Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่ 6 การใช้พลังงานเพื่อการขนส่ง

บทที่ 6 การใช้พลังงานเพื่อการขนส่ง

Published by Narabodee, 2022-01-27 05:28:12

Description: เพิ่มหัวเรื่องย่อย

Search

Read the Text Version

ผู้จัดทำ นายนรบดี ศรีสกุล ปวส.1/3 เลขที่7 รหัสนักศึกษา 64321120331

บทที่ 6 การใช้พลังการเพื่ อการขนส่ง

ความหมาย พลังงาน (Energy) คือความสามารถในการทำงานหรือทำให้เกิดงาน ผลการทำงาน ของแรงนั้นทำให้ว ัตถุหรือสิ่งใด ๆ เคลื่อนที่ หรือเคลื่อนไหว พลังงานนั้นสามารถจัด เก็บไว้ได้พลังงานไม่สามารถถูกทำลายได้ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงจากรูปหนึ่งไปเป็น อีกรูปหนึ่งได้ เช่น พลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า เป็น พลังงานกล หรือ พลังงานความร้อน เป็นต้น

ประเภทของพลังงาน โดยเราสามารถแบ่งประเภทพลังงานตามแหล่งที่มาได้ 2 ประเภท คือ พลังงานต้นกำเนิด (Primary Energy) เป็นพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น แสงแดด น้ำ ลม หรือเชื้อเพลิงธรรมชาติ อาทิ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น พลังงานแปรรูป (Secondary Energy) เป็นพลังงานต้นกำเนิดที่ผ่าน การแปรรูปและปรับปรุงให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมนำไปใช้ประโยชน์ เช่น พลังงานไฟฟ้า ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นต้น

ปัญหาการใช้พลังงานในประเทศไทย ปัญหาการใช้พลังงานของประเทศไทยรุนแรงขึ้น จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น วิกฤตการณ์ด้านพลังงาน ซึ่งสรุปสาเหตุของวิกฤตการณ์พลังงานได้ ดังนี้ 1. การขาดแคลนพลังงานประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง 2. ต้องพึ่ งพาการนำเข้าน้ำมังเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ 3.ขาดความรู้ และเทคโนโลยีในการพัฒนาพลังงาน 4. นโยบายด้านพลังงานพึ่ งเริ่มต้นอย่างจริงจัง 5.ความฟุ่มเฟือย และการใช้พลังงานอย่างขาดประสิทธิภาพ

พลังงานต้นกำเนิด ถ่านหิน ( Coal ) เกิดจากการตกตะกอนสะสมของซากพื ชในยุคดึกดำบรรพ์ เป็นเวลายาวนาน หลายล้านปี จนตะกอนนั้นได้เปลี่ยนสภาพไป

พลังงานต้นกำเนิด ปิโตรเลียม (Petroleum) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอันสลับซับซ้อน ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติใน ชั้นหินใต้พื้นผิวโลก มีธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักคือ ไฮโดรเจน และคาร์บอน ได้จากการสลายตัวของอินทรีย์สารจำนวนมาก ทับถมกันในหินตะกอน ภายใต้ ความร้อนและความดันมหาศาล เมื่อนำมากลั่นจะได้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

พลังงานแปรรูป พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทางเลือกและเป็นพลังงานที่ใช้แล้ว ไม่หมดไป โดยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆ และยังรักษาสิ่งแวดล้อม

พลังงานแปรรูป พลังงานน้ำ พลังงานน้ำ นิยมใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยมีกังหันน้ำเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยน พลังงานจลน์ที่มีอยู่ในน้ำให้เป็นพลังงานกลเพื่ อ ผลิต

พลังงานทดแทนเพื่ อการขนส่ง 1. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ พัฒนาขึ้นมาเป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันเบนซิน เกิดจากการผสมระหว่างน้ำมัน เบนซินกับเอทานอล (เอทิลแอลกอฮอล์) 1.1น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 เป็นส่วนผสม 1.2น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 เป็นส่วนผสม ระหว่างเอทานอลไม่เกินร้อยละ 10 และ ระหว่างเอทานอลไม่เกินร้อยละ 20 และไม่ต่ำ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 9 กับน้ำมันเบนซินพื้น กว่าร้อยละ 19 กับน้ำมันเบนซินพื้นฐานร้อย ฐานร้อยละ 90 โดยปริมาตร ซึ่งในท้อง ละ 80 โดยปริมาตร ตลาดปัจจุบันมีจ่าหน่ายทั้งน้ำมันแก๊ส โซฮอล์ออกเทน 91 และน้่ามันแก๊สโซ 1.3น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 เป็นส่วนผสม ฮอล์ออกเทน 95 ระหว่างเอทานอลร้อยละ 85 และไม่ต่ำ กว่าร้อยละ 75 กับน้่ามันเบนซินพื้นฐาน ร้อยละ15 โดยปริมาตร

พลังงานทดแทนเพื่ อการขนส่ง 2. ไบโอดีเซล ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำน้ำมันพื ชหรือไขมันสัตว์มาผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่ อให้ได้ สารที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว สามารถน้ำไปใช้เป็นเครื่องยนต์ดีเซล หมุนเร็วและสามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ 2.1ไบโอดีเซลสำหรับเครื่องยนต์การเกษตร หรือบางครั้งเรียกว่า ไบโอดีเซลชุมชนโดย 2.2 ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเทอร์ของ จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าไบโอดีเซลประเภท กรดไขมัน ซึ่งเป็นไบโอดีเซลที่มีคุณภาพสูง เมทิลเอสเทอร์ของกรดไขมัน เพราะ โดยมีโครงสร้างน้ำมันใกล้เคียงกับน้ำมัน เครื่องยนต์ที่ใช้ในการเกษตรมีเครื่องยนต์ ดีเซลมาก ไม่ซับซ้อน จึงไม่ต้องใช้ไบโอดีเซลที่มี คุณภาพสูงก็ได้

ความสำคัญของการขนส่ง ความหมายของการขนส่ง การเคลื่อนย้ายคน (People), สินค้า (Goods) หรือ บริการ (Services) จาก ตำแหน่งสถานที่หนึ่งไปยังอีกตำแหน่งสถานที่หนึ่ง โดยใช้โครงสร้างพื้นฐาน, ยานพาหนะ และ วิธีดำเนินการที่แตกต่างกันออกไป ประเภทการขนส่ง ในปัจจุบันการขนส่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลักๆ ได้แก่ 1. การขนส่งทางบก 2. การขนส่งทางน้ำ 3. การขนส่งทางอากาศ 4. การขนส่งทางท่อ 5. การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์

การขนส่งทางบก จำแนกเป็น 2 รูปแบบ… 1. การขนส่งทางรถยนต์ (Motor Transportation) หรือ รถบรรทุก (Truck Transportation) ที่ในปัจจุบันเป็นที่นิยมอย่างมาก เหมาะสำหรับสินค้าขนาด กลางไปถึงขนาดใหญ่ สะดวก รวดเร็ว ขนส่งสินค้าได้ตลอดเวลาตามความ ต้องการ และการขนส่งทางรถยนต์อีกรูปแบบคือ การขนส่งโดยใช้ จักรยานยนต์ (Motorcycle) ที่จะเหมาะกับสินค้าขนาดเล็ก-กลาง ในระยะการ ขนส่งสั้น ๆ เท่านั้น 2. การขนส่งทางรถไฟ (Railroads) เป็นเส้นทางการขนส่งที่สำคัญอีกทาง หนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในยุคสมัยก่อน หรือยุคบุกเบิกการขนส่งเลยก็ ว่าได้ แม้ในปัจจุบันจะได้รับความนิยมลดน้อยลงก็ตาม เหมาะสำหรับการขนส่ง สินค้าที่มีน้ำหนักและปริมาณมาก ในระยะทางไกล มีอัตราค่าบริการไม่แพงมาก นัก และขนส่งสินค้าได้จำนวนมากหลายชนิด

การขนส่งทางน้ำ การขนส่งโดยใ ช้เส้นทางลำเลียงสินค้าผ่าน แม่น้ำ, ลำคลอง, ทะเล ส่วนใหญ่ใช้ สำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเหมาะสมกับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ ขนส่งได้ปริมาณมากเป็นสินค้าที่ยากแก่การเสียหาย เช่น หิน ทราย ข้าว เป็นต้น ซึ่งอัตราค่าขนส่งจะถูกกว่าเมื่อเทียบกับการขนส่งทางอื่นๆ อีกทั้งยัง ขนส่งได้ในปริมาณที่เยอะ และสามารถส่งในระยะไกลๆได้ แต่อาจใช้ระยะเวลา การขนส่งที่ไม่แน่นอน

การขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางอากาศเป็นรูปแบบที่เหมาะกับการขนส่งระหว่างประเทศ หรือ การขนส่งที่ต้องการความรวดเร็วสูง สะดวกและปลอดภัย โดยส่วนใหญ่แล้ว จะขนส่งสินค้าทาง ‘เครื่องบิน’ เหมาะกับการขนส่งสินค้ามูลค่าสูง ประเภทที่ เปราะบางและอาจเกิดความเสียหายง่าย ไม่เหมาะกับสินค้ามูลค่าต่ำ สินค้าที่มี ขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากเกินไป ซึ่งการขนส่งทางอากาศจะมีค่าใช้จ่ายสูง กว่าการขนส่งประเภทอื่นๆ

การขนส่งทางท่อ เป็นการขน ส่งสินค้าประเภท ของเหลวและก๊าซ ผ่านสายเดิน ท่อ ที่ติดตั้งไว้ เช่น น้ำประปา น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งการขนส่งทางท่อจะแตกต่างกับการ ขนส่งประเภทอื่นตรงที่ อุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งไม่ต้องเคลื่อนที่ โดยเส้นทาง ขนส่งทางท่ออาจจะอยู่บนดิน ใต้ดินหรือใต้น้ำ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ทำให้ กำหนดเวลาการขนส่งได้แน่นอนชัดเจน ประหยัดต้นทุน เวลาในการขนย้าย สินค้า และมีความปลอดภัยสูงจากการสูญหายหรือลักขโมย ใช้กำลังคนน้อย ซึ่งมีข้อเสียตรงที่ขนส่งได้เฉพาะสินค้าที่เป็นของเหลวหรือก๊าซเท่านั้น และมีค่า ใช้จ่ายในการลงทุนครั้งแรกสูงมาก

การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ การขนส่งที่จะบรรจุสินค้าลงใน ตู้ หรื อ กล่องเหล็กขนาดใหญ่ แล้วทำการ ขนส่งโดย รถบรรทุก รถไฟ หรือ เครื่องบิน ไปยังจุดหมายปลายทางโดยไม่มี การขนถ่ายสินค้าออกจากตู้ระหว่างทำการขนส่งเที่ยวนั้น ซึ่งตู้คอนเทนเนอร์ ทนทานต่อสภาพลมฟ้าอากาศ จึงสามารถป้องกันสินค้าชำรุดเสียหายได้เป็น อย่างดีนั่นเอง

แหล่งอ้างอิง 1. https://dmf.go.th/public/list/data/index/menu/655/mainmenu/655/ 2. https://www.dtc.co.th//ความรู้โลจิสติกส์/การขนส่งมีกี่ประเภท


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook