Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หน่วย-3-การพูดในงานอาชีพ

หน่วย-3-การพูดในงานอาชีพ

Published by มัทนะ ธิหล้า, 2019-07-01 12:51:21

Description: หน่วย-3-การพูดในงานอาชีพ

Search

Read the Text Version

ชดุ การเรียน หลักสตู รประกาศนยี บตั รวิชาชีพชั้นสูง พุทธศกั ราช ๒๕๖๒ ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี หนว่ ยที่ ๑ สานักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

คำนำ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ชุดการเรียนโดยใช้สื่อดิจิทัลเพ่ือพัฒนาทักษะการส่ือสารภาษาไทยระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงนี้ จัดทาข้ึนเพ่ือใช้ในการศึกษาเรียนรู้รายวิชา ๓๐๐๐-๑๑๐๑ ภาษาไทยเพื่อส่ือสารในงาน อาชพี หลักสตู รประกาศนยี บตั รวิชาชพี ช้นั สงู พุทธศักราช ๒๕๕๗ และรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะ ภาษาไทยเชิงวิชาชีพ ๓-๐-๓ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช ๒๕๖๒ โดยมี จุดประสงค์เพ่ือให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วเกิดความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับ หลักการใช้ภาษาไทย สามารถนาภาษาไทยไปใช้เป็นเคร่ืองมือสื่อสารในงานอาชีพ โดยชุดการเรียนน้ี ประกอบด้วย ๗ หน่วยการเรียน และแต่ละหน่วยประกอบด้วยแบบประเมินตนเองก่อนและหลังเรียน แผนการเรียนประจาหน่วย เน้ือหาสาระและกิจกรรม ซึ่งผู้เรียนอาชีวศึกษาทั้งในระบบปกติและระบบ ทวิภาคีสามารถศึกษาเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติและทบทวนความรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ตลอดจนสามารถดาวนโ์ หลด (Download) ชุดการเรียน น้ีเพ่ือศึกษาเรียนรู้ในระบบออฟไลน์ (Offline) ได้ด้วย นอกจากนี้ ครูผู้สอนรายวิชาดังกล่าวยังสามารถ นาไปใชใ้ นการจดั การเรยี นการสอนในสถานศกึ ษาได้ เปน็ การสนองตอบนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ และการ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ แก่ผู้เรียนอาชีวศึกษาด้วย ทั้งน้ี ชุดการเรียนนี้จะนาไปใช้ใน สถานศึกษานาร่อง ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ เพื่อพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งข้ึนและขยายผลแก่สถานศึกษา อาชวี ศึกษาทุกแหง่ ตอ่ ไป สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาขอขอบคณุ ศนู ยอ์ าชวี ศกึ ษาทวภิ าคี ศูนยส์ ่งเสริมและ พัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ คณะศึกษานิเทศก์ คณะครูผู้สอน คณะกรรมการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุก ท่าน ที่มีส่วนช่วยให้การดาเนินการจัดทาชุดการเรียนโดยใช้ส่ือดิจิทัลเพ่ือพัฒนาทักษะการสื่อสาร ภาษาไทยครั้งน้ีบรรลุผลสาเร็จตามท่ีมุ่งหวัง และหวังว่าผู้เรียนจะได้นาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการ พฒั นาตนเองและประยกุ ต์ใชใ้ นงานอาชพี ได้เปน็ อยา่ งดี ศูนย์สง่ เสริมและพฒั นาอาชวี ศึกษาภาคเหนอื ศูนย์อาชวี ศึกษาทวิภาคี พฤษภาคม ๒๕๖๒

สารบญั ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี รายละเอยี ดรายวชิ า หน้า วิธกี ารศกึ ษา (ก) • ขนั้ ตอนการเรยี นชุดการเรยี น • ขน้ั ตอนการเรียนระดับหนว่ ย (ข) (จ) หนว่ ยที่ ๓ การพดู ในงานอาชีพ (ฉ) • แบบประเมนิ ตนเองก่อนเรียน หนว่ ยท่ี ๓ ๑ • แผนการเรยี น หนว่ ยที่ ๓ การพูดในงานอาชพี ๑ - แผนการเรียน มอดลู ที่ ๓.๑ การพูดโทรศัพท์ ๒ - แผนการเรียน มอดลู ที่ ๓.๒ การพูดสัมภาษณ์ ๔ - แผนการเรียน มอดูลที่ ๓.๓ การพูดสาธติ ๙ - แผนการเรียน มอดูลที่ ๓.๔ การพดู นาเสนอ ๑๔ • แบบประเมนิ ตนเองหลังเรียน หนว่ ยที่ ๓ ๑๙ • ภาคผนวก ๒๔ ๒๕

รายละเอยี ดรายวชิ า ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี ๓-๐-๓ (Occupational Thai Language Skills) จดุ ประสงค์รายวชิ า เพ่ือให้ ๑. เข้าใจหลกั การใช้ภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๒. สามารถวเิ คราะห์ สงั เคราะห์ ประเมนิ ค่าสารและใช้ภาษาไทยเปน็ เคร่ืองมอื สอ่ื สารใน วชิ าชพี ตามหลักภาษา เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคลและสถานการณ์ ๓. เหน็ คุณค่าและความสาคญั ของการใชภ้ าษาไทยในวชิ าชีพอยา่ งมจี รรยาบรรณ สมรรถนะรายวชิ า ๑. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการฟัง การดู การพูด การอ่าน การเขียน การวิเคราะห์ การ สังเคราะห์และการประเมินคา่ สารภาษาไทยเชิงวิชาชีพอย่างมีจรรยาบรรณ ๒. วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสารท่ีได้จากการฟัง การดูและการอ่านส่ือประเภท ต่าง ๆ ๓. พดู นาเสนอขอ้ มูลเพือ่ สือ่ สารในงานอาชพี และในโอกาสตา่ ง ๆ ตามหลักภาษา กาลเทศะ บคุ คลและสถานการณ์ ๔. เขียนเพ่ือติดต่อกิจธุระ บันทึกข้อมูลและรายงานการปฏิบตั ิงานเชิงวชิ าชพี ตามหลักการ ใช้ภาษาไทย คาอธบิ ายรายวชิ า ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการฟัง การดู การพูด การอ่านและการเขียนภาษาไทย การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสารในงานอาชีพจากส่ือประเภทต่าง ๆ การพูด นาเสนอข้อมูลเพื่อส่ือสารในงานอาชีพและในโอกาสต่าง ๆ การเขียนเพ่ือกิจธุระ การจดบันทึก ขอ้ มลู และเขยี นรายงานการปฏบิ ตั ิงานเชงิ วิชาชีพ และจรรยาบรรณในการใชภ้ าษาไทยเชิงวชิ าชีพ (ก)

วธิ กี ารศกึ ษา ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ในการศึกษาชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ ผู้เรยี นจะต้องทาความเขา้ ใจเกีย่ วกบั ๑. โครงสรา้ งเน้อื หาสาระ ๒. โครงสรา้ งสื่อการเรียนรู้ ๓. วิธกี ารเรียน โครงสร้างเนือ้ หาสาระ ชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพได้แบ่ง โครงสรา้ งเน้ือหาสาระ ดงั น้ี หนว่ ยท่ี ๑ การใชภ้ าษาไทยในการสอื่ สารอยา่ งมีประสิทธภิ าพ หน่วยท่ี ๒ การวเิ คราะห์สารจาการฟงั การดู การอา่ น หนว่ ยท่ี ๓ การพดู ในงานอาชีพ หนว่ ยที่ ๔ การพดู ในโอกาสต่าง ๆ ของสังคม หนว่ ยท่ี ๕ การเขยี นเพ่ือตดิ ตอ่ ธรุ ะ หน่วยท่ี ๖ การเขียนในงานอาชพี หนว่ ยท่ี ๗ การเขยี นรายงานการวจิ ยั โครงสร้างสอ่ื การเรยี นรู้ ชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี ประกอบด้วย ส่ือ ๒ ประเภท คือ (๑) สือ่ ส่งิ พิมพ์ ได้แก่ แผนการเรยี นและใบกิจกรรม และ (๒) ส่ือออนไลน์ วิธีการเรยี น เพ่ือให้การเรียนในชุดการเรียนรายวิชาน้ีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผล ตามจดุ ประสงค์รายวิชาและสมรรถนะรายวชิ า ผเู้ รยี นควรดาเนินการตามข้ันตอน ดงั น้ี ๑. เตรียมตัวเพื่อการศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนต้องจัดตัวเองให้อยู่ในสภาพการณ์ ที่เออื้ ต่อการเรียนรู้ ๔ ประการ คือ ๑.๑ มสี ว่ นร่วมในกจิ กรรมการเรยี นรู้อย่างกระฉับกระเฉง โดยการคิด เขียนและ ทากิจกรรมการเรียนรู้ทก่ี าหนดอย่างสม่าเสมอตลอดเวลา ๑.๒ ติดตาม ตรวจสอบผลการเรยี นรูห้ ลงั ทากิจกรรมแตล่ ะกิจกรรมจากแนวการ ตอบหรอื เฉลย ๑.๓ ซือ่ สตั ย์ต่อตนเอง โดยไม่ดูแนวการตอบหรอื เฉลยกอ่ น (ข)

๑.๔ ศึกษาเรยี นรู้ไปตามลาดับขน้ั ตอน เพ่อื ให้ไดค้ วามรู้ครบถว้ นตามท่กี าหนด ๒. ประเมนิ ผลตนเองกอ่ นเรยี นและหลงั เรยี น ๒.๑ ก่อนท่ีจะเรียนหน่วยการเรียนใด ผู้เรียนควรจะตรวจสอบความรู้ด้วยการ ประเมินผลตนเองก่อนเรียนจากแบบประเมินของหน่วยนั้น ตรวจคาตอบจากเฉลย แล้วรวม คะแนนไว้ หากทาไดค้ ะแนนเกนิ กวา่ รอ้ ยละ ๖๐ ผเู้ รยี นอาจจะไม่ต้องศกึ ษาหน่วยนั้น ๒.๒ เม่ือศึกษาหน่วยนนั้ เสร็จแล้ว ขอให้ผู้เรียนประเมินผลตนเองหลังเรียน โดย ทาแบบประเมินทก่ี าหนดไวต้ อนท้าย ตรวจคาตอบจากเฉลย แล้วรวมคะแนนไว้ หากทาได้ต่ากว่า รอ้ ยละ ๘๕ ผ้เู รยี นควรศกึ ษาทบทวนหนว่ ยนั้นแล้วประเมินซา้ อกี จนกว่าจะได้คะแนนเพม่ิ ข้ึนตาม เกณฑท์ ก่ี าหนด ๓. ศึกษาเอกสารชดุ การเรียนและส่ือท่ีกาหนด โดย ๓.๑ ศกึ ษารายละเอยี ดชุดวิชา ๓.๒ ศึกษาแผนหนว่ ยการเรยี นทุกหนว่ ย ๓.๓ ศกึ ษารายละเอียดของแต่ละหนว่ ยการเรียน ดงั นี้ ๓.๓.๑ แผนการเรียนประจาหน่วย ๓.๓.๒ แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน ๓.๓.๓ แนวคดิ ๓.๓.๔ เนอื้ หาสาระในแตล่ ะหน่วย และแต่ละมอดูล ๓.๓.๕ กจิ กรรมและแนวการปฏบิ ตั หิ รอื แนวการตอบ ๓.๓.๗ แบบประเมินตนเองหลงั เรียน ๔. ทากจิ กรรมตามทีก่ าหนดในหน่วยการเรยี น “กิจกรรม” เป็นส่วนที่ผู้เรียนจะต้องบันทึกสาระสาคัญและทากิจกรรมทุกอย่าง ตามทีไ่ ดร้ บั มอบหมาย ใหเ้ ขียนกิจกรรมลงในแบบฝึกปฏบิ ัติที่กาหนด บางกจิ กรรมอาจให้ผู้เรียน ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและเขียนรายงาน ขอให้ผู้เรียนจัดทาและจัดส่งครูผู้สอนหรือครูเจ้าของ วิชาตามวนั เวลาและสถานทท่ี ก่ี าหนด (ค)

๕. การศึกษาสอื่ ประกอบการเรยี นรู้ บางหน่วยการเรียน อาจกาหนดให้ผู้เรียนศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อท่ีกาหนดหรือ ศึกษาส่ือควบคู่ไปกับการอ่านเอกสารชุดการเรียนเพื่อเสริมสร้างความรู้ ขอให้ผู้เรียนศึกษา รายละเอียดตา่ ง ๆ ตามทกี่ าหนด และจดบนั ทึกสาระสาคัญของสิ่งทไี่ ด้เรยี นรู้ไว้ในกจิ กรรมปฏิบัติ ด้วย ๖. การเข้ารับการสอนเสรมิ หรือรบั บรกิ าร ณ สถานศกึ ษา ผู้เรียนต้องนาบัตรประจาตัวนักศึกษาและบัตรลงทะเบียนเรียนรายวิชาไปแสดง ดว้ ย และเมอ่ื เขา้ รับการสอนเสรมิ รับฟังและรบั ชมส่อื ต่าง ๆ ใหบ้ ันทกึ รายละเอยี ดการเขา้ รับการ สอนเสรมิ หรือรบั บริการในแบบฝกึ ปฏบิ ัตติ อนทา้ ยหน่วยดว้ ย ๗. การร่วมกจิ กรรมภาคปฏิบตั เิ สริมประสบการณ์ ผู้เรียนชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ อาจจะตอ้ งเขา้ ร่วมกิจกรรมอย่างใดอยา่ งหน่ึงตอ่ ไปนี้ ๗.๑ เข้าห้องปฏิบัติการในสถานศึกษา เพื่อฝึกทักษะปฏิบัติตามที่กาหนดไว้ใน แตล่ ะหน่วยการเรียน ๗.๒ เข้าสงั เกตการณ์การสอนในหนว่ ยการเรียนทก่ี าหนด ๗.๓ เข้าฝกึ ปฏบิ ตั ใิ นสถานประกอบการหรือหน่วยงาน ๗.๔ ประดิษฐค์ ิดคน้ หรอื ศึกษาสารวจข้อมูลตามท่กี าหนด หลังจากทากิจกรรมข้างต้นแล้ว ให้มีการสรุปรายงานให้แก่ครูผู้สอนหรือครู เจ้าของวิชาทราบเพ่ือตรวจสอบผลการปฏิบัติ และเก็บผลการประเมินเป็นคะแนนเก็บของ รายวิชา ๘. เขา้ รบั การสอบ เม่ือส้ินภาคการศึกษา ผู้เรียนต้องเข้ารับการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาหรือ สอบไล่ ตามวนั เวลาและสถานทท่ี ีส่ ถานศกึ ษากาหนด เพอื่ การตัดสินผลการเรยี น (ง)

(จ)

(ฉ)

แบบประเมินตนเองก่อนเรยี น หนว่ ยท่ี ๓ http://bit.ly/thai-test3 ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ ๑

แผนการเรียน หนว่ ยท่ี ๓ การพูดในงานอาชีพ มอดลู ที่ ๓.๑ การพูดโทรศัพท์ ๓.๒ การพดู สมั ภาษณ์ ๓.๓ การพูดสาธติ ๓.๔ การพูดนาเสนอ แนวคดิ การพูดในงานอาชีพเป็นการส่ือสาร ๒ ทางที่ใช้ติดต่อส่ือสารกันในสังคมอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นการส่ือสารที่รวดเร็ว ฉับไว เข้าใจสารได้ง่ายกว่าการสื่อสารดว้ ยการเขียน สามารถอธิบาย ชี้แจง สอบถามรายละเอยี ด ขอ้ สงสัยได้มากแลว้ แตเ่ วลาและโอกาสของแตล่ ะบคุ คล การพูดในงานอาชีพโดยทั่วไป ได้แก่ การพูดโทรศัพท์ การสัมภาษณ์ การพูดสาธิต การพูด ขายสนิ คา้ หรือบรกิ าร เปน็ ตน้ จุดประสงค์การเรยี น ๑. เม่ือศึกษามอดูลท่ี ๓.๑ “การพูดโทรศัพท์” แล้ว ผู้เรียนสามารถใช้ข้อความพูดโตต้ อบ ทางโทรศัพท์ได้อยา่ งชัดเจนและมมี ารยาทได้ ๒. เมื่อศึกษามอดูลท่ี ๓.๒ “การพูดสัมภาษณ์” แล้ว ผู้เรียนสามารถพูดสัมภาษณ์หรือตอบ สมั ภาษณ์ได้อยา่ งชัดเจนและตรงประเด็น ๓. เม่อื ศกึ ษามอดลู ท่ี ๓.๓ “การพูดสาธิต” แล้ว ผู้เรียนสามารถพดู สาธิตการปฏิบตั งิ านได้ ๔. เม่ือศึกษามอดูลที่ ๓.๔ “การพูดนาเสนอ” แล้ว ผู้เรียนสามารถพูดนาเสนอผลงานได้ อยา่ งมีประสิทธิภาพ ๒ ชุดการเรยี น วิชาภาษาไทยเพื่อสอ่ื สารในงานอาชีพ

กิจกรรมการเรยี น 1. ทาแบบประเมนิ ตนเองก่อนเรียนหนว่ ยท่ี ๓ 2. อ่านแผนการเรยี นประจาหนว่ ยที่ ๓ 3. อา่ นสาระสังเขปประจามอดลู ท่ี ๓.๑ - ๓.๔ 4. ดาเนินกจิ กรรมทก่ี าหนดของแต่ละมอดูลหรือหัวข้อเรื่อง 5. ทาแบบประเมินตนเองหลงั เรียน ส่อื และแหล่งการเรยี น 1. เอกสารชุดการเรยี น หนว่ ยที่ ๕ 2. อินเทอร์เน็ต http//www.youtube.com เก่ียวกับการพูดสาธิต การพูดโทรศัพท์ การพูด สมั ภาษณ์ และการพูดนาเสนอ การประเมินผลการเรยี น ๑. ประเมนิ ความก้าวหนา้ ระหว่างการประเมนิ ตนเองก่อนและหลงั เรียน (ไมม่ คี ะแนน) ๒. ประเมนิ กิจกรรมภาคปฏบิ ตั ิ (.....คะแนน) ๓. คุณธรรม จริยธรรม (๒๐ คะแนน) ๔. การสอบปลายภาค (….. คะแนน) ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพือ่ สื่อสารในงานอาชีพ ๓

แผนการเรียน มอดลู ท่ี ๓.๑ การพูดโทรศัพท์ มอดลู ท่ี ๓.๑ โปรดอ่านหัวข้อเรื่อง แนวคิดและจุดประสงค์การเรียนของมอดูลที่ ๓.๑ แล้วจึงศึกษา รายละเอียดตอ่ ไป หัวข้อเร่อื ง ๓.๑.๑ ความสาคญั ของการพดู โทรศพั ท์ ๓.๑.๒ การใชข้ ้อความพูดโตต้ อบทางโทรศัพท์ แนวคิด การติดตอ่ สือ่ สารทางโทรศัพท์นับเปน็ การส่ือสารที่รวดเรว็ สะดวกประหยดั และแทบจะใช้ได้ ท่ัวโลกอยา่ งไม่จากดั พ้นื ท่ี จงึ เป็นการสอ่ื สารท่ีนิยมกันมากทส่ี ุด การพดู โทรศัพทม์ คี วามสาคัญและมี บทบาทอย่างมากในการดารงชีวิต ดังนั้นควรต้องระมัดระวังการใช้คาพูดในการติดต่อส่ือสาร นอกจากนี้ควรได้มีการศึกษาที่มีความเข้าใจเก่ียวกับมารยาท ประเพณีปฏิบัติท่ีควรทาในขณะ ตดิ ต่อสือ่ สารทางโทรศพั ท์ จุดประสงค์การเรียน ๑. เมื่อศึกษาหัวข้อเร่ืองที่ ๓.๑.๑ “ความสาคัญของการพูดโทรศัพท์” แล้ว ผู้เรียนสามารถ บอกความสาคัญของการใช้โทรศพั ทใ์ นการส่อื สารได้ ๒. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๓.๑.๒ “การใช้ข้อความพูดโต้ตอบทางโทรศัพท์” แล้ว ผู้เรียน สามารถพูดโต้ตอบทางโทรศพั ทไ์ ด้ชัดเจนอยา่ งมมี ารยาท ๔ ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพ่ือส่อื สารในงานอาชีพ

ก่อนจะเรียนรเู้ ก่ียวกับการพูด เรามาทดสอบกิจกรรม “รจู้ ักนกั พูด” กันกอ่ น https://h5p.org/node/454894 เนื้อหา ๑. ความสาคญั ของการพูดโทรศพั ท์ การส่ือสารผ่านทางโทรศัพท์ในปัจจุบันนับว่ามคี วามสาคัญและมีความจาเป็นมาก ในภาวะ ที่การจราจรวิกฤติขึ้นทุกวัน ดังนั้นการพูดหรือติดต่อส่ือสารกันทางโทรศัพท์ จึงมีความจาเป็นและ สาคญั สรปุ ไดด้ งั น้ี ๑.๑ การพูดทางโทรศัพท์อานวยความสะดวกให้ผู้ท่ีอยู่ไกลกันติดต่อส่ือสารกันได้รวดเร็ว และทันทว่ งที ๑.๒ การพูดทางโทรศัพท์ช่วยประหยัดเวลาที่จะต้องเดินทางมาพบปะเจรจากันด้วยตนเอง ทา่ มกลางสภาพการจราจรทีต่ ดิ ขดั ๑.๓ การพูดทางโทรศัพท์ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ ดาเนินไปอย่างคล่องตัวประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งประหยัดเวลาดว้ ย ๑.๔ การพูดทางโทรศัพท์เป็นการสื่อสารแบบไม่ต้องเผชิญหน้ากันทาให้เวลาพูดไม่ต้อง ระมัดระวังในเรื่องของกริยาท่าทาง และการวางตัวหรือการใช้อวัจนภาษาอ่ืน ๆ ถ้าเร่ืองที่เจรจา ก่อให้เกดิ ความอดึ อดั ซึง่ กันและกัน ผพู้ ดู กไ็ มร่ ู้สกึ ลาบากใจสามารถวางตัวสบาย ๆ ได้ ถ้าอยใู่ นเหตุการณ์น้นี กั ศกึ ษาจะสนทนาอยา่ งไรให้ถกู หลัก ทดสอบกจิ กรรมน้ีกนั ก่อนเลย https://h5p.org/node/454897 ชดุ การเรยี น วชิ าภาษาไทยเพ่อื สอ่ื สารในงานอาชพี ๕

๒. การใชข้ ้อความพูดโตต้ อบทางโทรศัพท์ ในสถานการณ์ท่ีต่างกันไป การใช้ข้อความตอบโต้หรือการพูดทางโทรศัพท์น้ัน ควรปฏิบัติ ดงั นี้ ๒.๑ ถ้าเป็นฝ่ายโทรศัพท์ไป ผู้โทรต้องทราบจุดประสงค์ของการโทรศัพท์ให้แน่ชัดเสียก่อน เมื่อมีผู้มารับสาย ควรเอ่ยคาว่า “สวัสดี” บอกชื่อ สถานท่ีท่ีโทรศัพท์มา และแจ้งความประสงค์ ทันที ตวั อยา่ ง “สวสั ดคี รับ ผมอภชิ าติโทรจากร้านศักด์ชิ ัยยนต์ ขอเรียนสายกบั คุณพกิ ุลครบั ” “สวัสดีครับ คุณรุ่งนภาหรือครับ ผมอภิสิทธิ์พูดครับ ผ้าไหมท่ีคุณส่ังไว้มาถึงแล้วครับ ไม่ ทราบวา่ จะให้ผมนาไปสง่ ใหท้ ีบ่ ้าน หรือคณุ จะสะดวกมารับด้วยตนเองครบั ” ๒.๒ ถ้าเป็นฝ่ายรับ เม่ือได้ยินเสียงสัญญาณเรียกต้องรีบรับทันที แล้วเอ่ยคาว่า “สวัสดี” และตอ่ ดว้ ยหมายเลขโทรศพั ท์ หรือสถานที่ หรอื ชอ่ื ผรู้ ับโทรศัพทก์ อ่ นพูดขอ้ ความอื่น ๆ ตัวอยา่ ง “สวัสดคี ่ะ ทนี่ ี่ ๐๔๒๘๑๑๕๙๑ ค่ะ” “สวัสดคี ะ่ ทนี่ ่ีงานบรหิ ารงานทวั่ ไป วทิ ยาลัยเทคนิคเลยคะ่ ” “สวัสดคี ่ะ ดฉิ ันไพลินนภากาลังพดู สายคะ่ ” ๒.๓ ถา้ ผู้เรยี กบอกความประสงคว์ ่าตอ้ งการพดู กับบคุ คลอน่ื หลงั จากมีผูร้ ับสายแลว้ ผู้เรยี ก ต้องการพดู กบั บุคคลอืน่ ผู้รับสายตอ้ งบอกให้ผูเ้ รียกคอยสักคร่หู รอื ถามรายละเอยี ดเพม่ิ เตมิ ตัวอย่าง “.............กรุณาคอยสักครู่ ค่ะ” “............ขอประทานโทษคะ่ จะใหเ้ รยี นท่านวา่ ใครต้องการพูดสายด้วยคะ” ๒.๔ ถ้าผู้ท่ีจะพูดด้วยไม่อยู่หรือไม่มารับโทรศัพท์ ผู้รับสายในครั้งแรกควรอธิบายเหตุผลให้ ผู้เรยี กทราบหรือใหฝ้ ากข้อความไว้ ตัวอย่าง “คุณเพชรมณีไม่อยคู่ ่ะ กรุณาโทรมาใหม่เวลาเยน็ ๆ นะคะ” “ผู้จัดการกาลงั ประชมุ อยคู่ ะ่ จะเลกิ ประชุมเวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา กรณุ าโทรมาใหมน่ ะคะ” “คณุ บรรหารไม่อย่คู ่ะ ไม่ทราบวา่ มีอะไรฝากข้อความไวไ้ ด้นะคะ” ๖ ชดุ การเรยี น วิชาภาษาไทยเพือ่ ส่อื สารในงานอาชีพ

๒.๕ ถ้าขณะที่กาลังพูดโทรศัพท์อยู่ และบังเอิญต้องมีกิจธุระ ทาให้ต้องหยุดพูดกะทันหัน ต้องกลา่ วขอโทษกอ่ น ตวั อยา่ ง “ขอโทษค่ะ กรุณารอสักครูน่ ะคะ” “ขอโทษคะ่ รอสกั ครนู่ ะคะ ดิฉันขอรับจดหมายลงทะเบียนกอ่ นคะ่ ” ๒.๖ ถ้าผู้เรียกเรียกไปแล้วแต่ผิดหมายเลข ควรกล่าวขอโทษอย่างสุภาพและแจง้ ว่าเป็นการ ตอ่ ผิด ผู้รบั กค็ วรตอบอยา่ งสภุ าพ ตวั อยา่ ง “ขอประทานโทษครับ ผมต่อผดิ ครบั ” “ขอโทษค่ะ คุณคงต่อผิดค่ะเพราะไมมีคนช่อื น้ีทางานท่ีนี่เลยคะ่ ” ๒.๗ ถา้ เจรจากนั เรียบรอ้ ยแล้ว ทั้งฝ่ายผรู้ บั และผเู้ รยี ก ควรกลา่ วขอบคุณและสวัสดที ุกคร้ัง ตวั อยา่ ง “ขอบคณุ ที่ให้ข้อมูลค่ะ สวัสดคี ะ่ ” “ขอบคณุ มากคะ่ ทชี่ ่วยเปน็ ธุระให้ ไว้ดิฉนั จะโทรมาอีกครง้ั ตอนเยน็ ๆ คะ่ ขอบคณุ ค่ะ” เรียนรตู้ ัวอย่างกันไปแลว้ มาทดสอบเหตุการณท์ ี่ ๒ กันเลย https://h5p.org/node/454898 กจิ กรรมท่ี ๓.๑ คาส่ัง ให้นักศึกษาทาแบบฟอร์มบันทึกรับโทรศัพท์ โดยมีสาระสาคัญให้ทราบว่า ต้องการ ติดต่อกับผู้ใด ใครเป็นผู้ติดต่อมา เบอร์โทรศัพท์ของผู้ติดต่อ ส่ิงท่ีต้องการให้ปฏิบัติ (เช่น ติดต่อ กลับ หรอื อ่ืน ๆ) วนั เวลารบั โทรศพั ท์ และชอ่ื ผ้รู ับโทรศพั ท์หรือผูบ้ ันทกึ ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพอ่ื สือ่ สารในงานอาชีพ ๗

เอกสารอ้างอิง จุไรรตั น์ ลกั ษณะศริ ิ. (๒๕๔๕). ภาษากับการสอื่ สาร. นครปฐม : มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร. นวภรณ์ อุน่ เรอื น. (๒๕๔๗). ทักษะภาษาไทยเพ่อื อาชีพ. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพจ์ ติ รวฒั น.์ ประสงค์ รายณสขุ . (๒๕๓๐). การพดู เพื่อประสทิ ธผิ ล. พิมพค์ รั้งท่ี ๒ ภาควชิ าภาษาไทยและภาษา ตะวันออกคณะมนษุ ยศาสตร์ มหาวิทยาลยั ศรีนครนิ ทรวโิ รฒ ประสานมติ ร. เพียรศักดิ์ ศรีทอง. (๒๕๓๔). การพดู . กรงุ เทพฯ : ศลิ ปะบรรณาคาร. สเุ มธ แสงนิม่ นวล. (๒๕๔๐). พดู อยา่ งไรใหส้ มั ฤทธิผล. พมิ พ์คร้ังที่ ๓ กรุงเทพฯ : บุค๊ แบงก์. อรวรรณ ปลิ ันธน์โอวาท. (๒๕๒๘). การพูดเพ่อื ธรุ กจิ . พมิ พ์คร้ังท่ี ๒ กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั . ๘ ชดุ การเรียน วิชาภาษาไทยเพอื่ ส่อื สารในงานอาชีพ

แผนการเรยี น มอดูลที่ ๓.๒ การพดู สมั ภาษณ์ มอดูลท่ี ๓.๒ โปรดอ่านหัวข้อเร่ือง แนวคิดและจุดประสงค์การเรียนของมอดูลท่ี ๓.๒ แล้วจึงศึกษา รายละเอียดต่อไป หวั ขอ้ เรอื่ ง ๓.๒.๑ รูปแบบของการสมั ภาษณ์ ๓.๒.๒ คาถามในการสมั ภาษณ์ ๓.๒.๓ การสัมภาษณ์เพ่ือการศึกษา ๓.๒.๔ การสมั ภาษณเ์ พ่อื การทางาน แนวคดิ การสัมภาษณ์เป็นวิธีการสื่อสารสองทาง (Two-way communication) มีการสนทนา ระหว่างผูม้ ีขอ้ มูลกับผู้ต้องการทราบขอ้ มูล เปน็ การถาม-ตอบกันโดยตรง หากมขี ้อสงสยั หรือเข้าใจไม่ ชัดเจนก็ทาความเขา้ ใจจนชัดเจนในทันที เป็นการสร้างความม่นั ใจให้ท้ังผู้ตอบและผู้ถาม จุดประสงคก์ ารเรียน ๑. เมื่อศึกษาหัวข้อเร่ืองที่ ๓.๒.๑ “รูปแบบของการสัมภาษณ์” แล้ว ผู้เรียนสามารถอธิบาย รปู แบบของการสมั ภาษณ์ได้ ๒. เมื่อศึกษาหัวข้อเร่ืองท่ี ๓.๒.๒ “คาถามในการสัมภาษณ์” แล้ว ผู้เรียนสามารถอธิบาย ลกั ษณะของคาถามในการสัมภาษณ์ได้ ๓. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องท่ี ๓.๒.๓ “การสัมภาษณ์เพื่อการศึกษา” และ หัวข้อเร่ืองท่ี ๓.๒.๔ “การสัมภาษณ์เพ่ือการทางาน”แล้ว ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตนในฐานะผู้สัมภาษณ์หรือ ผ้ใู ห้สมั ภาษณไ์ ดเ้ หมาะสม ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพื่อสือ่ สารในงานอาชีพ ๙

เน้อื หา ๑. รูปแบบการสัมภาษณ์ รปู แบบการสมั ภาษณแ์ บ่งออกเปน็ ๒ แบบคอื ๑.๑ การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ เป็นการสัมภาษณ์ความคิดเห็นท่ัว ๆ ไปเกี่ยวกับ เรื่องราวต่าง ๆ การสัมภาษณ์แบบน้ีไม่ต้องเตรียมการมากนัก เพียงแต่เตรียมจุดประสงค์ของการ สมั ภาษณแ์ ละคาถามไวล้ ว่ งหนา้ เทา่ นัน้ ๑.๒ การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ การสัมภาษณ์แบบนี้มีหลักเกณฑ์มากกว่าแบบ แรก คือ ผูส้ ัมภาษณจ์ ะต้องเตรียมสถานที่ นัดวนั เวลาไปพบ หรือเชญิ ผู้ใหส้ มั ภาษณ์ทราบล่วงหน้า ๒. คาถามในการสัมภาษณ์ คาถาม คือหัวใจของการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์จะประสบความสาเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กบั ประสิทธิภาพในการต้ังคาถาม ผู้สัมภาษณ์จึงควรศึกษาลักษณะของคาถามท่ีควรใช้สาหรับการ สมั ภาษณ์ ซ่ึงคาถามจะแบ่งออกเป็น ๒.๑ คาถามเปิด เป็นคาถามที่เปดิ โอกาสให้ผู้ตอบสามารถแสดงความคิดเห็นได้อยา่ งเต็มที่ ซ่ึงเหมาะสาหรับการสัมภาษณ์โดยทัว่ ๆ ไป ๒.๒ คาถามปดิ เปน็ คาถามท่ีผ้ถู ามต้องการคาตอบเพียงจุดใดจุดหน่ึง หรอื ตอ้ งการคาตอบ สั้น ๆ โดยไม่ต้องการคาอธิบาย วัตถุประสงค์หลักของการเลือกใช้คาถามปิด คือเพื่อให้สามารถ สัมภาษณค์ นจานวนมากไดโ้ ดยไม่ใช้เวลามากนัก และเกิดความคงทใี่ นการถามคาถามหนง่ึ ๆ กับคน จานวนมาก ลักษณะคาถามปิดจะให้เลือกคาตอบว่าใช่หรือไม่ หรือกาหนดประเด็นท่ีต้องการให้ ตอบเพียงเรื่องเดียว หรือเลือกอย่างใดอย่างหนึง่ ๒.๓ คาถามหยั่ง เป็นคาถามที่เปิดโอกาสให้ผู้สัมภาษณ์แสดงข้อเท็จจริง ทัศนคติ เหตุผล ไดอ้ ย่างกว้างขวางและลึกซ้ึง คาถามหย่งั มักใชค้ าแสดงคาถามวา่ ทาไม เหตใุ ด อย่างไร เช่น ทาไมคุณ จึงมาทาธุรกิจส่งออกท้ัง ๆ ที่คุณเรียนจบครูมา หรือเหตุใดนักเรียนส่วนใหญ่จึงมุ่งเข้าเรียนในเมือง หลวง ๒.๔ คาถามนา เป็นคาถามท่ีผู้สัมภาษณ์คาดเดาล่วงหน้าว่าผู้ให้สัมภาษณ์จะตอบตามท่ีผู้ สัมภาษณ์ถามนาไว้ ทางที่ดีผูส้ ัมภาษณ์ไม่ควรถามนาเพราะผู้ให้สัมภาษณ์มีโอกาสตอบตรงตามความ เป็นจริงไดม้ ากกว่า ๑๐ ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพ่อื สอ่ื สารในงานอาชีพ

คาถามสมั ภาษณเ์ หลา่ นม้ี ลี กั ษณะอย่างไรกันเอย่ มาทบทวนในกิจกรรมกัน https://h5p.org/node/454899 ๓. การสัมภาษณเ์ พ่อื การศกึ ษา กอ่ นการสมั ภาษณ์ ควรเตรียมคาถามให้สอดคล้องกับเรื่องท่ีต้องการศึกษา จัดลาดับคาถามให้เหมาะสมและ สะดวกแก่ผู้ตอบ โดยพิจารณาว่าผู้ที่จะสัมภาษณ์นั้นเป็นคนกลุ่มใด วัยใด อาชีพใด จะช่วยในการ เลอื กคาถามท่ีเหมาะสมกบั ความรู้ และประสบการณ์ของผใู้ ห้สัมภาษณม์ ากขึ้น ระหวา่ งการสมั ภาษณ์ - แนะนาตนเองและเร่ืองท่ีต้องการข้อมูล เพ่ือพยายามโนม้ น้าวใจผู้ให้สมั ภาษณ์สนใจที่จะ ให้ความรว่ มมอื - ดาเนินการสัมภาษณ์ตามคาถามที่เตรียมไว้ ผู้สัมภาษณ์จะต้องวางตัวเป็นกลางไม่แสดง ความคิดเห็นใด ๆ นอกเหนือจากเรื่องที่จะสัมภาษณ์ และไม่ควรพูดนอกเรื่องพยายามเป็นผู้ฟังท่ี ดี และสนใจปฏิกิริยาตอบสนองต่าง ๆ ของผู้ให้สัมภาษณ์ จะช่วยให้ผู้ให้สัมภาษณ์เกิดความรู้สึกท่ีดี ตอ่ การสมั ภาษณ์ และเตม็ ใจใหข้ อ้ มูล - บันทึกคาตอบที่ได้รับและรวมท้ังข้อมูลอื่น ๆ เช่น การแสดงสีหน้าหรือน้าเสียงของผู้ให้ สมั ภาษณ์ สภาพแวดลอ้ มของการสัมภาษณ์ - เม่ือจบการสัมภาษณ์จะต้องขอบคุณในความร่วมมือ และการเสียสละเวลาของผู้ให้ สัมภาษณ์ ๔. การสมั ภาษณ์เพอื่ การทางาน กอ่ นการสมั ภาษณ์ - จะตอ้ งเตรยี มตวั ใหพ้ รอ้ มโดยแตง่ กายสุภาพเรียบรอ้ ย - ควรเรียนรู้เร่ืองราวเก่ียวกับหน่วยงานองค์การหรือบริษัทที่ตนสมัครเข้าทางานให้มาก ทสี่ ุด - ควรหาความรู้เกีย่ วกับตาแหน่งหน้าท่ีทสี่ มัครด้วยว่าจะตอ้ งทาหน้าทอ่ี ะไรบา้ ง ๑๑ ชุดการเรยี น วชิ าภาษาไทยเพ่อื สอ่ื สารในงานอาชพี

- เมื่อได้รับเรียกให้เข้าไปรับการสัมภาษณ์ ควรแสดงความเคารพด้วยการไหว้ และกล่าว คาสวสั ดีกับเจา้ หนา้ ตามมารยาท แล้วจึงนัง่ เมอ่ื เจ้าหนา้ ที่เชญิ ให้นัง่ ระหว่างสัมภาษณ์ - ควรตงั้ ใจฟังคาถาม และตอบคาถามทุกข้ออยา่ งชดั เจน - หน้าตายิ้มแยม้ แจม่ ใส แสดงความกระตือรอื ร้น - ไมพ่ ูดมากเกินความจาเปน็ กจิ กรรมที่ ๓.๒ คาสั่ง ให้นักศึกษาค้นหาหัวข้อเก่ียวกับการสัมภาษณ์เพ่ือการศึกษาหรือเพ่ือการทางานจาก เว็บไซต์ยูทูบ (http//www.youtube.com) แล้วจดบันทึกคาถามพร้อมทั้งเขียนคาตอบที่เป็น ข้อมลู และความคิดเห็นของนกั ศกึ ษาสง่ ให้ครูผู้สอนในสัปดาหท์ ่ีนัดหมาย ๑๒ ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพอ่ื สอื่ สารในงานอาชพี

เอกสารอ้างองิ ฉตั รา บุนนาค, สวุ รรณี อดุ มผล และวรรณี พุทธเจริญทอง. (๒๕๒๒). ศิลปะการใช้ภาษาไทยใน ชวี ิตประจาวนั และทางธุรกิจ. กรงุ เทพฯ : ประกายพรึก. ทินวฒั น์ มฤคพทิ ักษ.์ (๒๕๓๐). พดู ได้พูดเป็น. กรงุ เทพฯ : กอ้ งหลา้ . นิพนธ์ ศศิธร. (๒๕๓๔). หลักการพดู ต่อชมุ นมุ ชน. พมิ พค์ รงั้ ที่ ๕ กรงุ เทพฯ : ไทยวัฒนาพานชิ . พิศเพลนิ สงวนพงศ.์ (๒๕๒๘). ภาษาไทยธุรกจิ . กรงุ เทพฯ : อานวยการพิมพ.์ ยพุ ยงค์ โสรัจประสพสนั ติ. (๒๕๔๕). ทักษะภาษาไทยเพือ่ อาชพี . ศูนย์ส่งเสรมิ วิชาการ. เรืองอุไร อนิ ทรประเสรฐิ . (๒๕๔๕). ทกั ษะภาษาไทยเพื่ออาชพี . ศนู ย์สง่ เสรมิ วิชาการ. ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพอ่ื ส่อื สารในงานอาชีพ ๑๓

แผนการเรียน มอดูลที่ ๓.๓ การพดู สาธติ มอดลู ท่ี ๓.๓ โปรดอ่านหัวข้อเรื่อง แนวคิดและจุดประสงค์การเรียนของมอดูลที่ ๓.๓ แล้วจึงศึกษา รายละเอยี ดตอ่ ไป หวั ข้อเรอื่ ง ๓.๓.๑ วตั ถุประสงคใ์ นการพูดสาธิต ๓.๓.๒ หลกั ในการพดู สาธิต ๓.๓.๓ ขั้นตอนของการพูดสาธติ แนวคิด การพูดสาธิตเป็นการพูดให้ความรู้ความเข้าใจข้อมูลวิธีการปฏิบัติ วิธีดาเนินการในเรื่องใด เรื่องหน่ึง โดยผู้พูดเพียงคนเดียวหรือเป็นคณะก็ได้ เพ่ือให้ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเพียง พอทีจ่ ะนาไปปฏบิ ัติ หรือประยกุ ต์ใชใ้ หเ้ กดิ ประโยชนไ์ ด้ จุดประสงคก์ ารเรยี น ๑. เม่ือศึกษาหัวข้อเร่ืองที่ ๓.๓.๑ “วัตถุประสงค์ในการพูดสาธติ ” แล้ว ผู้เรียนสามารถบอก วตั ถุประสงคใ์ นการพูดสาธิตได้ ๒. เมื่อศึกษาหัวข้อเร่ืองที่ ๓.๓.๒ “หลักในการพูดสาธิต” แล้ว ผู้เรียนสามารถบอกหลักใน การพดู สาธิตได้ ๓. เม่ือศึกษาหัวข้อเรื่องท่ี ๓.๓.๓ “ข้ันตอนของการพูดสาธิต” แล้ว ผู้เรียนสามารถพูดสาธิต ตามขน้ั ตอนการได้ถกู ตอ้ ง ๑๔ ชดุ การเรยี น วิชาภาษาไทยเพอ่ื สื่อสารในงานอาชีพ

เน้อื หา ๑. วตั ถุประสงค์ในการพูดสาธิต การพดู สาธิตมวี ตั ถปุ ระสงค์ ดงั น้ี ๑) เพอ่ื ใหผ้ ูฟ้ ังเกิดความรคู้ วามเขา้ ใจในสง่ิ ทีพ่ ูด ๒) เพือ่ ให้ผู้ฟงั สามารถนาไปปฏิบตั ิได้ดว้ ยตนเอง ๓) เพ่ือให้ความรวดเรว็ และประหยดั เวลาในการอธิบาย ๔) เพ่อื ให้งา่ ยต่อการทาความเข้าใจและจดจาไดด้ ขี นึ้ ๒. หลักในการพูดสาธติ ๑) ศึกษาเน้อื หา ขั้นตอนการปฏิบัตแิ ละวัสดอุ ุปกรณ์ให้เข้าใจชัดเจน ๒) แบ่งเน้อื หาเปน็ ขั้นตอน แบง่ เร่อื งทจี่ ะพูดเปน็ ข้ัน ๆ ๓) เรยี บเรยี งคาอธบิ ายแต่ละขั้นตอนให้สอ่ื ความหมายไปตามลาดบั โดยมขี ัน้ ตอนท่ลี ะเอยี ด ชัดเจน ๔) เตรียมอุปกรณใ์ หค้ รบถว้ น ๕) ฝึกซอ้ มการพูดสาธติ การใช้อุปกรณ์ใหค้ ล่องแคล่ว ๓. ข้นั ตอนการพูดสาธติ การพูดสาธิตมขี ัน้ ตอนทสี่ าคัญ ๕ ขนั้ ตอน คือ ๓.๑ ขั้นเตรียม ในขั้นนี้จะแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ การเตรียมเนื้อหา และการเตรียม อุปกรณ์ ๓.๑.๑ การเตรียมเนื้อหา เป็นการกาหนดความมุ่งหมายและเนื้อหาสาระท่ีจะพูดให้ เหมาะสมกบั องคป์ ระกอบอืน่ ๆ เชน่ กลมุ่ ผฟู้ งั เวลาทีม่ ี ฯลฯ ๓.๑.๒ การเตรียมอุปกรณ์ เป็นการเตรียมบุคคล วัสดุอุปกรณ์ท่ีจะใช้ประกอบการ สาธิต เครอ่ื งมอื ท่ีใชป้ ระกอบการพูดสาธิต อาจแบง่ ออกได้เปน็ ๓ ประเภท คือ ๑. เครื่องมือจริง หมายถึง ของจริงท่ีผู้พูดนามาใช้ประกอบการพูดสาธิต เช่น ถ้าต้องการพูดสาธิตเรื่องการใช้กล้องถ่ายรูปรุ่นใหม่ ผู้พูดก็นากล้องถ่ายรูปรุ่นน้ันท่ีเป็นของจริงมา แสดงประกอบการพูด เป็นตน้ ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพ่ือสื่อสารในงานอาชีพ ๑๕

๒. เคร่อื งมือแทน หมายถงึ การใชร้ ูปภาพ รปู ถ่าย หรือรปู จาลองต่าง ๆ แสดง ประกอบการพูดสาธิต เช่น การสาธิตการซ่อมเคร่ืองจักรกลขนาดใหญ่บางประเภท ผู้พูดอาจนา รูปภาพหรือเครอื่ งยนต์ทีจ่ าลองโดยการย่อขนาดมาแสดงประกอบการพดู เป็นตน้ ๓. เครื่องมือบุคคล หมายถึง การใช้บุคคลแสดงประกอบการพูดสาธิตซึ่งผู้ แสดงอาจเป็นผู้พูดเอง หรือมีผู้แสดงประกอบคาอธิบาย หรือใช้ทั้งสองอย่างประกอบกันก็ได้ เช่น การพูดสาธิตเรื่องกายบริหาร ผู้พูดก็อาจเสนอท่าทางกายบริหารประกอบการพูด หรือให้บุคคลร่วม ทีมชว่ ยแสดงทา่ ทางประกอบการบรรยายก็ได้ ๓.๒ ขั้นจัดลาดับเนื้อหาและอุปกรณ์ ในขั้นน้ีผู้ที่จะพูดสาธิตต้องนาเน้ือเร่ืองมาจัดลาดับ กิจกรรมว่า จะกล่าวถึงเร่ืองใดก่อนหรือหลัง จึงจะทาให้การสาธิตไม่สับสน ทั้งน้ีเพ่ือให้ผู้ฟังเข้าใจ ข้ันตอนได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นไปตามลาดับเม่ือจัดลาดับเนื้อหาแล้ว ต้องจัดลาดับการใช้ อุปกรณ์ด้วยว่า จะใช้อุปกรณ์ได้ก่อนหรือหลังอย่างไร แล้วเตรียมเรียงลาดับอุปกรณ์ให้ถูกต้อง เพื่อท่จี ะชว่ ยให้สามารถหยบิ ขน้ึ มาประกอบการพดู ไดถ้ กู ต้องตามลาดับ ๓.๓ ข้นั อธิบาย ในข้ันน้ีผ้พู ดู จะอธิบายนาเรอ่ื ง บอกวัตถปุ ระสงคข์ องกิจกรรมแล้วสาธิตการ ปฏิบัติงานตามข้ันตอนต่าง ๆ อย่างละเอียด ตามท่ีได้จัดลาดับไว้ในขั้นท่ีสอง พร้อมท้ังตอบคาถาม หรือปัญหาที่ผฟู้ งั สนใจซักถาม ๓.๔ ขั้นทดลองทา ในขั้นน้ีจะให้ผ้ฟู ังทดลองทาตามข้ันตอนต่าง ๆ ท่ีได้อธิบายและแสดงให้ ดู ซึ่งอาจใช้วธิ ีให้ทดลองทาทีละขั้นไปพร้อม ๆ กับการอธิบายในข้อที่สาม หรือจะใช้วิธีพดู ใหจ้ บก่อน แล้วจึงให้ผู้ฟังทดลองทาตามก็ได้ ในขั้นนี้ ถ้ามีผู้ฟังปฏิบัติไม่ถูกต้อง ผู้พูดหรือผู้ช่วยของผู้พูดจะ ตรวจสอบแกไ้ ข จนทุกคนสามารถปฏบิ ัติงานน้นั ได้อย่างครบถ้วนถกู ต้อง ๓.๕ ขั้นสรุป ผพู้ ูดกล่าวทบทวนและสรุป ทบทวนก่อนหน่อย การสาธิตมขี ั้นตอนอยา่ งไรบา้ ง กิจกรรม “เรียงใหม่ให้ถูกตอ้ ง” https://h5p.org/node/454895 ๑๖ ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพือ่ สือ่ สารในงานอาชีพ

กิจกรรมท่ี ๓.๓ คาส่งั ใหน้ กั ศกึ ษาเขยี นขน้ั ตอนสาธิตการประดษิ ฐ์ส่ิงของจากเศษวสั ดุเหลือใชต้ ามหวั ข้อ ท่กี าหนดให้ คาปฏสิ นั ถาร....................................................................................................................... ช่ือ-สกุล............................................................................................................................... ชื่อเรอ่ื ง ............................................................................................................................... อปุ กรณ์ ๑)……………………………………………………….. ๔) ……………………………………………………….. ๒)……………………………………………………….. ๕) ……………………………………………………….. ๓)……………………………………………………….. ๖) ……………………………………………………….. ข้นั ตอนการทา ๑)………………………………………………………………………………………………………………………… ๒)………………………………………………………………………………………………………………………… ๓)………………………………………………………………………………………………………………………… ๔)………………………………………………………………………………………………………………………… ๕)………………………………………………………………………………………………………………………… ๖)………………………………………………………………………………………………………………………… ๗)………………………………………………………………………………………………………………………… ๘)………………………………………………………………………………………………………………………… ๙)………………………………………………………………………………………………………………………… ๑๐)……………………………………………………………………….………………………………………………… ประโยชน์ ………………………………………………………………………..…………………………………………………… ………………………………………………………………………..…………………………………………………… ………………………………………………………………………..…………………………………………………… ชดุ การเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอื่ สอ่ื สารในงานอาชีพ ๑๗

เอกสารอ้างองิ ฉัตรา บุนนาค, สวุ รรณี อดุ มผล และวรรณี พุทธเจริญทอง. (๒๕๒๒). ศลิ ปะการใช้ภาษาไทยใน ชีวติ ประจาวันและทางธุรกจิ . กรงุ เทพฯ : ประกายพรกึ . นพิ นธ์ ศศธิ ร. (๒๕๓๔). หลกั การพดู ตอ่ ชมุ นุมชน. พมิ พ์คร้งั ท่ี ๕ กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานชิ . พิศเพลนิ สงวนพงศ.์ (๒๕๒๘). ภาษาไทยธุรกิจ. กรงุ เทพฯ : อานวยการพิมพ.์ เรอื งอไุ ร อินทรประเสริฐ. (๒๕๔๕). ทกั ษะภาษาไทยเพ่อื อาชพี . กรงุ เทพฯ : ศูนย์สง่ เสริมวชิ าการ. สจุ ริต เพียรชอบ. (๒๕๒๐). ศิลปะการใช้ภาษา. กรงุ เทพฯ : กรมวชิ าการ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร. สุภาพ รงุ่ เจริญ. (๒๕๓๘). ภาษาไทยธรุ กจิ . กรงุ เทพฯ : ศนู ย์สง่ เสริมวิชาการ. ๑๘ ชุดการเรยี น วชิ าภาษาไทยเพ่อื ส่ือสารในงานอาชีพ

แผนการเรียน มอดูลที่ ๓.๔ การพูดนาเสนอ มอดลู ท่ี ๓.๔ โปรดอ่านหัวข้อเร่ือง แนวคิดและจุดประสงค์การเรียนของมอดูลท่ี ๓.๔ แล้วจึงศึกษา รายละเอียดต่อไป หวั ข้อเรอื่ ง ๓.๔.๑ เทคนิคการพูดนาเสนอ ๓.๔.๒ โครงสร้างการพดู นาเสนอ ๓.๔.๓ คณุ สมบัติของผนู้ าเสนอ แนวคิด การพูดนาเสนอ เป็นวิธีการตดิ ตอ่ ส่ือสารด้านการถา่ ยทอดขอ้ มลู แผนงาน โครงการ โครงงาน หรอื สงิ่ ประดิษฐจ์ ากผนู้ าเสนอผลงานกบั ผพู้ จิ ารณาผลงาน หรอื บคุ คลกลมุ่ เปา้ หมาย เพอื่ สรา้ งความเข้าใจและใหผ้ ู้ พิจารณาผลงานหรือบุคคลกลุ่มเป้าหมายเห็นด้วยและคล้อยตามซ่ึงเป็นหน่ึงในทักษะที่นักศึกษาควรจะต้อง ฝึกฝนใหเ้ กดิ ขน้ึ แกต่ น จุดประสงค์การเรียน ๑. เม่ือศึกษาหัวข้อเร่ืองท่ี ๓.๔.๑ “เทคนิคการพูดนาเสนอ” แล้ว ผู้เรียนสามารถ บอก เทคนิคการพูดนาเสนอได้ถกู ต้อง ๒. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องท่ี ๓.๔.๒ “โครงสร้างการพูดนาเสนอ” แล้ว ผู้เรียนสามารถพูด นาเสนองานได้ตามโครงสรา้ งการพดู ได้อย่างครบถ้วน ๓. เม่ือศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๓.๔.๓ “คุณสมบัติของผู้นาเสนอ” แล้ว ผู้เรียนสามารถพูด นาเสนอใหผ้ ูฟ้ ังสนใจฟัง ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพอ่ื สอื่ สารในงานอาชพี ๑๙

เนอื้ หา ๑. เทคนคิ การพดู นาเสนอ ๑.๑ การวิเคราะห์ผฟู้ งั ๑.๑.๑ ขนาดของกล่มุ ผู้ฟงั ๑.๑.๒ อาชพี และการศึกษา ๑.๑.๓ อายแุ ละเพศ ๑.๑.๔ พนื้ ความรู้ ๑.๑.๕ ทศั นคติ ๑.๑.๖ ความเชือ่ และอคติ ๒.๑ การเตรียมเนื้อหา ๒.๑.๑ กาหนดเป้าหมาย ๒.๑.๒ วางโครงเรื่อง ๒.๑.๓ จัดทาสครปิ ตห์ รอื โครงสรา้ งของการนาเสนอ ไดแ้ ก่ สว่ นนา เนอื้ หา บทสรุป ๒.๑.๔ จัดหาตัวอย่างและกิจกรรมประกอบการนาเสนอ ๒.โครงสร้างการพดู นาเสนอ โครงสร้างการพูดนาเสนอ เป็นการลาดับข้อความท่ีจะพูดนาเสนอให้ผู้ฟังได้เข้าใจ โดยมี สว่ นประกอบและรายละเอยี ด ตามตารางดังนี้ สว่ นนา เน้อื หา บทสรุป คาถาม - ทั ก ท า ย ส ร้ า ง - จดั เรยี งลาดับ - ประเดน็ หลกั - เช้ือเชญิ คาถาม - ตอบคาถามให้ตรง บรรยากาศ - กระชบั ชดั เจน - ความคิดรวบยอด ประเด็น - ทิง้ ทา้ ยใหป้ ระทบั ใจ - แนะนาตนเอง - เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน - เน้นสิง่ ทีใ่ ห้ทาหรอื (ถา้ ทาได)้ - ขอบคณุ ผฟู้ งั - ร ะ บุ เ รื่ อ ง ร ะ บุ - เน้นย้าที่สาคัญ สงิ่ ท่คี าดหวงั เป้ า หม า ย หรื อ - มตี วั อย่างประกอบ ประเดน็ สาคัญ - สนับสนุนดว้ ยข้อมลู - ใหก้ ิจกรรมเสรมิ ๒๐ ชุดการเรียน วิชาภาษาไทยเพื่อสอ่ื สารในงานอาชีพ

แยกไดไ้ หมโครงสร้างการพูดนาเสนอส่วนไหนมอี ะไรบ้าง มาทดสอบกจิ กรรมกนั https://h5p.org/node/454900 ๓. คณุ สมบัตขิ องผู้นาเสนอ ในการนาเสนอด้วยวาจา คุณสมบัติอันเป็นลักษณะประจาตัวของผู้นาเสนอ ถือได้ว่าเป็น สว่ นสาคญั ของความสาเร็จในการนาเสนอ เพราะคณุ สมบัติของผู้นาเสนอจะมีอทิ ธพิ ลตอ่ การโน้มน้าว ชักจูงให้เกิดความสนใจ ความไว้วางใจ เช่ือถือ และการยอมรับได้มากเท่ากับหรือมากกว่าเน้ือหาท่ี นาเสนอ ผนู้ าเสนอที่ประสบความสาเร็จส่วนใหญ่ จะมคี ณุ สมบตั ดิ ังต่อไปน้ี ๑. มีบุคลิกดี ๒. มีความร้อู ยา่ งถอ่ งแท้ ๓. มีความน่าเช่อื ถือไวว้ างใจ ๔. มีความเชอ่ื ม่ันในตนเอง ๕. มภี าพลักษณท์ ่ดี ี ๖. มีน้าเสยี งชัดเจน ๗. มีจติ วทิ ยาโนน้ น้าวใจ ๘. มีความช่างสังเกต ๙. มีความสามารถในการใชโ้ สตทศั นอุปกรณ์ ๑๐. มไี หวพริบปฏภิ าณในการคาถามดี ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพือ่ สอื่ สารในงานอาชพี ๒๑

กิจกรรมท่ี ๓.๔ คาส่ัง ให้นักศึกษานาโครงการท่ีได้เขียนในใบงาน เร่ือง การเขียนโครงการ มาเขียนร่างการพูด นาเสนอ โดยให้มีเน้ือหาตามโครงสร้างการพูดนาเสนอ แล้วนามาพูดในสัปดาห์ที่นัดหมายพบ ครผู ้สู อน ถกู ผดิ คิดใหด้ ี ก่อนจบหนว่ ยนม้ี าทดสอบกัน http://bit.ly/thaiact36 ทบทวนกันอกี รอบ ก่อนทดสอบหลังเรียน http://bit.ly/thaiact37 ๒๒ ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพ่อื สือ่ สารในงานอาชพี

เอกสารอ้างองิ กมล การกุศล. (ม.ป.ป.). การพูดเพอื่ ประสิทธผิ ล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พฆิ เณศ. วนดิ า เสนีเศรษฐ และคณะ. (๒๕๓๑). ภาษาไทยเพ่ือการส่งสาร. กรุงเทพฯ : โอเดยี นสโตร์. วชั รี เกดิ คา. (๒๕๔๗). ทกั ษะภาษาไทยเพอื่ อาชีพ. กรุงเทพฯ : พฒั นาวิชาการ. สวนิต ยมาภัย และถริ นันท์ อนวชั ศริ ิวงศ.์ (๒๕๓๕). หลกั การพูดข้นั พื้นฐาน. (พมิ พ์คร้ังที่ ๘) กรุงเทพฯ : ครเี อทปี พบั ลชิ ช่ิง. สายใจ ทองเนียม และสุกลั ยา อาพิน. (๒๕๓๗). การใช้ภาษาไทยเพ่อื อาชพี . กรงุ เทพฯ : เอมพันธ.์ สุเมธ แสงน่ิมนวล. (๒๕๔๐). ศลิ ปะการพูด. กรุงเทพ ฯ : บคุ๊ แบงก.์ ชดุ การเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอื่ ส่ือสารในงานอาชพี ๒๓

แบบประเมนิ ตนเองหลังเรียน หน่วยที่ ๓ http://bit.ly/thai-test3 ๒๔ ชุดการเรยี น วิชาภาษาไทยเพอ่ื ส่อื สารในงานอาชพี

ภาคผนวก ชดุ การเรยี น วชิ าภาษาไทยเพื่อส่อื สารในงานอาชพี ๒๕

แบบประเมนิ การพูด.................................................... ชอ่ื ผู้พดู ......................................................................................................... นักศกึ ษา ปวส. ๑ กลมุ่ ......... สาขางาน.................................................... รายการประเมิน คะแนนเตม็ คะแนนท่ไี ด้ ๑. บุคลิกภาพ ๕ คะแนน ๒. น้าเสียง ๕ คะแนน ๓. อักขระ ๕ คะแนน ๔. องค์ประกอบของเน้ือหา ๑๐ คะแนน รวมคะแนน ๒๕ คะแนน ประเมนิ โดย  ตนเอง  เพอ่ื น  ครู ลงชื่อ.....................................................ผู้ประเมนิ ๒๖ ชดุ การเรยี น วชิ าภาษาไทยเพ่อื สอื่ สารในงานอาชีพ

คณะกรรมการ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี • คณะที่ปรกึ ษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา นายบญุ รักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธกิ ารคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา นายประชาคม จนั ทรชิต รองเลขาธกิ ารคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา นายธวชั ชยั อยุ่ พานชิ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา นายพรี ะพล พลู ทวี ผูช้ านาญการด้านการจัดการอาชวี ศกึ ษาระบบทวิภาคี นายสรุ ตั น์ จน่ั แยม้ ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ผชู้ านาญการดา้ นการจัดการเรยี นการสอนอาชีวศึกษา นางสาววัลลภา อยู่ทอง และกระบวนการเรียนรู้ ผูอ้ านวยการศนู ยอ์ าชวี ศกึ ษาทวิภาคี นางรงุ่ นภา จติ ต์ประสงค์ ผอู้ านวยศนู ยส์ ่งเสริมและพฒั นาอาชีวศกึ ษาภาคเหนือ นายวทิ ยา ใจวถิ ี • คณะกรรมการวิชาการ ผู้ชานาญการด้านการจดั การเรยี นการสอนอาชวี ศกึ ษา นางสาววัลลภา อย่ทู อง และกระบวนการเรียนรู้ ผู้อานวยศนู ยส์ ง่ เสริมและพฒั นาอาชวี ศึกษาภาคเหนอื นายวิทยา ใจวถิ ี หนว่ ยศึกษานเิ ทศก์ นายประพนธ์ จนุ ทวเิ ทศ ศนู ย์สง่ เสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนอื นางสาวพิมพร ศะรจิ ันทร์ ศนู ยส์ ่งเสริมและพฒั นาอาชีวศกึ ษาภาคเหนอื นางสดุ สาย ศรศี กั ดา • คณะกรรมการวิชาการดา้ นการจดั ทาเนอื้ หาชุดการเรียนภาษาไทย นางนวภรณ์ อนุ่ เรือน ขา้ ราชการบานาญ นางนัยรัตน์ กล้าวิเศษ วิทยาลัยอาชวี ศึกษาเชียงราย นางสาวศรเี พญ็ มะโน วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยพี ะเยา นางยอดขวัญ ศรมี ว่ ง วิทยาลยั อาชวี ศกึ ษาพิษณุโลก นางสาวดาวสกาย พลู เกษ วทิ ยาลัยเทคนิคกาแพงเพชร นางกรี ะติกาญน์ มาอยวู่ ัง วิทยาลยั เทคนิคเพชรบูรณ์ นายตะวนั ชยั รัต วทิ ยาลยั สารพัดช่างเชียงใหม่ นายอานนท์ ลีสีคา วิทยาลยั อาชีวศึกษาอดุ รธานี ชดุ การเรยี น วชิ าภาษาไทยเพ่อื ส่ือสารในงานอาชพี ๒๗

คณะกรรมการ (ตอ่ ) ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี • คณะกรรมการวิชาการด้านการจัดทาสือ่ ชุดการเรียน นางสาวพมิ พร ศะริจนั ทร์ ศูนยส์ ่งเสริมและพฒั นาอาชวี ศึกษาภาคเหนอื นายธนสาร รจุ ริ า หนว่ ยศึกษานิเทศก์ นายนพิ นธ์ รอ่ งพชื วทิ ยาลยั อาชวี ศกึ ษาแพร่ นายภูมพิ ัฒน์ วนพพิ ฒั นพ์ งศ์ วิทยาลยั อาชวี ศึกษาพิษณโุ ลก นางกนกขวัญ ลมื นดั วทิ ยาลัยสารพัดช่างสมุทรสงคราม • คณะบรรณาธกิ ารและรูปเล่ม หน่วยศึกษานเิ ทศก์ นายประพนธ์ จุนทวเิ ทศ ศนู ยส์ ่งเสรมิ และพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนอื นางสาวพิมพร ศะรจิ ันทร์ • ออกแบบปก หนว่ ยศกึ ษานเิ ทศก์ นายธนสาร รุจิรา ๒๘ ชุดการเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอ่ื สอื่ สารในงานอาชีพ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook