Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Technique

Technique

Published by ชมรมกัลยาณธรรม, 2021-03-10 13:38:53

Description: Technique

Search

Read the Text Version

อ.วศนิ อนิ ทสระ พการระเทศเคผานยิคสแนผา่

เทคนิค ก า ร เ ผ ย แ ผ่ พ ร ะ ศ า ส น า อ.วศิน อนิ ทสระ

ก า ร เ ผเยทแ ผค่ พนรคิ ะ ศ า ส น า อ.วศิน อนิ ทสระ Facebook : อาจารย์วศนิ อนิ ทสระ Facebook : Wasin Indasara www.ruendham.com ชมรมกัลยาณธรรม หนังสือดีล�ำดับท ี่ ๓๑๙ สพั พทานัง ธมั มทานงั  ชินาติ การให้ธรรมะเป็นทาน ยอ่ มชนะการให้ทั้งปวง พิมพค์ รงั้ ที ่ ๑ : พฤษภาคม ๒๕๕๘   จำ� นวนพิมพ ์ ๔,๐๐๐ เล่ม   จดั พมิ พโ์ ดย ชมรมกลั ยาณธรรม ๑๐๐ ถนนประโคนชยั   ตำ� บลปากนำ้�  อำ� เภอเมอื ง จงั หวดั สมทุ รปราการ ๑๐๒๗๐  โทรศพั ท ์ ๐-๒๗๐๒-๗๓๕๓ และ ๐-๒๗๐๒-๙๖๒๔ ออกแบบปก/รปู เลม่  คนขา้ งหลงั    ภาพประกอบในเลม่  ภรณ ี โสรจั จกลุ พสิ จู นอ์ กั ษร ทมี งานกลั ยาณธรรม พมิ พโ์ ดย Canna graphic โทรศพั ท ์ ๐๘-๖๔๕๘-๓๗๙๒ www.kanlayanatam.com

คํ า อ นุ โ ม ท น า ชมรมกัลยาณธรรมโดยทันตแพทย์หญิงอัจฉรา  กล่ินสุวรรณ์  ขอ  อนุญาตพิมพ์หนังสือเร่ือง  “เทคนิคการเผยแผ่พระศาสนา”  ข้าพเจ้า  อนุญาตดว้ ยความยนิ ดยี ่ิง คิดว่าจะเป็นประโยชนแ์ ก่พระภกิ ษุ ผู้สนใจ  ในการเผยแผศ่ าสนา และประชาชนทว่ั ไป พระพุทธเจา้ ทรงแสดงแก่พระอานนท์วา่  การแสดงธรรมแกผ่ ูอ้ ื่น  ไม่ใช่เป็นส่ิงที่จะท�ำได้ง่ายเพราะผู้แสดงธรรมจะต้องต้ังตนไว้ในธรรม  ๕ อย่างเสยี ก่อน คอื   ๑. เราจกั แสดงธรรมไปโดยลำ� ดบั  ไมต่ ัดลดั ใหข้ าดความ  ๒. เราจักอ้างเหตผุ ล แนะน�ำให้ผฟู้ งั เขา้ ใจ  ๓. เราจกั ตัง้ จติ เมตตา ปรารถนาใหเ้ ปน็ ประโยชน์แกผ่ ฟู้ ัง ๔. เราจกั ไม่แสดงธรรมเพราะเหน็ แก่ลาภ  ๕.  เราจักไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น  คือว่า  จักไม่ยกตน  เสยี ดสผี ู้อืน่ (พระไตรปิฎกบาลีเล่ม ๒๒ หนา้  ๒๐๖) 

เ ท ค นิ ค ก า ร เ ผ ย แ ผ่ พ ร ะ ศ า ส น า 4 ท่ีว่า  “แสดงธรรมไปโดยล�ำดับ  ไม่ตัดลัดให้ขาดความ”  นั้น  หมายความวา่  ไมเ่ ลอื กเอาเฉพาะทตี่ นพอใจ แลว้ ทง้ิ สว่ นทตี่ นไมพ่ อใจ  เสยี ในทบ่ี างแหง่  พระพทุ ธองคต์ รสั วา่  ทรงแสดงธรรมดว้ ยจดุ มงุ่ หมาย  ๓  อย่างคือ  ๑.  เพื่อให้ผู้ฟังรู้จริงเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น  (ทรงแสดง  เท่าท่ีจำ� เป็น)  ๒.  ทรงแสดงธรรมมีเหตุที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้  (บาง  คราวทรงปรารภเหตุใดเหตุหนึ่งแล้วจึงทรงแสดงธรรมให ้ เหมาะสมแกเ่ หต)ุ ๓.  ทรงแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์  หมายความว่า  เมื่อผู้ฟังปฏิบัต ิ ตามแล้วได้รับผลจริง  (เป็นปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง  ที่เรียกว่า  อนุสาสนียป์ าฏิหาริย์)  (พระไตรปฎิ กบาลเี ลม่  ๒๐ หนา้  ๓๕๖)  ท่านผู้อ่านโปรดดูในหนังสือ  “พุทธวิธีในการสอน”  ของข้าพเจ้า  เพม่ิ เตมิ ดว้ ย พมิ พค์ รงั้ ท ี่ ๕ โดยสำ� นกั พมิ พธ์ รรมดา เมอ่ื  พ.ศ.๒๕๔๘ เรอ่ื ง “เทคนคิ การเผยแผพ่ ระศาสนา” น ี้ ขา้ พเจา้ เขยี นไวน้ านแลว้   พมิ พค์ รง้ั แรกเมอ่ื ป ี ๒๕๓๗ โดยส�ำนกั พมิ พป์ ญั ญา รวมอยใู่ นหนงั สอื   เร่ือง  “ชาวพุทธกับวิกฤติศรัทธา”  แต่ในคราวน้ีได้แยกออกมาพิมพ ์ ต่างหาก  เพ่ือประโยชน์แก่ผู้สนใจในเทคนิคการเผยแผ่ศาสนา  และได ้ เพม่ิ เตมิ บทความเรอ่ื ง “การเผยแผพ่ ระพทุ ธศาสนาทางสอื่ มวลชน” ซงึ่  

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 5 เคยตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ฉบับหน่ึงนานแล้วมารวมไว้เป็นภาคผนวก  ด้วย ข้าพเจ้าหวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์สมความมุ่งหมาย  พระพทุ ธเจา้ ตรสั ฝากไวว้ า่  “ขอใหช้ าวพทุ ธชว่ ยกนั กลา่ วธรรม สอ่ งแสง  ธรรม  เพราะว่าธรรมนั่นแหละเป็นธงของผู้แสวงหาคุณอันย่ิงใหญ ่ ท้ังหลาย (ภาสเย โชตเย ธมฺม ํ ... ธมฺโม ห ิ อสิ ิน ํ ธโช)  ขอผู้มีทุกข์จงพ้นทุกข์  ขอผู้มีภัยจงพ้นภัย  ขอผู้มีโศกจงพ้นโศก  ตลอดกาลทกุ เม่อื ด้วยความปรารถนาดอี ยา่ งยิ่ง ๑๔  พฤษภาคม  ๒๕๕๘

คํ า นํ า ข อ ง ช ม ร ม กั ล ย า ณ ธ ร ร ม ขา้ พเจา้ ไดอ้ า่ นงานประพนั ธเ์ รอ่ื ง “เทคนคิ การเผยแผพ่ ระศาสนา”  ของทา่ นอาจารยว์ ศนิ  อนิ ทสระ จากการเตรยี มตน้ ฉบบั งานพมิ พห์ นงั สอื   ชาวพุทธกับวิกฤติศรัทธา  ซ่ึงมีเร่ืองนี้รวมอยู่ด้วย  เกิดความประทับใจ  ในธรรมท่ีท่านแสดงไว้เป็นลำ� ดับข้ันตอนดีเหลือเกิน เมื่อท่านอาจารย์  ปรารภวา่ ปรารถนาจะจดั พมิ พเ์ รอ่ื ง “เทคนคิ การเผยแผพ่ ระศาสนา” แยก  ต่างหากอีกเล่ม  เพื่อให้เป็นคู่มือส�ำหรับบุคลากรทางศาสนา  ครูบา  อาจารย์  รวมท้ังผู้เผยแผ่ธรรมและประชาชนท่ัวไป  จะได้ใช้เป็น  เคร่ืองมือและเป็นก�ำลังใจในการท�ำงานและด�ำเนินชีวิตได้อย่างม ี ประสิทธิภาพ  ด้วยแนวธรรมท่ีท่านอาจารย์ได้ชี้แนะไว้ดีแล้ว ในนาม ชมรมกัลยาณธรรมรู้สึกยินดียิ่งที่จะได้เผยแผ่งานอันทรงคุณค่าน้ ี อีกครั้ง และยังได้รวมบทความเร่ือง “การเผยแผ่พระพุทธศาสนาทาง  สอื่ มวลชน” ไวใ้ นภาคผนวกด้วย

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 7 เนอ้ื หาในหนงั สอื  “เทคนคิ การเผยแผพ่ ระศาสนา” เลม่ น ี้ เปน็ ธรรม  ลิขิตท่ีวิจิตรงดงาม  ประทับใจข้าพเจ้าด้วยถ้อยธรรมอันสละสลวย  ออ่ นโยน นำ� มาปฏบิ ตั ไิ ดจ้ รงิ  เปน็ ธรรมจากดวงจติ ทเี่ ปย่ี มเมตตา พรอ้ ม  ข้อเสนอแนะท่ีเป็นประโยชน์จากประสบการณ์ตรงของท่านอาจารย์  ซึ่งตลอดชีวิตท่ีผ่านมาเกือบ  ๘๐  ปีน้ันท่านคือ “ครูโดยจิตวิญญาณ”  โดยแท ้ ดว้ ยความใฝร่ ใู้ ฝเ่ รยี น ไดข้ น้ึ ธรรมาสนเ์ ทศนป์ ฏภิ าณ (ปากเปลา่ )  ต้ังแต่สมัยเป็นสามเณรน้อย  (หลังจากจบนักธรรมโท)  บ่มเพาะ  ดวงปัญญาโชติช่วงลุกโชนสว่างไสวอยู่ภายใน  ไม่เคยระย่อท้อถอยใน  ความเพียร  ท่านสามารถสอบเปรียญธรรมได้ทุกปี  จนสามารถสอบ  ผา่ นเปรยี ญ ๗ ประโยค ตงั้ แตย่ งั เปน็ สามเณร ครนั้ ตอ่ มาไดอ้ ปุ สมบท  เป็นพระแล้วจึงต้ังใจไปศึกษาวิชาการสมัยใหม่จากมหาวิทยาลัยสงฆ ์ ที่มหามกุฏราชวิทยาลัย  ด้วยหวังจะน�ำวิชาการความรู้สมัยใหม่มาใช้  ประโยชน์เกื้อกูลแก่งานเผยแผ่ธรรมให้กว้างขวางทันสมัย  และมี  ประสิทธิภาพมากข้ึน  ซึ่งตามหลักสูตรท่านต้องใช้เวลาศึกษานานถึง  ๗ ป ี เพม่ิ พนู ปญั ญาในพระธรรมคำ� สอน หวงั ไดม้ โี อกาสตอบแทนคณุ   พระศาสนา และทายกทายกิ าผอู้ ปุ ถมั ภบ์ ำ� รงุ พระศาสนามาตามลำ� ดบั   (ต่อมาได้ไปศึกษาต่อท่ีมหาวิทยาลัยบานารัส  ประเทศอินเดียด้วย)  ซงึ่ งานเผยแผธ่ รรมนค้ี อื ปณธิ านของทา่ นอาจารยท์ มี่ น่ั คงและเปย่ี มดว้ ย  คุณภาพมาตลอดชีวิต  ท่านเปรียบพระธรรมประดุจมหาสมุทรแห่ง  นานารัตนะที่ท่านร่ืมรมย์ด่ืมด�่ำในธรรมรส  และไม่อ่ิมไม่เบ่ือท่ีจะบอก  จะสอนใหผ้ อู้ ่นื รู้ตามสืบเนื่องมาจวบจนบดั น ี้ ปที  ี่ ๘๑ แหง่ ชาตกาล

เ ท ค นิ ค ก า ร เ ผ ย แ ผ่ พ ร ะ ศ า ส น า 8   กลา่ วโดยรวมแลว้  งานประพนั ธเ์ รอ่ื งน ้ี คอื ธรรมทท่ี า่ นอาจารย ์ เปน็ อยู่ และคือเลือดเนื้อจิตวิญญาณของท่านอาจารย์ตามที่เป็นจริง  เพราะความเป็นครูด้วยจิตวิญญาณเปี่ยมด้วยความกรุณานั้นเป็น  ตัวท่านอยู่โดยแท้แล้ว  เม่ืออ่านไปประโยคไหน  บรรทัดไหน  น่ันก็คือ  คุณสมบัติท่ีมีในตัวท่านทั้งนั้น  ช่างน่าอัศจรรย์ในธรรมท่ีท่านท�ำให้ด ู เป็นอยู่ให้เห็น  ข้าพเจ้าในนามคณะศิษย์จึงขอเป็นตัวแทนน้อมกราบ  บชู าอาจรยิ คณุ  ปาเจราจรยิ า โหนติ คณุ ตุ ตรานสุ าสกา ขอนอบนอ้ ม  บูชาพระคุณครูผู้เปี่ยมเมตตา  ยากจะหาผู้ใดเสมอเสมือน  บุญกุศลใด  อนั จะพงึ บงั เกดิ จากงานเผยแผธ่ รรมอนั ประเสรฐิ  จงมาคมุ้ ครองอภบิ าล  ปิยาจารย์ของข้าพเจ้า  ให้ท่านปราศจาก  ทุกข์  โศก  โรค  ภัย  อยู่สงบ  เยน็ เป็นสุข  ทุกทิพาราตรี  ได้บรรลุมรรค  ผล  นิพพาน ตามอธิษฐาน  บารมสี บื เนอ่ื งมา และหวงั วา่ หนงั สอื นจ้ี ะมปี ระโยชนแ์ กท่ กุ ทา่ น สมดง่ั   กุศลเจตนาของท่านอาจารย์  เพื่อยังพหูชนให้มีดวงประทีปแห่งธรรม  ส่องสว่างในดวงจิตสบื ตอ่ ไปทกุ กาลสมัย เทอญ ด้วยความเคารพบูชาในพระรัตนตรยั อย่างสงู ยิ่ง ทพญ. อัจฉรา กลิน่ สวุ รรณ์  ประธานชมรมกัลยาณธรรม ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘

ส า ร บั ญ ๑๓ บทน�ำ ๑๕ ๓๑การเผยแผโ่ ดยการพดู ๓๙การเผยแผ่โดยการเขยี น ๔๙การเผยแผ่โดยการทำ� ตวั อย่างใหด้ ู สภาพขาดแคลนบุคลากรในวงการพระพทุ ธศาสนา ๕๕ ภาคผนวก ๖๘- การเผยแผพ่ ระพุทธศาสนาทางส่อื มวลชน ประวตั ิ อ.วศิน อนิ ทสระ

ความรู้ดนี ้ันนับวา่ ดีอยู่แล้ว แตท่ ่ดี กี วา่ กค็ ือการน�ำเอาความรนู้ น้ั มาใช้ใหเ้ กิดประโยชนจ์ ริง ทัง้ แก่ตนเองและสงั คม..

เทคพนริคะกศาารสเนผายแผ่



อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 13 บ ท นํ า ในมหาวิทยาลัยสงฆ์น้ันมีหลักสูตรทันสมัย  การเรียนการสอนด ี พอสมควร (มไิ ดห้ มายความวา่ เราพอใจในคณุ ภาพของนกั ศกึ ษาแลว้   ยังต้องปรับปรุงอีกมาก)  แต่ยังขาดโครงการส�ำคัญอันหน่ึง  คือการ  ฝึกอบรมพระภิกษุนักศึกษาผู้มีศักยภาพท่ีจะเป็นนักเผยแผ่ที่ด ี ได้  ให้มีคุณสมบัติเพียบพร้อมในการเป็นนักเผยแผ่  ถ้ามีโครงการน ้ี ขึ้นอย่างเป็นล่�ำเป็นสัน  มหาวิทยาลัยจะต้องสอดส่องพระภิกษุ  สามเณรผมู้ ศี กั ยภาพเชน่ นนั้  น�ำเขา้ สโู่ ครงการเพอื่ เปน็ ศาสนทายาท  ด้านเผยแผ่ต่อไป  แปลว่า  ก�ำหนดหมายเอาไว้ว่าจะให้ใครท�ำอะไร  ต่อไป  พร้อมกับมีกองทุนอุดหนุน  มีปัจจัยแวดล้อม  เพื่อให้ท่าน  เป็นอย่างนั้นจริงๆ  โดยที่นักศึกษาเองก็สมัครใจด้วย  ท่านเองก็คง  ภูมิใจที่ได้รับเลือกเตรียมตัวเพื่อเป็นนักเผยแผ่ท่ีส�ำคัญในอนาคต  แม้ท่านจะอยู่ไม่ได้ในเพศบรรพชิต  สึกไป  ถ้ายังมีคุณสมบัติเช่นนั้น  อยู่  ก็ยังท�ำหน้าที่เผยแผ่ศาสนาได้ในเพศฆราวาส การเผยแผ่ทำ� ได้ ๓ วธิ ี คือ •  การพดู • การเขยี น • การท�ำตวั อยา่ งใหด้  ู เปน็ อยู่ใหเ้ ห็น



อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 15 ก า ร เ ผ ย แ ผ่ โ ด ย ก า ร พู ด การเผยแผโ่ ดยการพดู นน้ั  ทำ� กนั โดยทว่ั ไปอยแู่ ลว้ และทำ� กนั มาก  ทงั้ ในทวี แี ละวทิ ย ุ แตด่ ๆู  คอ่ นขา้ งจะไดผ้ ลนอ้ ย ไมค่ อ่ ยคมุ้ เวลา นา่ จะ  ลองวิเคราะห์ดวู ่า เพราะอะไร? ๑.๑  เกี่ยวกับตัวผู้พูดหรือผู้สอน  มีคุณสมบัติพอหรือไม่?  เช่น  คุณสมบัติของผู้เผยแผ่  ที่พระพุทธองค์ทรงเรียกว่าคุณสมบัติ  ของผกู้ ลา่ วธรรม (ธรรมกถกิ ะ หรอื ทเ่ี รยี กอยา่ งไทยๆ วา่  “ธรรมกถกึ ”)  กล่าวคือ ก.  แสดงธรรมไปโดยล�ำดับไม่ตัดลัดให้ขาดความ  หรือไม่ตัด  จนเสียความ  ฟังแล้วไม่ได้ความหมายเต็มบริบูรณ์  อาจท�ำให้ผู้ฟัง  ถอื เอาผดิ เพราะฟงั เพยี งบางทอ่ นบางตอนของเรอื่ งนน้ั  ผแู้ สดงธรรม  บางคนดึงเอาพระพุทธพจน์เฉพาะส่วนท่ีตนพอใจ  เข้ากับความเห็น  ของตนได้เท่าน้ันมาแสดง  นอกน้ันตัดออกไป  อย่างนี้ก็เรียกว่า  ตัดลัดใหเ้ สียความ เปน็ อันตรายตอ่ ผ้ฟู ังซ่ึงรู้ไม่ทั่วถงึ ดว้ ย

เ ท ค นิ ค ก า ร เ ผ ย แ ผ่ พ ร ะ ศ า ส น า 16 ข. แสดงธรรมโดยการอา้ งเหตผุ ล เพอ่ื ใหผ้ ฟู้ งั เขา้ ใจตามเหตผุ ล  นน้ั  ทกุ อยา่ งมเี หตผุ ลอย ู่ เราจะเขา้ ถงึ เหตผุ ลหรอื ไมเ่ ทา่ นนั้  ผเู้ ขา้ ถงึ   เหตผุ ลยอ่ มรเู้ หตผุ ลไดล้ กึ กวา่ ผเู้ ขา้ ไมถ่ งึ  ในการแสดงธรรมหรอื ตอบ  คำ� ถามจงึ ตอ้ งหาเหตผุ ลประกอบให้ชัดเจน ค.  แสดงธรรมโดยอาศัยเมตตา  ปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก ่ ผฟู้ งั  ไมใ่ ชเ่ พอ่ื ประโยชนข์ องผแู้ สดงเองหรอื วกเวยี นเขา้ หาประโยชน์  ของผูแ้ สดง เพียงแต่เอาการแสดงธรรมบังหนา้ ไวเ้ ท่านนั้ ฆ. แสดงธรรมโดยไมเ่ หน็ แกอ่ ามสิ  ลาภสกั การะและชอื่ เสยี งแต่  พงึ เหน็ แกธ่ รรม เหน็ ความถกู ตอ้ งในการครองชวี ติ ของประชาชน ให ้ ดวงตาคอื แสงสวา่ งทางปญั ญาแกม่ หาชน ไมม่ อมเมาเขาใหห้ ลงใหล  อยใู่ นเรือ่ งอันไร้สาระ ง.  แสดงธรรมโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น  คือไม่ยกตนเสียดสี  ผู้อื่นหรือยกตนข่มผู้อื่น  แต่แสดงธรรมไปตามธรรม  ไปตามความ  ถูกต้อง  อย่างที่พระอานนท์แสดงธรรมแก่คหบดีผู้เป็นศิษย์ของ  อาชวี กคนหนึ่ง ณ โฆสิตาราม เมอื งโกสัมพี ศิษย์ของอาชีวกผู้น้ันถามว่า  คนพวกไหนกล่าวธรรมไว้ดีแล้ว  พวกไหนปฏบิ ตั ดิ  ี พวกไหนดำ� เนนิ ไปดแี ลว้ ในโลก? พระอานนทถ์ าม  เขาวา่  คนพวกไหนทแี่ สดงธรรมเพอ่ื ละราคะ โทสะ โมหะ คนพวกนนั้   เรียกว่า  กล่าวธรรมไว้ดีแล้วได้หรือไม่  คหบดีตอบว่า  คนพวกนั้น  ช่ือวา่ กลา่ วธรรมไวด้ แี ลว้

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 17 พระอานนทก์ ลา่ วตอ่ ไปวา่  คนพวกใดปฏบิ ตั เิ พอื่ ละราคะ โทสะ  โมหะ ชอื่ วา่ ปฏบิ ตั ดิ  ี คนพวกใดตดั  ราคะ โทสะ โมหะไดแ้ ลว้  ชอ่ื วา่   ดำ� เนินไปดีในโลกหรอื ไม่? คหบดียอมรบั วา่ เป็นเช่นน้ัน และชมเชยพระอานนทว์ ่า “ธรรมเทศนาของพระอานนทด์ แี ท ้ ไมย่ กธรรมของตน ไมร่ กุ ราน  ธรรมของผู้อื่น  แสดงธรรมไปตามเหตุ  กล่าวแต่เน้ือความ  ไม่ยกตน  ท่านทั้งหลายนั่นแหละ  แสดงธรรมเพื่อละราคะ  โทสะ  โมหะ  ท่าน  ทั้งหลายน่ันแหละ  ปฏิบัติดีแล้วในโลก  ท่านท้ังหลายน่ันแหละ  ตดั ราคะ เป็นตน้  ได้แล้ว ดำ� เนินไปดแี ลว้ ในโลก” คหบดแี สดงตนเป็นอุบาสกนับถือพระรัตนตรัยตลอดชวี ติ การแสดงธรรมหรอื การกลา่ วธรรมโดยไมก่ ระทบตน คอื ไมย่ กตน  ไมก่ ระทบผอู้ น่ื คอื ไมข่ ม่ ผอู้ น่ื นนั้ เปน็ องคส์ �ำคญั ขอ้ หนง่ึ ของพระธรรม-  กถึก  ผู้กล่าวธรรมส่วนมากมักอดไม่ได้ที่จะยกตน  โอ้อวดตน  ขณะ  เดยี วกนั กข็ ม่ ผอู้ น่ื หรอื ลทั ธขิ องผอู้ นื่  อนั เปน็ เหตใุ หด้ หู มน่ิ เหยยี ดหยาม  กันแล้วทะเลาะวิวาทกัน  ผู้แสดงธรรมพึงส�ำรวมตน  ต้ังจิตเมตตา  ปรารถนาความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ฟัง  แม้ถูกขัดแย้งก็ไม่พึงโกรธ  พึง  อธิบายให้ผู้ฟังรู้เห็นตามที่ตนรู้และเข้าใจ  อะไรท่ียังไม่รู้ไม่เข้าใจ  ก็บอกว่าข้อนี้ยังไม่รู้ไม่เข้าใจ  ขอเวลาไปสอบสวนทบทวนดูก่อน  คน้ ควา้ หรอื ถามทา่ นผรู้ ดู้ กู อ่ น ไมเ่ สยี หายอะไร แนใ่ จแลว้ จงึ บอกกลา่ ว  เพือ่ ผู้ฟังจะได้ไมจ่ ดจำ� ไปผดิ  ซงึ่ เป็นอันตรายอยา่ งยิ่ง

เ ท ค นิ ค ก า ร เ ผ ย แ ผ่ พ ร ะ ศ า ส น า 18 พระศาสดาตรสั กบั พระอานนทว์ า่  “อานนท ์ การแสดงธรรมแก ่ ผอู้ น่ื นนั้ ไมใ่ ชส่ ง่ิ ทจี่ ะทำ� ไดโ้ ดยงา่ ย ผแู้ สดงธรรมพงึ ตงั้ ธรรม ๕ อยา่ ง  ไวใ้ นตนหรือในใจ คอื  ๑-๕” ดงั กล่าวมาแล้ว โดยนัยดังกล่าวมานี้ ผู้แสดงธรรมน่าจะต้องสำ� รวจอยู่เสมอว่า  มธี รรมเหล่านี้อยใู่ นตนหรอื ไม่ ถา้ ไม่ม ี กห็ ยดุ การแสดงธรรมไว้ก่อน  เพ่ืออบรมตนให้มีคุณธรรมดังกล่าวเสียก่อนแล้ว  การแสดงธรรมแก่  ผู้อ่ืนย่อมมีผลมาก  ท้ังแก่ผู้แสดงเองและแก่ผู้ฟัง  การอบรมส่ังสอน  ผอู้ น่ื นน้ั ควรตอ้ งตง้ั ตน้ จากการอบรมสงั่ สอนตนเองใหพ้ อควรเสยี กอ่ น  จึงจะเหมาะควรและมีผลดี ๑.๒ การเตรยี มตวั  ผสู้ อน ผแู้ สดงธรรม ไมพ่ งึ ประมาทแมจ้ ะ  พูดในเร่ืองที่ตนมีความรู้อยู่แล้วก็ตาม  ก็ควรเตรียมตัวพอสมควร  ทำ� ใหม้ ัน่ ใจและไมผ่ ดิ พลาด ๑.๓ การคน้ ควา้  ผพู้ ดู ควรคน้ ควา้ หาความรใู้ หม่ๆ เพม่ิ เตมิ อย่ ู เสมอ เพอ่ื ใหผ้ ฟู้ งั ไดร้ บั ความรคู้ วามคดิ อะไรใหม่ๆ จากตนบา้ ง ไมใ่ ช่  พูด  เทศน์  ปาฐกถาแต่ของเก่าหรือสิ่งที่ชาวบ้านเขารู้แล้วอยู่ตลอด  เวลา กเ็ ลยท�ำกนั แตพ่ อเปน็ พิธที ง้ั ผสู้ อนและผูฟ้ งั ๑.๔  หลักฐาน  เม่ืออ้างสิ่งใดก็ควรมีหลักฐานและควรดูให้  แมน่ ยำ� แลว้ จดบนั ทกึ ไวเ้ พอื่ ชว่ ยความจำ� ในการแสดงธรรม นกั แสดง  ละครเขายังมีการซ้อม  การท่องบทกันมากๆ  นักแสดงธรรมไม่ค่อย  ซอ้ ม ไมค่ อ่ ยทอ่ งบท บางทา่ นไมป่ ระมาท มกี ารเตรยี มตวั  เขยี นบท 

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 19 ไปดว้ ย ในการแสดงธรรมนบั วา่ เปน็ ประโยชนเ์ พราะท�ำใหแ้ มน่ ยำ� และ  เหลือเป็นเอกสารหลักฐานไว้อ่านเองก็ได้  แต่เพิ่มเติมเสียนิดหน่อย  แลว้ สง่ ไปพมิ พใ์ นนติ ยสารตา่ งๆ กไ็ ด ้ เปน็ ประโยชนใ์ นวงกวา้ งตอ่ ไป  หลกั ฐานทค่ี น้ ควา้ ไดใ้ นการบรรยายแตล่ ะครงั้ แตล่ ะเรอ่ื งเกบ็ รวบรวม  ไว้ใชป้ ระโยชน์ได้เป็นเอนกประการ สังเกตดูมีนักพูดท้ังที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์หลายท่าน  พอ  อา้ งหลกั ฐานกม็ กั ผดิ พลาด แมเ้ พยี งจะเลา่ นทิ านประกอบกผ็ ดิ เพย้ี น  ทง้ั นคี้ งเนอ่ื งมาจากไมไ่ ดเ้ ตรยี มตวั  นกึ จะพดู อะไรกพ็ ดู  ถา้ เตรยี มตวั   เรานึกจะพูดอะไร  เล่าอะไร  ถ้าไม่แน่ใจ  เราต้องกลับไปอ่านใหม่  จนแม่นย�ำแน่ใจ  เพราะการเล่าผิดเป็นการให้ข้อมูลผิด  ผู้ฟังจ�ำไป  ผิด  เล่าต่อๆ  กันไป  จึงผิดเพ้ียนต่อๆ  กันไป  คนส่วนมากไม่ค่อย  สอบสวนถงึ ตน้ ตอ ฟงั แลว้ กต็ อ่ ไปเลย ๑.๕ บคุ ลกิ ภาพของผแู้ สดงธรรม หมายถงึ การแตง่ กาย กริ ยิ า  มารยาท การพดู จา การวางตน ซง่ึ รวมแลว้ เปน็ บคุ ลกิ ภาพ ถา้ บคุ ลกิ -  ภาพดี  ท�ำให้ดูดี  เรียกความนิยมเลื่อมใสจากผู้ฟังได้แล้วต้ังแต่แรก  เห็น  เป็นความประทับใจหนแรก  (First  impression)  แต่ต้องให ้ เป็นเร่ืองปกติธรรมดา  อย่าเป็นกิริยาท่ีเสแสร้งซ่ึงจะดูน่าเกลียด  มากกว่าน่านยิ ม ๑.๖  ความรู้  ผู้แสดงธรรม  ผู้บรรยายควรอบรมตนให้เป็นผู้ม ี ความรู้ดีในเรื่องที่ตนแสดง  ประกอบด้วยองค์ของพหูสูตในเร่ืองน้ัน  กลา่ วคือ

เ ท ค นิ ค ก า ร เ ผ ย แ ผ่ พ ร ะ ศ า ส น า 20 (๑)  ทรงสุตะ  สั่งสมสุตะ  คือ  มีความรู้มากในเร่ืองนั้น  (สุตธโร  สุตสนฺนิจจฺ โย) (๒) จำ� ไดม้ าก (ธตา) (๓) ว่าไดค้ ลอ่ ง เขยี นไดค้ ล่อง (วจสา ปริจิตา) (๔) ใคร่ครวญเพ่งพนิ จิ อย่เู สมอ (มนสานเุ ปกฺขิตา) (๕) มองเห็นทะลปุ รุโปร่ง (ทิฏฺ ยิ า สปุ ฺปฏิวิทธฺ า) ๑.๗ มคี วามสามารถด ี ในการกลา่ ว ในการบรรยาย ทำ� ของยาก  ใหง้ า่ ยได ้ ของงา่ ยทำ� ใหล้ มุ่ ลกึ ลงไปโดยลำ� ดบั ได ้ คอื  จะเอาปรยิ ายตำ�่   หรือสูงก็ได้  พร้อมทั้งใช้ภาษาเข้าใจง่าย  ที่ยากหาอุปมามาเปรียบ  เทียบใหเ้ ขา้ ใจ เหลา่ นี้รวมอยใู่ นความสามารถดี อีกปริยายหนึ่ง  คุณสมบัติของผู้แสดงหรือผู้สอนในฐานะเป็น  กัลยาณมิตร ทา่ นแสดงไว้ ๗ ประการคอื • ปิโย นา่ รัก น่าสนทิ สนมไวว้ างใจ • คร ุ นา่ เคารพ ใหเ้ กดิ ความรสู้ กึ อบอนุ่ ใจเมอ่ื เขา้ ใกล ้ เปน็ ทพ่ี ง่ึ   อนั ปลอดภยั ได้ •  ภาวนีโย  น่ายกย่องในฐานะเป็นคนมีคุณธรรม  มีความรู้สม  ฐานะของตนและอบรมตนใหม้ คี วามรคู้ วามสามารถเพม่ิ พนู อยเู่ สมอ • วตตฺ า รจู้ กั พดู  พดู เปน็  หมนั่ อบรมสงั่ สอน วา่ กลา่ วตกั เตอื น  ไมเ่ พิกเฉย เป็นทีป่ รกึ ษาหารอื ได้ • วจนกขฺ โม อดทนตอ่ ถอ้ ยค�ำ คอื แมผ้ เู้ รยี นจะซกั ถามอยา่ งไร  ก็ยินดีตอบให้กระจา่ ง ไมอ่ ดึ อัด เบอื่ หนา่ ย

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 21 •  คมฺภีรญฺจ  กถํ  กตฺตา  กล่าวช้ีแจงเรื่องราวต่างๆ  ให้ลึกซ้ึง  โดยล�ำดับได้ (แมข้ องยากก็ทำ� ให้ง่ายได้) • โน จฏฺ าเน นโิ ยชเย ไมช่ กั นำ� ในอฐานะ คอื ในสง่ิ อนั เปน็ ไป  ไม่ได้ ไม่ชักน�ำไปในทางเสอื่ ม (สขสตู ร องฺ. สตตฺ ก.ฺ  ๒๓/๓๓/๓๔) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า  คุณสมบัติเหล่าน้ีมีในผู้ใด  ผู้น้ัน  จัดว่าเป็นผู้ใคร่ประโยชน์  คือหวังประโยชน์เกื้อกูล  หวังอนุเคราะห ์ อนั ผตู้ อ้ งการมิตรควรคบหาสมาคมไวเ้ ป็นมติ ร ในขอ้  ๓๓ แหง่ สตั ตกนบิ าต องั คตุ ตรนกิ ายน ้ี พระผมู้ พี ระภาค  เจา้ ทรงแสดงคณุ สมบัติของมติ ร (ท่วั ไป) ไว ้ ๗ ประการคือ • ให้สิ่งท่ใี ห้ได้ยาก (เชน่  ใหข้ องรกั ของพอใจ) •  ท�ำส่ิงท่ีท�ำได้ยาก  (เช่น  ท�ำอุปการะต่อมิตรผู้ออกปากขอ  ความช่วยเหลอื ) •  ทนสิ่งที่ทนได้ยาก  (เช่น  อดทนต่อถ้อยค�ำอันรุนแรงแต่รู้ว่า  เขาพูดด้วยความหวังดี  ตลอดถึงอดทนต่อความผิดพลาดของมิตรท ่ี มีตอ่ เรา) • บอกความลบั ของตนแกเ่ พ่อื น • ปกปิดความลับของเพอื่ น • ไมล่ ะทงิ้ ในยามวบิ ัติ • เม่ือเพื่อนสิ้นทรพั ย์ก็ไมด่ หู มน่ิ พูดถึงเรื่องคุณสมบัติของผู้แสดงธรรม  ผู้สอนธรรม  โยงเลยมา  ถึงคุณสมบัติของมิตร  ต่อเน่ืองจากผู้สอน  ในฐานะเป็นกัลยาณมิตร 

เ ท ค นิ ค ก า ร เ ผ ย แ ผ่ พ ร ะ ศ า ส น า 22 ของผเู้ รียนหรอื ผู้ฟงั ข้าพเจ้าขอฝากไว้ในท่ีน้ีด้วยว่า  การสร้างบรรยากาศให้เป็น  กัลยาณมิตรหรือ  “ความเป็นกันเอง”  แต่พอประมาณ  พอสมควร  ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนนั้นเป็นความส�ำคัญและจ�ำเป็น  เพ่ือไม่ให้  เครยี ดหรือเป็นทางการเกินไป ๑.๒ เกยี่ วกบั เรอื่ งทพี่ ดู หรอื เรอื่ งทนี่ ำ� มาสอน จะนำ� เรอื่ งอะไร  มาสอนอย่างไร  จ�ำเป็นต้องให้พอเหมาะพอสมกับผู้ฟังหรือผู้เรียน  เร่อื งน้ตี อ้ งอยูใ่ นวิจารณญาณของผู้สอน กล่าวโดยท่ัวไป  การส่ังสอนก็คือการให้การศึกษา  การให้การ  ศกึ ษาทด่ี นี น้ั กค็ อื การชว่ ยใหบ้ คุ คลมที ศั นคตทิ ถี่ กู ตอ้ งเปน็ สมั มาทฏิ ฐิ  มองส่ิงท้ังหลายตามทเ่ี ป็นจริง พระพทุ ธศาสนาเน้นตรงจุดน้มี าก เรามกั ไดย้ นิ ไดฟ้ งั เสมอทม่ี ผี กู้ ลา่ วสง่ั สอนเราวา่ ใหม้ องคนในแง ่ ดี  มองโลกในแง่ดี  มองสิ่งท้ังหลายในแง่ดี  และเราก็มักจะเชื่อตาม  วา่ การมองในแงด่ นี นั้ ด ี อยา่ งนอ้ ยกด็ กี วา่ มองในแงร่ า้ ย แตต่ ามความ  เป็นจริงแล้ว  การมองในแง่ดีท�ำให้เราผิดพลาด  ตัดสินใจพลาดได ้ เสมอเหมอื นกนั เพราะตามความเปน็ จรงิ แลว้ คนทงั้ หลาย สงิ่ ทงั้ หลาย  เหตุการณ์ท้ังหลายไม่ได้ดีอย่างที่เรามองเสมอไป  ถ้าเรามองในแง่ด ี ด้านเดียว สงิ่ ร้ายอาจมาถงึ เราก็ได้ เพราะเขาเป็นคนรา้ ย ตรงกันข้าม  บางคนมองแต่ในแง่ร้ายก็อาจพลาดได้เหมือนกัน  เพราะคนท้ังหลาย  ส่ิงทั้งหลายและเหตุการณ์ท้ังหลาย  บางทีก็มิได้ 

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 23 ร้ายแรงอย่างที่เรามอง  เรามองเห็นไปเอง  ท�ำให้เราไม่มีความสุข  ต้องหอบทกุ ข์ ความกังวลไวม้ ากเกินไป ระแวงแคลงใจมากเกินเหต ุ พวกมองในแง่ร้ายป้ายสีโลกให้ด�ำเกินไปนี้  ทางปรัชญาเรียกพวก  เพสสมิ สิ ท ์ (pessimist) สว่ นพวกมองโลกในแงส่ ขุ เพลดิ เพลนิ หลงใหล  อยใู่ นโลกพอใจ ตดิ จมอยใู่ นโลก เหน็ โลกนด้ี  ี นา่ อย ู่ นา่ อภริ มยเ์ รยี ก  พวกออพติมิสท์  (optimist)  เอียงสุดไป  ๒  ฝ่าย  ไม่ได้ด�ำเนินอยู่ใน  ทางสายกลาง  คือการมองตามเป็นจริง  คือให้เห็นว่า  จริงๆ  เป็น  อย่างไร แลว้ พูดไปตามนนั้ คน ๒ คน คนหนงึ่ เกลยี ด ก. เหน็  ก.ชว่ั  เลวไปหมดทกุ อยา่ ง  อีกคนหน่ึงรัก  ก.  เห็น  ก.  ดี  น่ารักไปหมดทุกอย่าง  เราจะเห็นว่า  คนหน่ึงมอง  ก.  ด้วยโทสาคติ  (ล�ำเอียงเพราะไม่ชอบ)  อีกคนหนึ่ง  มอง ก. ดว้ ยฉนั ทาคต ิ (ลำ� เอยี งเพราะรกั เพราะชอบ) เราจะไมไ่ ดร้ บั   ข้อมูลความจริงเก่ียวกับ  ก.  จากคน  ๒  คนน้ี  ถ้าเราต้องการข้อมูล  ความจริง  เราต้องถามคนท่ีเขาวางใจเป็นกลางกับ  ก.  มองเห็นด ี เป็นดี  ช่ัวเป็นชั่ว  เรียกว่า  มองตามความเป็นจริง  แต่บุคคลผู้นั้น  จะต้องมีปัญญา  มีโยนิโสมนสิการ  ไม่ใช่ไปถามคนโง่  ซึ่งก็คงไม่ได้  ข้อมูลท่ีเป็นจริงอยู่นั่นเอง ด้วยเหตุน้ี  การที่จะมองอะไรๆ  ตามเป็นจริงได้นั้นต้องมาจาก  เหตุคือ  การพัฒนาปัญญาและต้องเป็นสัมมาปัญญา  (สมฺมปฺปญฺ-  ญายปสฺสติ)  เห็นเอง  เกิดข้ึนในตนเอง  เป็นปัญญาอันถูกต้องของ  ตนเอง  ไม่ใช่ปัญญาของครูหรือจ�ำครูมาพูด  โดยไม่ได้แจ่มแจ้งในใจ  ของตน ไม่ enlightenment หรอื มีโพธเิ กดิ ขึน้ จรงิ

เ ท ค นิ ค ก า ร เ ผ ย แ ผ่ พ ร ะ ศ า ส น า 24 การสอน  เราต้องสอนมุ่งเน้นให้เขาพัฒนาปัญญาของเขาข้ึน  มาเอง  ไม่ใช่เป็นการยัดเยียด  ถ้ามีการให้ท่องจ�ำก็เพียงเพ่ือเป็น  ข้ันเตรียมการเบ้ืองต้น  มีเป้าหมายอันแน่นอนว่าต้องให้เขาเข้าใจ  ในท่ีสุดตัวผู้เรียนต้องรับเอง  ถ้าไม่รับย่อมเหมือนรดน�้ำลงบนหิน  ไม่ซึมซบั  เสยี เวลาเปลา่ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนเข้าใจนี้ในหลักสูตรนักธรรม  ทั้งตรี-โท-เอก  จึงให้มีการท่องจ�ำพุทธศาสนสุภาษิตบ้างและมีการ  อธิบายพุทธศาสนสุภาษิตบ้าง  โดยน�ำเอาพุทธศาสนสุภาษิตข้ออ่ืน  มาเชื่อมความเพ่ือให้แต่งเป็นด้วยส�ำนวนโวหารของตนเอง  แต่พอ  เรยี นจบแลว้ ไมม่ กี ารสานตอ่  ไมค่ น้ ควา้ ตอ่  ของเกา่ กล็ มื ไป ของใหม ่ กไ็ มง่ อกเงยขนึ้  กลายเปน็ มแี ตป่ ระกาศนยี บตั รไว ้ ประกาศวา่ ไดผ้ า่ น  หลักสูตรชั้นนั้นช้ันนี้  เนื้อหาสาระลืมเสียเกือบหมด  เหมือนทหารที ่ พยายามตเี มอื งไดด้ ว้ ยความเหนอื่ ยยากแลว้ ไมร่ กั ษา ตรี ดุ หนา้ เรอื่ ย  ไป  ข้างหลังกองทัพอื่นมายึดครองเสียหมด  เม่ือเป็นเช่นนี้จะตีให ้ เหนอ่ื ยยากเสยี ชวี ติ ผคู้ นทำ� ไม หรอื ตอ้ งการแตเ่ พยี งไดช้ อ่ื วา่ เมอื งนน้ั   เมืองนี้กเ็ คยตีมาแล้ว ปจั จบุ นั  ขา้ พเจา้ มภี าระทจี่ ะตอ้ งตรวจวทิ ยานพิ นธข์ องนกั ศกึ ษา  ปริญญาโทเป็นจ�ำนวนมากเป็นประจ�ำท้ังของพระภิกษุนักศึกษาใน  บัณฑิตวิทยาลัยของสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย  และของ  นิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่ง  ข้าพเจ้าได้เห็น  ความเพยี รพยายามของนกั ศกึ ษาเหลา่ นเี้ ปน็ อยา่ งมากในการคน้ ควา้   หาความรู้หาข้อมูลเพื่อท�ำวิทยานิพนธ์  คนท่ีไม่เคยเขียนหนังสือ 

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 25 ไม่เคยแต่งหนังสือเลยแม้สัก  ๑๐  หน้ากลับเขียนได้เป็นร้อยๆ  หน้า  เสนอกรรมการผทู้ รงคณุ วฒุ  ิ พรอ้ มทงั้ เตรยี มตวั ตอบขอ้ ซกั ถามในวนั   สอบวทิ ยานพิ นธ ์ กวา่ จะเสรจ็ ไดต้ อ้ งแกแ้ ลว้ แกอ้ กี  บางคนหลายรอบ  แต่ก็อดทนเพียรพยายามจนส�ำเร็จ  ข้าพเจ้าสรรเสริญในความเพียร  ของนกั ศกึ ษาเหล่านั้น บางท่านเขียนดอี ย่างน่าพศิ วง ขา้ พเจา้ เคยพดู กบั ภกิ ษนุ กั ศกึ ษาในบณั ฑติ วทิ ยาลยั วา่  “ถา้ ทา่ น  ใช้ความเพียรพยายามและสติปัญญาความสามารถอันน้ีให้เป็นไป  ตดิ ตอ่  ทำ� วทิ ยานพิ นธข์ นึ้ ตามทท่ี า่ นพอใจ จะทำ� ปลี ะเรอ่ื งหรอื  ๒ ปี  ตอ่  ๑ เรอ่ื ง ทา่ นไมต่ อ้ งเสนอกรรมการตรวจ แตเ่ สนอตอ่ ประชาชน  ให้ประชาชนรับรองความรู้ความสามารถ  โดยการลงในหนังสือ  นติ ยสารหรอื พมิ พเ์ ปน็ เลม่ กไ็ ด ้ ทำ� ไปสกั  ๑๐ ป ี ๒๐ ป ี ทา่ นจะเปน็   ปราชญผ์ ยู้ งิ่ ใหญค่ นหนง่ึ ของประเทศ แมไ้ มม่ งุ่ หวงั เชน่ นน้ั  แตค่ วามร้ ู ความสามารถจะเพ่ิมพูนข้ึนเป็นอันมาก  ยังได้ชื่อว่าท�ำหน้าที่ของ  พุทธบรษิ ัทชนั้ น�ำอกี ด้วย ขอใหต้ ้งั ใจท�ำหน้าทเ่ี ถดิ  ไมต่ อ้ งมงุ่ หวงั   อะไร แตอ่ ะไรๆ กจ็ ะตามมาเพราะการทำ� หนา้ ทอ่ี นั สมบรู ณข์ องเรา  ลาภยศก็ดี  ชื่อเสียงก็ดี  เงินทองบริวารก็ดี  ย่อมตามห้อมล้อม  บุคคลผู้ตั้งใจท�ำหน้าที่อันถูกต้องดีงาม  ถ้าเขาต้องการ  ผลด ี โดยตรงอันยอดเยี่ยมก็คือเป็นการพัฒนาสติปัญญา  พัฒนา  ความรูค้ วามสามารถ และพัฒนาจิต บคุ คลประเภทน้จี ะไมร่ ูจ้ ัก  กับค�ำว่าพ่ายแพ้  ท้อถอย  เบ่ือหน่าย  เขาจะเป็นหลักอันม่ันคง ให้ตนเองและผอู้ นื่ ”

เ ท ค นิ ค ก า ร เ ผ ย แ ผ่ พ ร ะ ศ า ส น า 26 มนี กั ศกึ ษาบณั ฑติ วทิ ยาลยั สำ� เรจ็ ไปแลว้ หลายรปู  (ตงั้ มาตง้ั แตป่  ี ๒๕๓๑) ทไ่ี ปศกึ ษาตอ่ ปรญิ ญาเอกกม็ แี ลว้  ปตี อ่ ไปกจ็ ะมอี กี  ขา้ พเจา้   หวงั วา่ จะมผี สู้ นใจทำ� วทิ ยานพิ นธต์ ดิ ตอ่ ตลอดชวี ติ อยบู่ า้ งตามสมควร  อย่างน้อยสกั ท่านหน่ึง เมื่อไปเป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ของนิสิตคนหน่ึงของ  คณะศกึ ษาศาสตรม์ หาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร ์ เมอ่ื การสอบจบลง ผ้ ู ดำ� เนนิ การสอบขอใหก้ รรมการทกุ คนกลา่ วคตพิ จนแ์ กผ่ สู้ อบ ขา้ พเจา้   กลา่ ววา่ “ความรูด้ ีน้ันนับว่าดอี ยู่แลว้ แต่ที่ดกี วา่ ก็คอื การนำ� เอาความรนู้ ัน้ มาใช้ใหเ้ กิดประโยชนจ์ ริง ทง้ั แกต่ นเองและสงั คม..” ภารกจิ ของผสู้ อนกค็ อื การทำ� ตนเปน็ กลั ยาณมติ ร ชว่ ยใหผ้ เู้ รยี น  ผฟู้ งั เรยี นรเู้ อง ไตรต่ รองเอง จนเกดิ ปญั ญาขนึ้ เองและยอมรบั ความ  จริงเพราะได้เห็นเองไม่ต้องเชื่อ  เหมือนมอบถุงเพชรให้พร้อม  ด้วยเปิดถุงให้ดู  ให้เขาได้เห็นว่าเป็นถุงเพชรจริงๆ  ไม่ใช่ก้อนกรวด  ผู้เห็นเองย่อมเกิดความมั่นใจมากกว่าเพียงแต่เช่ือผู้บอก  ในพระ-  ธรรมคุณจึงมีข้อ  ๑  ใน  ๖  ข้อว่า  สันทิฏฐิโก  เห็นได้เองหรือเห็นได ้ ในปัจจุบัน  และอีกข้อหนึ่งว่า เอหิปัสสิโก เรียกให้มาดู (Come to  see  not  come  to  believe)  ไม่ใช่เรียกให้มาเชื่อ  ค�ำสอนในพุทธ  ศาสนาพสิ จู นไ์ ด ้ แตต่ อ้ งพสิ จู นด์ ว้ ยตนเอง ไมใ่ ชใ่ หค้ นอนื่ พสิ จู นใ์ หด้ ู 

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 27 เหมอื นกนิ ขา้ ว เราตอ้ งกนิ เองจงึ จะอม่ิ  และรวู้ า่ รสอาหารเปน็ อยา่ งไร  คนอืน่ กนิ แทนเราไมไ่ ด้ ผเู้ รยี น ผฟู้ งั จงึ มบี ทบาทส�ำคญั ในการสรา้ งปญั ญาใหเ้ กดิ ขน้ึ แก ่ ตน ดว้ ยความพยายามของตน เพอื่ จกั รไู้ ดด้ ว้ ยตนเอง เปน็ ปญั ญาของ  ตนเอง ไมใ่ ชป่ ญั ญาของคร ู ในการน ้ี ผสู้ อนตอ้ งเรง่ เรา้ และเนน้ ไปใน  ทางใหเ้ ขาแสวงหาปญั ญา มอี ิสระในการคิด ไมม่ ีการบังคบั ใหเ้ ชอ่ื ท้ังผู้สอนและผู้เรียนต้องหม่ันสะสมสุตะ  (การอ่าน  การฟัง  การสอบถาม  การคิดและการบันทึกเก็บข้อมูล)  เพ่ือเป็นคลังแห่ง  ปญั ญา เมอ่ื มปี ญั หาสามารถวนิ จิ ฉยั ไดด้ ว้ ยตนเอง (ปญฺ า สตุ วนิ จิ ฺ  ฉนิ )ี  ในขณะเดยี วกนั  สตุ ะเปน็ เหตใุ หป้ ญั ญาเจรญิ ดว้ ย (สตุ ํ ปญฺ าย  วฑฺฒนํ) ตา่ งอาศยั ซงึ่ กันและกัน เป็นเหตุเปน็ ผลของกันและกนั เรอื่ งทนี่ ำ� มาสอนนน้ั  ควรดำ� เนนิ ตามพทุ ธจรยิ า คอื มงุ่ ประโยชน ์ ของผูร้ บั การสอนว่าเขาจะไดป้ ระโยชนใ์ นระดบั ใด ผู้ไม่คุ้นเคยกับศาสนามาก่อน  พระพุทธองค์จะเริ่มต้นด้วย  อนุปุพพิกถา  ๕  คือ  ทาน  ศีล  สวรรค์  (ผลดีของทานและศีล)  โทษ  ของกาม  (กามาทีนพ)  เพ่ือไม่ให้หลงติดอยู่ในกามสุขอันเป็นผลของ  ทานและศีล  แล้วอ�ำนวยผลให้มีความเพียบพร้อมด้วยกามคุณ  ทงั้ ทเ่ี ปน็ ของทพิ ยแ์ ละเปน็ ของมนษุ ย ์ อานสิ งสแ์ หง่ การออกจากกาม  (เนกขมั มานสิ งส)์  คอื ความปลอดโปรง่  สงบสขุ ไรก้ งั วล เมอ่ื ทรงเหน็   วา่ ผฟู้ งั มจี ติ ใจออ่ นโยนสะอาดเพยี งพอ สมควรแกธ่ รรมเทศนาระดบั  

เ ท ค นิ ค ก า ร เ ผ ย แ ผ่ พ ร ะ ศ า ส น า 28 สูงแล้ว  ก็จะทรงแสดงอริยสัจ  ๔  ต่อไป  เหมือนฟอกผ้าให้สะอาด  ก่อนจะลงนำ�้ ยอ้ ม พอจะกล่าวโดยสรุปได้ว่า  เร่ืองที่จะน�ำมาสอนน้ันให้ดูพ้ืนเพ  ความสามารถทจี่ ะรบั ไดข้ องผฟู้ งั  และพยายามเลอ่ื นชนั้ เขาขน้ึ ไปทลี ะ  น้อย  ไม่ใช่สอนย�่ำอยู่กับที่  ย่�ำเท้าอยู่ที่เดิม  ไม่น�ำเดินไปข้างหน้า  หรือไต่เต้าให้สูงข้ึนไป  ลองดูการสอนของพระพุทธเจ้า  แม้ในเร่ือง  อนปุ พุ พิกถา ๕ ขอ้ นนั้ เองกส็ ูงขนึ้ ไปโดยล�ำดบั ประโยชน์  ๓  ก็สูงขึ้นไปโดยล�ำดับจนถึงประโยชน์สูงสุดคือ  มรรค ผล นพิ พาน ไมใ่ ชว่ า่ สอนคฤหสั ถแ์ ลว้ จะสอนแตเ่ รอ่ื งทานเรอื่ ง  ศีลเท่านั้น  เพราะคฤหัสถ์ก็สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้เท่าๆ  กับพระสงฆ์  ต้องยกระดับเขาให้สูงยิ่งๆ  ขึ้นไป  หรือให้ลึกลงไปโดย  ล�ำดับ สมดงั ที่ตรสั ว่า “ธรรมวนิ ัยน้ลี าดลกึ ลงไปโดยล�ำดบั เหมือนมหาสมุทร” การพูด  ให้พูดแต่น้อย  ได้ความมาก  อย่าพูดมากแต่ได้ความ  น้อย  เพราะอย่างหลังแสดงถึงความเป็นผู้ไม่เข้าใจแจ่มแจ้งในเร่ือง  ทต่ี นกำ� ลงั พูด

อะไรจะเป็นท่พี ่ึงของบุคคลที่มคี วามขดั แยง้ ทางจิตใจ  และความตึงเครียดทางอารมณเ์ หลา่ นนั้ ได ้ เสมอด้วยศาสนธรรมเปน็ ไม่มี  ศาสนธรรมจะชว่ ยผ่อนคลาย  ความตึงเครียดทางอารมณ ์ ชว่ ยแก้ปัญหาความขัดแยง้ ทางจิตใจ  ได้อยา่ งยอดเย่ียมท่สี ุด  ไมว่ า่ ความตงึ เครยี ดและความขดั แยง้ นนั้   เกดิ ขน้ึ ในกรณใี ด  เพราะศาสนธรรมสอนใหค้ นท�ำใจให้ถกู ต้อง  ไม่เปน็ ทาสของอารมณ์



อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 31 ก า ร เ ผ ย แ ผ่ โ ด ย ก า ร เ ขี ย น การเขียนเป็นส่ิงแทนการพูด  แต่ในสังคมของเรายังมีผู้ท�ำงาน  เผยแผศ่ าสนาโดยการเขยี นนอ้ ยอย ู่ จะเปน็ เพราะท�ำยากหรอื อยา่ งไร  หลายคนบ่นว่าท�ำได้ยาก  ไม่ถนัด  เขียนไม่ออก  ข้าพเจ้าคิดว่า  ถ้า  ค่อยๆ  ฝึกย่อมท�ำได้  แต่จะท�ำได้ดีเพียงไรหรือไม่  ย่อมขึ้นอยู่กับ  ปัจจยั อีกหลายอย่างทำ� นองเดยี วกับการพูด เชน่ • ความรู ้ ความเข้าใจ • ความพรอ้ ม •  ศิลปะในการอธิบาย • สภาพทางจติ ใจ จะกล่าวขยายความเพยี งสน้ั ๆ ดงั น้ี ความรู้  ความเข้าใจ  หมายถึง  ความรู้ในสิ่งท่ีตัวจะเขียน  ถ้า  ความรกู้ วา้ ง ลกึ  ความเขา้ ใจแจม่ แจง้ ชดั เจน ผเู้ ขยี นมคี วามพรอ้ มทงั้   ทางรา่ งกายและจติ ใจ มอี ารมณห์ รอื มฉี นั ทะทจ่ี ะเขยี น ประกอบดว้ ย 

เ ท ค นิ ค ก า ร เ ผ ย แ ผ่ พ ร ะ ศ า ส น า 32 มีศิลปะในการอธิบายขยายความ  ย่อความ  ข้อเขียนเร่ืองนั้น  ก็จะ  เปน็ ขอ้ เขียนที่ดไี ด้ นอกจากน ้ี สภาพทางจติ ใจของผเู้ ขยี นทม่ี คี วามสำ� คญั อยา่ งยงิ่   ก็คือถ้าเขามีความรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ  มีอารมณ์ร่วมกับเร่ืองท่ีเขียน  จรงิ ๆ ขอ้ เขยี นยอ่ มทรงอานภุ าพ เพราะมพี ลงั จติ ของผเู้ ขยี นแฝงเรน้   อยู่ด้วย สามารถโน้มนำ� จิตใจของผู้อ่านใหค้ ล้อยตามไดง้ า่ ย ตัวอย่าง  เขาเขียนเรื่องเมตตากรุณา  คุณค่าของเมตตากรุณา  ถ้าผู้เขียนเป็นคนเห็นคุณค่าของเมตตากรุณาและเขาเป็นคนเช่นน้ัน  จริงๆ  เขาเขียนออกมาจากความรู้สึก  จากส่วนลึกของใจ  เขาด่ืมด่�ำ  กับคุณธรรมข้อนี้  ประกอบกับมีศิลปะในการถ่ายทอด เขาจะเขียน  เรอ่ื งนไ้ี ด้ด ี มีเสนห่ ์ชวนอ่าน ตรงกันข้ามถ้าเขาเป็นคนโหดร้ายทารุณ  เขาถูกบังคับให้เขียน  เร่ืองเมตตากรุณา  เขาย่อมไม่อยากท�ำ  จิตใจเขาต่อต้าน  สภาพ  จิตใจของเขาไม่พร้อม  เขารู้สึกเป็นทุกข์ขณะเขียน  ข้อเขียนของเขา  ว่างเปล่าไม่มีความหมาย  ไม่มีอารมณ์ร่วม  ไม่มีพลังจิต  ไม่มีเสน่ห ์ กระด้างและดา้ น ใหค้ นตระหน ่ี จติ ใจคบั แคบ เขยี นเรอ่ื งความเสยี สละกเ็ ชน่ เดยี ว  กัน  แม้จะมีความรู้  มีศิลปะแต่จิตใจของเขาต่อต้าน  เพราะฉะนั้น  ผู้ต้องการเผยแผ่ศาสนาโดยการเขียน  จึงควรเขียนเรื่องที่จิตใจของ  ตนคล้อยตาม  คุณธรรมเช่นน้ันอยู่ในตนด้วยก็ย่ิงดี  ขณะเขียนย่อม 

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 33 ได้ปีติปราโมทย์ไปด้วยไม่ค่อยเหน่ือย  เพราะมีปีติคอยหล่อเลี้ยงอยู่  เป็นการพักผ่อนไปในตัว  พักผ่อนโดยการท�ำงานที่ตนชอบ  นี่เป็น  เหตผุ ลขอ้ หนงึ่ สำ� หรบั ตอบคำ� ถามทว่ี า่  ทำ� ไมบางคนจงึ เขยี นหนงั สอื   ไดม้ ากมาย โดยทไ่ี มม่ คี วามจำ� เปน็ ใดๆ บงั คบั  โดยธรรมดาแลว้ คนเรา  เมอื่ ท�ำส่ิงใด แล้วไดร้ บั ความพอใจ ยอ่ มมีการท�ำซ�้ำอีกและซ�้ำอกี การเขยี นนอกจากใหค้ วามพอใจในขณะท�ำแลว้  เมอื่ นำ� มาอา่ น  ทบทวนภายหลงั ยงั ใหค้ วามพอใจอกี  ใหค้ วามรดู้ ว้ ย การเขยี นท�ำให้  ตอ้ งคน้ ควา้ หาความรอู้ ยเู่ สมอ ทำ� ใหม้ คี วามกา้ วหนา้ ในความร ู้ ทำ� ให ้ แม่นย�ำ  เพราะก่อนเขียนลงไปเราต้องสอบสวนหลักฐานให้แน่นอน  เสียก่อน  ผิดพลาดแล้วมีผู้ท้วงติงได้ง่ายกว่าพูด  เพราะมีหลักฐาน  ยนื ยนั เป็นลายลักษณ์อักษร การเขียนท�ำให้รักความสงบ  อยู่ในท่ีสงบ  อยู่คนเดียวได้โดย  ไมเ่ หงา เพราะมเี รอ่ื งราวทเ่ี ขยี นนนั่ แหละเปน็ เพอื่ นและมคี วามวเิ วก  เป็นสหาย  สร้างนิสัยให้เป็นคนรักความสงบ  รักการท�ำงาน  หา  ความสุขจากการท�ำงาน  การค้นคว้าหาความรู้  ถ้าพระสงฆ์รูปใด  เพาะนิสัยอันน้ีขึ้นในตนได้  จะเป็นพรอันประเสริฐส�ำหรับท่านและ  สำ� หรบั พทุ ธศาสนกิ ชนดว้ ย เพราะในสงั คมของเราพระสงฆท์ ที่ ำ� งาน  การเผยแผ่ศาสนาในด้านการเขียนมีน้อยมาก  น้อยกว่าด้านการพูด  มากเหลอื เกนิ  ผเู้ ผยแผศ่ าสนาของเรากย็ งั ขาดนกั คน้ ควา้  นกั วชิ าการ  อยู่เป็นอันมาก  มีอยู่บ้างไม่ถึง  ๑  ใน  ๑,๐๐๐  ต้องรับภาระอย่าง  หนัก  เพราะใครๆ  ก็มุ่งหน้าไปหา  เป็นทรัพยากรบุคคลท่ีหาได้ยาก 

เ ท ค นิ ค ก า ร เ ผ ย แ ผ่ พ ร ะ ศ า ส น า 34 ถงึ กระนน้ั องคก์ รทางศาสนาของเรากไ็ มม่ โี ครงการใดๆ ทจี่ ะชว่ ยผลติ   ช่วยส่งเสริมบุคคลประเภทน้ีให้เกิดให้มีข้ึนจนเพียงพอแก่ความ  ตอ้ งการ คงปลอ่ ยใหเ้ กดิ เองเปน็ เองตามกำ� ลงั บญุ บารมขี องแตล่ ะคน  และตามกำ� ลงั แหง่ ความเพยี รของเขา คนของเราทมี่ อี ยบู่ า้ งแลว้ เปน็   อยู่บ้างแล้ว  ก็ไม่ได้รับก�ำลังใจสนับสนุนจากวงการศาสนาเท่าที่ควร  ผู้ท่ีมีก�ำลังใจไม่พอก็หมดก�ำลังใจไปเฉยๆ  เราต้องการคนประเภทน ี้ แต่เราไม่มีโครงการ  ไม่มีการด�ำเนินการเพาะบุคคลผู้มีศักยภาพใน  ทางนใ้ี ห้เกดิ ขนึ้ มากๆ คงปลอ่ ยใหม้ ีขึน้ เอง เปน็ เองถา้ ใครจะเป็น พุทธบริษัทฝ่ายฆราวาส  ถ้าจะมาเดินทางสายนี้ก็ต้องมีมโน  ปณธิ านอนั เดด็ เดย่ี วมน่ั คงในการทจี่ ะสละตนเพอ่ื พระศาสนาและ  สงั คมเพอ่ื บชู าพระรตั นตรยั  เพราะเปน็ ทางสายเปลย่ี ว ไมม่ ลี าภ  สักการะชื่อเสียง  และยศศักด์ิให้เป็นรางวัล  มีแต่ความสุขใจ  ความก้าวหน้าของวิชาการ  ความสงบเป็นเครื่องหล่อเล้ียง  ม ี สัมโพธเิ ป็นเป้าหมาย ผู้ชอบเขียนหนังสือได้ประโยชน์หลายอย่าง  เช่น  ใช้เวลาเป็น  ประโยชน์  มีเร่ืองอะไรในใจก็สามารถระบายออกมาได้โดยตรงบ้าง  โดยอ้อมบ้าง  ท�ำให้ไม่เก็บกด  คือไม่มีเรื่องอะไรเก็บกดไว้ในใจ  หาความสุขให้แก่ตัวเองได้โดยวิธีง่ายๆ  คือใช้เวลาให้หมดไปกับการ  คน้ ควา้ การเขยี น กลา่ วโดยเฉพาะการเขยี นหนงั สอื ทางธรรมดว้ ยแลว้   เปน็ อาหารทว่ี เิ ศษใหค้ วามสขุ ความชมุ่ เยน็ ในใจ ใหค้ วามสงบภายใน  เป็นอย่างย่ิง  เพราะท�ำด้วยใจรัก  มิได้เร่าร้อนด้วยความปรารถนา 

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 35 ในลาภยศแต่ประการใด นอกจากผลแกผ่ เู้ ขยี นเองแลว้  ยงั เปน็ ผลดแี กผ่ อู้ า่ นเปน็ อนั มาก  ย่ังยืนอยู่นานๆ ไมส่ ญู หายไปโดยงา่ ย ถา้ เป็นหนังสือดถี ึงขนาดเปน็   ท่ีนิยมอย่างแพร่หลายด้วยแล้ว  จะกลายเป็นงานช้ินเอกอมตะของ  ผ้นู น้ั และของสงั คมไปดว้ ย ส่ิงหน่ึงที่ผู้เขียนหนังสือไม่ควรลืมและควรปลูกฝังให้มีขึ้น  ในตนคอื ทำ� จติ ใจใหป้ ระณตี และมคี วามกรณุ า ปรารถนาดอี ยา่ ง  จริงใจต่อผู้อ่าน  เมื่อจิตใจประณีตและมีความกรุณา  ข้อเขียนท ่ี ออกมาจะประณีต  มีกระแสแห่งความปรารถนาดีแทรกซึมมาใน  ตวั อกั ษร เปรยี บเหมอื นเมอื่ เราสนทนาดว้ ยผใู้ ด ถา้ เขามคี วามกรณุ า  ต่อเรา  สายตาแววเนตรของเขาจะฉายให้เห็นความกรุณาแฝงอยู่ใน  นั้น  พร้อมด้วยน้�ำเสียงอันอ่อนโยน  เปี่ยมด้วยความปรารถนาดีอัน  เราพอรสู้ กึ ได้ ความคิดเป็นค�ำพูดท่ีเบาที่สุดซ่ึงเราเองได้ยิน  ส่วนผู้อ่ืนแม้  ไมไ่ ดย้ นิ แตส่ ามารถรบั กระแสความคดิ นน้ั ได ้ จงึ กลายเปน็ ความรสู้ กึ   ผูอ้ า่ นจึงสามารถรบั กระแสความคิดของเราได้โดยผ่านงานเขียน การเขียนย่อมแสดงถึงความรู้สึกนึกคิด  ความคาดหวัง  ความ  ใฝ่ฝันภูมิปัญญาของผู้เขียน  ท�ำนองเดียวกับการพูด  แต่ต้องใช้เวลา  มากกว่าและสามารถประดิษฐใ์ ห้สละสลวยสวยงามกวา่ ค�ำพดู

เ ท ค นิ ค ก า ร เ ผ ย แ ผ่ พ ร ะ ศ า ส น า 36 ถา้ พระคนั ถรจนาจารย์ในอดีตมิได้เขียนพระไตรปิฎกอรรถกถา  และคัมภีร์อ่ืนไว้แล้ว  พวกเราจะรู้จักพระพุทธศาสนาและเรียน  พระพทุ ธศาสนาในปจั จบุ นั ไดอ้ ยา่ งไร ยงั มองไมเ่ หน็  การใชว้ ธิ ที อ่ งจ�ำ  อยา่ งในสมยั พทุ ธกาลและสมยั หลงั พทุ ธกาลเลก็ นอ้ ยนนั้ คงเปน็ ไปได้  ยาก  เพียง  ๔๕๐  ปีหลังพุทธกาลท่านพระเถรานุเถระผู้รับผิดชอบ  ต่อพระพุทธศาสนาก็ได้มองเห็นแล้วว่าโดยวิธีท่องจ�ำไปไม่รอดแน ่ ท่านจึงช่วยกันเขียนไว้ในใบลานก่อน  ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นหนังสือ  เลม่  ดงั ท่เี ราเหน็ กนั อยู่ เม่ือมีพระไตรปิฎกข้ึนแล้ว  ท่านยังเป็นห่วงต่อไปว่ากุลบุตรใน  ภายหน้าจะไม่เข้าใจข้อความบางตอนในพระไตรปิฎก  ท่านจึงได ้ ช่วยกันท�ำหนังสืออธิบายพระไตรปิฎก  (อรรถกถา  ฎีกา  อนุฎีกา  ปกรณพ์ เิ ศษ) เปน็ มรดกทางปญั ญายงั่ ยนื มาจนบดั น ้ี เปน็ งานยง่ิ ใหญ่  มโหฬารอย่างน่าอัศจรรย์จริงๆ  ว่าท่านท�ำมาได้อย่างไร  พวกเรา  เพียงแต่จะอ่านของท่านให้หมดก็ไม่ค่อยไหวเสียแล้ว  น่ากราบ  แทบเทา้ ของพระเดชพระคุณทา่ นจริงๆ  คดิ วา่  ดว้ ยอานภุ าพแหง่ เมตตากรณุ าตอ่ มนษุ ยชาตนิ น่ั เอง จงึ   หนุนให้ท่านผู้มีศรัทธา  มีปัญญาอยู่  แล้วใช้ความเพียรท�ำสิ่งอัน  ยิ่งใหญ่ปานนั้น  เมตตา  กรุณา  ศรัทธา  ปัญญา  และความเพียร  จึงเป็นธรรมอดุ หนนุ กนั และกนั  ให้การงานบรรลผุ ลสำ� เร็จดว้ ยดี

บุคคลผมู้ ีปัญญา มใี จเขม้ แข็ง  บางคนบางพวก  มองเหน็ ความจรงิ อนั นอี้ ยา่ งชดั แจง้   จงึ ตดั ใจเสยี จากวตั ถนุ ิยม  น�ำตัวเขา้ สูแ่ สงสวา่ งแห่งอุดมคตินิยม  หลอมจติ ใจของตนใหอ้ ภริ มย์  ดว้ ยคุณธรรมและความสงบ  พอใจในภาวะอยา่ งน้ัน  ความขัดแย้งกห็ ายไป



อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 39 ก า ร เ ผ ย แ ผ่ โ ด ย ก า ร ทํ า ตั ว อ ย่ า ง ใ ห้ ดู การท�ำตัวอย่างให้ดู  เป็นอยู่ให้เห็น  เป็นเรื่องส�ำคัญมากในการ  สอนส�ำหรับคนใกล้ชิดแล้วส�ำคัญกว่าการสอนด้วยวาจา  เพราะ  ตัวอย่างท่ีเขาได้เห็นนั้น  เป็นเหมือนภาพยนต์ท่ีฉายซ�้ำแล้วซ้�ำเล่า  ใหเ้ ขาไดด้ อู ยทู่ กุ วนั  ถา้ เขานยิ มชอบ บทบาทและการกระทำ�  คำ� พดู   ของเราผู้เป็นตัวแบบจะซึมลึกลงไปในความรู้สึกนึกคิดของเขา  หล่อหลอมเป็นนิสัยอุปนิสัยอันถาวรต่อไป  การท�ำตัวเองให้ดีจึง  เป็นการเผยแผ่ศาสนาอยู่ในตัว  แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า  การพูด  การเขียนจะไม่ส�ำคัญ  เพราะมีคนเป็นอันมากที่ไม่มีโอกาสใกล้ชิด  สนทิ สนมกบั ผเู้ ปน็ ตวั แบบทด่ี  ี แตไ่ ดฟ้ งั ทา่ นพดู  (ทางใดทางหนงึ่  เชน่ ทางวทิ ยโุ ทรทศั น ์ หรอื ในทช่ี มุ นมุ ตามสมาคมตา่ งๆ เปน็ ตน้ ) ไดอ้ า่ น  หนงั สอื ของทา่ น ไดฟ้ งั เทปของทา่ น แลว้ ไดค้ วามรคู้ วามเขา้ ใจอยา่ ง  ถูกต้องในเรื่องศาสนา  แล้วน�ำไปประพฤติตาม  ก็ได้รับประโยชน ์ เปน็ อนั มาก จดุ สำ� คญั อยทู่ ปี่ ฏบิ ตั ติ าม ถา้ ไมป่ ฏบิ ตั ติ าม แมม้ ตี วั แบบ  ที่ดีสักเพียงไรก็ไม่มีประโยชน์ส�ำหรับเขา  เหมือนทัพพีคลุกอยู ่ ในหมอ้ แกงแต่ไม่รู้รสแกง เหมือนกบอยู่ใต้กอบัว ไม่ได้เชยเกสรบัว  ไม่เป็นวิสัยของมัน  เพราะฉะน้ันผู้ท่ีได้โอกาสอยู่ใกล้คนดี  ได้เห็น 

เ ท ค นิ ค ก า ร เ ผ ย แ ผ่ พ ร ะ ศ า ส น า 40 แบบที่ดีแล้ว  ควรท�ำตัวให้เหมาะที่จะรองรับดูดซับเอาคุณสมบัต ิ ต่างๆ ของทา่ นไว้ให้ได้มากทส่ี ดุ พระพทุ ธศาสนาอยใู่ นเมอื งไทยมานานนับเปน็ พันป ี พระพทุ ธ  ศาสนามีคุณลักษณะพิเศษท่ีน่าอัศจรรย์มากมาย  ล้วนเป็นแก่นสาร  แก่ชีวิตของผู้เลื่อมใสและปฏิบัติตาม  ตัวอย่างของท่านผู้ปฏิบัติตาม  ไดก้ ม็ ไี มน่ อ้ ย แตเ่ มอ่ื พจิ ารณารวมๆ แลว้  คนไทยสว่ นมากยงั ไมร่ จู้ กั   พระพทุ ธศาสนา นบั ถอื พระพทุ ธศาสนา แตไ่ มร่ จู้ กั พทุ ธศาสนาตวั จรงิ   เพราะมวั ไปเสยี เวลาและเกาะตดิ อยกู่ บั เรอ่ื งไรส้ าระนอกพทุ ธศาสนา  แต่ท�ำในนามของพุทธศาสนา  เลยเข้าไม่ถึงพุทธศาสนา  ส่วนที่เป็น  แก่นจริงๆ  อันจะเป็นประโยชน์กับชีวิตจริงๆ  ส่ิงที่ชาวพุทธได้เห็น  เป็นนทิ รรศการประจ�ำวัน เปน็ เรอ่ื งพธิ รี ตี องต่างๆ ท�ำกันพอเป็นพธิ  ี ไมว่ า่ งานอะไร กเ็ ลยคดิ วา่ นนั่ แหละคอื พทุ ธศาสนา สว่ นพทุ ธศาสนา  ภาคปฏบิ ัตใิ นชีวติ ประจำ� วัน คนไมค่ อ่ ยไดร้ ้เู ห็น ไมม่ ีตัวอยา่ งให้ดู เราอ้างเหตุผลกันอยู่เสมอในการท�ำอะไรต่างๆ  แต่เราไม่ค่อย  ได้ใช้เหตุผลตามหลักพระพุทธศาสนาที่แท้จริง  เราอ้างเหตุผลตาม  ความพอใจหรือไม่พอใจของแตล่ ะคน เร่อื งจึงไม่อาจยตุ ลิ งได้ ถา้ ใช้  เหตุผลตามหลักพระพุทธศาสนากันจริงๆ  เร่ืองก็ยุติได้  ยกตัวอย่าง  เชน่  โหราศาสตรก์ บั พทุ ธศาสนา ไสยศาสตรก์ บั พทุ ธศาสนา สง่ เสรมิ   กันหรือขัดแย้งกัน?  ถ้าตอบตามความคิดเห็นของแต่ละคนก็จะแบ่ง  ความคิดเห็นออกเป็น  ๒  ฝ่าย  เถียงกันไม่รู้จบ  แต่ถ้าเอาหลักพระ-  พุทธศาสนามาจับ  และยุติตามหลักพุทธศาสนาก็ไม่ต้องเถียงกัน 

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 41 เพราะพทุ ธศาสนาบอกไวช้ ดั เจนวา่  “ประโยชนเ์ ปน็ ฤกษข์ องประโยชน์  เอง ดวงดาวในท้องฟา้ จกั ทำ� อะไรได้” ซงึ่ หมายความวา่  ไม่ควรรอฤกษ์งามยามดอี ะไร? เห็นว่าอะไร  เป็นประโยชน์ก็ให้รีบท�ำ  อย่ามัวรอฤกษ์ยามอยู่  เพราะประโยชน ์ จะล่วงเลยคนเขลาท่ีมัวรอฤกษ์ยามไปเสีย  การได้ประโยชน์อันชอบ  ธรรมนน่ั แหละคือฤกษ์ดีแลว้ อีกแห่งหนึ่งพระศาสดาตรัสว่า  “ฤกษ์ดี  ยามดี  ขณะดี  อยู่ท ่ี สจุ รติ กาย วาจา ใจ ถา้ ประพฤตกิ ายสจุ รติ  วจสี จุ รติ  มโนสจุ รติ เมอื่   ใด เมอ่ื นน้ั กเ็ ปน็ ฤกษด์  ี ยามด ี ขณะด ี ไมว่ า่ จะเปน็ ตอนเชา้  กลางวนั   หรอื ตอนเยน็ ” (สุปพุ พัณหสูตร) ข้าพเจ้าเห็นว่า  ใครจะยังถือฤกษ์ยาม  เช่ือดวงดาวอะไรอยู่ก็  ตามใจ เปน็ สทิ ธเิ สรภี าพทจ่ี ะท�ำได ้ แตค่ วรจะแยกออกจากพระพทุ ธ  ศาสนาคอื อยา่ นำ� มาปะปนกนั  อนั จะทำ� ใหห้ ลกั พระพทุ ธศาสนาเสยี   ไป  โหราศาสตร์ก็เป็นศาสตร์หนึ่งที่มีอยู่ในโลก  ศึกษาเล่าเรียนและ  นบั ถอื กนั อยทู่ วั่ โลก ผดิ บา้ งถกู บา้ ง กเ็ ปน็ เรอื่ งของผทู้ �ำนายวา่ เขา้ ถงึ   เพียงใด  เรียนรู้ช�ำนาญในเรื่องศาสตร์น้ันๆ  เพียงใด  ข้าพเจ้าไม่มี  ความรู้เรื่องโหราศาสตร์พอท่ีจะตัดสินได้ว่าเช่ือได้กี่เปอร์เซ็นต์  แต่  สำ� หรบั พทุ ธศาสนาทเี่ ปน็ เนอ้ื แท ้ ขา้ พเจา้ มนั่ ใจวา่  เชอื่ ถอื ได ้ ๑๐๐%  ใครปฏิบัติตามธรรมได้เพียงใด  ย่อมได้รับผลสมควรแก่การปฏิบัต ิ เสมอเพียงน้ัน

เ ท ค นิ ค ก า ร เ ผ ย แ ผ่ พ ร ะ ศ า ส น า 42 ตามหลักพระพุทธศาสนา  บุคคลย่อมก�ำหนดวิถีชีวิตของ  ตนเอง ตอ้ งพงึ่ ตนเอง ทำ� ดว้ ยตนเอง ไมม่ สี ง่ิ ใดมากำ� หนดวถิ ชี วี ติ   ของเขาได้  พระศาสดาแห่งพุทธศาสนาทรงย้�ำตรงจุดนี้เป็น  อนั มาก แตใ่ นสงั คมไทยของเรา ชาวพทุ ธไทยยงั เตม็ ไปดว้ ยการบนบาน  ศาลกลา่ ว ออ้ นวอนขอผลประโยชนจ์ ากสง่ิ ทเี่ ขาเขา้ ใจวา่  “ศกั ดส์ิ ทิ ธิ์  มอี ำ� นาจดลบนั ดาลใหพ้ น้ ทกุ ขภ์ ยั  ประสบสขุ และสง่ิ อนั พงึ ปรารถนา”  พระพุทธรูปองค์ใหญ่ๆ  ในโบสถ์ต่างๆ  ถูกท�ำให้เป็นเหมือนเทวรูป  คอยรบั การบนบานและเซน่ สรวงบชู า เพอ่ื ปกปอ้ งผองภยั และอ�ำนวย  ผลประโยชน์ตามท่ีผู้ขอต้องการมีการแก้บนด้วยลิเก  ละคร  ฟ้อนร�ำ  ขับร้อง  ประโคมดนตรี  นี่คือตัวอย่างท่ีคนเราแต่ละรุ่นพอเติบโต  จำ� ความได้ กไ็ ด้ด ู ไดเ้ ห็น มอี ยทู่ ว่ั ประเทศ นอกจากน้ียังมีพระพุทธรูปองค์น้อยอีกมากมายหลายขนาด  แบบท่ีโฆษณากันครึกโครม  ท้ังทางวิทยุและหนังสือพิมพ์ว่ามีอิทธิ-  ฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ  เพื่อการจ�ำหน่ายในราคาแพง  โดยที่ผู้บริการ  ไม่ต้องมีประกันต่อผู้บริโภคว่าจะมีผลตามท่ีโฆษณาหรือไม่  เพราะ  ถ้ามีผลจริงก็เป็นความดีความชอบของผู้ให้บริการและวัตถุศักด์ิสิทธ ิ์ นนั้  แตถ่ า้ ไมม่ ผี ลจรงิ ๆ และผบู้ รโิ ภคไดร้ บั อนั ตราย ผบู้ รโิ ภคกห็ นั มา  โทษกรรมของตนเอง ชา่ งเปน็ ผบู้ รโิ ภคทนี่ า่ รกั อะไรเชน่ นนั้  และเปน็   ช่องทางให้ผู้แสวงหาประโยชน์ในทางท่ีด�ำเนินกิจการต่อไปได้อย่าง  สะดวกสบายและไดผ้ ลงดงาม ทง้ั ช่อื เสียง เกยี รตคิ ณุ และเงินทอง

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 43 อันท่ีจริง  พระพุทธรูปน้ัน  ท่านท�ำข้ึนเพ่ือเป็นอนุสรณ์ถึงองค์  สมเดจ็ พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้  เพอ่ื ระลกึ ถงึ พระคณุ ทงั้  ๓ ของพระองค์  นน่ั คอื  ความกรณุ า ความบรสิ ทุ ธ ิ์ และปญั ญา แลว้ ถา่ ยแบบดำ� เนนิ   ตามพระปฏิปทาของพระองค์  เพ่ือเราจะได้มีคุณธรรมเช่นน้ันบ้าง  เหน็ พระพทุ ธรปู แลว้ ระลกึ ถงึ พระคณุ สมบตั  ิ เพอื่ เปน็ สอ่ื ใหเ้ ราดำ� เนนิ   ตาม การมพี ระพทุ ธรปู ในความหมายนย้ี อ่ มมปี ระโยชนแ์ กจ่ ติ ใจและ  การด�ำเนินชีวิตของพุทธบริษัทและพระพุทธรูปจะไม่เฟ้อ  จะมีแต่  พอดพี องาม พระอาจารยช์ ยสาโร ภกิ ขุ ไดก้ ลา่ วไว้อยา่ งนา่ คดิ ว่า “ประเทศไทยยังไม่เป็นพุทธ  หน้าที่ของเราคือ  การเผยแผ่  พระพทุ ธศาสนาในประเทศไทยใหช้ าวไทยเปน็ พทุ ธแท ้ ใหช้ าวไทยม ี สัมมาทฏิ ฐใิ นพระพุทธศาสนา” พระภิกษุซึ่งเดิมเป็นชาวต่างชาติ  (อังกฤษ)  มาในประเทศไทย  ลูกศิษย์ท่านอาจารย์ชา  สุภทฺโท  (พระโพธิญาณเถร)  มีความรัก  มคี วามรบั ผดิ ชอบตอ่ พระพทุ ธศาสนาจนกลา่ วออกมาเชน่ น ี้ ทา่ มกลาง  ผู้ทรงภูมิรู้ซ่ึงเป็นตัวแทนแห่งพุทธสมาคมทั่วประเทศ  แล้วพระไทย  คนไทยท้ังหลายเล่าคิดอย่างไร?  ท�ำอย่างไรจึงจะให้ชาวไทยเป็น  พุทธแท้  มีสัมมาทิฏฐิในพระพุทธศาสนา?  ท่านเห็นว่าตัวอย่างเป็น  สงิ่ สำ� คญั หรอื ไม?่  ถา้ ส�ำคญั  ทำ� ไมเลา่ เราจงึ ไมท่ ำ� ตวั อยา่ งความเปน็   พุทธแท้ให้อนชุ นด ู เพ่ือเขาจกั ได้ดำ� เนนิ ตาม เป็นการเผยแผ่ศาสนา  โดยท�ำตวั อยา่ งใหด้ ู

เ ท ค นิ ค ก า ร เ ผ ย แ ผ่ พ ร ะ ศ า ส น า 44 ข้าพเจ้าได้พูดถึงโครงการฝึกอบรมพระภิกษุ  นักศึกษา  ผู้ม ี ศกั ยภาพทจ่ี ะเป็นนกั เผยแผ่ที่ดไี ด ้ ให้มคี ุณสมบัติเพยี บพรอ้ มในการ  ที่จะเป็นนักเผยแผ่พุทธศาสนา  เพ่ือตอบแทนพระคุณของพระพุทธ  ศาสนา บชู าคณุ พระรตั นตรยั  และเพอื่ ตอบแทนอปุ การะของคฤหสั ถ ์ ผู้ลงทุนลงแรงบ�ำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยปัจจัย  ๔  แต่ละปีด้วยจ�ำนวน  เงินมิใช่น้อย  ได้พูดถึงคุณสมบัติต่างๆ ของการเผยแผ่ โดยการพูด  การเขียนและการท�ำตัวอย่างให้ดูมาพอสมควรแล้ว  คิดว่าพอเป็น  แนวทางในการเผยแผศ่ าสนาไดบ้ า้ งโดยวธิ ใี ดวธิ หี นงึ่ สดุ แลว้ แตค่ วาม  ถนดั ของแตล่ ะบุคคล องค์การทางศาสนานับต้ังแต่วัดขึ้นไปจนถึงองค์การสูงสุดคือ  มหาเถรสมาคม  รวมทั้งสมาคมทางพุทธศาสนาอ่ืนๆ  เช่น  พุทธ  สมาคม  ยุวพุทธิกสมาคม  องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก  (พ.ส.ล.)  เป็นต้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยสงฆ์  รวมท้ัง  วิทยาเขตทุกแห่ง  ควรสนใจโครงการน้ีและสนับสนุนให้มีขึ้นเป็น  ปึกแผน่  เหมอื นกองทพั ท่ฝี กึ ทหารเหล่ารบไว้ออกรบทีเดยี ว พระสงฆน์ นั้ เปน็ เหมอื นทหารของพระพทุ ธเจา้  เปน็ ธรรมเสนา  คือ  กองทัพธรรมท่ีควรจะได้รับการฝึกปรืออย่างดีเพื่อธรรมยาตรา  สู่หมู่บ้าน  ต�ำบล  จังหวัดท่ัวประเทศและแผ่ไปถึงต่างประเทศด้วย  ไม่ใช่เพียงแต่ไปรักษาวัดท่ีต้ังไว้  แต่เพ่ือน�ำศาสนธรรมหรือพรหม-  จรรย์คือระบบการครองชีวิตที่ดี  ท่ีประเสริฐสู่มวลชน  อย่างที่สาวก  รุ่นก่อนๆ  ของพระพุทธองค์เคยท�ำมาแล้ว

อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 45 ตัวพระสงฆ์แต่ละรูปเอง น่าจะมีจิตสำ� นึกในหน้าที่อันส�ำคัญน ี้ ของตนแล้วรีบขวนขวายหาความรู้ทางธรรมทางศาสนาให้เพียงพอ  ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปในการศึกษาพระธรรมวินัย  ตรึกตรองธรรมให้  รู้อรรถ  (ความหมาย)  รู้ธรรม  (หัวข้อธรรม)  ไม่ใช่สนใจแต่เรื่องทาง  โลก  พูดได้คล่อง  รู้มาก  แต่พอพูดถึงพระธรรมวินัยซ่ึงเป็นเร่ืองของ  ตนกลับงงงันจับต้นชนปลายไม่ถูก  เรื่องทางโลก  ถ้ารู้บ้างก็ต้องต้ัง  จุดมงุ่ หมายไวว้ ่าเพยี งเพือ่ เปน็ สะพานให้ธรรมะเดินไปได้เทา่ น้นั จะบวชอยู่ตลอดชีวิตหรือจะสึกก็ช่างเถิด  ไม่เป็นไร  แต่ตลอด  เวลาท่ีบวชอยู่ควรต้องต้ังใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยเพ่ือ  ตอบแทนอุปการะของชาวบ้านท่ีเขาเล้ียงดูด้วยปัจจัย  ๔  ไม่ท�ำให ้ ชาวบา้ นผดิ หวงั วา่ อดุ หนนุ คนเหน็ แกต่ วั  อยา่ ไดน้ กึ วา่ อกี ไมก่ ปี่ จี ะสกึ   แล้ว  ความรู้ทางธรรมเอาไปใช้ทางโลกไม่ได้  ต้องเอาไปใช้ที่เมือง  สาวัตถีโน้น  ขออย่าได้คิดอย่างน้ัน  เพราะเป็นการดูถูกตัวเองอย่าง  รา้ ยแรง และเปน็ การลบหลพู่ ระบรมศาสดาผทู้ รงเทดิ ทนู ธรรมเคารพ  ธรรมอยู่เสมอ  และตรัสรับรองไว้ว่า  “ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤต ิ ธรรม” เรยี นธรรมรธู้ รรมแลว้  ขอใหม้ ธี รรม ตง้ั อยใู่ นธรรมเถดิ  ธรรม  จะคุ้มครองเอง  อย่าเป็นห่วงตัวเองนักเลย  เมื่อได้ตั้งใจมอบตนให้  ธรรมไปแลว้ กส็ ดุ แลว้ แตธ่ รรมจะคมุ้ ครองไดเ้ พยี งใด ชวี ติ ของเราสนั้   นิดเดียว  แต่ธรรมยังจะอยู่คุ้มครองโลกไปอีกนาน  จึงน่าจะเห็น  ความส�ำคัญของธรรมมากกว่าความส�ำคัญของตน  เราอยู่ได้  ทกุ วนั น ้ี อยมู่ าไดอ้ ยา่ งนก้ี เ็ พราะธรรมคมุ้ ครองอย ู่ จงึ ควรชว่ ยกนั  

เ ท ค นิ ค ก า ร เ ผ ย แ ผ่ พ ร ะ ศ า ส น า 46 กล่าวธรรม  ส่องแสงธรรมให้แก่โลกอันมืดอยู่โดยปกติ  ธรรม  เป็นธง คือเป้าหมายของทา่ นผู้แสวงหาคณุ ความดีท้งั หลาย พุทธบริษัทฝ่ายคฤหัสถ์ก็เช่นกัน  ขอให้คิดว่าพระพุทธเจ้าทรง  ฝากศาสนาไวก้ บั พทุ ธบรษิ ทั  ๔ ซงึ่ รวมเปน็  ๒ ฝา่ ยคอื ฝา่ ยบรรพชติ   และฝ่ายคฤหัสถ์  เพราะฉะน้ันคฤหัสถ์จึงมีหน้าที่โดยตรงในการ  จรรโลงพุทธศาสนาโดยการให้ปัจจัย  ๔  โดยการศึกษาธรรมปฏิบัติ  ธรรมตามฐานะของตน  กล่าวสอนธรรมเท่าท่ีรู้และเข้าใจ  อย่ามัว  เกี่ยงให้เป็นหน้าที่ของพระฝ่ายเดียว  ในสมัยพุทธกาล  พระพุทธเจ้า  ทรงยกยอ่ งจติ ตคหบดวี า่ เปน็ เอตทคั คะ (ยอด) ในทางเปน็ ธรรมกถกึ   คอื แสดงธรรม (๒๐/๓๒/๑๕๑) เมอ่ื พุทธบรษิ ทั ท้งั  ๒ ฝ่าย ร่วมมือร่วมใจกนั เชน่ น้ี เชอื่ ว่าการ  เผยแผพ่ ทุ ธศาสนาในประเทศไทย (ซง่ึ มผี นู้ บั ถอื อยแู่ ลว้ ) ใหไ้ ดผ้ ลสม  ความมงุ่ หมายกค็ งเปน็ ไปไดโ้ ดยไมย่ าก ถา้ ฝกึ ฝนใหค้ นของเราพรอ้ ม  แม้การเผยแผ่ในต่างประเทศเป็นไปได้เหมือนกัน  ความพร้อมเป็น  ปัจจัยส�ำคัญมาก  ถึงจะมีของดี แต่ถ้าไม่มีนักเผยแผ่ท่ีดีแล้ว ของดี  นัน้ กไ็ ม่ปรากฏ ไม่เกิดประโยชนเ์ ทา่ ทีค่ วรจะเปน็ ขอใหด้ วงประทปี คอื ธรรมสาดแสงเจดิ จา้ ทวั่ ผนื แผน่ ดนิ ไทยและ  โลกทงั้ ปวง

ถา้ จะมาเดนิ ทางสายน ้ี กต็ อ้ งมมี โนปณิธานอนั เดด็ เด่ยี วม่ันคง  ในการที่จะสละตนเพอื่ พระศาสนาและสังคม  เพื่อบูชาพระรัตนตรัย  เพราะเปน็ ทางสายเปลย่ี ว  ไมม่ ีลาภสกั การะชื่อเสยี ง และยศศักด์ิใหเ้ ป็นรางวลั   มแี ตค่ วามสขุ ใจ ความกา้ วหนา้ ของวิชาการ  ความสงบ เป็นเครือ่ งหล่อเล้ยี ง  มีสมั โพธเิ ปน็ เปา้ หมาย



อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ 49 ส ภ า พ ข า ด แ ค ล น บุ ค ล า ก ร ใ น ว ง ก า ร พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า ในประเทศไทย เรามพี ระภกิ ษสุ ามเณรประมาณ ๓ แสนรปู  และ  พุทธศาสนิกชนไม่น้อยว่า  ๙๐%  ของประชากรทั้งหมดของประเทศ  แต่เราจะได้ยินอยู่เสมอว่า  เราขาดบุคลากรทางพุทธศาสนาผู้มี  ภูมธิ รรมทรงความรจู้ รงิ ๆ ในการเผยแผ่ศาสนา บางทา่ นบอกวา่  บคุ ลากรของเราอยใู่ นสภาพออ่ นเปลย้ี  บางทา่ น  ว่า  จะหาพระภิกษุสามเณรสัก  ๑  เปอร์เซ็นต์ได้ไหมในจ�ำนวน  ๓  แสนน้ีที่สามารถท�ำหน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์  บางท่านว่า  ทำ� ไมมแี ตท่ า่ นรปู เดยี วตดิ อยใู่ นรายการแทบทกุ รายการทมี่ กี ารฝกึ ฝน  อบรมบุคลากรทางศาสนาไม่ว่าทางฝ่ายพระหรือฝ่ายฆราวาส  ท่าน  พูดเป็นเชิงกระตุ้นให้แสวงหาข้อเท็จจริงว่าเรามีข้อบกพร่องอะไรใน  สังคมศาสนาของเรา จงึ ขาดแคลนบคุ ลากรได้ถึงขนาดน้ี


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook