วิชาทัศนศิลป์ อองงคค์์ปปรระะกกออบบศศิิลลปป์์ (elements art) ธรรญชนก วรรณขาว ค.บ.ทัศนศิลป์
คำนำ E-book เรื่ององค์ประกอบศิลป์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบ การเรียนการสอนวิชาทัศนศิลป์ระดับชั้นมัธยามศึกษาปีที่4 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะพื้นฐาน ซึ่งมีเนื้อหาตรงตามหลักสูตรแกนกลางการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) โดยจัดทำขึ้นเพื่อให้นักเรียนเข้าใจง่าย และเป็นกิจกรรมที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยลงมือปฏิบัติจริง มีจุดประสงค์เพื่อเสริม แรงผู้เรียนได้เรียนรู้ พัฒนา แก้ปัญหาได้ด้วนตนเองและเพิ่ม ประสิทธิภาพในการเรียนวิชาทัศนศิลป์ให้มากขึ้น ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า E-book ฉบับนี้ จะเป็น ประโยชน์แก่นักเรียนแบะผู้ที่ศึกษาทุกคนให้ได้รับความรู้ ความ เข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบศิลป์มากยิ่งขึ้นและส่งผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของผู้เรียนอย่างไรก็ตามหาก E-book ฉบับนี้มีจุดผิด พลาดหรือบกพร่อง ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ผู้จัดทำ ธรรญชนก วรรณขาว 04 กุมภาพันธ์ 2566
สารบัญ เรื่อง หน้า • ความหมายขององค์ประกอบศิลป์ 1 • ปัจจัยสำคัญขององค์ประกอบศิลป์ 2 • ความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์ 3 • หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ 4 • เอกภาพ 5 • ดุลยภาพ 6 -ความสมดุลของแบบสองข้างเท่ากัน 6 -ความสมดุลของแบบสองข้างไม่เท่ากัน 7 • จุดเด่น 8 • ความกลมกลืน 9 • ความขัดแย้ง 10 • คุณค่าขององค์ประกอบศิลป์ 11 • แบบฝึกหัด 13 • เฉลยแบบฝึกหัด 15 • อ้างอิง
1 องค์ประกอบศิลป์ องค์ประกอบศิลป์ (Composition) หมายถึง การนำสิ่ง ต่างๆ มาประยุกต์และดัดแปลง ผนวกความสร้างสรรค์ ในแต่ละบุคคล แล้วนำมารวมกันตามสัดส่วนและ ความเหมาะสม จากนั้นสร้างสรรค์เป็นผลงานออกมา ให้เกิดเป็นความน่าสนใจและมีความเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวมากที่สุด อีกทั้งความน่าสนใจในแต่ละชิ้น งานนั้นอาจจำเป็นต้องตอบโจทย์และตอบสนองต่อ ความต้องการของผู้รับสารด้วย เพราะความน่าสนใจนั้น อาจหมายรวมถึงการนำเสนอภาพรวม การสื่อความหมาย และวัตถุประสงค์ในการออกแบบ เป็นต้น
2 ปัจจัยสำคัญในการออกแบบ • สัดส่วนของภาพ (Proportion) • ความสมดุลของภาพ (Balance) • จังหวะลีลาของภาพ (Rhythm) • การเน้นหรือจุดเด่นของภาพ (Emphasis) • ความขัดแย้ง (Contrast) • ความกลมกลืน (Harmony) และสิ่งต่างๆ ที่ได้นำมาประกอบให้เข้ากันนั้น คือ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง สี ลักษณะผิว ส่วนประกอบต่างๆ ของศิลปะนำมาจัดประสานสัมพันธ์กัน ให้เกิดคุณค่า ทางความงาม เราเรียกว่า องค์ประกอบศิลป์
ความสำคัญของ 3 องค์ประกอบศิลป์ เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เรียนศิลปะทุกคนต้อง เรียนรู้เป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะนำไปใช้ให้ เกิดประสิทธิภาพในการออกแบบ โครงสร้างหรือรูปร่างของภาพนั่นเอง แล้ว จากนั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงาน ออกแบบต่างๆ ได้ เช่น การตกแต่งบ้าน จัดสวน หรือกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถนำ ไปใช้กับการออกแบบอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเหล่านี้ต้องอาศัยหลักองค์ประกอบศิลป์ ทั้งสิ้น
4 หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ มีดังนี้ • เอกภาพ (Unity) • ดุลยภาพ (Balance) • จุดเด่น (Dominance) • ความกลมกลืน (Harmony) • ความขัดแย้ง (Contrast)
1. เอกภาพ (Unity) 5 หมายถึง การจัดทัศนธาตุของศิลปะให้มีความประสาน กลมกลืน มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเป็นกลุ่มก้อนไม่ กระจัดกระจาย และแสดงออกให้เห็นได้ถึงความพอดี ของความงาม วิธีการสร้างเอกภาพ การสร้างเอกภาพทำได้ ด้วยการนำรูปร่างรูปทรงมาจัดให้มีความสัมพันธ์กัน ทำได้หลายวิธี เช่น วิธีสัมผัส วิธีทับซ้อน และวิธีจัดกลุ่ม ภาพตัวอย่าง
2. ดุลยภาพ (Balance) 6 ดุลยภาพ หรือ ความสมดุล หมายถึง การนำทัศนธาตุ ต่างๆทางศิลปะ เช่น จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง ขนาด สัดส่วน แสงเงา สี บริเวณว่าง พื้นผิว มาจัดองค์ ประกอบศิลป์ให้มีความพอดีเหมาะสม เกิดน้ำหนักการ จัดวางซ้าย ขวา ทั้งสองข้างเท่ากันความสมดุล แบ่ง ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. ความสมดุลแบบสองข้างเท่ากัน (Symmetrical Balance) คือ การนำทัศนธาตุทางศิลปะมาจัดองค์ ประกอบศิลป์ ให้น้ำหนักทั้งสองข้างเท่ากันหรือ เหมือนกันซึ่งส่วนมากจะปรากฏในผลงานจิตรกรรม ไทย ประติมากรรมไทย สถาปัตยกรรมไทย และ งานศิลปะสมัยใหม่ที่ต้องการให้ดูแล้วรู้สึกสงบนิ่ง มั่นคง และเลื่อมใสศรัทธา ภาพตัวอย่าง
7 2. ความสมดุลแบบสองข้างไม่เท่ากัน (Asymmetrical Balance) คือ การนำทัศน ธาตุทางศิลปะมาจัดองค์ประกอบศิลป์ จัดวางที่ไม่ เท่ากันหรือไม่เหมือนกันทั้งสองข้าง แต่มองดูแล้ว ให้ความรู้สึกว่าเท่ากันจากน้ำหนักโดยส่วนรวม ความสมดุลในลักษณะนี้นิยมใช้กันอย่างกว้าง ขวาง เพราะสามารถให้อารมณ์ ความรู้สึก เคลื่อนไหว และให้คุณค่าทางความคิดสร้างสรรค์ ที่เป็นอิสระแปลกใหม่ ภาพตัวอย่าง
3. จุดเด่น (Dominance) 8 จุดเด่นหรือจุดสนใจ หมายถึง ส่วนสำคัญที่ ปรากฏชัดสะดุดตาในผลงานศิลปะ จุดเด่นเกิด จากการเน้น (Emphasis) ที่ดี ตำแหน่งของ จุดเด่น นิยมจัดวางไว้ในระยะหน้า (Foreground) หรือระยะกลาง (Middle Ground) แต่ไม่ควรวางไว้ตรงกลางพอดี เพราะจะทำให้ภาพเกิดความรู้สึกนิ่ง ไม่เกิด การเคลื่อนไหว จุดเด่นที่ดีควรมีเพียงจุดเดียว และมีพื้นที่ประมาณ 20 – 30 % ของพื้นที่ ทั้งหมด ภาพตัวอย่าง
9 4. ความกลมกลืน (Harmony) ความกลมกลืม หมายถึง การนำทัศน ธาตุทางศิลปะมาจัดองค์ประกอบศิลป์ ให้มีความสัมพันธ์กลมกลืนกัน สนับสนุนซึ่งกันและกัน เข้ากันได้ดี ไม่ขัดแย้งกัน ภาพตัวอย่าง
10 5. ความขัดแย้ง (Contrast) ความขัดแย้ง หม ายถึง การนำทัศนธาตุมาจัดองค์ ประกอบศิลป์ให้เกิดการตัดกัน หรือ ขัดแย้งกัน เพื่อ ลดความกลมกลืนลงบ้าง เพราะบางทีความกลมกลืนที่ มากไปอาจจะดูจืดชืด น่าเบื่อหน่าย ความขัดแย้งที่พอ เหมาะจะช่วยให้งานดูมีชีวิตชีวา น่าสนใจ น่าตื่นเต้น ความขัดแย้งในงานศิลปะ ควรจัดองค์ประกอบศิลป์ให้ มีสัดส่วนขัดแย้งกันบ้าง ก็จะช่วยให้งานนั้นเกิดคุณค่า ความงามขึ้น ภาพตัวอย่าง
11 คุณค่าขององค์ประกอบศิลป์ สรรพสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดอยู่อย่าง โดดเดี่ยว การหลอมรวมองค์ประกอบต่าง ๆ เข้า ด้วยกันจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ และการช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ดังนั้นการจัดองค์ประกอบศิลป์จึงมี คุณค่า ต่อชีวิตมนุษย์ดังนี้ 1. ช่วยในการจัดวางผังเมือง เพื่อจัดระเบียบ ของเมืองให้มีการใช้พื้นที่อย่างมีแบบแผนมีการแบ่ง สัดส่วนของพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมมีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน และมีความเป็นเอกภาพ และเป็น ระเบียบเรียบร้อย 2. ช่วยเสริมสร้างคุณค่าของงานวิจิตรศิลป์ นำหลักองค์ประกอบศิลป์มาช่วยพัฒนางาน ศิลปะ ด้านวิจิตรศิลป์ให้เกิดคุณค่าทางความงามมากขึ้น 3. ช่วยเสริมสร้างคุณค่าของงานประยุกต์ ศิลป์นำหลักองค์ประกอบศิลป์มาช่วยพัฒนางาน ศิลปะด้านประยุกต์ศิลป์ให้เกิดคุณค่าทางประโยชน์ ใช้สอย และคุณค่าทางความงามควบคู่กันไปอย่าง เหมาะสม ทำให้เป็นที่สนใจและต้องการของสังคม ภายในประเทศ และพัฒนาสู่สังคมโลกได้
12 4. นำหลักองค์ประกอบศิลป์มาช่วย พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองใน ชีวิตประจำวัน เช่น การนำมาออกแบบ จัดตกแต่งที่อยู่อาศัย สำนักงาน ศาสน สถาน งานนิทรรศการ ขบวนพาเหรด เวทีการแสดงและเวทีที่ใช้ในงานต่าง ๆ เป็นต้น 5.นำหลักองค์ประกอบศิลป์มาช่วย พัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง ในการแต่ง กายการจัดวางอิริยาบถให้ดูดีและมีความ สัมพันธ์ไปถึงเรื่องสุขภาพที่ดีด้วย เช่น การนั่ง การหิ้วของ การเล่นกีฬา บางครั้ง ก็ต้องใช้หลักของความสมดุล ถ้าไม่ได้ จังหวะอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย เป็นต้น 6.การเรียนรู้และเข้าใจในการจัดองค์ ประกอบศิลป์ช่วยพัฒนาสุนทรียภาพ ยก ระดับจิตใจให้ละเอียดอ่อน มองโลกใน แง่ดี รักความประณีตงาม ความเป็น ระเบียบเรียบร้อย และดำรงชีวิตอย่างมี ความสุข
13 กิจกรรมชุดที่ 1 แบบฝึกหัด คำชี้เ เจง ให้นักเรียนจับคู่ภาพองค์ประกอบศิลป์ดังต่อไปนี้ให้ ✔️ถูกต้อง • • เอกภาพ (Unity) • • ดุลยภาพ (Balance) • • จุดเด่น (Dominance) • • ความกลมกลืน (Harmony) • • ความขัดแย้ง (Contrast)
14 กิจกรรมชุดที่ 2 คำชี้เเจ ง จงเติมความหมายของแต่ละองค์ประกอบให้ ✔️ถูกต้อง 1. เอกภาพ (Unity) หมายถึง …………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………… 2. ดุลยภาพ (Balance) หมายถึง …………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………… 3. จุดเด่น (Dominance) หมายถึง …………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………… 4. ความกลมกลืน (Harmony) หมายถึง …………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………… 5. ความขัดแย้ง (Contrast) หมายถึง …………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………
15 เฉลยแบบฝึกหัด กิจกรรมชุดที่ 1 คำชี้เ เจง ให้นักเรียนจับคู่ภาพองค์ประกอบศิลป์ดังต่อไปนี้ให้ ✔️ถูกต้อง • • เอกภาพ (Unity) • • ดุลยภาพ (Balance) • • จุดเด่น (Dominance) • • ความกลมกลืน (Harmony) • • ความขัดแย้ง (Contrast)
16 กิจกรรมชุดที่ 2 คำชี้เเจ ง จงเติมความหมายของแต่ละองค์ประกอบให้ ✔️ถูกต้อง 1. เอกภาพ (Unity) หมายถึง การจัดทัศนธาตุของศิลปะให้มีความประสานกลมกลืน มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง กันเป็นกลุ่มก้อนไม่กระจัดกระจาย และแสดงออกให้เห็นได้ถึงความพอดีของความ งาม 2. ดุลยภาพ (Balance) หมายถึง การนำทัศนธาตุต่างๆทางศิลปะ เช่น จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง ขนาดสัดส่วน แสง เงา สี บริเวณว่าง พื้นผิว มาจัดองค์ประกอบศิลป์ให้มีความพอดีเหมาะสม เกิดน้ำ หนักการจัดวางซ้าย ขวา ทั้งสองข้างเท่ากันความสมดุล แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ความสมดุลแบบสองข้างเท่ากันและ ความสมดุลแบบสองข้างไม่เท่ากัน 3. จุดเด่น (Dominance) หมายถึง ส่วนสำคัญที่ปรากฏชัดสะดุดตาในผลงานศิลปะ จุดเด่นเกิดจากการเน้น (Emphasis) ที่ดี ตำแหน่งของจุดเด่น นิยมจัดวางไว้ในระยะหน้า (Foreground) หรือระยะกลาง (Middle Ground) แต่ไม่ควรวางไว้ตรงกลางพอดี เพราะจะทำให้ ภาพเกิดความรู้สึกนิ่ง ไม่เกิดการเคลื่อนไหว จุดเด่นที่ดีควรมีเพียงจุดเดียว และมี พื้นที่ประมาณ 20 – 30 % ของพื้นที่ทั้งหมด 4. ความกลมกลืน (Harmony) หมายถึง การนำทัศนธาตุทางศิลปะมาจัดองค์ประกอบศิลป์ให้มีความสัมพันธ์กลมกลืนกัน สนับสนุนซึ่งกันและกัน เข้ากันได้ดี ไม่ขัดแย้งกัน 5. ความขัดแย้ง (Contrast) หมายถึง การนำทัศนธาตุมาจัดองค์ประกอบศิลป์ให้เกิดการตัดกัน หรือ ขัดแย้งกัน เพื่อลด ความกลมกลืนลงบ้าง เพราะบางทีความกลมกลืนที่มากไปอาจจะดูจืดชืด น่าเบื่อหน่าย ความขัดแย้งที่พอเหมาะจะช่วยให้งานดูมีชีวิตชีวา น่าสนใจ น่าตื่นเต้น ความขัดแย้ง ในงานศิลปะ ควรจัดองค์ประกอบศิลป์ให้มีสัดส่วนขัดแย้งกันบ้าง ก็จะช่วยให้งานนั้น เกิดคุณค่าความงามขึ้น
บรรณานุกรม จีรพันธ์ สมประสงค์.//2551.//หนังสือเรียนรายวิชาทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ.// ผศ.ตร.ผดุง พรมมูล//ศิลปะ/(ครั้งที่ 1,/12)./ กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์บริษัท วี.พริ้นท์(๑๙๙๑) จำกัด http://academic.obec.go.th/textbook/web/ images/book/100 3502_example.pdf องค์ประกอบศิลป์.(2551).[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : https:// www.168virtualschool.com/content/? page=main1&stu=MDEzNDE=&sch= WDU1Njg=&class=NA==&subj=NDE =&subsubj=MTY=&unit=Mg==&term =MQ==&linelearn=MA==&rang=NA== (วันที่ค้นข้อมูล : 04 กุมภาพันธ์ 2566).
ประวัติผู้เขียน นางสาวธรรญชนก วรรณขาว รหัสนักศึกษา 63100103118 กำลังศึกษาที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะครุศาสตร์ สาขาทัศนศิลป์ ชั้นปีที่ 3
องค์ประกอบศิลป์
Search
Read the Text Version
- 1 - 24
Pages: