Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ป่าชายเลนบางขุนเทียน

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ป่าชายเลนบางขุนเทียน

Published by pisit713, 2016-02-13 02:18:30

Description: สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ป่าชายเลนบางขุนเทียน

Keywords: none

Search

Read the Text Version

แนะน ำสถำนที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ป่าชายเลนบางขุนเทียน

ป่าชายเลนบางขุนเทียน ความเป็นมาของป่าชายเลนเขตบางขุนเทียน พื้นที่ป่าชายเลนบางขุนเทียน ตั้งอยู่ในท้องที่หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 10 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียนเดิมที่ดินบริเวณป่าชายเลนดังกล่าวเป็นเขตป่าไม้ถาวรแห่งชาติอยู่ในความดูแล ของกรมป่าไม้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้ประกาศจัดพื้นที่แถบชายฝั่งทะเล 3 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ สมุทรสาคร และจังหวัดธนบุรี (ในขณะนั้น) ให้เป็นพื้นที่จัดที่ดินท ากิน ตาม พระราชบัญญัติจัดที่ดินท ากิน พ.ศ. 2511 และได้กันพื้นที่แถบชายฝั่งทะเลไว้ประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อใช้เป็นแนวกันชนน ้าทะเลกัดเซาะ โดยยังไม่ได้มีการศึกษาการแก้ไขปัญหาการกัด เซาะชายฝั่งทะเลดังกล่าว ดังนั้น ในช่วงปี พ.ศ.2511 -2526 พื้นที่ป่าไม้ถูกน ้าทะเลกัดเซาะจน เสียหายเกือบหมด และเลยเข้ามาในที่ดินท ากินของสมาชิกนิคมสหกรณ์บ้านไร่ด้วย ซึ่ง ชาวบ้านบางรายได้พยายามป้องกันพื้นที่ของตนเอง ด้วยการทิ้งหินตามแนวชายฝั่งที่ปิดล้อมดิน และจากปัญหาดังกล่าว ประชาชนได้ร้องเรียนขอให้กรุงเทพมหานครให้ความช่วยเหลือ กรุงเทพมหานครจึงได้มีหนังสือแจ้งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบปัญหา

และขอให้กันที่ดินบริเวณดังกล่าวให้กรุงเทพมหานครดูแลเมื่อ พ.ศ. 2528 เพื่อจะด าเนินการ ป้องกันปัญหาน ้าทะเลกัดเซาะ ต่อมาคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้เดินทางมาตรวจสอบ สถานที่และน าเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่25 กรกฎาคม 2532 จ าแนกพื้นที่ป่าชายเลนในเขตบางขุนเทียน จ านวน 2,735 ไร่ ออกจากป่าไม้ถาวร แห่งชาติ และให้กรุงเทพมหานคร ด าเนินการปรับปรุงพื้นที่ เพื่อป้องกันการพังทลายของ ชายฝั่ง ปลูกสร้างสวนป่า และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน พื้นที่ป่าชายเลนมีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ จดที่ดินของสมาชิกนิคมสหกรณ์บ้านไร่ ยาวประมาณ 4,928 เมตร ทิศใต้ จดทะเล(อ่าวไทย) ยาวประมาณ 4,764.94 เมตร ทิศตะวันออก จดจังหวัดสมุทรปราการ กั้นเขตแดนโดยคลองขุนราชพินิจใจยา ประมาณ 940.85 เมตร ทิศตะวันตก จดจังหวัดสมุทรสาคร(คลองเสาธง) ที่ต าบลพันท้ายนรสิงห์ ยาวประมาณ 940.75 เมตร

ป่าชายเลนบริเวณเขตบางขุนเทียนมีบทบาทส าคัญในการป้องกันการพังทลายของ ชายฝั่ง ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ได้อาศัยป่าชายเลนในการใช้ไม้เพื่อท าฟืนท าเครื่องมือ ประมงบางประเภท และเป็นแหล่งจับสัตว์น ้าและเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ป่าชายเลนบริเวณนี้ยังเป็น แหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัยแหล่งเพาะพันธุ์และอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์น ้านานาชนิด เช่น กุ้ง หอย ปู เป็นต้น นอกจากนี้เป็นแนวเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่บนบกกับทะเลเพื่อเป็นแหล่งดูดซับสิ่ง ปฏิกูลและมลพิษจากบนบก แนวทางการจัดการป่าชายเลนแบบยั่งยืน รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีกรมป่าไม้เป็นหน่วยงานหลักได้ด าเนินการ เพื่อ อนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนมาโดยตลอด และได้ด าเนินการตามนโยบายและมาตรการที่ ก าหนดขึ้นในระดับชาติ ซึ่งบางกรณีเป็นมาตรการรีบด่วนที่ระดมก าลังจากหน่วยงานอื่น ๆ เข้า ไป ให้การสนับสนุนและร่วมด าเนินการด้วย แต่ผลการด าเนินงานยังไม่ประสบความส าเร็จตาม เป้าหมายเนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรคข้อขัดข้อง อยู่ตลอดเวลา และหากสถานการณ์ยังคง เป็นอยู่ในลักษณะนี้รัฐอาจไม่สามารถรักษาพื้นที่ป่าชายเลนให้คงไว้อย่างน้อย 1 ล้านไร่ ในปี พ.ศ. 2544ตามเป้าหมายที่ก าหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544)

การเดินทาง ส าหรับการเดินทางไปชมป่าชายเลนบางขุนเทียนนั้นเริ่มจากที่ถนนพระราม 2 เลี้ยวเข้า ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเลซึ่งในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงลาดยางเสร็จสมบูรณ์ตลอดทั้งเส้น แล้ว ขับรถตรงเข้าไปประมาณ 15 กิโลเมตรจนสุดทาง จะพบ 3 แยกให้เลี้ยวขวา (ทางไป สมุทรสาคร) และตรงไปอีกเพียง 200 เมตรจะพบกับโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ สามารถน ารถ เข้าไปฝากจอดในโรงเรียนได้ ตรงข้ามโรงเรียนจะพบทางเข้าชุมชนคลองพิทยาลงกรณ์ จากจุดนี้ สามารถเลือกที่จะเดิน เช่ารถจักรยานจากทางโรงเรียน หรือจ้างรถจักรยานยนต์ให้เข้าไปส่งก็ได้ โดยต้องเดินทางเข้าไปด้านในระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ลักษณะเส้นทางเป็นถนนคอนกรีต ขนาดเล็กส าหรับให้คนและรถจักรยานยนต์สัญจร เมื่อมาสุดทางจะพบกับชุมชนชายทะเลบาง ขุนเทียน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ซึ่งสร้างเป็นสะพานไม้ทอดผ่านเข้าไป ในป่าชายเลนมีปลายทางที่ริมทะเล มีระยะทางโดยรวม 1.7 กิโลเมตร ส าหรับสะพานไม้นี้ จัดสร้างโดยเขตบางขุนเทียนบนพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสมาชมและ ศึกษาธรรมชาติและระบบนิเวศป่าชายเลน โดยผู้ที่น ารถจักรยานหรือจักรยานยนต์เข้ามาจะต้อง จอดรถไว้ที่บริเวณทางเข้า ไม่อนุญาตให้ขับขึ้นไปบนสะพานทางเดิน

บรรยากาศตลอดเส้นทางชมป่าชายเลนมีความร่มรื่นจากการที่สองข้างทางมีต้น โกงกางและแสมขนาดใหญ่ปกคลุมอย่างหนาแน่น นอกจากนี้ยังมีศาลาส าหรับนั่งพักผ่อนอยู่ เป็นระยะ สิ่งหนึ่งที่ผู้เยี่ยมชมป่าชายเลนจะได้ยินเสมอคือเสียงดัง ป๊อก-แป๊กอยู่เป็นช่วงๆ ซึ่งเกิด จากกุ้งชนิดหนึ่งที่มีก้ามขวาขนาดใหญ่มีชื่อเรียกว่ากุ้งดีดขัน และยังมีสัตว์อื่นๆ ที่พบได้ในพื้นที่ นี้ เช่น ปลาตีน ปูก้ามดาบ หอยชนิดต่างๆ ส่วนบริเวณริมทะเลสามารถพบนกได้หลายชนิด เช่น นกยางและนกนางนวล ซึ่งถือได้ว่าป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นอย่างมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าปัจจุบันป่าชายเลนผืนนี้ก าลังถูกท าลายไปจนแทบจะหมด สิ้นแล้ว จากข้อมูลที่ส ารวจโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าในอดีต กรุงเทพมหานครเคยมีป่าชายเลนประมาณ 2,750 ไร่ แต่ต่อมาได้มีการน าพื้นที่บริเวณนี้ไป จัดสรรและพัฒนาเป็นที่ดินท ากิน เช่นการเพาะเลี้ยงสัตว์น ้าและการท านาเกลือ รวมไปถึงการ ขยายตัวของชุมชน นอกจากนี้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรงและต่อเนื่องอันเกิดจากการ เปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโดยรวมก็เป็นอีกสาเหตุหลักที่ท าให้พื้นที่ป่าชายเลนกรุงเทพฯ ลดลงไปอย่างมาก โดยพบว่าปัจจุบันกรุงเทพมหานครเหลือพื้นที่ป่าชายเลนไม่ถึง 1,000 ไร่ โดย ป่าเหล่านี้มีลักษณะเป็นหย่อมเล็กๆ ส่วนพื้นที่ป่าเดิมจมอยู่ในน ้าทะเลหมดแล้ว

เมื่อเราเดินมาใกล้ถึงปลายทางซึ่งเป็นจุดชมวิวทะเล จะได้ยินเสียงเครื่องเรือของชาวบ้าน แว่วมาในระยะไม่ไกล แสงสว่างจากท้องทะเลส่องผ่านปากทางร่มไม้สองข้างที่โอบตัวเป็น เหมือนอุโมงค์ เมื่อพ้นบริเวณร่มไม้มาแล้วจะพบศาลานั่งเล่นขนาบอยู่ทั้งสองข้างของทางเดิน และปรากฏผืนน ้าทะเลอยู่เบื้องหน้า ซึ่งแม้น ้าทะเลจะไม่ได้มีสีสันสวยงามเหมือนแหล่ง ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อแห่งอื่น แต่ที่แห่งนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นทะเลแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร โดย สะพานไม้จะทอดยาวออกไปในทะเลและที่สุดทางท าเป็นจุดยืนชมวิว โดยเมื่อมองออกไปใน ระยะไม่ไกลจะพบฝูงนกยางและนกนางนวลก าลังพักผ่อนและหาอาหารอยู่บริเวณแนวชายฝั่ง เป็นจ านวนมาก

และที่ตรงนี้เองที่เราได้เห็นถึงปรากฏการณ์กัดเซาะชายฝั่งที่ได้ยินตามสื่อต่างๆ อยู่เป็น ประจ า สิ่งที่สังเกตเห็นคือแนวต้นแสมที่ล้มระเนระนาดและประตูระบายน ้าเข้านากุ้งที่จมอยู่ กลางทะเลซึ่งเป็นหลักฐานที่ชัดเจนของการสูญเสียแผ่นดินชายฝั่งซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของชาว กรุงเทพฯ ทุกคน แต่สิ่งที่ท าให้เราพอชื้นใจขึ้นมาบ้างคือได้เห็นมีการเริ่มสร้างแนวไม้ไผ่เพื่อลด แรงปะทะของคลื่นในบริเวณนี้แล้ว จากค าบอกเล่าของอาจารย์เกรียงศักดิ์ ฤกษ์งาม หรือครูแดง อาจารย์ประจ าโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์และผู้ริเริ่มโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ชายทะเลบางขุนเทียน การกัดเซาะชายฝั่งกรุงเทพฯ ได้เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว แต่ใน อดีตปัญหานี้ไม่ได้รับการใส่ใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากนัก แต่เมื่อชาวบ้านในท้องที่เริ่ม ได้รับผลกระทบมากขึ้น จึงได้มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จน ผลักดันให้เกิดเป็นโครงการความร่วมมือแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในปัจจุบัน

ส าหรับการแก้ปัญหาการกัดเซาะนั้น เดิมทางกรุงเทพมหานครได้เคยจัดสร้างแนวหิน ทิ้งบริเวณชายฝั่งเพื่อลดแรงปะทะของคลื่น ต่อมาได้เสนอการสร้างรอดักทรายรูปตัวทีหรือ “ที- กรอยน์” (T-Groin) โดยการวาง “ใส้กรอกทราย” แต่ชาวบ้านในพื้นที่ได้คัดค้านแนวทางนี้ โดย อธิบายว่าเมื่อใส้กรอกทรายแตกออกจะท าให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลนจากการ กระจายตัวของทรายซึ่งไม่ใช่ส่วนประกอบตามธรรมชาติของหาดเลน นอกจากนี้ครูแดงยังเล่า ต่อไปว่าการแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งด้วยการสร้างแนวไม้ไผ่นั้น ชาวบางขุนเทียนได้ต้นแบบมา จากต าบลโคกขาม อ าเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งประสบปัญหาเดียวกัน ปรากฏว่าแนวไม้ ไผ่นั้นนอกจากจะช่วยลดแรงปะทะของคลื่นได้ดีแล้ว ยังช่วยในการกักเก็บตะกอนที่อยู่ในน ้า ท า ให้เกิดการสะสมของตะกอนที่จะงอกกลับมาเป็นพื้นดินอีกครั้งด้วย อีกทั้งไม้ไผ่ยังเป็นวัสดุ ธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้ และได้ช่วยสร้างงานให้กับชาวบ้านในจังหวัดอื่นที่ปลูกต้นไผ่ เพื่อขาย และชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งได้รับการว่าจ้างให้ปักแนวไม่ไผ่อีกด้วย โดยที่ผ่านมาโครงการ สร้างแนวไม้ไผ่น าร่องในเขตทะเลบางขุนเทียนความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ได้รับ งบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิชุมชนไทย ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการแก้ปัญหาชุมชน ท้องถิ่นโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านและแรงงานในพื้นที่

จุดท่องเที่ยว จุดท่องเที่ยวจุดที่ 1 : โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ เป็นโรงเรียนระดับประถม ในวันอาทิตย์โรงเรียนจะมีจักรยานให้เช่าส าหรับผู้ที่ต้องการ ขี่จักรยาน ภายโรงเรียนจะมีศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลน เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยมส าหรับเด็กๆ บรรยากาศป่าชายเลนในโรงเรียนนั้น ร่มรื่นและปลอดภัย นอกจากนี้หากต้องการจะจัดกิจกรรม เช่น การปลูกป่าชายเลน สามารถติดต่อกับทางโรงเรียนได้โดยตรง หรือจะซื้ออาหารมาปิคนิค ในโรงเรียนก็ได้ แต่ในความเห็นส่วนตัว แนะน าว่าควรจะมาวัน เสาร์-อาทิตย์ เพื่อที่จะไม่ รบกวน คุณครู และเด็กๆ ในวันธรรมดา (ไม่ควรส่งเสียงดัง และควรช่วยกันรักษาความสะอาด ในโรงเรียน) บรรยากาศป่าโกงกางในโรงเรียน ร่มรื่น ระหว่างทางจะมี กล้วยแขวนไว้ตาม ต้นไม้ เพื่อเป็นอาหารนก และ กระรอก หากท่านใดสนใจดูนก ที่นี่ก็เป็นอีกแหล่งที่น่าสนใจ

จุดท่องเที่ยวจุดที่ 2 : สะพานแดง และ ศาลเจ้าพ่อมัจฉานุ จากโรงเรียน คลองพิทยาลงกรณ์ ไปยังศาลมัจฉานุ เป็นระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร บริเวณศาลเจ้าพ่อมัจฉานุ จะมีสะพานแดง ซึ่งเป็น landmark ที่ใครๆก็ไปถ่ายภาพกัน ช่วงเช้าจะ เป็นช่วงน ้าขึ้น ในขณะที่ตอนบ่ายๆเย็นๆ จะเป็นช่วงน ้าลง หากโชคดี อาจจะได้เห็นปลาโลมา กระโดดไปมา ซึ่งจะพบได้ตอนช่วงฤดูหนาว นอกจากนี้ร้านอาหารบางร้านมีบริการล่องเรือ ชมทะเลได้ฟรีๆ อีกด้วย บริเวณศาลเจ้าพ่อมัจฉานุ หรือ สะพานแดงนี้ ตอนเช้าๆ หากต้องการรับประทานอาหาร เช้า ก็สามารถสั่งที่ร้านอาหารแถวนั้นทานได้เลย เป็นอาหารทะเลสดๆ จะสั่งอาหารจานเดียว เช่น ข้าวต้มทะเล, ข้าวผัดทะเล ราคาไม่แพง ส่วนช่วงกลางวัน วันเสาร์-อาทิตย์ คนจะเยอะมาก เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่มาชมวิว กินอาหารทะเลกันค่ะหรือหากต้องการบรรยากาศรีสอร์ท สามารถเดินมาที่ ชานเล รีสอร์ทได้เลยค่ะ, ที่ชานเล รีสอร์ท ตอนเช้าๆ เมื่อเราสั่งอาหารแล้ว สามารถ ทาน กาแฟ ชา และ ขนมปังได้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็น complementary ให้กับแขกที่ไป รับประทานอาหารเช้าที่รีสอร์ท

จุดท่องเที่ยวจุดที่ 3 : ศูนย์การเรียนรู้และปฏิบัติการ อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมหาชัยฝั่งตะวันออก สมุทรสาคร อยู่ห่างจาก ศาลเจ้าพ่อมัจฉานุ เพียงประมาณ 6 กิโลเมตร ที่อยู่ :หมู่ที่ 3 ต. โคกขาม อ. เมืองสมุทรสาคร จ. สมุทรสาคร การติดต่อ :ติดต่อเรื่องการปลูกป่าชายเลน คุณนรินทร์ บุญร่วม (ลุงทะเล) 089 491 6011 คณะท างานศูนย์ฯ 081555 1653 , 089 491 6011 ท่านจะพบกับความร่มรื่น ของป่าชายเลน ซึ่งมีไม้หลายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น ไม้โกงกาง , ต้นจิกทะเล รวมถึงปลาตีนตัวใหญ่ๆ นกชายเลนหลากสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น นกกาน ้า, นก กระยาง, นกตีนเทียน และ นกที่อพยพมาจากไซบีเรียในฤดูหนาว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความ สมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ ในแถบนี้ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อศูนย์ฯ เพื่อจัดท ากิจกรรมปลูกป่าชายเลนได้เช่นเดียวกัน ราคาต้นกล้าอยู่ที่ราคาต้นละ 15 บาท

นอกจากสถานที่แนะน าตามที่กล่าวไปแล้ว ระหว่างทางท่านยังสามารถชมนาเกลือ และหากมา ในตอนเช้าๆ ช่วงที่ฝนไม่ตก อาจจะโชคดีได้เห็นขั้นตอนการเก็บเกลือในนาเกลือกันค่ะ บรรยากาศนาเกลือยามเช้า เป็นเส้นทางการปั่นจักรยานที่ดีมากๆ จะมีนกชายเลน หลากชนิด บิน ผ่านไปมา อากาศดีมากและรถไม่เยอะเลย แต่อาจจะมีสุนัข ตามรายทาง

นอกจากกิจกรรมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ยังมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น ดูนก ซึ่งจะจัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจะจัดประมาณเดือน กุมภาพันธ์ของทุกปี แต่ในระหว่างปี หากท่านที่สนใจจะดูนกก็ สามารถติดต่อชมรมได้ มี โฮมสเตย์ให้เช่า หรือ หากต้องการมากางเต๊นท์นอนก็สามารถลองขอ เจรจากับเจ้าของพื้นที่ดูได้ค่ะ ชมรมดูนกนี้อยู่ข้างๆร้านบ้านย่านี่เอง ห่างจากร้านประมาณ 50 เมตร กิจกรรมดูนกที่ทางชมรมจัดขึ้นมา ให้ เด็กๆนักเรียนในท้องถิ่นได้ส านึกรักบ้านเกิด และ บุคคลภายนอกสามารถมาร่วมงานได้ค่ะ ไม่น่าเชื่อว่าบางขุนเทียนชายทะเลจะมีที่น่าสนใจ ให้ชมมากมาย ทั้งทางธรรมชาติ และ ประวัติศาสตร์ ที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ

จุดท่องเที่ยวจุดที่ 4 : หมู่บ้านประมง ส าหรับคนที่อยากปั่นจักรยานแบบสบายๆชมชีวิตชาวประมง ฟังเสียงคลื่น แนะน า เส้นทางนี้ค่ะ หมู่บ้านชาวประมงและจุดชมปลาโลมา โดยเส้นทางนี้สามารถขับรถยนต์เข้าไปได้ ด้วยค่ะ เริ่มจากโรงเรียนโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ปั่นไปเรื่อยๆบนถนน 4008 จะเจอป้ายแยกซ้ายเข้า หมู่บ้านประมง ปั่นตามป้ ายไปเรื่อยๆได้เลย

จุดท่องเที่ยวจุดที่ 5 : พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตบางขุนเทียน นอกจากการเดินศึกษาเส้นทางป่าชายเลนแล้ว สถานที่อีกแห่งหนึ่งที่พลาดไม่ได้ในการ มาเที่ยวชมทะเลกรุงเทพฯ ครั้งนี้คือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตบางขุนเทียนซึ่งตั้งอยู่ในโรงเรียน คลองพิทยาลงกรณ์นั่นเอง ซึ่งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแห่งนี้ มีการจัดแสดงประวัติความเป็นมา รวม ไปถึงข้อมูลสถานที่ต่างๆ ของเขตบางขุนเทียนเอาไว้อย่างละเอียด โดยมีการแยกหมวดหมู่การ จัดแสดงไว้ดังนี้: ภาพรวมกรุงเทพฯ, บางขุนเทียนบนเส้นทางประวัติศาสตร์, สวนบางขุนเทียน, ชาวพื้นเมืองในบางขุนเทียน, บุคคลส าคัญของบางขุนเทียน, สถานที่ส าคัญของบางขุนเทียน, ทะเลกรุงเทพฯ, และบางขุนเทียนวันนี้ นอกจากนี้ภายในพื้นที่ด้านหลังของโรงเรียนยังได้มีการ จัดตั้งแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนบางขุนเทียน โดยมีการปลูกพืชชายเลนชนิดต่างๆ และ จ าลองวิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่เขตบางขุนเทียนมาจัดแสดงให้ชมอย่างครบวงจร เรียกได้ว่า เป็นการย่อส่วนป่าชายเลนและชุมชนท้องถิ่นมาไว้ให้ชมได้ภายในพื้นที่จ าลองแห่งนี้นั่นเอง นอกจากนี้ผู้เยี่ยมชมยังสามารถทดลองปลูกป่าชายเลนภายในแปลงสาธิตในบริเวณเดียวกันนี้ได้ อีกด้วย ก่อนเดินทางกลับเรายังได้แวะไปเที่ยวชมบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น ้าของชาวบ้านและสัมผัสวิถี ชีวิตการท ากินของคนในพื้นที่ ซึ่งในบริเวณนี้มีการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาด า หอยแครง

และปูม้าอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังสามารถหาซื้อวัตถุดิบอาหารทะเลเหล่านี้ติดมือกลับบ้าน ได้ในราคาย่อมเยา หรือหากต้องการสัมผัสวิถีชีวิตลูกน ้าเค็มชาวบางขุนเทียนอย่างใกล้ชิดมาก ขึ้น สามารถติดต่อขอค้างคืนแบบโฮมสเตย์ได้ที่บ้านในชุมชนแสนตอได้อีกด้วย ซึ่งการมาเยี่ยม ชมป่าชายเลนและทะเลกรุงเทพฯ นอกจากจะได้มาเที่ยวทะเลโดยไม่ต้องขับรถไปไกลแล้ว ยัง ได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีโอกาสชิมอาหารทะเลที่อร่อยใน ราคาไม่แพงไปพร้อมกัน เห็นอย่างนี้แล้ววันว่างโอกาสต่อไป หากยังนึกจุดหมายปลายทางการ ท่องเที่ยวไม่ออกหรือไม่อยากเดินทางไปไกล อย่าลืมนึกถึงชายทะเลบางขุนเทียนที่แสนสงบ แห่งนี้ที่ซึ่งรอคอยการมาเยี่ยมชมของท่านเสมอ



อ้างอิง http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000102842 http://www.enjoytraveler.com/2015/03/bangkhuntianbeach-review-2/ http://office.bangkok.go.th/bangkhunthian/tour/index.php?option=com_content&view=article &id=33:2011-09-22-03-14-15&catid=15:2011-09-22-13-28-19&Itemid=18 http://nonneenun.com/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%8 8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0 %B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7- %E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B8/

นางสาวภัทรภร ซอนจ าปา รหัสนิสิต 58161741 คณะเกษตรศาสตร์ฯ สาขา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร รายวิชา สารสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษาค้นคว้า รหัสวิชา 001221


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook