Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่ 5 โปรโตคอล

บทที่ 5 โปรโตคอล

Description: บทที่ 5 โปรโตคอล

Search

Read the Text Version

หน่วยที่ 5 โปรโตคอล

หน่วยที่ 5 โปรโตคอล หัวข้อเรื่อง (Topics) 5.1 ความหมายของโปรโตคอล 5.2 โปรโตคอล TCP/IP 5.3 โปรโตคอล FTP (File Trnsfer Protocol) 5.4 โปรโตคอล HTTP (Hyper Text Transport Protocol) 5.5 โปรโตคอล UDP (User Datagram Protocol) สมรรถนะย่อย (Element of Competency) โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง ข้อกำหนดในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหลายชนิด ที่คล้างกับภาาามนุษย์ โดยที่มนุษย์สื่อสารกันให้เกิดความเข้าใจ และคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องนั้น ต้องการสื่อสารกันแต่ใช้คนละภาษาในการแปลกับภาษามนุษย์ก็คือล่าม แนวคิดสำคัญ (Main Idea) 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับโปรโตคอล 2.กำหนดหมายเลข IP ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในเครือข่าย จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behaviral Objectives) 1. บอกความหมายของโปรโตคอล 2. บอกความหมายของโปรโตคอล TCP/IP ได้ถูกต้อง 3. บอกความหมายของโปรโตคอล TCP ได้ถูกต้อง 4. อธิบายลักษณะของ IP Address ได้ถูกต้อง 5. อธิบายลักษณะของ Subnet Mask ได้ถูกต้อง 6. บอก Private Address ได้ถูกต้อง 7. บอกความหมายของโปรโตคอล FTP ได้ถูกต้อง 8. บอกความหมายของโปรโตคอล HTTPได้ถูกต้อง 9.บอกความหมายของโปรโตคอล UDP ได้ถูกต้อง

เนื้อหาสาระ (Content) ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นระบบที่จะต้องมีการสื่อสารข้อมูลระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายที่มีฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่แตกต่าง กัน ดังนั้นเพื่อให้การสื่อสารสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตีความหมายได้ตรงกัน จะต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อสื้อสา รขึ้นมา 5.1ความหมายของโปรโตคอล โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง มาตรฐานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสื่อสาร ข้อมูลในเครือข่ายซึ่งครอบคลุมถึงวิธีการและรูปแบบการส่งข้อมูล จังหวะเวลา การส่งข้อมูล ลำดับการรับส่งข้อมูล และวิธีจัดการป้องกันความผิดพลาดต่าง ๆ โปรโตคอลมีหลายชนิดมีจุดประสงคืในการทำงานแตกต่างกัน ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ 1.Syntax หมายถึง รูปแบบหรือโครงสร้างข้อมูล 2.Semantics หมายถึง ความหมายข้อมูลที่ได้รับมา 3.Timing หมายถึง เป็นข้อกำหนดของเวลาในการรับส่งข้อมูล เนื่องจากเอนติตี้แต่ละตัวนั้นมาความเร็วในการรับส่งไม่เท่ากัน โปรโตคอลการสื่อสารข้อมูลในปัจจุบันมีอยู่มากมายและเนื้อหาในหน่วยนี้จะ กล่าวถึงโปรโตคอลที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่นTCP/IP,FTP,HTTP และ HTTPs ดังนี้

5.2 โปรโตคอล TCP/IP TCP/IP (Transmission Control/lnternetworking Protocol) หมายถึง ชุดโปรโตคอล ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต โปรโตคอล TCP/IP ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานบนเครือข่ายระยะ ไกล เครือข่ายท้องถิ่นและยังสามารถเชื่อมต่อไปยังโลกภายนอกหรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ตได้ดังนั้นโปโตคอล TCP/IP จึงเป็นโปรโตคอลที่ได้รับความนิยม เป็นอย่างสูง

สถาปัตยกรรมชุดโปรโตคอล TCP/IP สถาปัตยกรรมชุดโปรโตคอล TCP/IP ได้มีการพัฒนาขึ้นมาก่อนแบบ จำลอง OSI ดังนั้นลำดับชั้นต่างๆ ในโปรโตคอล TCP/IP จึงไม่ตรงกับแบบ จำลอง OSI แต่แบบจำลองทั้งสองมีหลักการทำงานที่คล้ายคลึงกัน สถาปัตยกรรมลำดับชั้นในโปรโตคอล TCP/IP โดยข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้น จากลำดับชั้นแอพพลิเคชันหรือจากผู้ใช้งาน เมื่อ TCP รับข้อมูลจากลำดับชั้น บนมาแล้ว ก็จะทำการจัดเตรียมข้อมูลในชั้นทรานสปอร์ตเป็นเซกเมนท์ก่อนที่ จะส่งต่อไปยัง IP โดนข้อมูลที่ส่งไปนั้นจะมีการแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆเพื่อที่จะ เดินทางผ่านเครือข่ายต่างๆ แสดงถึงการจัดเรียงลำดับหมายเลขของแต่ละ Datagram โดยข้อมูล แต่ละข้อมูล ที่จะแยกกันเดินทางผ่านเครือข่ายต่างๆ เมื่อมาถึงฝั่ งผู้รับก็จะมี กระบวนการย้อนกลับและจัดเรียงข้อมูลให้เป็นไปตามที่ส่งมาจากฝั่ งผู้ส่ง

โปรโตคอล TCP (Transmission Control Protocol) โปรโตคอล TCP เป็นโปรโตคอลที่มีความน่าเชื่อถือ ในการสื่อสารด้วยการ สร้างคอนเน็กชัน เพื่อการเชื่อมต่อกับปลายทางก่อนที่จะส่งข้อมูลโดยการ สร้างวงจรเสมือนระหว่างผู้ส่งและผู้รับ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในระหว่างการ ส่งข้อมูล 1.Source Port Address คือ หมายเลขพอร์ตของฝ่ายต้นทาง 2.Destination Port Address คือ หมายเลขพอร์ตของฝ่ายปลายทาง 3.Sequence Number คือ หมายเลขลำดับที่ใช้แสดงตำแหน่งของข้อมูล 4.Acknowledgment Number คือ เลขขนาด 32 บิต ที่ใช้ตอบกลับไป ต้นทาง 5.Header Lenght(HLEN) คือ ฟิลด์ที่ใบ้ระบุความกว้าง หรือ ขนาดของเฮดเด อร์ 6.Reserved คือ ฟิลด์ขนาด 6 บิต ที่สงวนไว้ใช้เพื่ออนาคต 7.Control คือ ฟิลด์ขนาด 6 บิต 8.Windows Size คือ ฟิลด์ขนาด 16 บิต ปลายทางใช้กำหนดขนาด Windows 9.Checksum คือ ฟิลด์ขนาด 16 บิต ใช้สำหรับตรวจจับข้อผิดพลาด 10.Urgent Pointer คือ เพื่อชี้ตำแหน่งสุดท้ายของข้อมูลที่ต้องการ 11.Options and Padding คือ ส่วนเหลือของ TCP ที่เพิ่มไว้เป็น options

โปรโตคอล IP IP (Internet Protocol) เป็นกลไกการส่งข้อมูลที่ใช้ในโปรโตคอล TCP/IP โดยจะไม่รับประกันการส่งข้อมูลว่าจะไปถึงผู้รับหรือไม่และไม่มีการ ตรวจสอบข้อผิดพลาด ไม่มีการสร้างคอนเน็กชันกับปลายทาง ทำให้หลักการ ทำงานของโปรโตคอล IP นี้ ไม่มีความซับซ้อน ซึ่งโปรโตคอล IP จะใช้ทำงาน ควบคู่ไปกับโปรโตคอล TCP 1.ประเภทของคลาส (Class Type) เป็นประเภทของคลาสที่ใช้ระบุไอพี แอดเดรส 2.หมายเลขเครือข่าย หรือ NetID (Network Identifier)เป็นส่วนที่ใช้ สำหรับวางแพ็กเกจระหว่างเครือข่าย 3.หมายเลขโฮสต์ หรือ HostID (Host Identifier) เป็นส่วนที่ใช้ระบุ ตำแหน่งเฉพาะเจาะจงของอุปกรณ์ ไอพีแอดเดรสมีขนาด 32 บิต ที่เป็นไปตามข้อกำหนดของ IPv4 ทำให้ สามารถใช้แทนหมายเลขแอดเดรสของอุปกรณ์ได้ประมาณ 4 พันล้านเครื่อง แต่ไม่ได้นำมาใช้งานทั้งหมด เนื่องจากต้องเก็บไว้บางส่วนเพื่อใช้งานเฉพาะ อย่าง แต่ยากต่อการจดจำ ดังนั้นจึงมีการจัดการกับไอพีแอดเดรสด้วยการ เขียนอยู่ในรูปแบบของเลขฐานสิบ และใช้จุดทศนิยมเป็นตัวคั่นทำให้ผู้อ่าน จดจำได้ง่ายขึ้น โดยแต่ละไบต์แรกของไอพีแอดเดรสนี้เอง จะทำให้เราสามารถ รับรู้เพื่อตีความได้ทันทีว่าไอพีแอดเดรสชุดนี้จัดอยู่ในคลาสใด

IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือ หมายเลขประจำ เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็น จะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบ ตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1 เป็นต้น โดยหมายเลข IP Address ของ เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง Computer ของเราอยู่ใน Network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลง เป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่า ตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือ ตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126

เนื้ อหาเสริม IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือ หมายเลขประจำ เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็น จะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบ ตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1 เป็นต้น โดยหมายเลข IP Address ของ เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง Computer ของเราอยู่ใน Network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลง เป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่า ตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือ ตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126

สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ อย่างเช่น Class D ซึ่ง ถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ

เนื้ อหาเสริม Domain Name System (DNS) เราทราบแล้วว่าการติดต่อสื่อสารกันทางอินเตอร์เน็ตซึ่งใช้โพรโตคอล TCP/IP คุยกันโดยจะต้องมีหมายเลข IP ในการอ้างอิงเสมอ แต่หมายเลข IP นี้จัดแบ่งเป็นส่วน ๆ แล้วยังมีอุปสรรคในการจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมี จำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ก็จะเป็นเรื่องยากและอาจสับสนเข้าใจผิด ได้ แนวทางในการแก้ปัญหาคือ การตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทน หมายเลข IP คือจากหมายเลข 203.154.220.7 มาเป็น wap.chandra.ac.th เป็นต้น เพราะผู้ใช้สามารถจดจำชื่อ ได้แม่นยำกว่า นอกจากนี้ในกรณีที่เกิดเครื่องเสีย หรือทำการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ จากเครื่องหมายเลข IP 203.154.220.7 เป็น 203.154.220.254 ผู้ดูแลระบบจะจัดการแก้ไขข้อมูลใน เครื่องใหม่ที่มีชื่อแทนที่เครื่องเดิมได้ทันโดยไม่ต้องโยกย้าย ฮาร์ดแวร์ใด ๆ ส่วนในมุมมองของผู้ใช้ก็ไม่ต้องแก้ไขอะไรทั้งสิ้น ยังคงความสามารถในการใช้ งานดังเดิม

bullet สำหรับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้มีการพัฒนากลไก การแทนที่ชื่อ เครื่องคอมพิวเตอร์แทนที่ให้บริการกับเลขหมาย IP หรือ Name-to-IP Address ขึ้นมาใช้งานและเรียกกลไกนี้ว่า Domain Name System (DNS) โดยมีการเก็บฐานข้อมูลชื่อและหมายเลข IP เป็นลำดับชั้น (hierarchical structure) อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่พิเศษ ที่เรียกว่า Domain Name Server หรือ Name Server โครงสร้างฐานข้อมูล Domain Name นี้ ใน ระดับบนสุดจะมีความหมายบอกถึงประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือ ข่ายนั้นตั้งอยู่

เนื้ อหาเสริม INTERNET โดยมีการแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ IP Address ( internet Protocal Address ) คือ Network Address หมายเลข IP สำหรับ หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบ เครือข่าย จะถูกตั้งด้วย Router เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP สามารถบอกได้ว่า Computer Address หมายเลข IP ประจำ เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่ที่ไหน ซึ่งสามารถระบุได้ผ่าน ip เครื่องในระบบเครือข่าย address และแน่นอนแต่ละ ip จะไม่ซ้ำกัน เหมือนเลขที่บ้านที่ไม่ซ้ำกัน เพราะถ้าซ้ำการส่งข้อมูล แต่ถ้าเราจะแบ่ง IP address ผ่านเครือข่ายก็อาจจะงงได้ว่าต้องส่งข้อมูลไปที่ไหนกัน เป็นตาม class จะได้ดังนี้ แน่ ซึ่ง ip address จะประกอบไปด้วยตัวเลข 4 ชุด โดยในปัจจุบันมาตรฐานของ ip address คือ IPv4 และ IPv6 โดย IPv4 จะเป็นเลข 32 บิต และ IPv6 เป็น เลข 128 บิต . CLASS A CLASS E มีตัวเลข 0.0.0.0 ถึง เป็น Class สำหรับอนาคต 127.255.255.255 เหมาะสำหรับ จึงยังไม่ได้กำหนดรูปแบบการ องค์กรขนาดใหญ่ มีผู้ใช้งานจำนวน ใช้งาน มาก สามารถกำหนดเลข ip address ได้ถึง 16 ล้านหมายเลข CLASS B CLASS C CLASS D มีตัวเลข 128.0.0.0 ถึง มีตัวเลข 192.0.0.0 ถึง มีตัวเลข 224.0.0.0 ถึง 191.255.255.255 เหมาะสำหรับ 223.255.255.255 เหมาะสำหรับ 239.255.255.255 จะใช้ใน องค์กรขนาดกลาง กำหนดเลขสำหรับผู้ เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครื่อง เครือข่ายแบบ Multitask ใช้งานประมาณ 65,000 หมายเลข ข่ายได้จำนวนหมายเลข 254 เท่านั้น หมายเลข

5.3 โปรโตคอล FTP (File Transfer Protocol) โปรโตคอล FTP (File Transfer Protocol) เป็นโปรโตคอล ที่บริการด้าน การโอนถ่ายแฟ้มข้อมูลระหว่างโฮสต์หรือคัดลอกแฟ้มข้อมูลบนเครือข่าย ซึ่ง หมายถึง การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งมายังระบบ หนึ่งผ่านเครือข่าย ซึ่งทำได้หลายรูปแบบ เช่น การโอนจากเครื่องแม่ข่ายด้วย กันเองโดยอาศัยโปรแกรม FTP การทำงานของโปโตคอล FTP จะเริ่มจากผู้ใช้โปรแกรมผ่าน User lnterface และถ้ามีการใช้งานต่างๆ ของ FTP จะเป็นหน้าที่ของ PI (Protocol Interpreter Module) ทำหน้าที่แปลคำสั่งและทำงานตามคำสั่ง ในกรณีที่มี การรับส่งข้อมูลก็จะเป็นหน้าที่ของ DT (Data Transfer Module) ซึ่งโมดูล PI และ DT นี้จะอยู่ทางด้านของไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์ 5.4 โปรโตคอล HTTP (Hyper Text Transport Protocol) โปรโตคอล HTTP (HyperText Transfer Protocol) เป็นข้อกำหนดที่ใช้ สไหรับเรียกดูเอกสารจากเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งจัดเป็นตัวกางในการรับส่งข้อมูล ระหว่างโปรแกรมเบราเซอร์และเว็บเซิร์ฟเวอร์เป็นโปรโตคอลในระดับชั้น โปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของ สื่อผสม

ซึ่ง HTTP เป็นมาตราฐานในการร้องขอและการตอบรับการใช้เว็บไซต์ ระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องเเม่ข่ายผ่านทางเว็บเบราเซอร์ โปรโตคอล HTTPs (Hypertext Transfer Protocol Security) หมายถึง ระบบความปลอดภัยของโปรโตคอล HTTP ใช้สำหรับการเเลกเปลี่ยนข้อมูลระ หว่างเครื่อเครื่องแม่ข่ายและลูกข่ายที่คิดค้นขึ้นโดยบริษัท Netscape โดยมี จุดประสงค์เพื่อรักษาความลับของข้อมูลระหว่างขนส่ง และเพื่อให้แน่ใจว่า ข้อมูลนั้นถูกรับส่งระหว่างผู้รับและผู้ตามที่ระบุไว้จริง 5.5 โปรโตคอล UDP (Datagram Protocol) โปรโตคอล UPD (User Datagram Protocol) เป็นโปรโตคอลในลำดับ ทรานสปอร์ตโดยในส่วนขอเฮดเดอร์จะประกอบด้วยหมายเลขพอร์ตต้นทาง และปลายทาง ขนาดความกว้างของข้อมูล และ ตัวควบคุมข้อผิดพลาด (Checksum) โดยแพ็กเก็ตที่ประกอบขึ้นจาก UDP นี้จะเรียกว่า ยูสเซอร์ดาต้า แกรม (User Datagram)

UDP เป็นโปรโตคอลที่ไม่มีการสร้างคอนเน็กชันกับสถานีปลายทางก่อนการ ส่งข้อมูล ดังนั้น เมื่อมีข้อมูลที่จะส่ง UDP จะส่งข้อมูลเหล่านั้นทันที และไม่มีการรับประกันว่าจะไปถึงปลายทางหรือไม่ และหากข้อมูลไม่ถึงปลาย ทาง ลัดับชั้นที่อยู่เหนือกว่าจะต้องดป้นผู้แก้ไขเอง ซึ่งภายในเฮดเดอรืของ โปรโตคอล UDP จะประกอบไปด้วย 1. Source Port คือ หมายเลขของพอร์ตของฝ่ายต้นทาง 2. Destination Port Address คือ หมายเลขพอร์ตของฝ่ายปลายทาง 3. Total Length คือ ฟิลด์ที่ใช้ระบุความยาวทั้งหมาดของยูสเซอร์ ดาต้าแกรม มีหน่วยเป็นไบต์ 4. Checksum คือ ตัวที่ใช้สำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาด ขนาด 16 บิต สรุป 1. ความหมายของโปรโตคอล โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง มาตรฐานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสื่อสาร ข้อมูลในเครือข่าย ซึ่งครอบคลุมถึงวิธีการและรูปแบบการส่งข้อมูล จังหวะเวลา การส่งข้อมูล ลำดับการรับส่งข้อมูล และวิธีจัดการป้องกันความผิดพลาดต่าง ๆ ประกอบด้วย 3 ส่วนส่วน คือ 1.Syntax หมายถึง รูปแบบหรือโครงสร้างข้อมูล 2.Semantics หมายถึง ความหมายของข้อมูลที่ได้ 3.Timing หมายถึง เป็นข้อกำหนดของเวลาในการรับส่งข้อมูล

2. โปรโตคอล TCP/IP TCP/IP (Tranmission Control Protocol/Internetworking Protocol) คือ ชุดโปรโตคอลที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลบนเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเพื่อใช้งานเครือข่ายระยะไกล และสามารถใช้ได้บนเครือ ข่ายภานในอย่างเครือข่ายท้องถิ่นกับเครือข่ายท้องถิ่นเข้าด้วยกัน และสามารถ เชื่อมต่อไปยังโลกภายนอกได้ ในปัจจุบันโปรโตคอล TCP/IP จึงเป็น โปรโตคอลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง 2.1 สถาปัตยกรรมชุดโปรโตคอล TCP/IP ได้มีการพัฒนาขึ้นมาก่อนแบบจำลอง OSI ดังนั้น ลำดับชั้นต่าง ๆ ใน โปรโตคอล TCP/IP จึงไม่ตรงกับแบบจำลอง OSI แต่การทำงานคล้ายคลึงกัน แต่จะมีเพียง 5 ลำดับชั้น 2.2 โปรโตคอล TCP (Tranmission Control Protocol) เป็นโปรโตคอลที่มีความน่าเชื่อถือ โดยการส่งข้อมูลจะต้องสร้างคอนเน็กชัน เพื่อการเชื่อมต่อกับปลายทางก่อนที่จะดำเนินการส่งข้อมูลจริง 2.2 โปรโตคอล IP (Internetworking Protocol) เป็นกลไกการส่งข้อมูลที่ใช้ในโปรโตคอล TCP/IP มีหน้าที่เพียงนำส่งข้อมูล ไปถึงปลายทางได้ด้วยหมายเลข IP ซึ่งหมายเลขจะใช้ระบุตำแหน่งเครื่องและ เป็นเลขที่ไม่ซ้ำกัน เรียกว่า IP Address ที่ประกอบด้วย 4 ไบต์ (32 บิต) ที่ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ หมายเลขเครือข่าย (NetID) และส่วนของหมายเลข โฮสต์ (HostID) แต่ภายในส่วนของเลขเครือข่ายนี้ยังรวมถึงบิตที่ใช้สำหรับระบุ คลาสของ IP 1. ซับเน็ตมาสก์(Subnet Mask) การแบ่งเครือข่ายเป็นเครือข่ายย่อยหรือ ซับเน็ต จำทำให้สามารถใช้งาน Address ได้แย่างมีประสิทธิภาพ การทำซับเน็ต จะต้องทำควบคู่ไปกับการทำมาสกิ้ง เป็นกระบวนการที่บอกให้รู้ว่าเครือข่ายของ เรามีการแบ่งเป็นซับเน็ต จำเป็นจะต้องระบุซับเน็ตด้วย เพื่อให้รู้ว่า Address นี้ มีการแบ่งส่วนหมายเลขเครือข่ายและส่วนของหมายเลข Host อย่างไร 2. Private Address IP Address ยังมีช่วงของหมายเลขช่วงหนึ่งที่ได้ถูก สงวนเพื่อการใช้งานภายใจ โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับเครือข่ายภายนอกซึ่งเรียกว่า Private IP Netwoek

เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการเกี่ยวกับข้อมุลของเว็บว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) เป็นต้น ทำให้สามารถรองรับการใช้งานของเครื่องไคลแอนด์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เครือข่ายแบบไคลแอนดืเซิร์ฟเวอร์เหมาะกับเครือข่ายของ องค์การขนาดใหญ่ที่มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในองค์การตั้งแต่ 10 เครื่องขึ้น ไป 6.3 การเชื่อมต่อเครือข่าย LAN เครือข่าย LAN (Local Area Network) เป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่มีการ เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยุ่ในพื้นที่ใกล้เคียงในระยะ ทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร เข้าด้วยกัน เช่นการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในแผนก เดียวกัน ภายในสำนักงานหรือภายในอาคารเดียวกัน เครือข่าย LAN ถูก ออกแบบขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์หลักในการแบ่งปันกันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เป็นต้น

ระบบเครือข่ายแบบ LAN หรือระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ โดยปกติแล้วจะ เป็นระบบเครือข่ายส่วนตัว โดยองค์กรที่ต้องใช้งานเครือข่ายจะทำการสร้าง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายในระยะใกล้ ๆ ซึ่งจะช่วย ให้เกิดประโยชน์แกองค์กรธุรกิจต่าง ๆ มากมาย เช่น 1.สามารถแบ่งเบาการประมวลผลไปยังเครื่องต่าง ๆ เฉลี่ยกันไป 2.สามารถแบ่งกันใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ ซีดีรอมไดร์ฟ เครื่อง คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นต้น 3.สามารถแบ่งกันใช้งานซอฟแวร์และข้อมูลหรือสารสนเทศต่าง ๆ รวมทั้งทำให้ สามารถจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้เพียงที่เดียว 4.สามารถวางแผนหรือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้แม้จะไม่ได้อยู่ใกล้กันก็ตาม 5.สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือการส่งเสียง หรือภาพทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 6.ช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมขององค์กร

6.4 การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network ซึ่งหมายถึง เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันเป็น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสามารถ ทำได้ 2 วิธี คือการเชื่อมต่อโดยตรงด้วยเกตเวย์ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงเครือข่าย คอมพิวเตอร์เข้ากับสายแกนหลักของอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเกตเวย์หรือเราท์ เตอร์ การเชื่อมต่อแบบนี้มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง มากและมีความเร็วในการสื่อสารสูงมากและการเชื่อทต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน ISP (Internrt Service Providers) เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าสู่ อินเตอร์เน็ตโดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการเชื่อมโยง 6.4.1 รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 1.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet) 1.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล เป็นการเชื่อต่อ อินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน ซึ่งต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการ เข้าสู่เครือข่านอินเตอร์เน็ต

ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์ โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (Username) และ รหัสผ่าน (Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับ คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ 2.การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้ง ภาครัฐและเอกชน ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้จะมีเครือข่าย LAN เป็นของตัวเอง สรุป 1.โทโพโลยี (Topology) หมายถึง ลักษณะทางกายภาพของระบบเครือข่าย เป็นลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และ เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายด้วยกันโทโพโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันออกไป โดยโทโพโลยี ที่นิยมใช้กันบนเครือข่ายท้องถิ่นมี 3 ชนิดคือ 1.1 โทโพโลยีแบบบัส (Bus) 1.2 โทโพโลยีแบบดาว (Star) 1.3 โทโพโลยีแบบวงแหวน (Ring)

2.รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย 2.1 การเชื่อต่ออินเตอร์เน็ตแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer) หรือการเชื่อม ต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุด 2.2 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ Client/Server เป็รเครือข่ายที่กำหนดให้ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลักที่เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ (server) หรือเครื่อง แม่ข่ายทำหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารรวมทั้งแบ่งปันแฟ้มข้อมูลแก่ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ 3.การเชื่อมต่อเครือข่าย LAN เป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่มีก่รเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่ อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงเข้าด้วยกันโดยมีระยะทางการเชื่อมต่อไม่เกิน 10 กิโลเมตร 4.การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network ซึ่งหมาย ถึงเครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบต่าง ๆ มัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วยข้อความ ภาพกราฟิก เสียงและวีดิโอ ความเร็วในการ รับส่งข้อมูลอยู่ที่ 40 Kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับส่ง ข้อมูลตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็ว ขึ้นด้วย

จัดทำโดย น.ส.สลิลทิพย์ สุขลักษณ์ เลขที่3 น.ส.ขวัญแก้ว พิลึก เลขที่5 น.ส.จิราภรณ์ สัพศรี เลขที่6 น.ส.ชลธิชา วงศ์ศรีรัตน์ เลขที่8 น.ส.อริสรา ไกรสังข์ เลขที่9 น.ส.นวรัตน์ วิเชียรโชติ เลขที่18 น.ส.มุกรินทร์ อภิวัชรางกุล เลขที่28 ปวส2/2 เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook