วัฒนธรรมประเพณี ภาคใต้
ผู้จัดทำ เด็กหญิงปิยนุช คงกะพันธุ์
1 2-4 5 6 7-8
จั ง ห วั ด ใ น ภ า ค ใ ต้ 1 ภาคใต้ ดินแดนแห่งความหลากหลายทาง ประเพณีและวัฒนธรรมที่มีความน่าสนใจไม่น้อย ไปกว่าภาคอื่นของไทย เพราะเป็นเมืองที่เต็มไป ด้วยเสน่ห์มนต์ขลัง ชวนให้น่าขึ้นไปสัมผัสความ งดงามเหล่านี้ยิ่งนักภาคใต้มีทั้งสิ้น 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดพังงา จังหวัดพัทลุง จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง จังหวัดสตูล จังหวัด สงขลา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดยะลา
2 อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สืบ เนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของ พ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหาร ได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทย พื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลา ทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพ ภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพ อากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรส จัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
3 เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลากระบอก ปลาทู ปูทะเล กุ้ง หอย ซึ่งหาได้ในท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา นิยม ใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดู อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อ เสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า \"ข้าวยำ\" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหาร ทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลาหอยนางรม และกุ้ง มังกร เป็นต้น
วัฒนธรรมอาหารภาคใต้ 4 อาหารใต้ เช่น 1. คั่วกลิ้งหมู 4.แกงส้มหน่อไม้ดอง 2. หมูผัดกะปิ 5. ผักเหลียงผัดไข่ 3.แกงไตปลา 6.ขนมจีนน้ำยาปู
5 ลิเกป่า อีฉุด ฉับโผง ขว้างราว เพลงนา ลูกลม (กังหันลม) การเล่นทาย การชนวัว เพลงบอก หมากขุม ลิเกฮูลู
6 ประเพณีของภาคใต้ ประเพณีต่างๆ ในภาคใต้ ประเพณี ให้ทานไฟ ประเพณี สารทเดื อนสิ บ ประเพณีแห่ ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณี ลากพระ ประเพณี อาบน้ำคนแก่ ประเพณี สวดด้าน ประเพณีแห่ นางดาน ประเพณี กวนข้าวยาคู ประเพณี ยกขันหมากพระปฐม ประเพณี ตักบาตรธูปเที ยน
7 1. การค้นคว้าวิจัย ควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยใน ด้านต่างๆ ของท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูมิปัญญาที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต และ สภาพการณ์ในปัจจุบัน 2. การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่า แก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัด กิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคน ท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดง สภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจใน ชุมชนท้องถิ่นด้วย 3. การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไป แล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดย เฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม
8 4. การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับ ยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็น พื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 5. การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วย เหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทาง วัฒนธรรมต่างๆ 6. ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการ สืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทาง วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
บรรณานุกรม https://thailandbysai.wordpress.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8 %B2%E0%B8% 25/1/65 https://sites.google.com/site/xaharphunban4phakhkk/prawati- xahar-phun-meuxng-4-phakh/wathnthrrm-kar-rab-prathan-xahar- phakh-ti 25/1/65 http://www.prapayneethai.com/%E0%B8%81%E0%B8%B 2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80% 4/2/65 http://www.prapayneethai.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3% E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8% 4/2/65 https://sites.google.com/site/praphenikhxngthiy55/5-kar- xnuraks-prapheni-thiy
ประวัติส่วนตัว Piyanuch Kongkapan 34_ปิยนุช คงกะพันธุ์ _piyanuch_kk เป็นคนอื่นเป็นได้ไม่นาน แต่เป็นตัวของ ตัวเองเป็นได้ตลอดไป ปิยนุช คงกะพันธุ์ ชื่อเล่น กิ๊ฟ เกิดวันที่ 11 เดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ที่อยู่ บ้านเลขที่ 40 หมู่14 ต.นาบอน อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช อาชีพในฝัน : ผู้พิพากษา ระดับการศึกษา ระดับประถม : โรงเรีโรงเรียนบ้านคลองจัง ระดับมัธยม : โรงเรีโรงเรียนทุ่งสง
E-Book
Search
Read the Text Version
- 1 - 14
Pages: