Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่ 2 เรื่องการฟัง

บทที่ 2 เรื่องการฟัง

Published by somrit2508, 2017-09-21 05:49:35

Description: บทที่ 2 เรื่องการฟัง

Search

Read the Text Version

การฟงั ทักษะการฟังเป็นทักษะทางการสื่อสารที่อยู่ในประเภทของการรับสาร และยังเป็นทักษะการใช้ภาษาท่ีใช้มากท่ีสุดในชีวิตประจาวัน กล่าวได้วา่ ทักษะการฟังนั้นเกิดขึ้นก่อนการพูด การอา่ น และการเขียน เพราะทักษะการฟังเกดิ ขึ้นตามธรรมชาติตั้งแตแ่ รกเกิด หลายคนจงึ เข้าใจว่าทกั ษะการฟงั นน้ั ไม่จาเป็นตอ้ งมีการฝึกฝนเพราะทุกคนมคี วามสามารถในการฟงั แท้ท่จี รงิ แล้วทกั ษะการฟังก็เหมือนกับทักษะอื่นๆ ที่ต้องได้รับการฝึกฝนพัฒนาอยู่เสมอจึงจะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสดุ และไม่เป็นเพียงแคก่ ารไดย้ ินเสยี งเท่านั้นความหมายของการฟงั การฟัง หมายถึง พฤติกรรมการรับสารผ่านโสตประสาทอย่างต้ังใจเช่ือมโยงกับกระบวนการคิดในสมอง โดยสมองแปลความหมายของเสยี งจนเกิดความเข้าใจและมปี ฏิกริ ยิ าตอบสนอง การฟังจงึ เป็นกระบวนการทีเ่ กิดขน้ึ ภายในตวั บคุ คล การฟังน้ันต่างจากการได้ยิน เน่ืองจากการฟังต้องอาศัยโสตประสาทที่อยู่ในหูเป็นเครื่องมือรับเสียง จากน้ันเมื่อเสียงผา่ นโสตประสาทแล้วจะเข้าสู่กระบวนการทางานของสมอง ส่วนการได้ยินเป็นกลไกอัตโนมัติของโสตประสาทในการรับเสียงแต่ไม่ได้เช่ือมโยงกับกระบวนการทางสมองเพ่ือตีความในการทาความเข้าใจเสียงนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า ลักษณะการฟังนั้นจะต้องเร่มิ มาจากการตั้งใจหรือจงใจที่จะฟงั สว่ นการไดย้ ินจะไมไ่ ดเ้ ริ่มจากการตั้งใจฟังความสาคญั ของการฟัง การฟังมีความสาคัญมากต่อการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ในชีวิตประจาวัน ดังจะเห็นว่ามนุษย์ใช้เวลาไปกับการฟังมากที่สดุ หากเปรยี บเทยี บกับการพูด การอ่านและการเขียน การฟังจึงมีความสาคญั ในการกาหนดความลม้ เหลวหรอื ความสาเร็จของการสอื่ สารอย่างมาก ความสาคญั ของการฟงั สรปุ ได้ดังนี้ ๑. การฟังทาใหไ้ ด้รับความรู้ เพราะการฟังเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ เชน่ การฟังบรรยายของอาจารยใ์ นช้ันเรยี น ฟังวธิ ีทาขนมไทย ฟงั วิธปี ลกู ไม้ดอก เป็นตน้ ๒. การฟังทาให้รู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ทาให้รู้เท่าทันความเปล่ียนแปลงของคนและสงั คม ๓. การฟังเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่งของมนุษย์ ทั้งที่เกิดจากการฟังจากบุคคลโดยตรงหรือฟังผ่านสื่ออิเลก็ ทรอนิกส์ ๔. การฟังช่วยยกระดับจิตใจ ทาให้เข้าใจความเป็นมนุษย์หรือการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขได้ เช่น การฟังธรรมเทศนา การฟงั โอวาท เปน็ ต้น ๕. การฟังทาให้ไดร้ บั ความบนั เทิง ชว่ ยผ่อนคลายความเครียด ๖. การฟังช่วยพัฒนาทักษะการพูดให้มีประสิทธิภาพได้ กล่าวคือ การฟังช่วยใหผ้ ู้ฟังไดเ้ รียนรู้วธิ ีการพดู เน้ือหาสาระของสาร วธิ ีการนาเสนอสาร บุคลิกภาพ ฯลฯ ซึ่งสามารถนามาปรบั ใช้กับวธิ ีการพดู ของตน ทาให้เกิดความมั่นใจขณะพดู และทาให้การพูดของตนมีประสิทธิภาพมากย่งิ ขึ้น ๗. การฟังอยา่ งมปี ระสิทธสิ ามารถสรา้ งความเข้าใจอนั ดรี ะหวา่ งคนในสงั คม ๘. การฟังเป็นเครื่องมือช่วยสืบทอดความงามทางวรรณศิลป์และฉันทลักษณ์ของไทย เช่น การฟังบทร้อยกรอง บทกวี บทสวดมนต์ เพลงไทยเดิม เป็นตน้ระดบั ของการฟัง การฟังสามารถจาแนกไดห้ ลายระดับ โดยระดับของการฟังท่มี ักใชใ้ นชีวติ ประจาวนั สรุปได้เปน็ ๓ ระดับ ดงั ตอ่ ไปนี้ ๑. ระดบั การได้ยนิ การไดย้ ินเปน็ กระบวนการข้นั แรกของการฟัง เป็นการรบั รู้โดยใช้ อวยั วะในการรบั รู้หรือการได้ยินคือ หูและอวัยวะภายในหู เมื่อหูรับคล่ืนเสียงแล้วก็จะส่งไปยังสมอง สมองจะรับรู้ว่าเร่ืองที่ได้ยินน้ันคืออะไรโดยไม่มีการแสดงปฏกิ ริ ิยาตอบสนอง ๑

๒. ระดบั การฟงั ตามปกติ เปน็ ระดับการไดย้ ินที่สูงขึ้นตอ่ จากการไดย้ ิน ผฟู้ งั ตอ้ งใช้สมรรถภาพทางสมองเช่ือมโยงเสียงที่ได้ยินกับประสบการณ์และความรู้เก่ียวกับความหมายของเสียง เพื่อให้เกิดการแปลความและตีความเสียงนั้น จนเข้าใจสารท่ีฟังและแสดงปฏิกิรยิ าตอบสนองสารนน้ั อย่างถกู ต้องและเหมาะสม ๓. ระดับการฟังอย่างมีวิจารณญาณ เป็นระดับการฟังท่ีสูงขึน้ อกี ต้องอาศัยสมรรถภาพทางด้านการคิดวิเคราะห์ การประเมินค่า การวนิ ิจฉัย และการนาไปใช้ในชีวิตจรงิ ได้ การฟังระดับน้ีต้องอาศัยการฝึกฝนและพัฒนาอย่างตอ่ เนื่อง หากสามารถพัฒนาจนเกิดทกั ษะแลว้ ผู้ฟงั จะไดป้ ระโยชนส์ ูงสุดจากการฟังสารนั้นๆลกั ษณะการฟงั แบบต่างๆ การฟงั สามารถแบง่ ไดห้ ลากหลายลักษณะ สรปุ ได้ดังนี้ ๑. การฟังอย่างเข้าใจ เป็นการฟงั ขั้นพืน้ ฐานท่ีใชไ้ ด้ทุกสถานการณ์ เช่น ฟงั เพ่ือให้สามารถรับรู้เข้าใจเรอ่ื งราว เข้าใจความคิดของบุคคล เข้าใจความหมายของสารแลว้ สามารถนาสง่ิ ท่ีได้ฟังไปปฏบิ ัติได้ ฯลฯ การฟังลักษณะนี้ผฟู้ ังควรฟังโดยตลอดใช้ความคิดพิจารณาด้วยใจท่ีเป็นกลางและยอมรับความรู้ความคิดหรือมุมมองต่างๆ ของผู้ส่งสาร อาจมีการจดบันทึกประเด็นสาคญั ไปด้วยกไ็ ด้ ๒. การฟังอย่างมีจุดมุ่งหมาย เป็นการฟังที่ผู้ฟังตั้งวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งไว้ล่วงหน้า เช่น ต้องการฟังเพ่ือความรู้ เพื่อความบันเทิง เพื่อการตัดสินใจ เป็นต้น การฟังอย่างไม่ได้ตั้งจุดมุ่งหมายจัดว่าเป็นการฟังแบบผ่านๆ ผู้ฟังจะไม่ได้ประโยชน์จากส่งิ ท่ไี ด้ฟัง การฟังอยา่ งมีจุดมงุ่ หมายจึงเป็นพ้ืนฐานสาคญั ของการฟังอยา่ งมปี ระสิทธิภาพ ๓. การฟังอย่างมีวิจารณญาณ จัดเป็นการฟังท่ีต้องใช้ความคิดวิเคราะห์สารที่ได้ฟัง มักดาเนินควบคู่ไปกับการวเิ คราะห์สาร จัดเป็นการฟังขั้นสูง ผู้ฟังต้องจับประเด็นว่าจุดมุ่งหมายของผู้พูดคืออะไร และแยกแยะว่าส่วนใดท่ีเป็นข้อเท็จจริงและเป็นข้อคิดเห็น โดยใช้กระบวนการคิดใคร่ครวญด้วยเหตุผล จนนาไปสู่การตอบสนองท่ีถูกต้องเหมาะสม การฟังอย่างมีวิจารณญาณจะทาใหผ้ ูฟ้ ังไดร้ ับประโยชน์และไดข้ อ้ มูลทเี่ ปน็ จรงิ ๔. การฟังอย่างประเมินคุณค่า เป็นการฟังในระดับสูงต่อมาจากการฟังอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการฟังที่ผู้ฟังต้องประเมินหรือตัดสินคุณค่าของสารท่ีฟังว่าดีหรือไม่ มีประโยชน์หรือไม่ เหมาะแก่การนาไปปฏิบัติหรือไม่ ผู้ฟังควรฟังอย่างตั้งใจและสามารถวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่ฟังได้อย่างมีเหตุผลน่าเช่ือถือ การฟังอย่างประเมินคุณค่าทาให้ผู้ฟังตระหนักได้ว่าข้อมูลน้ันนา่ เช่อื ถือมากนอ้ ยเพียงใดจดุ มุ่งหมายของการฟัง การฟังที่ดผี ู้ฟงั ควรจะต้องฝึกฝนและพัฒนาทักษะการฟงั ของตนอยู่เสมอ เพอ่ื ให้สามารถทาความเข้าใจส่ิงท่ีได้ฟังอย่างถ่องแท้ การฟังโดยทีม่ ีการต้งั จดุ มุง่ หมายในการฟังไว้ลว่ งหน้าเปน็ อีกวธิ หี น่ึงทจี่ ะช่วยพัฒนาทักษะการฟัง จดุ มุ่งหมายของการฟังสรปุ ไดด้ ังน้ี ๑. ฟังเพื่อให้เกิดความรู้ นักเรียนนักศึกษาเป็นกลุ่มท่ีใช้วัตถุประสงค์น้ีโดยตรง ผู้เรียนจะต้องฟังบรรยายของครูอาจารย์ ฟังวิทยากร ฟงั เสวนา ฟังอภิปรายและฟังการรายงานของเพ่อื น นอกจากการฟังเพื่อให้เกิดความรูโ้ ดยตรงแลว้ ยังมีการฟงั อีกลักษณะหนึ่งท่ีทาให้ผู้ฟังเกิดความรู้โดยอ้อม คือการฟงั สารประเภทข่าวสาร เหตุการณ์บา้ นเมือง เศรษฐกิจ สงั คม ฟังสารคดี ฟังการสัมภาษณบ์ ุคคลสาคัญ ฟังรายการสนทนาต่างๆ ฟังรายการท่ีเปน็ สารประโยชน์ เช่น การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง การกาหนดจิตให้มีสมาธิ หรือรายการแนะนาสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น การฟังเพ่ือให้เกิดความรู้โดยอ้อมนี้จะทาให้ผู้ฟังเป็นคนที่มีความรู้กว้างขวาง เป็นผู้รอบรู้ในเร่ืองต่างๆ ความรอบรู้น้ีสามารถนาไปปรับใช้กับการดาเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน ทาให้การดาเนินชีวิตมคี ณุ ภาพและเกิดความสงบสุขได้ ๒. ฟงั เพ่ือความบนั เทงิ และผ่อนคลาย เปน็ การฟงั เพ่ือใหเ้ กิดเพลิดเพลิน ความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียดจากการทางาน ภาวะแวดล้อม ความวิตกกงั วลจากการดาเนินชวี ิตในสังคม เช่น การฟังเพลง ฟังและชมการแสดงดนตรี ฟงั เรื่องเบาสมอง ฟังการอ่านทานองเสนาะ รวมไปถึงฟังเสยี งธรรมชาติ เชน่ นา้ ตก นกร้อง คล่นื ในทะเล ฯลฯ เป็นท่นี ่าสังเกตว่า ในปัจจบุ ันลักษณะการฟังเพื่อความบันเทิงและผ่อนคลายยังมีความแตกต่างจากในอดตี ทง้ั นเ้ี พราะเทคโนโลยีทม่ี คี วามเจรญิ กา้ วหนา้ ดังจะเห็นว่าการฟงั ในสมัยอดีตจะมีลกั ษณะเป็นการฟังระหว่างบคุ คลหรือระหว่างกล่มุ ชนกลมุ่ เล็กๆ และมักจะมีการนัดหมายลว่ งหน้าซึ่งมักจะเป็นการร้องหรือพูดปากเปล่าท่ีผู้ร้องหรือพูดอยู่ไม่ไกลจากผู้ฟัง เช่น การฟังเพลง ฟังขับเสภา การดูโข น ฯลฯ แต่ใน ๒

ปัจจุบันมีการพัฒนาสื่อและเคร่ืองมืออิเล็กทรอนิกส์ทาให้ผู้ฟังสามารถฟังเพลงหรือสิ่งที่ต้องการได้ในทุกขณะและผู้ฟังกับผู้ร้องหรือพูดไม่จาเป็นต้องอยใู่ กล้กนั เพราะสามารถใช้เครื่องขยายเสียงได้ เช่น ฟังจากเคร่ืองเล่นเทป-ซีดีแบบพกพา เคร่ืองเล่นเอ็มพีโทรศัพทม์ อื ถือ iPad เป็นตน้ ๓. ฟงั เพื่อใหเ้ กิดความคิดและการตัดสินใจ อาทเิ ช่น การฟังปราศรัยหาเสียง ฟังโฆษณาสินค้า ฟงั การขอรอ้ ง วงิ วอนฯลฯ การฟังลักษณะนี้ผู้ฟังจะต้องใช้วิจารณญาณในการฟังมากทส่ี ุด และต้องประเมินคา่ สิ่งที่ได้ฟังว่ามเี หตุมีผลน่าเช่อื ถือหรือไม่เพ่ือการตัดสินใจอย่างถูกต้อง เช่น ฟังการปราศรัยหาเสยี ง ผู้ฟังควรตง้ั ใจฟังและหาสาระสาคัญจากส่ิงที่ได้ฟัง พยายามแยกแยะข้อมูลท่ีเป็นข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็นหรือถ้อยคาที่มีลักษณะชักจูงใจ ชวนเช่ือออกจากกัน ใช้วิจารณญาณพิจารณาไตร่ตรองขอ้ มลู ทีเ่ ปน็ ไปไดจ้ ริงและประโยชนท์ ่จี ะไดร้ บั เปน็ ตน้ ๔. ฟังเพ่ือสร้างความเข้าใจ เป็นการฟังความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้อื่น เพ่ือเข้าใจบุคคลหรือเร่ืองนั้นๆ เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันและลดความขัดแย้งต่างๆ การฟังเพ่ือสร้างความเข้าใจร่วมกันเกิดขึ้นได้ในทุกระดับช้ั น ต้ังแต่ระดับครอบครวั จนถึงระดับชาติและนานาชาติ เป็นทน่ี ่าสังเกตวา่ ลักษณะการฟงั เพ่ือสร้างความเข้าใจน้ี ส่วนใหญ่มักมีปัญหาหรือเกิดความขดั แย้งข้ึนเสียกอ่ นจึงมกี ารตกลงสรา้ งความเขา้ ใจร่วมกนั โดยปัญหาหรอื ความขัดแย้งน้ันเกดิ ไดจ้ ากหลากหลายสาเหตุ เช่นสาเหตุทางการเมือง สาเหตุทางเศรษฐกิจ สาเหตุทางสังคม สาเหตทุ างความคดิ และทัศนคติท่ีแตกต่างกัน ฯลฯ การฟังเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันจะเป็นแนวทางช่วยลดปัญหาหรือความขัดแย้งต่างๆได้ แต่ท้ังนี้ผู้ฟังและผู้พูดต้องมีใจเป็นกลางและยอมรับความคดิ เห็นท่แี ตกต่างดว้ ย ๕. การฟังเพ่ือแสดงความคิดเห็น การฟังเพ่ือแสดงความคิดเห็นนั้นเป็นการฟัง ที่ต้องเกิดจากความต้ังใจและการคิดพิจารณาเพื่อประกอบการแสดงความคิดเห็น โดยการแสดงความคิดเห็นเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณค่าของสาร ฉะน้ัน ผฟู้ ังจงึ ต้องไตรต่ รองอยา่ งรอบคอบและพิจารณาถึงความเหมาะสมในการถา่ ยทอดความคดิ เห็นนน้ั เปน็ ภาษาพูดหรือภาษาเขยี นด้วย การฟังเพือ่ แสดงความคิดเห็นนี้มักปรากฏในการฟังการสัมมนา การเสวนา การอภปิ ราย เปน็ ต้น ๖. ฟังเพื่อให้ได้คติชีวิตหรือความจรรโลงใจ เป็นการฟังที่ก่อให้เกิดสติปัญญาและวิจารณญาณ ยกระดับจิตใจ ค้าชูจิตใจให้สูงขึ้นและประณีตขึ้น การฟังประเภทนี้มีลักษณะคล้ายกับการฟังเพ่ือความบันเทิงแต่ต่างกันตรงที่การฟังเพ่ือให้ได้คติชวี ิตหรือความจรรโลงใจจะมีลกั ษณะลกึ ซ้ึงและละเอียดอ่อนกว่า มุ่งพัฒนาจิตวิญญาณมิใช่เพียงอารมณ์หรอื ความรู้สึก เช่น การฟงั ธรรมะ ฟงั เทศน์ ฟังสนุ ทรพจน์ ฟังโอวาท เป็นต้น ๗. ฟังเพ่ือพัฒนาสมองและรักษาสุขภาพจิต เป็นการฟังที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงเพื่อพัฒนาสมองและรักษาสุขภาพจิต อาทิเช่น ใหท้ ารกในครรภฟ์ ังเสียงเพลงเชือ่ ว่าเป็นการพัฒนาสมอง การฟงั เสียงตามธรรมชาติ เชน่ เสยี งนกรอ้ ง เสียงน้าตก ฯลฯ เชอื่ วา่ จะบาบัดอาการเครียด การซึมเศรา้ และคนไข้จติ เวชได้ การต้ังจุดมุ่งหมายการฟังเป็นข้ันตอนพื้นฐานของการพัฒนาทักษะการฟังให้มีประสิทธิภาพ ผู้ฟังที่ดีต้องตั้งจุดมุ่งหมายของการฟังทุกคร้ังเพื่อสร้างแนวทางในการฟังเรื่องราวต่างๆ ซึ่งจะทาให้ผู้ฟังสามารถตระเตรียมความพร้อมก่อนฟังเพอ่ื ใหเ้ กิดความเขา้ ใจเน้ือหาสาระ ประโยชนแ์ ละสามารถประเมนิ ค่าสิง่ ทไ่ี ดฟ้ ังได้ง่ายข้นึอปุ สรรคและปัญหาในการฟงั อุปสรรคและปญั หาในการฟงั เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่เมอ่ื เกิดข้ึนแล้ว ล้วนสง่ ผลให้การสอื่ สารไมส่ มั ฤทธ์ผิ ล เกดิ ความเข้าใจคลาดเคล่ือนระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง และอาจทาให้ผฟู้ ังไม่สามารถวเิ คราะห์สิ่งทีฟ่ ังได้ สาเหตุของอุปสรรคและปัญหาท่ีทาให้การฟังไม่สมั ฤทธผ์ิ ลสรุปได้ ๕ สาเหตุใหญๆ่ ดงั นี้ ๑. สาเหตุจากผู้ฟัง สาเหตุจากผู้ฟังส่วนใหญ่เกิดมาการขาดความพร้อมของผู้ฟังและนิสัยการฟังที่ไม่ดี เช่น ทนฟังนานๆ ไม่ได้ ขาดสมาธิ เชือ่ คนง่าย ไม่มีความรู้เก่ียวกับเร่ืองท่ีฟัง ขาดทักษะการจับใจความสาคัญ ไม่ชอบบนั ทึกข้อมูล มีปัญหาสุขภาพ เป็นต้น ผู้ฟังที่ดีควรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและนิสัยดังกล่าว และพยายามพัฒนาทักษะการฟังอยู่เสมอ อุปสรรคและปัญหาเหลา่ น้ี ผู้ฟังสามารถปรบั ใหด้ ขี ้ึนได้เพราะเกิดมาจากตัวผฟู้ ังเอง นอกจากนิสัยการฟงั แลว้ ปัญหาในการฟังอาจเกิดมาจากการท่ีผฟู้ งั ไม่รจู้ ักวิธีการฟังทถ่ี ูกตอ้ ง อาทิเช่น ผู้ฟังบางคนฟงั ไม่ถูกวธิ ี เช่น เขา้ มาฟังอาจารย์บรรยายในชั้นเรียนแต่กลับฟังแบบสบายๆ เหมอื นการพักผ่อนแทนท่ีจะมีการจดบนั ทึกและคิดตามหรือบางคนชอบฟังผ่านๆ ไม่ใช้กระบวนการคิดทาให้ความรู้ท่ีได้รับมีลักษณะผิวเผิน หรือบางคนชอบประเมินค่าสิ่งท่ี ได้ฟังตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์สาร วิเคราะห์กลวิธีพูดและบุคลิกภาพของผู้พูด ซึ่งอาจทาให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายหรือ ๓

เข้าใจสารผิดวัตถุประสงค์ เช่น ผู้พูดส่งสารท่ีตลกขบขันเพ่ือสร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน แต่ผู้ฟังเอาแต่ประเมินค่าสารอยู่จนอาจไม่ได้รับสาระบันเทิงดังกล่าวกไ็ ด้ ๒. สาเหตุจากผู้พูด ผู้พูดเป็นอีกฝ่ายหน่ึงที่มีส่วนสาคัญต่อกระบวนการฟังท่ีมีประสิทธิภาพ การฟังท่ีมีประสิทธิภาพนอกจากผู้ฟังจะต้องมีทักษะการฟังท่ีดีแล้ว ผู้พูดควรมีทักษะการพูดที่ดีด้วยเช่นกัน หากผู้พูดมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับวิธีการพูดการนาเสนอสาร หรือบุคลกิ ภาพอาจจะทาให้ผ้ฟู ังเข้าใจประเดน็ ผดิ ไม่เช่อื ถือ และไมส่ นใจฟงั กเ็ ปน็ ได้ สาเหตุจากผู้พดู พอสรุปได้ดังนี้ ๒.๑ ผูพ้ ูดขาดทักษะการส่งสาร เช่น ไม่สามารถถา่ ยทอดความคดิ หรอื ความรู้เป็นคาพูดได้ ไมค่ ุ้นเคยต่อการนาเสนอต่อหน้าท่ีประชมุ ชน ฯลฯ ๒.๒ ผู้พูดรู้สึกประหม่า ต่ืนเต้น หรือกลัวจนพูดไม่ออกหรือพูดติดขัด ซึ่งอาจทาให้ฟังแล้วเข้าใจยากและอาจทาให้ไม่อยากฟัง ๒.๓ ผู้พดู กังวลเรอื่ งเนื้อหาทจ่ี ะพูดยังไม่สมบรู ณ์ ปัญหานีอ้ าจทาใหผ้ ู้พูดขาดความม่ันใจจนทาให้การถ่ายทอดสารขาดประสิทธภิ าพ สว่ นผ้ฟู งั จะได้รับสารไม่ครบถ้วนหรืออาจเข้าใจสารผดิ ไปได้ ๒.๔ ขาดบุคลิกภาพท่ีดีขณะพูด บุคลิกภาพท่ีดีจะช่วยสร้างความน่าเช่ือถือให้แก่ผู้พูดได้ การขาดบุคลิกภาพจะทาให้ผูฟ้ งั ร้สู กึ สงสยั และไมเ่ ช่อื ถอื ส่งิ ที่ผ้พู ูดพูด ๓. สาเหตุจากสาร สาเหตุจากสารส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ผู้ฟังไม่เข้าใจสาร โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุ พอสรุปสาเหตจุ ากสารคร่าว ๆ เป็น ๒ ลกั ษณะ ดงั น้ี ๓.๑ สาเหตุจากเนื้อหา ส่วนใหญ่แล้วปัญหาท่ีมาจากเน้ือหาของสารมักจะเกิดจากสารที่เข้าใจยาก สารที่มีความซับซ้อนและลกึ ซึง้ มาก หรือมตี าราง แผนภูมิ กราฟท่เี ขา้ ใจยาก ซึง่ ปญั หาเหล่าน้อี าจทาให้ฟังไมเ่ ขา้ ใจหรือเขา้ ใจสารผิดกไ็ ด้ ๓.๒ สาเหตุจากภาษา ภาษาท่ีปรากฏในสารนั้นอาจทาให้เกิดปัญหาได้ โดยสารนั้นมีคาศัพท์เฉพาะมากเกินไป เป็นศัพท์ที่ไม่ได้ใช้อยู่ทั่วไป หรือใช้ศัพท์ภาษาต่างประเทศมากเกินไปหรือบทกวีที่เข้าใจยากซ่ึงอาจทาให้ผู้ฟังไม่เข้าใจสาร เกิดความรสู้ ึกงุนงงกเ็ ป็นได้ ปญั หาการฟังท่ีมีสาเหตุมาจากสารข้างต้นน้ี ส่งผลให้ผูฟ้ ังไม่สามารถจับประเด็นหรอื เขา้ ใจเรื่องที่ฟงั ได้ทั้งหมด และอาจทาให้ผู้ฟังร้สู ึกเบอื่ หน่ายไดอ้ กี ดว้ ย ๔. สาเหตุจากสอื่ ส่ือ คือ วิธีทางหรือช่องทางการนาเสนอสารของผู้ส่งสารไปยังผู้รบั สาร ส่อื มีหลายประเภท เชน่ สื่อท่ีเป็นบุคคล สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่ือทางธรรมชาติ เป็นต้น หากสื่อเกิดขัดข้องหรือด้อยคุณภาพ เช่น ไมโครโฟนเสียงขาดหายเป็นช่วงๆ หรือโทรทัศน์พร่ามัว สัญญาณไม่ดี หรือบุคคลท่ีที่ฝากสารไปส่งต่อเข้าใจสารผิด ฯลฯ จะทาให้ผู้ฟังหรือผู้รับสารไม่เข้าใจสาร สง่ ผลให้การสอ่ื สารขาดประสทิ ธภิ าพ ๕. สาเหตุจากสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมเป็นส่วนท่ีช่วยสร้างบรรยากาศในการฟัง แต่หากสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออานวยอาจเป็นอปุ สรรคตอ่ การฟงั ได้ เชน่ แสงสว่างนอ้ ยเกินไป อยู่ในบรเิ วณท่มี เี สียงดังเกินไป รอ้ นหรอื หนาวเกินไป เปน็ ต้น อุปสรรคและปัญหาในการฟังข้างต้น อาจทาให้ประสิทธิภาพในการฟังลดน้อยลง ท้ังนี้ปัญหาบางปัญหาไม่ได้เกิดมาจากผู้ฟัง ทว่าผู้ฟังควรเตรียมความพร้อมในทุกสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการฟังที่มาจากผู้ฟังเอง เป็นสิ่งที่ผู้ฟังควรแกไ้ ขและเป็นส่งิ ทแี่ กไ้ ขได้เพราะเกดิ จากตัวผู้ฟังเองมารยาทในการฟัง มารยาทในการฟัง ถือเป็นวัฒนธรรมประจาชาติอย่างหน่ึงท่ีผู้ฟังควรยึดถือและปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม การมีมารยาทในการฟังทดี่ ี ถอื เปน็ การให้เกยี รติต่อผู้พดู ใหเ้ กียรตติ อ่ สถานทแี่ ละใหเ้ กยี รติต่อชมุ ชน มารยาทเหล่านีจ้ ึงเป็นเรือ่ งจาเป็นท่ที กุ คนควรยึดถือและปฏบิ ัติโดยเคร่งครดั ผมู้ มี ารยาทในการฟังควรปฏิบตั ิตน ดงั น้ี ๑) เมือ่ ฟังอยู่เฉพาะหนา้ ผู้ใหญ่ ควรฟังโดยสารวมกิรยิ ามารยาท ฟังดว้ ยความสภุ าพเรยี บรอ้ ย และตงั้ ใจฟัง ๒) การฟงั ในท่ปี ระชมุ ควรเขา้ ไปนงั่ กอ่ นผู้พูดเริม่ พูด โดยนง่ั ทด่ี ้านหน้าให้เต็มก่อนและควรต้ังใจฟงั จนจบเรอ่ื ง ๔

๓) ใหเ้ กียรติผูพ้ ูดด้วยการปรบมอื เมื่อมกี ารแนะนาตัวผู้พูดหรือขอบคณุ ผู้พูด ๔) หากมีขอ้ สงสัยเก็บไว้ถามเม่ือมโี อกาสและถามด้วยกิริยาสุภาพ เม่อื จะซักถามตอ้ งเลือกโอกาสท่ีผู้พูดเปิดโอกาสให้ถาม ถามด้วยถ้อยคาสุภาพและไม่ถามนอกเรอื่ ง ๕) ระหวา่ งการพดู ดาเนนิ อยคู่ วรรักษาความสงบเรียบรอ้ ยดว้ ยการฟงั อยา่ งสงบสุขุม ไม่ทาเสยี งรบกวนผู้อ่นื ไมเ่ คาะโต๊ะ ไม่ส่งเสียงโห่ฮา เป่าปาก สั่นขา กระทืบเท้า ไม่ลุกไปมาบ่อยๆ หากมีความจาเป็นต้องลุกจากเก้าอ้ีควรแสดงความเคารพผู้พดู หรอื ประธานเสียกอ่ น หากเดินเขา้ ไปในท่ปี ระชุมขณะท่ผี ู้พดู พูดอยคู่ วรแสดงความเคารพผพู้ ูดก่อนเข้าไปน่ัง ๖) มีปฏิกิรยิ าตอบสนองผู้พดู อยา่ งเหมาะสม ไม่แสดงสหี น้าหรือกิริยาก้าวรา้ ว เบ่ือหน่าย หรือลุกออกจากท่ีน่ังโดยไมจ่ าเปน็ ขณะฟงั ๗) ฟงั ด้วยความอดทน แมม้ คี วามคดิ เห็นขดั แย้งกบั ผ้พู ูดกค็ วรมีใจกว้างรบั ฟังอย่างสงบ ๘) ไม่แอบฟงั การสนทนาของผอู้ ่นืหลักปฏิบัตใิ นการฟงั ตามสถานการณ์ตา่ งๆ หลกั ปฏบิ ัติในการฟังตามสถานการณต์ ่างๆ สรปุ ได้ ดงั น้ี ๑. การน่ังฟัง ผู้ฟังควรนั่งฟังด้วยความสุภาพเรียบร้อย ไม่เหยียดขาออกมา ไม่น่ังไขว่ห้าง หากนั่งกับพื้นควรน่ังพับเพียบ โดยเฉพาะเม่ืออยู่ต่อหน้าพระสงฆ์หรอื ผู้ใหญ่ ในขณะฟังเทศน์ควรพนมมือขณะฟงั ด้วย นั่งมือวางซ้อนกันบนตกั ไม่ควรพิงพนัก ตามองผพู้ ูด ลักษณะเช่นนีเ้ ป็นส่ิงท่ีผฟู้ ังควรฝึกปฏิบัติใหเ้ คยชนิ ๒. การยนื ฟัง ขณะยนื ฟงั ควรยืนตวั ตรง ส้นเท้าชิด มือกมุ ประสานกนั ยกมือขึ้นเล็กน้อย ตามองผู้พูด ไม่ยืนอย่างสบายเกนิ ไป ไม่เทา้ สะเอว เทา้ แขนบนโตะ๊ หรือยนื คา้ ศีรษะผู้ใหญ่ ๓. การฟังการสนทนาหรือฟังผู้ใหญ่พูดขณะเดิน ควรเดินเย้ืองไปทางด้านหลังผู้ใหญ่ด้านใดด้านหน่ึงเล็กน้อย ไม่เปลย่ี นดา้ นไปมา เดินดว้ ยความสารวม และต้งั ใจฟัง หลักการฟังท่กี ล่าวไปท้ังหมดข้างต้น เป็นสง่ิ ท่ีผู้ฟังต้องฝึกฝนและพัฒนาเพ่ือการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการฟังทีม่ ปี ระสทิ ธิภาพเป็นเรือ่ งสาคัญต่อการดาเนนิ ชีวติ ประจาวัน โดยสามารถทาให้ชวี ติ ดาเนนิ ไปไดอ้ ย่างมีคณุ ภาพและปกตสิ ุขได้สานวนสุภาษิตเก่ียวกับการฟัง สังคมไทยสมัยก่อนเป็นสังคมมุขปาฐะ ที่มีการส่ือสารด้วยปากต่อปาก แม้จนมีการคิดประดิษฐ์อักษรข้ึนใช้ก็ยังคงใช้กันในวงแคบ ๆ ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่รู้หนังสือมากนัก การพูดและการฟังจึงยังเป็นการสื่อสารท่ีมีอิทธิพลสูงในสังคมไทยส่วนมาก มสี านวนไทยทเี่ ตอื นสติ ใหข้ อ้ คิดเกี่ยวกบั การฟงั หลายสานวน เช่น  ฟงั หไู ว้ห,ู พกหินดกี วา่ พกนนุ่ , พกหนิ เปน็ คุณพกนนุ่ ถอยศรี - หมายถึงใหห้ นกั แน่น ไมใ่ ห้เชอื่ ไปตามทีไ่ ด้ฟงั โดยไม่ไตร่ตรอง  ตักน้ารดหัวตอ, สีซอให้ควายฟงั , เข้าหซู า้ ยทะลหุ ูขวา - เปน็ การเปรยี บเทยี บคนท่ีไม่รู้จกั ฟัง หรือฟังอะไรเขา้ ใจยาก ถึงจะพดู อะไรให้ฟงั กเ็ สยี เวลาเปลา่  ฟังไมศ่ ัพท์ จบั มากระเดยี ด - หมายถึงการฟงั อะไรไม่เข้าใจ แล้วกค็ ดิ เดาเอาเองผิด ๆ  ไปไหนมาสามวาสองศอก - หมายถึงถามอยา่ งหนึ่ง ตอบไปอกี อย่างหน่ึงเพราะสอ่ื สารไมต่ รงกัน เปน็ ความบกพรอ่ งจากการฟัง นอกจากนี้ยังมีสานวนอีกหลายสานวนที่สอนเกี่ยวกับการพูดแบบต่างๆ ซึ่งนักเรียนก็ควรได้เรียนรู้ไว้เป็นส่วนประกอบเพือ่ ใหร้ ะมัดระวังในการฟงั ลักษณะการพูดประเภทน้ันๆ เช่น  ปากปราศรัยนา้ ใจเชือดคอ, ปากหวานกน้ เปรีย้ ว, ปากไมต่ รงกบั ใจ, ปากวา่ ตาขยิบ - หมายถึงใหร้ ะมดั ระวงั คนที่ปากพูดอยา่ งหนง่ึ แต่ใจอาจคิดอกี อย่างหนึ่ง ๕

การฝึกทักษะการฟงั การฟัง ต่างจากการได้ยินเสียง โดยเฉพาะในด้านของการรับรู้ข้อมูลหรือสารที่ได้ฟัง ดังนั้นการฟังจึงเป็นทักษะที่จาเป็นตอ้ งได้รับการฝึกฝน ดงั ขัน้ ตอนต่อไปนี้ ๑. การกาหนดวัตถุประสงค์ในการฟัง ผู้ฟังควรกาหนดวัตถุประสงค์ในการฟังเพ่ือให้มีเป้าหมาย หรือจุดสังเกตในการรับสารนั้นๆ รวมทั้งผู้ส่งสารเองก็ควรแสดงวัตถุประสงค์ของสารน้ันให้ชัดเจน เพื่อท่ีผู้ฟังจะได้ตั้งวัตถุประสงค์ในการฟังเช่นกัน ว่าเมื่อได้รับฟังสารน้ันแล้ว ผู้ฟังจะต้องทาอย่างไร ได้รับอะไร รู้สึกอย่างไร เป็นต้น ท้ังน้ีวัตถุประสงค์ของการฟังมีหลายปร ะการเช่น  การฟงั ให้รบั ร้สู าร หรอื ข้อมูล แลว้ สามารถตอบคาถามได้ ปฏบิ ตั ติ ามได้  การฟังให้สรปุ วตั ถุประสงคข์ องผพู้ ดู ได้ เชน่ ผพู้ ดู ต้องการโน้มนา้ วใจ ชีแ้ จง จรรโลงใจ เปน็ ตน้  การฟงั ให้จบั ใจความสาคญั จาแนกเน้อื หาท่ฟี ังเปน็ หวั ขอ้ ต่างๆ ได้ ยอ่ ความ สรุปความได้  การฟังให้แยกแยะข้อเทจ็ จริงและความคิดเหน็ ได้  การฟังทส่ี ามารถรับรู้อารมณ์ ความรู้สึกจากสารได้ เชน่ ตลก เสียดสี ประชดประชนั โศกเศร้า เปน็ ต้น  การฟังทจ่ี าแนกไดว้ า่ ผูส้ ง่ สารแสดงความเหน็ ดว้ ยหรอื ไมเ่ ห็นด้วยต่อเร่ืองใด อย่างไร เพราะเหตใุ ด  การฟงั ทร่ี ับรู้บรรยากาศท่เี กิดขึน้ ไดว้ ่าเป็นแบบสนกุ สนาน ผ่อนคลาย เครง่ เครียด หรอื เป็นทางการ  การฟังให้เข้าใจสานวน ถ้อยคา ทั้งความหมายโดยตรง ความหมายโดยนัย ถ้อยคาเสียดสี ประชดประชัน เข้าใจ ความหมายจากน้าเสียงหรืออวจั นภาษาได้  การฟงั แล้วสามารถวเิ คราะห์เรอื่ งที่ฟังในประเด็นต่างๆ ได้  การฟงั เพือ่ ให้ประเมินค่าของสารเร่ืองน้นั ๆได้ ๒. การต้ังใจและมีสมาธิในการฟัง รับสารอย่างต่อเนื่องทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา ผู้ฟังควรมีสมาธิจดจ่อกับสารท่ีฟังควบคมุ ความคิดและความสนใจให้อยใู่ นขอบเขตของสารที่กาลงั รับ และเตรียมตัง้ สติคิดพร้อมที่จะรบั สารตอ่ ไปเป็นลาดับ ๓. จดบันทึกข้อความสาคัญหรือข้อความที่น่าสนใจอย่างรวดเร็ว แต่ต้องระมัดระวังไม่เสียเวลากับการจดบันทึกมากเกินไปจนการฟังขาดช่วง ทาให้ไม่สามารถปะติดปะต่อเนื้อหาสาระจากการฟังได้ การจดบันทึกจะมีส่วนช่วยในการเรียบเรียงลาดบั เนอ้ื หา จดจาขอ้ ความสาคัญของสารท่ฟี ังได้ดว้ ย ๔. จดบันทึกข้อสงสัย หรือคาถามที่เกิดข้ึนในขณะที่ฟัง ทั้งน้ีในขณะท่ีฟัง ผู้ฟังมีการคิดตาม ทาความเข้าใจกับสารที่ฟังอาจทาให้เกิดขอ้ สงสัยในบางช่วงบางตอนของสารได้ การจดบนั ทึกคาถามเพอ่ื ถามผพู้ ดู ในภายหลังจะชว่ ยใหผ้ ู้ฟังไมล่ มื ประเดน็ ท่ีสงสัย โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ เม่ือฟงั เนื้อหาทค่ี ่อนข้างยาว ๕. ฟังโดยปราศจากอคติและความลาเอียง ให้ผู้ฟังรับสารอย่างตรงไปตรงมา เปิดใจ ไม่อคติทั้งต่อตัวผู้พูด และต่อสารที่ไดร้ ับฟงั ไมต่ ั้งอยู่บนพื้นฐานความพงึ พอใจ ต่อต้าน คัดค้าน หรือความเชือ่ ถือศรทั ธา เป็นต้น ๖. เม่ือจบการฟังผู้ฟังควรสรุปได้ว่าสารที่ได้รับฟังนน้ั สอดคลอ้ ง ตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์ที่ตัง้ ไว้หรือไม่ สามารถจับใจความ ตอบคาถาม ปฏบิ ตั ิตาม หรอื เกิดอารมณ์ความรู้สกึ ตามวตั ถปุ ระสงคข์ องสารและผสู้ ง่ สารหรือไม่ อย่างไรเสียงที่ ๑ แบบทดสอบการไดย้ นิ เสยี งเสยี งท่ี ๒ ให้นกั เรียนฟังเสียงตอ่ ไปนี้ แล้วตอบในชอ่ งวา่ งแตล่ ะข้อวา่ เป็นเสยี งอะไรเสียงท่ี ๓เสียงท่ี ๔ เสยี งท่ี ๖เสยี งท่ี ๕ เสียงท่ี ๗ เสยี งท่ี ๘ เสียงที่ ๙ ๖ เสียงท่ี ๑๐ รวมคะแนนเตม็ ๑๐ ได้..............

แบบฝึกทกั ษะการฟัง ชุดที่ ๑ การฟังเพื่อรบั สาร จับใจความ และปฏบิ ัตติ ามคาช้แี จง: ใหน้ กั เรียนฟังข้อความต่อไปน้ี แล้วปฏิบัติตามขั้นตอนตามทไี่ ด้ฟงั ลงในพนื้ ท่ีกรอบสีเ่ หลยี่ มดา้ นลา่ ง (พ้ืนท่จี ดบันทึกจากการฟัง)ปญั หาและอุปสรรคทีพ่ บจากการฟัง 1. 2. 3. 4. 5. ๗

แบบฝึกทักษะการฟัง ชดุ ที่ ๒ การฟงั เพื่อรับสาร จับใจความ และตอบคาถามคาชี้แจง: ให้นักเรียนฟงั ข้อความจากเรือ่ ง “ฉันอยูท่ ีใ่ ด” ประกอบแผนท่ีการเดนิ ทาง จากน้ันตอบคาถามใหถ้ ูกตอ้ งคาถามขอ้ ท่ี ๑ บทันาทงึกด.า้ ..น...ซ..า้..ย...ม...อื ..ข...อ..ง..ฉ...นั ...ค..อื...ซ..อ...ย..บ...า..ง..ข...นุ ...เ.ท...ีย..น....ข..วตาอมบอื .ค..ือ...โ..ร..ง..พ...ย..า..บ...า..ล...น...ค..ร..ธ...น....ห...า..ก..เ..ด..ิน...ต...ร..ง..ต..อ่...ไ..ป..จ...ะ..พ...บ...ก...ับ.....โรงเรยี นและทางรถไฟตามลาดับ ฉนั อยูบ่ รเิ วณท่ีใดคาถามข้อที่ ๒ บฉนั ทเดกึ ิน...ท...า..ง..ผ..่า...น..ถ...น...น..ท...่า..ข...า้..ม....พ...บ...ว..่า..ม...โี .ฮ...ม...โ.ป...ร..อ...ยตู่ทอาบงด..้า..น...ข..ว...า..ม..ือ....ฉ...นั...เ.ล...ีย้ ..ว..ซ...้า..ย...เ.ด...ิน..ต...ร..ง..ต...่อ..ไ..ป...พ...บ..ส...ะ..พ...า..น...ข...า้ ..ม..แยกจงึ เล้ยี วขวาและเลี้ยวซ้ายซอยบางขุนเทียน ๑๔ เดินตรงสุดซอย ฉันกาลงั เดินทางไปทีใ่ ดคาถามข้อที่ ๓ บฉันนทเดึกนิ...ท...า..ง..อ...อ..ก...จ..า..ก...ห...้า..ง..เ.ซ...น็ ...ท..ร..ลั...พ...ร..ะ...ร..า..ม....๒....เ..ขตา้ อสบถู่ น..น...เ..อ..ก...ช..ยั...ผ..า่..น...ต...ล..า..ด...บ...า..ง..บ...อ..น.....เ.ข..้า...ส..ู่ถ...น..น...พ...ร..ะ...ย..า..ม...น...ธ..า..ต. ุสถานท่ีทางด้านขวามือของฉันคอื ท่ีใดคาถามข้อท่ี ๔ บหันาทกึกฉ.ัน...เ.ด...นิ ...ท...า..ง..อ..อ...ก..จ...า..ก...ว..ัด..ก...า..แ..พ...ง....ผ..า่..น...ไ..ป...ย..งั..ถ. นตอนบเอ..ก..ช...ัย..แ...ล..ะ...ถ..น...น...พ...ร..ะ..ร..า..ม.....๒....ไ..ป..ย...ัง..ห...้า..ง..ส..ร..ร...พ..ส...ิน...ค..้า...เ.ท...ส..โ..ก. ้โลตัส ฉันเดินทางผา่ นโรงพยาบาลใดบ้างคาถามขอ้ ที่ ๕ บหันาทกึกฉ.นั...อ..ย...ทู่ ...ีว่ ..ัด...เ.ล...า...จ...ะ..ส..า...ม..า..ร..ถ...เ.ด...นิ ...ท..า...ง..ไ.ป...ย..ั.ง.โ..ร. งตพอยบา.บ...า..ล...บ..า..ง..ก...อ...ก....๘....โ..ด..ย...ไ.ม...ผ่...่า..น..ถ...น...น...พ..ร...ะ..ร..า..ม....๒.....ไ.ด...ห้...ร..ือ...ไ.ม. ่อยา่ งไร รวมคะแนนเต็ม ๕ ได้................ ๘

แบบฝึกทักษะการฟัง ชุดที่ ๓ การฟังเพ่ือรบั สาร จับใจความ และตอบคาถามคาช้ีแจง: ให้นักเรียนฟังข้อความแล้วตอบคาถามตอ่ ไปนี้ให้ถกู ต้อง คะแนนเตม็ ๒๐ คะแนนฟงั ข้อความต่อไปนแี้ ลว้ ตอบคาถามข้อ ๑ – ๓ ข. เป็นการผกู มติ รทด่ี ีเยี่ยม๑. การย้มิ ให้คุณค่าสงู สุดอย่างไร ง. เป็นการทาใหต้ วั เองและคนรอบข้างมคี วามสขุ ก. เป็นของขวญั อันสุดวเิ ศษ ข. ให้คติในการดาเนนิ ชวี ติ ค. เปน็ การผอ่ นคลายความเครียด ง. จรรโลงใจ ใหค้ วามบนั เทิง๒. ผู้เขยี นขอ้ ความนม้ี จี ดุ มงุ่ หมายใด ก. ให้ความรู้ ความเขา้ ใจ ข. เป็นการรักษาโรคทางกายและทางจติ ค. โนม้ นา้ วใจ ใหค้ ล้อยตาม ง. เปน็ การผอ่ นคลายกลา้ มเน้อื บนใบหน้า๓. ข้อใดไม่ใชค่ วามสาคัญของการยม้ิ ท่ีผู้พูดกลา่ วถึง ก. เป็นการทักทาย ผูกมิตร ค. เป็นการมอบของขวญั อันสุดวเิ ศษให้แก่กันฟงั ข้อความต่อไปนีแ้ ลว้ ตอบคาถามข้อ ๔ - ๕๔. ผเู้ ขียนมเี จตนาอย่างไรก. ใหเ้ ข้าใจธรรมชาติของชีวติ ข. ให้ระมดั ระวังภัยที่อาจเกิดข้นึค. ให้เตรยี มพรอ้ มเพ่ือรับปัญหาต่าง ๆ ง. ให้เขา้ ใจความเปน็ จรงิ และไมป่ ล่อยใหเ้ กิดปัญหา๕. เพราะอะไร วัยร่นุ จงึ เป็นชว่ งเวลาพเิ ศษทีส่ ุดของชีวิตก. มีการเปลีย่ นแปลงทางกายและจิตใจมากทีส่ ุด ข. เป็นช่วงตอ่ ระหว่างความเป็นเด็กและผใู้ หญ่ค. จิตใจเกิดความสับสน วิตกกังวลและเครียด ง. มโี อกาสเชน่ น้เี พียงคร้ังเดียวในชวี ติฟังข้อความต่อไปนี้แลว้ ตอบคาถามข้อ ๖ ข. งานบางอยา่ งเหมาะกับบางคน๖. จากเร่ืองนี้ให้ข้อคดิ อย่างไร ง. ทาอะไรต้องพอดี ก. การทางานไม่ควรใชแ้ รงมาก ค. แต่ละคนถนดั ตา่ งกันฟังข้อความต่อไปน้ีแลว้ ตอบคาถามข้อ ๗ – ๙๗. คาวา่ “ชีวติ เสรี” ในขอ้ ความนนี้ ่าจะมสี ภาพเปน็ อย่างไรก. มคี วามสุข ข. มคี วามปลอดภยั ค. มีความอดุ มสมบรู ณ์ ง. มีความสนุกสนาน ง. รักต้นไมแ้ ละสตั ว์๘. ผูท้ ีก่ ลา่ วขอ้ ความนม้ี ลี ักษณะนิสยั อย่างไร ง. ชนบทก. รักเสยี งดนตรี ข. รกั ธรรมชาติ ค. รกั ความอิสรเสรี๙. นกั เรยี นคิดวา่ สถานทีใ่ ดเหมาะสมกบั ข้อความข้างต้นก. สวนสัตว์ ข. ปา่ ไม้ ค. วนอทุ ยานฟงั ข้อความต่อไปนี้แลว้ ตอบคาถามขอ้ ๑๐ – ๑๒๑๐. ข้อความนี้กล่าวถงึ เร่ืองใดเปน็ สาคัญก. การสร้างช่ือเสียง ข. คณุ ค่าของความเพียร ง. ความเกียจคร้านเปน็ สง่ิ ไมด่ ีค. แนวทางการประกอบอาชีพ๑๑. ผเู้ ขียนมจี ดุ มงุ่ หมายอย่างไรในการกลา่ วข้อความน้ีก. ใหแ้ ง่คดิ ข. แนะนา ค. ชักชวน ง. ตกั เตอื น ๙

๑๒. ขอ้ ใดเป็นผลจากความเพยี ร ข. อนงคไ์ ดร้ ับรางวลั จากเจ้าของเงนิ ก. สมศรไี ด้รบั รางวัลแม่ดีเดน่ ง. รุง่ เรอื งไดร้ ับความสาเรจ็ จากการขายที่ดิน ค. นุชจรีไดร้ ับทนุ ไปเรยี นต่อต่างประเทศฟงั ข้อความต่อไปนี้แลว้ ตอบคาถามขอ้ ๑๓ – ๑๔๑๓. คาวา่ “พษิ ” มีความหมายแฝงถึงอะไรก. ความมัวเมา ข. ความลุ่มหลง ค. มีคนเอาใจ ง. อานาจ๑๔. ข้อความน้ีใหแ้ ง่คดิ อะไรทส่ี าคัญทส่ี ุดก. คนเรามักจะถือความรู้สึกนกึ คิดของตนเองเป็นใหญ่ ข. คนเรามกั จะเหน็ ว่าตวั เองวิเศษกว่าผู้อ่นื เสมอค. คนเราพอมีอานาจแล้วชอบแสดงอานาจ ง. คนเราชอบรวบอานาจไว้กับตนเองฟังข้อความต่อไปนแ้ี ลว้ ตอบคาถามข้อ ๑๕ ข. ไมค่ วรทาตามคนที่ต่าต้อยกวา่๑๕. ขอ้ ใดเปน็ ข้อคดิ สาคัญจากเรือ่ งน้ี ง. ควรทาในสิ่งทีเ่ หมาะสมกับวัย ก. ไม่ควรเอาอย่างผ้อู ่ืน ค. ควรมีความคิดรเิ ร่ิมฟงั ข้อความต่อไปนแ้ี ล้วตอบคาถามขอ้ ๑๖ ง. สมรรถภาพ๑๖. ขอ้ ความน้ีมุ่งใหเ้ ห็นความสาคญั ของส่ิงใด ก. การศึกษาเล่าเรียน ข. การประกอบอาชีพ ค. ความทันสมัยฟังข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคาถามขอ้ ๑๗ ข. ใชผ้ า้ ไทย เพราะผลิตได้เอง๑๗. พฤติกรรมใดที่ถือวา่ เป็น “ความนิยมไทย” ง. กินอาหารไทย เพราะอร่อย มคี ุณคา่ ก. ฟงั เพลงไทย เพราะฟงั รูเ้ รื่อง ค. ใช้ภาษาไทย เพราะมีความเคยชินฟงั ข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคาถามขอ้ ๑๘ ข. ใหเ้ ปล่ียนพฤติกรรม๑๘. เจตนาของผู้พูดคืออะไร ง. ใหข้ ้อคิดในการดาเนินชวี ิต ก. ให้ความรูค้ วามเข้าใจ ค. ให้ความสนกุ ขบขันฟังข้อความต่อไปน้ีแลว้ ตอบคาถามข้อ ๑๙ – ๒๐๑๙. ทรัพยากร หรอื พลังงานชนดิ ใดทข่ี ้อความนี้มิได้กลา่ วถึงก. น้า ข. ไฟฟา้ ค. ปา่ ไม้ ง. แรธ่ าตุ ง. ญาติ๒๐. บคุ คลใดในเร่ืองนี้ที่ไม่ประหยัดทรัพยากรก. อาม่า ข. พแี่ วน่ ค. พอ่ี ว้ น ########################################รายการเอกสารอา้ งองิ กองเทพ เคลือบพณชิ กลุ . (๒๕๔๒). การใชภ้ าษาไทย. กรุงเทพฯ: โอเดยี นสโตร.์ กอบกาญจน์ วงศว์ สิ ิทธิ์. (๒๕๕๑). ทกั ษะภาษาเพอ่ื การสอ่ื สาร. กรุงเทพฯ: โอเดยี นสโตร.์ กสุ ุมา รกั ษมณ.ี (๒๕๓๖). ทกั ษะการส่อื สาร. กรุงเทพฯ: อักษรเจรญิ ทศั น.์ นิพนธ์ ศศธิ ร. ( ๒๕๒๔). หลกั การพดู ต่อชมุ นมุ ชน. พมิ พค์ ร้งั ที่ ๓. กรงุ เทพฯ: ไทยวัฒนาพานชิ . ราชบัณฑติ ยสถาน. (๒๕๔๖). พจนานุกรมฉบบั ราชบณั ฑิตยสถาน ฉบบั พ.ศ ๒๕๔๒.กรุงเทพฯ: นานมบี ุค๊ ส์พบั ลเิ คช่นั ส์. วฒั นะ บญุ จับ. (๒๕๔๑). ศาสตร์แหง่ การใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มติ รสยาม. อภิรักษ์ อนะมาน. (๒๕๔๙). ศิลปะการใช้ภาษาไทย. พมิ พ์คร้ังที่ ๒. กรุงเทพฯ: พัฒนาศกึ ษา. ๑๐


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook