ชยสาโร ภกิ ขุ
ชยสาโร ภกิ ขุ พมิ พ์แจกเป็นธรรมบรรณาการดว้ ยศรัทธาของญาตโิ ยมหากทา่ นไม่ไดใ้ ชป้ ระโยชน์จากหนงั สือน้แี ล้ว โปรดมอบใหก้ ับผอู้ ืน่ ทีจ่ ะไดใ้ ช้ จะเปน็ บญุ เป็นกศุ ลอย่างยง่ิ
เรื่องเรือง เรอ่ื งโรย ชยสาโร ภกิ ขุ ธรรมเทศนาแสดง ณ มูลนธิ ิมายาโคตมี วันที่ ๒๒ มถิ ุนายน ๒๕๕๖พิมพ์แจกเปน็ ธ รรมทานส งวนลิขสิทธิ์ ห้ามคดั ลอก ตดั ตอน หรอื นำ�ไปพมิ พ์จำ�หน่ายหากทา่ นใดประสงคจ์ ะพมิ พ์แจกเปน็ ธรรมทาน โปรดตดิ ต่อมลู นิธิปญั ญาประทีป หรือ โรงเรียนทอสี๑ ๐๒๓/๔๗ ซอยปรีดพี นมยงค์ ๔๑ สุขมุ วทิ ๗๑ เขตวฒั นา กทม. ๑๐๑๑๐โทรศพั ท์ ๐-๒๗๑๓-๓๖๗๔www.thawsischool.com, www.panyaprateep.orgพ ิมพ์ค ร้ังท ี่ ๑ ธนั วาคม ๒๕๕๖ จำ�นวน ๑๐,๐๐๐ เล่มถอดไฟล์เสียง กีรติ นาคประสทิ ธิ์ตรวจทานต้นฉบบั ศรีวรา อิสสระภาพปก นิรนามศลิ ปกรรม ปรญิ ญา ปฐวินทรานนท์จัดท�ำ โดย มูลนิธปิ ัญญาประทปีด ำ�เนินการพิมพ์ บริษทั ควิ พรน้ิ ท์ แมเนจเม้นท์ จ�ำ กัด โทรศพั ท์ ๐-๒๘๐๐-๒๒๙๒
อาตมาขอเปรียบเทียบศาสนาพุทธกับศาสนาอ่ืน โดยถือหลักว่าศาสนาทเ่ี กดิ ข้ึนในตะวันออกกลาง เช่น ศาสนายวิ ศาสนาครสิ ต์ ศาสนาอสิ ลาม ซงึ่ ศาสนาเหล่านัน้ ถงึ แม้วา่ ไมค่ ่อยจะถูกกันบางทีก็ยังรบราฆ่าฟันกัน แต่โดยสรุปแล้วถือได้ว่าเป็นศาสนาตระกูลเดยี วกนั ซ่ึงเราอาจจะเรยี กได้ว่าเป็น Belief System หรอืเป็นระบบความเช่ือผู้ท่ีนับถือศาสนาเหล่านั้นจะมองศาสนาว่าเป็นเคร่ืองยึดเหนี่ยวทางจิตใจ จุดเด่นของศาสนาเหล่านั้นอยู่ท่ีศรทั ธา เนน้ ทศ่ี รทั ธา เมื่อมีการเน้นทีศ่ รัทธา สง่ิ ท่ีเปน็ ศัตรูทที่ ุกคนกลวั ไมอ่ ยากให้มเี ลย ก็คือความสงสัย ท�ำให้ต้องคอยระแวงและรังเกยี จสิ่งหรอื บุคคลท่ีชวนสงสัยในค�ำสอนทีต่ นนบั ถอื
ส่วนศาสนาพุทธเป็นศาสนาคนละตระกูล คนละประเภทคนละพนั ธ์ุ ศาสนาพทุ ธเปน็ Education system หรอื ระบบการศึกษาเป็นระบบการศึกษาที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดท่ีเคยปรากฏอยู่ในโลก และคณุ ธรรมหลกั ของศาสนาทอี่ ยใู่ นตระกลู นค้ี อื ปญั ญาในศาสนาพทุ ธเราไมร่ งั เกยี จความสงสยั แตถ่ อื วา่ เปน็ บทเรยี น เราฝกึใหร้ เู้ ทา่ ทนั ความสงสยั ดว้ ยปญั ญา เม่ือพุทธศาสนาเป็นศาสนาท่ีเน้นทางปัญญา ไม่เน้นทางศรัทธา หมายความว่าศรัทธาไม่ส�ำคัญอย่างนั้นหรือ นั่นก็ไม่ใช่หากค�ำส่ังสอนของพระพุทธเจ้าไม่ได้มีไว้เพ่ือเช่ือ แต่มีไว้เพ่ือใช้ค�ำสอนของพระพุทธองค์เปรียบเหมือนเคร่ืองมือที่เราควรจะต้องใช้ในการศกึ ษา เพอื่ พฒั นาตน ศรทั ธากม็ บี ทบาทส�ำคญั เหมอื นกนัโดยมีเง่ือนไขว่าศรัทธาตอ้ งมีปัญญาคอยก�ำกับอยเู่ สมอ ศรัทธาที่ขาดปัญญาย่อมล่อแหลมตอ่ อันตราย ๒ รปู แบบ หนึง่ คือความงมงาย และ สอง คอื ความคล่งั ในค�ำสอน ในโลกปัจจุบนั ทกุ วนั นี้ บางคนท�ำความชั่วโดยอ้างศาสนาถือว่าท�ำดว้ ยศรัทธา เพอ่ื ศาสนา คงไมบ่ าป ทางพทุ ธศาสนาถอื วา่ 2
ถ้ามีเจตนาจะเบียดเบียน ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เจตนาจะเบยี ดเบยี นนั่นแหละคือตัวบาป บาปอยทู่ ่ีเจตนาเหตผุ ลก็เป็นแค่ตวั ตัดสินว่า บาปมาก หรือ บาปนอ้ ย ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนาของเรามเี ครอ่ื งวดั เครอื่ งตดั สนิ วา่ จะถกู ตอ้ ง หรอื ไมถ่ กู ตอ้ งอยทู่ ่ีการกระท�ำ เราถอื การกระท�ำเป็นใหญ่ พระพทุ ธองคจ์ ึงตรสัเรียกพระธรรมวินัยของพระองค์ว่าเป็นศาสนาประเภท วิริยวาทเปน็ ศาสนาทถ่ี อื วิริยะ ถอื ความเพยี ร หรือการกระท�ำเปน็ ใหญ่ ศรัทธาของชาวพุทธ คือ ศรัทธาความเช่ือมั่นในการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรียกว่า ตถาคตโพธิสัทธาแต่ความเชื่อเช่นน้ีไม่ใช่ว่าเชื่อแล้วจบ เพราะความเช่ือในการตรสั รขู้ องพระพทุ ธเจา้ กค็ อื ความเชอ่ื ในการตรสั รขู้ องมนษุ ย์คนหน่ึง เพราะก่อนจะตรัสรู้ พระโพธิสัตว์ยังเป็นคน ถึงจะเปน็ ผมู้ บี ญุ บารมอี ยา่ งยง่ิ กจ็ รงิ แตก่ ย็ งั เปน็ มนษุ ยธ์ รรมดาอยู่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณในฐานะเป็นมนุษย์คนหน่ึง และในขณะนั้นได้พิสูจน์ถึงศักยภาพของมนุษย์ท่ีจะบรรลุธรรมด้วยความพากเพียรพยายามของตน 3
เจ้าชายสิทธัตถะจึงบรรลุในฐานะเป็นผู้แทนของมนุษย์ดังน้ันความเช่ือในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือความเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ที่จะตรัสรู้ธรรม ความเช่ือข้อท่ีส�ำคัญท่ีสุดก็คือ เมื่อพวกเราท้ังหลายเปน็ มนุษย ์ เราทกุ คนยอ่ มมศี กั ยภาพในการบรรลธุ รรม ไมว่ า่เราจะเปน็ ชาวตะวันตก ชาวตะวนั ออก ผูช้ าย หรือ ผู้หญงิ เม่ือเกิดเป็นมนุษยแ์ ล้ว ถือว่ามีคุณสมบัติพรอ้ มทจ่ี ะบรรลุธรรมฉะนัน้ จากความเชื่อในการตรสั ร้ขู องพระพทุ ธเจา้ สติปัญญาจะน�ำไปสคู่ วามเชอ่ื ในศักยภาพของมนุษย์ที่จะตรัสรู้ และขนั้สดุ ทา้ ย น�ำไปสคู่ วามเชอ่ื ในศกั ยภาพของตนเองทจี่ ะบรรลธุ รรมหรอื พูดอกี นัยหน่งึ ก็คอื เชือ่ วา่ ขา้ พเจ้าสามารถละบาปทงั้ ปวงได้ ข้าพเจา้ สามารถท�ำกศุ ลธรรมใหถ้ ึงพรอ้ มได้ ขา้ พเจา้ สามารถชำ� ระจิตใจของตนใหข้ าวสะอาดได้ ทำ� ได้ ควรท�ำ ตอ้ งทำ� ไม่ท�ำไมไ่ ด้ ดงั น้ัน ศรัทธาของเรา 4
ไม่ใช่ศรัทธาในส่ิงที่เกิดขึ้น ๒,๖๐๐ ปีท่ีแล้วหรือศรัทธาในสง่ิ ทไ่ี มม่ ที างพิสูจน์ได้ แตเ่ ปน็ ศรทั ธาวา่ ข้าพเจ้าละบาปได้และควรจะละ ถ้าเช่ืออย่างน้ันแล้ว แต่ไม่พยายามละบาปเรยี กวา่ ศรทั ธาปลอม ศรทั ธาไม่แท้ ถ้าเราถอื วา่ เราเปน็ ชาวพทุ ธดว้ ยการละบาป เป็นชาวพุทธด้วยการบ�ำเพญ็ กุศล เปน็ชาวพุทธด้วยการช�ำระจิตใจของตน แต่ไม่มีความพยายามเลยในการละบาป บ�ำเพญ็ กศุ ล ช�ำระจิตใจของตน สมควรหรือท่ีจะถือว่าเป็นพุทธมามกะ หรือพุทธศาสนิกชน พระพุทธศาสนาไม่ได้อยู่ที่ไหน พุทธศาสนาไม่ได้อยู่ท่วี ัดวาอาราม พทุ ธศาสนาไมไ่ ดอ้ ยู่ในตพู้ ระไตรปฎิ ก พุทธศาสนาไมไ่ ดอ้ ยทู่ ส่ี ถาบนั สงฆอ์ ยา่ งเดยี ว พทุ ธศาสนาอยทู่ ก่ี ายอย่ทู ่ีวาจา อยทู่ ่ใี จของชาวพุทธทกุ คน เราทกุ คนมสี ่วน และมีสิทธใิ์ นการสืบตอ่ อายุของพระพทุ ธศาสนา พระสงฆ์มีหน้าท่ีส�ำคัญหลายอย่างในสังคมพุทธข้อส�ำคญั ขอ้ หน่ึงคือ ตอ้ งเป็นตวั อย่าง เป็นตวั อย่างในการส�ำรวมระวัง เป็นผู้พิสูจน์โดยวิถีชีวิต ว่าชีวิตเราถึงจะมีส่ิง 5
อ�ำนวยความสะดวกไม่มาก เรากย็ งั มีความสขุ ได้ ถา้ พระเราอยู่อย่างเรียบง่าย ค�ำสอนเร่ืองความส�ำรวม เรื่องความประหยัด ย่อมมีน�้ำหนักแต่ถ้าพระเราสะดวกสบายเกินไปไปไหนก็นั่งเครื่องบินส่วนตัว แต่สอนเร่ืองความสันโดษค�ำสอนก็คงไม่เข้าหูญาติโยม ตอนทอี่ าตมาไปอยวู่ ัดปา่ นานาชาตแิ รกๆ เม่อื ๓๕ ปีที่แล้วตอนนนั้ ยงั ไม่มีไฟฟา้ ส�ำหรับชาวตะวนั ตกอยา่ งอาตมาค่อนข้างจะขีร้ อ้ น ชว่ งเดอื นเมษา พฤษภา ทรมานพอสมควร ศาลากม็ ุงด้วยสังกะสเี วลาน่งั สมาธิเปน็ หมอู่ ยใู่ นศาลา นส่ี ุดทรมาน เหงอ่ื โชกจวี รพอเหงือ่ ไหลยุงก็มา เรามแี ตป่ ลอบใจตวั เองว่า ความอดทน คือเครือ่ งเผากิเลสอย่างยิง่ ช่วงนั้นเจ้าหน้าท่ีการไฟฟ้าก็มากราบท่านเจ้าอาวาสว่าจะขอถวายไฟฟ้า ขอต่อไฟฟ้าเข้าวัด คณะสงฆ์ก็ปรึกษาหารือกันประชุมวา่ จะรับ หรอื ไม่รบั พระฝ่ายอนรุ ักษน์ ยิ มเหน็ ว่า ไม่ควรรบั หากไฟฟ้าเขา้ วดั แลว้ จะเป็นทางไปสูค่ วามเส่อื ม ข้อวตั รปฏิบตั ิ 6
จะหายไปหมด ตอ้ งอยเู่ หมอื นกบั พระสมยั หลวงปมู่ น่ั ครบู าอาจารย์สมยั ก่อนไม่มไี ฟฟา้ ไมเ่ หน็ เปน็ ปญั หาอะไร ส่วนพระรุ่นใหม่ก็เห็นวา่ นง่ั สมาธิแตล่ ะวนั ไมค่ ่อยไดเ้ ร่ือง อากาศรอ้ นเหลือเกนิ ยุงก็กัดเต็มไปหมด มีพัดลมก็น่าจะดี ไมฟ่ ่มุ เฟือยจนเกินไป เรื่องนพี้ ระเราพดู กันนาน สุดท้ายกล็ งมติทถี่ อื ว่าเปน็ ทางสายกลาง คือไมป่ ฏิเสธไฟฟ้าเสียทเี ดยี ว แต่จะใหเ้ ขา้ เฉพาะศาลา โรงครัว ไม่ให้เขา้ กฏุ ิพระสงฆ์ อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่หมู่บ้านยังไม่มีไฟฟ้า เราก็จะไม่รับ ถ้าหมู่บ้านไดแ้ ล้ว ชาวบ้านไดแ้ ลว้ เราจึงค่อยรบั เพราะถ้าเรามีพัดลม แตช่ าวบ้านไม่มี เราจะรับบณิ ฑบาตตอนเชา้ ไดอ้ ย่างไรในเมื่อชวี ิตเราสะดวกกว่าเขา ยงั จะไปขอทานจากเขาไดอ้ ีกหรือ น่ีเป็นหลักท่ีเราถือไว้ต้ังแต่สมัยน้ันว่า เราไม่ปฏิเสธเทคโนโลยหี รอื อะไรตา่ งๆ โดยสน้ิ เชิง แต่ใชป้ ัญญาพิจารณาโดยมีหลักการบางอย่าง เช่นวา่ ไม่ใหส้ บายกว่าโยม พระต้องเป็นตัวอย่างในบางเร่ือง แต่ในบางเรื่องก็ไม่ต้องเป็นตัวอยา่ ง เช่น เรอ่ื งการพฒั นาสงั คม การสรา้ งความยตุ ธิ รรมใน 7
สังคม เรือ่ งทางโลก เรือ่ งสังคมสงเคราะหอ์ ะไรต่างๆ พระเราไม่ได้ท�ำงานเรื่องนโี้ ดยตรง แตน่ ่นั ไมไ่ ดห้ มายความว่า ไมส่ มควรทีจ่ ะท�ำ เพียงแคว่ า่ พระไม่สามารถเปน็ ตวั อย่างในเรื่องเหล่าน้ี เพราะต้องรักษาความเปน็ สมณะของทา่ นไว้ ทา่ นมีหน้าที่เป็นผ้ใู ห้ก�ำลังใจแก่ผู้ท่ีอย่ใู นสนามรบ หรือผู้ทก่ี �ำลงั ตอ่ สเู้ พื่อความยุติธรรม เพ่อื ความดีงามในสังคม พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนว่า หน้าท่ีชาวพุทธคือรักษาศีลและน่ังสมาธิให้จิตใจสงบ และเม่ือจิตใจสงบ ทุกส่ิงทุกอย่างมันจะดไี ปเอง ไมเ่ คยสอนว่าหนา้ ท่ีของชาวพุทธคอื ท�ำใจ มีอะไรท่ีไม่ถูกตอ้ ง มีอะไรท่ไี ม่สบายใจ ก็ให้ท�ำใจ พระพุทธองค์ไม่เคยสอนอย่างน้ัน ท่านสอนหลักพระธรรมวินัย วินัยเป็นเรื่องการจัดสรรส่ิงแวดล้อมให้เอ้อื ท่สี ดุ ต่อความเจริญในธรรม ส�ำหรับปถุ ชุ นท่วั ไป ธรรมชาติของปุถุชนคือ ทำ� ความช่วัง่ายกว่าท�ำความดี เพราะฉะนั้น เราต้องพยายามจัดสรรสิ่งแวดลอ้ มในสงั คมใหช้ วนท�ำความดมี ากกวา่ ทจ่ี ะยวั่ ยใุ หท้ �ำความชว่ั 8
ยกตัวอย่างเร่ืองสิ่งแวดล้อม หลายสิบปีก่อน สถิติอาชญากรรมโดยเฉพาะอาชญากรรมรุนแรง คือ ฆาตกรรมในอเมริกาเพ่ิมขึ้นทุกปีๆ จนมาถงึ จดุ ๆ หน่ึงเมอ่ื ประมาณ ๓๐ ปที ี่แลว้ ทม่ี นั เริม่ ลดลงและลดลงอย่างมากด้วย นักวิทยาศาสตร์พยายามหาสาเหตุว่าท�ำไมจึงเป็นเช่นน้ัน ก็หาได้ยาก เพราะตัวแปรส�ำคัญๆ เช่นกฎหมายบา้ นเมืองกไ็ มไ่ ด้เปลย่ี นแปลงอะไรมากมาย สุดท้ายมีทฤษฎีหรือมีการวิจัยท่ีน่าสนใจว่า ๒๐ ปีก่อนท่ีสถิติอาชญากรรมฆาตกรรมเร่ิมลดน้อยลงรัฐบาลอเมริกาห้ามการใช้สารตะกั่วในสินค้าหลายชนดิ เช่น สที าบ้าน เป็นต้น เพราะมีหลักฐานพิสูจน์ว่าสารตะก่ัวมีผลต่อสมองของเด็กเล็ก โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งสมองด้านหนา้ ซงึ่ เป็นทีอ่ ยขู่ องสง่ิ ท่เี รียกว่า ExecutiveFunction ซ่ึงเกย่ี วกับการคิด การใชส้ ตปิ ญั ญา และทีส่ �ำคญั คือการควบคมุ อารมณ์ หรือความยับยง้ั ช่ังใจ ปกติผู้ท่มี แี นวโน้มชอบรนุ แรงและมีส่วนในอาชญากรรมฆาตกรรมมาก ทีส่ ุดคือ เดก็ หนุ่มอายุ ๒๐ กวา่ ๆ เม่อื เลิกใชส้ ารตะกวั่ แล้ว ๒๐ กวา่ ปี พบวา่ เดก็ ท่ี 9
เกิดในช่วงนั้นเริ่มจะเกิดโดยไม่มีสารตะกั่วในสมอง ความยับย้ังช่ังใจมมี ากข้นึ ความรุนแรงและฆาตกรรมในสังคมลดนอ้ ยลง นี่ก็เป็นตัวอย่างให้เราเห็นว่าการแก้ปัญหาทางศีลธรรมแน่นอนส่วนหน่ึงของการแก้ปัญหาในความส�ำรวมความไม่ส�ำรวมในหมูช่ าวพุทธ อยทู่ ี่วัฒนธรรม อยู่ที่การปฏบิ ัติธรรม อยูท่ จี่ ิตใจและส่วนน้ันพระท่านช่วยให้แนวทาง แต่บางทีเช่นในกรณีมีสารเคมีในอากาศ สารเคมีในอาหารมากมาย ซึ่งมีผลต่อสมองและจิตใจของคน เราจะแกด้ ว้ ยการปฏิบัตธิ รรมอย่างเดยี วไม่ได้ คดิ จะแก้ด้วยการปฏิบัติธรรมกลายเป็นประมาทไป เพราะมองข้ามเหตุใหเ้ กิดปญั หา โดยยนื ยันวา่ ไมเ่ ก่ียวกับศาสนาพทุ ธ ธรรมะต้องอยู่กับวินัยเสมอ ก่อนอาตมาออกบวชท่ีเมืองไทยก็ไดศ้ กึ ษาพทุ ธศาสนาทัง้ ฝ่ายมหายาน เซน ทิเบต ไมถ่ ึงกบัแตกฉานหรอก แต่ว่ามีความรู้พอประมาณ เหตุผลข้อหนึ่งที่ท�ำใหเ้ ลอื กปฏบิ ตั ิ และออกบวชในพุทธศาสนาฝา่ ยเถรวาท เพราะระแวงทที่ างมหายานบางส�ำนัก หรือทิเบตบางนิกายมีค�ำสอนและ 10
ความเชื่อว่า ผู้บรรลุธรรมแล้วไม่ต้องรักษาศีลก็ได้ เพราะจิตใจของท่านบริสุทธิ์แล้วไม่ว่าท่านท�ำอะไร ย่อมไม่มีความคิดท่ีเป็นอกศุ ลอยใู่ นใจ จะท�ำอะไรกท็ �ำได ้ ไมม่ ผี ดิ อาตมาเคยอา่ นพระสตู รมีพราหมณ์คนหน่ึง ไม่ทราบว่ากราบเรียนพระอรหันต์องค์ใดองค์หนึ่ง หรือพระพุทธเจ้า ...ขอโทษจ�ำไม่แม่น แต่ไม่เป็นไรสาระส�ำคญั ก็คอื พราหมณ์ถามวา่ วัดนี้มีพระอรหนั ตบ์ ้างไหม?ได้ค�ำตอบว่ามี...มีเยอะ ...อนาคามี สกทาคามีโสดาบัน มีทั้งน้ันมีครบหมด พราหมณ์ก็ถามต่ออีกว่า แล้วพระท่ียึดว่าท่านเป็นพระอริยเจ้าแต่ไม่ใช่ มีบ้างไหม? ท่านก็ตอบว่า มีเหมือนกันอาตมาสะดุ้งเหมือนกันว่า ขนาดอยู่ในวัดซ่ึงมีพระพุทธเจ้า หรือพระอริยสงฆ์อยู่จ�ำนวนมาก ก็ยังมีพระท่ียังไม่ถึงแต่คิดไปเองว่าถึงแสดงว่าท่านต้องเช่ือมั่นในตัวเองเหลือเกิน เม่ืออาตมาไปเจอฝ่ายทเิ บตหรอื มหายาน กอ็ ดคิดไมไ่ ด้ว่า แล้วมันเปน็ ไปไมไ่ ดห้ รอืท่ีอาจารย์ท่ีถือว่าอยู่ เหนือบุญ-เหนือบาป ท�ำอะไรก็ได้ ไม่ผิดไม่มีผล ทา่ นจะหลงไมไ่ ด้หรือแม้แตใ่ นสมัยพุทธกาล ขนาดว่าอยู่ในวัดเดยี วกับพระสารีบตุ รพระโมคคลั ลา ก็ยังมีผหู้ ลงอยู่ 11
ระหว่างท่ีอาตมาศึกษาค�ำสอนของฝ่ายเถรวาท ได้ดูวินัยของสงฆ์ ปรากฏวา่ ผู้ทบ่ี วชแล้ว ๓๐ พรรษา ๔๐ พรรษา ๕๐พรรษา ถึงแม้จะเป็นพระอรหันต์เรียบร้อยแล้ว ยังจะต้องรักษาวินัยทุกข้อเหมือนพระบวชใหม่ พระไม่มีกิเลส พระท่ียังมีกิเลสหนา ลว้ นรกั ษาวินยั อนั เดยี วกนั เพราะอะไร กเ็ พราะความเคารพในพระวนิ ัย อาตมาเคยสอนพระท่ีวัดป่านานาชาติว่า มรดกตกทอดที่ชัดเจนท่ีสุดของพระพุทธเจ้าคือ พระวินัย คือ วิถีชีวิตในทกุ ๆ แงม่ มุ ถกู ก�ำหนดโดยพทุ ธวจนะ ท�ำใหเ้ รารสู้ กึ วา่ วถิ ชี วี ติของสงฆ์ ชีวติ พรหมจรรยม์ นั ประเสรฐิ จรงิ ๆ เราท�ำอะไร เรานงั่ อย่างไร พดู อย่างไร วางของอยา่ งไร ทกุ ส่งิ ทุกอยา่ งนัน้ท�ำเพราะอะไร ท�ำเพราะพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ และหลวงพ่อชาท่านกส็ อนพวกเรางา่ ยๆ เชน่ ท่านสอนว่าเรารักษาศลีศีลรกั ษาเรา ค�ำน้ีเปน็ ค�ำพดู ทง่ี า่ ยๆ ฟังงา่ ย จ�ำง่าย แต่ลกึ ซง้ึเรารักษาศีลศลี รกั ษาเรา 12
ญาติโยมมักจะชมว่า พระวดั ปา่ ทา่ นเคร่ง เคร่งในพระวนิ ัยมากๆ แต่พวกเราเองไม่รู้สึกว่าเคร่งอาตมาขอเปรียบเทียบว่าพระเหมอื นเด็ก คือเดก็ เล็กๆ อยชู่ ั้น ป.๒ ป.๓ เช่อื ฟังพ่อแม่ เราจะชมเดก็ คนนน้ั วา่ เปน็ ลูกทเี่ คร่งมากไหม กค็ งไม่นะ เพราะลูกกต็ ้องเชอ่ื ฟังพ่อแมอ่ ยแู่ ลว้ ไมเ่ ห็นจะเป็นเรอื่ งแปลก พระเราก็ถอื อย่างนน้ั เหมอื นกนั ไมใ่ ชเ่ คร่งหรอก พ่อคอื พระพุทธเจ้าสัง่ อย่างไร เราก็พยายามท�ำตามน่ันไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลก ถ้าการท�ำตามหน้าที่กลายเป็นเรื่องแปลก สถาบันสงฆ์คงต้องอยใู่ นสภาพท่ีน่าเป็นหว่ ง สรุปว่าพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทให้ความปลอดภัยกับผู้ศกึ ษาและปฏบิ ตั ิ เพราะถงึ พระจะหลงตนเองบ้าง ตราบใดทยี่ ังรักษาพระวนิ ัย กย็ อ่ มไม่เกดิ ความเสียหายจนเกนิ แก้ ในหมู่สงฆ์พระอยไู่ ด้ ทงั้ ผู้ท่บี รรลุแล้ว และท่ีไม่บรรลุ ทง้ั ผทู้ เี่ กง่ และไมเ่ กง่เพราะมศี ลี เสมอกนั มาตรฐานอนั เดยี วกนั ตายตวั แนน่ อนไมม่ ยี กเวน้ ความผดิ พลาดที่เกดิ ขน้ึ ในชีวติ เหน็ ไดไ้ ม่งา่ ย สมมตวิ ่ามผี ู้ท่ีเชื่อมั่นในตัวเองมาก เช่ือม่ันว่าสามารถเดินตรงได้โดยไม่ต้องดู 13
เข็มทิศ ยืนยันได้ว่า สามารถเดินเป็นชั่วโมงๆ โดยไม่เขวจากเสน้ ตรง เมอื่ เขารบั การทา้ พสิ จู น์ เขากเ็ ขา้ ไปในทะเลทราย มองซา้ ยมองขวาไม่มีภูเขา ไม่มีเครื่องหมายอะไรเลย แล้วเดิน ๘ ชั่วโมงไปทางทิศเหนือ เดิน... เดินไปเรื่อยๆ เดินตรงไป เวลาผ่านไป๘ ชวั่ โมงกห็ ยดุ กรรมการวดั ดวู า่ ตรงไหม อศั จรรย.์ ..อศั จรรยม์ ากเดนิ ตรงมากเลย เพ้ยี นจากเสน้ ตรงแค่ ๑ องศา เดิน ๘ ช่วั โมง ไมม่ ีเข็มทิศ เพ้ียนจากเส้นตรงไปทางตะวันออกแค่ ๑ องศาเท่าน้ันเรยี กว่าเกง่ มากๆ วนั ท่ี ๒ เขาเดนิ ตอ่ เขารกั ษาสถติ เิ อาไวไ้ ดอ้ ยา่ งดี ตรงมากเลย ๘ ชวั่ โมงเพย้ี นไปแค่ ๑ องศาไปทางตะวนั ออก ทนี เ้ี ดนิ ๙๐ วนัจะเพีย้ นไปก่อี งศา ๙๐ องศาใชไ่ หม แลว้ ถ้าเดิน ๑๘๐ วนั ทิศเหนือจะกลายเปน็ ทศิ ใตโ้ ดยผเู้ ดนิ ไมร่ สู้ กึ ตวั เลย ยงั เชอื่ มนั่ ๑๐๐ เปอรเ์ ซน็ ต์ว่าตนเองเดินตรง ใช่ไหม กถ็ อื ว่าเดินได้ตรงดเี พราะวา่ เพยี้ นแค่นิดเดียว แต่นิดเดียว...นิดเดียวนี่แหละอันตราย ทิศเหนือกลายเป็นทศิ ใต้โดยเจ้าตัวไมร่ ูส้ ึกเลย ขอให้สงั เกตในชีวติ ของเรา ความผิดพลาดท่ีเกิดขึ้น เอ... จะไปทางนี้ หรือไปทางน้ันดีนะน่าจะไป 14
ซ้ายหรือจะไปขวา ชีวิตเราเป็นอย่างน้ีไม่กี่ครั้ง ที่มันเพ้ียน ท่ีมันเสียทีละนิด...ทีละเล็ก...ทีละน้อยแค่น้ีนิดเดียว แต่นิดเดียวๆรวมกันแล้วมันผิดพลาดไปมากโดยไม่รู้สึกตัว เรามักจะประมาทจนเกิดปัญหาเพราะความเสื่อมนิดๆ น้อยคอยพอกพูน วธิ ีปดิ กน้ั หรือวิธีป้องกนั อันตรายเชน่ นี ้ จะท�ำได้อยา่ งไร ข้อท่ี ๑ คือศีลธรรม การหม่ันรักษาศีลท�ำให้เรามีหลักการตัดสินการกระท�ำท่ีตายตัวแน่นอน ไม่เปิดช่องใหก้ ารเขา้ ขา้ งตัวเองครอบง�ำใจ เพราะผดิ หน่ึงเซนติเมตรกบัผิดหน่ึงกิโลเมตรก็ผิดพอๆ กัน ศีลแต่ละข้อเป็นเครื่องสะทอ้ นเจตนา ชว่ ยใหร้ วู้ ่าเราก�ำลงั ท�ำอะไรอยู่ ข้อท่ี ๒ คือการภาวนา ในขอ้ นี้อาจมีปญั หาเพราะการประเมนิ ผลการปฏบิ ตั สิ งู เกนิ ไป เมอ่ื ดว่ นสรปุ วา่ เรอื่ งนไี้ ดแ้ ลว้เรือ่ งนเี้ รียบรอ้ ยแล้ว ผ่านไปแล้ว ไม่ตอ้ งเป็นกงั วลอีกแลว้ ก็ประมาทแทนทจ่ี ะหมน่ั พจิ ารณาทกุ เรอ่ื งทคี่ ดิ จะท�ำวา่ ท�ำอยา่ งนถ้ี กู ไหม หรอื ท�ำอยา่ งนผี้ ดิ ไหม กป็ ลอ่ ยไป ถอื วา่ ไมต่ อ้ งดแู ลว้ 15
มนั ต้องถกู อยแู่ ล้ว ท�ำไมตอ้ งถูก ถูกเพราะตวั เราถกู อยแู่ ลว้คนถกู กต็ อ้ งท�ำสงิ่ ทถี่ กู อยเู่ สมอ คนทไี่ มม่ ปี ญั หาในเรอ่ื งนแี้ ลว้กค็ งไมม่ ปี ญั หาอะไรอกี ตอ่ ไป นห่ี ลงแลว้ และความเศรา้ หมองกค็ อ่ ยๆ เพมิ่ ขน้ึ ทลี ะเลก็ ทลี ะนอ้ ยได้ หลวงพ่อชาท่านจึงสอนพวกเราเรื่องความไม่แน่นอนสอนวา่ มนั ไมแ่ นห่ รอก ทกุ สง่ิ ทกุ อยา่ งมนั ไมแ่ น ่ สงิ่ ภายนอกกไ็ มแ่ น่ เปลย่ี นแปลงไดเ้ สมอ ภายในชวี ติ ของเรากเ็ หมอื นกนัมีแต่ของไม่แนไ่ มน่ อน รูปก็ไมแ่ น่ เวทนา ความร้สู กึ สขุ ทุกข์เฉยๆ กไ็ มแ่ น่ สัญญา ความจ�ำได้หมายรู้ กไ็ มแ่ น่ สงั ขารอารมณ์ทั้งฝ่ายกุศลอกุศล ทั้งกิเลสทั้งคุณธรรม ก็ไม่แน่วิญญาณ การรับรู้ทางตา หู จมูก ล้นิ กาย ใจ ก็ไมแ่ น่ เราต้องพจิ ารณาความไม่แน่ในขันธห์ า้ ของเราทกุ วนั ๆ ท่านสอนว่า ชอบก็ไม่แน่ ไม่ชอบก็ไม่แน่ ครั้งหน่ึงท่านสอนว่า ถึงแม้ใครเชื่อว่าตนเองบรรลุเป็นโสดาบันแล้วให้ถือว่าไมแ่ น่ สกทาคามี...ไม่แน่ อนาคามี...ไมแ่ น่ อรหนั ต.์ .. 16
ไม่แน่ ถึงจะม่ันใจว่าเป็นแล้วก็ให้สมมติว่า ...ไม่แน่...เพ่ือความปลอดภยั อาตมาประทบั ใจค�ำสอนนมี้ าก ถา้ เราค�ำนงึ ถงึค�ำนพ้ี จิ ารณาค�ำนเ้ี ปน็ ประจ�ำ จะปลอดภยั เรยี กวา่ ไมป่ ระมาทพิจารณาความไมแ่ น่ จิตใจกจ็ ะทรงอยใู่ นความไม่ประมาทอย่างแนน่ อน ก่อนอาตมาบวช ในยุคฮปิ ปี้ มคี �ำขวญั ทเ่ี ราชอบมาก และยงั ชอบอยจู่ นทกุ วนั น้ี เปน็ ค�ำปลกุ ระดมของนกั ศกึ ษาผมู้ อี ดุ มการณ์อยากสร้างโลกที่น่าอยู่กว่าน้ี ขอกล่าวเป็นภาษาอังกฤษก่อนคือYou’re either part of the problem or part of the solution.แปลว่า ทางเลือกของเราอยู่ระหว่างการเป็นส่วนหนึ่งของปัญหากบั การเปน็ สว่ นหนงึ่ ของการแกป้ ญั หา การอยเู่ ฉยๆ ไมใ่ ชท่ างเลอื กเพราะอยู่เฉยๆ ก็ยังเป็นส่วนหน่ึงของปัญหา ไม่ว่าเร่ืองอะไรเกิดขึน้ ในชีวิตเรากต็ าม ทุกเร่ืองของเราและในการปฏบิ ตั ธิ รรมของเราเชน่ กัน เรามีทางเลือกว่าเราจะเป็นสว่ นของปัญหา หรือจะมสี ่วนรว่ มในการแก้ปัญหา 17
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ค�ำส่ังสอนของพระพุทธองค์ถึงจะมีมากมายก่ายกอง ทัง้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขนั ธก์ ต็ าม สรุปรวมกันไดเ้ หลอื แค่ ๒ ข้อ คอื ทุกข์ กบั ความดบั ทกุ ข์เราไม่ได้ทกุ ขเ์ พราะดวงไม่ไดท้ ุกข์เพราะพระผ้เู ปน็ เจ้าดลบนั ดาล ไมไ่ ด้ทุกข์เพราะเจ้ากรรมนายเวร หากเราเป็นทกุ ขเ์ พราะสมทุ ยั สมทุ ยั คอื อะไร เหตใุ ห้เกิดทุกข์คอื ตณั หา ขอให้เราเขา้ ใจวา่ ตัณหานเ้ี ป็นอาการของอวิชชา มีอวิชชาเมื่อใด ตัณหาเกิดเมื่อน้ัน ในอริยสัจ ๔พระองค์ใช้ค�ำว่าตัณหา คือ ความอยากทเ่ี กิดขึน้ เมอื่ เราขาดปัญญา หรอื มีอวชิ ชา แตเ่ ม่ือมวี ชิ ชา ความรคู้ วามเขา้ ใจตามความเป็นจริงแล้ว ความอยากท่ีเกิดขึ้นไม่ใช่ตัณหา ความอยากน้นั เรยี กว่าฉันทะ คอื กุศลฉนั ทะ หรอื ธรรมฉันทะ บางคนเข้าใจผิดว่าผู้ท่ีบรรลุมรรคผลนิพพานไม่มีความอยาก ความอยากดบั ไปหมดแลว้ แตใ่ นความเป็นจรงิ ความอยากทีด่ ับไปคือ ความอยากประเภทตณั หา ซึ่งเปน็ ผลหรอื เป็นอาการของอวิชชา ส่วนความอยากที่เกิดจากวิชชาความรู้น้ันไม่หายไป 18
ไหนไม่ดบั เราเหน็ พระอรหนั ต์ของเมอื งไทย ท่านไม่ได้อยเู่ ฉยๆทา่ นท�ำงานหนกั กว่าพวกเราอยา่ งเปรียบเทียบกนั ไม่ได้ หลวงพ่อชาท่านเคยเป็นไข้มาลาเรีย ไข้ขึ้นตัวสั่น พอถึงเวลาประชุมสงฆ์ท่านต้องประชุม มีญาติโยมต่างจังหวัดมากราบท่านก็ลุกข้ึนครองผ้าไปต้อนรับ ท่านถือหน้าที่เป็นใหญ่ ท่านมีความเมตตากรณุ า ท่านตอ้ งการสรา้ งประโยชนต์ น สร้างประโยชน์ผู้อน่ื ให้ถงึ พรอ้ ม สิ่งทม่ี ผี ลดลบนั ดาลใจท่านไม่ใช่ตัณหา แตเ่ ปน็ฉันทะ ฉะนั้น ในการปฏิบัติของเรา เม่ือเราเป็นทุกข์ต้องเตือนสตติ วั เองว่าไม่มีอะไรบงั คบั เราใหต้ ้องเปน็ ทกุ ขท์ างใจ ให้เราจ�ำไว้ให้แม่นวา่ จะทุกขใ์ จเม่ือไหร่ เพราะมีตณั หาอยูใ่ นใจ ไมม่ ตี ณั หาไม่มอี วิชชา เป็นทุกขไ์ มไ่ ด้ ไม่ว่าอะไรเกดิ ขึน้ ก็ตาม ไม่มสี ่งิ ใดในโลกน้ีบังคับใหเ้ ราเป็นทุกขไ์ ด้ ไม่มีบคุ คลใดสามารถ ท�ำใหเ้ ราเปน็ทุกขไ์ ด้ การกระท�ำของคนอน่ื เป็นปัจจัย แต่ไมใ่ ช่เหตุ การกระท�ำของคนอนื่ การพดู ของคนอื่นเปน็ trigger (เป็นไกปืน หรือตัวจุด 19
ชนวน) แต่ว่าไม่ใชต่ ้นเหตขุ องทกุ ข์ ทกุ ขเ์ กิดเพราะตัณหา หรอื ในส�ำนวนที่หลวงพ่อชาใช้สอนพวกพระฝรั่งทุกข์เพราะคิดผิด เมื่อเกดิ ทุกข์ทางใจ ใหร้ วู้ ่านี่เพราะตณั หานะ ถา้ ไม่มีตัณหา ความร้สู กึอยา่ งน้ไี มม่ ี สิ่งท่ีเกิดขึ้นนอกตัวเรา การกระท�ำของคนอื่นหรือเหตกุ ารณ์ตา่ งๆ เราจะเขา้ ไปเกีย่ วข้องอย่างไร เม่ือไหร่ กใ็ ห้วางไว้ก่อนแลว้ มาดทู ี่จติ ใจเรา ส่วนการแก้ด้านนอกเรากไ็ มไ่ ดล้ ะเลย ถึงเวลาอันสมควรแล้วก็ค่อยจัดการ แต่ในขณะปัจจุบันน้ี เราต้องถามตนเองวา่ เราจะตอ่ เติมความทกุ ข์ หรือจะดับเหตใุ ห้เกดิ ทกุ ข์อยา่ งไรจะดีกว่ากัน เราจะเปน็ สว่ นหนึ่งของปัญหา หรอื สว่ นหนึง่ของการแก้ปัญหา ตอนน้เี ราจะไปทางทุกข์ หรอื ไปทางดบั ทุกข์ทุกส่ิงทุกอย่างชวนให้หลง โลกน้ีมีส่ิงท่ีชวนให้เราไปในทางที่ดนี อ้ ยมากที่ชวนใหโ้ ลภมีเยอะ ชวนให้โกรธกเ็ ยอะ ชวนให้หลงกเ็ ยอะทเี ดียว แตก่ ็เป็นแคก่ ารเชือ้ เชิญ เราไม่จ�ำเปน็ ตอ้ งรบั ค�ำเชญิ เขาเชญิ ใหเ้ ราโลภ...เราก็ไม่ตอ้ งรับเชิญ เขาเชญิ ให้ 20
เราโกรธ...กไ็ ม่ตอ้ งรบั เชญิ ได้ เขาเชิญเราหลง...เรากไ็ ม่ต้องรบั ค�ำเชญิ ทีนี้การท่ีเราจะหาความสงบ หรือหาความรู้สึกม่ันคงปลอดภัยด้วยการควบคุม บังคับสิ่งแวดล้อมควบคุมบุคคลรอบข้างทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นไปในทางที่เราต้องการ คงเปน็ ไปไม่ได้ และเราจะเครยี ดมากดว้ ย เราไมส่ ามารถจะรบัประกันว่า เราจะไม่ต้องพลัดพรากจากบุคคลท่ีเรารัก หรือสงิ่ ทเ่ี รารกั ตรงกนั ขา้ มพระพทุ ธเจา้ ทรงยำ้� อยเู่ สมอวา่ เราตอ้ งมีความพลัดพรากจากของรัก ของเจริญใจท้ังหลายท้ังปวงทา่ นใหเ้ ราสวด ทา่ นใหเ้ ราพจิ ารณาทกุ วนั ทกุ เวลาเมอ่ื เราฝกึให้คุ้นเคยกับรสชาติของความพลัดพรากในเร่ืองเล็กๆน้อยๆ จติ ใจเราก็จะมกี �ำลงั เจอความพลัดพรากในเรือ่ งใหญ่เรื่องส�ำคัญในชีวิต ไม่ใช่ว่าจะไม่ทุกข์ คงจะเป็นทุกข์บ้าง แต่เป็นทุกข์ท่ีระงับได้หรือปล่อยได้ ไม่ใช่ทุกข์ที่ประกอบด้วยมจิ ฉาทฏิ ฐ ิ แตม่ สี มั มาทฏิ ฐ ิ ความเหน็ ชอบโดยสญั ชาตญาณ 21
ของปุถุชนมันก็จะต้องมีอยู่บ้าง แต่มันเหมือนกับแผลท่ีสะอาด แมแ้ ผลจะสะอาด มนั กย็ งั เปน็ แผลอยู่ ซงึ่ ตอ้ งใชเ้ วลากวา่ แผลจะหาย แตก่ ย็ งั ดกี วา่ แผลทย่ี งั มสี ิ่งสกปรกอยู่ข้างในซง่ึ อาจจะอกั เสบตอ่ ไป การทเี่ ราจะด�ำเนนิ ชวี ติ ของเราอยา่ งไมใ่ หม้ แี ผลเลย มนั เปน็ไปได้ยากมาก แต่สิ่งท่ีเราท�ำได้คือ ศึกษาวิธีที่จะรักษาความสะอาดของแผลให้มันหายเร็ว ให้หายเป็นปรกติ หมายถึงว่าเราต้องเห็นความพลัดพรากที่เกิดข้ึนในแต่ละวันๆ ซึ่งวันหน่ึงๆ นี่เรากพ็ ลดั พรากจากอะไรต่ออะไรมากมาย ความดบั ไปหายไปของอารมณ์ ความรสู้ กึ นกึ คดิ ตา่ งๆ มนั มอี ยตู่ ลอดเวลา ถา้ เราไดก้ �ำหนดความพลดั พรากวา่ เปน็ เรอ่ื งธรรมดา เราเจอความพลดั พรากอนั ใดในรูปแบบไหน เราก็พร้อมท่ีจะไม่เป็นทุกข์พร้อมที่จะรู้เท่าทันและปล่อยวาง ให้เรารู้อารมณ์ว่าสักแต่ว่าอารมณ์ ความศรัทธาเลื่อมใสในส่ิงใดส่ิงหน่ึงหรือ บุคคลใดบุคคลหน่ึงนั่นก็เป็นอารมณ์อยู่ในจิตใจเรา เป็นอารมณ์ที่ไม่แน่ไม่นอน ผู้ที่เราเคารพ 22
นับถือก็มีความไม่แน่ไม่นอน หากจิตใจเราต้องการความแน่นอนเราก็ต้องเป็นทุกข์ ใช่ไหม กลับมาพดู ถงึ เรอ่ื งศาสนาทงั้ หลาย เม่ือ ๒๐ กวา่ ปีที่แลว้ทุกคนต่ืนเต้นเร่ืองโลกาภิวัตน์ เห็นว่าความแบ่งแยกต่างๆ จะคอ่ ยๆ ลดนอ้ ยลง ดว้ ยพลงั ของโลกาภวิ ัตน์ เราจะรวมเปน็ อนั หนึง่อันเดียวกัน น่ีเป็นพวกท่ีมองโลกในแง่ดีมาก ผลออกมากลับตรงกันข้าม ความยึดมั่นถือมั่นในศาสนาที่แตกต่างแบบงมงายความยึดมน่ั ถือมนั่ ในเชอื้ ชาติกลับเพ่ิมมากขึ้น เพราะอะไร เพราะในยคุ โลกาภวิ ตั น์ โลกเปลยี่ นแปลงอยา่ งรวดเรว็ และเปลย่ี นแปลงในลักษณะที่คนรู้สึกว่าไม่มีอ�ำนาจท่ีจะต่อต้านได้ ไม่มีอะไรท่ีจะยึดเหน่ียวได้ คนจึงต้องการอะไรสักอย่างท่ีจะท�ำให้สบายใจว่าชวี ติ ยงั มน่ั คงอยู่ ซง่ึ กม็ กั จะเอาศรทั ธาในศาสนา หรอื ความเชอ่ื ในบคุ คลใดบคุ คลหนงึ่ เปน็ หลกั ไมว่ า่ โลกจะวนุ่ วาย จะนา่ กลวั หรอื จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร อย่างน้อยเราก็มีส่ิงน้ียึดเหนี่ยวได้แน่นอนอนั นค้ี อื ความตอ้ งการของมนษุ ย์โดยสญั ชาตญาณ 23
แต่พุทธศาสนาสอนว่า เราไม่ต้องกลัวความเปล่ียนแปลงความเปล่ียนแปลงไม่ได้เป็นส่ิงคุกคามเพราะแม้แต่ชีวิตเราเองก็คือกระแสความเปล่ียนแปลง ความกลัวความเปล่ียนแปลงเกิดจากความหลงยึดม่ันถือม่ันในอัตตาตัวตน เพราะเชื่อว่ามีตัวเรา...ตัวเราตัวเลก็ ๆ ... อยู่ในโลกท่เี ตม็ ไปดว้ ยความเปล่ียนแปลงปรวนแปรต่างๆ นานา ก็ลังเล ไม่รู้จะเชื่ออะไร ไม่รู้จะเช่ือใครคดิ แบบน้ีกท็ กุ ขแ์ น่ แต่พอเรามองตวั เราท่กี ลวั ตัวเราทีต่ อ้ งการตวั เราทรี่ ะแวง ตวั เราที่หวัง...เราหาไม่เจอ เจอแต่อาการของรูปของเวทนา ของสัญญา ของสงั ขาร ของวญิ ญาณ ไหลไป ไหลไปไหลไป แมแ้ ต่ผรู้ กู้ ็เป็นสว่ นหน่งึ ของกระแสน้ัน ฉะน้นั แทนทีจ่ ะเหน็ ว่าเป็นส่งิ ท่ีตายตัวแน่นอน ก็เหน็ ว่าเราอยู่ในโลกทีไ่ ม่ตายตัวเราเห็นกระแสความเปล่ียนแปลงนอกตัว และเห็นกระแสความเปลยี่ นแปลงภายในตวั เปน็ อนั เดยี วกนั เปน็ นำ้� กบั นำ้� ไมใ่ ชห่ นิ กบั นำ้� เรอื่ งความศรัทธาในครูบาอาจารย์นนั้ อาตมายงั เคยพูดว่าสมยั ก่อนโนน้ เวลาพระเทศน์ ต้องเอาตาลปัตรมาปิดหน้า โยมไม่ตอ้ งเห็นหน้าของผแู้ สดงธรรม ไม่ต้องถ่ายรปู ถา่ ยวดี ีโอ แม้แต่ชอื่ 24
กไ็ มต่ อ้ งรู้ คอื ทา่ นตอ้ งการให้ศรัทธาในหลกั ธรรม พระเราก็เปน็ แค่ตวั แทนบรษิ ัทสี่เทา่ น้นั เอง ไม่มอี ะไรพเิ ศษเราเปน็ เหมอื นภาชนะโอกาสทภี่ าชนะจะแตกไปกม็ ี เศรา้ หมองไปกม็ ี จะเปน็ อะไรไป มนักเ็ ปน็ แค่ภาชนะ แตส่ ิ่งที่อยู่ในภาชนะนนั้ คือ หลักธรรมก็ไมห่ ายไปไหน เราศรัทธาใครก็ตาม จริงๆ แล้วถามว่าเราศรัทธาอะไรในตวั ทา่ น บางคนศรทั ธาในความเมตตาของทา่ น บางคนศรทั ธาความอดทน บางคนศรทั ธาในปญั ญาของทา่ น แตม่ นั ไมใ่ ชข่ องทา่ นหรอก ท่านไม่ใช่เจ้าของคุณสมบัติน้ันๆ ท่านเป็นภาชนะที่ท�ำให้เราได้เห็นว่า ความเมตตานี้เป็นคุณธรรมท่ีงดงามเหลือเกินความอดทนน้ันงดงามเหลือเกิน ท่านใช้ปัญญา ซ่ึงเป็นคุณธรรมท่ีงามเหลือเกิน ข้าพเจ้าจะต้องพัฒนาให้สิ่งเหล่าน้ีปรากฏในจิตใจของข้าพเจา้ บ้าง มันไมใ่ ช่วา่ ตัวท่านเป็นอยา่ งนนั้ เปน็ อย่างนี้ ตวั ท่านเป็นแค่ส่ือ หรือภาชนะที่เราจะเห็นความงามของคุณธรรมต่างๆผ้เู ป็นภาชนะจะอย่หู รือไมอ่ ย ู่ จะไปทีไ่ หน จะเป็นอย่างไร ความงามของคุณธรรมท่เี ราเคยเห็นในตวั ทา่ นไมไ่ ด้หายไปไหน หากยังเหมือนเดิม 25
อาตมาพูดเร่ืองน้ีบ่อยๆ เหมือนกัน บางทีญาติโยมเห็นพระบางองค์มีพฤติกรรมที่แตกต่าง มีความเป็นอยู่ที่ออกจะหรหู ราฟมุ่ เฟอื ย ญาตโิ ยมบางคนบน่ วา่ เหน็ พระแบบนห้ี มดศรทั ธาไมเ่ อาแล้วพุทธศาสนา ยุคนี้ยุคเสื่อม คนเหล่าน้ีเข้าใจและรู้สึกเหมอื นพทุ ธศาสนาขนึ้ อยกู่ บั ตวั บคุ คล นกั บวชไมด่ หี มายความวา่ศาสนาไมด่ ี มันก็เหมือนกบั ว่า มญี าติคนหน่งึ ท�ำความผิด แลว้ เรากบ็ อกวา่ ตระกลู นเ้ี ราไมเ่ อาดว้ ยแลว้ ครอบครวั นไ้ี มไ่ หวแล้ว ...ท�ำไมล่ะ ...อ้าว... กล็ ูกพี่ลกู นอ้ งคนน้นั ไปท�ำผิดเสียหาย.... แตใ่ ครจะเป็น อยา่ งไรกต็ าม ตระกลู ของเรากย็ งั เป็นตระกลู ของเราอยู่ดีมใิ ช่หรือ คนที่ท�ำผดิ เขาก็ไมใ่ ช่เจา้ ของตระกูลคนเดียว หรือวา่ ถ้ามีนกั การเมอื ง หรอื ส.ส. ทจุ ริต ซง่ึ อาจจะมไี ด้นะ นน่ั ก็ไม่ใชก่ ารพสิ จู นห์ รอื ชวนใหเ้ ราเสอื่ มศรทั ธาในระบบประชาธปิ ไตย การกระท�ำที่ไมเ่ หมาะสมของ ส.ส. กับความเชือ่ ในระบอบประชาธิปไตยเปน็ คนละเรือ่ ง การกระท�ำของพระสงฆท์ กุ รูป กบั หลักพระธรรมก็เหมอื นกนั ใครจะเข้า ใครจะออก ธรรมะกธ็ รรมะเหมือนเดมิ ไม่มีขน้ึ ไมม่ ีลง เปน็ อกาลโิ ก 26
ผู้ท่ีสงสัยมากคือ ผู้ท่ียังเข้าไม่ถึง ยังไม่เห็นความงามของธรรม หลักท�ำดไี ด้ดี ท�ำช่ัวไดช้ ่ัว นี่ชัดเจนแนน่ อน และไมข่ ึ้นอยู่กับตัวบุคคลผู้สอน พระเราเป็นผู้เปิดเผย เป็นผู้ที่ให้ก�ำลังใจเราก็ท�ำหน้าท่ีของเราก็แค่นั้น แม้แต่ในสมัยพุทธกาล พระน้าของพระพุทธเจ้า พระนางมหาปชาบดีโคตมีน�ำผ้าไตรไปถวายพระพทุ ธเจา้ พระพทุ ธเจา้ ตรสั วา่ ถวายสงฆด์ กี วา่ จะไดบ้ ญุ มากกวา่น่ีเป็นเหตุที่ท�ำให้ทุกวันนี้เราถือว่า สังฆทาน เป็นทานสูงสุดเป็นหลักมาต้ังแต่สมัยพุทธกาล เราถือว่าสงฆ์เป็นใหญ่ ไม่ใช่พระสงฆ์องค์ใดองค์หน่ึง อาตมาเคยคิดยินดีในการลาสิกขาของพระสงฆ์แค่คร้ังเดยี ว รสู้ ึกจะคร้ังเดยี ว คือ หลงั จากอาตมาอายุ ๑๗ ปแี ล้ว อาตมาออกจากบ้านไปหาประสบการณ์ชีวิต เดินทางคนเดยี วจากอังกฤษไปอนิ เดยี อยอู่ นิ เดยี ๑ ปี และใชเ้ วลาทง้ั หมด ๒ ปกี อ่ นจะกลบั บา้ นก�ำลังจะต้องเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยแต่เปล่ียนใจต้องการจะศึกษาปฏิบัติธรรมอย่างเดียว แต่ยังไม่เห็นแนวทาง ตอนนั้นได้ยนิ กติ ตศิ ัพทข์ องอาจารยว์ ิปสั สนาช่ือ ครสิ โตเฟอร์ ไปเช่าบ้าน 27
หลังใหญ่ทางใต้เกาะอังกฤษ มีลูกศิษย์ลูกหาหลายคนอยู่ในบ้านหลงั เดียวกัน ตอนเช้าตอนเย็นกน็ ่งั สมาธิกนั ตอนกลางวันก็ตอ้ งประกอบสัมมาอาชีพ ส่วนมากกท็ �ำงานสงั คมสงเคราะห์ ท�ำงานในบา้ นพักคนชรา เป็นตน้ และจะมีการปฏบิ ัติธรรมเป็นระยะๆอาตมาได้เข้าปฏิบัติธรรมเป็นคร้ังแรกกับอาจารย์คริสโตเฟอร์ตอนกลางคืนคริสโตเฟอร์บรรยายธรรมก็บรรยายถึงชีวิตพรหมจรรย์สมัยท่ีบวชเป็นพระในเมืองไทยเคยอยู่กับอาจารย์พุทธทาส ท่ีสวนโมกข์บ้าง ไปอยู่เกาะพะงันบ้าง เล่าถึงวิถีชีวิตของพระปฏบิ ตั ใิ นเมอื งไทย ท�ำใหอ้ าตมาไดท้ ราบวา่ ชาวตะวนั ตกสามารถบวชเป็นพระในเมืองไทยได้ ฟังวิถีชีวิตท่ีบรรยายแล้วเห็นวา่ นี่เปน็ ส่งิ ทเี่ ราแสวงหาตลอด ๒ ปีทผ่ี ่านมา ใช่เลย เปน็ สง่ิ ท่ีเราต้องการมานานแล้วฟังแล้วก็เห็นว่าเราไม่ต้องการเพียงแค่จะเข้าปฏิบัติธรรมแต่ต้องการวิถีชีวิตแบบน้ีต้องการจะมอบกายถวายชีวิตกับการศึกษาและปฏิบัติธรรมอาตมาจึงตัดสินใจออกบวชในเมืองไทย หลังจากเข้าอบรมปฏิบัติธรรมกับอาจารย์คนน้ี ซึง่ เคยเปน็ พระในเมืองไทย แล้วเม่ือลาสกิ ขาแลว้ กก็ ลบั ไปสอนธรรมะในรูปแบบของฆราวาส 28
เรื่องน้ีสอนว่าอะไร? ก็สอนเรื่องความไม่แน่ไม่นอนน่ันเองไมม่ ใี ครทราบอนาคตได้ อาจจะเปน็ วา่ ...ตอ่ ไปพทุ ธศาสนาฝา่ ยเถรวาทจะเจรญิ ในญ่ปี ุ่นเพราะอาจารย์คนหน่ึง ผูเ้ คยบวชเปน็ พระในเมืองไทยตัง้ ๓๐ กวา่ ปี ต่อไปอาจจะมีชาวญป่ี ่นุ หลายท่านคดิ ออกบวชในเมอื งไทย เพราะระหว่างการเข้าปฏบิ ัตธิ รรมกบั อาจารย์คนน้ีไดฟ้ งั ทา่ นเลา่ ถงึ สมยั เปน็ พระในเมอื งไทยกไ็ ดน้ ะ มนั ไมแ่ นไ่ มน่ อน เรือ่ งของโลกนีม้ นั เปน็ กระแสความเปลีย่ นแปลง ความไม่แน่ไม่นอนจึงละเอียดลึกซึ้ง หลายส่ิงหลายอย่างแม้แต่ในชีวิตของเราแตล่ ะคน ตอนนอ้ี าจจะผดิ หวงั เหลอื เกิน ผิดหวงั จริงๆ แต่ภายหลังกลบั สมหวงั เอ... ท�ำไมจึงสมหวงั ในเรือ่ งนไี้ ด้ อ้าว... ก็เพราะเคยผิดหวงั ในเรอื่ งนั้นมาก่อน ฉะนั้น แมใ้ นทางโลกเกดิ รักใครสักคนหนึง่ แตผ่ ิดหวงั อกหัก ทกุ ข์มาก ตอ่ ไปเจออกี คนหนง่ึแต่งงานกนั แลว้ มีความสขุ ที่สมหวงั กับคนใหมน่ ี้กเ็ พราะอกหกัจากคนนนั้ มิใชห่ รอื ตอ้ งขอบคุณคนเกา่ มากท่ีเขาท�ำใหเ้ ราผิดหวังไม่อยา่ งน้ันก็ไม่ไดเ้ จอคนน้ี เรื่องพรรณนมี้ ันเป็นธรรมดาของชวี ิตในทกุ ๆ ดา้ น ทกุ ๆ ระดบั สมหวงั เพราะผดิ หวงั ผดิ หวงั เพราะสมหวงั 29
การลาสกิ ขาของอาจารยค์ เวสโกใหบ้ ทเรยี นเรอ่ื งความไมแ่ น่ทุกอยา่ งไมแ่ นไ่ มน่ อน เราจงึ ตอ้ งไม่ประมาท ขอให้เรารกั ษาจิตเราไว้ในอารมณ์กุศลด้วยการระลึกอยู่ในคุณงามความดีที่ท่านเคยท�ำไว้ขณะเดียวกันพระสงฆ์เราก็มีโอกาสทบทวนบทเรียน บางสิ่งบางอย่างอาจจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขอย่างเช่นความสัมพันธ์ท่ีถูกต้องระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย การส่ือสารกันที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย น่ีไม่ได้กล่าวถึงกรณีของอาจารย์ท่านใดท่านหน่ึงโดยเฉพาะ สิ่งที่ส�ำคัญท่ีสุดไม่ว่าจะในครอบครัวในโรงเรียน ในสถาบัน ในทุกๆ แห่ง คอื เราตอ้ งพยายามพฒั นาการสอ่ื สาร ตอ้ งรจู้ กั ใหข้ อ้ คดิ ใหเ้ สยี งสะทอ้ น ดว้ ยความเคารพ ด้วยปัญญา ถูกกาลเทศะ ตกั เตอื นซึ่งกนั และกนั ในพระวนิ ัย พระพุทธองค์บัญญัติไวเ้ ลยวา่ เปน็ หนา้ ทีข่ อ้ หน่งึของลูกศิษย์ตอ่ พระอปุ ชั ฌาจารย์ ผู้นอ้ ยตอ้ งเปน็ ผใู้ ห้ขอ้ คดิแกผ่ ูใ้ หญ่ ถ้าผใู้ หญก่ �ำลังเผชิญกับสิ่งทลี่ ่อแหลมต่ออนั ตรายหรอื หากมีข้อมูลบางส่ิงบางอย่างที่ท่านควรจะทราบ ก็ตอ้ งบอก พอพูดเรอ่ื งน้ขี ้นึ มา บางคนจะบอกว่า นคี่ ิดแบบฝรง่ั 30
ชาวตะวันตกเขาจะคดิ อย่างนน้ั มอี ะไรกจ็ ะพูดออกมา...แต่ไม่ใช่นะ น่มี นั เปน็ หลักพระวินยั ในพระไตรปฎิ ก ในพระวินัยมีหลักส�ำคัญเรียกว่าการปวารณาตัว ในกรณีน้ีปวารณาไม่ใช่ปวารณาแบบโยมใช้ทั่วไปคือการบอกพระเป็นทางการว่าถ้าจ�ำเป็นอะไรนิมนต์ขอความช่วยเหลือจากตนได ้ แตก่ ารปวารณาตวั ของพระคอื “ขา้ พเจา้ ยอมรบัวา่ อาจจะยงั มจี ดุ บอดอยบู่ า้ ง อาจจะมบี างสงิ่ บางอยา่ งทมี่ ากกว่าเรา พรรษาเสมอกับเรา พรรษาน้อยกว่าเรากรุณา ถ้าพบเหน็ อะไรทไี่ มส่ บายใจ ชว่ ยบอกดว้ ย” บางสง่ิ บางอยา่ งผใู้ ห้ข้อคิดอาจจะเข้าใจผิดหรือจับประเด็นไม่ถูกก็ได้ ผู้ปวารณาตอ้ งอดทน รบั ฟงั โดยดี ใหท้ กุ คนเหน็ วา่ การปวารณาตวั จรงิ ใจไมใ่ ชว่ ่าปากพดู “มีอะไรกบ็ อกนะ” แต่กริ ิยาท่าทางท�ำให้ผู้อยู่รอบขา้ งรู้สกึ ตรงกันขา้ ม ท�ำให้ไมม่ ใี ครกล้าเตอื น ลองถามตัวเองว่าเรามีเพื่อนท่ีกล้าพูดในส่ิงที่เราไม่อยากฟงั บ้างไหม ถา้ ไม่มกี ็เปน็ ข้อบกพร่องในการปฏบิ ตั ิ เราตอ้ งหา 31
กัลยาณมิตรที่ดี กัลยาณมติ รหรอื เพือ่ นท่ีดี คอื เพ่ือนท่ีกลา้ พดู ในสงิ่ ทค่ี วรพดู ทง้ั ๆ ทเ่ี พอ่ื นไมอ่ ยากฟงั การพดู ไมใ่ ชล่ กั ษณะสงั่ สอนไม่ใช่ตักเตือนว่ากล่าว แต่เป็นการฝากข้อมูลเพื่อพิจารณาด้วยความเคารพ ดว้ ยความส�ำนกึ ในกาละและเทศะทสี่ มควรทเี่ หมาะสม พวกเราทุกคนผิดพลาดได้อยู่เสมอ ถึงจะผิดพลาดเล็กผิดพลาดน้อย หากเราไม่ระวัง ไม่ยินดีรับฟังเสียงสะท้อนจากคนอน่ื เปน็ ไปไดเ้ หมอื นกนั วา่ จะกลายเปน็ คนทเ่ี ชอื่ วา่ เขาเดนิ ตรงผดิ นดิ เดยี ว แตว่ ่านดิ เดียว ทีละนดิ เดยี ว กลายเป็นมาก ขาวกลายเปน็ ด�ำ ด�ำกลายเป็นขาวได้ ท�ำอย่างไรจึงจะได้สร้างวัฒนธรรมครอบครัว วัฒนธรรมองคก์ ร วัฒนธรรมสถาบันตา่ งๆ ทีใ่ หค้ วามส�ำคญั กับคุณภาพการสอื่ สาร หลายองคก์ รมปี ญั หาวา่ ผมู้ อี �ำนาจไมท่ ราบปญั หาในองคก์ รเพราะผู้น้อยไม่กล้าบอกให้ทราบ การตัดสินของผู้น�ำจึงไม่ค่อยจะถูกประเด็น ปัญหาก�ำเริบเสิบสานโดยใช่เหตุ เพียงแค่ว่ามีการขาดการส่ือสารภายในองค์กร เป็นปัญหาทั่วไป การส่ือสาร 32
คือวิชาการท่ีเราค่อนข้างประมาทการรู้จักพูด เวลาไหนควรพูดเวลาไหนควรคล้อยตาม เวลาไหนควรคัดค้าน เวลาไหนควรเงียบนี่เป็นเร่ืองของสติในชีวิตประจ�ำวัน ต้องฝึกจึงจะเป็น อย่างไรก็ตาม ธรรมะค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นของไมม่ ีกาล ไม่มเี วลา มันจรงิ อยเู่ สมอ ทันสมัยอยูเ่ สมอ ใครศกึ ษาใครปฏบิ ตั ิถกู ต้องตามหลักที่พระองค์ทรงฝากไวย้ อ่ มได้ผล ขอให้เราเดนิ ไปเรอื่ ยๆ เดนิ ตามมรรค ถ้าเดินไม่ไหวกค็ ลานไป แต่ขออยา่ ลงจากเสน้ ทางเทา่ นน้ั เอง บางคนอาจมคี วามเหน็ วา่ “พระทา่ นปฏบิ ตั มิ ามากขนาดนแ้ี ลว้ ยงั ลาสกิ ขาได้ แลว้ พวกเราจะหวังอะไรได้” คิดแบบน้ีเรียกว่าคิดแบบ อโยนิโสมนสิการคดิ ในทางทเี่ พม่ิ ทกุ ขอ์ ยใู่ นใจท�ำใหไ้ มม่ กี �ำลงั ใจ ถา้ จะคดิ ใหถ้ กูตอ้ งคดิ อยา่ งไรเรากต็ อ้ งคดิ วา่ “ขนาดอยใู่ นผา้ เหลอื งตง้ั ๓๐-๔๐ ปี ปฏบิ ตั ไิ ดถ้ งึ ขนาดนแ้ี ลว้ ยงั ลาสกิ ขาไดเ้ ลยเราตอ้ งเรง่ความเพียร ต้องต้ังอกต้ังใจมากกว่าน้ี เพราะถ้าขนาดน้ียังพลาดได ้ ตวั เรานไ่ี มป่ ลอดภยั แน่ ประมาทไมไ่ ด้ ขเ้ี กยี จไมไ่ ด้ตอ้ งเรง่ ความเพยี ร” 33
เหน็ ไหม เรอ่ื งเดยี วกนั แตม่ องไมเ่ หมอื นกนั คดิ อยา่ งไรมองอย่างไรจึงจะได้ก�ำไร คิดอย่างไรมองอย่างไรจึงจะไม่เปน็ ทกุ ข์ มองอยา่ งไรจติ ใจของเราจะเปน็ บญุ เปน็ กศุ ล นเ่ี ปน็สงิ่ ทที่ า้ ทายพวกเราทกุ คน วันน้ีอาตมาได้แสดงธรรมพอสมควรแก่เวลา ขอยุติเพียงเทา่ นี้ 34
ชยสาโร ภกิ ขุนามเดิม ฌอน ช เิ ว อรต์ ัน (Shaun Chiverton)พ .ศ.๒๕๐ ๑ เกดิ ที่ป ระ เทศอังกฤษพ.ศ.๒ ๕๒๑ ได พ้ บก ับพร ะอาจาร ย์สเุ ม โธ (พระราชสเุ มธาจารย์ วัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ) ท่วี หิ ารแฮมสเตด ประเทศองั กฤษ ถอื เพศเปน็ อนาคารกิ (ปะขาว) อยูก่ ับพระอาจารย์สเุ มโธ ๑ พรรษา แล้วเดนิ ทางมายังประเทศไทยพ.ศ. ๒๕๒๒ บรรพชาเป็นสามเณร ทวี่ ดั หนองป่าพง จงั หวัดอบุ ลราชธานีพ.ศ. ๒๕๒๓ อุปสมบทเปน็ พระภกิ ษุ ทีว่ ดั หนองป่าพง โดยมี พระโพธญิ าณเถร (หลวงพ่อชา สภุ ัทโท) เปน็ พระอุปชั ฌาย์พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๔ รักษาการเจ้าอาวาส วดั ปา่ นานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานีพ.ศ. ๒๕๔๕ - ปจั จบุ นั พ�ำ นัก ณ สถานพำ�นกั สงฆ์ จังหวัดนครราชสมี า
มูลนิธิปัญญาป ระทปีความเปน็ ม า มูลนิธปิ ัญญาป ระทีปจัดต งั้ โดยคณะผบู้ ริหารโรงเรยี นท อสีด ว้ ยความร ว่ มมือจ ากค ณะครู ผ ปู้ กครองแ ละญ าตโิ ยมซ งึ่ เปน็ ล กู ศ ษิ ยพ์ ระอ าจารยช์ ยส าโรก ระทรวงม หาดไทยอ นญุ าตให้จดท ะเบยี นเป็นนติ บิ คุ คลอยา่ งเป็นท างการเลขทที่ ะเบียนกท.๑๔๐๕ต ้ังแต่วันท ี่ ๑ เมษายน๒๕๕๑วตั ถุประสงค์ ๑ )ส นบั สนนุ การพ ฒั นาสถาบนั ก ารศ กึ ษาวถิ พี ทุ ธทม่ี รี ะบบไตรสกิ ขาของพระพทุ ธศ าสนาเปน็ หลกั ๒)เผยแผ่หลกั ธ รรมค�ำ สอนผ่านก ารจดั การฝกึ อบรมและปฏบิ ัตธิ รรมและก ารเผยแผ่ส่อื ธ รรมะรูปแ บบต า่ งๆโดยแ จกเปน็ ธ รรมท าน ๓)เพม่ิ พนู ความเขา้ ใจในเรอ่ื งค วามส มั พนั ธร์ ะหวา่ งม นษุ ย์ แ ละส ง่ิ แ วดลอ้ มส นบั สนนุ การพ ฒั นาท ี่ย่ังยนื และส ง่ เสริมการด�ำ เนนิ ช ีวิตต ามหลกั ปรัชญาเศรษฐกจิ พ อเพียง ๔)ร ว่ มมอื ก บั องค์กรการก ศุ ลอ น่ื ๆเพือ่ ด �ำ เนินกิจการท่เี ป็นสาธารณประโยชน์
คณะทปี่ รกึ ษา พระอาจารย์ชยสาโรเป็นองค์ประธานท่ีปรึกษา โดยมีคณะที่ปรึกษาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต า่ งๆอาทิ ดา้ นน เิ วศวทิ ยาพลงั งานทดแทนส ง่ิ แวดลอ้ มเกษตรอ นิ ทรยี ์ เทคโนโลยีสารสนเทศว ิทยาศาสตรส์ ขุ ภาพการเงินกฎหมายการสือ่ สารการล ะครดนตรีวัฒนธรรมศลิ ปกรรมแ ละภูมิปัญญาท้องถ ่นิ ค ณะกรรมการบรหิ าร มลู น ธิ ฯิ ไดร้ บั เกยี รตจิ ากรองศ าสตราจารยน์ ายแพทยป์ รดี าท ศั นประดษิ ฐเปน็ ประธานคณะก รรมการบรหิ ารแ ละม ีคุณบุบผาส วัสดิ์รชั ชต าต ะนันท์ผูอ้ �ำ นวยก ารโรงเรียนท อส ีเป็นเลขาธกิ ารฯก ารด�ำ เนินก าร •ม ลู น ธิ ฯิ เปน็ ผ จู้ ดั ต ง้ั โรงเรยี นม ธั ยมป ญั ญาป ระทปี ใ นร ปู แ บบโรงเรยี นบ ม่ เพาะช วี ติ เพอ่ื ด�ำ เนนิ ก จิ กรรมต า่ งๆด า้ นก ารศ กึ ษาว ถิ พี ทุ ธใ หบ้ รรลวุ ตั ถปุ ระสงคข์ องม ลู น ธิ ฯิ ข า้ งต น้ โ รงเรยี นนต้ี ั้งอยทู่ ่ี บา้ นห นองนอ้ ยอำ�เภอป ากชอ่ งจังหวัดน ครราชสมี า •มูลน ธิ ิฯร ว่ มม อื ก ับโรงเรยี นท อส ีใ นก ารผ ลิตแ ละเผยแผส่ ่อื ธ รรมะแจกเปน็ ธ รรมท านโดยใ นส ว่ นของโรงเรียนท อสีฯได้ด�ำ เนินการตอ่ เนอ่ื งต ั้งแต่ ป ี พ.ศ .๒๕๔๕
พมิ พแ์ จกเปน็ ธรรมทาน www.thawsischool.com, www.panyaprateep.org ชยสาโร ภิกขุ เ ่ืรองเ ืรอง เ ืร่องโรย
Search
Read the Text Version
- 1 - 44
Pages: