงให ตรงกับทางศีลธรรมแลว ไมนานฤทธิ์ของโลกลวน ๆ

๑๐ ปญ ญาอบรมสมาธิ จะระเบิดอยา งเตม็ ที่ แมต ัวโลกผูทรงฤทธิ์เองก็ตองแตก ทลายลงทันที ทนอยไู มได เฉพาะอยางยิ่งในครอบครัวหนึ่ง ๆ ถาขาดศีล ธรรมอันเปนหลักของความประพฤติแลว แมคูสามี ภรรยากไ็ วใ จกนั ไมไ ด คอยแตจ ะเกดิ ความระแวงแคลงใจ วา คคู รองของตนจะไปคบชกู บั ชายอนื่ หญงิ อนื่ อนั เปน เหตบุ อ นทำลายความมน่ั คงของครอบครวั และทรพั ยส นิ เพียงเทาน้ีความปวดราวภายในใจเร่ิมฟกตัวข้ึนมาแลว ไมเปนอันกินอันนอน แมการงานอันเปนหลักอาชีพ ประจำครอบครัว ตลอดลูกเล็กเด็กแดงก็จะเริ่มแตก แหลกลาญไปตาม ๆ กนั ในขณะทค่ี รอบครวั นัน้ ๆ เรม่ิ ทำลายศลี ธรรมของตน ยงิ่ ไดแ ตกจากศลี ธรรมโดยความ ประพฤตอิ ยา งทก่ี ลา วแลว แนท เี ดยี วสง่ิ ทม่ี นั่ คงทง้ั หลาย จะกลายเปน กองเพลงิ ไปตาม ๆ กนั เชน เดยี วกบั หมอ นำ้ ท่ีเต็มไปดว ยน้ำไดถูกส่ิงที่กระทบใหตกลง น้ำทงั้ หมดท่ี บรรจุอยูในหมอจะตองแตกกระจายไปทันที ฉนั นัน้ ดังนน้ั เม่ือโลกยังตองการความเจรญิ อยูตราบ ใด ศีลธรรมจึงเปนส่ิงจำเปนสำหรับโลกอยูตราบน้ัน

๑๑พระธรรมวิสุทธมิ งคล (ทา นอาจารยพ ระมหาบวั ญาณสัมปน โน) ใครจะคัดคานหลักความจริงคือศีลธรรมอันเปนสิ่งที่มี อยูประจำโลกมาแตกาลไหน ๆ ไมได คำวาศีลธรรม ในหลักธรรมชาติน้ันไมตองไปขอรับมาจากพระหรือ จากใคร ตามวัดหรือตามสถานที่ตาง ๆ แลว จึงจะเกดิ เปน ศลี ธรรมขึ้นมา แม เพียงแตผูรักความถูก ความดีงาม ประจำนิสัย แลว ประพฤติแตสิ่งถูก และดีงามแกตนและแกผูอ่ืน เวน การประพฤติส่ิงที่เปนขาศึกตอ ความถูก ความดีงามของตน เพียงเทานั้นก็พอจะทราบไดแลว วา ผนู ้นั มศี ลี ธรรมข้นึ ในตัวแลว อน่ึง เหตุท่ีจะเกิดศีลธรรมข้ึนในใจและความ ประพฤติ เกิดข้ึนจากหลักธรรมชาติท่ีกลาวแลวอยาง หน่ึง เกิดจากการคบคาสมาคมกับนักปราชญมีสมณชี พราหมณเ ปน ตน ไดศ กึ ษาไตถ ามจากทา น แลว สมาทาน นำมาปฏบิ ตั อิ กี อยา งหนง่ึ เพยี งเทา นก้ี พ็ อจะยงั ศลี ธรรม ใหเกิดขึน้ ในตน และกลายเปนคนมีศีลธรรมได พอแก

๑๒ ปญ ญาอบรมสมาธิ การทรงตัวและครอบครวั ตลอดสงั คมที่ตนเกีย่ วของ ให เปนไปไดโดยปราศจากความระแวงสงสัยในส่ิงที่ไมนา ไวใ จในครอบครวั และสว นรวม ฆราวาสปฏบิ ตั ติ นไดเ พยี ง ศลี ๕ ก็สามารถทำความอนุ ใจใหแกต นและครอบครัว โดยประจักษใจ ตลอดเวลาที่ตนมีความประพฤติอยูใน กรอบของศีลธรรม สว นศลี ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ นนั้ แยกจากศีล ๕ ขึ้นไปสคู วามละเอยี ดตามอัธยาศยั ของผใู ครป ระพฤติ ตนในศลี ธรรมชน้ั สงู ขน้ึ ไป ทงั้ ดา นปฏบิ ตั ริ กั ษาและความ เอาใจใส ยอมมีกฎเกณฑหรอื วธิ กี ารตา งจากศีล ๕ ข้นึ ไปเปน ชนั้ ๆ เมอื่ สรปุ ความแลว ศลี ทกุ ประเภทเปน คณุ สมบตั ิ เพอื่ ทจี่ ะรกั ษาความคะนองทางความประพฤตขิ องกาย และวาจา เพอ่ื ความอยเู ยน็ เปน สขุ สบายใจสำหรบั ทา น ผปู ฏบิ ตั ถิ กู และเปน สงิ่ จำเปน แกผ เู กยี่ วขอ งทต่ี อ งการ จะทำตนใหเปนคนดีทุกรายไป แตสำหรับผูเลวทราม ยอมไมเห็นวาเปนของจำเปน เพราะไมตองการอยาก เปน คนดเี หมอื นโลกเขา แตค อยจะทำลายความสขุ ของผู อน่ื กอ ความเดอื ดรอ นแกโ ลกทกุ เวลาทไ่ี ดช อ งและโอกาส

๑๓พระธรรมวิสทุ ธมิ งคล (ทา นอาจารยพระมหาบัว ญาณสัมปนโน) ศลี ธรรมบางสว น แมแ ตส ตั วด ริ จั ฉานเขายงั พอมไี ด อยา วา แตม นษุ ยจ ะเปน เจา ของของศลี ธรรมโดยถา ยเดยี วเลย เราพอจะสังเกตไดวา สัตวดิรัจฉานเขายังมีรัศมีแหง ธรรมแทรกอยูในใจและความประพฤตขิ องเขาบาง เชน สัตวเล้ยี งในบา นเรา ผทู มี่ ศี ลี ธรรมเปน ภาคพน้ื ประจำนสิ ยั และความ ประพฤติตลอดเวลา นอกจากจะเปนผใู หค วามอบอนุ เปนที่ไววางใจและใหความนิยมแกประชาชนตลอด กาลแลว ยังเปนผูมีความอบอุนในตนเอง ทั้งวันน้ี วนั หนา ชาตนิ ้แี ละชาตหิ นา อกี ดวย ศีลธรรมจงึ เปน คณุ สมบัติอันจำเปน ของโลกตลอดกาล

สมาธิ ธรรมกรรมฐานทุกบทเปนร้ัวกั้นความคะนอง ของใจ ใจทไ่ี มม กี รรมฐานประจำและควบคมุ จงึ เกดิ ความ คะนองไดท กุ วยั ทง้ั เดก็ เลก็ หนมุ สาว เฒา แกช รา คนจน คนมี คนฉลาด คนโง คนมีฐานะสงู ต่ำ ปานกลาง คน ตาบอด หหู นวก ตาดี หดู ี งอ ยเปล้ยี เสยี ขา พิกลพิการ และอ่ืน ๆ ไมมีประมาณ ทางศาสนธรรมเรียกวาผูยัง ตกอยูใ นวยั ความคะนองทางใจ หมดความสงาราศีทาง ใจ หาความสุขไมได อาภัพความสุขทางใจ ตายแลว ขาดทุนทั้งขึ้นท้ังลอง เชนเดียวกับตนไม จะมีกิ่งกาน

๑๕พระธรรมวิสุทธิมงคล (ทา นอาจารยพ ระมหาบัว ญาณสัมปน โน) ดอกผลดกหนาหรอื ไม ไมเ ปน ประมาณ รากแกว เสยี หรอื โคน ลงแลว ยอ มเสียความเปนสงาราศีและผลประโยชน ฉะน้นั แตลำตนหรอื ก่ิงกานของตน ไมก็ยงั อาจจะมาทำ ประโยชนอยา งอ่ืนไดบ าง ไมเหมือนมนุษยตาย โทษแหงความคะนองของใจท่ีไมมีธรรมะเปน เครอื่ งรกั ษา จะหาจดุ ความสขุ ไมพ บตลอดกาล แมค วาม สุขจะเกิดเพราะความคะนองของใจเปนผูแสวงหามาได กเ็ ปน ความสขุ ชนดิ เปน บทบาททจี่ ะเพมิ่ ความคะนองของ ใจใหมีความกลาแข็งไปในทางท่ีไมถูก มากกวาจะเปน ความสขุ ทพ่ี งึ พอใจ ฉนั นั้น สมาธิ คอื ความสงบ หรอื ความตงั้ มน่ั ของใจ จงึ เปน ขาศึกตอความคะนองของใจทีไ่ มอยากรบั “ยา” คอื กรรมฐาน ผตู อ งการปราบปรามความคะนองของใจ ซง่ึ เคยเปนขาศึกตอสัตวมาหลายกัปนับไมถวน จึงจำเปน ตองฝน ใจรบั “ยา” คอื กรรมฐาน การรับยา หมายถึงการอบรมใจของตนดวย ธรรมะ ไมป ลอ ยตามลำพงั ของใจ ซึ่งชอบความคะนอง

๑๖ ปญญาอบรมสมาธิ เปนมติ รตลอดเวลา คอื นอ มธรรมเขามากำกบั ใจ ธรรม กำกับใจเรยี กวา กรรมฐาน มี ๔๐ หอ ง ตามจริตนิสยั ของบรรดาสัตวไมเหมือนกัน มีกสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ อนสุ ติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อาหาเรปฏกิ ูลสญั ญา ๑ จตุธาตุววตั ถาน ๑ และอรปู ๔ จะขอยกมาพอประมาณ ที่ใชกันโดยมากและใหผ ลแกผ ปู ฏิบัติเปนท่ีพึงพอใจ คือ อาการของกาย ๓๒ มี เกสา (ผม) โลมา (ขน) นขา (เลบ็ ) ทนตฺ า (ฟน ) ตโจ (หนงั ) ทที่ า นเรยี กวา กรรมฐาน ๕ หรือ พทุ โฺ ธ ธมโฺ ม สงโฺ ฆ ฯลฯ หรอื อานาปานสติ (ระลึกลมหายใจเขาออก) บทใดก็ได ตามแตจริตชอบ เพราะนิสัยไมเหมือนกันจะใชกรรมฐานอยางเดียวกัน ยอ มเปน การขดั ตอ จริต ไมไดผ ลเทา ที่ควร เมื่อชอบบทใด ก็ตกลงใจนำบทนั้นมาบริกรรม เชน จะบริกรรมเกสา ก็นกึ วาเกสาซำ้ อยใู นใจ ไมออก เสียงเปนคำพูดใหไดยินออกมาภายนอก (แตลำพังนึก เอาชนะใจไมไ ด จะบรกิ รรมทำนองสวดมนตเ พอื่ ใหเ สยี ง ผูกใจไวจะไดสงบก็ได ทำจนกวาใจจะสงบไดดวยคำ บรกิ รรมจงึ หยดุ ) พรอ มทง้ั ใจใหท ำความรสู กึ ไวก บั ผมบน

๑๗พระธรรมวิสทุ ธิมงคล (ทา นอาจารยพระมหาบัว ญาณสมั ปน โน) ศรี ษะ จะบรกิ รรมบทใดกใ็ หท ำความรูอยูกบั กรรมฐาน บทนั้น เชน เดียวกับบริกรรมบทเกสา ซงึ่ ทำความรูอยู ในผมบนศรี ษะ ฉะนนั้ สว นการบริกรรมบท พทุ โฺ ธ ธมโฺ ม สงโฺ ฆ บท ใด ๆ ใหท ำความรูไวจ ำเพาะใจ ไมเหมือนบทอื่น ๆ คือ ใหคำบริกรรมวา พทุ โฺ ธ เปน ตน สมั พนั ธกนั อยูกบั ใจไป ตลอดจนกวา จะปรากฏ พทุ โฺ ธ ในคำบรกิ รรมกบั ผรู คู อื ใจ เปนอันเดียวกนั แมผ จู ะบรกิ รรมบท ธมโฺ ม สงฺโฆ ตาม จรติ กพ็ งึ บรกิ รรมใหสมั พันธกนั กบั ใจจนกวาจะปรากฏ ธมฺโม หรอื สงฺโฆ เปน อนั เดยี วกนั กับใจ ทำนองเดยี ว กบั บท พุทโฺ ธ เถิด ฯ อานาปานสตภิ าวนา ถอื ลมหายใจเขา หายใจ ออกเปน อารมณข องใจ มคี วามรแู ละสตอิ ยกู บั ลมหายใจ เขาออก เบ้ืองตน การตั้งลม ควรตงั้ ทป่ี ลายจมูกหรือ เพดาน เพราะเปนที่กระทบลมหายใจพอถือเอาเปน เคร่อื งหมายได เมอ่ื ทำจนชำนาญและลมละเอยี ดเขา ไป เทา ไร จะคอยรหู รอื เขาใจความสมั ผัสของลมเขา ไปโดย ลำดบั จนปรากฏลมอยทู ที่ า มกลางอกหรอื ลนิ้ ปแ หง เดยี ว

๑๘ ปญญาอบรมสมาธิ ทีนจ้ี งกำหนดลม ณ ทนี่ ั้น ไมตองกงั วลออกมากำหนด หรอื ตามรูลมท่ีปลายจมกู หรือเพดานอกี ตอไป การกำหนดลมจะตามดวย พุทฺโธ เปนคำ บริกรรมกำกับลมหายใจเขา-ออกดวยก็ได เพอ่ื เปน การ พยุงผรู ูใหเ ดน จะไดป รากฏลมชัดข้นึ กบั ใจ เม่ือชำนาญ ในลมแลว ตอไปทุกครั้งที่กำหนด จงกำหนดลงที่ลม หายใจทามกลางอกหรือล้ินปโ ดยเฉพาะ ท้งั นี้สำคญั อยู ทตี่ ง้ั สติ จงตง้ั สติกับใจใหม คี วามรสู กึ ในลมทุกขณะที่ลม เขา และลมออก สนั้ หรอื ยาว จนกวา จะรูชดั ในลมหายใจ มีความละเอียดเขา ไปทกุ ที และจนปรากฏความละเอียด ของลมกบั ใจเปนอันเดยี วกนั ทีนี้ใหกำหนดลมอยูจำเพาะใจ ไมตองกังวลใน คำบริกรรมใด ๆ ทง้ั ส้นิ เพราะการกำหนดลมเขาออก และสน้ั ยาวตลอดคำบรกิ รรมนนั้ ๆ เพอ่ื จะใหจ ติ ถงึ ความ ละเอยี ด เมื่อถงึ ลมละเอียดที่สดุ และรอู ยจู ำเพาะใจ ไม เกี่ยวของกับอารมณใด ๆ แมที่สุดกองลมก็ลดละความ เกี่ยวของ ในขณะน้ันไมมีความกังวล เพราะจิตวาง ภาระ มคี วามรอู ยจู ำเพาะใจดวงเดยี ว คอื ความเปน หนงึ่

๑๙พระธรรมวิสทุ ธมิ งคล (ทานอาจารยพระมหาบัว ญาณสัมปนโน) (เอกคคฺ ตารมณ) นคี่ อื ผลทไ่ี ดร บั จากการเจรญิ อานาปาน สติกรรมฐาน ในกรรมฐานบทอ่ืน พงึ ทราบวา ผภู าวนา จะตอ งไดร ับผลเชนเดียวกนั กบั บทนี้ การบรกิ รรมภาวนา มีบทกรรมฐานนนั้ ๆ เปน เครื่องกำกับใจดวยสติ จะระงับความคะนองใจไดเปน ลำดบั จะปรากฏความสงบสขุ ขนึ้ ทใ่ี จ มอี ารมณอ นั เดยี ว คอื รูอ ยูจ ำเพาะใจ ปราศจากความฟุงซานใด ๆ ไมมีส่ิง มากวนใจใหเ อนเอยี ง เปน ความสขุ จำเพาะใจ ปราศจาก ความเสกสรรหรือปรุงแตงใด ๆ ท้ังส้ิน เพียงเทาน้ีผู

๒๐ ปญญาอบรมสมาธิ ปฏิบัติจะเห็นเปนความอัศจรรยในใจท่ีไมเคยประสบมา แตกาลไหน ๆ และเปนความสุขท่ีดูดดื่มยิ่งกวาอื่นใดท่ี เคยผา นมา อนึ่ง พึงทราบ ผูบริกรรมบทกรรมฐานนั้น ๆ บางทานอาจปรากฏอาการแหงกรรมฐานท่ีตนกำลัง บริกรรมนน้ั ขนึ้ ที่ใจในขณะทกี่ ำลงั บริกรรมอยกู ็ได เชน ปรากฏผม ขน เลบ็ ฟน หนงั เนอ้ื เอน็ กระดกู เปน ตน อาการใดอาการหนง่ึ ประจกั ษก บั ใจ เหมอื นมองเหน็ ดว ย ตาเนอ้ื เมอื่ ปรากฏอยา งนี้ พงึ กำหนดดอู าการทต่ี นเหน็ นนั้ ใหช ดั เจนตดิ ใจ และกำหนดใหต ง้ั อยอู ยา งนน้ั ไดน าน และตดิ ใจเทา ไรยง่ิ ดี เมอ่ื ตดิ ใจแนบสนทิ แลว จงทำความ แยบคายในใจ กำหนดสว นทเี่ หน็ น้ันโดยเปนของปฏิกลู โสโครก ทั้งอาการสว นในและอาการสว นนอกของกาย โดยรอบ และแยกสวนของกายออกเปน สว น ๆ หรอื เปน แผนก ๆ ตามอาการนน้ั ๆ โดยเปน กองผม กองขน กอง เนื้อ กองกระดกู ฯลฯ เสรจ็ แลวกำหนดใหเ นา เปอ ยลงบาง กำหนดไฟ เผาบา ง กำหนดใหแ รง กาหมากนิ บาง กำหนดใหแ ตก

๒๑พระธรรมวสิ ุทธิมงคล (ทานอาจารยพ ระมหาบวั ญาณสัมปนโน) ลงสธู าตเุ ดมิ ของเขาคอื ดนิ นำ้ ลมไฟบา ง เปน ตน การทำ อยา งน้เี พอื่ ความชำนาญคลอ งแคลว ของใจ ในการเหน็ กาย เพอ่ื ความเห็นจริงในกายวา มีอะไรอยูในน้นั เพอ่ื ความบรรเทาและตัดขาดเสียไดซึ่งความหลงกาย อัน เปนเหตุใหเกิดราคะตัณหาคือความคะนองของใจ ทำ อยา งนไี้ ดช ำนาญเทา ไรยง่ิ ดี ใจจะสงบละเอยี ดเขาทุกที ขอสำคัญ เม่ือปรากฏอาการของกายขึ้น อยาปลอย ใหผานไปโดยไมสนใจ และอยากลัวอาการของกายที่ ปรากฏ จงกำหนดไวเฉพาะหนา ทันที กายน้ีเมื่อภาวนาไดเห็นจนติดใจจริง ๆ จะเกิด ความเบ่ือหนายสลดสังเวชตน จะเกิดขนพองสยอง เกลานำ้ ตาไหลลงทนั ที อนึ่ง ผทู ป่ี รากฏขน้ึ เฉพาะหนา ในขณะภาวนา ใจจะเปน สมาธไิ ดอยา งรวดเรว็ และจำ ทำใหปญญาใหแ จงไปพรอม ๆ กนั กบั ความสงบของใจ ทภ่ี าวนาเหน็ กาย ผูท่ีไมเห็นอาการของกาย จงทราบวาการ บริกรรมภาวนาทั้งน้ีก็เปนการภาวนาเพื่อจะยังจิตให เขา สูความสงบสขุ เชน เดยี วกนั จงึ ไมม ขี อระแวงสงสัยท่ี

๒๒ ปญญาอบรมสมาธิ ตรงไหนวา จติ จะไมห ยงั่ ลงสูความสงบ และเหน็ ภัยดวย ปญญาในวาระตอไป จงทำความมั่นใจในบทภาวนา และคำบรกิ รรม ของตนอยาทอถอย ผูดำเนินไปโดยวิธีใด พึงทราบวา ดำเนินไปสูจุดประสงคเชนเดียวกัน และจงทราบวาบท ธรรมทั้งหมดนี้เปนบทธรรมที่จะนำใจไปสูสันติสุขคือ พระนิพพาน อนั เปน จดุ สุดทา ยของการภาวนาทกุ บทไป ฉะนัน้ จงทำตามหนาที่แหงบทภาวนาของตน อยา พะวกั พะวนในกรรมฐานบทอน่ื ๆ จะเปน ความลงั เลสงสยั ตดั สนิ ใจลงไปสคู วามจรงิ ไมไ ด จะเปน อปุ สรรคแกค วาม จรงิ ใจตลอดกาล จงตง้ั ใจทำดวยความมีสตจิ รงิ ๆ และ อยาเรียง ศลี สมาธิ ปญญา ใหน อกไปจากใจ เพราะ กิเลส คอื ราคะ โทสะ โมหะ เปนตน อยทู ่ใี จ ใครไม ไดเรียงรายเขา เมื่อคิดไปทางผดิ มันกเ็ กิดกเิ ลสขนึ้ มาท่ี ใจดวงนั้น ไมไดกำหนดหรือนัดกัน วาใครจะมากอน มาหลงั มันเปนกเิ ลสมาทเี ดยี ว กเิ ลสชนดิ ไหนมามนั ก็

๒๓พระธรรมวสิ ุทธิมงคล (ทา นอาจารยพ ระมหาบวั ญาณสัมปน โน) ทำใหเรารอนไดเชนเดียวกัน เร่ืองของกิเลสมันจะตอง เปนกเิ ลสเร่อื ยไปอยา งนี้ กเิ ลสตัวไหนจะมากอ นมาหลัง เปนไมเ สียผล ทำใหเกดิ ความรอ นไดท้ังนน้ั วิธกี ารแกก เิ ลส อยา คอยใหศ ลี ไปกอ น สมาธิมา ท่ี ๒ ปญญามาที่ ๓ น่เี รียกวา ทำสมาธเิ รียง แบบเปน อดตี อนาคตเสมอไป หาความสงบสุขไมไ ดตลอดกาล

ปญ ญาอบรมสมาธิ ความจริงการภาวนาเพอ่ื ใหใจสงบ ถา สงบดว ย วธิ ปี ลอบโยนโดยทางบรกิ รรมไมไ ด ตอ งภาวนาดว ยวธิ ี ปราบปรามขูเข็ญ คอื คน คดิ หาเหตผุ ลในสิ่งทีจ่ ติ ตดิ ขอ ง ดวยปญ ญา แลว แตค วามแยบคายของปญญาจะ หาอบุ ายทรมานจติ ดวงพยศ จนปรากฏใจยอม จำนนตามปญญาวาเปนความจริงอยางน้ัน แลว ใจจะฟงุ ซา นไปไหนไมได ตอ งหยง่ั เขาสูความสงบ เชนเดียวกับสัตวพาหนะ

๒๕พระธรรมวิสทุ ธิมงคล (ทานอาจารยพระมหาบวั ญาณสัมปน โน) ตวั คะนอง ตองฝก ฝนทรมานอยา งหนกั จงึ จะยอมจำนน ตอเจา ของ ฉะนนั้ ในเรื่องน้ีจะขอยกอุปมาเปนหลักเทียบเคียง เชน ตนไมบางประเภทต้ังอยโู ดดเด่ยี วไมม สี ่งิ เกย่ี วขอ ง ผูตองการตนไมน้ันก็ตองตัดดวยมีดหรือขวาน เม่ือ ขาดแลวไมตนน้ันก็ลมลงสูจุดท่ีหมายแลวนำไปไดตาม ตองการ ไมมีความยากเย็นอะไรนัก แตไมอีกบาง ประเภทไมต้ังอยูโดดเดี่ยว ยังเกี่ยวของอยูกับก่ิงแขนง ของตนอ่ืน ๆ อีกมาก ยากที่จะตัดใหลงสูท่ีหมายได ตอ งใชป ญ ญาหรอื สายตาตรวจดสู งิ่ ทเ่ี กย่ี วขอ งของตน ไม นั้นโดยถถี่ วน แลว จงึ ตัดตนไมนัน้ ใหข าดพรอมทัง้ ตดั ส่งิ เก่ียวของจนหมดส้ินไป ไมยอมตกหรือลมลงสูท่ีหมาย และนำไปไดตามความตองการฉันใด จริตนิสัยของคน เรากฉ็ ันนน้ั คนบางประเภทไมคอยมีส่ิงแวดลอมเปนภาระ กดถวงใจมาก เพียงใชคำบริกรรมภาวนา พทุ ฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เปนตน บทใดบทหนึ่งเขาเทาน้ัน ใจก็ไดรับ ความสงบเยือกเย็นเปนสมาธิลงได กลายเปนตนทุน

๒๖ ปญญาอบรมสมาธิ หนุนปญญาใหกาวหนาตอไปไดอยางสบาย ที่เรียกวา สมาธิอบรมปญญา แตคนบางประเภทมีสิ่งแวดลอม เปนภาระกดถวงใจมาก และเปนนิสยั ชอบคิดอะไรมาก อยางนี้ จะอบรมดวยคำบริกรรมอยางท่ีกลาวมาแลว นน้ั ไมส ามารถทจี่ ะยงั จติ ใหห ยง่ั ลงสคู วามสงบเปน สมาธิ ได ตองใชปญ ญาไตรตรองเหตผุ ล ตัดตนเหตุของความ ฟุงซานดวยปญญา เม่ือปญญาไดหวานลอมในสิ่งที่จิต ติดของนั้นไวอยางหนาแนนแลว จิตจะมีความรูเหนือ ปญญาไปไมได และจะหยั่งลงสูความสงบเปนสมาธิได ฉะนน้ั คนประเภทนจ้ี ะตอ งฝก ฝนจติ ใหเ ปน สมาธไิ ดด ว ย ปญญา ทเี่ รยี กวา ปญญาอบรมสมาธิ ตามชื่อหัวเร่อื ง ทใ่ี หไ วแ ลว ในเบอ้ื งตน นนั้ เมอ่ื สมาธเิ กดิ มขี นึ้ ดว ยอำนาจ ปญ ญา อนั ดบั ตอ ไปสมาธกิ ก็ ลายเปน ตน ทนุ หนนุ ปญ ญา ใหมกี ำลงั กา วหนา สุดทายกล็ งรอยเดียวกนั กับหลกั เดิม ทีว่ า สมาธอิ บรมปญญา ผูตองการอบรมใจใหเปนไปเพ่ือความฉลาด รูเทาทันกลมายาของกิเลส อยายึดปริยัติจนเกิด กิเลส แตก็อยาปลอยวางปริยัติจนเลยศาสดา ผิด

๒๗พระธรรมวสิ ุทธิมงคล (ทานอาจารยพ ระมหาบวั ญาณสมั ปน โน) พระประสงคของพระพทุ ธเจาท้งั ๒ นยั คอื ในขณะ ทที่ ำสมาธภิ าวนา อยา สง ใจไปยดึ ปรยิ ตั ิจนกลายเปน อดีตอนาคตไป ใหตั้งจิตลงสูปจจุบันคือเฉพาะหนา มีธรรมท่ีตนเก่ียวของเปนอารมณเทานั้น เม่ือมีขอ ขอ งใจ ตดั สนิ ใจลงไมไ ดว า ถกู หรอื ผดิ เวลาออกจากที่ ภาวนาแลว จงึ ตรวจสอบกบั ปรยิ ตั ิ แตจ ะตรวจสอบทกุ ขณะไปกผ็ ดิ เพราะจะกลายเปน ความรูในแบบ ไมใช ความรเู กดิ จากภาวนา ใชไ มไ ด สรปุ ความ ถา จติ สงบไดด ว ยอารมณส มถะคอื คำ บริกรรมดวยธรรมบทใดกบ็ รกิ รรมบทนน้ั ถา จะสงบได ดว ยปญ ญาสกัดก้นั โดยอบุ ายตา ง ๆ ก็ตอ งใชปญญาเปน พเี่ ลยี้ งเพอ่ื ความสงบเสมอไป ผลรายไดจ ากการอบรมทง้ั ๒ วธิ นี คี้ อื ความสงบและปญ ญาอนั จะมรี ศั มแี ฝงขน้ึ จาก ความสงบนั้น ๆ

สมาธิ สมาธิ วาโดยชื่อและอาการแหงความสงบ มี ๓ คือ ขณิกสมาธิ ตั้งมนั่ หรอื สงบช่ัวคราว แลว ถอนขึน้ มา อปุ จารสมาธิ ทานวา รวมเฉียด ๆ นานกวา ขณิกสมาธิ แลวถอนขน้ึ มา จากนีข้ อแทรกทศั นะของ “ธรรมปา” เขาบา ง เลก็ นอย อุปจารสมาธิ เมือ่ จติ สงบลงไปแลวไมอ ยกู ับที่ ถอยออกมาเล็กนอย แลวตามรเู รือ่ งตาง ๆ ตามแตจะ มาสมั ผสั ใจ บางครง้ั ก็เปนเรือ่ งเกดิ จากตนเอง ปรากฏ

๒๙พระธรรมวิสุทธิมงคล (ทา นอาจารยพ ระมหาบวั ญาณสมั ปน โน) เปนนิมิตขึน้ มา ดบี าง ชว่ั บา ง แตเบอื้ งตน เปน นิมติ เกดิ กบั ตนมากกวา ถา ไมร อบคอบกท็ ำใหเ สยี ได เพราะนมิ ติ ที่จะเกดิ ข้ึนจากสมาธิประเภทนีม้ ีมากเอาประมาณไมไ ด บางครงั้ กป็ รากฏเปน รปู รา งของตวั เองนอนตาย และเนา พองอยตู อ หนา เปน ผตี ายและเนา พองอยตู อ หนา บา ง มแี ตโ ครงกระดกู บา ง เปนซากศพ เขากำลังหาม ผา นมาตอ หนา บา ง เปน ตน ทป่ี รากฏลกั ษณะน้ี ผฉู ลาด กถ็ อื เอาเปน อคุ คหนมิ ติ เพอื่ เปน ปฏภิ าคนมิ ติ ได เพราะจะ ยังสมาธิใหแนนหนาและจะยังปญญาใหคมกลาไดเปน ลำดับ สำหรับผกู ลาตอเหตุผล เพื่อจะยงั ประโยชนตน ใหสำเร็จ ยอมไดสติปญญาจากนิมิตนั้น ๆ เสมอไป แตผูขี้ขลาดหวาดกลัว อาจจะทำใจใหเสียเพราะสมาธิ ประเภทนม้ี ีจำนวนมาก เพราะเรอื่ งที่นากลัวมีมาก เชน ปรากฏมีคนรูปรางสีสันวรรณะนากลัวทำทาจะฆาฟน หรือจะกินเปน อาหาร อยา งนเ้ี ปน ตน แตถ าเปน ผกู ลา หาญตอ เหตุการณแ ลว ก็ไมม คี วามเสยี หายอะไรเกดิ ข้นึ ย่งิ จะไดอ ุบายเพ่มิ ข้นึ จากนมิ ิต หรือสมาธิประเภทนเ้ี สยี

๓๐ ปญญาอบรมสมาธิ อกี สำหรบั ผมู ักกลวั ปกติกแ็ สห าเรือ่ งกลวั อยูแลว ย่งิ ปรากฏนมิ ติ ทนี่ า กลวั กย็ ง่ิ ไปใหญ ดไี มด อี าจจะเปน บา ขน้ึ ในขณะนั้นกไ็ ด สว นนมิ ิตนอกที่ผานมา จะรหู รอื ไมว า เปนนมิ ิต นอกหรอื นมิ ติ เกิดกับตัวน้นั ตองผา นนิมิต ในซ่ึงเกิดกับตัวไปจนชำนาญแลวจึงจะ สามารถรไู ด นมิ ติ นอกนน้ั เปน เรอ่ื งทเ่ี กยี่ ว กับเหตุการณตาง ๆ ของคนหรือสัตว เปรต ภูตผี เทวบุตร เทวดา อินทร พรหม ท่ีมาเกี่ยวของกับสมาธิในเวลา นน้ั เชน เดยี วกบั เราสนทนากนั กบั แขก ท่ีมาเย่ียม เรื่องปรากฏขึ้นจะนาน หรือไมนั้น แลวแตเหตุการณจะยุติ ลงเมอื่ ใด บางครงั้ เร่อื งหนึง่ จบลง เรื่องอน่ื แฝงเขา มา ตอกันไปอีกไมจบสิ้นลงงาย ๆ เรียกวาส้ันบางยาวบาง เม่ือจบลงแลวจิตก็ถอนขึ้นมา บางครั้งก็กินเวลาหลาย ช่ัวโมง สมาธิประเภทนี้ แมร วมนานเทาใดก็ตาม เม่ือ ถอนขนึ้ มาแลว กไ็ มม กี ำลงั เพมิ่ สมาธใิ หแ นน หนาและไมม ี

๓๑พระธรรมวิสทุ ธิมงคล (ทานอาจารยพระมหาบวั ญาณสัมปน โน) กำลงั หนนุ ปญ ญาไดด ว ย เหมอื นคนนอนหลบั แลว ฝน ไป ธาตุขันธย อมไมมกี ำลังเต็มท่ี สวนสมาธิที่รวมลงแลวอยูกับที่ พอถอนขึ้นมา ปรากฏเปน กำลงั หนนุ สมาธใิ หแ นน หนา เชน เดยี วกบั คน นอนหลับสนิทดีไมฝน พอต่ืนข้ึนธาตุขันธรูสึกมีกำลังดี ฉะนั้น สมาธิประเภทนี้ถายังไมชำนาญและรอบคอบ ดวยปญ ญาก็ทำใหเสยี คน เชนเปนบา ไปได โดยมากนกั ภาวนาที่เขาเลาลอื กันวา “ธรรมแตก” นั้น เปน เพราะ สมาธิประเภทนี้ แตเม่ือรอบคอบดีแลว ก็เปน ประโยชน เกย่ี วกับเหตกุ ารณไดดี สว นอุคคหนมิ ิตท่ปี รากฏขึ้นจาก จิตตามทีไ่ ดอธิบายไวข างตนน้ัน เปนนิมิตทคี่ วรแกก าร ปฏิภาคในหลักภาวนาของผูตองการอุบายแยบคายดวย ปญญาโดยแท เพราะเปน นิมติ ท่ีเกย่ี วกับอรยิ สจั นิมิต อันหลังตองนอมเขาหา จงึ จะเปน อริยสัจไดบ าง แต ท้ัง นิมิต เกิด กับ ตน และ นิมิต ผาน มา จาก ภายนอก ถา เปน คนขลาดกอ็ าจเสยี ไดเ หมอื นกนั สำคญั อยูท ปี่ ญญาและความกลาหาญตอเหตกุ ารณ ผูม ปี ญ ญา จงึ ไมป ระมาทสมาธิประเภทนีโ้ ดยถายเดยี ว เชน งูเปน

๓๒ ปญ ญาอบรมสมาธิ ตัวอสรพิษ เขานำมาเลี้ยงไวเพื่อถือเอาประโยชนจาก งูก็ยังได วิธีปฏิบัติในนิมิตท้ังสอง ซ่ึงเกิดจากสมาธิ ประเภทน้ี นิมิตท่ีเกิดจากจิตท่ีเรียกวา “นิมิตใน” จงทำ ปฏภิ าค มแี บง แยกเปน ตน ตามทไี่ ดอ ธบิ ายไวข า งตน แลว นิมิตที่ผานมาอันเกี่ยวแกคนหรือสัตวเปนตน ถาสมาธิ ยังไมช ำนาญ จงงดไวก อน อยาดว นสนใจ เมอื่ สมาธิ ชำนาญแลวจงึ ปลอ ยจติ ออกรูตามเหตุการณป รากฏ จะ เปนประโยชนท่ีเก่ียวกับเร่ืองราวในอดีตอนาคตไมนอย เลย สมาธิประเภทน้ีเปนสมาธิที่แปลกมาก อยาดวน เพลดิ เพลนิ และเสยี ใจในสมาธปิ ระเภทนโี้ ดยถา ยเดยี ว จง ทำใจใหกลาหาญขณะท่ีนิมิตนานาประการเกิดข้ึนจาก สมาธปิ ระเภทนี้ เบอื้ งตน ใหน อ มลงสไู ตรลกั ษณข ณะนมิ ติ ปรากฏขึน้ จะไมท ำใหเสยี แตพ งึ ทราบวา สมาธปิ ระเภทมนี มิ ติ นไ้ี มม ที กุ ราย ไป รายทีไ่ มม กี ค็ อื เม่ือจติ สงบแลว รวมอยูกับที่ จะรวม นานเทา ไรกไ็ มคอยมนี มิ ติ มาปรากฏ หรอื จะเรียกงาย ๆ ก็คอื รายท่ปี ญ ญาอบรมสมาธิ แมสงบรวมลงแลวจะอยู

๓๓พระธรรมวสิ ทุ ธิมงคล (ทานอาจารยพ ระมหาบัว ญาณสมั ปน โน) นานหรือไมนานก็ตามก็ไมมีนมิ ติ เพราะเกี่ยวกับปญญา แฝงอยกู บั องคส มาธนิ นั้ สว นรายทส่ี มาธอิ บรมปญ ญามกั จะปรากฏนิมิตแทบทุกรายไป เพราะจิตประเภทนี้รวม ลงอยางเร็วที่สุด เหมือนคนตกบอตกเหวไมคอยระวัง ตัว ลงรวดเดียวก็ถึงที่พักของจิต แลวก็ถอนออกมารู เหตุการณตาง ๆ จึงปรากฏเปนนิมิตข้ึนมาในขณะน้ัน และกเ็ ปน นสิ ยั ของจติ ประเภทนแ้ี ทบทกุ รายไป แตจ ะเปน สมาธปิ ระเภทใดกต็ าม ปญ ญาเปน สง่ิ สำคญั ประจำสมาธิ ประเภทน้ัน ๆ เม่ือถอนออกมาแลว จงไตรตรองธาตุ ขันธดว ยปญญา เพราะปญญากับสมาธิ เปน ธรรมคูเ คียงกัน จะแยกจากกัน ไมไ ด ถา สมาธิไมก า วหนา ตองใช ปญ ญาหนนุ หลัง ขอยุตเิ รอื่ งอปุ จาร สมาธแิ ตเ พียงเทานี้ อัปปนาสมาธิ เปนสมาธิท่ี ละเอยี ดและแนน หนามนั่ คง ทงั้ รวม อยูไดนาน จะใหรวมอยูหรือ ถอนขึน้ มาไดตามตอ งการ

๓๔ ปญญาอบรมสมาธิ สมาธิทุกประเภทพึงทราบวาเปนเคร่ืองหนุน ปญ ญาไดต ามกำลงั ของตน คอื สมาธอิ ยา งหยาบ อยา ง กลาง และอยางละเอียด ก็หนุนปญญาอยางหยาบ อยางกลาง และอยา งละเอยี ดเปน ชั้น ๆ ไป แลวแตผูมี ปญ ญาจะนำออกใช แตโ ดยมากจะเปนสมาธปิ ระเภทใด กต็ ามปรากฏขึ้น ผภู าวนามกั จะติด เพราะเปน ความสุขในขณะท่จี ิตรวมลงและพกั อยู การ ท่ีจะเรียกวาจติ ติดสมาธิ หรือตดิ ความสงบ ไดน้นั ไมเ ปนปญ หา ในขณะทจ่ี ิตพักรวม อยู จะพักอยูนานเทาไรก็ไดตามข้ันของ สมาธิ ที่สำคัญก็คือ เมื่อจิตถอนข้ึนมา แลวยงั อาลัยในความพกั ของจติ ท้งั ๆ ท่ี ตนมีความสงบพอที่จะใชปญญาไตรตรอง และมีความ สงบจนพอตัวซึ่งควรจะใชปญญาไดอยางเต็มท่ีแลว แต ยังพยายามที่จะอยูในความสงบ ไมสนใจในปญญาเลย อยา งนเี้ รียกวาติดสมาธิถอนตวั ไมข นึ้

ปญญา ทางท่ีถกู และราบร่ืนของผูป ฏบิ ตั กิ ็คือ เม่ือจติ ได รับความสงบพอเห็นทางแลว ตองฝกหัดจิตใหคดิ คนใน อาการของกาย จะเปน อาการเดยี วหรอื มากอาการกต็ าม ดว ยปญญา คลีค่ ลายดูกายของตน เรม่ิ ต้ังแต ผม ขน เลบ็ ฟน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยอ่ื ในกระดูก มา ม หัวใจ ตบั พงั ผดื ไต ปอด ไสน อ ย ไสใ หญ อาหาร ใหม อาหารเกา ฯลฯ ทเ่ี รียกวา อาการ ๓๒ ของกาย สง่ิ เหลา นต้ี ามปกตเิ ตม็ ไปดว ยของปฏกิ ลู นา เกลยี ดตลอด เวลา ไมม อี วยั วะสว นใดจะสวยงามตามโมหนยิ ม ยงั เปน

๓๖ ปญ ญาอบรมสมาธิ อยกู ป็ ฏกิ ลู ตายแลว ยง่ิ เปน มากขน้ึ ไมว า สตั วบ คุ คล หญงิ ชาย มคี วามเปน อยา งน้ที ั้งนนั้ ในโลกนเ้ี ต็มไปดว ยของ อยางน้ี หาส่งิ ท่แี ปลกกวา น้ีไมมี ใครอยใู นโลกน้ีตอ งมี อยา งนี้ ตอ งเปนอยางนี้ ตอ งเห็นอยา งน้ี ความเปน อนิจฺจํ ไมเที่ยง ก็กายอันนี้ ทุกฺขํ ความลำบาก กก็ ายอนั นี้ อนตฺตา ปฏเิ สธ ความประสงคของสัตวทั้งหลาย ก็กาย อนั นี้ สงิ่ ทไ่ี มส มหวงั ทงั้ หมดกอ็ ยทู ก่ี าย อันน้ี ความหลงสัตว หลงสังขาร ก็หลงกายอันนี้ ความถือสัตว ถือสังขารก็ถือกายอันน้ี ความ พลดั พรากจากสัตวแ ละสงั ขารก็ พลัดพรากจากกายอันน้ี ความ หลงรักหลงชังก็หลงกายอันนี้ ความไม อยากตายก็หว งกายอันน้ี ตายแลว รองไหหากันกเ็ พราะ กายอันนี้ ความทุกขทรมานแตวันเกิดจนถึงวันตายก็ เพราะกายอันน้ี ทั้งสัตวและบุคคลวิ่งวอนไปมาหาอยู หากินไมมีวันไมมีคืนก็เพราะเรื่องของกายอันเดียวนี้ มหาเหตุมหาเรื่องใหญโตในโลกที่เปนกงจักรผันมนุษย

๓๗พระธรรมวสิ ทุ ธิมงคล (ทา นอาจารยพ ระมหาบัว ญาณสัมปน โน) และสัตวไมมีวันลืมตาเต็มดวงประหน่ึงไฟเผาอยูตลอด เวลากค็ อื เรอ่ื งของกายเปน เหตกุ เิ ลสทว มหวั จนเอาตวั ไม รอดกเ็ พราะกายอนั นี้ สรปุ ความเรอื่ งในโลกคอื เรอ่ื งเพอ่ื กายอนั เดยี วกันน้ีทงั้ นัน้ เม่ือพิจารณากายพรอมท้ังเรื่องของกายใหแจง ประจักษกับใจดวยปญญาอยูอยาง น้ีไมมีวันหยุดย้ัง กิเลสจะยก กองพลมาจากไหนใจจึงจะ สงบลงไมได ปญญาอาน ประกาศความจริงใหใจฟง อยอู ยา งน้ตี ลอดเวลา ใจจะ ฝนความจริงจากปญญาไป ไหน เพราะกิเลสก็เกิดจากใจ ปญญาก็เกิดจากใจ เราก็คอื ใจ จะ แกก ิเลสดวยปญญาของเราจะไมไ ดอ ยา งไร เมอื่ ปญญาเปนไปในกายอยูอยางนี้ จะไมเห็นแจงในกาย อยา งไรเลา เมอ่ื เหน็ กายแจง ประจกั ษใ จดว ยปญ ญาอยา ง น้ี ใจตอ งเบอื่ หนา ยในกายตนและกายคนอน่ื สตั วอ น่ื ตอ ง คลายความกำหนดั ยินดใี นกาย แลวถอนอุปาทานความ

๓๘ ปญญาอบรมสมาธิ ถอื มน่ั ในกายโดยสมจุ เฉทปหาน พรอ มทงั้ ความรเู ทา กาย ทกุ สว น ไมห ลงรักหลงชังในกายใด ๆ อกี ตอไป การที่จิตใชกลองคือปญญาทองเท่ียวในเมือง “กายนคร” ยอ มเหน็ “กายนคร” ของตน และ “กาย นคร” ของคนและสัตวทั่วไปไดชัด ตลอดจนทาง ๓ แพรง คือ ไตรลกั ษณ อนิจจฺ ํ ทุกขฺ ํ อนตตฺ า และทาง ๔ แพรง คอื ธาตุ ๔ ดนิ น้ำ ลม ไฟ ทัว่ ทั้งตรอก ของทางสายตาง ๆ คอื อาการของกายทกุ สวน พรอม ท้ังหองนำ้ ครวั ไฟ (สวนขางในของรา งกาย) แหงเมอื ง กายนคร จดั เปน โลกวิทู ความเหน็ แจง ในกายนครทว่ั ทงั้ ไตรโลกธาตกุ ไ็ ดด ว ย ยถาภตู ญาณทสั สนะ ความเหน็ ตามเปน จรงิ ในกายทกุ สว น หมดความสงสยั ในเรอ่ื งของ กายที่เรยี กวา รปู ธรรม ตอไปนี้จะอธิบายวิปสสนาเกี่ยวกับ นามธรรม คือ เวทนา สญั ญา สังขาร และวิญญาณ นามธรรม ทั้งสี่น้ีเปนสวนหน่ึงของ ขันธ ๕ แตละเอียดไปกวา รูปขันธ คือ กายไมสามารถมองเห็นดวยตา แตรูได ทางใจ

๓๙พระธรรมวิสทุ ธิมงคล (ทานอาจารยพระมหาบัว ญาณสัมปน โน) เวทนา คือสิง่ ทจ่ี ะตอ งเสวยทางใจ สขุ บาง ทุกข บา ง เฉย ๆ บาง สญั ญา คอื ความจำ เชน จำชอ่ื จำเสียง จำวัตถุ สิง่ ของ จำบาลคี าถา เปนตน สังขาร คอื ความคิด ความปรงุ เชน คิดดีคดิ ช่ัว คิดกลาง ๆ ไมดไี มชว่ั หรอื ปรุงอดีตอนาคต เปน ตน และ วญิ ญาณ ความรบั รู คอื รบั รรู ูป เสยี ง กลน่ิ รส เครอ่ื งสมั ผสั และธรรมารมณ ในขณะทสี่ ง่ิ เหลา น้มี ากระทบ ตา หู จมกู ล้ิน กาย และใจ นามธรรมทง้ั สนี่ เี้ ปน อาการของใจ ออกมาจากใจ รูไดที่ใจและเปนมายาของใจดวย ถาใจยังไมรอบคอบ จงึ จดั วาเปนเครอื่ งปกปด กำบังความจรงิ ไดดวย การพิจารณานามธรรมทั้งสี่ ตองพิจารณา ดวยปญญา โดยทางไตรลักษณลวน ๆ เพราะขันธ เหลาน้ีมีไตรลักษณประจำตนทุกอาการที่เคลื่อนไหว แตว ธิ พี จิ ารณาในขนั ธท งั้ สนี่ ี้ ตามแตจ รติ จะชอบในขนั ธใ ด ไตรลกั ษณใด หรอื ทั่วไปในขนั ธและไตรลกั ษณน ั้น ๆ จง พจิ ารณาตามจรติ ชอบในขนั ธแ ละไตรลกั ษณน น้ั ๆ เพราะ

๔๐ ปญญาอบรมสมาธิ ขนั ธและไตรลักษณห นงึ่ ๆ เปน ธรรมเก่ียวโยงถงึ กนั จะ พจิ ารณาเพยี งขนั ธห รอื ไตรลกั ษณเ ดยี วกเ็ ปน เหตใุ หค วาม เขาใจหย่ังทราบไปในขันธและไตรลักษณอื่น ๆ ไดโดย สมบรู ณ เชน เดยี วกบั พจิ ารณาไปพรอ ม ๆ กนั เพราะขนั ธ และไตรลกั ษณเ หลา นม้ี อี รยิ สจั เปน รว้ั กน้ั เขตแดนรบั รอง ไวแลว เชนเดียวกับการรับประทานอาหารลงในท่ี แหง เดยี วยอ มซมึ ซาบไปทวั่ อวยั วะนอ ยใหญ ของรางกาย ซ่ึงเปนสวนใหญรับรอง ไวแ ลว ฉะนัน้ เพราะฉะนน้ั ผปู ฏบิ ตั จิ งตง้ั สติ และ ปญญา ใหเขาใกลชิดตอนามธรรม คอื ขันธ ๔ นที้ ุกขณะท่ีขันธนน้ั ๆ เคล่อื นไหว คอื ปรากฏขึน้ ต้งั อยู และดับไป และไมเท่ียง เปนทุกข เปน อนัตตา ประจำตน ไมม เี วลาหยุดย้งั ตามความจรงิ ของ เขา ซึ่งแสดงหรอื ประกาศตนอยูอ ยางน้ี ไมม ีเวลาสงบ แมแตขณะเดียว ทั้งภายใน ทั้งภายนอก ท่ัวโลกธาตุ ประกาศเปนเสยี งเดยี วกัน คอื ไมเ ที่ยง เปนทกุ ข เปน อนตั ตา ปฏเิ สธความหวงั ของสตั ว พดู งา ย ๆ กค็ อื ธรรม

๔๑พระธรรมวิสุทธิมงคล (ทา นอาจารยพ ระมหาบวั ญาณสมั ปนโน) ทงั้ นไี้ มม เี จา ของ ประกาศตนอยอู ยา งอสิ รเสรตี ลอดกาล ใครหลงไปยึดเขาก็พบแตความทุกขดวยความเห่ียวแหง ใจ ตรอมใจ หนกั เขากนิ อยหู ลบั นอนไมได นำ้ ตาไหล จนจะกลายเปน แมน ำ้ ลำคลอง ไหลนองตลอดเวลา และ ตลอดอนันตกาลที่สัตวยังหลงของอยู ช้ีใหเห็นงาย ๆ ขนั ธทั้งหาเปนบอหลงั่ น้ำตาของสตั วผ ูลมุ หลงน่ันเอง การพิจารณาใหรูดวยปญญาชอบ ในขนั ธ และสภาวธรรมทั้งหลาย ก็เพอื่ จะ ประหยดั นำ้ ตาและตดั ภพชาตใิ หน อ ยลง หรอื ใหข าดกระเดน็ ออกจากใจผเู ปน เจา ทกุ ข ใหไ ด รับความสุขอยางสมบูรณนั่นเอง สภาวธรรมมีขันธเปนตน น้ี จะเปนพิษสำหรับผูยังลุมหลง สวนผูรูเทาทันขันธและสภาวธรรมท้ังปวงแลว สิ่งท้ังน้ี จะสามารถทำพิษอะไรได และทานยังถือเอาประโยชน จากส่ิงเหลาน้ีไดเทาที่ควร เชนเดียวกับขวากหนามที่มี อยูท่ัวไป ใครไมรูไปโดนเขาก็เปนอันตราย แตถารูวา เปน หนามแลว นำไปทำรวั้ บา นหรอื กนั้ สง่ิ ปลกู สรา ง กไ็ ด รบั ประโยชนเทา ทีค่ วร ฉนั นั้น

๔๒ ปญ ญาอบรมสมาธิ เพราะฉะนั้น ผูปฏิบัติจงทำความแยบคายใน ขันธและสภาวธรรมดวยดี สิ่งท้ังน้ีเกิดดับอยูกับจิตทุก ขณะ จงตามรคู วามเปน ไปของเขาดว ยปญ ญาวา อยา งไร จะรอบคอบและรูเทาทัน จงถือเปนภาระสำคัญประจำ อิริยาบถ อยา ไดป ระมาทนอนใจ ธรรมเทศนาที่แสดงขึ้นจากขันธและสภาวธรรม ทั่วไปในระยะนี้จะปรากฏทางสติปญญาไมมีเวลาจบสิ้น และเทศนไมมีจำนนทางสำนวนโวหาร ประกาศเรื่อง ไตรลักษณป ระจำตัวตลอดเวลา ทง้ั กลางวัน กลางคนื ยนื เดนิ นง่ั นอน ทง้ั เปน ระยะท่ีปญ ญาของเราควร แกการฟง แลว เหมือนเราไดไตรต รองตามธรรมเทศนา ของพระธรรมกถกึ อยา งสุดซึ้งนนั่ เอง ขั้นนี้ นักปฏิบัติจะรูสึกวาเพลิดเพลินเต็มท่ีใน การคนคิดตามความจริงของขันธและสภาวธรรมที่ ประกาศความจริงประจำตนแทบไมมีเวลาหลับนอน เพราะอำนาจความเพียรในหลักธรรมชาติไมขาดวรรค ขาดตอน โดยทางปญ ญาสบื ตอในขันธห รือสภาวธรรม ซึ่งเปนหลักธรรมชาติเชนเดียวกัน ก็จะพบความจริง

๔๓พระธรรมวสิ ุทธมิ งคล (ทา นอาจารยพ ระมหาบวั ญาณสมั ปน โน) จากขันธและสภาวธรรมประจักษใจขึ้นมาดวยปญญาวา แมข ันธทั้งมวลและสภาวธรรมทวั่ ไป ตลอดไตรโลกธาตุ ก็เปนธรรมชาติ ธรรมดาของเขาอยางนั้น ไมปรากฏ วา สง่ิ เหลา นเ้ี ปนกิเลสตณั หาตามโมหนิยมแตอยา งใด อปุ มาเปน หลกั เทียบเคียง เชน ของกลางท่โี จร ลักไปกพ็ ลอยเปนเรอื่ งราวไปตามโจร แตเม่อื เจา หนาที่ ไดสืบสวนสอบสวนดูถวนถ่ีจนไดพยานหลักฐานเปนที่ พอใจแลว ของกลางจับไดก็สงคืนเจาของเดิมหรือเก็บ ไวในสถานท่ีควร ไมมีโทษแตอยางใด เจา หนาท่กี ็มไิ ดต ดิ ใจในของกลาง ปญ หาเรอื่ ง โทษก็ขึ้นอยูกับโจร เจาหนาท่ีจะตอง เกย่ี วขอ งกบั โจร และจับตัวไปสอบสวน ตามกฎหมาย เมื่อไดค วามตามพยาน หลักฐานถูกตองตามกฎหมายวาเปน ความจรงิ แลว ก็ลงโทษผตู อ งหาตาม กฎหมาย และปลอยตวั ผไู มมคี วามผดิ และไมม สี ว นเกยี่ วขอ งออกไปเปน อสิ ระ เสรตี ามเดมิ ฉนั ใด เร่ืองอวชิ ชา จติ กับ สภาวธรรมท้งั หลายก็ฉันนน้ั

๔๔ ปญญาอบรมสมาธิ ขนั ธแ ละสภาวธรรมทวั่ ทง้ั ไตรโลกธาตไุ มม คี วาม ผดิ และเปน กเิ ลสบาปธรรมแตอ ยา งใด แตพ ลอยเปน เรอื่ ง ไปดว ย เพราะจติ ผฝู ง อยใู ตอ ำนาจของอวชิ ชา ไมร ตู วั วา อวิชชาคอื ใคร อวิชชากบั จิตจงึ กลมกลืนเปนอันเดียวกัน เปนจิตหลงไปทัง้ ดวง เทีย่ วกอ เร่อื งรัก เร่ืองชัง ฝง ไว ตามธาตุขนั ธ คอื ตามรูป เสียง กล่นิ รส เครือ่ งสัมผัส ตามตา หู จมูก ลิน้ กาย และใจ และฝงรกั ฝง ชังไวตาม รูป เวทนา สญั ญา สงั ขาร วิญญาณ ตลอดไตรโลก ธาตุ เปนสภาวะที่ถูกจับจองและรักชังยึดถือจากใจดวง ลมุ หลงนที้ งั้ สนิ้ เพราะอำนาจความจบั จองยดึ ถอื เปน เหตุ ใจอวชิ ชาดวงน้จี งึ เที่ยวเกดิ แก เจ็บ ตาย หมุนเวียนไป ไดท กุ กำเนิด ไมว า สูง ตำ่ ดี ชัว่ ในภพทง้ั สามนี้ แมจะแยกกำเนิดของสัตวที่ตาง กันในภพน้ัน ๆ ไว มากเทาไร ใจดวง อวิชชาน้ีสามารถจะไป ถือเอากำเนิดในภพน้ัน ๆ ไดต ามแตป จ จยั เครอ่ื งหนนุ ของ

๔๕พระธรรมวสิ ทุ ธิมงคล (ทา นอาจารยพ ระมหาบัว ญาณสัมปน โน) จติ ดวงนมี้ กี ำลงั มากนอ ยและดชี วั่ เทา ไร ใจดวงนต้ี อ งไป เกิดไดตามโอกาสท่ีจะอำนวย ตามสภาวะท้ังหลายที่ใจ ดวงน้ีมีความเกี่ยวของ จึงกลายเปนเรื่องผิดจากความ จริงของตนไปโดยลำดับ เพราะอำนาจอวิชชาอันเดียว เทา นจ้ี งึ กอ เหตรุ า ยปา ยสไี ปทว่ั ไตรโลกธาตใุ หแ ปรสภาพ คอื ธาตุลวน ๆ ของเดมิ ไปเปน สัตว เปน บคุ คล และเปน ความเกิด แก เจ็บ ตาย ตามโมหะ (อวชิ ชา) นยิ ม เม่อื ทราบชัดดว ยปญ ญาวา ขันธ ๕ และสภาว ธรรมทงั้ หลายไมใ ชต วั เรอ่ื งและตวั กอ เรอ่ื ง เปน แตพ ลอย มีเรื่องเพราะอวิชชาเปนผูเรืองอำนาจบันดาลใหสภาวะ ทง้ั หลายเปนไปไดตามอยางนแ้ี ลว ปญ ญาจงึ ตามคน ลง ท่ีตนตอคือจิตดวงรู อันเปนบอเกิดของเรื่องท้ังหลาย อยางไมห ยุดย้งั ตลอดอริ ิยาบถคอื ยืนเดนิ นงั่ นอนโดย ความไมว างใจในความรอู ันน้ี เมื่อสติปญญาท่ีไดฝกซอมเปนเวลานานจนมี ความสามารถเตม็ ที่ ไดแ ผว งลอ มและฟาดฟน เขา ไปตรง จดุ ใหญค อื ผรู ทู เี่ ตม็ ไปดว ยอวชิ ชาอยา งไมร รี อตอ ยทุ ธก นั ทางปญญา เม่ืออวิชชาทนตอ ดาบเพชรคอื สติปญ ญาไม

๔๖ ปญญาอบรมสมาธิ ไหว กท็ ลายลงจากจติ ทเ่ี ปน แทน บลั ลงั กอ นั ประเสรฐิ ของ อวิชชามาแตกาลไหน ๆ เม่ืออวิชชาไดถูกทำลายตาย ลงไปแลว ดว ยอำนาจ มรรคญาณ ซ่งึ เปน อาวธุ ทันสมยั เพยี งขณะเดยี วเทา นน้ั ความจรงิ ทงั้ หลายทไ่ี ดถ กู อวชิ ชา กดขี่บังคับเอาไวนานเปนแสนกัปนับไมถวนก็ไดถูกเปด เผยข้ึนมาเปนของกลาง คอื เปนความจริงลวน ๆ ทงั้ ส้นิ ธรรมที่ไมเคยรูไดปรากฏขึน้ มาในวาระสุดทา ย ยถาภูต ญาณทสั สนะ เปน ความรเู หน็ ตามเปน จรงิ ในสภาวธรรม ทั้งหลายอยางเปด เผยไมม อี ะไรปด บงั แมแตน อ ย เม่ืออวิชชาเจาผูปกครองนครวัฏฏะตายไปแลว ดวยอาวุธคือปญญาญาณ พระนิพพานจะทนตอความ เปดเผยของผูทำจริง รูจ ริง เห็นจริง ไปไมได แมส ภาว ธรรมท้ังหลาย นบั แตข ันธ ๕ อายตนะภายในภายนอก ท่ัวทงั้ ไตรโลกธาตุ กไ็ ดเปนธรรมเปด เผยตามความจรงิ ของตน จึงไมป รากฏวาจะมีอะไรที่เปนขาศึกแกใ จตอ ไป อีก นอกจากจะปฏบิ ัตขิ ันธ ๕ พอใหถึงกาลอันควรอยู ควรไปของเขาเทานั้น ก็ไมเห็นมีอะไร เร่ืองท้ังหมดก็ มีอวิชชาคือความรูโกหกอันเดียวเทาน้ันเท่ียวรังแกและ กีดขวางตอสภาวะใหเปลี่ยนไปจากความจริงของตน

๔๗พระธรรมวสิ ุทธิมงคล (ทา นอาจารยพระมหาบวั ญาณสัมปนโน) อวิชชาดับอันเดียวเทานั้น โลกคือสภาวะทั่ว ๆ ไป ก็ กลายเปนปกตธิ รรมดา ไมม ใี ครจะไปตำหนติ ชิ มใหเขา เปนอยางไรตอ ไปไดอีกแลว เชน เดยี วกบั มหาโจรผลู อื นามไดถ กู เจา หนา ทฆี่ า ตายแลว ชาวเมอื งพากนั อยสู บายหายความระวงั ภยั จาก โจร ฉะน้ัน ใจทรงยถาภูตญาณทัสสนะคือความรูเห็น ตามเปนจริงในสภาวธรรมท้ังหลายอยางสมบูรณ และ เปนความรูท่ีสม่ำเสมอไมลำเอียงตลอดกาล นับแตวัน อวิชชาไดขาดกระเด็นไปจากใจแลว ใจยอมมีอิสระเสรี ในการนึกคิดไตรตรองรูเห็นในสภาวธรรมท่ีเก่ียวกับใจ ไดอยางสมบรู ณ ตา หู จมูก ฯลฯ และรูป เสียง กล่นิ รส ฯลฯ กก็ ลายเปน อิสระเสรใี นสภาพของเขาไปตาม ๆ กนั ไมถกู กดขบ่ี ังคับ หรอื สง เสรมิ ใด ๆ จากใจอกี เชน เคยเปน มา ทง้ั นี้เนอ่ื งมาจากใจเปน ธรรม มีความเสมอ ภาคและใหความเสมอภาคแกส ิง่ ทัง้ ปวง จึงหมดศัตรูตอ กนั เพียงเทา นี้ เปนอันวาจิตกับสภาวธรรมท้ังหลายในไตรโลก ธาตุไดประกาศสันติ ความสงบตอกันลงในสัจจะความ

๔๘ ปญ ญาอบรมสมาธิ จรงิ ดว ยกนั อยา งสมบรู ณ ภาระของจติ และเรอื่ งวปิ ส สนา ของนามธรรมท่เี กีย่ วกับจิตจึงขอยตุ เิ พียงเทา น้ี ฉะน้ัน จึงขออภัยโทษเผดียงทานนักปฏิบัติทั้ง หลาย เพื่อกำจัดกิเลสดวยธรรมของพระพทุ ธเจา จง เห็นธรรมในคัมภรี ท ุก ๆ คมั ภีรชี้ตรงเขา มาหากิเลสและ ธรรมในตัวของเรา อยาเหน็ วากิเลสและธรรมมนี อกไป จากตัวของเรา โดยไปซุมซอนอยูในท่ีใดที่หน่ึง ผูใดมี โอปนยกิ ธรรม ประจำใจ ผนู น้ั จะเอาตวั รอดได เพราะ ศาสนธรรมสอนผูฟงใหเปนโอปนยิกะ คือนอมเขามาสู ตวั ทง้ั นนั้ และอยา พงึ เหน็ วา ศาสนธรรมของพระพทุ ธเจา เปน อดีต อนาคต โดยไปอยกู ับคนทีล่ ว งลบั ไปแลวและ ไปอยูกบั คนท่ียังไมเ กิด จงทราบวาพระพุทธเจาไมไดสอนคนตายแลว และไมสอนคนที่ยังไมเกิด จงเห็นวาพระองคสอนคน เปนคือยงั มชี ีวติ อยูเชน พวกเราทั้งหลาย สมกบั พระพทุ ธ ศาสนาเปน ปจจบุ นั ทันสมัยตลอดกาล ขอความสวัสดีมงคลจงมีแดทานผูอานผูฟงท้ัง หลาย โดยทว่ั หนา กันเถิดฯ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook