Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เข้าวัดทำไม

เข้าวัดทำไม

Description: เข้าวัดทำไม

Search

Read the Text Version

เขทา้ ​วำดั ไ​ม ชยสาโร ภิกขุ พมิ พแ์ จกเป็นธรรมบรรณาการดว้ ยศรัทธาของญาติโยม หากทา่ นไมไ่ ด้ใช้ประโยชน์จากหนงั สอื น้แี ลว้ โปรดมอบใหก้ ับผู้อ่นื ทจ่ี ะได้ใช้ จะเป็นบุญเปน็ กศุ ลอยา่ งย่งิ

เขา้ ว​ัด ชยสาโร ภิกขุ ทำไม พิมพ​แ์ จก​เปน็ ​ธรรมท​ าน ส​​งวนลิขสทิ ธ์ิ ห้ามคดั ลอก ตดั ตอน หรือนำไปพิมพจ์ ำหน่าย หากท่านใดประสงคจ์ ะพิมพ์แจกเปน็ ธรรมทาน โปรดติดตอ่ กองทุนสื่อธรรมะทอสี และมลู นิธิปญั ญาประทีป ๑​๐๒๓/๔๖ ซอยปรีดีพนมยงค์ ๔๑ สุขุมวทิ ๗๑ เขตวัฒนา กทม. ๑๐๑๑๐ โทรศัพท์ ๐-๒๗๑๓-๓๖๗๔ www.thawsischool.com, www.panyaprateep.org ​​​ พิมพ์​ครงั้ ท​ ่​ี ​๑​ ธนั วาคม ๒๕๕๒ จำนวน ๕,๐๐๐ เลม่ ออกแบบปก วิชชุ เสรมิ สวัสด์ิศรี ศิลปกรรม ปรญิ ญา ปฐวินทรานนท์ จดั ท​ ำโ​ดย​ กองทนุ สอื่ ธรรมะทอสี และมลู นธิ ปิ ัญญาประทปี ​ดำเนินการพมิ พโ์ ดย บริษัท คิว พรนิ้ ท์ แมเนจเม้นท์ จำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๘๐๐-๒๒๙๒ โทรสาร ๐-๒๘๐๐-๓๖๔๙

คำนำ หนังสือ​เร่ือง ทำไม ของ​พระ​อาจารย์​ชย​สา​โร​ เปน็ การร​วม​ธรรม​เทศนา ๕ เรอ่ื ง ไดแ้ ก่ เกิด​มาท​ ำไม เขา้ ว​ัด​ทำไม หลบั ตาท​ ำไม ทุกข์​ทำไม และต​ ายก​่อน​ ตายท​ ำไม ซง่ึ เ​คยจ​ดั พ​ มิ พท​์ งั้ ใ​นล​กั ษณะร​วมเ​ลม่ และพ​ มิ พ​์ แยกเ​ล่ม ตัง้ แต่ มกราคม ๒๕๔๘ ฉบับแ​ยก​เลม่ ​หมด​ไป​ นานแ​ลว้ ในค​รง้ั น​จ​ี้ งึ จ​ดั พ​ มิ พข​์ น้ึ ใ​หมเ​่ พอื่ ส​ะดวกใ​นก​ารอ​า่ น การ​พก​พา​และ​การ​เผยแผ่ ขอ​ให้​ทุก​ท่าน​ที่​มี​ส่วน​ช่วย​ใน​ การ​ผลติ แ​ละเ​ผยแผห่​ นงั สอื ไ​ดร้​บั ​อานสิ งสจ​์ ากก​ารบ​ ำเพ็ญ​ บญุ ท​ เี่​กดิ จ​ากก​ารใ​หธ​้ รรม​เปน็ ท​ าน ขอ​ให​้มี​ความส​ขุ ​ความ เ​จ​ริญ​ยง่ิ ๆ​ขน้ึ ไ​ป ท้าย​นี้ คณะ​ศิษย์​ขอก​ราบ​นมัสการ​ขอบพระคุณ​ พระ​อาจารย์​ชย​สา​โร​ท่ี​ได้​เมตตา​อนุญาต​ให้​พิมพ์​หนังสือ​ เพอ่ื แ​จกเ​ปน็ ธ​รรมท​ าน และท​ ไ​่ี ดอ​้ บรมส​งั่ ส​อนล​กู ศ​ษิ ยแ​์ ละ​ ญาตโิ ยม​อย่างส​ม่ำเสมอ​ตลอด​มา คณะศ​ษิ ยานศุ ิษย์ ธันวาคม ๒๕๕๒

ศาไสมนใ่ าชหแสทว​่ลาักำธา่ ​อ้วบ​แ​ไรอุบอ​มญุรตยอาม​ด่่ว​า่เย​บกสะา่งไีเแ​ำ​ไไ​ขน​รดดรไกปห้าิมเค​้ี้ท​ุงดอ​ีปว​ข้​​ชวส​ือ​ว้ังยน็ัด้ท​อ้ม​้พัดร​กเ​ู่ห​ส​​บแ​้งัคต​า้รต​าว​ล่ิงรกงระ้นราตั​ทอ​สอ่ื้วพ​พไเ​มขกร่ตี​ิ่งงมอร​ป้าป​ท​​วอ้ก้​อ่เ​​วรดัฏปด​ี่แงง่อดัะต​​นน็ตบิท​ี​งนเท​อ้าพพ​วัตั่​ยอี​่ก​ี่​เมเ​มขณธิิังยอลา้เ​​ดี​ู่ใงขับี​ทน​ไี้า่าม​ใม​จพ​่าช​อำระ

เขา้ วดั ทำไม บาง​คน​ท่ีมา​วัด เข้า​มาก​ราบ​อาตมา​ใน​ศาลา ชม​ ว่า “ท​น่ี ​่รี ม่ ​ร่นื ​ดีนะ่ ค​รับ นา่ อ​ย่”ู เสร็จ​แล้ว​กก็​ราบ​ลากลับ​ บา้ น เขาไ​ด้บ​ ญุ ไ​หม คงไ​ด​้เหมอื น​กนั แต​่เสยี ดายว​า่ ​ไม่​ได้​ มากกวา่ ​น้นั ประโยชน์​ประการ​แรก​ที่​เกิด​จาก​การ​เข้า​วัด​ป่า คือ​ การ​สัมผัส​กับ​ธรรมชาติ มอง​ไป​ทาง​ไหน​ไม่มี​ป้าย​โฆษณา ไมม่ ีส​ิ่งใ​ดบ​ าดตา หรือก​ระตุ้นก​ิเลส กาย​กบั ใ​จร​ู้สึก​เยน็ ล​ง​ ทันที แคน​่ ้ี​ก็​เปน็ บ​ ุญ​อยแ​ู่ ลว้ แตใ่​นร​ะยะ​ยาวค​งจะ​มี​ผลต​อ่ ​ ชีวิต​น้อย ฉะน้ันถ​วายท​ าน​แลว้ ​หลวงพ​ ่อป​ ระธาน​สงฆ​ว์ า่ ง ใหไ​้ ปส​นทนาธรรมก​บั ท​ า่ นบ​ า้ งก​ด​็ ี สนทนาไ​มเ​่ ปน็ ขอท​ า่ น​ เมตตา​ให​ธ้ รรมะส​กั ​ขอ้ ห​ นึง่ ก​็ได้ ทา่ นไ​มว​่ า่ งห​ รอื ​เราไ​มก่​ลา้ ​ จรงิ ๆ กไ​็ ปห​าท​เ​่ี งยี บแ​ลว้ น​ง่ั ส​มาธส​ิ กั เ​ลก็ น​อ้ ยก​อ่ นก​ลบั เขา้ ​ วดั ​อยา่ งน​ ี้​ครูบาอ​าจารย์​ท่านช​ื่น​ใจ เขา้ ​มา​ในว​ดั ​คอื เ​ขา้ ​ใน​แดนอ​ภยั เปน็ ​ท​ป่ี ลอด​จากก​าร​ 1ชยสาโร ภกิ ขุ

เอา​รัด​เอา​เปรียบ​กัน เป็น​ที่ๆ ไม่​ต้อง​มี​การ​แก่งแย่ง​ชิง​ดี​ ชงิ ​เด่น​กัน อยู่​วัด​ไม​่ตอ้ ง​แขง่ ขัน​กบั ​ใคร ไม่​ต้อง​ระแวง​ใคร​ ไมต​่ ้อง​ยงุ่ สังคมไ​ทย​โชคด​ี​ ​เรามสี ถานท่ีประเสริฐอ​ย่างน​ ้ี เป็น​ที่​ที่​สนับสนุน​ส่วน​ดี​ของ​มนุษย์ และ​เป็น​ที่​ชุมนุม​ของ​ คน​ดี และ​ผู้​ที่​ต้องการ​เพิ่ม​ความ​ดี​ของ​ตน ถึง​จะ​มี​เวลา​ จำกัด เข้า​วัด​แล้ว​ไม่​ต้อง​รีบ วัน​หนึ่ง​อย่า​มี​รายการ​แน่น​ เกิน​ไป ญาติโยม​บาง​คณะ วันห​ นึง่ ไ​ปท​ ำบญุ ถ​ึงส​ิบว​ัดก​ม​็ ี หัวหน้าท​ วั ร์เดินเ​ขา้ ศ​าลาห​ นา้ เ​ครยี ด ด​ูนาฬิกาต​ลอดเ​วลา เจา้ อ​าวาสอ​งค​์ไหน​ให้​โอวาท​นานไ​ป​หนอ่ ย (เช่น อาตมา เปน็ ตน้ ) กช​็ กั ก​ระวนกระวาย ไปเ​ยย่ี มว​ดั เ​อาพ​ อดก​ี บั เ​วลา พอดี​กับ​กำลัง​ไม่​ดี​กว่า​หรือ บุญ​คือ​ชื่อ​ของ​ความ​สุข และ​ อย่า​ลืม​ว่าการ​เดิน​ทาง​แสวง​บุญ​ไม่ใช่​การ​ไป​หา​ส่ิง​นอก​ตัว​ เรา ที่แท้​เป็นการ​แสวงหา​โอกาส​บำรุง​บุญ​ซ่ึง​อยู่​ใน​ใจ​เรา​ ตงั้ แต​ย่ ัง​ไมอ่​อก​เดิน​ทาง วดั เ​ปน็ ท​ อ​่ี ยข​ู่ องพ​ ระส​งฆ์ เขา้ ว​ดั แ​ลว้ ใ​หส​้ งั เกตค​วาม​ เรียบรอ้ ย ความ​เรียบง​่าย ความ​สะอาดส​ะอ้าน ด​คู วาม​ สำรวมข​องพ​ ระ​ภิกษ​ุสามเณร ระลึกว​่า​ยังม​​ผี ูม​้ ุง่ ม​น่ั ใ​นช​วี ิต​ พรหมจรรยเ​์ พอื่ ป​ ระโยชนต​์ นแ​ละผ​อ​ู้ น่ื เ​หมอื นส​มยั ก​อ่ น ยงั ​ ไมเ​่ สอื่ ม นา่ เ​ลอ่ื มใส พจิ ารณาว​า่ ทา่ นก​ำลงั ส​บื ต​อ่ อ​ายข​ุ อง​ บรมพ​ ระพทุ ธศ​าสนา แลว้ เ​ราท​ำบญุ ก​บั ท​า่ น เราก​ม​็ ส​ี ว่ นใ​น​ การบ​ ำรงุ พ​ ระ​ศาสนาเ​หมอื นก​นั คดิ ถ​ูก​ทางแ​ล้วจ​ะ​เกิดป​ ตี ิ 2 เขา้ วัด ทำไม

หลวง​พอ่ ​ผ้​เู ป็นป​ ระธานส​งฆใ์​ห้​ข้อคิดอ​ะไรก​ต็​ั้งใจฟ​ งั และ​ พยายามจ​ำ​ไว้ เพื่อ​เปน็ ข​องดี​ตดิ ตัว​กลับบ​ า้ น ใน​พระพุทธ​ศาสนา เรา​ทุก​คน​ต้อง​เป็น​นักศึกษา การศ​กึ ษาค​ำส​ง่ั ส​อนข​องอ​งคส​์ มเดจ็ พ​ ระส​มั มาส​มั พ​ ทุ ธเ​จา้ ​ นนั้ กค​็ อื ก​ารต​งั้ ใจศ​กึ ษาเ​รอื่ งข​องเ​ราเ​อง เพราะธ​รรมะข​อง​ พระองคท​์ งั้ หมดท​งั้ ส​น้ิ มค​ี วามม​งุ่ ม​น่ั อ​ยแ​ู่ ตใ​่ นส​องเ​รอ่ื ง คอื ​ หนึ่ง​การ​เปิด​เผย​ธรรมชาติ​ของ​มนุษย์ และ​สอง​การ​ชี้แนะ​ แนวทางป​ ฏบิ ตั ต​ิ อ่ ธ​รรมชาตน​ิ นั้ ใ​หถ​้ กู ต​อ้ ง เพอ่ื ก​ารพ​ น้ ท​ กุ ข​์ โดย​ส้ิน​เชิง สอง​เรื่อง​เท่าน้ัน เรา​เกิด​เป็น​มนุษย์​และ​เป็น พุทธมามกะ​แล้ว เราค​้นคว้าเ​ร่อื งค​วาม​เปน็ ม​นุษยข์​อง​เรา​ บา้ งน​า่ จ​ะด​ี เหตผุ ลก​ค​็ อื เ​ราไ​มอ​่ ยากเ​ปน็ ท​ กุ ข์ กต​็ อ้ งฝ​กึ ก​าร​ ปฏบิ ตั ต​ิ อ่ ธ​รรมชาตท​ิ ง้ั ภ​ายนอกแ​ละภ​ายในด​ว้ ยป​ญั ญา เพอื่ ​ ไมใ​่ ห​้เปน็ ​ทุกข์ เพราะช​ีวิต​เรา​จะ​ปลอด​ทกุ ข​์เองโ​ดย​ไม​่ต้อง​ ปฏิบัต​ิเป็นไ​ป​ไมไ​่ ด้ ฉะน้ัน​เรา​ต้อง​สนใจ​ศึกษา​ธรรมะ ธรรมะ​ไม่​ได้​เกิด​ อยู่​ที่​อ่ืน​ไกล หาก​เกิด​ที่​กาย ท่ี​วาจา ท่ี​ใจ​ของ​เรา​แต่ละ​ คน แต่​เรา​จะ​น้อม​ธรรมะ​เข้า​มา​สู่​ใจ​เพ่ือ​ประโยชน์​สุข​ของ​ ตัวเ​รา ครอบครัว และส​ังคม​ท​ี่เรา​อยอู่​าศัย ไมใ่ ชข่​อง​งา่ ย​ เลย ต้อง​ฝนื ​ความ​เคยชินแ​ละน​ ิสัยเ​กา่ ​พอส​มควร ในเ​บอ้ื ง​ ตน้ ​เรา​ยงั ​ออ่ น ต้องการ​กำลัง​ใจ​จาก​ขา้ ง​นอกค​อ่ น​ข้างม​าก ท่าน​จงึ ​ให้เ​รา​คบผ​้ท​ู ่​ีศึกษา​ดีแลว้ ปฏบิ ัติ​ดแี ลว้ เพ่ือ​ได​้วิธที​ ​ี่ 3ชยสาโร ภกิ ขุ

ถกู และ​เพ่ือ​ได​้ความ​มนั่ ใจ​ว่าการ​ปฏบิ ตั ิ​มผ​ี ล​จริงไ​ม่​เหลอื ​ วิสยั ส่วนม​าก​ผ้​ูที​่ตงั้ ใจ​ปฏิบัติ​อย่างเ​อา​ชีวิตเ​ป็นเ​ดิมพ​ ันม​กั ​ เป็น​นกั บวช ท่านจ​ึงใ​ห้​เราเ​ขา้ ว​ัด เขา้ ว​ดั ต​อ้ งเ​ขา้ ใ​หเ​้ ปน็ ถา้ ห​ากเ​ราไ​มค​่ ดิ ท​ำความเ​ขา้ ใจ​ กบั ธ​รรมชาตข​ิ องต​วั เ​อง ไมส​่ นใจช​วี ติ ข​องเ​ราว​า่ ม​นั ค​อื อ​ะไร​ กันแ​น่ ไมอ่​ยากพ​ ฒั นา​ตน การเ​ข้าว​ดั ก​จ็​ะไ​มเ​่ กิดป​ ระโยชน​์ เท่า​ที่​ควร เหมือน​คน​กำลัง​ไม่​สบาย​เข้าไป​ใน​โรง​พยาบาล เพ่ือ​บริจาค​ทรัพย์​บำรุง​โรง​พยาบาล โดย​ไม่​คิด​รักษา​โรค​ ของต​วั เ​อง เพราะย​งั ไ​มเ​่ จบ็ ม​ากก​เ​็ ลยเ​สยี ดายเ​วลา โรคข​อง​ เรา​คือ​ความ​ทุกข์ สาเหตุ​สำคัญ​คือ​การ​ไม่รู้​จัก​ตัว​เอง​ตาม​ ความเ​ปน็ จ​รงิ ไมร่ ู้จ​กั ต​วั เ​องก​ถ​็ กู ห​ ลอกง​า่ ย พรอ้ มท​ จี่​ะต​ก​ เป็น​เหยื่อ​ของ​สง่ิ ม​ายาท​ ้งั ​หลาย​อยเ่​ู สมอ มัวแ​ต​่ดิ้นรนเ​พอื่ ​ จะ​ได้​ส่ิง​ท่ี​ชอบ​และ​เลี่ยง​สิ่ง​ท่ี​ไม่​ชอบ​อยู่​เสมอ เช่ือ​งมงาย​ ในร​่างกาย และ​จติ ใจ​ว่า​เป็น​เราเ​ปน็ ​ของเ​รา กย็​อ่ มไ​มเ​่ หน็ ​ ความ​ไม่​เทีย่ ง และ​ความไ​ม่ม​ีเจ้าของ​ของช​ีวติ การ​ปฏิบัติ​ธรรม​เท่าน้ัน ที่​จะ​ช่วย​ให้​เรา​เป็น​อิสระ​ จาก​กเิ ลสไ​ด้ การท​ ำบุญ​อยา่ ง​เดียว​ไมป​่ ฏบิ ัติ ถงึ ​จะ​ทำให้​ม​ี สงิ่ ย​ดึ เ​หนยี่ วอ​ยใ​ู่ นใ​จบ​ า้ ง แตม​่ นั ไ​มม​่ น่ั คง ลกึ ๆ แลว้ เ​ราจ​ะ​ ยงั อ​ยใ​ู่ นส​ภาพเ​ดมิ คอื เ​ควง้ ควา้ งอ​ยเ​ู่ หมอื นเ​รอื เ​ลก็ ๆ กลาง​ ทะเลอ​ัน​กวา้ งใ​หญ่ มเี​ขม็ ​ทศิ ​กใ็​ช้​ไมค่​่อย​เป็น ม​ีสมอก​ไ​็ ม่รู้​ จกั ท​อด เอาแตป​่ ระดบั ป​ระดาเ​รอื ก​อ่ นอ​บั ปาง ชาวพ​ ทุ ธเ​รา​ 4 เข้าวัด ทำไม

ควรส​นใจว​ธิ อ​ี ดุ ร​ู วธิ ว​ี ดิ น​ ำ้ บ​ า้ ง จะไ​ดเ​้ อาต​วั ร​อดไ​ด้ หากไ​ม​่ สนใจศ​กึ ษาเ​รอื่ งต​วั เ​อง เขา้ ว​ดั แ​ลว้ ส​กั แ​ตว​่ า่ ไ​หวพ​้ ระพ​ อเ​ปน็ ​ พธิ ี ทำบญุ บ​ ำรงุ ว​ดั ต​ามป​ ระเพณี แลว้ อ​อกไ​ปช​มต​น้ ไมบ​้ า้ ง​ ก่อนก​ลบั ไมใ่ ช่​วา่ ไ​ม​ด่ ี ดอ​ี ยห่​ู รอก แต​ย่ งั ด​ไี​ม่พ​ อ ศาสนา ธรรมะ​เป็น​สงิ่ ท​ ​่ีต้องน​ อ้ ม​เข้าม​าเ​ป็น​เคร่ือง​ชำระ วดั อ​ยไ​ู่ ดเ​้ พราะน​ ำ้ ใจข​องญ​ าตโิ ยม ลกู ศ​ษิ ยห​์ ลวงพ​ อ่ ​ ชา รงั เกยี จก​ารเ​รยี่ ไ​รท​ส่ี ดุ จงึ อ​ยไ​ู่ ดด​้ ว้ ยศ​รทั ธาข​องญ​ าตโิ ยม​ โดยแ​ท้ การ​ช่วยท​ างป​ จั จยั ​ส่สี​ำคัญ​เหมือน​กนั แตพ​่ ระ​ทีด่​​ี ท่าน​ไม​่ยนิ ด​ใี น​เรื่องน​ ี้ สง่ิ ​ที่​ท่าน​ยนิ ดที​ ่สี ุด ชอบท​ ่สี ดุ คือ​ การ​เห็น​ผค​ู้ รอง​เรอื น​ตัง้ ใจ​ปฏิบัติ​ธรรม ไป​วัด ไม่​ว่า​เพ่ือ​ทำบุญ​สุ​นทาน ไหว้​พระ กราบ​ นมสั การ ครบู าอ​าจารย์ หรอื ไ​ปจ​ำศลี ป​ฏบิ ตั ธ​ิ รรม พยายาม​ ระลกึ อ​ยเ​ู่ สมอว​า่ จ​ดุ ป​ระสงคข​์ องเ​รา ควรอ​ยท​ู่ ค​ี่ วามด​ค​ี วาม​ สงบแ​ละป​ญั ญา ระวงั อ​ยา่ ว​นุ่ บ​ญุ ก​แ​็ ลว้ ก​นั หรอื ร​า้ ยกว​า่ น​น้ั อย่า​นั่ง​ใน​โรงค​รัวท​ านอ​าหารค​ุยเ​ร่ืองท​ างโ​ลก วจิ ารณ​์เรื่อง​ การบา้ น​การเมือง พรรค​ไหนด​ี พรรคไ​หนเ​ลว หรอื น​ นิ ทา​ ลกู เขย​ลกู ​สะใภ้ อยา่ ​คยุ ใ​นเ​รือ่ ง​ใด​ท​ี่เพม่ิ ก​ิเลสใ​นใ​จท​ ัง้ ​ของ ผพ​ู้ ูด​และผ​ู​้ฟัง หรือพ​ ดู ​ใหช​้ าวว​ัดแ​ตกแยก​กัน ถ้าเ​ป็นอ​ยา่ ง​ น้นั ​กน​็ ่าเ​สยี ดายเ​วลา​ท่ี​สละ​เข้า​วดั เรียกว​า่ เ​ข้าว​ดั ​แต​่ไมถ​่ ึง​ วัด ฉะน้ัน​มา​ถึงที่​ร่มเย็น​อย่า​ให้​มัน​ร้อน ต้อง​ฝึก​ให้​เย็น​สิ ตัว​เรา​จึง​จะ​เหมาะ​กับ​สถาน​ท่ี ให้​น้อมนำ​คำ​ส่ัง​สอน​ของ​ 5ชยสาโร ภิกขุ

พระพุทธเจา้ ม​า​สู่​ใจ​เรา สำรวมก​าย วาจา ใจ หาอ​ุบายแ​ก​้ ขอ้ บ​ กพรอ่ ง​ทอ​ี่ ยู่ใ​น​ใจ เสริม​สร้าง​สิ่งท​ ดี่​​ีงาม​อยา่ งน​ ีค​้ ือก​าร​ เขา้ ​วัด​ทเ​่ี ข้า​ท่า ไดท​้ ้งั ว​ัตรป​ ฏิบัติ ไดท​้ ง้ั ​เครอื่ ง​วดั ​ตัวเ​อง ในพ​ ระพทุ ธศ​าสนา วดั เ​ปน็ ส​ถานท​ส​ี่ ำคญั แตศ​่ าสนา​ ท่แี ท​้ไม่​ตดิ ​อย่​ูท่สี​ถาน​ที่ ศาสนา​ไม่​ได้​อยทู​่ ่​ีวัด ไมไ​่ ด​้อยท​ู่ ​ี่ต​ู้ พระไ​ตรปฎิ ก ไมไ​่ ดอ​้ ยท​ู่ ไ่ี หน มนั อ​ยท​ู่ เ​ี่ รา อยท​ู่ เ​่ี ราแ​ตล่ ะค​น แผน่ ด​นิ ไ​หว หรอื ผ​ก​ู้ อ่ การร​า้ ยบ​กุ เ​ขา้ ม​าว​างร​ะเบดิ ห​นา้ พ​ ระ​ ประธาน​วัด​ป่า​นานาชาติ จน​วัด​เหลือ​แต่​หลุม​ลึก ผู้​ท่ี​ยัง​ เหลืออ​ยู่ ตอ้ ง​อดทน อยา่ ​เพง่ิ ​โกรธ ศาสนาก​​็ไมไ​่ ดส​้ ญู หาย​ ไปก​บั ว​ตั ถุ ชาวพ​ ทุ ธเ​ราค​วรส​รา้ งว​ดั ใ​หพ​้ อดแ​ี กก่​จิ ข​องส​งฆ์ และ​ชว่ ยท​ า่ น​รักษา​ส่ิง​ทส่​ี ร้าง​แล้ว​อยา่ งด​ี แต่​อยา่ พ​ ึงล​มื ​วา่ วัด​เป็น​แค่​ท่ี​เอื้อ​ต่อ​การ​ศึกษา​และ​ปฏิบัติ​ธรรม การ​สร้าง​ ศาสนว​ตั ถก​ุ ไ็ ดบ​้ ญุ อ​ยห​ู่ รอก ไดบ​้ ญุ เ​ยอะ แตย​่ งั ไ​มใ่ ชบ​่ ญุ ช​น้ั ​ เย่ยี มค​ือค​วาม​สงบ​จาก​กเิ ลส ยัง​ไมถ่​ึง​สิ่งส​งู สดุ ​ท่ี​เรา​ควรไ​ด​้ รับจ​ากก​ารเ​ป็นช​าว​พุทธ วตั ถ​ุเปน็ ฐ​าน​ของ​การเ​ข้าถ​งึ แ​กน่ ​ แท้ข​องพ​ ระ​ศาสนา หลัก​การ​ประพฤติ​ปฏิบัติ​ธรรม​ท่าน​สรุป​ง่ายๆ ว่า​ ต้อง​มุ่ง​ไป​ท่ี​การ​รู้ รู้​อะไร รู้​ว่า​นี่​คือ​ทุกข์ น่ี​คือ​เหต​ุให​้เกิด​ ทุกข์ น่ี​คือ​ความ​ดับ​ทุกข์ นี่​คือ​หนทาง​ไป​สู่​ความ​ดับ​ทุกข์ หลักสูตรก​าร​ศึกษา​ของ​เรา​อย่ทู​ ​ี่สิง่ เ​หล่าน​ ้ี ข้อ​แรก​คือ​ศึกษา​ให้​รู้​ว่า​นี่​คือ​ทุกข์ เรา​จะ​ไป​ศึกษา​ที่​ 6 เข้าวดั ทำไม

ตรง​ไหน ถ้าไ​มศ่​กึ ษา​ใน​ตวั ข​อง​เรา​เอง เราก​ำลงั ท​ กุ ข​์ไหม เรา​เคยม​ีท​ ุกข์​ไหม ในก​าร​พิจารณาเ​ร่ืองน​ ี้ ขอ​ให้ท​ ราบด​ว้ ย​ ว่า คำ​วา่ ​ทกุ ข​ใ์ น​ท่ีน​ ไ​้ี มต่​้อง​หมายถ​งึ ​ความเ​จ็บ​ปวดร​วดร​้าว​ อยา่ งส​าหสั น​ ะ ไมต​่ อ้ งอ​กหกั หรอื ก​ลดั กลมุ้ ถ​งึ ข​นั้ ค​ดิ อ​ยาก​ ทำลายต​ัวเ​อง จงึ ​จะ​เรยี กว​า่ ท​ ุกข์ นั่นก​ท็​ กุ ข์​แนน่ อน แต​่ ส่วน​มากค​น​เราน​ านๆ คร้ัง​ถึง​จะท​ กุ ข​์อยา่ งน​ น้ั หรอื ช​าตนิ​ ี​้ บาง​คน​อาจ​จะ​ไม่​เคย​เจอ​ทุกข์​ขนาด​น้ัน​เลย​ก็ได้ ความ​ หมาย​ของ​คำ​ว่า​ทุกข์​ก็​กว้าง​ขวาง​กว่า​นั้น คือ​ส่ิง​ที่​เรา​ทุก​ คนต​อ้ งย​อมรบั ก​ค​็ อื ว​า่ ช​วี ติ เ​ราย​งั ไ​มส​่ มบรู ณ์ เราม​กั ม​ค​ี วาม​ รู้สึก​อัน​หนง่ึ ​แฝงอ​ย​่ใู นใ​จ​เสมอว​่า “อยา่ งน​ ี้​ยัง​ไมใ่ ช่” ความ​ รสู้ ึก​นี้​มี​ผล​ตอ่ ​ชีวิต​เราม​าก แต​่นอ้ ยค​นอ​ยาก​ศึกษา​ตรง​จดุ ​ น้ี พระพุทธเจ้า​ทรงช​้ี​ให้​เราเ​ห็นว​่า ความร​ู้สกึ ​วา่ “นไี​่ ม่ใช่” เป็น​อาการอ​ย่าง​หนึง่ ​ของ​ทกุ ข์ ฉะน้นั อ​ย่า​พงึ เ​อาห​ ัวม​ุด​ลง​ ไป​ใน​ทราย​เหมือนน​ ก​กระจอก​เทศ โดย​หวัง​ว่าเ​มอื่ ไ​มเ​่ หน็ ​ ทุกข์​แล้ว​มัน​จะ​หาย​ไป​เอง พระองค์​พร่ำ​สอน​ให้​เรา​หมั่น​ กำหนด​รมู​้ ัน ความท​ กุ ข​์ของ​มนษุ ย​ม์ ​ีหลาก​หลาย ใน​โลก​ท่​ีสมมติ​ กัน​ว่า​เจริญ​แล้ว ความ​ลำบาก​เนื่อง​ด้วย​ปัจจัย​สี่ หรือ​ ความ ต้องการข​อง​รา่ งกาย ลดน​ อ้ ยล​ง​มากแ​ลว้ แต่​น่ันไ​ม่​ ได้ หมายความ​ว่า ความท​ ุกข์​ของ​คน​จะล​ด​ตามอ​ัตรา​เลย เพียง​แต่​เปลี่ยน​รูป​แบบ​ใหม่ ใน​โลก​ปัจจุบัน โรค​ทาง​จิต 7ชยสาโร ภกิ ขุ



เพ่ิม​ข้ึน​อย่าง​น่า​เป็น​ห่วง โรค​ซึม​เศร้า​กำลัง​ระบาด​ทั่ว​โลก​ พร้อม​กับ​ความ​เจริญ แม้​ใน​หมู่​เด็ก​และ​วัย​รุ่น​ก็​มี​มาก​ข้ึน​ ทกุ ​ปี มัน​น่า​คิด​นะ ว่า​ทำไม​ใน​ประเทศ​ที่​คน​มี​เงิน​มี​ทอง​ พอที่​จะส​บายไ​ดแ​้ ลว้ ม​คี วาม​สะดวก​ทาง​วตั ถมุ​ากพ​ อควร​ แลว้ ทำไม​ความซ​มึ ​เศร้า​จงึ แ​พร่​หลายเ​หลอื ​เกิน เปน็ ไ​ปไ​ด​้ ไหมว​า่ ค​นส​มยั น​ก​้ี ำลงั ข​าดค​วามฉ​ลาดท​ส​ี่ ำคญั ย​ง่ิ อ​ยา่ งห​นงึ่ คือ​ความ​ฉลาด​ใน​การ​กำหนด​และ​การ​ปฏิบัติ​ต่อ​ธรรมชาติ​ ของ​จิต จงึ ส​ุขไ​มค่​อ่ ยเ​ป็น สว่ นม​ากค​นท​อ​ี่ ยใ​ู่ นส​งั คมป​ระเภทน​้ี สงั คมท​ป​่ี รญิ ญา​ บัตร​กลาดเกลื่อน แต่​ปัญญา​ใน​การ​ดับ​ทุกข์​สร้าง​สุข​ยัง​ กระ​ท่อน​กระ​แท่น คน​ซึม​เศร้า​มัก​จะ​คิดมาก คิด​ไม่​หยุด ฟุ้งซา่ น ตงึ เครียด ขวี​้ ติ ก​ข​ี้ระแวง ไมท​่ าน​ยาน​ อนห​ ลบั ก​​็ หลบั ไ​มไ​่ ด้ อยา่ งน​ค​ี้ อื ส​ญั ญาณเ​ตอื นภ​ยั ว​า่ การพ​ ฒั นาส​งั คม​ ทก่ี​ำลงั ​ลม้ เ​หลว ความผ​ดิ ป​ กตหิ​ ลาย​อยา่ งก​ลายเ​ป็นค​วาม​ ปกตเ​ิ สียแ​ล้ว ผไู้​มเ​่ ข้า​วดั ห​ รอื ไ​มศ​่ กึ ษา​และ​ปฏิบตั ิ​ธรรม​ไม่​ ค่อย​เห็น​ปัญหา สมยั ​กอ่ น​มนษุ ย์​ส่วน​มากอ​ยใู่​นช​ุมชนเ​ล็ก​ คอื ห​มบู่ า้ น แตส​่ มยั น​ค​้ี นบ​า้ นน​อกไ​ปห​าง​านใ​นก​รงุ กม้ ห​นา้ ​ กม้ ต​าท​ ำงาน บางทอ​ี ยเ​ู่ ปน็ ป​ ไ​ี มร่ จ​ู้ กั ช​อ่ื ข​องค​นท​ เ​่ี หน็ ท​ กุ ว​นั อย่​ูใน​ท่ี​พลุกพล่านอ​าจ​เหงา​ยง่ิ ​กวา่ ​อยค​ู่ น​เดียว เมอื งป​ ารสี ประเทศ​ฝรง่ั เศส​เปน็ ต​ัวอยา่ งห​ นง่ึ ชาว​ 9ชยสาโร ภิกขุ

ปารสี อ​ยค​ู่ นเ​ดยี วเ​กอื บค​รง่ึ ห​นงึ่ ข​องพ​ ลเมอื งห​กเ​จด็ ล​า้ นค​น อย​ู่คนเ​ดียวต​ัง้ ​สาม​ล้านค​น ในจ​ำนวนน​ ัน้ มี​ไมน่​ ้อยท​ ไ​่ี ม่มี​ มนุษย์​เป็น​เพื่อน​เลย พวก​น้ี​ชอบ​เลี้ยง​หมา​เล้ียง​แมว​เป็น​ เพ่ือน ไมร่ ้​ูจะ​คุยก​บั ใ​ครก​็​คุยก​บั ​หมาค​ยุ ​กับแ​มว ดีเ​หมือน​ กนั น​ะ ไมค​่ อ่ ยท​ะเลาะก​นั แลว้ อ​ยา่ งน​อ้ ยเ​ขาก​ม​็ นั่ ใจว​า่ ส​นุ ขั หรอื แ​มวท​เ​่ี ขาร​กั มเ​ี ขาเ​ปน็ เ​จา้ ของแ​ตเ​่ พยี งค​นเ​ดยี ว แตก​่ น​็ า่ ​ สงสาร​เหมอื น​กนั อยท​ู่ า่ มกลาง​มนุษยแ์​ต่​ไมร่ ​ูจ้ กั ม​นษุ ย์ นี่​คือ​ผลอ​ย่าง​หนึ่ง​ของ​ความ​เจริญ​ทาง​วัตถุ​ที่​เห็นๆ อยู่ คอื ​คน​คบ​คน​ไมเ่​ป็น​มาก​ขึน้ ตอ้ ง​คบส​ุนัข​คบ​แมวแ​ทน อยู่​ใน​สภาพ​สังคม​ท่ี​เต็ม​ไป​ด้วย​ความ​หวาดระแวง ด้วย​ ความ​ไม่ไ​ว้​วางใจ​ซงึ่ ​กนั แ​ละ​กนั เทคโนโลยี​ต่างๆ ก็​เจริญ​ ก้าวหน้า​มาก เพ่ิม​ความ​ฟุ้งซ่าน​และ​ความ​เบียดเบียน​ มากกว่า​ส่ิง​ท่ี​ดี เดี๋ยว​นี้​โกรธ​ใคร​ใน​ต่าง​ประเทศ ก็​โทร​ไป​ ด่า​เขา​ข้าม​ทะเล​ได้​สบาย ทุก​วัน​นี้​ตำรวจ​เขา​มี​เทคโนโลยี​ ใหมๆ่ จบั ค​น​ชัว่ ไ​ด​้ง่ายข​น้ึ เชน่ การต​รวจด​ีเอน็ เอ การ​ใช​้ คอมพวิ เตอรป​์ ระสานง​านก​นั เปน็ ตน้ แตพ​่ วกพ​ าลพ​ วกโ​จร​ เขาก​ม็​เ​ี ทคโนโลยข​ี องเ​ขาเ​หมอื นก​นั ตา่ งค​นต​า่ งเ​จรญิ ตา่ ง​ คนต​า่ งเ​ปน็ ท​กุ ข์ ไมเ​่ หน็ ว​แ่ี ววว​า่ จ​ะม​ท​ี จ​่ี บส​น้ิ ไ​ดเ​้ ลย สง่ิ ท​เ​่ี รา​ เหน็ ไ​ด​้ชดั ก​ค​็ อื คนส​ว่ น​มาก​ไมร่ ว​ู้ ่า เขา​อยเู​่ พ่ือ​อะไร ไมร่ ​ู้ เขาอ​ยทู่​ ำไม เมอ่ื เ​ขาไ​มม่ เี​ปา้ ห​ มายช​วี ติ ก​ก็ ลายเ​ป็นโ​รคจติ โรคประสาท​กันเ​ต็ม​บ้าน​เต็ม​เมือง 10 เขา้ วดั ทำไม

ถ้า​หากว่า​ชีวิต​เรา​ไม่มี​ทิศทาง อยู่​ไป​เป็น​วันๆ สดุ ท้าย มกั จ​ะป​ ่วย ไมป่​ ว่ ย​กาย​ก​ป็ ่วย​ใจ เพราะช​ีวติ ข​าด​ ปัจจัย​ท่ี​ห้า​ของ​มนุษย์​คือ อรรถ หรือ​ความ​หมาย ย่อม​ ออ่ นแอ ขอใ​หส​้ งั เกตด​ก​ู แ​็ ลว้ ก​นั ว​า่ เมอ่ื ไรค​นเ​ราเ​หน็ ว​า่ ส​ง่ิ ท​ ​่ี เราก​ำลงั ท​ำอ​ยม​ู่ ค​ี วามห​มายเ​ราก​ก​็ ลา้ เ​สยี ส​ละก​ลา้ อ​ดทนใ​น​ การกร​ะท​ ำส​ง่ิ น​ นั้ แตถ​่ า้ เ​ผอ่ื ร​สู้ กึ ว​า่ ส​ง่ิ ท​ เ​ี่ ราก​ำลงั ท​ ำอ​ยไ​ู่ มม่ ​ี ความห​ มาย ถึง​จะอ​ดไ​ดก​้ ไ​็ ม่อ​ยากอ​ด ไมร่ จ​ู้ ะ​อดไ​ป​ทำไม ความ​สำคัญ​ย่ิง​ของ​ความ​หมาย​เและ​เป้า​หมาย​ใน​ ชีวิต​มนุษย์​เป็น​สิ่ง​ที่​คน​สมัย​ปัจจุบัน​มัก​มอง​ข้าม ถึง​แม้​ว่า​ ลกึ ๆ แล้ว ภายในจ​ติ ร​สู้ ึก​อ้างวา้ ง​ว้าเหว​ว่ ่างเ​ปลา่ ไม่มสี​่งิ ​ ใดท​เ​ี่ ปน็ แ​กน่ ส​ารส​าระ ตราบใ​ดท​เ​ี่ ราย​งั ไ​มเ​่ หน็ โ​ทษ กม​็ วั แ​ต​่ สะสมว​ตั ถม​ุ วั แ​ตว​่ งิ่ ห​ าโ​ลกธรรม โดยถ​อื ห​ ลกั เ​พยี งแ​คว​่ า่ น​ า่ ​ จะเ​ปน็ ​ทางท​ ่ี​ถกู เพราะ​เปน็ ​ทางข​อง​คน​สว่ นใ​หญ่ คอื เ​อา​ โลก​เอา​สังคม​เป็น​เกณฑ์ แต​่คำถาม​สำคัญท​ ่ี​เรา​ตอ้ ง​ฝืนใ​จ​ ถาม​ตัว​เอง​คือ วิถี​ชีวิต​อย่าง​น้ี​ได้​ผล​สมปรารถนา​จริง​ไหม ชีวิต​สมบูรณ์​แล้ว​หรือ หรือ​สมบูรณ์​ขึ้น​ทุก​ปี​ไหม ใน​เมื่อ​ สงิ่ ท​ ​่ใี จเ​รา​ต้องการอ​ย่างแ​ทจ้ รงิ ​คอื ​ความส​ุขท​ ่ี​เทย่ี ง แต​่เรา​ กลบั เ​อาแต​่โลกธรรม​เปน็ ท​ ่ี​พ่ึง แล้ว​ทำไม​จะ​ไมเ​่ หงา ใครท​ ี่​ ยงั เ​อาท​รพั ยส​์ มบตั เ​ิ งนิ ท​องเ​กยี รตยิ ศ ชอ่ื เ​สยี งเ​ปน็ เ​ครอ่ื งว​ดั ​ ความ​สำเร็จ​ใน​ชีวิต เรียก​ว่า​เป็น​ผู้​ท่ี​ยัง​ขาด​การ​ศึกษา​ทาง​ อรรถ​ศาสตรม์​าก (อาตมา​เรยี กเ​อง บญั ญัติ​ศพั ท​์เม่ือก​ี้น้ี) 11ชยสาโร ภกิ ขุ

อ่อน​ความ​รู้​เกี่ยว​กับ​แก่น​แท้​ของ​ชีวิต หยุด​อยู่​แค่​ระดับ​ ประถม ถ้าเ​ป็นอ​ยา่ ง​น้ัน อายมุ​าก​แล้ว ผมย​อ้ มด​ำส​นิท​ กต็ าม ผวิ ย​น่ ด​งึ ไ​วแ​้ นน่ ก​ต็ าม เราอ​าจจ​ะห​ลอกต​าค​นไ​ดบ​้ า้ ง แต่ด​้าน​ในเ​รา​หลอก​ธรรมชาตไิ​ม่​ได​้หรอก แก​่แลว้ โ​ดยไ​ม่ม​ี ความเ​ป็น​นกั ​ปราชญ์ป​ รากฏ​เลย ก​็ขาด​ทพี​่ ึ่ง น่าเ​สยี ดาย ชีวิต​ท่ี​สมบูรณ์ ชีวิต​ท่ี​ดี​จำ​ต้อง​มี​จุด​มุ่ง​หมาย​ท่ี​สูง​ กวา่ เ​พยี งแ​คผ​่ ลต​อบแทนจ​ากก​ารท​ ำม​าห​ ากนิ ตอ้ งม​ค​ี วาม​ หมายส​งู ก​วา่ โ​ลกธรรมต​า่ งๆ บางค​นม​วั แ​ตแ​่ สวงหาอ​ำนาจ ต้องการ​เป็น​ผู้​มีชื่อ​เสียง​โดย​ลืม​ไป​ว่า​ดัง​เท่าไร​ก็ตาม ตาย​ แลว้ ไ​ม​ก่ ​่ีปก​ี ็​ไม่มใ​ี ครจ​ำ​เขาไ​ด้ ขอ​ถาม​วา่ ​เม่อื ๕๐ ปท​ี ​ี่แล้ว​ ใคร​เปน็ ​ใหญเ่​ป็น​โต​ในบ​ ้านเ​มอื ง จำไ​ด้​ไหม ๕๐ ปท​ี ี่​แล้ว​ คนท​เ​่ี คยถ​อื ตวั ถ​อื ต​นเ​หลอื เ​กนิ เดยี๋ วน​น​ี้ อกจากน​กั ว​ชิ าการ​ และ​ผู้​ที่​ศึกษา​ประวัติศาสตร์​โดยตรง​เท่านั้น​ท่ี​จำ​ได้ นอก​ นัน้ จ​ำเ​ขา​ไม่​ไดเ​้ ลย ไมต่​อ้ ง​เอา​ถงึ ๕๐ ปี ๒๐ ปี ๑๐ ปี รัฐมนตรี​มใี​คร​บา้ ง จำไ​ด้​ไหม เราจ​ะ​เอา​ช่ือเ​สียงเ​ปน็ ท​ ีพ่​ ึง่ ​ ใน​ชีวติ ​ไดห​้ รอื เมื่อ​คน​ไม่รู้​ว่า​เขา​อยู่​ทำไม ไม่​เห็น​ว่า​ชีวิต​ของ​ตน​มี​ คณุ คา่ อ​ยต​ู่ รงไ​หน มกั จ​ะห​ าส​ง่ิ ท​ อ​่ี ยภ​ู่ ายนอกม​าเ​ปน็ เ​ครอื่ ง​ ยืนยัน ปลอบ​ใจ​ด้วย​ความ​กลัว​ความ​เกรงใจ​หรือ​ความ​ นับถือ ท่ี​ได้​รับ​จาก​ลูก​น้อง​หรือ​คน​รอบ​ข้าง อย่าง​น้ี​เรียก​ วา่ ​มนษุ ย​์ไมไ้ ผ่ คือ​ขา้ งน​ อก​ดแู​ขง็ แตข่​้างใ​นก​ลวง 12 เข้าวัด ทำไม

บาง​คน​อยาก​มี​บริษัท​มี​บริวาร ถือว่า​มี​บริวาร​มาก แสดง​ว่า​ตน​เป็น​ผู้​สำคัญ ต้องการ​เป็น​ผู้​สำคัญ​ใน​สายตา​ ของค​นอ​น่ื เพราะว​า่ ม​องด​ภ​ู ายในแ​ลว้ ไ​มเ​่ หน็ ม​อ​ี ะไรส​ำคญั นอกจากค​วามส​ำคญั ท​ค​่ี นอ​นื่ เ​ขาม​อบใ​ห้ แตถ​่ า้ ค​วามเ​คารพ​ นบั ถอื ต​วั เ​องแ​ละค​วามร​สู้ กึ ใ​นค​ณุ คา่ ข​องช​วี ติ ผกู มดั ก​บั ค​น​ อน่ื ห​รอื ส​ง่ิ อ​น่ื เราจ​ะต​อ้ งเ​ครยี ดอ​ยต​ู่ ลอดเ​วลา เพราะว​า่ เ​รา​ ไมส​่ ามารถจ​ะบ​ งั คบั บ​ ญั ชาใ​หค​้ นอ​นื่ ห​ รอื ส​งิ่ อ​นื่ เปน็ ไ​ปต​าม​ ความต​อ้ งการข​องเ​ราต​ลอดไ​ป ฉะนนั้ ถ​งึ แ​มว้ า่ อ​ยใ​ู่ นส​ถาน​ ทอ​่ี นั ส​ะดวกส​บาย วตั ถส​ุ ง่ิ ของพ​ รอ้ มห​ มดท​ กุ ป​ ระการ กย​็ งั ​ ไมพ​่ น้ จ​ากค​วามก​งั วลไ​ด้ นงั่ ว​ติ กว​า่ ถ​า้ ส​มมตว​ิ า่ ส​งิ่ น​ห​้ี ายไ​ป​ เราจ​ะท​ ำอ​ะไร จะแ​ย่ แยอ​่ ยา่ งน​ นั้ แยอ​่ ยา่ งน​ ี้ ยงิ่ ค​ดิ ย​งิ่ ก​ลวั คน​ท​ย่ี ึดต​ิดใ​น​ส่ิง​ท​ีต่ น​มี ต้องก​ลัว​ความไ​มม่ ​ขี อง​ส่ิงน​ ้ัน​เป็น​ เรื่อง​ธรรมดา​กลัว​พลัดพราก​เพราะ​ว่า​เอา​ความ​สุข​ใน​ชีวิต​ ไปผ​กู พนั ​กับ​สง่ิ ​อืน่ ​หรือก​บั ​คนอ​ืน่ ม​าก​เกนิ ไ​ป ชีวติ ​กไ็​มเ่​ป็น​ ตวั ​ของต​ัว จิตใจ​ก็ไ​มม่ ีก​ำลัง ฉะนนั้ พ​ ทุ ธศ​าสนาเ​ปน็ ศ​าสนาท​ ส​ี่ อนใ​หเ​้ ราม​าศ​กึ ษา​ ธรรมชาต​ขิ อง​ตัวเ​อง ใหเ​้ ราร​วู​้ ่าค​วามท​ ุกข​ค์ ืออ​ะไร มัน​เกดิ ​ อยา่ งไร อาจ​ไมเ่​หมือน​ท่เ​ี ราค​ดิ บางค​น​คิดว​่า​ไมม่ ใ​ี คร​รูจ้ ัก​ เรา ไม่มี​ใคร​ให​เ้ กียรตเ​ิ รา​ก​เ็ ป็นท​ กุ ข์ ไม่มใ​ี คร​รกั เ​รา ไมม่ ​ี ใคร​เคารพ​เรา​ก​็เปน็ ท​ ุกข์ หรอื ​อาจ​จะ​คิดว​่าเ​ราอ​ยู่​คนเ​ดียว​ ไมม่ ี​ใครส​นใจเ​รา อยา่ งน​ ี้ก​็​จะเ​ปน็ ​ทกุ ข์​มาก แตถ่​้าเ​ราก​ลา้ ​ 13ชยสาโร ภกิ ขุ

ลงมอื ป​ ฏบิ ัต​ิธรรม ความ​คดิ ​จะค​อ่ ยเ​ปล่ียน​ไป เรา​จะ​เร่ิม​เห็น​ความ​จริง​ว่า เอ...มัน​ไม่ใช่​นะ ไม่ใช่​ ทุกข​เ์ พราะค​นอ​น่ื ทกุ ข​เ์ พราะค​วามค​ิดข​องต​ัวเ​องม​ากกวา่ ทุกข์เ​พราะ​เรา​ตอ้ งการ​อะไร​สัก​อยา่ ง เพราะเ​รา​เกดิ ค​วาม​ ต้องการ เกิดค​วาม​อยาก จติ ​ก​็เสียศ​ูนย์ ไม​่ปกติ​เสยี แ​ลว้ เกิด​ความ​คิด​ผิด​ว่า​เรา​ขาด​ส่ิง​นั้น​ถ้า​ไม่มี​สิ่ง​นั้น​แล้ว​ชีวิต​เรา​ จะ​ไม่​สมบูรณ์ ถ้า​เข้ม​ข้น​ข้ึน​มา​ก็​กลาย​เป็น​อุปาทาน​ว่า​ถ้า​ ไม่มี​สิ่ง​นั้น​แล้ว​เรา​จะ​อยู่​ไม่​ได้ ความ​สุข​ใน​ชีวิต​ต้อง​ข้ึน​อยู่​ กับ​สง่ิ ​นน้ั ขึน้ ​อยก​ู่ บั ​คนน​ น้ั อ​ยา่ งเ​ดยี ว กลาย​เป็นอ​ปุ าทาน ความย​ึดม​นั่ ​ถอื ม​่นั ​ไป ดัง​นั้น​ให้​ขยัน​ดู​ธรรมชาติ​ของ​ตัว​เอง ดู​ความ​รู้สึก​ นึกคิด​ต่างๆ ว่า​มัน​เกิด​อย่างไร มัน​อยู่​อย่างไร มัน​ดับ​ อย่างไร ดู​ตรง​น้ี ปัญญา​ความ​รู้​เท่า​ทัน​ธรรมชาติ​จะ​เกิด​ ข้นึ เรา​กจ​็ ะ​ทะลปุ​ รโุ ปรง่ ว​่า​สงิ่ ท​ ั้ง​หลายเ​ปน็ แ​ค​่น้เ​ี อง การ​ ศึกษา​ความ​ไม่​แน่นอน​ต้อง​ติว​เข้ม​เพราะ​มี​การ​สอบ​ทุก​วัน ตอน​เช้า​อารมณ์​สดใส ตอน​สาย​ก็​ไม่​แน่ ใคร​มา​พูด​อะไร​ ไม่​ถูกใจ​เรา​หรือ​ทำ​อะไร​ท่ี​เรา​ไม่​พอใจ​อารมณ์​ก็​บูด ตอน​ บ่าย​ม​ีใคร​เอาข​องข​วญั ​มาใ​ห้ จิตใจ​ก​็บาน มนั ต​ลกเ​หมือน​ กัน เอา​แน่​ไม่​ได้ ผู​ไ้ ปย​ึด​ติดใ​นอ​ารมณ​์วา่ เรา​คอื อ​ารมณ์ อารมณ์​คือ​เรา จะเ​หน็ดเหนอ่ื ยม​าก เวลา​จิตใจ​สดใส...แหม ดีใจ​เหลือ​เกิน แต่​เวลา​ 14 เข้าวัด ทำไม

อารมณ์​เปลี่ยน​ไป เพราะ​มี​การก​ระ​ทบ​กระเทือน​อย่าง​ใด​ อย่าง​หน่ึง ทำให้​รู้สึก​ว่า​เรา​เสีย​ส่ิง​ท่ี​ดี​ไป พลัดพราก​จาก​ สงิ่ ​ซง่ึ เ​ปน็ ​สว่ น​หนงึ่ ​ของช​ีวติ จติ ใจ​ตกตำ่ สงสาร​ตัวเ​อง ซึม​ เศร้า ต่อ​มา​ก็​มี​แปรปรวน​อีก จิตใจ​ก็​สูง​ขึ้น​อีก มัน​ขึ้นๆ ลงๆ อยอู่​ยา่ ง​น้ี เหมือนข​ึ้นเ​ขาล​งห​ ว้ ย เหนอ่ื ยม​าก ผม​ู้ ​ีสติ​ อยใ​ู่ นป​จั จบุ นั อารมณอ​์ ะไรก​ระทบก​ส​็ งั เกตผ​ลต​อ่ จ​ติ ใจโ​ดย​ ไมส​่ ำคญั ม​นั่ ห​ มาย ไมป​่ ลอ่ ยใ​หจ​้ ติ ใจไ​ปป​ รงุ แ​ตง่ ใ​นเ​รอ่ื งน​ น้ั สักแ​ตว​่ ่า​รบั ​รู้ร​ับ​ทราบ ถ้า​หากว่า​เรา​ไม่​ยินร้าย​กับ​ส่ิง​ท่ี​เรา​ไม่​ชอบ​หรือ​ไม่​ พอใจ อารมณ์​น้ัน​จะ​กำเริบ​ไม่​ได้ แต​ถ่ ้า​เรา​หลง​ว่า​ส่ิง​นน้ั ​ กระทบ​ตัว​เรา​โดยตรง เรียก​ว่า​มี​อัตตา​ปรากฏ​อยู่​ตรง​นั้น ความ​คิด​ท่ี​เป็น​อกุศล​ก็​ย่อม​เกิด​ข้ึน และ​ถ้า​เรา​ต้อนรับ​ อารมณน​์ น้ั ด​ม​ี นั ก​อ​็ ยน​ู่ าน อารมณก​์ จ​็ ะเ​พมิ่ ข​นึ้ เ​รอ่ื ยๆ ทำให​้ จติ ใจเ​รา​เศร้า​หมองม​าก เมื่อ​จติ ใจเ​ราเ​ศรา้ ห​ มองแ​ล้ว การ ก​ระ​ทำการ​พูด​ก​็ไม​่ปกติ อาจ​พูด​อะไรท​ ่​ีไมค่​วร​พดู ทำ​สง่ิ ​ท​่ี ไม​่ควร​ทำ หรอื ​สง่ิ ​ที่​ควรพ​ ูดค​วรท​ ำ ไม่​ไดท้​ ำ การ​รับ​ทราบ การ​วินิจฉยั การต​ดั สินท​ ุก​อยา่ ง​ก็ผ​ดิ เ​พยี้ นไ​ป เมอ่ื เ​รา​ร้สู กึ ​ ว่า​เรา​ทำ​อะไร​ไม่​ถูก​ต้อง เรา​ก็​เลย​ไม่​พอใจ​ตัว​เอง​อีก ไป​ วา่ ​ตวั เ​อง​อีก ซง่ึ ​เพิ่ม​ความซ​ึม​เศรา้ ​เขา้ ไป​อีก อย่างน​ ีก้​เ็​ปน็ ​ วัฏฏะท​ เ่​ี กดิ ข​ึ้น​ในช​ีวิต​ประจำ​วันข​องเ​รา ฉะนน้ั ท​ า่ น​ให้​เรา​เปน็ ผ​ม​ู้ ​ีสติ มสี​ัมปชญั ญะ มค​ี วาม​ 15ชยสาโร ภิกขุ

รู้ตัว​ท่ัว​พร้อม คือ​รู้​อยู่​ตลอด​เวลา การ​ปฏิบัติ​ไม่มี​เสาร์​ อาทติ ย์ ไมม่ ีพ​ กั ​รอ้ น เหมือนล​ม​หายใจ หยุด​ไม่​ไดเ้​ดย๋ี ว​ อันตราย การ​รน้​ู ี้ ตอ้ งร​อู้​ย่างไร รอู​้ ยตู่​อ่ ​กายข​อง​เรา รู้​อยู​่ ต่อ​เวทนา รู้​อยูต่​่ออ​าการ​ของ​จติ ร้​ูอยตู่​่อค​วาม​คดิ ​ดีค​ดิ ​ชว่ั ​ ตา่ งๆ ทป​่ี รากฏ​อยู่ใ​น​ใจ เพราะ​ถา้ ​เราไ​มร่ ​ตู้ ่อส​ิ่ง​เหลา่ ​น้ัน ไมม่ ีส​ติ อวชิ ชาก​็​หอ่ ห​ มุ้ อวิชชาค​ือค​วาม​ไม่รู้ ถา้ ​ไมม่ ว​ี ชิ า ขาด​ความ​เข้าใจ​ใน​สิ่ง​ใด เรียก​ว่า​อวิชชา อวิชชา​อยู่​ตรง​ ไหน​ตัณหา​ก็​อยู่​ตรง​นั้น การ​ที่​จะ​ไม่รู้​ไม่​เข้าใจ​ใน​ส่ิง​ใด​โดย​ ไมม่ ี​ตณั หาใ​นส​ิง่ ​นนั้ เป็นไ​ป​ไม​่ได้ เพราะ​อวิชชาก​ับต​ณั หา​ อย​ดู่ ้วย​กนั ขาด​ปญั ญาต​รง​ไหน มันพ​ ร้อมท​ จ​ี่ ะเ​สยี ต​รง​นั้น ความอ​ยาก​ได้ อยาก​มี อยากเ​ป็น ไมอ​่ ยากไ​ด้ ไม่อ​ยากม​ี อยาก​ไม่มี อยากจ​ะ​หน​ีจากส​่งิ น​ ้ัน ไมอ่​ยากจ​ะ​ตอ้ ง​เผชญิ ​ กับส​่ิง​นน้ั ไม​่อยากต​อ้ ง​ยุ่งก​ับ​สงิ่ ​นน้ั ท​ งั้ ​หลายเ​หลา่ น​ ้ี ย่อม​ เกดิ ข​้นึ ​รังควาน​ใจ​ของเ​รา ดัง​นั้น​ท่าน​สอน​ให้​เรา​รักษา “ตัว​รู้” ไว้​อยู่​ตลอด​ เวลา ถา้ ม​ี “ตัวร​ู้” อยใู่​นใ​จ รบู​้ าป รบ​ู้ ญุ รคู้ ุณ ร​ู้โทษ ก็​ มี​กัลยาณมิตร​อยู่​กับ​เรา​ตลอด​เวลา สติ​อยู่​กับ​เรา จะ​ทำ​ อะไร​ที่​ไมถ่​ูกต​้อง สตก​ิ อ​็ ตุ สา่ หบ์​ อก ไม​่ถกู ​นะ! บาปน​ ะ! อย่าง​นี้​จะ​เปน็ ส​ิริ​มงคล ถา้ ​หากวา่ เ​ราม​​ีสติ เปรยี บเ​สมอื น​ ม​ีอาจารย​์ภายใน​ใจ​ของ​เรา คอยต​กั ​เตอื น​อย​่ตู ลอดเ​วลา บางท​สี ตก​ิ ็​บอก​วา่ ไ​ม​ถ่ กู ผิด​นะ! บาปน​ ะ! แตจ่​ิตใจ​ 16 เข้าวดั ทำไม

ฮกึ เหมิ ม​นั ​ไม่​ยอม ตอบ​สตว​ิ ่า ไมเ​่ ปน็ ไร ชา่ งเ​ถอะ อย่า​ คิดมาก เอาเลย! ตัว​น้ี​แหละ อันต​ราย​จริงๆ เป็น​ตัว​ มาร เรา​ต้อง​ฝืน ต้อง​อดทน เมื่อ​เรา​รู้​ว่า​ตัว​น้ี​ตัว​มาร​ตัว​ กิเลส เรา​อย่า​ไปย​อม​มัน​เป็น​อัน​ขาด ยืน​หยัด​อยู่​ใน​หลัก​ การ​ของ​ตัว​เอง ต้อง​เด็ด​ขาด​สัก​หน่อย​นะ เวลา​กิเลส​มัน​ มา​ขอร้อง​หรือ​โอ้โลม​ให้​เรา​ทำ​ใน​ส่ิง​เส่ือม​เสีย ส่ิง​ที่​เรา​รู้​ ว่า​ไม่​ดี​ทุก​ครั้ง​ที่​เรา​รู้​ว่า​ส่ิง​ที่​กำลัง​ทำ​ไม่​ดี แต่​ขืน​ทำ​น้ัน​ เป็น​บาป​เป็น​กรรม​เป็นการ​ไม่​จงรัก​ภักดี ไม่​กตัญญู​ต่อ​ พระพทุ ธเจา้ เ​ลย ท่าน​ก​็อุตสา่ หส์​อน​เรา ครบู าอ​าจารย์​ก​็ อุตส่าห์​สอน​เรา เรา​เป็น​ผู้​มี​บุญ​ที่​ได้​มี​โอกาส​รับ​ฟัง​คำ​ส่ัง​ สอน​ใน​เรื่อง​บาป บุญ คุณ โทษ ถ้า​รู้​แล้ว​ยัง​ไม่​ทำ​ตาม เป็นการ​ทำร้าย​ตัว​เอง​โดย​แท้ อยู่​ที่ไหน เรา​ต้อง​มี​สติ เพราะ​ถา้ ​ไม่มส​ี ติ อวิชชาจ​ะ​เกดิ ตณั หา​จะ​เกิด นิสัย​เสยี ​ ต่างๆ ก็ได​ร้ ับก​ารบ​ ำรงุ บ​ าง​คนถ​ึง​จะ​เข้าม​าอ​ยใ​ู่ นว​ดั กย​็ ัง ไมย​่ อม​สำรวม​ไม​่ยอม​เจริญ​สต​ิก็​มี จงม​สี​ตเิ​ปน็ ​ท่​ีพง่ึ เราม​ส​ี ตท​ิ ่ีไหนก​​อ็ ยก่​ู ับ​ธรรมะท​ ่​ีนนั้ ไม่​ผิด​พลาด​ใน​ท่ี​น้ัน สถาน​ท่ี​เรา​อยู่​ถึง​จะ​กลาง​กรุง​ก็ตาม มี​สติ​อยใ่​ู น​ใจ​ก็​สงบ​เหมือน​วัด​ปา่ ก​ไ็ ด้ สว่ นผ​้​ูอุตสา่ หม​์ าอ​ยู่​ ใน​วัด​แล้ว​ปล่อย​สติ​ให้​ขาด​บ่อยๆ ใน​ขณะ​ที่​ไม่รู้​ตัว วัด​ ก็​ไม่ใช่​วัด​สำหรับ​ผู้​นั้น​ใน​ขณะ​น้ัน​ซ้ำ​ร้าย เผลอ​แล้ว​อาจ​ ทำลาย​บรรยากาศ​ที่​อบอุ่น​และ​สามัคคี​ของ​ชาว​วัด​คน​อื่น​ 17ชยสาโร ภกิ ขุ



ไป​เสีย​ดว้ ย เพราะ​ผไู้​มม่ สี​ต​ทิ ำ​อะไรม​ักไ​ม​่คำนึง​ถึงผ​ลก​ระ​ ทบต​่อ​คนอ​ืน่ เชอื่ ฟ​ งั ​แตอ​่ ารมณ์ ความร​ูส้ ึก​นกึ คิด​ของ​ตัว​ เอง จงึ ​พร้อม​ท่​จี ะ​ทำใหค​้ นอ​ื่นท​ ี​่ต้งั ใจ​มา​อยว่​ู ัด ไม่​คอ่ ยไ​ด​้ อยู่​วัด​เหมือน​กัน บาปกรรม​ก็​ทวี​ขึ้น ความ​สงบ​ได้​แต่​ชื่อ ฉะน้ัน​ผู้​ต้องการ​อยู่​ที่​วัด​อย่า​ให้​แม่​เหล็ก​แห่ง​โลก​ดึงดูด​ไป สำรวมก​าย วาจา ใจ เพอ่ื ​ประโยชนต​์ น​และป​ ระโยชน​์คน​ อน่ื เอาใจ​เขาใ​สใ่ จ​เรา มาตรฐานข​องวดั ม​นั ส​งู ก​วา่ ม​าตรฐานข​องส​งั คมโ​ลก บางส​่ิง​ท​่ีชาวโ​ลก​เขาท​ ำ​กนั โ​ดยถ​อื ว่าเ​ปน็ เ​ร่อื งธ​รรมดา คน​ วัด​รังเกียจ​ถือว่า​ไม่​ธรรมดา​สำหรับ​ผู้​ละอาย​และ​เกรง​กลัว​ บาป ถา้ ธ​รรมดาก​ธ​็ รรมดาข​องก​เิ ลส ไมใ่ ชธ​่ รรมดาข​องท​ าง​ สายก​ลาง คนท​อ​ี่ ยใ​ู่ นท​ร​่ี กร​งุ รงั เ​ขาเ​หน็ ข​องส​กปรกก​ไ​็ มค​่ อ่ ย​ ได้ค​ิดอ​ะไร เพราะถ​อื ว่าเ​ป็น​เร่อื ง​ธรรมดาข​อง​ที่​รก แตค่​น​ ที่​อยู่​ใน​ท่ี​สะอาด ก็​รู้สึก​ว่า​ของ​สกปรก​แม้แต่​เล็ก​น้อย​เป็น​ มลทิน รูส้ ึก​วา่ ​เป็น​ปัญหา​ท่​ีต้องแ​ก้ บาง​คน​เข้า​วัด​ใหม่ๆ มัก​จะ​สงสัย ดู​เหมือน​กับ​ว่า​ จิตใจ​มี​กิเลส​มากกว่า​อยู่​ที่​บ้าน ที่​จริง​ไม่ใช่ เพียง​แต่​ว่า​ ฉาก​ขาว ของ​เป้ือน​เห็น​ได้​ชัด​ข้ึน ดัง​น้ัน ผู้​ที่มา​วัด​ต้อง​ ปรับก​ารป​ ระพฤตขิ​อง​ตน​ให​้เขา้ ก​ับ​มาตรฐานข​องวัด อย่า​ เพิ่ง​ดึง​มาตรฐาน​ของวัด​ลง​ไป​สู่​มาตรฐาน​ส่วน​ตัว อย่า​นำ​ นิสัย​เสีย​ด้ังเดิม​เข้า​มา​แพร่​เช้ือ​โรค​ใน​หมู่​อุบาสก​อุบาสิกา​ 19ชยสาโร ภิกขุ

เลย เอา​ของ​โลก​มา​ทบั ถม​วัด​จะน​ า่ เ​กลียด เอาค​วามด​ข​ี อง​ เรา​มาเ​สรมิ ค​วาม​ดข​ี อง​เขาด​​ีกว่า ใหเ​้ ราท​ ุก​คน​สงั วร​สำรวม โดย​เฉพาะ​ใน​การพ​ ูด อยู่​ใน​วัด​เรา​จะ​คุย​เหมือน​ที่​บ้าน​ไม่​ได้ ต้อง​พูด​แต่​ เร่อื งท​ ีน่​ า่ ​ฟัง ผชู​้ อบ​พูดห​ ยาบต​อ้ ง​งด​โดย​เด็ดข​าด ใครช​อบ​ ถากถางเ​สยี ดสี ชอบก​ระแ​นะก​ระแหน อยน​ู่ อกก​ำแพงด​ก​ี วา่ มาว​ัดจ​ะพ​ ดู ​อย่างน​ ้ัน​ไม​่ได้ แต่​พดู อ​ะไรก​็ตาม พยายามใ​ห​้ เปน็ ​สภุ าษิต คอื ​พูด​เรื่องจ​ริงท​ ​ี่เป็น​ประโยชน์ ถกู ก​าลเทศะ ดว้ ย​ความห​ วัง​ดี และ​ดว้ ย​สำนวนอ​อ่ น​โยน แลว้ ​พจิ ารณา คำ​พูด​ของ​ตัว​เอ​งบ่อยๆ ว่า​พูด​อย่าง​น้ี​เหมาะ​ไหม​กับ​การ​ เป็น​ลูก​ศิษย์​ของ​ครูบา​อาจารย์ ถาม​บ่อยๆ ว่า ถ้า​เกิด​ ครูบา​อาจารย์​ท่ี​เรา​เคารพ​นับถือ​ที่สุด​เช่น​หลวง​พ่อ​ชา ได้​ ทราบ​ว่า​เรา​กำลงั ​จะ​พูดอ​ะไร ท่าน​จะ​พอใจ​ไหม ทา่ น​จะ​ สาธุ​ไหม วาจา​ของ​เรา​อยู่​ใน​ระดับ​ท่ี​เรียก​ว่า​อริย​ขัน​ธ​ศีล เปน็ ​ทีพ่​ อใจ​ของ​พระอ​รยิ ​เจ้า​หรือ​ยัง การเ​ขา้ ว​ดั ก​เ​็ พอื่ ย​กฐ​านะข​องต​วั เ​องใ​หส​้ งู ข​น้ึ ในเ​บอ้ื ง​ ต้น​ต้อง​กระเสือก​กระสน​ให้​จิต​ออก​จาก​ท่ี​มืด​ขึ้น​ไป​อยู่​บน​ ทางไ​ปส​แ​ู่ ดนส​วา่ ง พระพทุ ธอ​งคใ​์ หเ​้ ราไ​มส​่ นั โดษก​บั ส​ง่ิ ด​ท​ี ​ี่ เราไ​ด้เ​จรญิ ​แล้ว แตใ่​ห้​เราห​ ม่นั ​ทำใหค้​วาม​ดี​นั้นด​​ียงิ่ ๆ ข้ึน​ ไป เหน็ แ​สงอ​ยป​ู่ ลายอ​โุ มงคต​์ อ้ งเ​ดนิ ใ​หถ​้ งึ ทางก​พ​็ อเ​ดนิ ไ​ด้ ขาเ​รา​กม​็ ี เราจ​ะ​มวั ​โอ้เอ้ท​ ำไม 20 เขา้ วดั ทำไม

มา​ถือศีล​ใน​วัด ต้อง​ถือ​นะ คือ​ต้อง​ถือว่า​เป็น​เร่ือง​ สำคัญ การ​ถือว่า​สิ่ง​ใด​สำคัญ​คือ​การ​ปลูก​ศรัทธา​ใน​ส่ิง​นั้น เมอ่ื เ​ราม​ศ​ี รทั ธาแ​รงก​ลา้ ใ​นก​ารพ​ ฒั นาต​น ทงั้ ท​างก​าย วาจา และใ​จ ความเ​พยี รพ​ ยายามย​อ่ มเ​กดิ ต​ามม​า พระพทุ ธอ​งค​์ ตรัสว​่า ตอนล​า้ ง​มือ มือซ​า้ ย​ชำระม​อื ขวา มอื ขวาก​​ช็ ำระ​ มือ​ซ้าย ตอน​ชำระ​จิต ศีล​ชำระ​ปัญญา ปัญญา​ชำระ​ศีล เขา้ ว​ดั ต​อ้ งม​ก​ี ารล​ะก​ารบ​ ำเพญ็ ท​ กุ ค​รงั้ จ​งึ จ​ะเ​ปน็ การเ​ขา้ ว​ดั ​ ทสี​่ มบรู ณ์ เครือ่ ง​มอื ท​ ​่ีต้อง​ใช​้คอื ศีล สมาธิ ปัญญา เขา้ ม​าใ​นว​ดั แ​ลว้ ใหก​้ ลา้ ข​ดั เกลาน​สิ ยั เ​กา่ ถงึ แ​มว้ า่ จ​ะ​ ร้สู ึก​อึดอดั ไ​ม​ส่ บาย เปน็ ท​ กุ ข​บ์ า้ ง มนั ก​ย็​ัง​คุ้มค​า่ ​อย​หู่ รอก คน​เรา​ได้​กำไร​ทุก​ครั้ง​ท่ี​ไม่​ยอม​ทำ​ตาม​กิเลส อยู่​ใน​วัด​เรา​ จะ​ทำ​ทุก​ส่ิง​ทุก​อย่าง​ตามใจ​พูด​อะไร​ตามใจ​ไม่​ได้ เพราะ​ อะไร เพราะ​ใจเ​ราม​นั ​ยัง​ไม​่ถึง​ธรรม ถ้าห​ ากว่าเ​ราป​ ฏบิ ัติ​ ดี ปฏิบัติ​ชอบ​แล้ว จิต​กับ​ธรรม​เป็น​อัน​หน่ึง​อัน​เดียวกัน​ แลว้ ก​ไ็​มเ่​ปน็ ไร จะท​ ำอ​ะไรก​็ได้ พดู อ​ะไรก​ไ็ ดเ้​พราะเ​จตนา​ ละเมดิ จ​ะห​ มด​ไปแ​ลว้ กาย วาจา ใจ จะ​เรียบรอ้ ย​ด​ีงาม​ โดยธ​รรมชาติ ปลอดภยั ผท​ู้ เ​ี่ ขา้ ถ​งึ ธ​รรมแ​ลว้ จ​ะเ​บยี ดเบยี น​ คนอ​่ืนไ​ม​่เปน็ จะ​โกหกใ​ครไ​ม​่เปน็ จะ​หลอก​ลวงค​น​อน่ื ​ไม่​ เปน็ จติ ท​ ​่ีเข้าถ​ึง​ธรรมะ​แล้ว​บรสิ ทุ ธิ์ เจตนาท​ ี​่เศรา้ ​หมองไ​ม​่ สามารถป​ รากฏใ​นจ​ติ ใจ​ของท​ า่ นผ​ู​้นัน้ ไ​ด​้น้ี คอื ​เปา้ ​หมายท​ ​่ี เราต​ ้อง​พยายาม​บรรลุ 21ชยสาโร ภกิ ขุ

ส่วน​ผู้​ท่ี​ยัง​ไม่​เข้า​ถึง​ธรรม​มัก​ชอบ​เข้า​ข้าง​ตัว​เอง จึง​ ตอ้ งส​ำรวม ตอ้ ง​ระวงั ​อยต​ู่ ลอด​เวลา ไม​่เช่อื ​ความค​ิดมาก​ เกนิ ​ไป เราป​ ระมาทไ​ม่​ได​แ้ ม้ว​นิ าทเ​ี ดียว สติ​ย่อหย่อนเ​มื่อ​ ไหร่ sniper (คน​ลอบด​กั ​ยงิ ) คอื ​กเิ ลส​จะ​จัดการ​ทันท​ีเม่ือ​ นน้ั เราใ​ชค​้ วามเ​พยี รด​ว้ ยป​ญั ญาอ​ยา่ งต​อ่ เ​นอื่ ง ไมย​่ อมถ​อย ไม่​ตอ้ ง​สงสยั การ​เจรญิ ใ​น​ธรรม​ย่อม​เกิด​ขึน้ ใหเ​้ ขา้ ว​ดั เ​พอื่ ป​ ลอ่ ยว​างค​วามย​ดึ ม​น่ั ถ​อื ม​นั่ ว​า่ เ​รา วา่ ​ ของ​เรา เข้า​วดั ​อยา่ ใ​ห​้ม​ีความร​ู้สึก​อย่างน​ ีเ้​ลย แมค​้ วามย​ึด​ มนั่ ​วา่ วดั ​ของ​เรา (ดก​ี วา่ ข​อง​เขา) ครบู าอ​าจารย์​ของ​เรา (เกง่ ก​วา่ ข​องเ​ขา) ก​็อนั ตราย อยา่ ย​นิ ดค​ี วาม​คิด​อย่างน​ นั้ ​ เลย จิตใจ​เรา​พน้ จ​าก​ความ​ยึด​ติด​ทงั้ ห​ ลายค​ือจ​ติ ​ประเสรฐิ ขอ​ให้​เรา​ท้ัง​หลาย​ได้​เข้า​ถึง​ความ​ประเสริฐ​และ​ความ​เกษม​ ของ​จิต​ท่ี​เป็น​อิสระ​จาก​การ​บีบ​คั้น​ของ​กิเลส​ทุก​คน ทุก​ ท่าน เทอญ 22 เขา้ วดั ทำไม

ชยสาโร ภิกขุ น​า​มเ​ด​ มิ​ ​ ​ ​ ​ ฌอน​ ​ชิเ​วอร​์ตัน​ ​(S​ha​un C​h​iv​ er​ton​) พ​ .ศ.​๒๕๐​ ๑​ ​ ​ ​ ​ ​ เกิด​ ท​ ​ี่ปร​ะเ​​ทศอังกฤ​ ษ พ.ศ​.​​๒๕๒​๑ ​ ​ ​ ​ ได​ พ้ บ​กบั ​พ​ระอาจาร​ ยส์ เุ ม​ โ​ธ ​ ​ ​ (พระราชสุเมธาจารย์ วัดอมราวดี ​ ​ ​ ประเทศองั กฤษ) ทวี่ ิหารแฮมสเตด ​ ​ ​ ประเทศองั กฤษ ​ ​ ​ ถอื เพศเปน็ อนาคาริก (ปะขาว) ​ ​ ​ อยกู่ บั พระอาจารย์สเุ มโธ ๑ พรรษา ​ ​ ​ แล้วเดินทางมายังประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ ​ ​ ​ บรรพชาเปน็ สามเณร ทีว่ ัดหนองป่าพง ​ ​ ​ จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๒๓ ​ ​ ​ อปุ สมบทเปน็ พระภกิ ษุ ทวี่ ดั หนองปา่ พง โดยมี ​ ​ ​ พระโพธิญาณเถร (หลวงพอ่ ชา สุภทั โท) ​ ​ ​ เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๔ ​ ​ ​ รกั ษาการเจา้ อาวาส วัดปา่ นานาชาติ ​ ​ ​ จังหวัดอบุ ลราชธานี พ.ศ. ๒๕๔๕ - ปัจจบุ ัน ​​​ พำนัก ณ สถานพำนักสงฆ์ ​ ​ ​ จงั หวดั นครราชสมี า

มลู นิธ​ิปัญญา​ประทีป ค​วา​ ​มเ​ปน็ ​มา​ ​ ​ มูล​นิธิปั​ญญา​ประที​ป จั​ดตั้​งโด​ยค​ณะผู้​บร​ิหารโ​รงเ​รียนทอส​ี ด้ว​ยควา​มร่ว​ม​มื​อ​ จ​ากคณะค​รู ผู้​ปกค​รอ​งแล​ะญาต​ิโย​มซึ่งเ​ป็น​ลูกศ​ิษย์​พระอาจา​รย์ช​ย​สาโ​ร ก​ระทรวง​มหาด​ไทย อนุ​ญา​ตให้​จดทะ​เบี​ยนเ​ป็นนิ​ติบ​ุคค​ล​อ​ย่​า​งเป็นทาง​การ ​เลขที่​ทะ​เบียน ​กท. ​๑๔๐๕ ตั้​งแต่วัน​ท่ี ๑ ​เม​ ษาย​ น ​๒๕๕๑ ​ว​ ัตถปุ ระส​ งค​์ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​​ ​ ๑​ ) ​ สนับส​นุนก​ ารพัฒน​ าสถา​บันก​ ารศ​ึกษาวิ​ถีพุทธที​่ม​ีระบบ​ไต​ ร​ ​ส​ิกขาข​ องพระพ​ ุทธ ศา​สนาเป็น​หลัก ​ ๒​ ) เผ​ยแผ่หลัก​ ธรรมค​ ำส​อนผ​่านการจัดการฝึก​อบรม และปฏบิ ตั ิธรรม และการเผยแผ่ สือ่ ธรรมะรปู แบบตา่ งๆ โดยแจกเปน็ ธรรมทาน ๓) เพม่ิ พนู ความเขา้ ใจในเรอ่ื งความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งมนษุ ย์ และสง่ิ แวดลอ้ ม สนบั สนนุ การพัฒนาท่ยี ่งั ยืน และส่งเสริมการดำเนินชวี ิตตามหลกั ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง ๔) ร่วมมอื กับองค์กรการกศุ ลอืน่ ๆ เพอ่ื ดำเนินกจิ การทเ่ี ปน็ สาธารณประโยชน์ ​คณะท​ ่​ีปรกึ ษา​ ​ พระอาจารยช์ ยสาโรเปน็ องคป์ ระธานทปี่ รกึ ษา โดยมคี ณะทป่ี รกึ ษาเปน็ ผทู้ รงคณุ วฒุ ใิ น สาขาตา่ งๆ อาท ิ ดา้ นนเิ วศวทิ ยา พลงั งานทดแทน สง่ิ แวดลอ้ ม เกษตรอนิ ทรยี ์ เทคโนโลยสี ารสนเทศ วทิ ยาศาสตร์สุขภาพ การเงนิ กฎหมาย การสอ่ื สาร การละคร ดนตรี วฒั นธรรม ศลิ ปกรรม ภูมิปญั ญาท้องถนิ่ คณะกรรมการบริหาร มลู นธิ ฯิ ไดร้ บั เกยี รตจิ ากรองศาสตราจารยน์ ายแพทยป์ รดี า ทศั นประดษิ ฐ เปน็ ประธาน คณะกรรมการบริหาร และมีคุณบุบผาสวัสด์ิ รัชชตาตะนันท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนทอสีเป็น เลขาธกิ ารฯ ​การด​ ำเนินก​ าร​ ​ •​ ​ มูลนธิ ฯิ เป็นผูจ้ ัดตงั้ โรงเรียนมัธยมปัญญาประทีป ในรูปแบบโรงเรียนบ่มเพาะชวี ิต เพ่ือดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้านการศึกษาวิถีพุทธ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ ข้างต้น โรงเรยี นนตี้ ้ังอยูท่ ี่ บ้านหนองน้อย อำเภอปากชอ่ ง จงั หวัดนครราชสีมา ​ •​ ​ มลู นธิ ฯิ รว่ มมอื กบั โรงเรยี นทอส ี ในการผลติ และเผยแผส่ อ่ื ธรรมะ แจกเปน็ ธรรมทาน โดยในส่วนของโรงเรียนทอสีฯ ได้ดำเนินการตอ่ เนือ่ งตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๕



26 เขา้ วัด ทำไม