ลิลิต ตตะะเเลลงงพพ่่าายย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนสามร้อยยอดวิทยาคม
ผู้แต่ง ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) กับเจ้าจอมมารดาจุ้ย โดยนิพนธ์เรื่องลิลิตตะเลงพ่ายในขณะดำรงพระอิสริยยศ เป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรสฯ ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญในหลายด้าน ทั้งคดีโลก คดีธรรม และอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงอยู่ในสมณเพศยาวนานถึง ๕๒ พรรษา โดยสิ้นพระ ชมน์ในแผ่นดิน รัชกาลที่ ๔ สิริรวมพระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา ตัวละคตรัวละคร แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่ายกรุงศรีอยุธยา และฝ่ายหงสาวดี ตัวลฝะ่าคยรกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒) เป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑) แห่งราชวงศ์สุโขทัย กับพระวิสุทธิกษัตรีย์ สมเด็จพระเอกาทศรถ (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๓)พระอนุชาของสมเด็จพระ นเรศวรมหาราช สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ พระมหา กษัตริย์อยุธยา ตัวละคฝ่รายหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรง แห่งราชวงศ์ตองอู พระมหาอุปราชามังกะยอชวา เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้า นันทบุเรง พระเจ้ามังนรธาช่อ เจ้าเมืองเชียงใหม่ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒ ในพระเจ้านันทบุเรง มางจาชโร พี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชา ถูกสมเด็จพระเอกาทศรถ ฟังเสียชีวิตบนหลังช้าง
ลักษณะการแต่ง แต่งด้วยลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสาม สุภาพ และโคลงสี่สุภาพ แต่งสลับกันไป จำนวน ๔๓๙ บท โดยได้แบบอย่าง การแต่งมาจากลิลิตยวนพ่ายที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ลิลิตเปรียบ ได้กับงานเขียนมหากาพย์ จัดเป็นวรรณคดีประเภทเฉลิมพระเกียรติพระ มหากษัตริย์ ฉันทลักษณ์
ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ (สังเกตจากแผนผัง) ๑. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด ๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ – ๓ มี ๒ พยางค์ บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้ ห้า -สอง ( สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ ) ห้า- สอง ห้า – สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ ) ห้า – สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา) ๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง ๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง คำเอกคำโท หมายถึงพยางค์ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก และรูปวรรณยุต์โท กำกับ อยู่ในคำนั้น โดยมีลักษณะบังคับไว้ดังนี้ คำเอก ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอกบังคับ เช่น ล่า เก่า ก่อน น่า ว่าย ไม่ ฯลฯ และให้รวมถึงคำตายทั้งหมดไม่ว่าจะมีเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ปะ พบ รึ ขัด ชิด (ในโคลงและร่ายใช้ คำตาย แทนคำเอกได้) คำตาย คือ ๑) คำที่ประสมสระเสียงสั้นแม่ ก กา (ไม่มีตัวสะกด) เช่นกะ ทิ สิ นะ ขรุ ขระ เละ เปรี๊ยะ เลอะ โป๊ะ ฯลฯ ๒) คำที่สะกดด้วยแม่ กก กบ กด เช่น เลข วัด สารท โจทย์ วิทย์ ศิษย์ มาก โชค ลาภ ฯลฯ คำโท ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โทบังคับ ไม่ว่าจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ข้า ล้ม เศร้า ค้าน คำเอก คำโท ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ประเภท “โคลง” และ “ร่าย”และถือว่าเป็นข้อ บังคับของฉันทลักษณ์ที่สำคัญมาก ถึงกับยอมให้เอาคำที่ไม่เคยใช้รูปเอก รูปโท แปลง มาใช้เอก และ โท ได้ เช่น เล่น นำมาเขียนใช้เป็น เหล้น ได้ เรียกว่า “โทโทษ” ห้าม ข้อน นำมาเขียนเป็น ฮ่าม ค่อน เรียกว่า “เอกโทษ”เอกโทษและโทโทษ นำมาใช้ แก้ปัญหาได้ แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เอกโทษและโทโทษ หากแต่งโคลงสี่สุภาพ ตาม กระทู้หรือตามหัวข้อเรื่อง จะเรียกโคลงนั้นว่า โคลงกระทู้ ๕. กรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ให้ใช้ เอกโทษ และ โทโทษ โดยผู้แต่งจะเขียนกระทู้แยกออกมาด้านข้าง หากแยกออกมา ๑ พยางค์ เรียกว่า กระทู้ ๑ คำหากแยกออกมา ๒ พยางค์ เรียกว่ากระทู้ ๒ คำ
เนื้อเรื่อง ภูบาลอื้นอำนวย อวยพระพรเลิศล้น จงอยุธย์อย่างพ้น แห่งเงื้อมมือเทอญ พ่อนา พระเจ้าหงสาวดีอวยพรให้ลูกให้ได้ชัยชนะ และขอให้ชาวอยุธยา ตกอยู่ให้เงื้อมมือไม่ให้หนีรอดพ้นไปได้ จงเจริญชเยศด้วย เดชะ ชาวอยุธย์อย่าพะ พ่อได้ จงแพ้พิพาศพระ วิริยภาพ พ่อนา ชนะแด่สองท่านไท้ ธิราชเจ้าจอมสยาม จงมีพระเดชอย่าให้ชาวอยุธยาชนะหรือทำร้ายเจ้าได้เลย จงพ่ายแพ้ต่อความเก่งกาจ ของเจ้า ขอให้ชนะกษัตริย์ชาวสยาม นั่นก็คือ สมเด็จพระเนเรศวรมหาราชและสมเด็จ พระเอกาทศรถ สงครามความเศิกซึ้ง แสนกล จงพ่ออย่ายินยล แต่ตื้น อย่าลองคะนองตน ตามชอบ ทำนา การศึกลึกเล่ห์พื้น ล่อเลี้ยวหลอกหลอน ในการทำสงคราม ย่อมต้องมีกลโกงในการต่อสู้ เมื่อได้ยินหรือได้รู้อะไรมา ก็ไม่ควรฟังเพียงตื้นๆ อย่าคิดประมาททำอะไรโดยทำตามความพอใจของตัว เอง การต่อสู้มีความซับซ้อน จงแจ้งแห่งเหตุเบื้อง โบราณ เป็นประโยชน์ยุทธการ กล่าวไว้ เอาใจทหารหาญ เริงรื่น อยู่นา อย่าระคนปนใกล้ หากรู้เห็นอะไรมา ให้บอกเพื่อที่จะได้วางแผนการต่อสู้ เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจให้ทหารต่อสู้ ไม่ควรระแวงคนใกล้ตัว มันจะทำให้ดูโง่
เนื้อเรื่อง หนึ่งรู้พยุหเศิกไสร้ สบสถาน เจนจิตวิทยาการ กาจแกล้ว รู้เชิงพิชัยชาญ ชุมค่าย ควรนา อาจจักรอนรณแผ้ว แผกแพ้พังหนี ให้รู้จักวิธีจัดกระบวนทัพ ให้รอบรู้เจนจบตำราพิชัยสงครามเข้าใจ หลักการตั้งค่าย ซึ่งจะช่วยให้เอาชนะศึกสงครามได้ หนึ่งรู้บำเหน็จให้ ขุนพล อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน อย่าหย่อนวิริยะยล อย่างเกียจ แปดประการกลเที้ยร ถ่องแท้ทางแถลง ให้รู้จักการปูนบำเหน็จความดีความชอบแก่แม่ทัพนายกองที่มีความสามารถ ในการปราบศัตรู จงขยันหมั่นเพียร อย่าย่อหย่อนอย่าเกียจคร้าน ทั้ง ๘ อย่าง ที่สั่งสอนมานี้ควรศึกษาให้ดี จงจำคำพ่อไซร์ สั่งสอน จงประสิทธิ์สมพร พ่อไห้ จงเรืองพระฤทธิ์รอน อริราช จงพ่อลุลาภได้ เผด็จด้าวเเดนสยาม ขอให้จดจำคำสั่งสอนของพ่อไว้ ขอไห้ประสบผลสำเร็จสมดังพรที่ พ่อไห้ ขอไห้เอาชนะข้าศึกเผด็จเเผ่นดินสยามไห้ได้
บทวิเคราะห์ คุณค่าด้านวรรณศิลป์ การเล่นคำ : ซ้ำคำเพื่อเน้นความ จงจำคำพ่อไซร์ สั่งสอน จงประสิทธิ์สมพร พ่อไห้ จงเรืองพระฤทธิ์รอน อริราช จงพ่อลุลาภได้ เผด็จด้าวเเดนสยาม การเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะ : สัมผัสในวรรค สงครามความเศิกซึ้ง แสนกล จงพ่ออย่ายินยล แต่ตื้น อย่าลองคะนองตน ตามชอบ ทำนา การศึกลึกเล่ห์พื้น ล่อเลี้ยวหลอกหลอน
คำศัพท์ยาก ๑.ภูบาล หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน ๒.ชเยศ หมายถึง ชนะ ๓.ยุทธการ หมายถึง การทำสงคราม ๔.พยุห- หมายถึง กระบวน หมู่ กองทัพ ๕.บำเหน็จ หมายถึง รางวัล ค่าเหนื่อย ค่าความชอบเป็นพิเศษ ๖.สมรรถ หมายถึง เชี่ยวชาญ สามารถ ๗.เที้ยร หมายถึง ย่อม ๘.แปดประการกล หมายถึง กลยุทธ์แปดประการเพื่อเอาชัยชนะ ๑. อย่าประมาท ๒. อย่าคะนอง ๓. รู้ประวัติการรบ ๔. บำรุงขวัญทหาร ๕. อย่าใกล้คนขลาดคนโง่ ๖. รู้พิชัยสงคราม ๗. บำเหน็จรางวัลทหารที่รบชนะ ๘. มีความอุตสาหะ
Search
Read the Text Version
- 1 - 8
Pages: