1 เอกสารคําสอนหลักสตู รแพทยศาสตรบณั ฑิต วิทยาลยั แพทยศาสตรพระมงกุฎเกลา วิชาวิสญั ญีวิทยา วพม.ศศ. จํานวน 13 หนา จัดทําป 2557 ปรบั ปรงุ ป 2559 การระงบั ความรูสกึ เฉพาะสวนโดยการฉดี ยาชาเขา ทางชองไขสันหลงั (Spinal anesthesia) พ.ท.สทิ ธาพันธ มนั่ ชูพงศ พบ.วว.วสิ ญั ญวี ิทยา วว.อนสุ าขาระงับปวด วัตถุประสงค เพื่อใหนักเรียนแพทยทหาร/นักศกึ ษาแพทย สามารถ1. ทราบถงึ กายวภิ าคที่เกย่ี วขอ งในการระงบั ความรสู กึ เฉพาะสว น2. ทราบถงึ ขอบง ช้ี ขอ หาม และขัน้ ตอนการทาหตั ถการอยา งละเอียด3. ทราบถงึ การเปลยี่ นแปลงทางสรีระวิทยาท่จี ะเกิดขน้ึ กับผูปว ย และภาวะแทรกซอ นทอี่ าจเกดิ ขึน้4. สามารถปอ งกันและแกไขภาวะแทรกซอนเบ้ืองตน ไดอยา งถกู ตองและทันทวงที ประวตั ิศาสตรของ spinal anesthesia การทาํ spinal anesthesia ในมนุษยค รัง้ แรกเกิดขน้ึ ในป ค.ศ. 1898 โดย August Bierซ่ึงใชยาชาcocaine ฉีดเขา ชองไขสนั หลัง จากน้ันมกี ารใชย าชา procaine, tetracaine, lidocaine, chloroprocaine,mepivacaine, bupivacaine, ropivacaine และ levobupivacaine มาใชส าหรับการทา spinalanesthesia ตามลําดบั (1) นอกจากนี้ Pacoviceanu-Pitesti มรี ายงานการใช morphine ฉีดเขา ชองไขสนัหลงั เปนครั้งแรกในป ค.ศ. 1901 (2) กายวิภาคท่เี กย่ี วขอ ง(3-5) กระดูกสันหลงั (vertebrae) กระดกู สนั หลัง ประกอบดวย กระดกู สว นคอ (cervical; C) 7 ระดบั , กระดูกสว นอก (thoracic; T) 12ระดับ, กระดูกสวนเอว (lumbar; L) 5 ระดับ กระดกู สว นใตกระเบนเหนบ็ (sacral; S) 5 ระดบั และกระดกูสว นกน กบ (coccyx) 4 ระดบั ซง่ึ เชอ่ื มกันเปน 1 ชน้ิ กระดูกสนั หลังแตล ะระดับมลี กั ษณะทางกายวภิ าคแตกตา งกนั ซ่ึงกระดูกสันหลังสวนเอว (lumbar spine) มสี วน vertebral body ทางดานหนา (ventral) มีสวน pedicle และ transverse process อยทู างดา นขา งตอ ไขสันหลัง และมีสวน laminar และ spinousprocess อยูทางดานหลัง (dorsal) กระดกู สนั หลังแตล ะระดบั มีการเช่อื มตอ กนั ดว ยขอ เรียกวา facet jointและสวน vertebral body แตละระดับเช่อื มตอกันโดยมี vertebral disc แทรกตวั อยู การเช่ือมตอของกระดกูสนั หลงั กอ ใหเ กดิ ชองระหวางสว น lamina เรียกวา interlaminar foramen และชอ งระหวางสวน pedicleเรยี กวา intervertebral foramen ซง่ึ เปน ชองทางออกของเสน ประสาทไขสันหลงั (spinal nerve) กระดูกสันหลงั ท้ัง 33 ระดับเรียงตวั กันเปนแนวโคงท่มี สี วนเวา (lordosis) ที่ระดบั กระดกู สันหลงั สว นคอและสวนเอวและมีสว นโกง นูน (kyphosis) ท่ีระดบั กระดกู สันหลังสว นอกและสว นใตก ระเบนเหน็บ
2 เสนเอน็ (ligament)กระดูกสนั หลงั ไดรับการประคับประคองดวยเสนเอ็นจํานวน 5 เสน ดงั แสดงในรปู ท่ี1 ไดแ ก1. Supraspinous ligament อยหู ลัง (dorsal) ตอสวนปลาย (tip) ของ spinous process ตั้งแตระดับกระดูกสันหลังสวนอกลาดบั ท่ี 7 (T7) จนถึงกระดกู สนั หลังสว นใตก ระเบนเหน็บ2. Interspinous ligament เกาะระหวา ง spinous process 2 ระดบั เสน เอน็ นี้เช่ือมตอ กบั supraspinousligament ทีอ่ ยูทางดา นหลังและ ligamentum flavum ท่ีอยูทางดา นหนา3. Ligamentum flavum เปนเสน เอ็นท่อี ยูหนาตอ กระดกู สันหลังสว น lamina โดยทรี่ ะดบั กระดกู สนั หลงั สวนเอวลาดบั ท่ี 2-3 (L2-3) เสนเอ็นนม้ี คี วามหนาประมาณ 3-5 มม. และอยหู า งจากเยือ่ หุม สมองซ่งึ อยูทางดา นหนา ประมาณ 4-6 มม. 3เสน เอน็ อีก 2 เสน ไดแ ก anterior longitudinal ligament และ posterior longitudinal ligament อยูห นาตอ และหลังตอกระดูกสันหลงั สวน vertebral body ตามลาดบั เย่ือหุมไขสันหลงั (meninges) และนาํ้ ไขสันหลัง (cerebrospinal fluid; CSF) เย่ือหุมไขสันหลังมี 3 ชนั้ เรียงลาํ ดบั จากชน้ั ในไปหาชัน้ นอก ดังน้ี pia mater, arachnoid mater และdura mater โดยระหวางเยือ่ หมุ ไขสนั หลงั ชนั้ pia mater และ arachnoid mater มชี อ ง subarachnoidspace หรอื intrathecal space ซง่ึ มนี า้ํ ไขสันหลังอยูภ ายใน บรเิ วณหลงั ตอ เยื่อหุมไขสนั หลังชั้น dura materมชี อ ง epidural space ซง่ึ ถกู ปกคลมุ ทางดานหลังดวยเสนเอน็ ทม่ี ีความยาวต้ังแต foramen magnum ลงมาถึง sacral hiatus เรยี กวา ligamentum flavumนาไขสนั หลังมมี ีความดนั ประมาณ 15 ซม.นํ้าและมีน้ําเปนองคประกอบมากถึงรอยละ 99 สวนประกอบอื่นๆไดแก electrolyte นา ตาล โปรตนี สารสอื่ ประสาทตางๆ ฯลฯ น้ําไขสันหลงั ถกู สรา งที่ choroid plexus ในcerebral ventricleประมาณ 500 มล.ตอ วนั และถูกดดู ซมึ กลบั ท่ี arachnoid villi ใน superior sagittal
3sinus รูปท่ี 1 แสดงกายวิภาคของกระดูกสนั หลังและอวัยวะท่ีเกี่ยวของ(3) ไขสนั หลงั (spinal cord) ไขสันหลังเปนโครงสรา งหน่งึ ของระบบประสาทสวนกลางซง่ึ ตอเนอื่ งลงมาจากกานสมอง (brain stem)และทอดยาวลงมาตามแนวกระดูกสนั หลังภายในชอ ง spinal canal สวนปลายสดุ ของไขสันหลงั เรยี กวาconus medullaris สิน้ สดุ ทร่ี ะดับตา งกันตามชวงอายุ ในเดก็ แรกเกดิ ไขสนั หลงั สิ้นสุดทีร่ ะดบั กระดูกสันหลงัสวนเอวลําดบั ที่ 3 (L3) ในขณะท่ีรอ ยละ 60 ของผใู หญ ไขสันหลังสน้ิ สุดท่ีระดับกระดกู สันหลงั สว นเอวลาดบั ที่1 (L1) ดงั แสดงในรปู ท่ี2 ทง้ั นี้เปน ผลจากอัตราเร็วในการเจรญิ เตบิ โตทีแ่ ตกตา งกนั ของไขสนั หลังและกระดกู สันหลังซง่ึ อยลู อมรอบโครงสรางที่ตอ จาก conus medullaris แบงเปน 2 สวน ไดแก สว นท่ีเปน neural extension เรียกวาcauda equina และสวนทีเ่ ปน fibrous extension เรยี กวา filum terminale ซงึ่ เปนสว นทย่ี ึดไขสันหลงั ไวกับกระดกู สันหลงั สว นกนกบ (coccyx)
4 รูปท2่ี แสดงกายวภิ าคของไขสนั หลงั ซง่ึ จดุ สน้ิ สดุ ของไขสันหลัง(conus medullaris) อยทู ี่ระดับ L1-L2 และจดุ ส้นิ สดุ ของ dural sac อยูทีร่ ะดบั S2(3) ระบบเลอื ดท่ีมาเลย้ี งไขสันหลัง(Blood supply)(3) เสนเลือดทม่ี าเลี้ยงไขสันหลงั ดา นหนามาจาก anterior spinal artery ซึ่งเปน แขนงของ vertebralartery ดานหลังมาจาก posterior spinal arteries ซ่งึ เปนแขนงของ inferior cer ebellar artery ทางดา นขาง segmental spinal arteries ใหแ ขนงไปเลย้ี งรากประสาทและ แขนง medullary ไปเล้ยี ง thespinal cord หน่งึ ในเสนเลอื ดใหญท่สี าํ คัญคือ artery of Adamkiewicz ซ่งึ ตําแหนงไมแ นนอนโดยสวนใหญอยรู ะหวา ง T7 ถงึ L4 และคอ นไปดา นซา ย ซง่ึ เสนเลือดนจี้ ะเลย้ี งไขสันหลังระดับอกสว นลา งและเอวชวงบนสวนเสน เลอื ดดําจะเขาสู longitudinal anterior และ posterior spinal veins ซ่ึงติดตอ กับ segmentalanterior and posterior radicular veins กอ นจะเขาสู internal vertebral venous plexus ทางดา นขางของชองอพิ ดิ ูรัล ไมพ บเสน เลอื ดดําทางดานหลงั ของชองอพิ ิดรู ัลยกเวน ระดบั L5-S1
5ขอ บง ชข้ี องการทาํ spinal anesthesia (3-5) โดยสวใหญมักใชใ นกรณที ่ีตองการระงับใชสําหรบั การผา ตดั ที่ตอ งการระดบั การระงับความรสู ึกความรสู กึ สาํ หรบการการผา ตดั ระดบั ตํา่ กวา เสนประสาทไขสันหลังสวนอกลาํ ดับท่ี 4 (T4) ขอ หามAbsolute contraindications1. ผปู ว ยปฏเิ สธการระงับความรูสึกวธิ นี ้ี2. มีการตดิ เช้อื ของผวิ หนงั บรเิ วณทจ่ี ะแทงเข็ม เพราะอาจเกิดการติดเชือ้ ของเยอ่ื หมุ ไขสันหลงั (meningitis)ได3. แพย าชาทจี่ ะใชสาหรบั การสกดั กั้นเสนประสาท4. ความดนั ในกะโหลกศรี ษะสงู เพราะอาจกอใหเ กดิ brainstem herniation ได5. ผูป วยไมส ามารถอยูน ง่ิ ๆ ระหวา งการทา spinal anesthesiaRelative contraindications เปนขอหามที่ตองพจิ ารณาช่งั นา หนกั ระหวางประโยชนแ ละโทษทีอ่ าจเกิดขึน้ 1. ความผิดปกติของการแขง็ ตวั ของเลอื ด (6) การทาํ spinal anesthesia ในผูป วยที่ไดรับยาปองกันภาวะล่มิ เลอื ดอุดตัน (thromboprophylaxis)ซ่ึงตาม guideline ของ American Society of regional Anesthesia and Pain Medicine ป ค.ศ. 2016ไดแนะนาระยะเวลาในการหยุดยาละลายลม่ิ เลือดกอนทําหัตถการและเวลาในการกลบั มาเรม่ิ ใหยาละลายล่ิมเลือดหลงั การผา ตัดไวอ ยา งชดั เจน เชน ผูปว ยทีไ่ ดร บั ยา low molecular weight heparin ขนาดปองกนั ท่ีไดรบั ยาเพียงครงั้ เดยี วตอ วนั (prophylactic single-daily dose) ควรหยุดยาอยา งนอย 12 ชวั่ โมงกอนการแทงเขม็ โดยแนะนาใหกลบั มาเรมิ่ ใหย าอกี คร้งั ทเ่ี วลา 4 ชว่ั โมงหลงั การผาตดั สวนปว ยทไ่ี ดรับยา lowmolecular weight heparin ขนาดทใ่ี ชร ักษา2 คร้ังตอวนั ควรหยดุ ยาอยา งนอ ย 48 ชว่ั โมงกอนการแทงเขม็โดยแนะนาใหก ลบั มาเร่ิมใหยาอกี คร้ังทเ่ี วลา 6 ชว่ั โมงหลงั การผาตัด เปน ตน 2. ภาวะ hypovolemia หรือ hypovolemic shock ทงั้ ทเี่ กิดจากการไดรับสารนา ไมเ พยี งพอกอ นการผาตดั หากทาํ spinal anesthesiaความดนั เลอื ดมีแนวโนมจะลดลงมากขน้ึ จากผลของการขยายตัวของหลอดเลือดแดงและหลอดเลอื ดดํา ทาํ ใหก ารลดลงอยางรวดเร็วของSystemic vascular resistance 3. โรคหัวใจชนิด aortic stenosis ซึง่ มี cardiac output ทค่ี งท่ี 4. ความผิดปกตขิ องระบบประสาทอยูเดิม (preexisting neurological deficit) เชน โรคmyelopathy การทาํ spinal anesthesia อาจเพม่ิ ความเสี่ยงตอการเกิดภาวะแทรกซอนตอระบบประสาทในผปู วยกลุมนี้ 5. โรคทางระบบประสาทและความผิดปกตขิ องกระดูกสันหลงัโรค multiple sclerosis มคี วามไว (sensitive) ตอ ยาชา จึงอาจมรี ะยะเวลาในการออกฤทธข์ิ องยาท่ีนานขนึ้
6สวนผูปวยทเ่ี คยไดรบั การผา ตัดบริเวณกระดูกสันหลงั มากอ น การทํา spinal anesthesia ไมเ พิม่ ความเสีย่ งตอการเกดิ ภาวะแทรกซอ นตอระบบประสาทแตเพิ่มความยากในการทาหตั ถการเนื่องจากลกั ษณะทางกายวิภาคที่เปลีย่ นแปลงไปและมีสิ่งกีดขวางการแทงเข็ม ไดแก พงั ผดื อุปกรณยดึ กระดกู หรือ bone graft 6. Systemic infection ไมพบความสัมพนั ธของการทําspinal anesthesia กับการตดิ เช้อื ทเี่ ย่อื หมุ ไขสันหลัง (meningitis) หรือ epidural abscess ในผูปว ยทมี่ กี ารตดิ เช้อื ในกระแสเลือด อยา งไรกต็ ามหากผูปวยไดรับยาปฏชิ ีวนะและมกี ารตอบสนองตอ ยาแลวนาจะกอใหเ กดิ ความปลอดภัยมากข้ึน (7) การเตรยี มผูปว ยและอุปกรณส าหรับการทาํ spinal anesthesia 1.ใหขอมลู แกผปู วยเรื่องประโยชน ผลขา งเคียงและภาวะแทรกซอ นที่อาจเกดิ ขน้ึ ข้นั ตอนการทําหัตถการและการดแู ลตวั เองหลงั ผาตดั 2. ตดิ อปุ กรณเฝาระวังระหวา งและหลงั ทาหัตถการ ไดแก เคร่อื งวดั ความดันเลือด คลน่ื ไฟฟา หวั ใจอตั ราการเตนของหวั ใจ และเครอื่ งวัดระดบั ความเขม ขน ของออกซิเจนในเลอื ด 3. เตรยี มอปุ กรณแ ละยา สําหรบั การทาํ spinal anesthesia ไดแก ชุดเครอ่ื งมือสําหรบั การทาํ spinalanesthesia ท่ีปลอดเชือ้ , เข็มสาหรบั ฉดี ยาทางชองไขสันหลัง (spinal needle), ยาชา lidocaine สาํ หรับฉดีระงบั ความรสู กึ บริเวณผวิ หนัง, ยาชา bupivacaine สาหรบั ทา spinal anesthesia, เขม็ และ syringe สาหรบัดดู ยาชา 4. เตรยี มอุปกรณและยา สาํ หรับปอ งกนั และรักษาอาการขางเคียงหรอื ภาวะแทรกซอ นตา งๆ ไดแก สารน้ํา crystalloid, อปุ กรณสาหรับใหออกซเิ จน, อปุ กรณช ว ยหายใจ, อปุ กรณสาหรบั ใสท อ ชว ยหายใจ, ยาสาหรับชว ยชีวิต ไดแก vasopressor, atropine และ epinephrine เปน ตน , ยาระงับอาการชัก เชน thiopentalหรอื diazepam และยาหยอนกลา มเนอื้ succinylcholine การจดั ทา ผูป ว ยระหวางการฉดี ยาชาเขา ทางชอ งไขสันหลงั การทาํ spinal anesthesia ตอ งแทงเขม็ บริเวณหลังของผปู วย จงึ มีทาท่สี ามารถทาได 3 ทา ไดแ ก ทานอนตะแคง (lateral decubitus position) ทา นง่ั (sitting position) และทา นอนควา (prone jackknifepositon) โดยการจัดทาผูป ว ยใหดีมผี ลตอความสาํ เร็จของการฉดี ยาชาเขา ทางชองไขสนั หลงั การจดั ทา ผูป วยในทา นอนตะแคง เปน ทาทีน่ ยิ มมากที่สดุ การจัดทา ควรจัดใหหลงั ของผูปวยอยูทขี่ อบของเตียงและตงั้ ฉากกบัเตียง ใหผ ูปว ยกม ศรี ษะและงอเขาใหชดิ หนาอกเพือ่ เปด ชองระหวาง spinout process ของกระดกู สันหลังซ่ึงทาใหข นาดของ interlaminar foramen กวางขึน้ ดว ย สาํ หรบั การจัดทา อนื่ ๆ มกั เลอื กใชในสถานการณเฉพาะเชน การจัดทา น่ังมกั ทาํ ในกรณผี ูปว ยอวน เนือ่ งจากจะสามารถคลาํ หาแนวกระดูกสันหลงั เพ่ือระบตุ าแหนงmidline ไดงา ยกวา ทานอนตะแคง สวนในกรณที ตี่ องการใหระดับของการระงับความรสู ึกอยเู ฉพาะท่ีบรเิ วณกน (saddle block) สามารถทาํ ไดโดยการเลือกทาํ spinal anesthesia ในทานัง่ และเลือกใชยาชาชนิดhyperbaric หรือหากระหวางการผา ตดั ตองการจัดทา prone jackknife position อยแู ลว อาจทํา spinalanesthesia ในทานอนควาและเลือกใชยาชาชนดิ hypobaric เปน ตน
7 เข็มสําหรบั ฉดี ยาทางชอ งไขสนั หลงั (spinal needle)(3-5) แบงออกเปน 2 ชนิดตามลักษณะของปลายเขม็ ดังนี้ 1. เขม็ ปลายดนิ สอ (pencil-point tip) มรี ูเปดของเขม็ ทด่ี า นขา งของปลายเขม็ ดงั แสดงในรปู ท่ี 6B, 6Cระหวา งแทงเข็มผทู าจะสามารถรับรูความรูส ึกสัมผสั ของความตานทานทเ่ี ปลย่ี นแปลงไดดี แตอาจตองออกแรงมากขึ้นในการแทงเข็มเพ่อื ใหท ะลุผานโครงสรา งตางๆ 2. เข็มปลายตดั (bevel tip) มปี ลายเข็มท่ีแหลม และมรี ูเปดที่ปลายเข็ม ดงั แสดงในรปู ท่ี 6A, 6D เข็มสามารถทะลผุ านโครงสรางตา งๆ ไดดีขนาดของเข็มสาหรับฉดี ยาทางชอ งไขสันหลังมตี ั้งแต 18 gauge ถงึ 29 gauge การใชเ ข็มขนาดใหญม ีความสัมพันธกับการเกดิ ภาวะ post-dural puncture headache (PDPH) มากกวา การใชเขม็ ขนาดเล็กสว นประกอบหนง่ึ ท่สี าคัญของเข็มสาหรับฉดี ยาทางชองไขสันหลงั ไดแกแ ทงแกนกลางท่ีใสไ วป ดรขู องเขม็(stylet) ซงึ่ สามารถถอดออกได การใส stylet ไวภ ายในเขม็ ระหวา งการแทงเข็มชว ยปอ งกนั การอุดตนั ของรูเขม็ ดว ยผิวหนงั ไขมนั หรอื เลือด และปองกันการนาผวิ หนังเขา ไปในชอ ง epidural space หรอืsubarachnoid space ซ่ึงอาจกอ ใหเกดิ dermoid tumor ได การแทงเขม็ เขา หา (approach) ชอ ง subarachnoid space (3-5) การทํา spinal anesthesia ทาไดโดยการแทงเข็มผา นทางรู interlaminar foramen ท่ีอยทู างดา นหลงัของกระดกู สันหลงั และฉีดยาชาเมอื่ ปลายเข็มอยใู นชอง subarachnoid space ซง่ึ ทําได 3 approach ดงั นี้ 1. Midline approach: การแทงเขม็ ระหวา ง spinous process ในแนว midline ทําไดโ ดยแทงเข็มตัง้ฉากกบั หลงั ของผปู ว ย หรอื แทงเขม็ ทามมุ 10-15 องศาไปทางศีรษะของผปู ว ย (cephalad) เขม็ จะผานชั้นผวิ หนัง, ชัน้ ใตผิวหนงั , supraspinous ligament, interspinous ligament, ligamentum flavum,epidural space, เยือ่ หุมไขสนั หลงั ชนั้ dura mater และ arachnoid mater 2. Paramedian approach: เปนวธิ ีที่เลอื กใชในกรณที ไ่ี มส ามารถแทงเขม็ เขาหา interlaminarforamen ผา นทาง midline ได เชน ผูปว ยไมสามารถจดั ทางอตัวไดห รอื มีหนิ ปนู เกาะที่ interspinousligament ดงั แสดงในรปู ท่ี 3 ทําโดยวัดระยะดานขา ง 1 ซม.จากแนว midline โดยปลายเข็มทาํ มุมประมาณ15 องศา สmู idline 3. Lumbosacral (or Taylor) approach: เปนการเขาหาชอ ง subarachnoid space ดว ยวิธีparamedian approach ที่ระดบั ระหวางกระดกู สันหลงั สว นเอวลาดับที่ 5 (L5) กับกระดกู สนั หลงั สวนใตกระเบนเหน็บลาดบั ท่ี 1 (S1) ซง่ึ เปน ชอ ง interlaminar space ทก่ี วางทีส่ ดุ เทคนิคนีส้ ามารถทาไดในทา นอนตะแคง ทานั่ง หรอื ทานอนควา landmark ของ approach นี้ คือปุมกระดกู posterior superior iliac spine(PSIS) ดงั แสดงในรปู ท่ี4
8รูปท3ี่ แสดงการแทงเข็มแบบ Paramedian approach(3) รูปท4่ี แสดงการแทงเข็มแบบ Taylor approach(8)
9 การกระจายของยาชาภายในชอง subarachnoid space และความสงู ของการสกัดกัน้ ไขสันหลัง(block height) (3-5)แบงออกเปน 3 ปจจัย ไดแ ก ปจ จยั ดานยาชา ปจจัยดา นผปู วย และปจ จัยจากเทคนคิ การทาํ spinalanesthesia1. ปจ จยั ดานยาชา (drug factors)(4)ไดแ ก ปรมิ าณ baricity ปริมาตร ความเขมขน และอุณหภูมขิ องยาชาทัง้ นป้ี จ จัยท่มี ีความสาคญั มาก คอื ปริมาณยาชาและ baricity ของยาชาซ่งึ เปนอัตราสว นของความหนาแนน(density) ของยาชาเปรียบเทยี บกับความหนาแนนของนาไขสนั หลงั ที่อุณหภูมิรางกายหรอื 37 องศาเซลเซยี สความหนาแนนของนาไขสันหลงั มีคาเฉล่ียเทา กบั 1.0003 ± 0.0003 กรมั /ลิตร ยาชาชนดิ isobaric มีความหนาแนน เทา กับหรอื ใกลเคยี งความหนาแนน ของนา ไขสันหลงั ในขณะท่ยี าชาชนิด hyperbaric มีความหนาแนน มากกวา 1.0015 กรมั /ลิตร และและ hypobaricมีความหนาแนน นอ ยกวา 0.9990 กรมั /ลติ ร ความหนาแนนของนาไขสันหลังตามลาดับ การเพ่ิมหรอื ลดความหนาแนน ของยาชาทําไดโ ดยการผสมสารละลายท่มี ีความหนาแนน มาก ไดแ ก 5%-8% dextrose หรอื สารละลายทีไ่ มม คี วามหนาแนน ไดแก sterile water2. ปจจยั ดา นผปู วย (patient factors) (3-5) แบงออกเปน ลกั ษณะทางกายภาพของผูปว ย ไดแก ความสูงนาหนัก อายุ และเพศ และคณุ สมบตั ิของนาไขสันหลงั ไดแก ปริมาตร และความหนาแนน2.1 ลกั ษณะทางกายภาพของผปู ว ยความสงู และนํา้ หนักในผใู หญท่มี ีขนาดรางกายในเกณฑมาตรฐานไมมผี ลตอ การกระจายของยาชาในชองไขสันหลัง ผูสงู อายุ (advanced age) มคี วามสมั พนั ธก ับระดบั ความสูงของการสกดั กั้นไขสนั หลงั ทีม่ ากเนอ่ื งจากผูสูงอายุมีปริมาตรของนา ไขสนั หลังนอยและเสน ประสาทตอบสนองไวตอยาชา เพศมผี ลตอการกระจายของยาชาในชอ งไขสันหลงั เลก็ นอ ย โดยผูชายมคี วามหนาแนน ของนา ไขสนั หลังมากทาใหค าสัมพัทธของ baricity ของยาชาลดลงจึงมีการกระจายของยาชาลดลง และจากลกั ษณะไหลท ี่กวางกวาสะโพกของผชู ายพบวา เม่ือผชู ายอยูใ นทา นอนตะแคงแนวของกระดูกสันหลงั จะเอียงในลกั ษณะหวั สงู เลก็ นอ ยจึงอาจจากดั ความสงู ของการสกดั กัน้ ไขสันหลัง ในทางกลับกนั กบั ผหู ญิงซงึ่ มีชวงสะโพกทก่ี วางกวาไหล เมอื่ นอนตะแคง พบวาแนวของกระดูกสันหลังจะเอียงในลกั ษณะหวั ตาเล็กนอ ย2.2 คณุ สมบัตขิ องนา ไขสันหลงัปรมิ าตรของนา ไขสนั หลงั ระดับเอว (lumbar CSF volume) เปนปจ จัยทมี่ ผี ลตอ ความสงู ของการสกดักนั้ ไขสนั หลังโดยปรมิ าตรของนาไขสนั หลังมคี วามสมั พนั ธก ับนาหนักตัว ในกรณีท่ผี ปู ว ยอว นพบวามีการเพิ่มของไขมันในชัน้ เหนอื ดูรา (epidural fat) ซึง่ สงผลทาใหปริมาตรของนา ไขสันหลงั ลดลงทาใหย าชากระจายตวัในชอ งไขสนั หลงั สูงขน้ึ ความหนาแนนของน้ําไขสนั หลงั ของแตล ะคนมคี วามตางกนั ขึ้นอยกู บั เพศและการตง้ั ครรภ โดยผูหญิงมีความหนาแนน ของนา ไขสันหลังนอยกวาผชู าย สว นผูหญงิ ต้งั ครรภมีความหนาแนน ของนาไขสนั หลังนอ ยกวาผูหญิงที่ไมต้ังครรภ ท้งั นคี้ วามหนาแนน ของนา ไขสันหลังทีน่ อ ยลงอาจทาใหคา ความหนาแนน ของยาชาชนดิ isobaric มีคามากกวา คาความหนาแนนของนา ไขสนั หลงั นน่ั คอื ยาชาอาจมคี ุณสมบัติคลายยาชาชนิด hyperbaric ในผูป ว ยกลุมนี้ อยางไรกต็ ามปจ จยั นไี้ มมีผลทางคลนิ กิ ทีช่ ัดเจน
103. ปจจัยจากเทคนิคการทาํ spinal anesthesia (procedural factors) โดยการวภิ าคของกระดกู สนั หลงัในทานอนหงายจะพบวา ระดับตํา่ สุดของไขสนั หลงั จะอยรู ะหวาง กระดกู ทรวงอกขอที่ 5ถงึ 7 (T5-T7) และสงู สดุ ทร่ี ะหวา งกระดูกเอวขอที่2 ถงึ 4 (L2-L4)(5) ซึง่ มีผลตอ การกระจายของยาชาชนิดhyperbaricทาํ ใหการจดัทา ของผูป ว ยหลงั การฉดี ยาชาเปนปจจยัท่ีมีอทิ ธพิ ลมากทส่ี ดุ ตอ การ กระจายของยาชาในชองไขสนัหลัง การเปลย่ี นแปลงทางสรีระวิทยาซ่งึ เปน ผลจากการทา spinal anesthesia (3-5)ผลตอระบบประสาท (Neurophysiology) เสน ประสาท (nerve fiber) แตล ะชนิดมีความไวในการตอบสนองตอการออกฤทธขิ์ องยาชาแตกตา งกัน(differential block) โดยยาชาทีม่ ีความเขมขน นอ ยสามารถสกัดก้ันเสนประสาท sympathetic ได ในขณะท่ีการสกัดกัน้ เสน ประสาทรบั รูความรูสึกปวด เสนประสาทรบั รูความรสู ึกสมั ผัส และเสน ประสาทสง่ั การ ตอ งการยาชาที่มคี วามเขม ขนมากขน้ึ ตามลาดบั นน่ั คอื เสน ประสาททีม่ ีขนาดเล็กมคี วามไวตอการออกฤทธิ์ของยาชามากกวา อยา งไรก็ตามการที่เสน ประสาทแตละชนดิ มคี วามไวตอ การถกู สกัดก้นั ดวยยาชาไมเ ทา กนั นนั้ ยงั ขนึ้ อยูกับปจจัยอื่นๆ เชน การมีหรือไมมี myelin sheath หอ หุม เปนตน นอกจากน้ีความสงู ของการสกัดกั้นเสนประสาทแตล ะชนดิ ก็แตกตางกนั โดยระดับของการสกัดก้ันเสนประสาท sympathetic สงู กวา เสนประสาทรบั รูความรสู กึ ประมาณ 2-6 dermatomes และระดบั ของการสกดั ก้นั เสนประสาทรับรคู วามรูสึกสงู กวาเสนประสาทส่ังการประมาณ 2-3 dermatomes ท้ังนี้เกิดจากความเขมขนของยาชาลดลงเร่ือยๆ ที่ระดบั ไขสนัหลังท่สี งู ขึ้นผลตอระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular physiology) กลไกการออกฤทธหิ์ ลกั ทสี่ งผลตอ ระบบหัวใจและหลอดเลอื ด คอื การสกดั ก้นั เสน ประสาทsympathetic ซ่งึ สง ผลใหเกดิ การลดลงของความดันเลอื ดรอยละ 30-40 และการลดลงของอัตราการเตนของหัวใจรอยละ 10-15 1. การลดลงของความดนั เลือด เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดา สง ผลใหม ีการลดลงของ total peripheral resistance และ cardiac output (จาก venous return ทล่ี ดลง) โดยความเสยี่ งของการเกิดภาวะความดันเลอื ดตา ไดแ ก ผูปวยทีม่ ีภาวะ hypovolemia กอนผาตดั การไดร ับการระงับความรูสึกท่วั รา งกายรวมกบั การทา spinal anesthesia และ คนอว น 2. การลดลงของอตั ราการเตนของหัวใจ มกั มีสมั พันธกับระดบั ความสงู ของการสกดั กั้นไขสนั หลังทีส่ ูง(high spinal block) โดยเกดิ ไดจาก 2 กลไก ไดแก2.1 การสกดั กน้ั เสนประสาท sympathetic ท่เี รงจงั หวะการเตนของหวั ใจ (sympatheticcardioaccelerator fibers) ซึ่งเกิดเม่ือความสูงของการสกัดกัน้ ไขสนั หลังสงู กวาระดบั เสนประสาทไขสันหลงัสวนอกลาดับท่ี 1 (T1) เนอื่ งจากเสน ประสาท sympathetic ดังกลาวน้มี ีตน กาเนดิ มาจากเสน ประสาทไขสันหลงั สว นอกลาดับที่ 1-4 (T1-T4)2.2 การลดลงของการยืดตัวของผนงั หัวใจจาก venous return ทลี่ ดลง สงผลใหเกิดการกระตนุ ของintracardiac stretch receptor ทอ่ี ยูบริเวณผนงั หัวใจหอ งลางซา ยลดลง และกอ ใหเ กิดการลดลงของอตั รา
11การเตนของหัวใจจากผลของ Bezold-Jarisch reflex ความเสยี่ งตอ การลดลงของอัตราการเตนของหัวใจไดแก อายุนอ ยกวา 50 ป, ASA classification I หรอื ผปู วยท่มี ีสขุ ภาพแขง็ แรง และการไดร บั ยา beta-blocker 21ผลตอ ระบบหายใจ (Respiratory physiology) ในผูปวยท่ไี มมโี รคของระบบหายใจ การทา spinal anesthesia ทีม่ ีระดับความสูงของการสกดั กั้นไขสนัหลงั ระดบั midthoracic level มผี ลตอ การทํางานของระบบหายใจคอนขางนอย โดย lung volume,minute ventilation, dead space และ shunt fraction ไมม กี ารเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กนอย ระดับของการสกัดก้ันไขสันหลงั ทีส่ งู (high spinal block) สงผลใหกลามเนือ้ ที่ชวยในการหายใจไดแก intercostal muscle และ abdominal muscle ออ นแรง ทาํ ใหผูปวยสญู เสียความสามารถในการไอคอื มีการลดลงของ expiratory reserve volume และ peak expiratory flow ดงั น้ันตอ งระมัดระวัง ในผูปวยโรคถงุ ลมโปงพองและผูปวยท่พี ึงพากลามเน้ือที่ชวยในการหายใจเพอ่ื maintain ventilation หรือระบายเสมหะดว ยการไอผลตอ ระบบทางเดนิ อาหาร (Gastrointestinal physiology) อวัยวะในชองทองไดรับการเล้ยี งดว ยเสนประสาท sympathetic จากเสน ประสาทไขสันหลงั สวนอกลาดบั ที่ 6 ถึงเสนประสาทไขสันหลงั สวนเอวลาดบั ท่ี 2 (T6-L2) การทาํ spinal anesthesia สงผลใหการทางานของเสน ประสาท parasympathetic เดน ขึน้ ทําใหการบีบตัวของลําไสเพิ่มข้ึนผลตอ ระบบตอ มไรท อ และการเผาผลาญ (Endocrine-Metabolic physiology) ระบบ endocrine และ metabolic มกี ารตอบสนองตอ ภาวะ stress จากการผา ตัด (surgical stressresponse) โดยมีการเพมิ่ ขึน้ ของ protein catabolism และ oxygen consumption รวมถงึ มีการเพิ่มข้ึนของสารตางๆ เชน catecholamines, growth hormone และ glucose เปนตน การทาํ spinal anesthesiaเปน การสกดั ก้นั การสง ขอมลู เขาสรู ะบบประสาทสวนกลาง (afferent sensory information) ทาใหรางกายไมรับรูถ งึ ภาวะ stress จากการผา ตัดและยบั ย้งั การเปล่ยี นแปลงของระบบ endocrine และ metabolicดงั กลาวไดภาวะแทรกซอนจากการฉดี ยาชาเขา ทางชองไขสันหลงัภาวะแทรกซอนทีอ่ าจเกิดขึ้นอาจเปน เพียงอาการหรอื อาการแสดงทีไ่ มกอใหเกดิ อนั ตราย หรอื อาจมคี วามรนุ แรงมากถึงข้ันเสียชวี ิตได 1. ภาวะแทรกซอ นตอ ระบบประสาท1.1 การบาดเจบ็ ตอ เสน ประสาท (nerve injury) มีรายงานอุบตั กิ ารณป ระมาณ 1:100,000 นอกจากนภ้ี าวะparaplegia ยงั อาจเกิดจาก anterior spinal artery syndrome หรือการขาดเลอื ด (ischemia) ไปเล้ียงบริเวณสวนหนา ของไขสนั หลงั ซึง่ เลีย้ งดวยหลอดเลอื ดแดง Adamkiewicz เพียงเสน เดยี ว การลดลงของความดันเลือดอยา งมากหลังการทา spinal anesthesia อาจทาใหเ กดิ ภาวะนี้ โดยผปู วยมกั มอี าการออ นแรงและชาขาท้ัง 2 ขา ง ในขณะทย่ี งั มี proprioception เปนปกติ
121.2 Cauda equina syndrome มอี บุ ัตกิ ารณป ระมาณ 1:100,000 ภาวะน้มี ีความสัมพนั ธก ับการที่เสนประสาท cauda equina หรอื lumbosacral nerve root สมั ผัสกับยาชาท่ีมีความเขม ขน สูงหรือสัมผัสกบั ยาชาเปน ระยะเวลานานจากการใหยาชาอยา งตอ เน่ืองในชอง subarachnoid space1.3 Transient neurological symptom (หรือในอดตี เรยี กวา Transient radicular irritation) ผปู วยมีอาการปวดบรเิ วณกนรา วลงขาขางใดขางหน่ึงหรอื ทง้ั 2 ขา ง มกั เกดิ ขึ้นในชว ง 24 ชว่ั โมงแรกหลงั การทาspinal anesthesia และอาการจะหายไดเ องโดยไมม ีความผดิ ปกติทางระบบประสาทหลงเหลอื อยภู ายใน 72ชวั่ โมงถงึ 1 สปั ดาห ภาวะนี้พบไดห ลงั จากการทา spinal anesthesia ดว ยยาชาทุกชนิด แตเ กิดขน้ึ บอยหลงั จากการใชย าชา lidocaine โดยเฉพาะเมอ่ื ใชยาชาความเขมขน สงู หรือมกี ารผสมยา epinephrine รว มกบัยาชา1.4 Epidural hematoma และ spinal hematoma (9) การทมี่ ีเลอื ดออกภายในชอง vertebral canal อาจกอ ใหเกิดกอนเลือดกดทบั ไขสันหลงั ภาวะนีม้ ีอบุ ัตกิ ารณป ระมาณ 0.6:100,000 มกั เกดิ ใน24 ชม.หลงั ทาํหัตถการ
13ผูปว ยมกั มอี าการปวดหลังแบบ radicular back pain รวมกับการตรวจพบอาการออ นแรงหรอื ชาของขาซ่ึงนานเกินกวาระยะเวลาออกฤทธิข์ องยาชา หรอื อาจมี bowel-bladder dysfunction รว มดวย หากตรวจพบอาการดงั กลาวและสงสยั ภาวะน้ี ตองสง ตรวจ magnetic resonance imaging และปรกึ ษาศลั ยแพทยอยางเรงดว น1.5 Post-dural puncture headache (PDPH)(10) เปนภาวะท่ีพบไดบ อ ย เกดิ จากการสญู เสยี นา ไขสันหลงัออกทางเยอ่ื หุมไขสันหลังชัน้ dura mater ทเี่ ปน รจู ากการแทงเขม็ หลังจากการทา spinal anesthesia หรอืlumbar puncture ผูป ว ยจะมอี าการปวดหวั บริเวณ frontal หรอื occipital ซ่ึงเปน ผลจากการดึงรง้ั ของโครงสรา งในกะโหลกศรี ษะ หรอื จากการขยายตัวของหลอดเลอื ดในกะโหลกศีรษะเพื่อชดเชยการลดลงของความดนั ในกะโหลกศรี ษะ โดยอาการปวดหัวมลี กั ษณะจาเพาะ คอื มอี าการรุนแรงเมอื่ ผูป ว ยอยใู นทา ยืนหรอืนั่ง และอาการบรรเทาลงเมอื่ ผูป วยอยใู นทา นอนราบ อาการรวมอ่นื ๆ ไดแก คลน่ื ไส อาเจียน ปวดตน คอ เวียนศรี ษะ ไดย ินเสยี งในหู เหน็ ภาพซอ น cranial nerve palsy หรอื ชกั เปน ตน อาการดังกลาวมักเกิดขนึ้ ในชว ง48-72 ช่ัวโมงหลังหตั ถการ และสวนใหญมกั หายไดเ องภายใน 7 วนั ปจจัยที่เพม่ิ ความเสีย่ งตอ การเกิด PDPH ไดแ ก1. ชนิดของเข็มสาหรับฉีดยาทางชองไขสันหลงั- เข็มปลายดินสอกอ ใหเ กดิ PDPH นอยกวาเข็มปลายตดั2. ทศิ ทางของปลายเขม็ ขณะแทงผานเยื่อหุมไขสนั หลงั ชน้ั dura mater- การแทงใหปลายเขม็ อยใู นแนวขนานกับ longitudinal fiber ของเยอื่ หมุ ไขสนั หลังกอใหเกิด PDPH นอยกวาการตดั ขวางผานเยือ่ หมุ ไขสนั หลัง3. ขนาดของเข็มสาหรับฉดี ยาทางชอ งไขสนั หลัง- เขม็ ขนาดเล็กกอ ใหเ กดิ PDPH นอยกวา4. จานวนคร้งั ในการแทงเขม็ ผา นเยื่อหุมไขสันหลังชัน้ dura mater- การแทงผา นเยื่อหุมไขสันหลงั หลายครั้งกอ ใหเ กิด PDPH มากกวา5. ปจจัยดา นผปู วย ไดแ ก เพศหญิง อายุนอ ย การตงั้ ครรภ เพ่มิ ความเส่ยี งตอ การเกดิ PDPH 25ปจจัยทไ่ี มสัมพนั ธกับการเพม่ิ ความเสยี่ งตอการเกดิ PDPH ไดแ ก การใสสายในชอง subarachnoid spaceและระยะเวลาที่ผูปวยลุกนัง่ หรือยนื หลงั จากการทา spinal anesthesia หรือ lumbar punctureการรกั ษาภาวะ PDPH อาจเร่มิ ตนจากการรกั ษาแบบ conservative ไดแ ก การใหผ ปู วยนอนราบ การใหส ารนาเพอ่ื เพ่ิมการสรา ง CSF และการใหย าเพื่อลดอาการปวดศีรษะ เชน NSIADs, caffeine, sumatriptan เปนตน หากอาการไมดขี นึ้ หลงั จากการรักษาเบือ้ งตน การทา epidural blood patch หรือการปด รูของเยอ่ื หุมไขสนั หลังชนั้ dura โดยการใสเลอื ดของผปู ว ยเขา สชู น้ั เหนอื dura เปนการรักษาท่ีสาเหตุและใหผ ลการรกั ษาท่ีดี 2. ภาวะแทรกซอนตอระบบไหลเวยี นเลอื ด
142.1 Hypotension การปอ งกนั และรกั ษาการลดลงของความดันเลือดซง่ึ มีกลไกจากการขยายตวั ของหลอดเลือด ไดแก การใหสารนา กอ นและระหวางการทาหตั ถการโดยอาจใหเ ปนสารนาชนิด crystalloid หรอืcolloid ในปริมาณมากหรอื นอ ยตามแตร ะดบั ความสูงของการสกดั กั้นไขสันหลงั และการใหย า vasopressorตามความเหมาะสม2.2 Bradycardia เกิดจากระดบั ความสูงของการสกดั ก้นั ไขสันหลงั ท่ีสูงเกนิ ไป รว มกับความดันเลอื ดทล่ี ดลง จึงควรพจิ ารณาใหก ารรกั ษาดว ยยา atropine, vasopressor และใหสารนาตามความเหมาะสม2.3 Total spinal anesthesia เกดิ จากการกระจายของยาชาทสี่ ูงเกนิ ไปจนสกดั กน้ั ไขสันหลงั ทัง้ หมดและอาจมีการสกดั ก้ันบริเวณกานสมอง (brainstem) ดว ย ทาใหความดนั เลือดลดลงอยา งมาก (profoundhypotension) อัตราการเตน ของหัวใจลดลง และหยุดหายใจเนอื่ งจากกลามเน้ือทีใ่ ชใ นการหายใจออนแรง(paralysis) หรือสญู เสียการควบคุมการหายใจจากการกด respiratory center ซ่ึงอยูบ รเิ วณกานสมอง การรักษาไดแก การประคับประคองระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือดใหเปนปกติจนกวายาชาจะหมดฤทธิ์ 3. ภาวะแทรกซอ นอ่ืนๆ ไดแ ก อาการปวดหลงั อาการคล่นื ไสอาเจียน อาการตัวสนั่ (shivering) และภาวะ urinary retention เปนตน3.1 อาการปวดหลัง มกั มีอาการไมร นุ แรง พบไดประมาณรอยละ 10 หลงั การทา spinal anesthesia ทัง้ น้ยี ังไมทราบสาเหตชุ ัดเจน แตพบความสัมพนั ธก ับการบาดเจบ็ จากการแทงเขม็ หลายครั้ง การหดเกรง็ ของligament และระยะเวลาการผาตัดที่นาน3.2 อาการคลน่ื ไสอ าเจียน มสี าเหตุจากการลดลงของความดันเลอื ดทาใหเ ลอื ดไปเลีย้ งสมองลดลง การหดตวัของลาไสเ พ่มิ ขึ้นจากการทางานของเสน ประสาท parasympathetic ท่เี ดนข้ึน และการใหย ากลมุ opioid ทางชอ งไขสันหลังซงึ่ สามารถกระตุน chemoreceptor trigger zone โดยตรง3.3 อาการตัวสัน่ (shivering) พบไดค อนขา งบอย อาการตวั สนั่ เปน กลไกในการเพมิ่ การสรางความรอ น (heatproduction) ของรา งกายเพื่อชดเชยการสญู เสยี ความรอนจากการขยายตัวของหลอดเลือดหลังจากการทาspinal anesthesia ภาวะนสี้ ามารถปอ งกันไดโดยการใหค วามอบอุนดวยเครอ่ื งเปาลมอุน (forced airwarmer) อยา งนอ ย 15 นาทกี อ นทาหัตถการและหลกี เล่ยี งการใหย าหรอื สารนา ทเี่ ย็นแกผูปวย3.4 ภาวะ urinary retention เกิดจากการสกัดกั้นเสน ประสาทไขสนั หลังสว นใตก ระเบนเหนบ็ ลาดบั ท่ี 2-4(S2-S4) ซงึ่ ทาใหกลามเน้อื detrusor ออ นแรง อาการจะหายไดเ องเมอ่ื ยาชาหรือยา opioid ทใ่ี หท างชอ งไขสันหลงั หมดฤทธิ์ สรปุ การทํา spinal anesthesia เปนหัตถการทตี่ อ งใชความรทู างกายวภิ าค สรีระวิทยา และเภสัชวทิ ยาประกอบกับตอ งมีการฝก ฝนเพอ่ื เพมิ่ พนู ทักษะจึงจะเกดิ ความสาเรจ็ และปลอดภยั ตอ ผูปว ย ในกรณีท่ีการฉดี ยาชาเขาทางชอ งไขสันหลังทาไดยาก ปจจุบันมีการนาเคร่อื งคลน่ื เสียงความถี่สงู มาชว ยดลู กั ษณะทางกายวิภาคของกระดูกสันหลังเพ่ือเพิ่มความสาเรจ็ ในการทาหัตถการ สวนกรณีท่ตี องการหลกี เลีย่ งผลขา งเคียงจากการทาspinal anesthesia การระงับความรสู กึ เฉพาะสวนโดยการสกดั ก้นั เสนประสาทสว นปลาย (peripheralnerve block) เปน อีกทางเลอื กหนึ่งสาหรับการระงบั ความรูสกึ ระหวา งการผา ตัด
15เอกสารอางอิง1. Mandabach MG: Int Cong Ser 1242:163, 2002.2. Franco A, Diz JC: Curr Anaesth Crit Care 11(5):274, 2000.3. Brull R, Macfarlane AJR, Chan VWS. Spinal, epidural, and caudal anesthesia. In: Miller RD, Cohen NH,Eriksson LI, Fleisher LA, Wiener-Kronish JP, Young WL, editors. Miller's anesthesia. 8th ed. Philadelphia:Elsevier Saunders; 2015. p. 1684-720.4. Bernards CM, Hostetter LS. Epidural and spinal anesthesia. In: Barash PG, Cullen BF, Stoelting RK,Cahalan MK, Stock MC, Ortega R, editors. Clinical anesthesia. 7th ed. Philadelphia: Lippincott Williams &Wilkins; 2013. p. 905-33.5. Kleinman W, Mikhail M. Spinal, epidural, & caudal blocks. In: Butterworth JFt, Mackey DC, Wasnick JD,editors. Morgan & Mikhail's clinical anesthesiology. 5th ed. McGraw-Hill Education; 2013. p. 937-74.6. Horlocher TT et al. 4th ASRA Practice Advisory for Regional Anesthesia in the PatientReceivingAntithrombotic or Thrombolytic Therapy.American Society of regional Anesthesia and Pain MedicineEvidence Based Guidelines(third edition).Reg Anesth Pain Med 2010;35:64-1017. Wedel DJ, Horlocker TT. Regional anesthesia in the febrile or infected patient. Reg Anesth Pain Med.2006;31(4):324-33.8. Jindal P, Chopra G, Chaudhary A, Rizvi AA, Sharma JP Taylor's approach in an ankylosing spondylitispatient posted for percutaneous nephrolithotomy: A challenge for anesthesiologists.Saudi J Anaesth ;20099. Horlocker TT. Spinal hematoma. In: Atlee JL, editor. Complications in anesthesia. 2nd ed. Philadelphia:Saunders Elsevier; 2007. p. 235-8.10. Feuer MP, Liu SS. Spinal anesthesia: post-dural puncture headache. In: Atlee JL, editor. Complicationsin anesthesia. 2nd ed. Philadelphia: Saunders Elsevier; 2007. p. 223-6.
Search
Read the Text Version
- 1 - 15
Pages: