เส้นทางคมนาคมที่สำคัญ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงสายหลักที่เป็ นโครงข่ายเชื่อมระหว่างภาค จังหวัด อำเภอ ตลอด จนสถานที่สำคัญ ที่กรมทางหลวงเป็ นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุง รักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็ นทางหลวงแผ่นดิน โดยมีเลขตั้งแต่ 1-4 ตัว และละ ตัวเลขจะบอกเส้นทางสายของแต่ละภาค ทางหลวงสายที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 1 แสดงว่า ทางสายนั้นอยู่ในภาคเหนือ และบางส่วนของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข1 (ถนนพหลโยธิน) ทางหลวงสายที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 2 แสดงว่า ทางสายนั้นอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบางส่วนของภาคเหนือ และภาคกลาง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข2 (ถนนมิตรภาพ) ทางหลวงสายที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 3 แสดงว่า ทางสายนั้นอยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และบางส่วนของภาคใต้ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ทางหลวงสายที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 4 แสดงว่า ทางสายนั้นอยู่ในภาคใต้ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ที่มา https://shorturl.asia/lYSmK
แผนที่ทางหลวง ที่มา http://www.doh.go.th/content/page/page/8075
ผลต่อเศรษฐกิจประเทศไทย เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างภูมิภาคของประเทศ จังหวัด อำเภอ ตลอดจนสถานที่สำคัญ ต่าง ๆ ทำให้มีเส้นทางการเดินทางอย่างทั่วถึงมากขึ้น เพิ่มความคล่องตัวในการเดินทางขนส่ง เกิดการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อรองรับการ เติบโตทางด้านการท่องเที่ยว การเกษตร การค้าและการลงทุน พัฒนาโครงข่ายชนบทเข้าสู่พื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและใช้งานอย่างปลอดภัย พร้อม ทั้งส่งเสริมและสนับสนุนทางหลวงท้องถิ่น เพื่อความมั่นคงของประเทศ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของประเทศ ส่งเสริมให้ประเทศมีการ เติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลให้สังคม ชุมชนประชาชนมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถเดินทางอย่างได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย สนับสนุนการขนส่งสินค้า อย่างเป็นระบบ ที่มา https://shorturl.asia/HvwYp ที่มา https://gnews.apps.go.th/news?news=104993
ถนนสายเศรษฐกิจ AEC GMS Economic Corridors หรือระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง คือเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองสำคัญใน 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region: GMS) ซึ่งประกอบด้วยไทย จีน (มณฑล ยูนนาน) เวียดนาม กัมพูชา ลาว และเมียนมา ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงถูกยกให้เป็นพื้นที่ ยุทธศาสตร์ด้านการค้า การลงทุน และการพัฒนาภูมิภาค ได้แก่ กำลังซื้ออันมหาศาล ของประชากรกว่า 250 ล้านคน มีพื้นที่รวมกัน 2.3 ล้านตารางกิโลเมตร เทียบได้กับ ขนาดทวีปยุโรปตะวันตก มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ และมีความได้เปรียบทางด้านที่ตั้ง ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ผลต่อเศรษฐกิจประเทศไทย เป็นเส้นทางคมนาคมสายสำคัญที่ช่วยสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศทั้งในและนอก ภูมิภาคอาเซียน GMS Economic Corridors ใช้เป็นเส้นทางสำหรับขนส่ง กระจายสินค้า ลำเลียงวัตถุดิบ อีกทั้งรองรับนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งทั้งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างประเทศ การอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตรวจปล่อยสินค้าในบริเวณเดียวกัน (Single Stop Inspection) และการ ตรวจสินค้าแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว การเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านเส้นทางสายเศรษฐกิจอาเซียน (GMS Economic Corridors) ซึ่งเป็นทั้งการเชื่อมโยงทางกายภาพ (Hardware Connectivity) และการเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบ (Software Connectivity) จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของไทยทั้งด้านการขนส่งและโลจิสติ กส์ เพิ่มช่องทางและโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยที่ลงทุนหรือกำลังหาลู่ทางลงทุนใน ประเทศเพื่อนบ้านให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ตามมาด้วยการกระจายรายได้และ ความเจริญของจังหวัดตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ อาทิ จังหวัดตาก พิษณุโลก ขอนแก่น และมุกดาหาร
ที่มา https://shorturl.asia/niE3G เส้นทางเศรษฐกิจสายอาเซียนหรือ GMS Economic Corridors แบ่งตาม ภูมิภาคออกเป็น 3 เส้นทางหลัก ๆ ได้แก่ แนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) เชื่อมโยงระหว่างไทย เมียนมา ลาว และจีน แนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) เชื่อมโยงระหว่างเวียดนาม ลาว ไทย และพม่า อาจเรียกได้ว่าเป็นเส้นทางเชื่อมโยง ระหว่างทะเลจีนใต้กับทะเลอันดามัน แนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) เชื่อม โยงระหว่างเมียนมา ไทย กัมพูชา และเวียดนาม
ASIAN Highway ทางหลวงสายเอเชีย โครงการทางหลวงเอเชียมีแนวคิดริเริ่มเมื่อปี พ.ศ.2502 โดย คณะกรรมาธิการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) ภายใต้องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการขนส่งทางถนนระหว่างประเทศในภูมิภาค เอเชีย การอำนวยความสะดวกในด้านการค้าระหว่างประเทศและการท่องเที่ยวการพัฒนา ทางหลวงเอเชียในประเทศไทย ประเทศ ไทยได้ให้ความร่วมมือในการพัฒนา ทางหลวงเอเชียอย่างเข้มแข็งมาโดยตลอด ความ ก้าวหน้าในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา (พ.ศ.2540- 2554) การดำเนินงานได้สัมฤทธิ์ผลทั้งในด้านการ วางโครงข่ายทางหลวงเอเชีย การกำหนดมาตรฐาน ทางหลวงเอเชีย และการติดตั้งป้ายหมายเลข ทางหลวงเอเชีย ประเทศไทยโดยกรมทางหลวงได้ ดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ อย่างสอดคล้องกับความ ตกลงระหว่างรัฐบาลว่าด้วยโครงข่ายทางหลวง เอเชีย ซึ่งได้มีการลงนามในปี 2547 แล้ว ที่มา https://shorturl.asia/hNik8 กรมทางหลวงได้เสนอทางหลวงในประเทศให้รวมอยู่ในโครงข่ายทางหลวงเอเชียโดยใช้หลัก เกณฑ์การคัดเลือกเส้นทางภายใต้โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางบก แห่งภูมิภาค เอเชีย ทั้งนี้ เส้นทางที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 1 หลัก เกณฑ์ 1. เส้นทางเชื่อมโยงระหว่างเมืองหลวงกับเมืองหลวงสำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ 2. เส้นทางเชื่อมโยงสู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม 3. เส้นทางเชื่อมโยงสู่ท่าเรือหลักที่สำคัญ 4. เส้นทางเชื่อมโยงสู่สถานีขนถ่ายสินค้าหลักที่สำคัญ
โครงข่ายทางหลวงเอเชียในประเทศไทย ทางหลวงเอเชียในประเทศไทย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ทางหลวงเอเชียสายหลัก ได้แก่ AH 1, AH 2 และ AH 3 และทางหลวงเอเชียสายรอง ได้แก่ AH 12, AH 13, AH 15, AH 16, AH 18 และ AH 19 รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 5,129 กิโลเมตร (ไม่รวมช่วงของสาย AH 1 และ AH 2 ที่ทับกันช่วงจังหวัดตาก ถึงแยกบางปะอิน ระยะ ทาง 370 กิโลเมตร) รายละเอียดสายทางของทางหลวงเอเชีย มีดังต่อไปนี้ ที่มา https://shorturl.asia/S8Txh 1. ทางหลวงเอเชียสาย AH 1: ชายแดนกัมพูชา – อรัญประเทศ - กรุงเทพฯ (แยก บางปะอิน) –นครสวรรค์ – ตาก – แม่สอด – สะพานมิตรภาพไทย – พม่า รวม 715.5 กม. ที่มา https://mgronline.com/columnist/detail/9610000049916
ที่มา https://shorturl.asia/Bxpz0 2. ทางหลวงเอเชียสาย AH 2: ด่านจังโหลน - อ.สะเดา – หาดใหญ่ – พัทลุง – ชุมพร – ประจวบคีรีขันธ์ – ปากท่อ - กรุงเทพฯ (แยกบางปะอิน) – นครสวรรค์ – ตาก – ลำปาง – เชียงราย – แม่สาย (ชายแดนพม่า) รวม 1,913.5 กม. ที่มา https://news.gimyong.com/article/4671
ที่มา https://shorturl.asia/Bxpz0 3. ทางหลวงเอเชียสาย AH 3: เชียงราย – เชียงของ (ชายแดนลาว – จีน) รวม 121 กม.
4. ทางหลวงเอเชียสาย AH 12: สะพานมิตรภาพไทย-ลาว – หนองคาย – นครราชสีมา – ขอนแก่น – สระบุรี – กรุงเทพฯ (แยกหินกอง) รวม 571.3 กม. 5. ทางหลวงเอเชียสาย AH 13: ห้วยโก๋น – น่าน – แพร่ – พิษณุโลก – นครสวรรค์ รวม 550.5 กม. 6. ทางหลวงเอเชียสาย AH 15: ชายแดนไทย-ลาว (นครพนม) – อุดรธานี รวม 248.6 กม. 7. ทางหลวงเอเชียสาย AH 16: ชายแดนไทย-ลาว (มุกดาหาร) – กาฬสินธุ์ – ขอนแก่น – พิษณุโลก – สุโขทัย – ตาก รวม 703.4 กม. 8. ทางหลวงเอเชียสาย AH 18: ชายแดนมาเลเซีย (อ.สุไหงโกลก) – อ.ตากใบ – นราธิวาส – ปัตตานี – อ.หนองจิก – อ.จะนะ – หาดใหญ่ รวม 311 กม. 9. ทางหลวงเอเชียสาย AH 19: นครราชสีมา – กบินทร์บุรี – อ.แปลงยาว – แหลมฉบัง – กรุงเทพฯรวม 364 กม. ผลต่อเศรษฐกิจประเทศไทย เป็นทางคมนาคมสำคัญ ทำให้ทางหลวงมีเส้นทางเชื่อมต่อกันข้ามทวีป รวมถึงเชื่อม ต่อกับทวีปยุโรปอีกด้วย ประชาชนในประเทศต่าง ๆ ก็จะสามารถเดินทางโดยรถยนต์ผ่าน ประเทศในเอเชีย และสามารถเข้าถึงประเทศในทวีปยุโรปได้ ทำให้การขนส่งสินค้า การหลั่ง ไหลของนักท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกในการเดินทาง เมื่อมองถึงยุทธศาสตร์ทางด้านกายภาพ จากการที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบในที่ ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่มีตำแหน่งอยู่ในจุดศูนย์กลางของประเทศสมาชิก จึงทำให้ประเทศไทยมี ศักยภาพอย่างยิ่งที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งของอาเซียนโดยเฉพาะการขนส่ง ทางถนน
Search
Read the Text Version
- 1 - 10
Pages: