Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความฉลาดทางดิจิทัล-DQ-Digital-Intelligence-Quotient

ความฉลาดทางดิจิทัล-DQ-Digital-Intelligence-Quotient

Published by ชลดา นิ่มน่วม, 2022-03-17 06:45:00

Description: ความฉลาดทางดิจิทัล-DQ-Digital-Intelligence-Quotient

Search

Read the Text Version

ค ว า ม ฉ ล า ด ท า ง ดิ จิ ทั ล (DQ : DIGITAL INTELLIGENCE QUOTIENT) ของคนรุ่นใหม่ในท ัศตวรรษที่ 21 จัดทำโดย : นางสาวชลดา นิ่มน่วม รหัสนักศึกษา 634186010 การศึกษาปฐมวัยปี 2 หมู่ 1

ก | ความฉลาดทางดิจิทัล คำนำ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยี PC62506 เพื่อให้ได้ศึกษาความรู้ในเรื่อง ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ : Digital Intelligence Quotient) ของคนรุ่นใหม่ในทัศตวรรษที่ 21 และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์แก่การเรียนการสอน ผู้จัดทำ ได้ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลไว้ในรายงานเล่มนี้ หวังว่ารายงานเล่มนี้ จะ เป็นประโยชน์กับผู้อ่าน นักเรียน นักศึกษาที่กำลังสนใจและหาข้อมูลในเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อเเนะนำ หรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ผู้จัดทำ นางสาวชลดา นิ่มน่วม 31 ธันวาคม 2564

ข | ความฉลาดทางดิจิทัล สารบัญ เรื่อง หน้าที่ คำนำ..................................................................................................................ก สารบัญ...............................................................................................................ข ความหมายความฉลาดทางดิจิทัล..........................................................................1 ความสำคัญของความฉลาดทางดิจิทัล..................................................................3 8 ทักษะความฉลาดทางดิจิทัล..............................................................................4 การเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล...............................................................................14 แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัล............................................................24 สรุป..................................................................................................................27 บรรณานุกรม.....................................................................................................28

ความฉลาดทางดิจิทัลหมายถึงอะไร ? ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient : DQ) คือ กลุ่มของความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการ รับรู้ ที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถเผชิญกับความท้าทายบน เส้นทางของชีวิตในยุคดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับ ชีวิตดิจิทัลได้ ความฉลาดทางดิจิทัลครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะ สมาชิกของโลกออนไลน์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทักษะการใช้สื่อ และการเข้าสังคมในโลกออนไลน์ 1 | ความฉลาดทางดิจิทัล

Digital Intelligence Quotient : www.planetcomm.com 2 | ความฉลาดทางดิจิทัล

ความสำคัญของความฉลาดทางดิจิทัล (DQ : Digital Intelligence Quotient) ของคนรุ่นใหม่ในทัศตวรรษที่ 21 เด็กๆ และเยาวชนในยุคไอทีเติบโตมาพร้อมกับอุปกรณ์ดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต ด้วยลักษณะการสื่อสาร ที่รวดเร็ว อิสระ ไร้พรมแดน และไม่เห็นหน้าของอีกฝ่าย ทำให้การรับรู้และการใช้ชีวิตของเด็กรุ่นใหม่ มีลักษณะที่แตกต่างจาก เจนเนอเรชั่นรุ่นก่อนๆ มาก ทักษะชีวิตใหม่ๆ ต้องได้รับการเรียนรู้และฝึกฝน เพื่อที่เด็กที่เติบโตมาในยุคที่เต็มไปด้วย ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ยังผูกติดกับเครือข่าย อินเทอร์เน็ตและสื่อออนไลน์เกือบตลอดเวลา ไม่ว่า จะเป็นการรับข่าวสาร ความบันเทิง หรือการซื้อขายสินค้าและบริการ และการทำธุรกรรมการเงิน ในอดีต ตัวชี้วัดอย่าง IQ ได้ถูกนำมาใช้พัฒนาระดับทักษะทางสติปัญญาของมนุษย์ ในขณะ ที่ EQ ได้นำมาศึกษาเพื่อพัฒนาระดับทักษะความฉลาดทางอารมณ์ แต่ด้วยบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันทักษะ ความฉลาดทางปัญญาและทางอารมณ์ ไม่เพียงพอต่อสิ่งที่เยาวชนต้องเผชิญในโลก ไซเบอร์ ยิ่งไปกว่านั้น อินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ดิจิทัล ถึงแม้จะเพิ่มความสะดวกสบาย แต่ก็แฝงด้วยอันตราย เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น อันตรายต่อสุขภาพ การเสพติดเทคโนโลยี หากใช้งานสื่อดิจิทัลมากเกินไป หรือ อันตรายจากมิจฉาชีพออนไลน์ การคุกคามทางไซเบอร์ และ การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ พลเมืองยุคใหม่ จึงต้องรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และมีทักษะความฉลาดทางดิจิทัล เพื่อที่จะ ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมออนไลน์ และในชีวิตจริงโดยไม่ทำตัวเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน ดังนั้น ครอบครัว โรงเรียน ทางภาค รัฐ และ องค์กรที่เกี่ยวของ ควรร่วมส่งเสริมให้เยาวชนเป็น ‘พลเมืองดิจิทัล’ ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง ที่เกี่ยวข้อง กับการใช้งานอินเทอร์เน็ต 3 | ความฉลาดทางดิจิทัล

8 ทักษะความฉลาดทางดิจิทัล (8 Skills of Digital Intelligence Quotient)

1. การแสดงตัวตนบนโลกดิจิทัล (Digital Identity) คือ ความสามารถในการสร้างและจัดการลักษณะเฉพาะของตนเองบนโลกออนไลน์ สร้างความตระหนักในเรื่องของภาพลักษณ์การแสดงออกทางความคิดและสามารถ จัดการผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแสดงตัวตนบนโลกออนไลน์ทั้งในระยะสั้นและในระยะ ยาว ซึ่งการแสดงตัวตนบนโลกดิจิทัลจะประกอบด้วยความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizen)ความเป็นผู้สร้างสรรค์ดิจิทัล(Digital Co-creator)ความเป็นผู้ประกอบการ ดิจิทัล(DigitalEntrepreneur) 5 | ความฉลาดทางดิจิทัล

2. การใช้เครื่องมือและสื่อดิจิทัล (Digital Use) คือ ความสามารถในการใช้งาน การควบคุม และการจัดการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลและสื่อดิจิทัลเพื่อให้ เกิดสมดุลระหว่างชีวิตออนไลน์และออฟไลน์เพื่อให้ เกิดประโยชน์และเหมาะสมกับการใช้งาน การใช้เครื่อง มือและสื่อดิจิทัลประกอบด้วยการบริหารจัดการ เวลาบนโลกดิจิทัล(ScreenTime)สุขภาพบนโลก ดิจิทัล(Digital Health)การมีส่วนร่วมในชุมชนดิจิทัล (Community Participation) 6 | ความฉลาดทางดิจิทัล

3. ความปลอดภัยทางดิจิทัล (Digital Safety) คือ ความสามารถในการจัดการความเสี่ยง ในโลกออนไลน์เช่น การกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ต (Cyberbullying) ล่อลวง คุกคาม การเข้าถึงเนื้อหาที่ผิด กฎหมายหรือเป็นอันตราย เช่น เนื้อหาที่มีความรุนแรงและ ความหยาบคาย สื่อลามกอนาจาร และรวมถึงการหลีกเลี่ยง ความเสี่ยงและจัดการความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ ประกอบ ด้วยความเสี่ยงจากพฤติกรรมการใช้งาน (Behavioral Risks) ความเสี่ยงจากเนื้อหา (Content Risks) ความเสี่ยง จากการติดต่อกับคน (Contact Risks) 7 | ความฉลาดทางดิจิทัล

4. ความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล คือ ความสามารถในการตรวจจับภัยคุกคามในโลกไซเบอร์เช่น การ (Digital Security) แฮก (Hacking) และมัลแวร์(Malware) เพื่อทำความเข้าใจ และสามารถ เลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เลือกใช้เครื่องมือในการรักษาความ ปลอดภัยที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันข้อมูลครอบคลุมถึงความมั่นคง ปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น การทำ ธุรกรรมต่างๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์การป้องกันภัยและควบคุมการทำ รายการผ่านระบบออนไลน์การป้องกันการละเมิดข้อมูล มาตรฐานที่ เกี่ยวข้องและวิธีการจัดการความปลอดภัยและความเชื่อมั่นของผู้ใช้ความ มั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัลจะประกอบด้วยการป้องกันรหัสผ่าน (Password Protection)ความมั่นคงปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต (internet Security) ความมั่นคงปลอดภัยทางโทรศัพท์มือถือ (MobileSecurity) 8 | ความฉลาดทางดิจิทัล

คือ ความสามารถในการเข้าสังคมโลกออนไลน์ได้แก่การเอาใจ ใส่การเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น การเห็นใจการแสดงน้ำใจ การช่วยเหลือและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น ๆในโลก 5. ความฉลาดทางอารมณ์บนโลกดิจิทัล ออนไลน์แบ่งเป็น 3องค์ประกอบ คือ ความเข้าใจ เห็นใจ (Digital Emotional Intelligence) มีน้ำใจต่อผู้อื่นบนโลกดิจิทัล (Empathy) ความตระหนักและการ ควบคุมอารมณ์(Emotional Awareness and Regulation) ความตระหนักด้านอารมณ์และสังคม (Social andEmotional Awareness) 9 | ความฉลาดทางดิจิทัล

6. การสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication) คือ ความสามาถในการสื่อสารการปฏิสัมพันธ์ และทำงานร่วมกันกับผู้อื่นโดยใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัล แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ คือ รอยเท้าหรือร่องรอยดิจิทัล(DigitalFootprint)การ ติดต่อสื่อสารออนไลน์(Online Communication) ความร่วมมือออนไลน์(Online Collaboration) 10 | ความฉลาดทางดิจิทัล

7. การรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) คือ ความสามารถในการค้นหา การประเมินผล การใช้ ประโยชน์การแบ่งปัน และสร้างสรรค์เนื้อหารวมถึง ความสามารถในการประมวลผลการคิดคำนวณอย่าง เป็นระบบ แบ่งเป็น 3องค์ประกอบ คือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (CriticalThinking) การคิดสร้างสรรค์เนื้อหา (Content Creation) การคิดเชิงประมวลผล (Computational Thinking) 11 | ความฉลาดทางดิจิทัล

8. สิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights) คือ ความสามารถในการเข้าใจและรักษาสิทธิส่วนบุคคล ของตนเอง สิทธิเสรีภาพตามกฎหมาย รวมถึงสิทธิในความเป็นส่วนตัว ทรัพย์สินทางปัญญา เสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็น และการ ป้องกันตนเอง จากคำพูดที่แสดงถึงความเกลียดชัง แบ่งเป็น 3 องค์ ประกอบ คือเสรีภาพในการพูด(Freedom of Speech)สิทธิ์ในทรัพย์สินทาง ปัญญา (Intellectual PropertyRights) ความเป็นส่วนตัว(Privacy) 12 | ความฉลาดทางดิจิทัล

ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) คืออะไร? ความเป็นพลเมืองดิจิทัลคือ พลเมืองผู้ใช้งานสื่อดิจิทัลและสื่อสังคม ออนไลน์ที่เข้าใจบรรทัดฐานของ การปฏิบัติตัวให้เหมาะสมและมีความ รับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสื่อสาร ในยุค ดิจิทัลเป็นการสื่อสารที่ไร้พรมแดน สมาชิกของโลกออนไลน์คือ ทุกคน ที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต บนโลกใบนี้ ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์มีความ หลากหลายทางเชื้อชาติ อายุ ภาษา และวัฒนธรรม พลเมือง ดิจิทัลจึง ต้องเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม เห็นอกเห็นใจและ เคารพผู้อื่น มีส่วนร่วม และมุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม การเป็น พลเมืองในยุคดิจิทัลนั้น มีทักษะที่สำคัญ 8 ประการ 13 | ความฉลาดทางดิจิทัล

การเป็น พลเมืองในยุค ดิจิทัลนั้น มีทักษะที่สำคัญ 8 ประการ 14 | ความฉลาดทางดิจิทัล

1. ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดี ของตนเอง (Digital Citizen Identity) สามารถสร้างและบริหารจัดการอัตลักษณ์ที่ดีของ ตนเองไว้ได้อย่างดีทั้งในโลกออนไลน์และโลกความ จริง อัตลักษณ์ที่ดีคือ การที่ผู้ใช้สื่อดิจิทัลสร้างภาพ ลักษณ์ในโลกออนไลน์ของตนเองในแง่บวก ทั้งความ คิด ความรู้สึก และการกระทำ โดยมีวิจารณญานใน การรับส่งข่าวสารและแสดงความคิดเห็น มีความเห็น อก เห็นใจผู้ร่วมใช้งานในสังคมออนไลน์ และรู้จักรับ ผิดชอบต่อการกระทำ ไม่กระทำการที่ผิดกฎหมาย และจริยธรรมในโลกออนไลน์ เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ การกลั่นแกล้งหรือการใช้วาจาที่สร้างความ เกลียด ชังผู้อื่นทางสื่อออนไลน์ 15 | ความฉลาดทางดิจิทัล

2. ทักษะการคิดวิเคราะห์มี การคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดีมีองค์ประกอบดังนี้ วิจารณญาณที่ดี (Critical Thinking) 16 | ความฉลาดทางดิจิทัล สามารถในการวิเคราะห์แยกแยะระหว่าง ข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิด ข้อมูลที่มีเนื้อหา เป็นประโยชน์ และข้อมูลที่เข้าข่ายอันตราย ข้อมูลติดต่อทางออนไลน์ที่น่าตั้งข้อสงสัยและ น่าเชื่อถือได้ เมื่อใช้อินเทอร์เน็ต จะรู้ว่าเนื้อหา อะไร เป็นสาระ มีประโยชน์ รู้เท่าทันสื่อและ สารสนเทศ สามารถวิเคราะห์และประเมิน ข้อมูล จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายได้ เข้าใจรูปแบบ การหลอกลวงต่างๆ ในโลกไซเบอร์ เช่น ข่าว ปลอม เว็บปลอม ภาพตัดต่อ เป็นต้น

3. ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเอง ในโลกไซเบอร์ (Cybersecurity Management) สามารถป้องกันข้อมูลด้วยการสร้างระบบความปลอดภัยที่เข้มแข็ง และป้องกันการโจรกรรมข้อมูล หรือการโจมตีออนไลน์ได้ มีทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ การรักษา ความปลอดภัยของตนเองในโลกไซเบอร์คือ การปกป้องอุปกรณ์ดิจิทัลข้อมูลที่จัดเก็บและข้อมูลส่วน ตัว ไม่ให้เสียหาย สูญหาย หรือถูกโจรกรรมจากผู้ไม่หวังดีในโลกไซเบอร์ การรักษาความปลอดภัยทาง ดิจิทัลมีความสำคัญดังนี้ 1. เพื่อรักษาความเป็น 2. เพื่อป้องกันการ 3. เพื่อป้องกันการ 4. เพื่อป้องกันความ ส่วนตัวและความลับ ขโมยอัตลักษณ โจรกรรมข้อมูล เสียหายของข้อมูล และอุปกรณ 17 | ความฉลาดทางดิจิทัล

4. ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management) มีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รู้จักปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลกออนไลน์โดยเฉพาะ การแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น รู้เท่าทันภัยคุกคามทาง อินเทอร์เน็ต เช่น มัลแวร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์ และกลลวงทางไซเบอร์ 1.ไม่ควรตั้งรหัสผ่านของบัญชีใช้งานที่ง่ายเกินไป 4. ใส่ใจกับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว ระมัดระวังในการเปิดเผยชื่อ 2. ตั้งรหัสผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟนอยู่เสมอ และที่ตั้งของเรา และปฏิเสธแอปที่พยายามจะเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว ของเรา 5. อย่าใช้ไวไฟสาธารณะเมื่อต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ออนไลน์ชอปปิ้ งหรือธุรกรรมธนาคาร หรือการ ลงทะเบียนในสื่อสังคมออนไลน 3. แชร์ข้อมูลส่วนตัวในสื่อโซเชียลมีเดียอย่างระมัดระวัง 6. รู้เท่าทันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต 18 | ความฉลาดทางดิจิทัล

5. ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management) สามารถในการบริหารเวลาที่ใช้อุปกรณ์ยุคดิจิทัล รวมไปถึงการควบคุม เพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างโลกออนไลน์ และโลกภายนอก ตระหนักถึง อันตรายจากการใช้เวลาหน้าจอนานเกินไป การทำงานหลายอย่างในเวลา เดียวกัน และผลเสียของการเสพติดสื่อดิจิทัล สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตโพลล์ระบุว่า วัยรุ่นไทยเกือบ 40 % อยากใช้เวลาหน้าจอ มากกว่าออกกำลังกาย และผลการสำรวจจาก We are social พบว่า ใน แต่ละวัน คนไทยใช้เวลาหน้าจอ ดังนี้ 19 | ความฉลาดทางดิจิทัล

6. ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งาน มีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints) สามารถเข้าใจธรรมชาติของการใช้ชีวิตใน รอยเท้าดิจิทัล (Digital Footprints) คืออะไร โลกดิจิทัลว่าจะหลงเหลือร่อยรอยข้อมูลทิ้ง ไว้เสมอ รวมไปถึงเข้าใจผลลัพธ์ที่อาจเกิด รอยเท้าดิจิทัลคือ คำที่ใช้เรียกร่องรอยการกระทำต่างๆ ที่ผู้ใช้งานทิ้งรอยเอา ขึ้น เพื่อการดูแลสิ่งเหล่านี้อย่างมีความรับ ไว้ในโลกออนไลน์ โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์หรือโปรแกรมสนทนา เช่นเดียวกับ ผิดชอบ รอยเท้าของคนเดินทาง ข้อมูลดิจิทัล เช่น การลงทะเบียนอีเมล การโพสต์ ข้อความหรือรูปภาพ เมื่อถูกส่งเข้าโลกไซเบอร์แล้วจะทิ้งร่อยรอยข้อมูลส่วนตัว ของผู้ใช้งานไว้ให้ผู้อื่นติดตามได้เสมอ แม้ผู้ใช้งานจะลบไปแล้ว ดังนั้น หาก เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือศีลธรรม ก็อาจมีผลกระทบต่อชื่อเสียงและ ภาพลักษณ์ของผู้กระทำ กล่าวง่ายๆ รอยเท้าดิจิทัล คือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก อินเทอร์เน็ตที่บอกเรื่องของเรา เช่น -ข้อมูลส่วนตัวที่แชร์ ไว้ในบัญชีสื่อสังคม ออนไลน์ (Profile) -รูปภาพ/ภาพถ่าย -ข้อมูลอื่นๆ ที่เรา โพสต์ไว้ในบล็อก หรือเว็บไซต์ 20 | ความฉลาดทางดิจิทัล

7. ทักษะในการรับมือกับการกลั่นแกล้งบนโลก วิธีจัดการเมื่อถูกกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ ไซเบอร์(Cyberbullying Management) การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์คือ การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหรือ หยุดการตอบโต้กับผู้กลั่นแกล้ง ช่องทางเพื่อก่อให้เกิดการคุกคามล่อลวงและการกลั่นแกล้งบนโลก Logout จากบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ โดยกลุ่มเป้าหมายมักจะเป็นกลุ่มเด็ก จนถึงเด็กวัยรุ่น การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์คล้ายกันกับการกลั่นแกล้ง หรือปิดเครื่องมือสื่อสาร ในรูปแบบอื่นหากแต่การกลั่นแกล้งประเภทนี้จะกระทำผ่านสื่อออนไลน์ หรือสื่อดิจิทัล เช่น การส่งข้อความทางโทรศัพท์ ผู้กลั่นแกล้งอาจจะเป็น เพื่อนร่วมชั้น คนรู้จักในสื่อสังคมออนไลน์ หรืออาจจะเป็นคนแปลกหน้า ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่กระทำจะรู้จักผู้ที่ถูกกลั่นแกล้ง รูปแบบของการก ลั่นแกล้งมักจะเป็น ปิดกั้นการสื่อสารกับ ผู้กลั่นแกล้ง โดยการบล็อก จากรายชื่อผู้ติดต่อ ถ้าผู้กลั่นแกล้งยังไม่หยุด การกระทำอีก ควรรายงาน 21 | ความฉลาดทางดิจิทัล

8. ทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม คิดก่อนจะโพสต์ลงสังคมออนไลน์ (Think (Digital Empathy) Before You Post) มีความเห็นอกเห็นใจ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ ใคร่ครวญก่อนที่จะโพสต์รูปหรือข้อความลง อื่นบนโลกออนไลน์ แม้จะเป็นการสื่อสารที่ไม่ได้เห็นหน้า ในสื่อออนไลน์ ไม่โพสต์ขณะกำลังอยู่ในอารมณ์ กัน มีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อคนรอบข้าง ไม่ว่าพ่อแม่ ครู โกรธสื่อสารกับผู้อื่นด้วยเจตนาดี ไม่ใช้วาจาที่ เพื่อนทั้งในโลกออนไลน์และในชีวิตจริง ไม่ด่วนตัดสินผู้ สร้างความเกลียดชังทางออนไลน์ ไม่นำล้วง อื่นจากข้อมูลออนไลน์แต่เพียงอย่างเดียว และจะเป็น ข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น ไม่กลั่นแกล้งผู้อื่นผ่านสื่อ กระบอกเสียงให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ดิจิทัล 22 | ความฉลาดทางดิจิทัล

จะเห็นว่าความฉลาดดิจิทัลในระดับพลเมืองดิจิทัลเป็นทักษะที่สำคัญ สำหรับนักเรียน และบุคคลทั่วไปในการสื่อสารในโลกออนไลน์เป็นอย่างยิ่ง ทั้งเอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัลการจัดการ การกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ การจัดการความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย การ จัดการความเป็นส่วนตัว การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ร่องรอยทางดิจิทัล ความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นทางดิจิทัล หากบุคคลมี ทักษะและความสามารถทั้ง 8 ประการจะทำให้บุคคลนั้นมีความสามารถใน การใช้อินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการ ควบคุม กำกับตน รู้ผิดรู้ถูก และรู้ เท่าทัน เป็นบรรทัดฐานในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม เรียนรู้ที่จะ ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด และปลอดภัย 23 | ความฉลาดทางดิจิทัล

jobs.bangkokpost.com ทุกวันนี้ในสภาพแวดล้อมการทำงานของคนเรา ไม่ว่าจะอยู่ในบทบาท เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร พนักงานหรือลูกจ้าง สิ่งที่เรียกว่า “ดิจิทัล เทคโนโลยี” ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราแล้วไม่มากก็น้อย ยกตัวอย่างง่ายๆ และเห็นชัดเจนมากที่สุดคือการใช้คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน รวมไปถึงโทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน ของคนเรา อุปกรณ์เหล่านี้ต้องมีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้ ประโยชน์จากดิจิทัลเทคโนโลยีให้ได้เต็มที่ หันกลับมาดูที่ตัวเรา ในฐานะคนทำงาน ไม่แน่ใจว่ามีการคิดถึงการ พัฒนาตนเองเพื่อใช้ประโยชน์ดิจิทัลเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่แล้วหรือยัง 23 | ความฉลาดทางดิจิทัล

แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัล 24 | ความฉลาดทางดิจิทัล

วิธีการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัล พื่อใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีให้ได้อย่างเต็มที่ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 : ปรับมุมมอง กรอบความคิด ขั้นตอนที่ 2 : เพิ่มทักษะความสามารถ “สร้างความรู้สึกสนุกเมื่อได้เจออะไรใหม่ๆ ไม่กลัว เมื่อเรามีใจที่พร้อมแล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องทำคือ การ โง่” นี่เป็นจุดเริ่มต้นไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไรก็ตาม พัฒนาทักษะความสามารถในยุคดิจิทัลเทคโนโลยีนี้ เพราะคนเราต่างมักจะใช้ความเคยชินตีกรอบความ ทักษะหรือความสามารถอันดับต้นๆ ที่ควรมีคือ ความเร็ว คิด เวลาที่ต้องทำหรือเจออะไรใหม่ๆ จะมองไปในทาง ความว่องไว และสายสัมพันธ์ (Speed, Agility and เป็นไปไม่ได้เอาไว้ก่อน ซึ่งกลายเป็นการสร้าง “ขีด Relationship)ยิ่งคุณมีความเร็วในการตามข้อมูลข่าวสาร จำกัด” ของตนเองขึ้นมา เราต้องทำลายกรอบความ ที่เป็นประโยชน์กับตัวเองได้ทันเวลา มีการลงมือทำและ คิดนี้ไปซะ เพื่อให้มีใจที่พร้อมต่อการทำหรือพบเจอ ตอบสนองที่ว่องไว และมีสายสัมพันธ์สร้างเป็นเครือข่าย อะไรใหม่ๆ นั่นเอง ที่กว้างขวาง จะสามารถทำให้เราใช้ประโยชน์จากดิจิทัล เทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะเห็นตัวอย่างทักษะความ สามารถเหล่านี้มีชัดเจนในกลุ่มนักธุรกิจออนไลน์ทั้งหลาย นั่นเอง 25 | ความฉลาดทางดิจิทัล

วิธีการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัล พื่อใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีให้ได้อย่างเต็มที่ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 3 : หาประสบการณ์ลองใช้ ขั้นตอนที่ 4 : เรียนรู้ต่อเนื่อง เมื่อคุณได้รู้จักการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีที่คุณสนใจ มันจะไม่เห็นผลอะไรเลย ถ้าไม่มีการลงมือทำ แล้ว ขอให้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของตนเองออกไป ขอให้คุณลองหาประสบการณ์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี อย่างต่อเนื่อง แล้วหาวิธีผสมผสาน การใช้ประโยชน์ ซึ่งคุณสนใจที่เป็นประโยชน์กับตนเอง เพื่อใช้กับทั้ง ของดิจิทัลเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าด้วยกัน เรื่องส่วนตัวหรือเรื่องงาน ลองเลือกสิ่งที่ใกล้ตัวคุณมากที่สุดก่อน เพื่อสร้าง ความคุ้นเคย ลองผิด ลองถูก ถามคนรอบข้าง เพื่อ ทำให้เกิดความเข้าใจและใช้ได้คล่องมากขึ้น 26 | ความฉลาดทางดิจิทัล

กล่าวโดยสรุป การจะเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีนั้น ต้องมีความฉลาดทางดิจิทัล ซึ่งประกอบขึ้น ด้วยชุดทักษะและความรู้ทั้งในเชิงเทคโนโลยีและการคิดขั้นสูง หรือที่เรียกว่า “ความรู้ดิจิทัล” (Digital Literacy) เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร ในโลกไซเบอร์ รู้วิธีป้องกันตนเองจากความเสี่ยงต่างๆ ในโลกออนไลน์ เข้าใจถึง สิทธิ ความรับผิดชอบ และจริยธรรมที่สำคัญในยุคดิจิทัล และใช้ประโยชน์จาก อินเทอร์เน็ตในการมีส่วนร่วมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่เกี่ยวกับตนเอง ชุมชน ประเทศ และพลเมืองบนโลก ได้อย่างสร้างสรรค์ 27 | ความฉลาดทางดิจิทัล

Digital Intelligence (DQ) A Conceptual Framework & Methodology for Teaching and Measuring Digital Citizenship [Online]. แหล่งที่มา https://www.dqinstitute.org/wp-content/uploads/2017/08/DQ- Framework-White-Paper-Ver1-31Aug17.pdf [31 ธันวาคม 2564] วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์. พลเมืองดิจิทัล [Online]. แหล่งที่มา http://www.infocommmju.com/icarticle/images/stories/icarticles/aj wittaya/digital/Digital_Citizenship.pdf [31 ธันวาคม 2564] พิจิพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship). จากhttps://bit.ly/2MgdOqH สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน. (2561). ความฉลาดทางดิจิตอล (Digital Intelligence: DQ) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. สืบค้น เมื่อ 1 มกราคม 2565 จากhttp://cclickthailand.com/contents/research/A2.-final.pdf บรรณานุกรม

thank you


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook