Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วิชาปุ๋ยชีวภาพเบื้องต้น ประถม 4

วิชาปุ๋ยชีวภาพเบื้องต้น ประถม 4

Published by nanny256, 2023-07-03 08:55:20

Description: วิชาปุ๋ยชีวภาพเบื้องต้น ประถม 4

Search

Read the Text Version

1

2 หนังสือเรยี น กศน. หลักสตู รรายวชิ าเลือกเสรี สาระการประกอบอาชีพ รายวชิ า การทำปุย๋ ชวี ภาพเบอ้ื งตน้ รหัส อช ๑๓๓๑๒ หลักสตู รการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน พุทธศกั ราช ๒๕๕๑ ระดบั ประถมศึกษา ศูนยก์ ารศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัยอำเภอสงู เมน่ สำนกั งานส่งเสรมิ การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัยจงั หวดั แพร่ สำนักงานกระทรวงศกึ ษาธกิ าร กระทรวงศึกษาธิการ

ก คำนำ หนังสือเรียน กศน. หลักสูตรรายวิชาเลือกเสรี สาระการประกอบอาชีพ การทำปุ๋ยชีวภาพเบื้องต้น รหัส อช๑๓๓๑๒ จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับประถมศึกษา ประกอบด้วยเนื้อหา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพ ขั้นตอนการทำปุ๋ยชวี ภาพ การเก็บรักษาและการนำปุย๋ ชีวภาพไปใช้ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้จากการศกึ ษา เอกสาร และประสบการณจ์ ากการฝึกปฏิบัติตามกจิ กรรมทา้ ยบทเรยี นแลว้ สามารนำไปใชใ้ นชีวติ ประจำวันได้ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสูงเม่น ขอขอบพระคุณผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมจัดเอกสารเล่มนี้จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ได้ และหวังว่าเอกสารเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียน ของผเู้ รียนและผู้ทส่ี นใจตอ่ ไป กศน. อำเภอสูงเม่น สงิ หาคม ๒๕๖๕

สารบญั ข คำนำ หนา้ สารบัญ คำแนะนำการใชห้ นงั สือเรียน โครงสร้างรายวชิ า แบบทดสอบกอ่ นเรยี น บทท่ี 1 ความร้พู ้นื ฐานเก่ียวกับปุ๋ยชีวภาพ เร่ืองท่ี ๑ ความหมายและความเปน็ ของปยุ๋ ชีวภาพ เรอ่ื งท่ี ๒ ชนดิ และลักษณะของปยุ๋ ชวี ภาพ เรอ่ื งที่ ๓ ประโยชนข์ องปุ๋ยชวี ภาพ บทที่ ๒ ขน้ั ตอนการทำปุ๋ยชวี ภาพ เร่ืองที่ ๑ การทำนำ้ หมักชีวภาพ เร่อื งที่ ๒ การทำปยุ๋ โบกาฉิ บทท่ี 3 การเกบ็ รักษาและการนำปุ๋ยชวี ภาพไปใช้ เรื่องที่ ๑ การนำปยุ๋ ชวี ภาพไปใช้ เรอ่ื งท่ี ๒ การเก็บรักษาปยุ๋ ชวี ภาพ แบบทดสอบหลังเรยี น เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน - หลงั เรียน แนวเฉลยกจิ กรรมท้ายบท บรรณานุกรม ภาคผนวก (ถา้ มี) คณะผ้จู ดั ทำ

ค คำแนะนำการใช้หนงั สอื เรียน หนังสือเล่มนี้ใช้ประกอบการเรียน สาระการประกอบอาชีพ รายวิชาการทำปุ๋ยชีวภาพเบื้องต้น รหสั อช๑๓๓๑๒ จดั ทำขนึ้ เพอ่ื ใช้สำหรับผู้เรียนที่เป็นนักศึกษาการศึกษานอกระบบระดบั การศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนต้น ผเู้ รยี นควรปฏบิ ัติ ดงั นี้ 1. ศกึ ษาโครงสรา้ งรายวชิ าให้เข้าใจหัวขอ้ สาระสำคญั ผลการเรยี นรทู้ คี่ าดหวงั และขอบขา่ ยเนอื้ หา 2. ศึกษารายละเอียดเนื้อหาของแต่ละบทอย่างละเอียด และทำตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ในกิจกรรม ท้ายบทเรียน เมื่อทำกิจกรรมท้ายบทเสร็จแล้ว สามารถตรวจสอบกับเฉลยกิจกรรมท้ายบท หากผู้เรียนตอบ คำถามกิจกรรมทา้ ยบทไม่ถูกต้อง ควรกลับไปทบทวนเน้อื หาใหม่ให้เขา้ ใจ ก่อนทจ่ี ะศึกษาเร่ืองตอ่ ไป 3. ควรทำกิจกรรมท้ายบทเรียนให้ครบทุกกิจกรรม เพื่อสรุปความรู้ ความเข้าใจเนื้อหาเรื่องที่เรียน อกี ครั้ง 4. หนังสือประกอบการเรียนเลม่ นี้มี ๓ บท ได้แก่ บทท่ี 1 ความรพู้ ื้นฐานเกย่ี วกับปุย๋ ชีวภาพ บทที่ ๒ ขน้ั ตอนการทำปุ๋ยชวี ภาพ บทที่ 3 การเกบ็ รกั ษาและการนำปยุ๋ ชวี ภาพไปใช้

ง โครงสร้างรายวิชา การทำปุย๋ ชวี ภาพเบ้ืองตน้ รหสั วชิ า อช๑๓๓๑๒ สาระการประกอบอาชีพ ระดบั ประถมศกึ ษา สาระสำคญั ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพ ความหมายและความเป็นของปุ๋ยชีวภาพ ชนิดและลักษณะของปุ๋ย ชวี ภาพ ประโยชน์ของปยุ๋ ชวี ภาพ ขน้ั ตอนการทำปยุ๋ ชวี ภาพ การทำนำ้ หมกั ชวี ภาพ การทำปยุ๋ โบกาฉิ และการเกบ็ รักษาและการนำปุย๋ ชีวภาพไปใช้ การเก็บรักษาปุ๋ยชีวภาพ และการนำป๋ยุ ชีวภาพไปใช้ ผลการเรยี นรู้ท่คี าดหวงั ๑. มีความรู้ ความเขา้ ใจพ้ืนฐานเกี่ยวกบั ปุย๋ ชีวภาพ ๒. มีความรู้ ความเข้าใจและทกั ษะการทำปุ๋ยชีวภาพ ขอบข่ายเน้ือหา บทที่ 1 ความรพู้ ้นื ฐานเก่ียวกับปุ๋ยชีวภาพ เรือ่ งที่ ๑ ความหมายและความเปน็ ของปุ๋ยชวี ภาพ เรอ่ื งที่ ๒ ชนดิ และลกั ษณะของปุ๋ยชีวภาพ เร่ืองที่ ๓ ประโยชนข์ องปุ๋ยชีวภาพ บทที่ ๒ ข้นั ตอนการทำป๋ยุ ชวี ภาพ เรื่องท่ี ๑ การทำน้ำหมักชวี ภาพ เรอื่ งที่ ๒ การทำปุ๋ยโบกาฉิ บทที่ 3 การเกบ็ รักษาและการนำปยุ๋ ชีวภาพไปใช้ เรื่องท่ี ๑ การเกบ็ รักษาปยุ๋ ชีวภาพ เรอ่ื งที่ ๒ การนำปุย๋ ชวี ภาพไปใช้

จ แบบทดสอบกอ่ นเรยี น จงเลือกคำตอบท่ถี กู ต้องท่ีสุด 1. การปลูกพืชตามฤดกู าลมีผลดอี ยา่ งไร ก. พืชเจริญเติบได้ดี ข. ดแู ลบำรงุ รกั ษาง่าย ค. หลกี เลย่ี งแมลงและโรค ง. ผลผลติ จำหน่ายได้ราคาดี 2. การเปล่ียนดนิ ในกระถางมีผลดีอย่างไร ก. ทำใหพ้ ืชเจรญิ งอกงามดีขน้ึ ข. ทำใหก้ ารดแู ลรักษาพชื ง่ายขึน้ ค. ทำใหพ้ ชื ชะงกั การเจริญเตบิ โต ง. ทำให้พืชตอ้ งปรับตวั ใหเ้ ขา้ กบั สภาพดนิ 3. พชื ผักชนดิ ใด ไม่ควรปลูกในฤดูฝน ก. คะน้า ข. แตงกวา ค. มะเขอื ยาว ง. มะเขือเทศ 4. พืชผกั ชนิดใดปลูกเจรญิ งอกงามได้ดีในฤดรู ้อน ก. ฟักทอง ข. กระเทียม ค. กะหล่ำปลี ง. ถัว่ ฝกั ยาว 5. วิธีเกบ็ ผกั ท่ีถูกต้อง ควรปฏิบัติอย่างไร ก. เกบ็ ผกั ทีแ่ ก่เต็มที่ ข. เกบ็ ผักในตอนกลางวัน ค. เกบ็ ผกั โดยใช้มดี คมๆ ตัด ง. เกบ็ ผกั โดยการวางซอ้ นกันมากๆ 6. สว่ นใดของพชื ท่ีไม่ใช้ในการขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ ก. กิ่ง ค. ราก ข. ใบ ง. ดอก

ฉ 7. พชื ชนิดใดท่ขี ยายพันธด์ุ ว้ ยการปักชำกิง่ ก. สน ข. โพธิ์ ค. ลำไย ง. กุหลาบ 8. การปกั ชำกิง่ อวบนำ้ ควรปฏบิ ัตอิ ยา่ งไร ก. ปกั ใหล้ กึ 10 เชนตเิ มตร ข. ปกั ใหต้ ้งั ฉากกับวสั ดปุ ักชำ ค. ปักทำมุม 45 องศา กับวสั ดชุ ำ ง. ปกั ใหเ้ อียงเล็กน้อยลกึ ประมาณ 8 ซ.ม. 9. การปกั ชำในทีม่ ีอากาศเย็นจะมีผลอย่างไร ก. กิ่งจะไม่ออกราก ข. กิง่ จะออกรากได้ง่าย ค. กิง่ ชำเจรญิ เติบโตเร็ว ง. การเตบิ โตของรากจะชะงัก 10. การปักชำ ควรปกั ชำในสภาพอากาศเช่นไรจึงจะทำใหก้ ารออกรากไดผ้ ลดี ก. อากาศเย็น ข. อากาศรอ้ น ค. อากาศที่มีความช้นื สงู ง. อากาศที่มีความชื้นตำ่

1 บทที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานเก่ยี วกับปุ๋ยชีวภาพ สาระสำคัญ ความหมายและความเป็นมาของป๋ยุ ชีวภาพ ชนดิ และลักษณะของปุ๋ยชวี ภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชวี ภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ปยุ๋ หมกั แบบท่ัวไป ปยุ๋ หมกั ชีวภาพ การทำปุ๋ยโบกาฉิ และระโยชน์ของปยุ๋ ชีวภาพ ผลการเรยี นร้ทู ่ีคาดหวงั ๑. บอกความหมายและความเป็นมาของป๋ยุ ชวี ภาพได้ ๒. อธบิ ายลกั ษณะของปยุ๋ ชีวภาพแตล่ ะชนดิ ได้ ๓. อธิบายประโยชน์ของการทำปุ๋ยชีวภาพได้ ขอบขา่ ยเนอื้ หา เรือ่ งท่ี ๑ ความหมายและความเปน็ มาของปยุ๋ ชวี ภาพ เรือ่ งที่ 2 ชนิดและลักษณะของปุย๋ ชวี ภาพ ๒.๑ ปยุ๋ อนิ ทรีย์ ๒.๒ ป๋ยุ ชีวภาพ ๒.๓ ปยุ๋ อินทรียช์ ีวภาพ ๒.๔ ปุ๋ยหมกั แบบทวั่ ไป ๒.๕ ปยุ๋ หมกั ชวี ภาพ ๒.๖ การทำป๋ยุ โบกาฉิ เรอ่ื งท่ี 3 ประโยชนข์ องปยุ๋ ชีวภาพ

2 เร่ืองท่ี ๑ ความหมายและความเปน็ มาของปยุ๋ ชวี ภาพ 1. ความหมายของปยุ๋ ชวี ภาพ ปุ๋ย คือ วัสดุที่มีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบ หรือสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดธาตุอาหารพืช เมื่อใส่ลงไปใน ดนิ แล้วจะปลดปลอ่ ย หรอื สังเคราะหธ์ าตุอาหารท่จี ำเป็นให้แก่พืช ปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยจุลินทรีย์ หมายถึง การนำเอาจุลินทรีย์มาใช้ปรับปรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ ทางชีวเคมี และการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ตลอดจนการปลดปล่อยธาตุอาหารจากพืชอินทรีย์ หรือจาก อนิ ทรียวัตถุ หรือหมายถงึ จุลินทรียท์ น่ี ำมาใชเ้ พ่ือกระตนุ้ การเจริญเตบิ โต หรือเพ่ิมความต้านทานโรคพืช ภาพ ป๋ยุ โบกาฉิ

3 2. ความเปน็ มาของปุย๋ ชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ เกิดมาจากการยอ่ ยสลาย ของบรรดาอินทรยี วัตถุทางชีวเคมีโดยจุลินทรีย์กลุม่ ทีใ่ ช้ออกซิเจน แล้วเกิดเป็นประโยชน์ต่อพืช มีธาตุอาหารต่างๆ ที่พืชต้องการส่วนประกอบหลักของปุย๋ ประเภทนี้มักมาจากสิ่ง ท่ีไดจ้ ากธรรมชาติอย่างของเสยี จากโรงงานบางประเภท, มูลสตั ว์ เช่น มลู ไก่, มูลววั , มูลค้างคาว, ของยอ่ ยสลาย จากธรรมชาติ เช่น ซากต้นไม้, ใบไม้, สารอื่นๆ อย่าง กรดอะมิโน, โคโมไลท์, แร่ธาตุต่างๆ ผ่านการบดเติม จุลนิ ทรยี ท์ ำการบม่ หมัก กลับกอง แล้วค่อยยอ่ ยสลายกลายมาเป็นปุย๋ อนิ ทรีย์นน่ั เอง ชนิดของปยุ๋ ชีวภาพ 1.ปยุ๋ อนิ ทรีย์ ปยุ๋ อนิ ทรีย์ คอื สารประกอบที่ไดจ้ ากสิง่ ท่ีมชี วี ิต ได้แก่ พชื สัตว์ และจลุ ินทรีย์ ผา่ นกระบวนการผลติ ทาง ธรรมชาติ ป๋ยุ อินทรยี ส์ ่วนใหญใ่ ช้ในการปรบั ปรุงสมบัติทางกายภาพของดนิ ทำใหด้ ินโปรง่ รว่ นซุย ระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศไดด้ ี รากพืชจงึ ชอนไชไปหาธาตุอาหารได้ง่ายขึ้น ปุ๋ยอนิ ทรีย์ มีปริมาณธาตอุ าหารอยนู่ ้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปุย๋ เคมี และธาตุอาหารพืชสว่ นใหญอ่ ยูใ่ นรูปของ สารประกอบอินทรีย์ เช่น ไนโตรเจนอยู่ในสารประกอบจำพวกโปรตนี เม่อื ใส่ลงไปในดินพชื จะไม่สามารถดดู ไป ใชป้ ระโยชน์ได้ทนั ที แต่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายของจลุ ินทรยี ์ ในดนิ แล้วปลดปลอ่ ยธาตุอาหารเหลา่ นนั้ ออกมาในรปู สารประกอบอนิ ทรีย์ เชน่ เดียวกนั กบั ปุ๋ยเคมี จากนนั้ พชื จงึ ดดู ไปใช้ประโยชน์ได้ ปุ๋ยอนิ ทรียม์ ี 3 ประเภทคอื 1) ปุ๋ยหมกั 2) ปยุ๋ คอก และ 3) ปยุ๋ พืชสด ป๋ยุ คอก เปน็ ปยุ๋ อนิ ทรยี ์ที่ได้มาจากส่งิ ขับถา่ ยของสัตว์เล้ยี ง เชน่ โค กระบอื สกุ ร เป็ด ไก่ และห่าน ฯลฯ โดยอาจจะใช้ในรปู ปยุ๋ คอกแบบสด แบบแหง้ หรือ นำไปหมักใหเ้ กดิ การย่อยสลายกอ่ นแลว้ คอ่ ยนำไปใชก้ ็ได้ ซ่งึ ต้องคำนึงถึงชนิดของดินและพชื ทป่ี ลกู ดว้ ย โดยเฉพาะการใชแ้ บบสดอาจทำให้เกดิ ความร้อน และมกี ารดึงธาตุ อาหารบางตัวไปใชใ้ นการย่อยสลายมลู สตั ว์ ซ่ึงอาจจะทำให้พืชเหย่ี วตายได้ การใชป้ ๋ยุ คอกนั้น นอกจากจะมีประโยชน์ในการช่วยเพม่ิ ธาตอุ าหารพืชในดนิ แลว้ ยังชว่ ยทำใหด้ นิ โปรง่ และรว่ นซุย ทำให้การเตรียมดินงา่ ย การตงั้ ตวั ของตน้ กล้าเร็วทำให้มโี อกาสรอดไดม้ ากด้วย ปยุ๋ หมัก เป็นปยุ๋ อนิ ทรีย์ชนิดหน่ึง ซ่งึ ไดจ้ ากการนำชน้ิ สว่ นของพืช วัสดุเหลือใชท้ างการเกษตร หรือวสั ดุ เหลอื ใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางขา้ ว ซังข้าวโพด กากอ้อยจากโรงงานนำ้ ตาล และ แกลบจากโรงสขี า้ ว ขเ้ี ล่ือยจากโรงงานแปรรปู ไม้ เปน็ ต้น มาหมกั ในรูปของการกองซ้อนกันบนพน้ื ดนิ หรอื อยู่ใน หลมุ เพือ่ ใหผ้ ่านกระบวนการย่อยสลายใหเ้ นา่ เป่ือยเสียกอ่ น โดยอาศัยกจิ กรรมของจุลินทรยี จ์ นกระทง่ั ไดส้ าร อนิ ทรียวตั ถุท่ีมคี วามคงทน ไม่มีกลิ่น มสี นี ำ้ ตาลปนดำ

4 เราสามารถทำปุย๋ หมกั เองได้ โดยนำวัสดตุ ่างๆ มากองสมุ ให้สงู ขน้ึ จากพ้ืนดิน 30-40 ซม. แลว้ โรยป๋ยุ คอกผสม ปุ๋ยเคมสี ูตรเสมอ 15-15-15 ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ต่อเศษพชื หนกั 1,000 กโิ ลกรัม เสรจ็ แลว้ ก็กองเศษ พืชซ้อนทบั ลงไปอีกแล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมี ทำเชน่ นี้เร่ือยไปเป็นช้ันๆ จนสูงประมาณ 1.5 เมตรควรมีการ รดน้ำแต่ละชัน้ เพื่อให้มีความชุ่มชืน้ และเปน็ การทำให้มีการเนา่ เปอ่ื ยได้เรว็ ขึน้ กองปุ๋ยหมักนที้ ิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ กท็ ำการกลับกองปยุ๋ ครั้งหนงึ่ ป๋ยุ พืชสด เป็นป๋ยุ อินทรีย์ทไี่ ด้จากการปลูกพืชบำรุงดนิ ซ่งึ ได้แกพ่ ืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วทำการไถกลบ เม่ือพชื เจรญิ เติบโตมากทส่ี ดุ ซงึ่ เปน็ ช่วงทีก่ ำลังออกดอก พืชตระกลู ถว่ั ที่ควรใช้เป็นปุ๋ยพืชสดควรมีอายสุ ้ัน มี ระบบรากลกึ ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็นพืชที่ปลกู ง่าย และมเี มลด็ มาก ตวั อย่างพืชเหล่านี้กไ็ ด้แก่ ถวั่ พุ่ม ถ่วั เขยี ว ถวั่ ลาย ปอเทือง ถั่วขอ ถั่วแปบ และโสน เป็นตน้ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยพวกน้ีเป็นป๋ยุ ที่ได้มาจากการผลิต หรอื สังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจากแร่ธาตตุ า่ ง ๆ ท่ีได้ตาม ธรรมชาติ หรอื เปน็ ผลพลอยได้ของโรงงานอตุ สาหกรรมบางชนิด

5 เรือ่ งท่ี 2 ชนิดและลกั ษณะของป๋ยุ ชีวภาพ ป๋ยุ ชวี ภาพมที ั้งหมด ๖ ชนิด ซึ่งมลี กั ษณะ ตา่ ง ๆ ดงั นี้ ๑. ปุ๋ยอินทรีย์ ปยุ๋ อินทรีย์ คอื สารประกอบท่ีไดจ้ ากสงิ่ ท่ีมีชวี ิต ไดแ้ ก่ พชื สัตว์ และจุลนิ ทรีย์ ผา่ นกระบวนการผลิตทาง ธรรมชาติ ปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่ใช้ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ระบายน้ำและ ถ่ายเทอากาศได้ดี รากพชื จงึ ชอนไชไปหาธาตอุ าหารไดง้ ่ายขน้ึ ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์มีน้อยกว่าปุ๋ยเคมี และธาตุอาหารพืชส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารประกอบ อินทรีย์ เช่น ไนโตรเจนอยู่ในสารประกอบจำพวกโปรตีน เมื่อใส่ลงไปในดินพืชจะไม่สามารถดูดไปใช้ ประโยชน์ได้ทันที ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในดิน แล้วปลดปล่อยธาตุอาหารเหล่าน้ัน ออกมาในรปู สารประกอบอินทรีย์ เชน่ เดียวกนั กับปยุ๋ เคมี จากน้นั พืชจงึ ดูดไปใช้ประโยชนไ์ ด้ ปยุ๋ อินทรยี ม์ ี 3 ประเภทคือ ปยุ๋ หมกั ปยุ๋ คอก และป๋ยุ พืชสด 1.1 ปุ๋ยคอก เป็นปุ๋ยอินทรยี ์ท่ีได้จากสิ่งขับถ่ายของสตั ว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ ห่าน ฯลฯ ซง่ึ อาจจะใช้ในรปู ปยุ๋ คอกแบบสด แบบแห้ง หรอื นำไปหมักใหเ้ กดิ การยอ่ ยสลายก่อนแลว้ จงึ นำไปใช้กไ็ ด้ แตต่ ้อง คำนึงถึงชนิดของดินและพืชที่ปลูกด้วย โดยเฉพาะการใช้แบบสด อาจทำให้เกิดความร้อน และถูกดึงธาตุอาหาร บางตัวไปใช้ย่อยสลายมูลสัตว์ ซึ่งอาจจะทำให้พืชเหี่ยวตายได้ การใช้ปุ๋ยคอกนั้น นอกจากจะมีประโยชน์ ในการช่วยเพิ่มธาตุอาหารพืชในดินแล้ว ยังช่วยทำให้ดินโปร่ง และร่วนซุย ทำให้การเตรียมดินง่ายขึ้น ต้นกล้า ตัง้ ตวั ไดเ้ ร็วจึงมโี อกาสรอดไดม้ าก 1.2 ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากการนำชิ้นส่วนของพืช วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือวัสดุเหลอื ใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ซังข้าวโพด กากอ้อยจากโรงงาน น้ำตาล และแกลบจากโรงสีข้าว ขี้เลื่อยจากโรงงานแปรรูปไม้ เป็นต้น มาหมักโดยกองซ้อนกันบนพื้นดิน

6 หรืออยู่ในหลุม เพื่อผ่านกระบวนการย่อยสลายให้เน่าเปื่อยเสียก่อน โดยอาศัยจุลินทรีย์จนกระทั่งได้ สารอินทรียวัตถทุ ม่ี ีความคงทน ไมม่ กี ล่นิ มีสนี ำ้ ตาลปนดำ 1.3 ปุ๋ยพชื สด เปน็ ปุ๋ยอินทรยี ์ท่ีได้จากการปลกู พืชบำรุงดิน ไดแ้ ก่ พชื ตระกูลถั่วตา่ ง ๆ แล้วไถกลบ เมื่อพืชเจริญเติบโตเต็มที่ ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังออกดอก พืชตระกูลถั่วที่ควรใช้เป็นปุ๋ยพืชสดควรมีอายุส้ัน มีระบบรากลึก ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็นพืชที่ปลูกง่าย และมีเมล็ดมาก เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถว่ั ลาย ปอเทือง ถว่ั ขอ ถว่ั แปบ และโสน เปน็ ต้น 2. ปยุ๋ ชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ คือปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์ สารประกอบธาตุอาหารพืชได้เอง หรือสามารถเปลี่ยนธาตอุ าหารพืชท่ีอยูใ่ นรปู ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช ให้มา อยูใ่ นรูปทีพ่ ชื สามารถดดู ไปใช้ประโยชนไ์ ด้ ปุ๋ยชวี ภาพแบง่ ออกเปน็ 2 ประเภท คอื 2.1 กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสังเคราะห์สารประกอบอาหารพืชไนโตรเจนได้เอง ได้แก่ ไรโซเบียที่อยู่ใน ปมรากพืชตระกูลถั่ว แฟรงเคียที่อยู่ในปมของรากสนทะเล สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่อยู่ในโพรงใบของ แหนแดง และยังมีจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินอย่างอิสระอีกมาก ที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้แก่พืช ได้เช่นกัน 2.2 กลุ่มจุลินทรีย์ที่ช่วยทำให้ธาตุอาหารพืชในดินละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น เช่น ไมเคอร์ไรซา ทีช่ ว่ ยให้ฟอสฟอรัสทถ่ี กู ตรงึ อย่ใู นดินละลายออกมาอยใู่ นรูปท่ีพืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้ 3. ป๋ยุ อินทรีย์ชีวภาพ ปุย๋ อินทรีย์ชีวภาพ คือ ปุ๋ยอนิ ทรยี ท์ ่ีผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้อุณหภูมิสูงถึงระดับทีส่ ามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งที่เป็นโรคพืช โรคสัตว์ และโรคมนุษย์ รวมทั้งจุลินทรีย์ทั่ว ๆ ไปด้วย จากนั้นนำจุลินทรีย์ทีม่ ีสมบัติเป็นปุ๋ย ชีวภาพ ที่เลี้ยงไว้ในสภาพปลดปล่อยเชื้อมาผสมกับปุย๋ อินทรีย์ดังกล่าว แล้วหมักต่อไปจนกระทั่งจุลินทรีย์ท่ใี ส่ ลงไปในปุ๋ยหมักมีปริมาณคงที่ จุลินทรีย์เหล่านี้นอกจากจะช่วยตรึงไนโตรเจนให้แก่พืชแล้ว ยังช่วยผลิตสาร ฮอร์โมนพืชเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของรากพืช และจุลินทรีย์บางชนิดยังสามารถควบคุมโรคพืชในดิน และกระตุ้นให้พืชสร้างภูมคิ มุ้ กันโรคไดอ้ กี ดว้ ย

7 4. ป๋ยุ หมกั แบบทัว่ ไป ปุ๋ยหมักแบบทั่วไป เป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำวัสดุอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ มาหมักตามกระบวนการ ทางธรรมชาติ โดยไม่เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่อเร่งการหมัก ซึ่งการหมักจะเกิดการย่อยสลายอินทรียวัตถุ จากจุลนิ ทรีย์ ทำให้ปลดปล่อยธาตอุ าหารออกมาไดร้ วดเรว็ ข้นึ ๕. ปุย๋ หมกั ชีวภาพ ปุย๋ หมกั ชีวภาพ คอื ป๋ยุ อินทรยี ท์ ี่ผา่ นกระบวนการหมกั กับนำ้ สกัดชีวภาพ ชว่ ยในการ ปรับปรุงดิน ย่อย สลายอนิ ทรยี วตั ถุในดินใหเ้ ป็นอาหารแก่พืช วสั ดุอุปกรณ์ 6. ป๋ยุ โบกาฉิ โบกาฉิ (Bokashi) เป็นคำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า การหมัก (Compost) ซึ่งการทำปุ๋ยโบกาฉินั้นเกิด จากการทำหัวเช้อื จลุ ินทรยี ์ EM ในรูปแบบนำ้ ให้เป็นแห้ง ผูค้ ิดค้นคนแรกคือ ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ สรปุ ไดว้ ่า การ ทำปุ๋ยโบกาฉินั้นเป็นการทำปุ๋ยหมักด้วยอินทรียวัตถุ ที่หมักด้วยจุลินทรีย์ EM เท่านั้น มาประยุกต์ใช้โดยผ่าน กระบวนการหมักแบบแห้ง มกี ารผสมกากนำ้ ตาลเข้าไปเพื่อชว่ ยในกระบวนการย่อยสลายของจลุ นิ ทรีย์ ก่อนจะ หมักด้วยวัตถุดิบตามสูตรจนได้ที่ และนำไปใช้ให้เกิดผลดีในการปรับสภาพโครงสร้างดินให้ร่วนซุยและมี คุณภาพในการเพาะปลูกพชื

8 เรื่องที่ 3 ประโยชน์ของปุ๋ยชีวภาพ ประโยชนข์ องปยุ๋ หมัก ชว่ ยเพิ่มปริมาณ อนิ ทรีย์ วตั ถุใหแ้ ก่ดนิ ทำใหด้ ินอุดมสมบูรณ์ ช่วยเปล่ยี นสภาพของดนิ จากดนิ เหนยี วหรอื ดินทรายให้เป็นดนิ ร่วนทำให้สะดวกในการไถพรวน ช่วยสงวนรักษาความช่มุ ช้นื ในดนิ ได้ดีขึ้น ทำให้การถ่ายเทอากาศในดนิ ได้ดี ช่วยเพ่มิ ประสทิ ธภิ าพในการใช้ปยุ๋ เคมีและสามารถลดการใช้ป๋ยุ เคมีลงได้ ประโยชนข์ องปุ๋ยอินทรียค์ ืออะไร? ปุย๋ อินทรยี จ์ ัดวา่ เป็นปุ๋ยชนิดแรกๆทมี่ นุษย์รจู้ กั นำมาใชอ้ ย่างท่เี ราทราบกนั เมอื งไทยถือเป็นเมอื งดา้ นการเกษตรมาอยา่ งยาวนานต้งั แต่อดีตด้วยพืน้ ที่ของบา้ นเรานัน้ มีความอุดมสมบูรณส์ ูง เหมาะกบั การทำการเกษตรทุกรูปแบบ ทำให้ไดช้ ่ือวา่ เป็นเมืองอ่ขู ้าวอนู่ ้ำก็ไมป่ าน ย่ิงยุคสมยั พฒั นามาเร่ือยๆ เร่อื งการเกษตรเองก็ถูกพัฒนาตามไปดว้ ยเชน่ กนั เรามักเห็นว่าในยุคนกี้ ารใชง้ านปยุ๋ เคมีเพิม่ มากขนึ้ เยอะมาก แมท้ ุกคนรู้วา่ มนั ไมใ่ ช่เร่อื งดแี ต่ในเมอื่ มันทำให้พชื ผลการเกษตรโตเรว็ โตไว ขายไดร้ าคาคงไม่แปลกหากจะมคี น เลอื กใชง้ าน อย่างไรก็ตามหากมองในเรอ่ื งของสุขภาพและอนาคตมนั คงดีกวา่ ถ้าเกษตรกรทุกคนหนั มาใช้งาน ปุ๋ยอนิ ทรยี ์ทต่ี ้องบอกวา่ มีประโยชนม์ หาศาล แต่กอ่ นจะไปทำความรจู้ กั กับประโยชนล์ องมาเข้าใจปุ๋ยอินทรยี ค์ ือ อะไรกนั กอ่ นดีกวา่ รจู้ ักกบั ปุ๋ยอินทรยี ์ใหม้ ากขนึ้ ปุ๋ยอินทรีย์ หรือ ปุ๋ยหมัก บางคนก็เรียกว่าปุ๋ยชีวภาพ เกิดมาจากการย่อยสลายของบรรดาอินทรียวัตถุทาง ชีวเคมีโดยจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนแล้วเกิดเป็นประโยชน์ต่อพืช มีธาตุอาหารต่างๆ ที่พืชต้องการ ส่วนประกอบหลักของปุ๋ยปะเภทนี้มักมาจากสิ่งที่ได้จากธรรมชาติอย่างของเสียจากโรงงานบางประเภท , มูล สัตว์ เช่น มูลไก่, มูลวัว, มูลค้างคาว, ของย่อยสลายจากธรรมชาติ เช่น ซากต้นไม้, ใบไม้, สารอื่นๆ อย่าง กรดอะมโิ น, โคโมไลท์, แรธ่ าตตุ า่ งๆ ผา่ นการบดเติมจุลินทรีย์ทำการบ่มหมกั กลบั กอง แล้วค่อยยอ่ ยสลายกลาย มาเปน็ ป๋ยุ อินทรีย์น่ันเอง

9 กจิ กรรมทา้ ยบทที่ 1 ใหผ้ ้เู รียนตอบคำถาม และอธบิ ายใหไ้ ดใ้ จความดงั ต่อไปน้ี 1. บอกความหมายของปยุ๋ หมักและปุย๋ ชีวภาพ ………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………… 2. บอกข้อควรคำนึงเกย่ี วกบั การทำป๋ยุ หมัก ………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………… 3. บอกประโยชน์ของปยุ๋ หมักชีวภาพ หรือป๋ยุ ชวี ภาพ ………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………… 4. ยกตวั อย่างทรัพยากรตา่ ง ๆ ในชุมชนของผู้เรยี นทีส่ ามารถนำมาทำเปน็ ป๋ยุ หมักชีวภาพได้ พร้อมภาพประกอบ .................................................................................................... .................................................................................. .................. ....................................................................................................

10 บทที่ ๒ ข้นั ตอนการทำปยุ๋ หมกั ชวี ภาพ สาระสำคญั ขั้นตอนการทำปยุ๋ หมักชวี ภาพ วัสดแุ ละขน้ั ตอนการทำปุ๋ยโบกาฉิ และการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและปุ๋ย โบกาฉิ ผลการเรียนรู้ท่คี าดหวัง ๑. บอกวสั ดแุ ละขัน้ ตอนการทำปุ๋ยหมักชีวภาพได้ ๒. บอกวัสดแุ ละขนั้ ตอนการทำปุ๋ยโบกาฉิได้ 3. ทำปยุ๋ หมกั ชีวภาพและปุย๋ โบกาฉิได้ ๔. การผลติ ปุ๋ยหมักชีวภาพจากพชื ขยะเปียกและมลู สัตว์ ขอบเขตเน้ือหา บทที่ 2 เรียงตามลำดับความ ง่ายไปหายาก ขอบข่ายเน้อื หา เรื่องที่ ๑ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เรือ่ งที่ ๒ การทำปุย๋ โบกาฉิ

11 เร่อื งที่ ๑ การทำป๋ยุ หมักชวี ภาพ ปุ๋ยหมักชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดิน สามารถผลิตได้ง่ายใช้เวลาน้อย โดยการนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ผสมคลุกเคล้าหมักรวมกับมูลสัตว์ แกลบดำ รำ ละเอยี ดคลมุ ดว้ ยกระสอบป่าน ใช้เวลาประมาณ 3 วนั สามารถนำไปใช้ได้ ปุ๋ยอินทรยี ์ที่ผ่านกระบวนการหมัก กบั นำ้ สกัดชีวภาพ ชว่ ยในการ ปรับปรุงดนิ ย่อยสลายอินทรยี วตั ถุในดินให้เปน็ อาหารแก่พืช 1. วสั ดุทีใ่ ช้ทำป๋ยุ หมักชวี ภาพ วัสดอุ ุปกรณ์ 1. มูลสัตวแ์ ห่งละเอยี ด 3 ส่วน 2. แกลบดำ 1 ส่วน 3. อินทรีย์วัตถุอื่น ๆ ที่หาได้ง่าย เช่น แกลบ ชานอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง เปลือกถั่วเขียว ขุย มะพร้าว กากปาล์ม เปลือกมนั เป็นตน้ อย่างใดอย่างหน่ึงหรือหลายอยา่ งรวมกนั 3 สว่ น 4. รำละเอียด 1 สว่ น 5. นำ้ สกดั ชวี ภาพ หรอื ใช้หวั เชอื้ จลุ ินทรยี ์ (หัวเช้ือจลุ นิ ทรีย์ทำเอง หรือ สารเร่ง พด. หรอื EM) 1 ส่วน 6. กากนำ้ ตาล 1 ส่วน 7. นำ้ 100 สว่ น 8. บัวรดนำ้ หมายเหตุ : อัตราส่วนของวัสดุที่ใช้ปรบั ตามความเหมาะสม นอกจากรำละเอียด จะต้องให้มีไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 หรือ 10% เพราะรำละเอียดเป็นอาหารที่จำเป็นของจุลนิ ทรยี ์ 2. ข้นั ตอนการทำปุ๋ยชวี ภาพ 1. นำวัสดุต่าง ๆ มากองซอ้ นกนั เป็นชน้ั ๆ แล้วคลุกเคล้าจนเขา้ กนั ดี 2. เอาส่วนผสมของน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำตาลและน้ำคนจนละลายเข้ากันดี ใส่บัวราด บนกองวัสดุปุ๋ย หมกั คลุกให้เข้ากันจนทัว่ ให้ได้ความชนื้ พอหมาดๆ อยา่ ให้แห้งหรือข้นึ เกนิ ไป (ประมาณ 30-40 %) หรือลอง เอามือขยำบีบดู ถ้าส่วนผสมเป็นก้อนไม่แตก ออกจากกันและมือรู้สกึ ชื้นๆ ไม่แฉะแสดงว่าใช้ได้ ถ้าแตกออกจา กนั ยงั ใช้ไม่ได้ตอ้ งรด น้ำเพิม่ 3. หมกั กองปยุ๋ หมกั ไว้ 7 วัน กน็ ำไปใช้ได้ 4. วธิ ีหมัก ทำได้ 2 วิธี คอื 4.1 เกลี่ยกองปุ๋ยหมักบนพื้นซีเมนต์หนาประมาณ 1-2 คืบ คลุมด้วยกระสอบ ป่านทิ้งไว้ 4- 5 วัน ตรวจดูความร้อนในวนั ที่ 2-3 ถ้าร้อนมากอาจจะต้องเอากระสอบทีค่ ลุมออก แล้วกลับ กองปุ๋ย เพอื่ ระบายความรอ้ น หลังจากนน้ั กองปยุ๋ จะคอ่ ย ๆ เย็นลงนำลงบรรจุกระสอบเกบ็ ไว้ใช้ตอ่ ไป

12 4.2 บรรจปุ ุ๋ยหมักที่เขา้ กันดแี ล้วลงในกระสอบปุ๋ย ไมต่ ้องมดั ปากถุง ต้ังทิ้งไว้ บนท่อนไม้ หรือ ไม้กระดานที่สามารถถ่ายเทอากาศใต้พื้นถุงได้ ทิ้งไว้ 5-7 วัน จะได้ปุ๋ยหมักชีวภาพท่ี ประกอบด้วย จุลินทรีย์และสารอินทรียต์ ่าง ๆ เช่นเดียวกบั น้ำสกัดชวี ภาพในรปู แห้ง ปุ๋ยหมัก ชีวภาพ ทีด่ ี จะมกี ล่ินหอม มใี ยสีขาวของเชอ้ื ราเกาะกนั เป็นก้อนในระหว่างการหมัก ถ้าไม่เกิด ความร้อนเลย แสดงว่า การหมักไม่ได้ผล อุณหภูมิในระหว่างการหมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40 – 50 องศาเซลเซยี ส ถ้าให้ ความช้นื สงู เกนิ ไป จะเกดิ ความรอ้ นสูงเกินไป ฉะนน้ั ความช้ืน ที่ให้ต้องพอดี ประมาณ 30% ปุ๋ยหมัก ชีวภาพเมื่อแห้งดีแล้ว สามารถเก็บไว้ได้นานหลาย เดือน เกบ็ ไว้ในทีแ่ ห้งในรม่ วิธกี ารใช้ 1. ผสมปุย๋ หมกั ชีวภาพกบั ดินในแปลงปลกู ผกั ทุกชนิดในอัตรา 1 กโิ ลกรมั ตอ่ พ้ืนท่ี 1 ตารางเมตร 2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง และฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมกั ชีวภาพคลุกกบั ดนิ รองก้นหลุม ก่อนปลูกผกั ประมาณ 1 กำมอื 3. ไม้ผลควรรองกน้ หลุมดว้ ยเศษหญ้าใบไม้แหง้ ฟางและปุ๋ยหมักชวี ภาพ 1-2 กโิ ลกรมั สำหรับไม้ผลที่ ปลกู แลว้ ใส่ปุ๋ยหมักชวี ภาพ แนวทรงพุ่ม 2 กก.ตอ่ 1 ตารางเมตร แล้วคลมุ ด้วยหญา้ แห้งหรือใบไม้แห้งหรือฟาง ควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพเดือนละ 1 ครั้งๆ ละ 1 กำมอื

13 เรือ่ งที่ ๒ การทำปุ๋ยโบกาฉิ 1. วสั ดุท่ใี ช้ทำปุ๋ยโบกาฉิ 1. แกลบหยาบ 20 กิโลกรมั 2. มลู สตั ว์ 30 กิโลกรมั 3. รำละเอยี ด 50 กโิ ลกรมั 4. หัวเชือ้ จุลนิ ทรีย์ทข่ี ยายแลว้ 10 ลิตร 5. น้ำสะอาด 30 ลติ ร (ไมม่ สี ่วนผสมของคลอรนี ) 2. ขั้นตอนการทำปยุ๋ โบกาฉิ นำส่วนผสมทุกอย่างคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยนำของแห้งผสมกันก่อน แล้วจึงเติมน้ำสะอาดและ หัวเชื้อจุลนิ ทรีย์ลงไป ผสมต่อให้เข้ากัน โดยให้ปุ๋ยมีความชื้นประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ สามารถสังเกตได้ จากบีบตัวปุ๋ย หากบีบเป็นก้อนแล้วมีน้ำไหล เนื้อปุ๋ยแตกเป็น 3 ก้อน นั่นคือความชื้นพอดีแล้ว หลังจากนั้น จึงทิ้งไว้ในที่ร่ม แล้วกลับกองปุ๋ยทุกวัน (กองสูงประมาณ 30 เซนติเมตร) จนครบ 7 วัน จึงสามารถนำไป ผสมดินเพื่อเพาะปลูกได้ หากยังไม่ได้ใช้ก็สามารถเก็บปุ๋ยไว้ในกระสอบ หรือถุงได้ แต่ควรนำไปใช้ภายใน ระยะเวลา 1 ปี

14 บทท่ี 3 การนำปุ๋ยชวี ภาพไปใช้และการเกบ็ รกั ษา สาระสำคญั การนำปุย๋ ชีวภาพไปใช้ การนำปุ๋ยโบกาฉไิ ปใช้ เกบ็ รกั ษาป๋ยุ หมกั ชีวภาพ และเก็บรกั ษาปุ๋ยโบกาฉิ ผลการเรยี นรทู้ ี่คาดหวงั ๑. บอกวธิ กี ารนำป๋ยุ หมกั ชวี ภาพ และปยุ๋ โบกาฉิไปใช้ได้ ๒. นำปย๋ หมักชีวภาพ และปยุ๋ โบกาฉิไปใชไ้ ด้อย่างถูกต้อง 3. บอกวธิ ีการการเกบ็ รักษาป๋ยุ หมักชีวภาพ และปุ๋ยโบกาฉไิ ด้ ขอบขา่ ยเน้อื หา เร่อื งท่ี ๑ การนำปุ๋ยชีวภาพไปใช้ 1.1 การนำปยุ๋ หมักชวี ภาพไปใช้ 1.2 การนำปุ๋ยโบกาฉิไปใช้ เรอ่ื งที่ ๒ การเกบ็ รกั ษาปยุ๋ ชวี ภาพ 2.1 เก็บรักษาปุย๋ หมักชวี ภาพ 2.2 เก็บรักษาปุย๋ โบกาฉิ

15 เรื่องที่ ๑ การนำปุ๋ยชวี ภาพไปใช้ ปุ๋ยชีวภาพ คือปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์ สารประกอบธาตุอาหารพืชได้เอง หรือสามารถเปลี่ยนธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้มา อยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้ กรมวิชาการเกษตรนับเป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ได้ ศกึ ษาวิจัยปยุ๋ ชวี ภาพมามากกว่า 30 ปี และผลิตปยุ๋ ชวี ภาพจำหนา่ ยใหแ้ กเ่ กษตรกรด้วย 1. การนำปุย๋ หมักชวี ภาพไปใช้ นำ้ หมกั ชีวภาพ เป็นปยุ๋ ชวี ภาพในลักษณะ มีช่ือเรยี กไดห้ ลายแบบตามความคนุ้ เคยของแตล่ ะทอ้ งถน่ิ เช่น น้ำเอนไซม์ น้ำจุลนิ ทรยี ์ น้ำอเี อม็ นำ้ สกัดชีวภาพ ปุ๋ยนำ้ ชวี ภาพ แตใ่ นทน่ี ีจ้ ะขอใช้คำวา่ “ปุ๋ยหมกั ชีวภาพ” ภาพ จลุ นิ ทรยี ์สงั เคราะหแ์ สง ภาพ ฮฮรโ์ มนไข่ นำ้ หมักชวี ภาพนำไปใชอ้ ยา่ งไรบ้าง ใช้ปลูกพืชผกั ปศสุ ัตว์ ส่ิงแวดลอ้ ม ใชส้ ัดสว่ นแค่ไหน ค้นเน้อื หา เพิ่ม มีภาพประกอบดว้ ย

16 ปุ๋ยชวี ภาพแบง่ ออกเปน็ 2 ประเภท คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสังเคราะห์สารประกอบอาหารพืชไนโตรเจนได้เอง ได้แก่ ไรโซเบียมที่อยู่ในปมรากพืช ตระกลู ถั่ว แฟรงเคยี ท่ีอยใู่ นปมของรากสนทะเล สาหรา่ ยสเี ขยี วแกมน้ำเงินที่อยใู่ นโพรงใบของแหนแดง และยัง มจี ุลนิ ทรยี ท์ อ่ี าศัยอยใู่ นดินอยา่ งอสิ ระอีกมากที่สามารถตรงึ ไนโตรเจนจากอากาศให้แก่พืชไดเ้ ช่นกนั กลุ่มจลุ ินทรยี ท์ ช่ี ่วยทำให้ธาตุอาหารพชื ในดินละลายออกมาเปน็ ประโยชน์ต่อพชื มากขน้ึ เช่น ไมคอร์ไรซาท่ีช่วย ใหฟ้ อสฟอรสั ท่ีถูกตรงึ อยู่ในดนิ ละลายออกมาอยใู่ นรปู ท่ีพชื ดดู ไปใชป้ ระโยชน์ได้ การใช้ประโยชน์ 1. ทำใหโ้ ครงสรา้ งของดินและการซึมผา่ นของนำ้ ดีขนึ้ 2. เพม่ิ การดูดซับธาตุอาหารหลักและลดความเปน็ พิษของธาตุบางชนดิ 3. เพมิ่ กจิ กรรมของจุลินทรียใ์ นดนิ และลดปรมิ าณเช้อื โรคพชื บางชนดิ 4. การระบายอากาศของดนิ และรากพืชแผ่กระจายได้ดขี ้นึ 5. ดินคอ่ ยๆ ปลอ่ ยธาตอุ าหารพชื และลดการสูญเสียธาตุอาหารของพืช 3.ปุ๋ยอินทรยี ช์ วี ภาพ ป๋ยุ อินทรียช์ วี ภาพ คือ ปยุ๋ อนิ ทรีย์ทีผ่ า่ นกระบวนการผลติ ท่ีใชอ้ ณุ หภมู ิสงู ถึงระดบั ท่สี ามารถฆ่าเชอ้ื จลุ ินทรยี ์ ทงั้ ที่เปน็ โรคพชื โรคสตั ว์ และโรคมนุษย์ รวมทั้งจลุ ินทรีย์ทว่ั ๆ ไปดว้ ย จากนน้ั นำจุลินทรีย์ท่ีมีสมบัติเป็นปุ๋ยชวี ภาพ ท่ีเลี้ยงไวใ้ นสภาพปลดปล่อยเชอ้ื มาผสมกบั ปุ๋ยอินทรยี ด์ ังกล่าว และทำการหมกั ต่อไปจนกระท่ังจลุ นิ ทรีย์ท่ใี ส่ลง ไปในป๋ยุ หมักมปี รมิ าณคงที่ จุลินทรยี ์เหลา่ นน้ี อกจากจะช่วยตรึงไนโตรเจนใหแ้ ก่พืชแล้ว ยงั ชว่ ยผลติ สาร ฮอร์โมนพชื เพ่ือกระตนุ้ การเจริญเติบโตของรากพชื และจลุ ินทรียบ์ างชนิดยงั สามารถควบคุมโรคพืชในดนิ และ กระตนุ้ ให้พืชสรา้ งภูมคิ ้มุ กนั โรคได้อีกดว้ ย

17 1. นำวัสดตุ า่ ง ๆ มากองซอ้ นกนั เปน็ ชั้น ๆ แล้วคลกุ เคลา้ จนเขา้ กนั ดี 2. เอาสว่ นผสมของน้ำสกัดชวี ภาพกับนำ้ ตาลและน้ำคนจนละลายเข้ากันดี ใส่บัวราด บนกองวัสดปุ ุ๋ยหมัก คลุก ให้เข้ากันจนทัว่ ให้ไดค้ วามชน้ื พอหมาดๆ อย่าให้แหง้ หรอื ข้ึน เกินไป (ประมาณ 30-40 %) หรือลองเอามือขยำ บีบดู ถ้าส่วนผสมเป็นก้อนไม่แตก ออกจากกันและมือรู้สึกชื้นๆ ไม่แฉะแสดงว่าใช้ได้ ถ้าแตกออกจากันยังใช้ ไมไ่ ด้ตอ้ งรด น้ำเพิม่ 3. หมักกองปยุ๋ หมักไว้ 7 วนั กน็ ำไปใช้ได้ 4. วธิ ีหมกั ทำได้ 2 วธิ ี คือ 4.1 เกล่ยี กองปุ๋ยหมกั บนพืน้ ซเี มนต์หนาประมาณ 1-2 คืบ คลุมดว้ ยกระสอบ ปา่ นทิ้งไว้ 4-5 วัน ตรวจดคู วาม ร้อนในวันที่ 2-3 ถ้าร้อนมากอาจจะต้องเอากระสอบที่คลุมออก แล้วกลับ กองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน หลังจากนน้ั กองปุย๋ จะค่อย ๆ เย็นลงนำลงบรรจุกระสอบเกบ็ ไว้ใชต้ ่อไป 4.2 บรรจุปุ๋ยหมักที่เข้ากันดีแล้วลงในกระสอบปุ๋ย ไม่ต้องมัดปากถุง ตั้งทิ้งไว้ บนท่อนไม้ หรือไม้กระดานท่ี สามารถถ่ายเทอากาศใตพ้ ืน้ ถงุ ได้ ทิง้ ไว้ 5-7 วัน จะได้ปยุ๋ หมักชีวภาพท่ี ประกอบด้วย จุลินทรีย์และสารอินทรีย์ ต่าง ๆ เช่นเดียวกับน้ำสกัดชีวภาพในรูปแห้ง ปุ๋ยหมักชีวภาพ ที่ดี จะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาวของเชื้อราเกาะกัน เป็นก้อนในระหว่างการหมัก ถ้าไม่เกิดความร้อนเลย แสดงว่า การหมักไม่ได้ผล อุณหภูมิในระหว่างการหมกั ท่ี เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40 – 50 องศาเซลเซียส ถ้าให้ ความชื้นสูงเกินไป จะเกิดความร้อนสูงเกินไป ฉะนั้น ความชนื้ ท่ใี ห้ตอ้ งพอดี ประมาณ 30% ปยุ๋ หมัก ชีวภาพเมื่อแหง้ ดแี ลว้ สามารถเก็บไวไ้ ดน้ านหลายเดอื น เก็บไว้ ในทแ่ี ห้งในรม่ วิธีการใช้ 1. ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดนิ ในแปลงปลกู ผักทุกชนิดในอตั รา 1 กิโลกรัม ต่อพนื้ ที่ 1 ตารางเมตร 2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง และฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคลุกกับดินรองก้น หลมุ ก่อนปลกู ผกั ประมาณ 1 กำมอื 3. ไมผ้ ลควรรองก้นหลมุ ดว้ ยเศษหญา้ ใบไม้แหง้ ฟางและป๋ยุ หมกั ชีวภาพ 1-2 กโิ ลกรัม สำหรบั ไม้ผลทีป่ ลกู แล้ว ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ แนวทรงพุ่ม 2 กก.ต่อ 1 ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้งหรือใบไม้แห้งหรือฟาง ควรใส่ ปุย๋ หมกั ชวี ภาพเดอื นละ 1 ครง้ั ๆ ละ 1 กำมอื

18 4. ลกั ษณะของปยุ๋ หมกั ต่างๆ ตามระยะเวลาในการนำมาใช้ โดยแบ่งได้ 4 แบบ ดงั น้ี 4.1 ปุ๋ยหมักค้างปี ใชเ้ ศษพชื เพียงอย่างเดยี วนำมาหมักท้ิงไว้คา้ งปีก็สามารถ นำมาใชเ้ ปน็ ปุ๋ยหมักได้โดยไม่ต้อง ดแู ลรกั ษา ซึ่งตอ้ งใชเ้ วลาในการหมักนานประมาณ 1 ปี 4.2 ปุ๋ยหมักธรรมดาใช้มลู สัตว์ ใชเ้ ศษพืชและมูลสัตว์ในอัตรา 100 : 10 ถ้าเปน็ เศษพชื ชิ้นส่วนเล็กนำมาคลุก ผสมได้เลย แต่ถ้าเป็นเศษพืชชิ้นส่วนใหญ่นำมากองเป็นชั้นๆ แต่ละ กองจะทำประมาณ 3 ชั้น แต่ละชั้น ประกอบด้วยเศษพืชที่ย่ำและรดน้ำสูงประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร แล้วโรยทับด้วยมูลสัตว์ แบบนี้ใช้ ระยะเวลาหมักนอ้ ยกวา่ ปยุ๋ หมกั คา้ งปี เช่น ถ้าใช้ฟางข้าวจะใชเ้ วลา ประมาณ 6 – 8 เดอื นในการหมัก 4.3 ปุ๋ยหมักธรรมดาใช้จุลินทรีย์เร่ง ใช้เวลาในการทำสั้นทำได้โดยการใช้ เชื้อจุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายของ เศษพืชและมูลสัตว์ทำให้ได้ปุ๋ยหมักเร็วขึ้นนำไปใช้ได้ทันฤดูกาลโดยใช้ สูตรดังนี้ เศษพืช 1,000 กิโลกรัม มูล สัตว์ 100 กิโลกรัม และเชื้อจุลินทรยี ์ (น้ำหมักชีวภาพ) ตามความ เหมาะสม ใช้เวลาหมักประมาณ 30 – 60 วนั 4.4 ปุ๋ยหมักต่อเช้ือ เป็นการนำปุ๋ยหมักธรรมดาใช้จุลินทรีย์เร่งจำนวน 100 กิโลกรัม นำไปต่อเชื้อการทำปุ๋ย หมักได้อีก 1,000 กิโลกรัม (1 ตัน) การต่อเชื้อนี้สามารถทำการต่อได้ เพียงอีก 3 ครั้ง ใช้เวลาหมักประมาณ 30 - 60 วัน มีจดุ ประสงคเ์ พ่ือเป็นการประหยัดในการซื้อ เชื้อจลุ ินทรีย์ 5. การพิจารณาในแง่ใช้ประโยชนส์ ูงสุดในการใชป้ ุ๋ยหมักชวี ภาพต้องพจิ ารณาจาก ลกั ษณะของการใส่ให้แก่พืช ปลูก โดยแบ่งได้ 3 แบบ ดงั นี้ 5.1 ใส่แบบหว่านทั่วแปลง การใส่ปุ๋ยหมักแบบนี้เป็นวิธีการที่ดีต่อการปรับปรุง บำรุงดิน เนื่องจากปุ๋ยหมักจะ กระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลงปลูกพืชที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ส่วนมากจะใช้กับการปลูกข้าวหรือพืชไร่ หรือพชื ผกั แตจ่ ะต้องใชแ้ รงงานในการใสป่ ยุ๋ หมกั อตั ราของปุ๋ย หมักทใี่ ช้ประมาณ 2 ตนั ตอ่ ไรต่ อ่ ปี 5.2 ใส่แบบเป็นแถว การใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นแถวตามแนวปลูกพืชมักใช้กับการ ปลูกพืชไร่ วิธีการใส่ปุ๋ย หมัก แบบเปน็ แถวเหมาะสมที่จะใชแ้ บบโรยเป็นแถวสำหรบั ระบบการปลกู พชื ไร่ ทั่วไป อตั ราปุ๋ยหมกั ที่ใชป้ ระมาณ 3 ตนั ต่อไรต่ อ่ ปี 5.3 ใส่แบบเป็นหลมุ การใส่ ปุ๋ยหมัก แบบเป็นหลุมมักจะใช้กับการปลูกไม้ผล และไม้ยืนต้นโดยสามารถใส่ป๋ยุ หมักได้สองระยะคือ ในช่วงแรกของการเตรียมหลุมเพื่อการปลูกพืช นำ ดินด้านบนของหลุมคลุกเคล้ากับปุ๋ย หมักแลว้ ใสร่ องกน้ หลมุ อกี ระยะหน่งึ อาจจะใสป่ ุ๋ยหมักในช่วงที่พชื เจริญแล้ว โดยการขดุ เป็นร่องรอบๆต้นตาม แนวทรงพุ่มของต้นพืช แล้วใส่ปุ๋ยหมักลงในร่องแล้วกลบด้วย ดิน อัตราการใช้ปุ๋ยหมักประมาณ 20 – 50 กโิ ลกรัมตอ่ หลมุ การใช้ประโยชน์

19 1. ทำใหโ้ ครงสร้างของดนิ และการซึมผา่ นของนำ้ ดขี ึน้ 2. เพ่ิมการดดู ซับธาตอุ าหารหลักและลดความเปน็ พษิ ของธาตุบางชนิด 3. เพม่ิ กิจกรรมของจลุ ินทรยี ์ในดนิ และลดปรมิ าณเชื้อโรคพืชบางชนิด 4. การระบายอากาศของดินและรากพืชแผ่กระจายได้ดีขน้ึ ๕. ดนิ ค่อยๆ ปล่อยธาตุอาหารพชื และลดการสูญเสียธาตุอาหารของพชื 2. การนำปุ๋ยโบกาฉไิ ปใช้ ปุย๋ โบกาฉิ หรอื ปยุ๋ หมักจุลินทรียช์ วี ภาพอเี อ็ม ทีผ่ า่ นการหมกั ครบ 7 วนั แล้ว จะมีลักษณะแห้งร่วนซยุ และไมม่ ี กลนิ่ พร้อมนำไปใช้ประโยชนไ์ ด้ -ใชป้ ุ๋ยหมกั จุลนิ ทรียอ์ ีเอ็มในการเตรียมดินสำหรบั การปลกุ พืชทุกชนดิ โดยโรยโบกาฉิมูลสตั ว์ ประมาณ 2 กำ มือ (200 กรมั ) ต่อพ้ืนท่ี 1 ตารางเมตร พรวนให้เข้ากัน เอาหญ้าหรอื ฟางแห้งคลุมทับอกี ช้ันหนงึ่ แล้วรดดว้ ย นำ้ ผสม EM 10 ซซี ี ต่อนำ้ 10 ลติ ร ทิ้งไว้ 7 วัน แล้วจึงทำการปลกู ผกั หรอื พืชต่างๆ - หากใช้กบั แปลงผกั ท่ีปลกู แล้ว ให้ใชโ้ บกาฉมิ ูลสัตวโ์ รยรอบๆ ทรงพุ่ม(ระวงั อย่าให้โดนใบและโคนต้นผัก) คลมุ ทับด้วยฟางหรือหญ้า แลว้ รดต่อด้วยนำ้ EM อีกครั้ง ใชเ้ ดือนละ 1-2 คร้ังพอ - สำหรบั ไมผ้ ลปละพชื ยืนตน้ อายปุ ระมาณ 2 ปี ใชโ้ บกาฉิมลู สตั ว์ โรยรอบทรงพุม่ ต้นละ 1-2 กก. ตอ่ ปี ใสค่ รัง้ เดียวหรอื แบ่งใส่ก็ได้ จากนัน้ ใส่ปีละ 1 กก. หรือ จะใชโ้ บกาฉิฟาง มากกวา่ นี้ข้ึนอยู่กับสภาพของดนิ จากน้นั ใส่ ปีละ 1 กก. หรือ จะใชโ้ บกาฉิฟางมากกว่านจ้ี ้ึนอยกู่ บั สภาพดนิ ใสจ่ นกวา่ ดนิ จะรว่ นซยุ - หวา่ นปยุ๋ หมักจุลินทรีย์อเี อ็มลงในนาหลงั การเก็บเก่ียว(เดือน ธ.ค. ม.ค.) อัตรา 100-200 กิโลกรมั /ไร่ หรือ ประมาณ 10 กระสอบๆละ 20 กิโลกรมั ฉดี พน่ ดว้ ยน้ำหมักจลุ ินทรยี ์อีเอ็ม 4 ป๊บี /ไร่ แล้วไถกลบ - ถ้าไม่ได้หว่านป๋ยุ หมกั จุลินทรีย์หลังเก็บเก่ยี ว ให้หว่านในชว่ งเดอื น เม.ย. พ.ค. ให้หวา่ นปุ๋ยหมักจุลินทรยี ์อี เอม็ ในอตั รา 150-250 กิโลกรมั /ไร่ - เดือน ม.ิ ย. ก.ค. ขยายจุลนิ ทรยี ์โดยใช้นำ้ 4 ปบ๊ี เติมจุลนิ ทรยี ์ ปบ๊ี ละ 2 ช้อน และกากนำ้ ตาล ปี๊บละ 2 ช้อน ฉดี พ่นใส่หญา้ แล้วไถกลบ

20 เร่อื งท่ี 2 การเกบ็ รักษาปุ๋ยชีวภาพ 1. การเกบ็ รกั ษาน้ำหมักชีวภาพ 1. น้ำหมักชีวภาพสามารถเก็บไว้ได้นานหลายปี ในอุณหภูมิปกติไม่เกิน 45 - 50 องศาเซลเซียส โดยปดิ ฝาให้สนิท ไมใ่ หอ้ ากาศเขา้ 2. การนำน้ำหมกั ชีวภาพไปขยายตอ่ ควรใชภ้ าชนะทส่ี ะอาดและใชใ้ หห้ มดภายในเวลาที่เหมาะสม 3. การเก็บไว้หลาย ๆ วัน โดยไม่มีการเคลื่อนไหวในภาชนะ จะเกิดฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ นั่นคือการ ทำงาน ของจุลนิ ทรียท์ ่ีฟกั ตัว เมอื่ เขยา่ แลว้ ทง้ิ ไว้ช่วั ขณะ ฝา้ สขี าวจะสลายตัวกลบั ไปอยใู่ นจลุ นิ ทรยี เ์ หมอื นเดิม 4. เมื่อนำน้ำหมักชีวภาพไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาว ๆ ภายใน 2 – 3 วัน ถ้าไมม่ ฟี องดังกล่าวแสดงว่าการหมกั ขยายเช้ือไม่ได้ผล 5. นำ้ หมกั ชวี ภาพที่นำไปขยายเชื้อแลว้ ควรใชใ้ หห้ มดภายใน 7 วัน หลังจากทไี่ ดท้ ี่แลว้ ทงั้ น้ี เพ่อื ป้องกันการเส่ือมคุณภาพอันเกิดจากความไมส่ ะอาดของน้ำ ภาชนะและส่ิงแปลกปลอมจากอากาศ เพราะจุลนิ ทรยี ์ในน้ำหมักชีวภาพสว่ นใหญ่ไม่ต้องการอากาศ 2. การเกบ็ รกั ษาป๋ยุ โบกาฉิ มดั ปากกระสอบใหห้ ลวมๆแลว้ นำไปต้ังไว้ในท่ีร่ม ประมาณ 7 วนั เมื่อป๋ยุ เย็นลงแล้วจงึ นำมาใช้ ประโยชน์ได้

21 คณะผู้จดั ทำ ที่ปรกึ ษา นางสาวสุนทรีย์ เตินขุนทด รองผ้อู ำนวยการสำนักงาน กศน.จงั หวดั แพร่ นางสาวอรณุ ี พันธ์พุ าณชิ ย์ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสงู เม่น นางสาวศริ ลิ กั ษณ์ ม่ันเหมาะ ครู นางณิชากร เมธาภรณ์ ครชู ำนาญการพิเศษ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ นางแก้วตา ธีระกลุ พิศทุ ธิ์ ครูชำนาญการพิเศษ สถาบนั กศน.ภาคเหนอื นางสาวสมพร เอ่ยี มสำอาง ศึกษานเิ ทศก์ชำนาญการ สำนักงาน กศน.จังหวดั ลำปาง ผรู้ วบรวม/เรียบเรียง นางสาวเมทินี ฉิมภารส ครู กศน.ตำบล บรรณาธกิ าร นางสาวอรุณี พนั ธุพ์ าณิชย์ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอสูงเม่น นางสาวศิริลกั ษณ์ มั่นเหมาะ ครู นางสาวอำพร ช่างเกวยี น ข้าราชการบำนาญ นางสาวอรวรีย์ ฟองจันทร์ ข้าราชการบำนาญ นางสาวเจรญิ ศรี ศภุ ะ ครู กศน.อำเภอแมเ่ มาะ จงั หวัดลำปาง คณะทำงาน นางสาวศริ ลิ ักษณ์ มน่ั เหมาะ ครู นางจุฑาภรณ์ ทอิ อ่ น บรรณารักษช์ ำนาญการพิเศษ นายภญิ โญ โออไุ ร ครผู ชู้ ่วย นางสาวกญั ธรส นามสขุ ครูผู้ชว่ ย นางวรรณี กันฉง่ิ ครอู าสาสมัครฯ นางสาวมุกดา เหมอื งจา ครูอาสาสมัครฯ นางปรียา เกษรมาลา ครูอาสาสมัครฯ นายวทิ ยา ปนิ ตา ครูอาสาสมคั รฯ นางสาววนดิ า จิตใจ ครู กศน.ตำบล นางสภุ ิญญา ประทิศ ครู กศน.ตำบล นายสุรเชษฐ์ วงั กระแส ครู กศน.ตำบล นายนิวัฒน์ ใสสะอาด ครู กศน.ตำบล นางสาวจฑุ ามาศ จำรัส ครู กศน.ตำบล นางสาวกัญญารัตน์ สายแสง ครู กศน.ตำบล

22 นางสาววรรณา ลำ้ เลิศ ครู กศน.ตำบล นางสาวเฟ่ืองฟา้ คะชา ครู กศน.ตำบล นางสาวพรพรรณ บ่อคำ ครู กศน.ตำบล นางสาวธนสิ า ปราบปราม ครู กศน.ตำบล นายยทุ ธนา ปญั ญาใจ ครู กศน.ตำบล นางสาวเมทนิ ี ฉิมภารส ครู กศน.ตำบล นายเจวทิ ย์ วิทย์กาญจน์ เลิศวธั นะภาคย์ นกั วิชาการศกึ ษา รูปเลม่ /ปก นางสาวกญั ธรส นามสขุ ครูผู้ช่วย

23


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook