Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม

Published by ppwittaya0123, 2020-05-13 00:41:16

Description: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม

Search

Read the Text Version

ความรพู้ ้ืนฐานเกย่ี วกบั คุณธรรมจริยธรรม ส่ิงที่น่าสนใจในอนั ดับต่อไปคอื จริยธรรมเกดิ ขน้ึ ได้อยา่ งไร ตน้ กาเนดิ ของจรยิ ธรรมที่เป็นแหล่งท่มี าทส่ี าคญั ของ จริยธรรมด้วย เพราะวรรณคดีเป็นท่รี วบรวมแนวคดิ ทางจริยธรรม ซึง่ อาจถือได้วา่ เป็นสว่ นหนง่ึ ที่ก่อใหเ้ กดิ จรยิ ธรรม ดงั รายละเอียดท่กี ล่าวต่อไปน้ี แหลง่ ท่ีเป็นบอ่ เกดิ ของจริยธรรมที่เปน็ แหลง่ สาคญั มีดังนี้ 1. ปรัชญา วิชาปรัชญาคือวิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง สาระของปรัชญาจะกล่าวถึงลักษณะของ ชีวติ ที่พึงปรารถนาควรเปน็ อยา่ งไร ธรรมชาติของมนุษย์ สภาพสังคมท่ีดี ความคิดเชิงปรัชญาจะแถลงออกมาเป็น ความเชื่ออย่างมีเหตุผล จนคนต้องยอมรับว่าเป็นความคิดที่ได้รับการพิจารณาไตร่ตรองรอบคอบแล้วปรัชญา จะกลา่ วถงึ เร่ืองเกยี่ วกับความดี ความงาม คา่ นยิ ม เพื่อจะไดย้ ดึ เปน็ หลกั ปฏบิ ัติประจาตัวต่อไป 2. ศาสนา คาสอนของศาสดาในศาสนาตา่ งๆ ตามที่ศาสดาเหลา่ นนั้ ท่านไดป้ ฏิบัตเิ องและส่งั สอนให้ผู้อ่ืนปฏิบัติตาม จนเกิดผลดงี ามของการปฏบิ ตั ินน้ั เปน็ ทป่ี ระจกั ษม์ าแลว้ เช่น หลักคาสอนของพระพุทธศาสนา คาสอนของศาสนา ครสิ ต์ หรอื ขอ้ ปฏบิ ัติของศาสนาอิสลาม เป็นต้น 3. วรรณคดี หนังสอื วรรณคดีเปน็ หนังสอื ท่ีมีมาตรฐานท้งั ด้านเนื้อหาสาระ คุณค่าและวิธีแต่ง จนเป็นที่ยอมรับกัน โดยท่ัวไป ชาตทิ ่เี จริญด้วยวัฒนธรรมย่อมมีวรรณคดีเป็นของตนเองในหนังสือวรรณคดีจะมีแนวคิด คาสอนท่ีเป็น แนวปฏบิ ตั ิได้ เชน่ สุภาษิตพระร่วง โคลงโลกนิติ สุภาษิตสอนหญิง จึงกล่าวได้ว่าวรรณคดีก็เป็นแหล่งกาเนิดหรือ เป็นท่ีรวบรวมแนวคิดทางจรยิ ธรรมดว้ ย 4. สังคม สิ่งท่ีสังคมกาหนดนับถือร่วมปฏิบัติด้วยกัน อันได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเป็นข้อกาหนดที่ถือ ปฏบิ ัติกนั ในสงั คมและยอมรบั สบื ทอดกนั มา 5. การเมืองการปกครอง ในระบอบการเมืองการปกครอง ได้กาหนดข้อบังคับระเบียบกฎหมายของบ้านเมือง จรรยาบรรณต่างๆ ซงึ่ เปน็ ข้อบังคบั หรอื แนวปฏิบตั ิ เพ่ือการอยูร่ ่วมกันอยา่ งสนั ตสิ ุขและเพ่อื ความยตุ ธิ รรม การเกดิ จรยิ ธรรมในมนษุ ย์แต่ละคน อาจเกิดได้จากลกั ษณะต่อไปนี้ เกิดจากการเลียนแบบ เป็นกระบวนการท่ีเกิดจากการเรียนรู้ การยอมรับ การเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ ท่ีแวดล้อมตนอยแู่ ลว้ นามาปรับเขา้ กับตนเอง กระบวนการนจ้ี ัดเป็นกระบวนการที่มีความสาคัญต่อพัฒนาการของ เดก็ สว่ นใหญ่จะเกดิ ในครอบครัว โรงเรยี น กลมุ่ เพอ่ื นและชุมชน

การสร้างจริยธรรมในตนเอง โดยตัวเองเป็นผู้กาหนดขึ้น ซ่ึงอาจเป็นเร่ืองของมโนธรรม เหตุผลหรืออารมณ์ของ มนุษย์ นักปรชั ญาบางคนเช่น คานต์ (Kant) เช่ือว่า มนุษยม์ ีกฎจริยธรรมเกดิ ขึน้ ในตนเอง โดยรู้จักปรับตัวในสภาพ ธรรมธรรมชาติ (natural self) เข้าด้วยกัน แล้วเลือกเอาแนวทางท่ีดีมาเป็นหลักในการดาเนินชีวิตเกิดจากการ เรียนรู้ระบบสังคม จริยธรรม ค่านิยม ท่ีได้จากการวิเคราะห์คุณค่า ความถูกผิดช่ัวดี จนกลายเป็นหลักการ กฎเกณฑ์ ข้อกาหนด แนวศีลธรรม ให้ยึดถือปฏิบัติการบาเพ็ญประโยชน์และพันธสัญญาประชาคม (utility and social contract) เป็นการปฏิบัติตามระเบียบก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชาติมี ความสมั พันธเ์ ป็นมติ รไมตรี ต่างปฏิบัติตามบทบาท ใช้สิทธหิ น้าทที่ าใหเ้ กดิ ความสงบสุขและสามัคคีการปฏิบัติตาม หลักสากลธรรม (universal) หลักมโนธรรมสากลท่ีครอบคลุมได้ทั้งโลก เป็นข้อยืนยันคุณความดีของทุกศาสนา ว่าล้วนวางแนวทางให้คนหรือศาสนิกชนของตนบาเพ็ญตนอยู่ในคุณงามความดีตามท่ีได้สร้างสรรค์หลักธรรมไว้ มีการกล่อมเกลาจิตใจให้ศรัทธาแน่วแน่ในการบาเพ็ญตนให้มีสาระ มุ่งถึงเป้าหมายของความเช่ือสูงสุดท่ียึดมั่น ซึ่งล้วนเป็นสคุ ติหรอื หนทางดีงาม หลักจรยิ ธรรมท่ขี ยายขอบเขตจากจดุ เลก็ สดุ คือเฉพาะตนไปจนถึงสากลโลก ระดับจรยิ ธรรม เป้าหมายของคุณงามความดีทบี่ คุ คลไดป้ ฏิบัติอยา่ งถกู ตอ้ งแลว้ นัน้ จะได้รับผลมากนอ้ ยข้ึนอยกู่ ับระดับสติปญั ญา ของบุคคลนั้น ๆ ในทางพระพุทธศาสนาแบ่งระดบั จริยธรรมไว้เป็น 2 ระดบั คือ 1. ระดบั โลกียธรรม ได้แก่ ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก สภาวะเน่ืองในโลก เช่น ศีล 5 เป็นต้น โลกียธรรมเป็นธรรม ข้นั ต้นสาหรบั ผ้มู สี ตปิ ัญญาไมแ่ ก่กล้า การปฏิบตั ติ ามโลกียธรรมมงุ่ ให้บคุ คลในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสันติสุข ไมเ่ บยี ดเบียนซึ่งกนั และกนั ไมท่ าช่วั สรา้ งแตค่ ุณงามความดแี ละทาจิตใจให้บริสุทธ์ิผ่องใส เป็นการน้อมนาเอาพุทธ โอวาทมาปฏิบัติในฐานะท่ียังเป็นปุถุชนอยู่ จริยธรรมในระดับโลกียธรรม จะถูกกาหนดออกมาในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากคาสอนของศาสนาแล้วก็ยังมีองค์กรทางสังคม เช่น ระเบียบ กติกา จารีต ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ องคก์ รทางการเมอื ง อันได้แก่ กฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกาหนด เปน็ ตน้ 2. ระดบั โลกุตตรธรรม ได้แก่ ธรรมอันมิใช่โลก สภาวะพ้นโลก ได้แก่ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ผู้บรรลุจริยธรรม ระดบั นจ้ี ัดเปน็ อริยบุคคล คือผูพ้ ้นจากกิเลส ซึง่ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ จากระดับตา่ ไปส่รู ะดับสงู ดงั น้ี โสดาบันอรยิ บคุ คล สกทาคามีอรยิ บุคคล อนาคามีอริยบคุ คล อรหนั ตอริยบคุ คล

จรยิ ธรรมทัง้ สองระดับน้ี ความสาคัญอยู่ที่การประพฤติปฏิบัติ การปฏิบัติตามหลักโลกียธรรมโดยเฉพาะ ส่วนท่ีเป็นพุทธโอวาทอย่างสมบูรณ์โดยชอบ ก็สามารถยกขึ้นสู่โลกุตตรธรรมได้ อาจถือได้ว่าโลกียธรรมนั้นเป็น ธรรมขั้นต้น หากค่อยปฏิบัติฝึกฝนไปตามลาดับก็จะบรรลุถึงโลกุตตรธรรม ดังท่ีพระพุทธทาสภิกขุ ได้อธิบายว่า “คาว่า โลกียธรรมกับโลกุตตรธรรม มักจะยึดถือกันเป็นหลักตายตัวว่า โลกิยะอยู่ในโลกอีกระบบหนึ่งต่างจาก โลกุตตระอยู่นอกโลกอกี ระบบหน่งึ ต่างหากอย่างนไี้ ม่ถูก โลกยิ ะ มนั เปน็ ช้ันตน้ เป็นของมีอยแู่ ล้วของบุคคลที่ยังไม่รู้ อะไร อยู่ในวิสัยของโลกอยู่แล้ว มีแต่จะเล่ือนไปหาโลกุตตระ ไม่ใช่หันหลังให้กันแล้วเดินกันไปคนละทิศละทาง โลกิยะกแ็ ปลว่า มันยงั ทาอะไรมากไมไ่ ด้ มันยงั อยู่บ้านมนั ยังมีความรู้ต่า ยังมีตัวตน ยังมีของตน แต่แล้วมันค่อย ๆ ไปทางของโลกุตตะเพอ่ื จะไม่มีตัวตน เพือ่ จะอยูเ่ หนอื ปญั หาทง้ั ปวงคือเหนือโลก” องคป์ ระกอบของจรยิ ธรรม กรมวิชาการ (2535 : 5 ) ได้จัดทาเอกสารการประชุมเก่ียวกับจริยธรรมไทย สรุปว่า จริยธรรมของบุคคล มอี งค์ประกอบ 3 ประการ คือ ด้านความรู้ (moral reasoning) คอื ความเขา้ ใจในเหตผุ ลของความถกู ต้องดีงาม สามารถตัดสินแยกความถูกต้อง ออกจากความไม่ถกู ตอ้ งไดด้ ้วยการคดิ ด้านอารมณ์ความรู้สึก (moral attitude and belief) คือ ความพึงพอใจ ความศรัทธาเล่ือมใส ความนิยมยินดี ท่ีจะรับจรยิ ธรรมมาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัตติ น ดา้ นพฤติกรรม (moral conduct) คือการกระทาหรอื หารแสดงออกของบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเชื่อว่าเกิด จากอิทธิพลของทั้งสององคป์ ระกอบขา้ งต้น เนอ่ื งจากองค์ประกอบของจริยธรรมประกอบด้วย 3 ส่วน ดังกลา่ วข้างต้น การพัฒนาคนในด้านจริยธรรม จึงต้องพฒั นา 3 ด้านไปดว้ ยกนั ในการดาเนนิ ชวี ติ ของคนน้นั องค์ประกอบทงั้ 3 ประการเก่ียวขอ้ งสัมพันธ์กันอยา่ ง ใกลช้ ิด กลา่ วคือ พฤตกิ รรมของคนที่แสดงออกมาทงั้ ทางกายและทางวาจานั้น จะมีความสัมพันธ์กับทางจิตใจและ สตปิ ญั ญา คนทมี่ อี ารมณโ์ กรธจะแสดงพฤติกรรมออกมาทางการก้าวร้าวรุนแรง และย่ิงเป็นคนท่ีมีปัญญาน้อยด้วย แล้ว พฤตกิ รรมท่แี สดงออกก็จะก้าวรา้ วรนุ แรงย่งิ กวา่ บคุ คลท่ีมีสติปัญญาซึ่งจะสามารถควบคุมจิตใจของตนได้โดย ไม่แสดงพฤติกรรมไม่ดีให้ออกมาปรากฏ น่ันก็แสดงว่าผู้มีสติปัญญาดีย่อมสามารถควบคุมอารมณ์และความ ประพฤตไิ ด้ดกี วา่ ผู้ดอ้ ยปัญญานนั่ เอง แนวคิดในการพัฒนาจริยธรรมของบุคคลโดยพัฒนาองค์ประกอบของจริยธรรมทั้ง 3 ด้าน กล่าวคือ เร่ิมจากการพัฒนาองค์ประกอบสาคัญอันดับแรก ได้แก่ ปัญญาหรือความรู้ ด้วยเห็นว่า “ปัญญา”

เป็นองค์ประกอบสาคัญในการส่งเสริมให้บุคคลแสดงพฤติกรรมในทางที่ถูกต้องและเป็นตัวควบคุมอารมณ์และ ความรูส้ กึ ให้เปน็ อสิ ระ เปน็ สุขจากแรงกระทบกระท่งั ท้ังปวงนัน้ นักปราชญท์ างการศกึ ษาไดเ้ ห็นพร้องกนั ดังนี้ พระธรรมปิฎก ( 2539 : 15-21) กลา่ วไวพ้ อนามาสรุปความได้วา่ มนุษย์นน้ั เมอ่ื รบั รูป้ ระสบการณ์อย่างใด อย่างหนึ่ง ก็จะมีความรู้สึกหรือเวทนาเกิดข้ึน ความรู้สึกน้ีอาจเป็นได้ทั้งสุข เวทนา หรือทุกขเวทนา เมื่อมีเวทนา อยา่ งใดอย่างหนึ่งแล้วมนุษย์ท่ียังมีอวิชชาก็จะมีปฏิกิริยาแตกต่างจากผู้มีปัญญา คือถ้าผู้มีอวิชชาก็จะมีความรู้สึก ยินดียินร้ายต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น ซ่ึงเรียกว่า “ตัณหา” ตัณหาจะเป็นตัวกาหนดพฤติกรรม การใช้ตัณหาเป็น ตวั กาหนดพฤติกรรม ก็เพราะมนุษย์ยังไม่พัฒนา ยังไม่มีความรู้ ยังไม่มีปัญญา การใช้ตัณหาเป็นตัวนาพฤติกรรม อาจทาให้เกิดโทษหลายประการ คือ เป็นอันตรายต่อตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เป็นอันตรายต่อการอยู่ รว่ มกันของมนุษย์หรือสงั คม เป็นอันตายตอ่ ธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดล้อม การเกิดปัญหาเช่นนี้ เนื่องจากมนุษย์ปล่อย ให้ตัณหาเป็นตัวนาพฤติกรรมการแก้ปัญหา ก็คือ เราจะปล่อยให้ตัณหาเป็นตัวกาหนดพฤติกรรมไม่ไ ด้ มนุษย์ จะต้องกาหนดรู้อะไรเป็นคุณค่าท่ีแท้จริงของชีวิตของตนแล้วทาตามความรู้นั้น คือเอาความรู้เป็นตัวกาหนดนา พฤติกรรม ดงั นั้น ในการศกึ ษา จึงตอ้ งฝึกคนให้พัฒนาปัญญา เมื่อมีปัญญาเกิดขึ้นแล้วพฤติกรรมก็จะเปลี่ยนไป เช่น การบริโภคอาหาร ก็จะกาหนดรู้ด้วยปัญญาว่าเรากินเพื่อบารุงร่างกายให้ดารงชีวิตอยู่ได้ ให้มีความสุขภาพดี เพือ่ ให้เรามชี วี ิตที่ผาสุก หรือเป็นเครื่องเกื้อหนุนชีวิตท่ีดีงาม เพ่ือการบาเพ็ญกิจอันประเสริฐคือการทาหน้าที่และ ประโยชน์ต่างๆ นั่นก็คือใช้ปัญญาในการทาหน้าท่ีรู้คุณค่าของอาหาร รู้ความประสงค์ในการกินการ บริโภคและ “ปัญญา” นี้จะมาเปน็ ตัวนาพฤตกิ รรมตัวใหม่ “ปัญญา” จะมากาหนดพฤติกรรมแทน “ตัณหา” น่ีก็คือจุดเร่ิมต้น ของการศกึ ษาหรอื การพัฒนาคน คือพัฒนาปัญญาหรือความรู้ก่อน นอกจากแนวคิดของพระธรรมปิฎกแล้ว ยังมี แนวคดิ ของนักการศกึ ษาตะวนั ตกท่ีเหน็ พรอ้ งตอ้ งกนั กบั แนวคิดน้ีคือ โคลเบิร์ก (Kohlberg, 1964 : 385-390) ได้ กล่าวไว้ว่า การพัฒนาทางสติปัญญาและอารมณ์เป็นรากฐานของการพัฒนาทางจริยธรรม โคลเบิร์กเช่ือว่า จรยิ ธรรมของมนุษย์มีพัฒนาการตามระดบั วฒุ ิภาวะเพราะเกดิ จากกระบวนการทางปัญญา ซ่ึงมีการเรียนรู้มากขึ้น ทฤษฏีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กจะสอดคล้องกับทฤษฏีของเพียเจต์ (Piaget) เช่ือว่าการเรียนรู้ของ มนุษย์เกิดจากการปรับตัวและการสร้างสมดุลระหว่างสติปัญญากับสภาวะแวดล้อมท่ีจะทาให้มนุษย์ดารงชีวิตอยู่ พัฒนาการของมนุษย์มีความต่อเนื่องและเจริญขึ้นตามวุฒิภาวะ นักการศึกษาทั้งสองท่านเชื่อว่ า จริยธรรมของ มนุษย์มีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะ เพราะเกิดจากกระบวนการทางปัญญา ซ่ึงมีการเรียนรู้มากข้ึน และจาก การศึกษาและวจิ ัยของโคลเบิรก์ (Kohlberg) ยืนยันวา่ จริยธรรมมีการพัฒนาการตามวุฒิภาวะและมีความสัมพันธ์ กับระดบั การศกึ ษา

คุณธรรมถอื วา่ เปน็ ส่งิ ท่ีทุกคนควรมี เพราะคุณธรรมเป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะท่ีทาให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ ท่ัวไป คุณธรรมตามแนวคิดของนักปราชญ์ท้ังหลายจึงจาแนกออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนความรู้ความเข้าใจ สว่ นอารมณ์ความรสู้ กึ และสว่ นที่เปน็ พฤติกรรมตา่ งๆ ทแี่ สดงอกมา เชน่ การปฏิบัติตามศาสนา การควบคุมตนเอง ความกลา้ หาญ ความยตุ ธิ รรม ฯลฯ ผ้มู ีคุณธรรมจงึ เปน็ ผู้ท่ีถงึ พร้อมด้วยความรู้ความเข้าใจ อารมณ์ ความรู้สึกและ พฤติกรรมท่ีแสดงออกอย่างถูกต้องดีงาม การที่ผู้บริหารจะพัฒนาตนเองทางด้านคุณธรรม หรือการท่ีผู้บริหาร จะพัฒนาผู้อื่นท่ีแวดล้อมใกล้ชิดและเกี่ยวข้องอยู่ในความดูแล เพ่ือให้เป็นบุคคลผู้มีคุณธรรมจึงต้องเริ่มจากการ พัฒนาปญั ญา พัฒนาจติ ใจ อารมณ์ เพอ่ื ให้ทั้งสองส่วนนีเ้ ปน็ ตัวควบคมุ พฤตกิ รรมของบุคคลผนู้ ัน้ ต่อไป องค์ประกอบของจริยธรรมท้ัง 3 ส่วน คือ ปัญญา จิตใจ และพฤติกรรมน้ี คนส่วนใหญ่จะเข้าใจกันว่า จิตใจเป็นส่วนสาคัญท่ีสุด เปน็ ตัวทค่ี วบคุมพฤตกิ รรมของคนดงั คากล่าวที่วา่ “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” คากล่าวน้ี ไม่ผิด เพราะมีหลักฐานให้พบเห็นเสมอว่า ความอุตสาหะ ความกล้าหาญ ความรัก ความชัง ฯลฯ ล้วนเป็น ความรสู้ กึ ทางจิตใจทมี่ ผี ลให้คนแสดงพฤตกิ รรมออกมาในรปู แบบที่แตกต่างกัน หากแต่ถ้าพิจารณาให้ลึกลงไปแล้ว จิตใจของคนเรายอ่ มอ่อนไหวผนั แปรได้งา่ ย หากไมม่ ีปัญญาเปน็ ตวั กากบั อาจมีสิง่ จงู ใจใหจ้ ิตใจอ่อนไหวไปตามโลก ธรรม คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สขุ ทุกข์ เม่ือจิตใจผันผวนปรวนแปรพฤติกรรมของคนก็จะเปลี่ยนแปลง เพราะเกิด ตณั หาเป็นตัวนาจิตใจ แตถ่ า้ หากบุคคลผนู้ ้ันเป็นผมู้ ปี ัญญา รู้แจ้งในความเป็นจริงของโลกและชีวิต ปัญญาก็จะเป็น ตัวช้นี าไม่ให้จิตใจอ่อนไหวไปตามสิ่งที่มากระทบ จิตใจก็จะเข้มแข็งไม่อ่อนไหวปรวนแปร จนเกิดผลกระทบไปถึง การเปล่ียนแปลงพฤติกรรมทเ่ี คยประพฤตปิ ฏบิ ัติ ท้ังน้ี เพราะมปี ัญญาเป็นตัวควบคุมจิตใจไว้อีกระดับหนึ่ง จึงสรุป ได้ว่า ในองค์ประกอบของจริยธรรมท้ัง 3 ส่วนน้ี “ปัญญา” เป็นองค์ประกอบที่สาคัญท่ีสุด ที่จะช้ีนาให้จิตใจและ พฤตกิ รรมของคนดาเนินไปอย่างถูกต้องตามครรลองครองธรรม ดงั พทุ ธพจน์ท่ีวา่ “ สพเฺ พ ธมมฺ า ปญฺญตุ ตฺ า ” แปลวา่ “ธรรมทั้งหลายมีปัญญาเปน็ เย่ียมยอด” แนวคิดของพุทธปรชั ญา “ ...เน้อื หาสาระและกฎเกณฑ์ของพระพุทธศาสนา เกดิ จากการคน้ หาความจริงของชวี ิตด้วยปัญญามนษุ ย์ พระพุทธศาสนาแสดงความจริงของชีวติ แสดงทางปฏบิ ัตทิ จ่ี ะใหบ้ รรลุความสงู สุดของชีวติ มวี ิธีการสง่ั สอนทย่ี ึดหลกั เหตุผลวา่ ทุกส่งิ เกิดจากเหตุ ผู้ใดประกอบเหตอุ ย่างเพียงใด ก็จะไดผ้ ลอย่างนั้นเพียงนน้ั ...” พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดลุ ยเดชมหาราช

จริยธรรมของคนไทย สังคมไทยเป็นสังคมที่มีประวัติความเป็นมาสืบทอดต่อกันมาเนิ่นนาน มีลักษณะหลายประการท่ีเป็นของตัวเอง อยา่ งเห็นได้ชดั เชน่ การเคารพผู้มอี าวุโส ความเกรงอกเกรงใจกนั ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ฯลฯ ผู้บริหารควรศึกษาว่า อะไรเปน็ ส่วนสาคญั ท่ีหล่อหลอมนิสัยของคนไทยไห้มีลักษณะดังกล่าว ส่ิงท่ีหล่อหลอมอุปนิสัยของคนไทยในด้าน คณุ ธรรมจรยิ ธรรม อาจพจิ ารณาในด้านกวา้ ง ๆ ได้ 3 ประการ ดังนี้ 1. จรยิ ธรรมตามหลักคาสัง่ สอนของพระพทุ ธศาสนา ศาสนาที่สาคัญและศาสนาประจาชาติไทยคือ พุทธศาสนา ซ่ึงเป็นศูนย์รวมของจิตใจ เป็นที่รวมของกิจกรรม พธิ ีการต่าง ๆ ในการดาเนนิ ชีวิต เป็นแหล่งท่ีสร้างสรรค์และส่งเสริมค่านิยมประเพณีต่าง ๆ ของคนไทย และจาก ศาสนาน้ีเองเป็นพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมละศีลธรรมของคนในด้านต่าง ๆ อันก่อไห้เกิดคุณค่าท่ีสาคัญ 3 ประการ (เสฐยี รโกเศศ, อ้างใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2534: 41-42) การดาเนินชีวิตแบบทางสายกลาง คนไทยในอดีตนิยมทางสายกลาง ทาสิ่งใดก็ต้องรู้จักประมาณตน นับแต่การ ทางาน การติดต่อสัมพันธ์ในวงงาน ความเป็นเพื่อนแม้จะสนิทสนมชิดเช้ือกันดี แต่ก็ต้องไม่สนิทสนมกันเกินไป ความเป็นอสิ ระของทุกคนยังมอี ยู่ ความซือ่ สัตยจ์ รงิ ใจ เปน็ คุณค่าท่ีสาคัญอกี อยา่ งหน่งึ ของคนในอดีต คนซอื่ สตั ยจ์ ริงใจจะไดร้ บั การนับถืออย่างมาก คนคดโกงจะไดร้ บั การประณาม ความผสมผสานกลมกลืนระหวา่ ง คน สัตว์ สิง่ แวดลอ้ ม คนไทยจะเหมือนคนเอเชียโดยท่ัวไปที่เลง็ เหน็ คุณค่าของ สง่ิ แวดลอ้ ม ท้ังทางชวี ภาพและทางกายภาพ ศาสนาเป็นองค์ประกอบสาคัญประการหนึ่งท่ที าให้คนคดิ แบบนีต้ าม ความเช่ือของคนตะวันออกแลว้ ถอื ว่าคนเปน็ ส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และคนควรศกึ ษาธรรมชาตเิ พื่อความเขา้ ใจ ซาบซง้ึ ความสมดุลของธรรมชาติ ไม่ใชบ่ ังคบั บญั ชาเอาชนะธรรมชาติ 2. สภาพการดาเนินชวี ติ ของคนไทยในอดีต (ไพฑรู ย์ สนิ ลารัตน์, 2534 , 34 : 48) ไดก้ ล่าวถึงสังคมไทยในอดตี วา่ มีลกั ษณะเดน่ ในดา้ นสังคมเกษตรกรรม สงั คมหมู่บา้ น สังคมครอบครวั และสงั คมศาสนา สังคมเกษตรกรรม อาชีพเกษตรกรรมเปน็ อาชีพหลักของคนสว่ นใหญใ่ นสังคมไทยซึง่ สว่ นใหญพ่ ึง่ ธรรมชาติ ไมม่ กี าร แขง่ ขันกบั ใคร ชว่ ยกนั บา้ งตามสมควรลกั ษณะเช่นน้ี ทาเกดิ ค่านิยมหรือลักษณะนสิ ัยประจาชาติบางประการ คือ การไม่เคร่งครดั เร่ืองเวลา ความรู้สกึ เพียงพอไม่มกั ได้ สันโดษ พอใจสงิ่ ท่ไี ด้และมีอยู่ มุ่งแกป้ ัญหาเฉพาะหนา้ ไม่คอ่ ยจาเป็นต้องวางแผนเพื่ออนาคต

สงั คมหมบู่ ้าน สังคมไทยเปน็ สงั คมทร่ี วมกันอยู่เป็นหมู่บ้าน หลายหมู่บ้านรวมกันเป็นเมือง สังคมหมู่บ้านส่วนใหญ่ จะมลี กั ษณะสังคมเบด็ เสรจ็ ( Self – Contained unit) ซงึ่ มีลกั ษณะดังนี้ มกี ารรว่ มมอื กัน เพือ่ การพงึ่ ตนเองและชว่ ยเหลอื กันเอง เชน่ การลงแขกเก่ยี วข้าว การประนีประนอม เน่ืองจากคนในหมู่บ้านรู้จักกันดี จึงอยู่กันอย่างยอมรับการประนีประนอม ไม่นิยมการ เผชิญหน้ากันอย่างรุนแรง ถ้ามีปัญหาขัดแย้งก็จะหาหนทางแก้ไขกันเอง หรือมีคนกลางไกล่เกลี่ย ถ้าขัดแย้งกัน จรงิ ๆก็จะเฉยเมยไมร่ ่วมมือ ตีตนออกหา่ งจากกัน การรักษานิยมความสงบ ซ่งึ ควบคู่มากับการประนปี ระนอม เมือ่ มีปญั หาใดเกิดข้นึ จะตอ้ งมีมาตรการกันเองภายใน ทาใหเ้ กิดความสงบขนึ้ ในหมู่บา้ น คนไทยส่วนใหญ่มักมคี วามเกรงใจ มคี วามสภุ าพ ไม่ตอ้ งการรบกวนคนอนื่ และไมอ่ ยากใหค้ นอน่ื เดือดรอ้ น สงั คมครอบครัว สังคมไทยมีการผูกพันกันในครอบครัว เป็นครอบครัวใหญ่ สมาชิกนับถือกันตามฐานะของแต่ละ บุคคล ลกั ษณะของระบบครอบครวั นาไปสู่คา่ นิยม 3 ประการ คอื เคารพอาวุโส ซ่ึงรวมไปถึงการคารวะเชอื่ ฟงั ผมู้ อี านาจหน้าที่ ยดึ ความสัมพนั ธ์สว่ นบคุ คล ทาใหเ้ กิดระบบพรรคพวก ความกตัญญรู ู้คุณ ระบบครอบครัวรวมกบั ระบบศาสนา ทาใหเ้ กดิ การกตัญญรู ูค้ ุณผู้ท่ีใหอ้ ุปการคุณแก่ตน ใครไม่ เลยี้ งดูพอ่ แม่ ไมเ่ คารพครูอาจารย์ ไม่รู้คุณคน จะถูกประณามและดูถูกจากสังคมอย่างมาก 3. สภาพการดาเนินชวี ิตของคนไทยในปจั จุบัน จากสภาพของสังคมไทยในอดีตมาจนถงึ ปจั จุบันมีการเปล่ียนแปลงในสังคมไทยอย่างมาก ซึ่งอาจเปรียบเทียบได้ จากตารางต่อไปนี้ (ไพฑรู ย์ สินลารัตน์, 2534 : 43) สภาพของสังคมไทยในอดตี สภาพของสังคมไทยในปจั จบุ ัน ก. สงั คมเกษตรกรรม ก. สังคมอุตสาหกรรม - การไม่เคร่งครัดเวลา - เครง่ ครดั เวลา - สนั โดษ พอเพียง - มุ่งปริมาณ กาไรมาก - ไมว่ างแผน แก้ปญั หาเฉพาะหนา้ - วางแผนกาไรระยะยาว ข. สงั คมหมบู่ ้าน ข. สังคมเมอื ง - ร่วมมือกนั - ตวั ใครตวั มัน เห็นแกต่ ัว - ประนปี ระนอม - แตกหกั รนุ แรง - ความสงบ - อกึ ทกึ คึกโครม

ค. สังคมศาสนา ค. สงั คมหย่อนศาสนา - ทางสายกลาง - รนุ แรง - ซื่อสตั ย์ จรงิ ใจ - หลอกลวง เอาเปรียบ - คน สัตว์ สง่ิ แวดลอ้ ม - ทาลายสงิ่ แวดล้อม ง. สังคมครอบครัว ง. สังคมครอบครัว - เคารพอาวุโส ผู้มอี านาจ - เคารพอาวโุ ส ผู้มอี านาจน้อยลง - สมคั รพรรคพวก - สมัครพรรคพวกเพ่อื ผลประโยชน์ - กตัญญรู ูค้ ณุ - กตัญญรู คู้ ณุ คนนอ้ ยลง การเปล่ียนแปลงทางสังคม นับว่าเป็นผลกรรมต่อชีวิตมนุษย์อย่างมากสภาพความเครียดและความ เบ่ียงเบนทางสงั คมไทยในปจั จุบันสะท้อนให้เห็นจากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น อาชญากรรม ยาเสพติด โสเภณี ฯลฯ จะมีคากล่าวอยู่ว่าสังคมย่ิงเจริญทางวัตถุมากขึ้นเท่าใด ความเส่ือมทางจิตใจของคนยิ่งต่าลงมากเพียงน้ัน มีผ้วู ิเคราะห์ปญั หาสงั คมไทยหลายทา่ น ขอยกนามากล่าวพอเป็นตัวอยา่ งแตพ่ อเปน็ สงั เขป ดังน้ี กรมศาสนา (2539 : 3 – 5 ) กล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่า สังคมไทยปัจจุบันหลอกลวงกันมาก คนรู้ไม่เท่าทัน สังคมจะเป็นเหยื่อของคนฉลาดคนหลายคนทางานเพื่อประโยชน์ของตนเองทุกเร่ือง แม้กระท่ังเรื่องศาสนา สังคมยังเช่ือถือฝากความหวังไว้กับส่ิงศักด์ิสิทธ์ิ ทาให้ไม่ฝึกฝนพัฒนาตน สังคมมีการแข่งขัน ทาให้เห็นแก่ตัว แตกสามัคคี เมืองไทยเจริญทางเศรษฐกิจเฉพาะกลุ่ม ช่องว่างระหว่างคนจนคนรวยมากข้ึน คนไทยชอบ ความสะดวกสบาย เพราะธรรมชาติเคยอุดมสมบรู ณ์ จึงขาดการคิดคน้ พัฒนาเทคโนโลยีที่จะก่อให้เกิดความเจริญ แก่ตนเอง ครอบครัวและสังคมอย่างจริงจังขาดระบบการแก้ปัญหาและช่วยตนเอง ทาให้สังคมอ่อนแอ คนไทยไมช่ อบคิดค้นเทคโนโลยีทเ่ี หมาะสมขน้ึ เอง จงึ ยอมรับเทคโนโลยีของชาตอิ ่ืนมาใช้เพอ่ื ความสะดวกสบายของ ตนเอง ซง่ึ อาจตรงกบั ความตอ้ งการ แตก่ ็ไมเ่ หมาะสมกบั สังคม ดังน้นั คนไทยจึงคอยแต่เฝ้ารอ ไม่รู้จักคิดแก้ปัญหา ไม่ศึกษาไม่ช่วยตัวเอง เป็นผลให้คนไทยมีคุณภาพลดลง อ่อนแอ สังคมอ่อนแอ คนไทยมีวัฒนธรรมน้าใจ ซ่ึงเป็น เรื่องดี หากใช้ไม่เป็นอาจเสียหายได้ เช่น น้าใจรักพวกพ้อง ญาติพี่น้อง จึงช่วยเหลือในการคัดเลือกต่างๆ ทาให้ เกิดผลเสยี ตอ่ หนว่ ยงาน และคอยชว่ ยเหลอื ญาติลูกหลานมากเกนิ ไป คนไทยจงึ ไม่เข้มแขง็ ปัจจบุ ันประชาชนมีจติ ใจไมเ่ ขม้ แข็งอดทน มีความสุขยาก มคี วามทกุ ข์ยาก ทาใหเ้ กิดปัญหาอนื่ มาก เพราะ ต้องหาหนทางสรา้ งสุข แก้ทุกข์อยู่ตลอดเวลา ไมม่ คี วามพอดีไมอ่ ดทน เกิดการเบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบแข่งขัน เพื่อจะดึงเอาความสะดวกสบายมาเป็นตนและพวกพ้องให้มากท่ีสุด ประชากรท่ีมีปัญหามักมีลักษณะขี้เกียจ อ่อนแอ ใจเสาะ เปราะบาง ทาให้ช่วยตัวเองไม่ได้ ไม่พัฒนา ซ้ายังต้องมุ่งหาทางสร้างความสบายให้ตัวเอง โดยอาศัยบคุ คลและวัตถุเป็นทยี่ ดึ ถือ ทาให้ปญั หาสงั คมเพ่มิ ขนึ้

ประชากรในโลกทั้งประเทศมหาอานาจ หรือคนที่มีอานาจในประเทศมุ่งรักษาอานาจของตน จึงต้องหา ผลประโยชน์จากผู้อ่ืนทางด้านวัตถุท้ังทางตรงและทางอ้อม เอารัดเอาเปรียบข้ึนในสังคม สังคมเต็มไปด้วยการ แข่งขนั และการรว่ มมือ ท้งั ระดับระหว่างประเทศ และในประเทศ ทาใหก้ ารดาเนินงานรว่ มกันไม่ราบร่ืน ขาดความ สามัคคี เพราะผู้ร่วมงานจะมองผู้อื่นท่ีมาร่วมงานด้วยความหวาดระแวง ปัจจุบันองค์ประกอบของสังคมขาด ความสมั พนั ธ์กนั อยา่ งสมดลุ องคป์ ระกอบเหล่านี้คอื มนษุ ย์ สงั คม และธรรมชาติ องคป์ ระกอบท้งั 3 สว่ น อยู่อย่าง ไม่เก้อื กลู กนั ไมช่ ่วยเหลอื กนั แต่กลบั ทาลายกนั และกนั ทาใหส้ งั คมออ่ นแอ และล่มสลายในทีส่ ดุ แนวคดิ ในการการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม จริยธรรม คือ กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ ซ่ึงเกิดข้ึนจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ความเป็นผู้ มปี รชี าญาณ (ปญั ญา และ เหตุผล) ทาใหม้ นุษย์มีมโนธรรม รู้จักแยกแยะความดี ถกู ผดิ ควร ไม่ควร จริยธรรม มลี ักษณะ 4 ประการ คือ 1. การตัดสนิ ทางจริยธรรม บุคคลจะมีหลกั การของตนเอง เพือ่ ตัดสนิ การกระทาของผอู้ ื่น 2. หลักการของจริยธรรมและการตดั สนิ ตกลงใจ เปน็ ความสมั พนั ธท์ ี่เกดิ ขึ้นในตัวบุคคลกอ่ นท่จี ะปฏบิ ัติลงไป 3. หลกั การทางจรยิ ธรรม เปน็ หลกั การสากลท่บี ุคคลใช้ตัดสินใจในการกระทาสิง่ ตา่ ง ๆ 4. ทศั นะเก่ียวกบั จริยธรรม ได้มาจากความคิดของบุคคลหรืออุดมคติของสังคมจนเกิดเป็นทัศนะในการดารงชีวิต ของตน และของสงั คมที่ตนอาศยั อยู่ คณุ ธรรม คือ หลกั ความจรงิ หลกั การปฏบิ ัติ 1. จริยธรรม มี 2 ความหมาย คอื 1.1. ความประพฤติดีงาม เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนและสังคม ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักศีลธรรมทาง ศาสนา ค่านยิ มทางวฒั นธรรม ประเพณี หลักกฎหมาย จรรยาบรรณวชิ าชพี 1.2. การรู้จักไตร่ตรองว่าอะไรควรทา ไม่ควรทา 2. จรรยา (etiquette) หมายถึง ความประพฤติ กิรยิ าทคี่ วรประพฤติซึ่งสังคมแต่ละสังคม กาหนดข้ึน สอดคล้องกับวัฒนธรรม ในแต่ละวิชาชีพก็อาจกาหนดบุคลิกภาพ กิริยา วาจาท่ีบุคคลในวิชาชีพพึงประพฤติ ปฏิบตั ิ เชน่ ครู แพทย์ พยาบาล ยอ่ มเปน็ ผทู้ พ่ี ึงสารวมในกริ ิยา วาจา ทา่ ทางทแี่ สดงออก 3. จรรยาบรรณวิชาชีพ (professional code of ethics) หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกาหนดข้ึน เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก

ทาให้ไดร้ บั ความเชอื่ ถือจากสังคม อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ เช่น จรรยาบรรณของแพทย์ ก็คือ ประมวลความประพฤตทิ ่วี งการแพทย์กาหนดขึน้ เพ่ือเปน็ แนวทางสาหรับผู้เป็นแพทย์ยดึ ถือปฏิบัติ 4. ศีลธรรม (moral) คาว่า ศีลธรรมถ้าพิจารณาจากรากศัพท์ภาษาละติน Moralis หมายถึง หลักความประพฤติที่ดีสาหรับบุคคลพึงปฏิบัติ ภาษาไทย ศีลธรรมเป็นศัพท์พระพุทธศาสนา หมายถึง ความประพฤติท่ดี ที ่ชี อบหรือ ธรรมในระดบั ศีล 5. คณุ ธรรม (virtue) หมายถึง สภาพคุณงานความดีทางความประพฤติและจิตใจ เช่น ความเป็นผู้ไม่ กล่าวเท็จโดยหวังประโยชน์ส่วนตน เป็นคุณธรรมประการหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่าคุณธรรมคือจริยธรรมแต่ละข้อที่ นามาปฏิบตั ิจนเปน็ นิสัย เชน่ เป็นคนซื่อสัตย์ เสยี สละ อดทน มคี วามรับผิดชอบ ฯลฯ 6. มโนธรรม (conscience) หมายถึงความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความรู้สึกว่าอะไรควรทาไม่ควรทา นักจริย ศาสตร์เช่ือว่ามนุษย์ทุกคนมีมโนธรรม เนื่องจากบางขณะเราจะเกิดความรู้สึกขัดแย้งในใจระหว่างความรู้สึก ต้องการสิ่งหนงึ่ และรูว้ า่ ควรทาอีกสิ่งหน่ึง เช่น ต้องการไปดูภาพยนต์กับเพื่อน แต่ก็รู้ว่าควรอยู่เป็นเพ่ือน คุณ แมซ่ ่ึงไม่คอ่ ยสบาย 7. มารยาท มรรยาท กิริยา วาจา ท่สี ังคมกาหนดและยอมรับวา่ เรียบร้อย เช่น สังคมไทยให้เกียรติ เคารพผู้ใหญ่ ผ้นู ้อยยอ่ มสารวมกิริยาเม่ืออยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ การระมัดระวังคาพูดโดยใช้ให้เหมาะกับบุคคลตาม กาลเทศะ วดิ โี อ เวียดนามปลกู ฝังคณุ ธรรมจริยธรรม https://youtu.be/peASBf6Mm7w วดิ โี อ คุณธรรม https://youtu.be/fEWHReiU8es https://www.youtube.com/watch?time_continue=57&v=Ek-v5LJuhCY&feature=emb_logo


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook